โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

ดัชนี รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

324 ความสัมพันธ์: รายการสัตว์วงศ์ปลากระบอกวงศ์ปลากระเบนนกวงศ์ปลากุเราวงศ์ปลากดวงศ์ปลากดทะเลวงศ์ปลาสลิดหินวงศ์ปลาสากวงศ์ปลาสินสมุทรวงศ์ปลาหมูวงศ์ปลาผีเสื้อวงศ์ปลาจวดวงศ์ปลางวงช้างวงศ์ปลานกกระจอกวงศ์ปลานกแก้ววงศ์ปลาแป้นวงศ์ปลาโรนันวงศ์ปลาไหลมอเรย์วงศ์ปลาเสือตอวงศ์ปลาเหาฉลามสกุลลาเบโออันดับปลากะพงอันดับปลาซีกเดียวอันดับปลาปักเป้าอันดับปลาไหลคังปลาชะโอนปลาชะโอนหินปลาชะโอนถ้ำปลาชะโดปลาบัวปลาบึกปลาช่อนปลาช่อนทะเลปลาช่อนข้าหลวงปลาช่อนงูเห่าปลาบ้าปลาพลวง (สกุล)ปลาพลวงชมพูปลาพลวงถ้ำปลากบปลากระมังปลากระมังครีบสูงปลากระสูบจุดปลากระสูบขีดปลากระทิงปลากระทิงไฟปลากระดี่มุกปลากระดี่หม้อปลากระดี่นาง...ปลากระดี่แดงปลากระดี่แคระปลากระแหปลากระโห้ปลากระโทงร่มปลากระเบนปลากระเบนบัวปลากระเบนกิตติพงษ์ปลากระเบนราหูน้ำจืดปลากระเบนลายเสือปลากระเบนลาวปลากระเบนจุดฟ้าปลากระเบนทองปลากระเบนขาวปลากระเบนปากแหลมปลากระเบนแมลงวันปลากรายปลากริมปลากริมมุกปลากริมอีสานปลากริมข้างลายปลากะพงลายปลากะพงขาวปลากะพงข้างปานปลากะพงแดงปลากะพงแดงสั้นหางปานปลากะพงแดงหน้าตั้งปลากะพงเหลืองห้าเส้นปลากะพงเขียวปลากะรังลายจุดปลากะรังหน้างอนปลากะรังปากแม่น้ำปลากะตักปลากะตักใหญ่ปลากะแมะปลากัดปลากัดป่ามหาชัยปลากาปลาการ์ตูนปลาการ์ตูนอินเดียนแดงปลาการ์ตูนแดงดำปลากดหัวแข็งปลาก้างปลาก้างพระร่วงปลามังกงปลาม้าปลายอดม่วงลายปลายอดม่วงเกล็ดถี่ปลายาวปลายี่สกปลายี่สกเทศปลาย่าดุกปลารากกล้วยปลาริวกิวปลาลังปลาลิ่นปลาลิ้นหมาน้ำจืดปลาลิ้นควายเกล็ดลื่นปลาสร้อยลูกกล้วยปลาสร้อยขาวปลาสร้อยนกเขาปลาสร้อยนกเขาลายขวางปลาสร้อยนกเขาทะเลปลาสร้อยน้ำผึ้งปลาสละปลาสลาดปลาสลิดปลาสลิดหินสามจุดปลาสลิดหินแขกปลาสวายปลาสวายหนูปลาสะอีปลาสะตือปลาสะนากปลาสะนากยักษ์ปลาสะแงะปลาสังกะวาดท้องคมปลาสากหางเหลืองปลาสากเหลืองปลาสายยูปลาสายรุ้งปลาสำลีปลาสิงโตปลาสินสมุทรวงฟ้าปลาสีกุนทองปลาสีขนปลาสีเสียดปลาสเตอร์เจียนปลาหมอปลาหมอทะเลปลาหมอคอนวิคปลาหมอตาลปลาหมากผางปลาหมูอารีย์ปลาหมูขาวปลาหยะเคปลาหลดปลาหวีเกศปลาหว้าหน้านอปลาหัวตะกั่วปลาหางนกยูงปลาหางแข็งปลาหางแข็งบั้งปลาหางไหม้ปลาหิมะปลาหินปลาหนวดพราหมณ์ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้นปลาหนามหลังปลาออร์ปลาอินทรีปลาอินทรีบั้งปลาอินทรีจุดปลาอินทรีทะเลสาบเขมรปลาอุกปลาอีโต้มอญปลาผีเสื้อถ้ำปลาผีเสื้อนกกระจิบปลาจะละเม็ดขาวปลาจะละเม็ดดำปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระปลาจิ้งจอกปลาจ่าเอกปลาทองปลาทูปลาขวานปลาขาไก่ปลาข้างเหลืองปลาดอกหมากกระโดงปลาดักปลาดังแดงปลาดาบลาวยาวปลาดาบเงินใหญ่ปลาดุกปลาดุกลำพันปลาดุกอุยปลาดุกทะเลปลาดุกทะเลลายปลาดุกด้านปลาดุกแอฟริกาปลาคลุดปลาคาร์ปปลาคางเบือนปลาคู้แดงปลาค้อถ้ำพระวังแดงปลาค้อถ้ำพระไทรงามปลาค้าวขาวปลาค้าวดำปลาค้างคาวปลาค้างคาว (น้ำจืด)ปลาตกเบ็ดปลาตองลายปลาตะพัดปลาตะพากปลาตะกากปลาตะลุมพุกปลาตะคองปลาตะโกกปลาตะเพียนหน้าแดงปลาตะเพียนทองปลาตะเพียนขาวปลาตะเพียนน้ำเค็มปลาตะเกียงปลาตามินปลาตาดำปลาตาเหลือกปลาตาเหลือกยาวปลาตุมปลาตูหนาปลาฉลามปลาฉลามพยาบาลปลาฉลามกบปลาฉลามกรีนแลนด์ปลาฉลามก็อบลินปลาฉลามมาโกปลาฉลามวาฬปลาฉลามหัวบาตรปลาฉลามหัวค้อนหยักปลาฉลามหางยาวปลาฉลามหางยาวธรรมดาปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)ปลาฉลามหนูใหญ่ปลาฉลามอาบแดดปลาฉลามจ้าวมันปลาฉลามขาวปลาฉลามครุยปลาฉลามครีบดำปลาฉลามปากเป็ดปลาฉลามเมกาเมาท์ปลาฉลามเสือปลาฉลามเสือดาวปลาฉนากจะงอยปากกว้างปลาซาบะปลาซิวอ้าวปลาซิวควายปลาซิวควายข้างเงินปลาซิวแก้วปลาซีลาแคนท์ปลาซ่อนทรายปลาปล้องทองปรีดีปลาปักเป้าสมพงษ์ปลาปักเป้าหางวงเดือนปลาปักเป้าหนามทุเรียนปลาปักเป้าขนปลาปักเป้าดำปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงปลาปิรันยาปลานกขุนทองปากยื่นปลานวลจันทร์ทะเลปลานวลจันทร์น้ำจืดปลานวลจันทร์เทศปลานิลปลานีออนปลาน้ำหมึกปลาน้ำหมึกโคราชปลาน้ำจืดปลาน้ำเงินปลาแบล็คสวอลโลปลาแบล็คโกสต์ปลาแฟงค์ทูธปลาแก้มช้ำปลาแมวปลาแรดปลาแรดแม่น้ำโขงปลาแดงปลาแค้ยักษ์ปลาแค้วัวปลาแค้ขี้หมูปลาแค้งูปลาแค้ติดหินสามแถบปลาแซลมอนปลาแปบควายปลาแป้นเขี้ยวปลาใบขนุนปลาใบโพปลาใบไม้ปลาโมงปลาโรนันจุดขาวปลาโรนินปลาโอดำปลาโอแถบปลาโนรีปลาไบเคอร์ปลาไฟฟ้าปลาไวเปอร์ปลาไส้ตันตาขาวปลาไส้ตันตาแดงปลาไหลกัลเปอร์ปลาไหลมอเรย์ตาขาวปลาไนปลาเพ้าปลาเกล็ดถี่ปลาเก๋าแดงปลาเก๋าเสือปลาเล็บมือนางปลาเวียนปลาเสือพ่นน้ำปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ปลาเสือตอลายใหญ่ปลาเสือตอลายเล็กปลาเสือเยอรมันปลาเหล็กในปลาเห็ดโคนปลาเผาะปลาเทพาปลาเทวดาปลาเทโพปลาเขียวพระอินทร์ปลาเขี้ยวก้างปลาเข็มปลาเข็มงวงปลาเฉลียบปลาเนื้ออ่อน ขยายดัชนี (274 มากกว่า) »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระบอก

วงศ์ปลากระบอก (วงศ์: Mugilidae (/มู-จิ-ลิ-ดี/)) เป็นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับ Mugiliformes นับเป็นวงศ์เดียวที่อยู่ในอันดับนี้ ปลากระบอกมีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวค่อนข้างกลมเป็นทรงกระบอก ปากเล็ก มีครีบหลัง 2 ตอน เป็นปลาที่พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล มีตาทรงกลมโต พบทั่วไปในทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และทวีปเอเชีย เช่น อินโด-แปซิฟิก, ฟิลิปปิน และออสเตรเลีย มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไว เกล็ดโดยมากเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาขนาดใหญ่ ปลากระบอก สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 17 สกุล ประมาณ 80 ชนิด โดยมีชนิดที่สำคัญ ๆ เป็นที่รู้จักกันดี อาทิ ปลากระบอกท่อนใต้ (Liza vaigiensis), ปลากระบอกดำ (L. parsia), ปลากระบอกขาว (L. seheli) เป็นต้น เป็นปลาที่เป็นที่นิยมในการตกปลา และเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในในเชิงการประมง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลากระบอก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลากระเบนนก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากุเรา

วงศ์ปลากุเรา (Threadfins) เป็นวงศ์ปลาในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemidae (/โพ-ลี-นี-มิ-ดี/) มีรูปร่างทั่วไปเป็นทรงกระบอก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวและจะงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ตาเล็กอยู่ตอนปลายของหัวและมีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนอยู่ห่างกัน ตอนแรกเป็นก้านแข็งสั้น ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบอกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลม ส่วนล่างเป็นเส้นยาวแยกออกเป็นเส้นตั้งแต่ 4 - 14 เส้น มีความยาวแล้วแต่ชนิด เกล็ดเป็นแบบสากมีขนาดเล็กละเอียด เป็นปลากินเนื้อ โดยกินกุ้ง, ปลา หาเหยื่อและสัมผัสได้ด้วยครีบอกที่เป็นเส้น มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พบในเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำกร่อยและน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีทั้งหมด 8 สกุล 38 ชนิด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร คือ ปลากุเราแอฟริกา (Polydactylus quadrifilis) พบในประเทศไทยประมาณ 10 ชนิด เช่น ปลากุเรา 4 หนวด (Eleutheronema tetradactylum) เป็นต้น แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่พบในน้ำจืด คือ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (Polynemus paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย สำหรับปลาที่พบในน้ำจื.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลากุเรา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลากด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากดทะเล

วงศ์ปลากดทะเล หรือ วงศ์ปลาอุก (Sea catfishes, Crucifix catfishes, Fork-tailed catfishes) จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลาหนัง ซึ่งเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ โดยมากจะไม่มีเกล็ด มีครีบแข็งที่ก้านครีบอก มีหนวด โดยมากเป็นปลากินซาก ทั้งซากพืช ซากสัตว์ พบทั้งน้ำจืด, น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทั่วเขตอบอุ่นของโลก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ariidae (/อา-รี-อาย-ดี้/) สำหรับปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาที่อาศัยในบริเวณน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ และในทะเล ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวที่โตกว่าและแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบไขมันใหญ่ ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่รอบปาก บนเพดานมีฟันเป็นแถบแข็งรูปกลมรี โดยการแพร่พันธุ์ ตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก รอจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว โดยหลังจากการผสมพันธุ์ภายนอกแล้วตัวเมียจะใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าตัวผู้อุ้มไข่ไว้แล้วให้ตัวผู้มารับไป ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เช่น ปลาริวกิว หรือปลาลู่ทู (Arius thalassinus) และพบในน้ำจืดราว 10 ชนิด เช่น ปลากดหัวโต (Ketengus typus), ปลาอุก (Cephalocassis borneensis), ปลาอุกจุดดำ (Arius maculatus), ปลาอุกหัวกบ (Batrachocephalus mino) และ ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) เป็นต้น จินตภาพของกะโหลกปลากดทะเล (ขวา) ที่มองเห็นเป็นรูปพระเยซูตรึงกางเขน (ซ้าย) โดยมากปลาในวงศ์นี้ จะถูกเรียกรวมกันว่า "อุก" เนื่องจากเมื่อถูกจับพ้นน้ำได้แล้วจะส่งเสียงร้องได้ โดยส่งเสียงว่า "อุก อุก" นอกจากนี้แล้ว ในมุมมองของชาวตะวันตก เมื่อมองกะโหลกของปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นกระดูกแข็ง ก่อให้เกิดเป็นจินตภาพเห็นภาพมีคนหรือพระเยซูตรึงกางเขนอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Crucifix catfish".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลากดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดหิน

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลาสลิดหิน (Damsel, Demoiselle) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacentridae เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า "ปก" หมายถึง "แผ่นปิดเหงือก" และ "kentron" แปลว่า "หนาม" ซึ่งหมายถึง "หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้" ลักษณะทางชีววิทยา คือ ลำตัวสั้นปอมรูปไขรีแบนขาง เกล็ดเป็นแบบสาก เสนขางตัวขาดตอน ครีบหลังติดกันเปนครีบเดียว มี รูจมูกเพียงคูเดียว ครีบทองอยูในตำแหนงอก ไมมีฟนที่พาลาทีน ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาสลิดหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสาก

วงศ์ปลาสาก หรือ วงศ์ปลาน้ำดอกไม้ (Barracuda, Seapike) วงศ์ปลากระดูกแข็งน้ำเค็มวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphyraenidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม ปากกว้าง กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน มีฟันแหลมคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบางขอบเรียบ มีครีบหลัง 2 ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ทั้งสีน้ำตาลอมเหลือง หรือลายบั้งขวางลำตัวเป็นท่อน ๆ หรือแต้มจุด แต่โดยมากมักเป็นสีฟ้าเทา ครีบหางเป็นแฉกรูปตัววี (V) มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30-180 เซนติเมตร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่บางครั้งอาจถึง 1,000 ตัว เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว ไล่ล่าฝูงปลาชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร นับเป็นผู้ล่าอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่ชีวิตในทะเลจำพวกหนึ่ง เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่รวมกับฝูงปลาอย่างอื่น อาทิ ปลากะตัก ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ หรือตามปากแม่น้่ำ ที่เป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ปลาสาก สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ เช่นเดียวกับปลาฉลาม ด้วยการกัดจากกรามและฟันที่แข็งแรง สามารถงับปลาอื่นที่เป็นอาหารให้ขาดสองท่อนได้จากการงับเพียงครั้งเดียว ที่สหรัฐอเมริกามีกรณีที่ปลากระโดดขึ้นมาจากน้ำงับแขนของเด็กผู้หญิงวัย 14 ปีที่นั่งอยู่บนเรือ เป็นแผลฉกรรจ์ต้องเย็บไปทั้งสิ้น 51 เข็ม แต่ไม่เคยมีรายงานว่าทำอันตรายได้ถึงแก่ชีวิต ปลาสาก เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ด้วยนิยมบริโภคและซื้อขายกันในตลาดสด และนิยมตกเป็นเกมกีฬา สามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 26 ชนิด ในสกุลเดียว กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก ในทวีปอเมริกาพบได้ตั้งแต่บราซิลไปจนถึงฟลอร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาสาก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสินสมุทร

วงศ์ปลาสินสมุทร (Angelfish, Marine angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae (/โป-มา-แคน-ทิ-ดี้/) ปลาสินสมุทรนั้นมีรูปร่างและสีสันโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) บางสกุล เช่น Chaetodon กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้างเป็นทรงรีหรือรูปไข่ในแนวนอน ปากมีขนาดเล็กมีริมฝีปากหนา เกล็ดเล็กละเอียดกลม ไม่มีหนามที่ขอบตาด้านหน้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ เส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ ครีบท้องและครีบทวารมนกลม ก้านครีบแข็งค่อนข้างจะยาวกว่าก้านครีบอ่อน โดยก้านครีบอันแรกของครีบเอวจะยาวมาก ครีบหางมีลักษณะเป็นหางตัดหรือมนกลม ปลาสินสมุทรจัดเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังวงศ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาดตั้งแต่ 10-40 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย มีอาณาบริเวณหากินค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งเป็นปลาที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมักว่ายน้ำเข้าหามาเมื่อมีผู้ดำน้ำลงไปในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยและหากินในแนวปะการังเป็นหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่หากินลึกลงไปกว่านั้นเป็นร้อยเมตร ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนหรือปลาผีเสื้อ อันเนื่องจากสีสันที่สวยงาม พบทั้งหมด 9 สกุล (ดูในตาราง) มีประมาณ 74 ชนิด ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Pomacanthus imperator), ปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) และปลาสินสมุทรลายบั้ง (P. sexstriatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาสินสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมู

วงศ์ปลาหมู (Loach) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Botiidae ในอันดับ Cypriniformes โดยวงศ์นี้แยกออกมาจากวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae) ในปี ค.ศ. 2012 โดย มัวรีซ คอตเทเลต โดยพัฒนามาจากวงศ์ย่อย Botiinae ที่เลฟ เซมโยโนวิช เบิร์ก นักมีนวิทยาชาวรัสเซียเคยจัดมาก่อนในปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาหมู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาจวด

วงศ์ปลาจวด (Croakers, Drums) เป็นวงศ์ในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sciaenidae (/เซีย-เอ็น-อิ-ดี้/) โดยมากเป็นปลาทะเล มีรูปร่างที่คล้ายกันคือ มีส่วนหัวโต จะงอยปากยื่นยาวแต่ปลายมน ตาโตอยู่ค่อนข้างไปทางด้านบนของหัว ปากมักอยู่ไปทางด้านล่าง ริมฝีปากบาง มีฟันเป็นเขี้ยวซี่เล็ก ๆ มักมีรูเล็ก ๆ อยู่ใต้คาง ครีบหลังยาวและเว้าเป็น 2 ตอน โคนครีบหางคอดกิ่ว ปลายหางอาจจะมีปลายแหลมหรือตัดตรง เกล็ดมีขนาดเล็ก มีเกล็ดบนเส้นข้างลำตัวจนถึงปลายครีบหาง ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก มีกระเพาะลมขนาดใหญ่และมีกล้ามเนื้อรอบ ซึ่งสามารถทำเสียงได้เวลาตกใจหรือในฤดูผสมพันธุ์ พบในเขตอบอุ่นรอบโลกมากกว่า 270 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น สกุล Aplodinotus ส่วนมากพบในน้ำกร่อย สำหรับในประเทศไทยพบราว 40 ชนิด พบในน้ำจืดเพียงชนิดเดียว คือ ปลาม้า (Boesemania microlepis) สำหรับปลาในวงศ์นี้ ภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาจวด" หรือ "ปลาหางกิ่ว" เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื้อมีรสชาติอร่อย มีอยู่ชนิดหนึ่งที่เป็นปลาที่หายากมาก พบในเขตทะเลประเทศจีน คือ Bahaba taipingensis มีราคาซื้อขายที่สูงมาก ในเกาหลี ปลาในวงศ์นี้ถูกเรียกว่า "มิน-ออ" (민어; Min-eo) เป็นอาหารที่ชาวเกาหลีมักรับประทานกันในฤดูร้อน ด้วยเชื่อว่าดับร้อนได้ มีการปรุงทั้งแบบสดและแห้ง จัดเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายแพง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาจวด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลางวงช้าง

วงศ์ปลางวงช้าง (Elephantfish, Freshwater elephantfish, Mormyrid) วงศ์ปลาในชั้นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) ซึ่งเป็นอันดับร่วมกับปลาตะพัดหรือปลาอะโรวาน่า และปลาอะราไพม่าหรือปลาช่อนอเมซอน รวมทั้งปลากรายด้วย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mormyridae พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา มีทั้งหมด 18 สกุล และหลายชนิด จนถึงปัจจุบันพบกว่า 200 ชนิด มีลักษณะสำคัญคือ เป็นปลาที่มีรูปร่างแบนข้างและเพรียวยาว ข้อหางคอดเล็ก ครีบหางเล็กและสั้น ครีบหลังยาวและต่อติดกันเป็นแผง ส่วนหัวกลมมนอย่างเห็นได้ชัด ส่วนมากเล็กและงุ้มลง ในบางสกุลและบางสายพันธุ์ ปากมีลักษณะยื่นยาวออกมาคล้ายงวงช้าง จึงทำให้เป็นที่มาชื่อสามัญ ตามีขนาดเล็ก สีลำตัวมักมีสีดำหรือสีน้ำตาลเทาหรือสีเทา มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นท้องน้ำ อาหารได้แก่ ลูกปลาและลูกกุ้งขนาดเล็ก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตหน้าดินเล็ก ๆ ขนาดเล็กสุดเพียง 5 เซนติเมตร ใหญ่สุด คือ Mormyrops anguilloides ที่มีขนาด 1.5 เมตร เป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ ได้ เพื่อช่วยในการนำทาง, หาอาหาร และติดต่อสื่อสารกันเองด้วยนอกจากประสาทสัมผัสที่บริเวณปากที่ยื่นยาวออกมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า ปลาในวงศ์นี้มีน้ำหนักของสมองเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวแล้วเทียบเท่ากับน้ำหนักสมองของมนุษย์เลยทีเดียว นับได้ว่าเป็นปลาที่มีความเฉลียวฉลาดมากทีเดียว มีความสำคัญ คือ นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามในหลายชนิด และใช้บริโภคเป็นอาหารพื้นเมืองในปลาที่มีขนาดใหญ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลางวงช้าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลานกกระจอก

ปลานกกระจอก หรือ ปลาบิน (Flying fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exocoetidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวยาวมาก ค่อนข้างกลม จะงอยปากสั้นทู่สั้นกว่าตา ปากเล็ก ไม่มีฟัน ไม่มีก้านครีบแข็งที่ทุกครีบ ครีบหูขยายใหญ่ยาวถึงครีบหลัง ครีบท้องขยายอยู่ในตำแหน่งท้อง ครีบหางมีแพนล่างยาวกว่าแพนบน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม เส้นข้างลำตัวอยู่ค่อนลงทางด้านล่างของลำตัว เกล็ดเป็นแบบขอบบางไม่มีขอบหยักหรือสาก หลุดร่วงง่าย จัดเป็นปลาทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยพบในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งพอสมควร ส่วนใหญ่มีลำตัวสีเขียว หรือสีน้ำเงินหม่น ข้างท้องสีขาวเงิน เป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงและหากินบริเวณผิวน้ำ มีความคล่องแคล่วว่องไว มีจุดเด่น คือ เมื่อตกใจหรือหนีภัยจะกระโดดได้ไกลเหมือนกับร่อนหรือเหินไปในอากาศเหมือนนกบิน ซึ่งอาจไกลได้ถึง 30 เมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของตัวปลาและจังหวะ อันเป็นที่มาของชื่อ โดยใช้ครีบอกหรือครีบหูที่มีขนาดใหญ่มากเป็นตัวพยุงช่วย ในขณะที่บางชนิดมีครีบก้นที่มีขนาดใหญ่ร่วมด้วย ปลานกกระจอกเมื่อกระโดดอาจกระโดดได้สูงถึง 7-10 เมตร ด้วยความเร็วประมาณ 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถอยู่บนกลางอากาศได้นานอย่างน้อย 10 วินาที วางไข่ไว้ใต้กอวัชพืชหรือขยะที่ลอยตามกระแสน้ำ เพื่อให้เป็นที่พำนักของลูกปลาเมื่อฟักแล้ว เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พบมากกว่า 50 ชนิดทั่วโลก แบ่งออกเป็น 8 สกุล (ดูในตาราง) เป็นปลาที่ขี้ตื่นตกใจ และตายง่ายมากเมื่อพ้นน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลานกกระจอก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลานกแก้ว

ปลานกแก้ว (parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งในวงศ์ Scaridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่มีประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) อาศัยอยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบมากกว่า 20 ชนิด เป็นปลาที่มีฟันแหลมคมคล้าย ๆ จะงอยของนกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อเรียก จะงอยปากยืดหดได้ เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหางกลมมนหรือตัดตรง เป็นปลาที่กินฟองน้ำ, ปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้าย ๆ จะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง และมีฟันอีกชุดในคอหอยด้วย ซึ่งเมื่อกัดแทะนั้นจะเกิดเป็นเสียง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ ออกหากินในเวลากลางวัน นอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อนอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่าง ๆ เช่น พวกหนอนพยาธิหรือปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน เป็นปลาที่สวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลานกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแป้น

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้นแก้ว ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาดอกหมาก ปลาแป้น (Ponyfish, Slipmouth, Slimy; วงศ์: Leiognathidae) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leiognathidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวค่อนข้างสั้น มีเกล็ดแบบสาก ปากเล็กยืดหดได้มากจนดูคล้ายเป็นท่อ ครีบหลังมีอันเดียวมีก้านครีบแข็ง 8-11 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3-5 ครีบหางเว้า มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในชายฝั่งใกล้แหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด พบทั้งหมด 3 สกุล 24 ชนิด เป็นปลาเศรษฐก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาแป้น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาโรนัน

ปลาโรนัน (Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาไหลมอเรย์

ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์ ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาไหลมอเรย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเสือตอ

วงศ์ปลาเสือตอ (Siamese tiger fishes) เป็นปลากระดูกแข็งจัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Datnioididae (/แดท-นี-โอ-นอย-เด-อา/) และมีเพียงสกุลเดียว คือ Datnioides (/แดท-นี-โอ-นอย-เดส/).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาเสือตอ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเหาฉลาม

ปลาเหาฉลาม หรือ ปลาเหา หรือ ปลาเหาทะเล หรือ ปลาติด เป็นปลาทะเลปลากระดูกแข็งในวงศ์ Echeneidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและวงศ์ปลาเหาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

สกุลลาเบโอ

กุลลาเบโอ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ลำตัวยาว แบนข้างมากในบางชนิด บางชนิดแบนข้างน้อย จะงอยปากยื่นยาว บางชนิดจะงอยปากทู่ บางชนิดจะงอยปากแหลม ส่วนใหญ่ปลายจะงอยปากจะปกคลุมด้วยรูเล็ก ๆ และตุ่มเม็ดสิวเล็ก ๆ ใต้จะงอยปากมีติ่งเนื้อยื่นออกมาทั้งสองข้างอยู่หเนือขากรรไกรบน ริมฝีปากบนและล่างหนา หนวดที่ปลายจะงอยปากมักยาวกว่าหนวดที่มุมปากบน แต่ไม่ยาวมากนัก ความยาวของหนวดเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางตาแล้วมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องยาวกว่าส่วนหัว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบเรียบและไม่เป็นหนามแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่มีขนาดไม่ถึงหนึ่งฟุตจนถึงเกือบ ๆ หนึ่งเมตร มักหากินโดยแทะเล็มตะไคร่น้ำ, สาหร่าย หรืออินทรียสารต่าง ๆ บริเวณโขดหินหรือใต้ท้องน้ำ พบทั้งทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พบแล้วมากกว่า 100 ชนิด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและรับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยที่ปลาสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับสกุล Epalzeorhynchos มาก โดยที่หลายชนิด เช่น L. chrysophekadion ก็ใช้ชื่อสกุล Epalzeorhynchos เป็นชื่อพ้องด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและสกุลลาเบโอ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาซีกเดียว

อันดับปลาซีกเดียว (Flatfish) ปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในภาษาไทยมักเรียกปลาในอันดับนี้รวม ๆ กัน เช่น "ลิ้นหมา", "ซีกเดียว", "ยอดม่วง", "ลิ้นเสือ", "ลิ้นควาย", "ใบไม้" หรือ "จักรผาน" เป็นต้น โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleuronectiformes.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและอันดับปลาซีกเดียว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

คัง

ัง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและคัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอน

ปลาชะโอน เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก ปลาชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาสยุมพร", "ปลาเนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "ปลาเซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "ปลาโอน" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาชะโอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอนหิน

ปลาชะโอนหิน (Leaf catfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Silurichthys (/ไซ-เลอร์-อิค-ธีส/) มีลักษณะสำคัญ คือ นัยน์ตามีเยื่อเหมือนวุ้นคลุม ปลายของครีบหางแยกเป็นสองแฉกและยาวไม่เท่ากัน ครีบก้นยาวและติดต่อรวมกันกับครีบหาง ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7 ก้าน ฟันที่เพดานปากชิ้นกลางมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกลม มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ มีสีลำตัวคล้ำ มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 14-15 เซนติเมตร พบในทวีปเอเชีย ในลำธารน้ำตกหรือพื้นที่ป่าพร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาชะโอนหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอนถ้ำ

ปลาชะโอนถ้ำ หรือ ปลาชะโอนถ้ำวังบาดาล (Cave sheatfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยเพียงถิ่นเดียว มีลำตัวสีขาวเผือกอมเหลืองทั้งตัวคล้ายภาวะผิวเผือก ตามีขนาดเล็กมากและเป็นสีแดง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่พบในถ้ำวังบาดาล ภายในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปลากลุ่มนี้จะมีลักษณะดังที่กล่าวข้างต้น และกลุ่มที่อยู่นอกถ้ำหรือพบในถ้ำอื่น จะมีลำตัวสีเทาอมน้ำตาลเท่านั้น มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ในถ้ำวังบาดาล ในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งลักษณะของปากถ้ำเป็นช่องเขาขนาดเล็กบนเขา และวนลึกลงไปจนถึงระดับน้ำด้านล่าง ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดพื้นที่เท่าสนามเทนนิส ซึ่งคิดเป็นเพียงพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรเท่านั้น ปัจจุบัน ปลาชะโอนถ้ำ ถูกจำนวนลงมากสัมพันธ์กับปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก้นถ้ำเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จนไม่พอสำหรับมนุษย์ที่จะหายใจ ในปี พ.ศ. 2543 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้เข้าไปสำรวจ และจับปลาได้เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 ได้มีคณะสำรวจชาวไทยเข้าไปสำรวจและจับปลามาได้ราว 10 ตัว จากนั้นก็ไม่เคยมีใครพบกับปลาชะโอนถ้ำนี้อีกเลย แม้จะมีความพยายามอื่นจากหลายคณะก็ตาม และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทสัตว์น้ำตามประกาศของกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พื..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาชะโอนถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโด

ปลาชะโด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ปลาชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ลูกครอก" หรือ "ชะโดป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "ชะโดแมลงภู่" ตามสีของลำตัว หากสีดำจะเรียกว่า "ชะโดถ่าน" นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในวงศ์ปลาช่อน และยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกปลาชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง" เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย ปลาชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะไม่นิยมบริโภคสด เพราะเนื้อจืด แข็ง คาว และมีก้างเยอะ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าปลาช่อน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่า หากจะบริโภคมักจะแปลงทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่า นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาชะโด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบัว

ปลาบัว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (L. chrysophekadion) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจะงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยอ่อนมีสีเงินวาว โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ขนาดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หากินโดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่ายที่เกาะตามโขดหินหรือลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ปลาบัวมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หว้าซวง", "สร้อยบัว" หรือ "ซวง" ในเขตแม่น้ำเพชรบุรีเรียก "งาลู".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาบัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบึก

ปลาบึก (Mekong giant catfish; ປາບຶກ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน, ลาว, พม่า, ไทย เรื่อยมาตลอดความยาวของแม่น้ำรวมไปถึงแควสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำงึม, แม่น้ำมูล, แม่น้ำสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของแม่น้ำโขงที่เป็นน้ำกร่อย ซึ่งเป็นจุดที่ไหลออกทะเลจีนใต้หน้า 24 เกษตร, ปลาบึก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาบึก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อน

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนทะเล

ปลาช่อนทะเล (Cobia, Black kingfish, Black salmon, Ling, Lemon fish, Crabeater, Aruan tasek) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rachycentron canadum อยู่ในวงศ์ Rachycentridae อันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุลนี้ มีความยาวได้เต็มที่ถึง 2 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 68 กิโลกรัม ลำตัวมีรูปร่างยาวและกว้างในช่วงตอนกลางและแคบลงในตอนปลายหาง ส่วนหัวแบน ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย มีฟันแบบเล็กละเอียดและเรียวขึ้นบนอยู่บนขากรรไกร, ลิ้น และเพดานปาก ลำตัวเรียบ มีเกล็ดเล็กละเอียด มีสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณ ส่วนท้อง ด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว 2 แถบ ซึ่งจะเห็นแถบได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหลังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้น เรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ซึ่งทำให้จัดอยู่ในวงศ์ต่างหาก ในวัยเจริญพันธุ์มีหางแบบเว้าลึก หรือแบบเสี้ยวพระจันทร์ ส่วนของครีบมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นปลาที่ไม่มีถุงลมมีลักษณะคล้ายปลาเหาฉลาม (Echeneidae) แต่ไม่มีแผ่นเกาะด้านหลัง มีลำตัวที่แข็งแรง และมีส่วนหางที่พัฒนาดีกว่า โดยส่วนหางพัฒนาจากกลมมนเป็นเว้าลึกในตัวเต็มวัย ในปลาช่วงวัยรุ่นมีแถบสีขาวและดำชัดเจน เป็นมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ชอบอยู่เดี่ยว ๆ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์จะมารวมกันตามแนวหิน ซากปรักหักพัง ท่าเรือ แนวก่อสร้าง บางครั้งยังอพยพไปปากแม่น้ำและป่าชายเลนเพื่อหาสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ กินเป็นอาหาร วางไข่บริเวณผิวน้ำ โดยเป็นไข่ลอยขนาดเล็ก 0.12 มิลลิเมตร ล่องลอยเป็นอิสระตามกระแสน้ำจนกว่าจะฟักเป็นตัว ลูกปลาวัยอ่อนมีสภาพเหมือนแพลงก์ตอน ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกจะยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องรอจนกว่าตาและปากได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น ในตัวผู้จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 2 ปี ส่วนในตัวเมียจะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 3 ปี มีอายุขัยประมาณ 15 ปี หรือมากกว่านั้น การผสมพันธุ์วางไข่จะรวมกลุ่มบริเวณชายฝั่ง ในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และเป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันด้วยมีเนื้อรสชาติอร่อย สามารถปรุงได้ทั้งสดและแปรรูปเป็นปลาแห้ง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นปลาที่ทางการโดย กรมประมงสนับสนุนให้ชาวประมงเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในต่างประเทศมีการเพาะเลี้ยงกันมาอย่างยาวนานแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาช่อนทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนข้าหลวง

ปลาช่อนข้าหลวง หรือ ปลาช่อนทอง (Emperor snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus หรือ C. marulius) แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยเป็นปลาที่พบได้น้อยบริเวณเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพบชุกชุมที่มาเลเซีย พบได้จนถึงอินโดนีเซีย เช่น เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง โดยปลาที่พบที่เขื่อนรัชชประภาของไทยจะมีสีเหลืองสดสวยกว่าปลาที่พบในมาเลเซีย นอกจากนี้แล้วปลาที่พบในอินโดนีเซียบางแหล่ง ยังมีสีดำสนิทเหลือบสีฟ้า ซึ่งปลาจำพวกนี้บางครั้งพบว่าใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa melanoptera (Bleeker, 1855) ซึ่งเป็นปลาช่อนข้าหลวงที่มีครีบหลังสีดำ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นชื่อพ้องกัน เนื่องจากปลาที่พบในแต่ละแหล่งสามารถปรับสีลำตัวได้ตามสภาพอารมณ์หรือสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาช่อนข้าหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนงูเห่า

ปลาช่อนงูเห่าในสวนสัตว์พาต้า ปลาช่อนงูเห่า หรือ ปลาช่อนดอกจันทน์ (Great snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร แต่ก็มีบางรายงานพบว่ายาวได้ถึง 183 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 30 กิโลกรัม มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า" เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ปลาช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด มีการกระจายพันธุ์ในไทย, พม่า, กัมพูชา, มาเลเซีย โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก๊วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น อนึ่ง ปลาช่อนงูเห่า ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน โดยมากจะใช้ชื่อว่า Channa marulius อันเป็นชื่อเดียวกับปลาช่อนงูเห่าอินเดีย แต่ในทัศนะของนักมีนวิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องปลาช่อน เห็นว่า ควรใช้ Channa aurolineatus (Day, 1870) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาช่อนงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบ้า

ปลาบ้า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพลวง (สกุล)

ปลาพลวง เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางที่ค่อนข้างไปทางใหญ่สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Neolissochilus (/นี-โอ-ลิส-โซ-คิล-อัส) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลนี้ถูกแยกออกจากสกุลปลาเวียน (Tor spp.) ในปี ค.ศ. 1985 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน โดยมีลักษณะที่สำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ลำตัวยาวแบนข้าง จะงอยปากสั้นและทู่ ปากมีขนาดปานกลางยืดหดได้ ริมปากบนค่อนข้างหนา ริมฝีปากล่างบาง ส่วนกลางปากล่างเชื่อมติดกับเอ็นคาง ด้านข้างมีร่องคั่นระหว่างริมปากบนขากรรไกร เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตามแนวเส้นข้างลำตัวมีเกล็ด 24–29 แถว รอดคอดหางมีเกล็ด 12 แถว มีหนวด 2 คู่ มีตุ่มแบบเม็ดสิวทั้งสองข้างของจะงอยปาก ในตัวผู้ ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขอบเรียบ มีก้านครีบแขนง 9 ก้าน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาพลวง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพลวงชมพู

ปลาพลวงชมพู (Khela mahseer, Semah mahseer, River carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาเวียน (T. tambroides) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห็นชัดเจน ตาอยู่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นสั้น ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีเงินเหลือบชมพูหรือทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก พบมากโดยเฉพาะในน้ำตกฮาลา-บาลา ภายในอุทยานแห่งชาติฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท และในฮ่องกงอาจมีราคาสูงถึง 5,000 บาท นับเป็นปลาที่มีราคาแพงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังจัดว่าเป็นปลาตระกูลปลาพลวงหรือปลาเวียนเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่รับประทานทั้งเกล็ดได้หน้า 7, ปลาพลวงชมพู เลี้ยงได้...กิโลละ 2 พัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาพลวงชมพู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพลวงถ้ำ

ปลาพลวงถ้ำ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus subterraneus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาพลวง (N. stracheyi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่หัวโตกว่า หลังค่อนข้างค่อมโค้ง ตาเล็กและมีหนังบาง ๆ คลุม เกล็ดมีขนาดใหญ่และบางมีสีขาวซีดอมชมพู ปลาขนาดเล็กมีตาโตและลำตัวสีเงินจาง มีขนาดความยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร อาจถือได้ว่าเป็นปลาถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปลาพลวงถ้ำ เป็นปลาชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาพลวงถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากบ

ปลากบ (frog fish) เป็นปลาในตะกูลปลาตกเบ็ดพบได้ทั่วไปในมหาสมุทรเขตร้อนยกเว้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสั้นตัวหนาและมีครีบและสีตัวที่ใช้ในการพลางตัวได้ดีและบางชนิดสามารถเปลียนสีได้ ปลากบนั้นปกติจะอยู่บริเวณพื้นทะเลที่มีสาหร่ายซาร์กัสซัมจึงทำให้มันมีอีกชื่อนึงว่าปลาซาร์กัสซัมโดยปกติพวกมันจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นขึ้นตามลำตัวจึงทำให้สามารถพลางตัวได้ดีและมันยังเคลื่อนที่ช้าๆหรือการล่อเหยือเพื่อจะได้พลางตัวได้อย่างแนบเนียนและเมื่อมีเหยือเข้ามาใกล้พวกมันก็จะพุ่งกระโจนเข้าหาเหยือและงับอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียง 6 มิลลิวินาทีเท่านั้น จากหลังฐานทางฟอสซิลพบว่าพวกมันเริ่มมีมาตัวแต่สมัยไมโอซีน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระมัง

ปลากระมัง (Smith's barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย นิยมใช้เนื้อบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลากระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น "มัง" ที่บึงบอระเพ็ด "วี" ที่เชียงราย "เหลี่ยม" หรือ "เลียม" ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก "แพะ" และภาคอีสานเรียก "สะกาง".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระมัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระมังครีบสูง

ปลากระมังครีบสูง (Sicklefin barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระมังชนิดอื่น ๆ เพียงแต่ปลากระมังครีบสูง มีครีบหลังที่แหลมและยกสูงกว่า มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบเฉพาะแม่น้ำโขง ที่เดียวเท่านั้น เป็นปลาที่พบน้อย ใช้บริโภคในท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกเป็นภาษาอีสานว่า "สะกางเกสูง" หรือ "สะกาง".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระมังครีบสูง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระสูบจุด

ปลากระสูบจุด (Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะที่ภาคอีสานของไทย ในต่างประเทศพบได้เฉพาะประเทศลาวและกัมพูชาเท่านั้น มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ dispar เป็นภาษาละตินหมายถึง "ไม่เหมือน" หรือ "ซึ่งแตกต่างกัน" อันหมายถึงสัณฐานที่แตกต่างจากปลากระสูบขีด (H. macrolepidota) ซึ่งเป็นปลากระสูบอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นชนิดต้นแบบ อนุกรมวิธานโดย ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ สถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ แม่น้ำมูลในจังหวัดอุดรธานี เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า, ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระสูบจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระสูบขีด

ปลากระสูบขีด หรือ ปลากระสูบขาว (Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระสูบจุด (H. dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่าปลากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน คือ สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่เต็มที่ โดยชื่อวิทยาศาสตร์ macrolepidota มีความหมายว่า "เกล็ดใหญ่" โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า μακρός (makrós) หมายถึง "ยาว" หรือ "ใหญ่" และ λεπτδωτος (lepdotos) หมายถึง "เกล็ด" โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคือ เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่าปลากระสูบจุด เป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว, ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า, ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาอีสานว่า "ปลาสูบ", "ปลาสูด", "ปลาสิก" หรือ "ปลาขม" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระสูบขีด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระทิง

ปลากระทิง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus armatus อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นเชื่อมต่อกัน ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นหลายอัน ตาเล็ก ครีบอกใหญ่ หัวมีลายตั้งแต่ปลายจะงอยปากคาดมาที่ตาถึงช่องปิดเหงือก ตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง มีลายสีคล้ำเป็นวงหรือเป็นลายเส้น มีลวดลายหลากหลายแบบ ด้านท้องสีจาง ครีบคล้ำมีจุดประสีเหลืองอ่อน มีขนาดประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร ปลากระทิงอาศัยอยู่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งบริเวณที่มีกิ่งไม้หรือพืชน้ำหนาแน่น พบทุกภาคของประเทศไทยตั้งแต่แม่น้ำตอนล่างถึงบริเวณต้นน้ำลำธาร บริโภคโดยปรุงสด เช่น ย่าง, ต้มโคล้งซึ่งขึ้นชื่อมาก, ทำปลาเค็ม และยังนิยมรวบรวมเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลากระทิงมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หลาด".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระทิง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระทิงไฟ

ปลากระทิงไฟ (Fire spiny eel) ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus erythrotaenia อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป กล่าวคือ รูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แต่ท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหางจะมีลักษณะแบนข้าง และส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ตามีขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น โดยปลายหางมีลักษณะมนโค้ง ปลายค่อนข้างแหลม ไม่มีหนามใต้ตาเช่นปลากระทิงชนิดอื่น ๆ มีหนามแหลมขนาดเล็กตลอดทั้งความยาวลำตัวช่วงบนไว้เพื่อป้องกันตัว ปลากระทิงไฟจะมีรูปร่างป้อมแต่มีขนาดยาวกว่าปลากระทิง (M. armatus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้ ปลากระทิงไฟ มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำสนิทและประแต้มด้วยแถบสีแดงสดเป็นเส้นๆ และเป็นจุด ๆ ลักษณะคล้ายกับเส้นประ โดยลายนี้จะคาดตามความยาวจากหัวจรดหางหัวค่อนข้างแหลม ซึ่งสีของครีบจะกลมกลืนกับสีพื้นลำตัวและบริเวณขอบครีบด้านนอกเป็นสีแดงหรือสีส้ม บริเวณแนวโคนครีบมีจุดกลมสีแดงประแต้มตลอดแนวซึ่งจุดและลายแถบสีแดงเหล่านี้ขณะที่ปลายังเล็กจะเป็นสีน้ำตาลอมส้มหรือเหลือง เมื่อปลาโตขึ้นจุดและแถบลายเหล่านี้สีก็จะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้มในที่สุด แต่ปลาส่วนใหญ่สีแดงสดจะเข้มจัดเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหัว ส่วนลาย ที่อยู่ค่อนไปทางหางโดยมากจะเป็นสีแดงส้มหรือสีน้ำตาลส้ม พบน้อยตัวมากที่มีลายสีแดงเพลิงทั้งตัว สำหรับลวดลายและสีสันทั้งหมดนี้ ยังแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องที่ สำหรับปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลวดลายและสีสันแตกต่างออกไป ซึ่งภาษาใต้จะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กระทิงลายดอก" หรือ "กระทิงลายดอกไม้" มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน โดยมักชอบหลบอยู่ใต้ซากไม้ใต้น้ำเพื่อรออาหาร ซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป จากสีสันที่สวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่สำหรับสถานะในธรรมชาติ มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถูกจับจากธรรมชาติมากเกินไป.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระทิงไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่มุก

ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus leerii ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ เป็นปลาที่สามารถเพาะพันธุ์ในสถานที่เลี้ยงได้ และมีการแข่งขันประกวดความสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระดี่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่หม้อ

ปลากระดี่หม้อ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopodus trichopterus ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ จัดเป็นปลาสกุล Trichopodus ที่พบชุกชุมที่สุด นิยมบริโภคในท้องถิ่น เช่นเดียวกับปลาสลิด (T. pectoralis) และปลากระดี่นาง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "เดิด" ภาษาเหนือเรียก "สลาก" หรือ "สลาง" ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่สามจุด" (Three spot gourami) หมายถึง จุดดำสองจุดใหญ่ตามลำตัวและนับลูกตาด้วย ชื่อที่นิยมเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามคือ "กระดี่นางฟ้า".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระดี่หม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่นาง

ปลากระดี่นาง หรือ ปลากระดี่ฝ้าย (Moonlight gourami, Moonbeam gourami) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลำตัวรูปไข่และแบนข้างมาก หลังยกสูงเล็กน้อย ด้านท้ายเรียวเล็ก หัว ตา และปากเล็ก ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ลำตัวสีเงินนวลเหลือบด้วยสีเขียวและสีฟ้า โดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบสีจางใส ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวเฉลี่ย 7-14 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำในภาคอีสาน, ภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย และยังพบได้ในประเทศอื่นในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะก่อหวอดผสมกับเศษหญ้าหรือพืชไม้ชนิดต่าง ๆ เป็นปลาที่สามารถใช้บริโภคได้ ในพื้นที่อีสานนิยมบริโภคโดยปรุงสด หรือทำปลาร้า, ปลาแห้ง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระดี่นาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่แดง

ปลากระดี่แดง (Honey gourami, Red gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในสกุล Trichogaster ในวงศ์ Osphronemidae มีรูปร่างและลักษณะคล้ายปลากระดี่แคระ (T. lalia) ซึ่งจัดเป็นปลาอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ทว่าปลากระดี่แดงจะมีรูปร่างที่ยาวกว่าอย่างเห็นได้ชัด สีของลำตัวจะเป็นสีแดง, สีส้ม หรือสีเหลือง ช่วงท้องสีจะจางไปเป็นสีขาว โดยที่ตลอดทั้งลำตัวโดยไม่มีลวดลายเหมือนปลากระดี่แคระ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร ขณะที่ตัวเมียประมาณ 4 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและบังกลาเทศ อีกทั้งยังมีบางข้อมูลว่าระบุว่าพบในประเทศไทยด้วย ส่วนพฤติกรรมและการวางไข่คล้ายกับปลากระดี่ในสกุล Trichogaster ชนิดอื่น ๆ เป็นปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยมีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวมากนัก สามารถรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดลำตัวไล่เลี่ยกันได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระดี่แดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่แคระ

ปลากระดี่แคระ (Dwarf gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในสกุล Trichogaster อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย มีรูปร่างแบนข้างมาก ตามลำตัวมีแถบสีเขียวหรือสีน้ำเงินอ่อนสลับกับสีแดงทั่วไปตามครีบต่าง ๆ ด้วย และอาจมีสีสันที่หลากหลายกว่านี้ โดยในบางตัวอาจจะไม่มีลวดลายเลยก็ได้ ตัวผู้มีความแตกต่างจากตัวเมียอย่างชัดเจน กล่าวคือ มีสีที่สดสวยกว่ามาก มีขนาดความยาวตำตัวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มีอุปนิสัยไม่ก้าวร้าวเท่าปลากระดี่ในสกุล Trichopodus ชอบอยู่กันเป็นฝูงตามแหล่งน้ำที่พืชไม้น้ำขึ้นหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ตามกอพืช แต่เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอด และเมื่อวางไข่เสร็จแล้ว ตัวผู้จะดุร้ายกับตัวเมียทันที และอาจทำร้ายตัวเมียจนตายได้ และเมื่อหลังวางไข่เสร็จแล้วตัวเมียมักจะตาย มีอายุเต็มที่ประมาณ 4 ปี นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งได้มีการเพาะขยายพันธุ์ออกมาเป็นสีสันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในปลาตัวที่สีสีแดงทั้งตัวหรือสีส้ม มักจะเรียกว่า "กระดี่นีออน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระดี่แคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระแห · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำกรุงเทพมหานครของกรมประมง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระโห้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโทงร่ม

รีบหลังอันใหญ่เป็นเอกลักษณ์ ปลากระโทงร่ม หรือ ปลากระโทงแทงร่ม (Sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในสกุล Istiophorus มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงสกุลอื่น ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่ม เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระโทงร่ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนบัว

ปลากระเบนบัว (Whitenose whipray, Bleeker's whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) เป็นปลากระเบนที่อยู่ในน้ำจืดชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายปลากระเบนลายเสือ (H. oxyrhyncha) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีจะงอยปากยื่นแหลมกว่า ขอบครีบกว้างกว่า พื้นลำตัวสีนวลหรือสีน้ำตาลแดง ไม่มีลวดลายใด ๆ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านล่างสีขาว และมีลักษณะคล้ายกับปลากระเบนทะเลชนิด H. fai และ H. pastinacoides เป็นปลาที่ถูกบรรยายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย พีเตอร์ บลีกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนบัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนกิตติพงษ์

ปลากระเบนกิตติพงษ์ หรือ ปลากระเบนแม่กลอง (Kittipong's whipray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป ต่างกันที่ด้านหลังจะมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง รอบวงของลำตัว หาง ช่องหายใจ ช่องเหงือกและขอบด้านล่างของตัวเป็นสีคล้ำ และจำนวนของฟันซึ่งมีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ บริเวณขากรรไกรล่างมีจำนวนมากถึง 14-15 แถว ส่วนลำตัวมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 50-80 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ปลากระเบนกิตติพงษ์ ได้ถูกจำแนกออกจากปลากระเบนขาว (H. signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนลักษณะคล้ายคลึงกัน จากการสังเกตของเจ้าของร้านขายปลาสวยงามแห่งหนึ่งในตลาดกลางปลาสวยงาม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จากนั้น กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจปลาน้ำจืดชาวไทยที่มีชื่อเสียงได้ส่งตัวอย่างต้นแบบแรกให้แก่ ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนกิตติพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนราหูน้ำจืด

ปลากระเบนราหูน้ำจืด (Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ที่พบได้ในทะเล โดยมีน้ำหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม ความกว้างได้ถึง 2.5–3 เมตร หรือมากกว่านั้น รวมถึงมีความยาวตั้งแต่ปลายส่วนหัวจรดปลายหางที่บันทึกไว้ได้ใหญ่ที่สุด คือ 5 เมตร ถือเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีส่วนหางเรียวยาวเหมือนแส้ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8–10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ ในเงี่ยงมีสารเคมีที่มีลักษณะคล้ายเมือกลื่น มีสภาพเป็นสารโปรตีนมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ สำหรับปลาขนาดใหญ่ พิษนี้จะมีความรุนแรงเทียบเท่ากับพิษของงูกะปะ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้เมื่อถูกแทงเข้ากลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ และยังพบในแม่น้ำสายใหญ่ต่าง ๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี โดยสถานที่ ๆ มักพบตัวขนาดใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง บริเวณ 20 กิโลเมตรก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ เพื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า หากใครพบเห็นหรือจับปลากระเบนราหูน้ำจืดได้ จะพบกับความโชคร้าย ตัวอย่างสตัฟฟ์ในสวนสัตว์พาต้า ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า เดิมปลากระเบนราหูน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura fluviatilis (ปัจจุบันใช้เป็นชื่อพ้องของ ปลากระเบนธง) โดยข้อมูลที่มีอยู่ระบุว่าพบในแม่น้ำสายใหญ่และทะเลสาบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมา เมื่อการระบุชนิดพันธุ์ปลาถูกศึกษาให้ลงรายละเอียดยิ่งขึ้น ปลากระเบนราหูน้ำจืดจึงถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ. 1990 โดย ศ.ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนราหูน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลายเสือ

ปลากระเบนลายเสือ (Marbled whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป หางไม่มีริ้วหนัง พื้นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลือง กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวกระจายอยู่ทั่วตัวไปจนปลายหาง อันเป็นที่มาของชื่อ พื้นลำตัวด้านล่างสีขาว หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง มีขนาดความกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร หางยาว 1.2 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3-5 กิโลกรัม ปลากระเบนลายเสือเป็นปลาน้ำกร่อยที่พบอาศัยอยู่ค่อนมาทางน้ำจืด เป็นปลาที่พบน้อย พบได้ตามปากแม่น้ำ เช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปากแม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, ทะเลสาบเขมร และพบได้ไกลถึงปากแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย แต่มีรายงานทางวิชาการว่าพบครั้งแรกที่แม่น้ำน่าน เนื่องจากเป็นปลาที่มีลวดลายสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่มักจะเลี้ยงไม่ค่อยรอดเพราะปลามักประสบปัญหาปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือภาวะแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ค่อยได้ ปลากระเบนลายเสือมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลากระเบนเสือดาว", "ปลากระเบนลาย" หรือ "ปลากระเบนลายหินอ่อน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนลายเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลาว

ปลากระเบนลาว หรือ ปลากระเบนแม่น้ำโขง (Mekong stingray, Mekong freshwater stingray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ส่วนหัวจะออกเป็นรูปทรงห้าเหลี่ยม ตาโต หางมีริ้วหนังบาง ๆ โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่เมื่อหลุดหรือหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ทดแทนได้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลนวล กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ลำตัวด้านล่างสีขาว และมีปื้นสีเหลืองอ่อนหรือส้มปน ความกว้างของลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 80 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 1.2 เมตร น้ำหนักมากที่สุดมากกว่า 10 กิโลกรัม หากินตามพื้นท้องน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน, ปลาขนาดเล็ก และสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง พบเฉพาะแม่น้ำโขงตอนกลาง ในช่วงของประเทศกัมพูชา, ลาว, ไทย และอาจพบได้จนถึงจีนตอนล่าง โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนลาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจุดฟ้า

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนทอง ปลากระเบนจุดฟ้า (Bluespotted stingray, Bluespotted maskray) ปลากระดูกอ่อนน้ำเค็มชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีจะงอยปากและปลายครีบอกเป็นมุมกว้าง ด้านหลังลำตัวเรียบ หางเรียวยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ตาโตอยู่ชิดกันและมีแถบสีคล้ำระหว่างดวงตา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือเหลือง มีจุดประสีฟ้าอ่อนและดำกระจาย ด้านท้องสีจาง ปลายหางมีสีดำ มีปล้องสีขาวอยู่ 1-2 ปล้อง มีขนาดความกว้างของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่ง ตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงที่ลึกอย่างไหล่ทวีป ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยพบได้ประปรายในทวีปแอฟริกา มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายในที่ตื้น ๆ โดยกินสัตว์น้ำเช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นอาหาร ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมในบางพื้นที่ และพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันหน้า 101, คู่มือปลาทะเล โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนจุดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนทอง

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนจุดฟ้า ปลากระเบนทอง หรือ ปลากระเบนหิน (Blue-spotted fantail ray, Bluespotted ribbontail ray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Taeniura lymma อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีลำตัวแบนค่อนข้างกลม ตาโปนโต มีช่องจมูกทางด้านข้างของตาขนาดใหญ่ ด้านล่างมีปากเว้าโค้ง ลำตัวกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต มีหางยาวเท่า ๆ กับความยาวลำตัว มีเงี่ยงที่โคนหาง 2 อัน ลักษณะแหลมยาว ปลายหางมีแผ่นหนังบาง ๆ คล้ายปลากระเบนชายธง และมีแถบสีฟ้าเป็นคู่ขนานกันตั้งแต่โคนจรดปลายหาง ตามลำตัวเป็นเมือกลื่นสีเหลืองทอง และมีจุดสีฟ้าแต้มอยู่ทั่วทางด้านบน พื้นลำตัวมีหลากหลายสี ทั้ง สีเขียว, สีน้ำตาล หรือสีเทา ส่วนใต้ท้องมีสีขาว อาศัยอยู่ตามพื้นทรายในบริเวณแนวปะการังเขตร้อนทั่วไป พบได้ตั้งแต่ความลึกไม่เกิน 30 เมตร จนถึงชายฝั่ง กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนสัตว์มีกระดองชนิดต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึง ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, อ่าวเบงกอล, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือ จัดเป็นปลากระเบนอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่นักและมีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนขาว

ปลากระเบนขาว (White-edge freshwater whipray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป หางไม่มีริ้วหนัง พื้นลำตัวด้านบนสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ มีขอบสีขาวรอบลำตัว พื้นลำตัวด้านล่างสีขาว ส่วนหางสีขาว หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ ไส้เดือนน้ำ, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง ขนาดโดยเฉลี่ยมีความกว้าง 40 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 60 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 80 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 3 กิโลกรัม เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดที่พบชุกชุมมากที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย พบมากแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน, บึงบอระเพ็ด และพบที่แม่น้ำตาปีในภาคใต้ด้วย แต่ไม่มีรายงานพบในแม่น้ำบางปะกง โดยพบชุกชุมที่สุดที่เขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งบางครั้งมีการค้นพบปลาบางตัวที่มีสีขาว ดวงตาสีดำ หรือเป็นปลาเผือกทั้งตัว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนปากแหลม

ปลากระเบนปากแหลม หรือ ปลากระเบนตุ๊กตา (Scaly whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายว่าว ลำตัวแบนลงมาก ส่วนหน้าตาจะยื่นยาวแหลม ขอบจมูกมีขนาดใหญ่เท่ากับความยาว ช่องเปิดเหงือกมี 5 คู่อยู่ด้านท้อง ส่วนหางแยกออกจากส่วนลำตัวอย่างเห็นได้ชัด หางมีลักษณะแบน มีหนามแหลม 2 อัน ขอบหนาหยักเป็นจักร ความยาวของหางใกล้เคียงกับความยาวลำตัว ซึ่งนับว่าไม่ยาวมากเมื่อเทียบกับปลากระเบนชนิดอื่นในสกุล Himantura ด้วยกัน ด้านบนของลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลม่วงกระจายอยู่ทั่วไป ใต้ท้องมีสีขาว พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลอยู่ตามหน้าดินในชายฝั่งทะเลตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก, มอริเชียส, อินโด-แปซิฟิก, ไปจนถึงอินโดนีเซีย ในบางครั้งเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำได้ จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยมีความกว้างเฉลี่ยของลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตรเท่านั้น ในประเทศไทยใช้เนื้อเพื่อการบร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนปากแหลม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนแมลงวัน

ปลากระเบนแมลงวัน หรือ ปลากระเบนจุดขาว (Whitespotted whipray, Banded whip-tail stingray) เป็นปลากระเบนที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura gerrardi ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ส่วนหัวไม่แยกออกจากครีบหู แผ่นปีกของลำตัวค่อนข้างกลมมน ความกว้างของปีกเกือบเท่าความยาวของลำตัว มีหางยาวคล้ายแส้และมีตุ่มแข็งอยู่กึ่งกลางหลัง พื้นลำตัวสีน้ำตาลเขียวอมทอง มีจุดกลมสีขาวกระจายอยู่ทั่ว โคนหางมีเงี่ยงที่มีปลายแหลม 1 หรือ 2 อัน มีรอยคาดสีขาวเป็นปล้องสลับกันไปตามความยาวของหาง ซึ่งเมื่อปลายังเล็กอยู่จุดบนลำตัวดังและปล้องที่ข้อหางจะไม่ปรากฏ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 24-120 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร จัดเป็นปลาทะเลที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังหรือชายฝั่ง พบได้ในทะเลตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, แถบอินโด-แปซิฟิก ไปจนถึงภาคใต้ของญี่ปุ่นจาก fishbase.org บางครั้งอาจว่ายเข้ามาหากินในแถบน้ำกร่อยหรือน้ำจืดตามปากแม่น้ำได้ โดยมีรายงานว่าเคยพบที่แม่น้ำคงคาด้วย สำหรับในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดจันทบุรี เป็นปลาที่ใช้เนื้อในการบริโภคและทำเป็นปลาแห้ง และมีการจับขายเป็นปลาสวยงามด้วย แต่โดยมากมักจะเลี้ยงไม่รอด เพราะปลาไม่สามารถที่จะปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทหรือในสภาพที่เลี้ยงได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากระเบนแมลงวัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากราย

ปลากราย (Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3-20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร น้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย รวมถึงในประเทศใกล้เคียง แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเนื้อเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย เป็นส่วนที่นิยมมาปรุงอาหารโดยนำมาทอดกระเทียมหรือชุบแป้งทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทองคำขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลาหางแพน" ในภาษากลาง "ปลาตอง" ในภาษาอีสาน "ปลาตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากราย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริม

ปลากริม เป็นสกุลปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Trichopsis (/ไทร-ช็อป-ซิส/) ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลาในสกุลปลากัด (Betta spp.) แต่มีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า ส่วนหัวจะแหลมกว่า จะมีแถบลายพาดขวางในแนวนอนประมาณ 2-3 แถบที่ข้างลำตัว และมีสีสันไม่สดเท่า ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางปลายแหลมคล้ายใบโพ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-6 ก้าน และก้านครีบแขนง 19-28 ก้าน พบได้ทั่วไปในทุกแหล่งน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในนาข้าว, ท้องร่องสวน จนถึงแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดเล็ก มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีกัดกันเองบ้างในฝูง แต่ไม่ถึงขั้นกัดกันถึงตายเหมือนเช่นปลาในสกุลปลากัดบางชนิด อาทิ Betta spendens แต่มีจุดเด่น คือ สามารถส่งเสียงดัง "แตร็ก ๆ ๆ" ได้ พร้อมกับกางครีบ เมื่อต้องการขู่ผู้รุกราน ซึ่งเป็นเสียงของการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างถุงลม เป็นปลาที่จำแนกเพศได้ยากกว่าปลาในสกุลปลากัด แต่ทว่าก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ตัวเมียจะมีขนาดเล็กและครีบต่าง ๆ สั้นกว่า รวมถึงสีสันก็อ่อนกว่าตัวผู้ เมื่อผสมพันธุ์จะจับคู่กันเองในฝูง โดยที่ตัวผู้เป็นฝ่ายก่อหวอดและเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นตัว และเลี้ยงดูในระยะแรก ปัจจุบัน พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากริม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมมุก

ปลากริมมุก หรือ ปลากริมสี (Pygmy gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว เกล็ดข้างลำตัวสะท้อนแสงแวววาว ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำพาดยาวตามความยาวลำตัว 1 แถบ เหนือแถบมีจุดสีน้ำตาลกระจายเรียงเป็นแถว ครีบมีลักษณะโปร่งใสและมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่ว ปลายหางมน ตรงกลางเป็นติ่งยื่นยาวเล็กน้อย ปลายขอบครีบมีสีแดงสด มีขนาดความยาวไม่เกิน 4 เซนติเมตร จัดเป็นปลากริมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก พฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็ก เช่น หนองหรือบึงน้ำ พบได้ในประเทศไทยทุกภาค และพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ขั้นกัดกันจนตายเหมือนปลากัด สามารถฮุบอากาศเหนือผิวน้ำได้โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ปลาตัวผู้มีสีสดกว่าตัวเมีย แพร่พันธุ์ด้วยการก่อหวอดใต้ร่มไม้หรือติดกับพืชน้ำ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 2 วัน โดยตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน โดยไม่ให้ตัวเมียเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเลย นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากริมมุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมอีสาน

ปลากริมอีสาน (Threestripe gourami.) เป็นปลากริมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopsis schalleri ในวงศ์ Osphronemidae มีรูปร่างและสีสันคล้ายกับปลากริมมุก (T. pumilus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ทว่ามีครีบหลังและครีบอกยาวกว่า ปลากริมอีสานนั้นมีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะลุ่มน้ำโขงทางภาคอีสานของไทยเท่านั้น ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่ง แรกเริ่มเคยเชื่อว่าเป็นความหลากหลายทางสีสันของปลากริมควาย (T. vitatus) ซึ่งเป็นปลากริมชนิดที่พบชุกชุมมากที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดที่คล้ายคลึงกันและพบในแหล่งเดียวกัน แต่เมื่อได้ศึกษาไปแล้วพบว่าทั้ง 2 ชนิด นี้ไม่ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กัน จึงถือว่าเป็นชนิดใหม่ มีความยาวลำตัวประมาณ 6 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากริมอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริมข้างลาย

ำหรับปลากัดป่าที่หมายถึงปลากัด ดูที่: ปลากัดป่า ปลากริมข้างลาย หรือ ปลากริมควาย หรือ ปลากัดป่า (Croaking gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลากริมชนิดหนึ่ง นับเป็นปลากริมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและพบแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางหลากหลายที่สุด มีลักษณะเด่น คือ มีครีบหลัง ครีบอก ครีบก้น และครีบหางยื่นออกมาเป็นเส้นเดี่ยว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 6-8 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 6-7 ก้าน และก้านครีบแขนง 24-28 ก้าน จำนวนแถวของเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมี 28-29 แถว สีสันมีแตกต่างหลากหลายกันไป แม้ว่าจะอยู่ในแหล่งอาศัยแหล่งเดียวกันก็ตาม นอกจากนี้แล้วบางตัวยังมีจุดกลมสีดำอยู่กลางลำตัวและเหนือครีบอก มีแถบสีดำพาดผ่านนัยน์ตาและแก้ม มีความยาวเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น หนองหรือบึงน้ำที่มีหญ้าหรือวัชพืชปกคลุม ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักกัดกันเองอยู่เสมอ ๆ ในระหว่างปลาตัวผู้ แต่ก็ไม่รุนแรงถึงขั้นตายไปกันข้างเหมือนปลากัด นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศ ในเมืองปาล์มบีชเคาน์ตี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา สามารถพบได้ตามท้องร่องระบายน้ำ และสามารถขยายพันธุ์ได้เอง เนื่องจากถูกนำไปในฐานะปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากริมข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงลาย

ปลากะพงลาย (Silver tiger fish, American tiger fish) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides polota อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ทว่ามีช่วงปากและรูปทรงลำตัวที่เรียวยาวและแหลมกว่าปลาเสือตอลายใหญ่ (D. pulcher) หรือ ปลาเสือตอลายเล็ก (D. undecimradiatus) และมีสีของลำตัวออกขาวเหลือบเงินและเขียวแวววาว ลายแถบสีดำบนลำตัวมีขนาดเรียวเล็ก ลายแถบตรงข้อหางแถบสุดท้ายเป็นขีดขาดกันแลดูคล้ายจุดสองขีด ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร นับว่าใกล้เคียงกับปลาเสือตอลายเล็ก พบกระจายพันธุ์บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าโกงกางชายฝั่งทะเลที่เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่อินเดียจนถึงปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย ปลากะพงลายเป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งจะมีชื่อเรียกในการค้าขายว่า "ปลาเสือตอแปดริ้ว", "ปลาเสือตอบางปะกง" หรือ "ปลาเสือตอน้ำกร่อย" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลาลำพึง", "ปลาลำพัง", "ปลากะพงแสม" หรือ "ปลากะพงหิน" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงขาว

ปลากะพงขาว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 กิโลกรัม โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มีเป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น แปะซะ, นึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากะพงขาวยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากะพงน้ำจืด" ขณะที่ชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "ปลาโจ้โล้".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงข้างปาน

ปลากะพงข้างปาน (Russell's snapper, Moses perch) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์เดียวกันทั่วไป ครีบหลังมีฐานยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่และปลายเว้าเล็กน้อย มีพื้นลำตัวสีเหลืองหรือสีทอง หรือสีน้ำตาลแดงหรือสีขาวเงิน มีเส้นสีแดงปนน้ำตาลจำนวน 8 เส้น พาดผ่านและโค้งไปตามแนวลำตัว บริเวณก่อนถึงโคนหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีลายพาดแนวนอนตามลำตัวตั้งแต่หัวจรดหาง 3-4 ขีด และเมื่อโตขึ้นลายขีดจะหายไป ครีบและหางกลายเป็นสีเหลือง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน พบในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ในประเทศไทยพบได้ทั้งชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย นิยมอยู่เป็นฝูง นิยมตกเป็นเกมกีฬา เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากะพงปานข้างลาย", "ปลาเหลืองลีซี" หรือ "ปลากะพงทอง".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงข้างปาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแดง

ปลากะพงแดง เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งที่อยู่ในสกุล Lutjanus ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) คำว่า Latjanus รวมถึง Lutjanidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ด้วย มาจากคำว่า ikan lutjan (อีกันลุตจัน) ซึ่งเป็นชื่อเรียกปลาจำพวกนี้ในภาษามลายู ปลากะพงแดงเป็นปลากินเนื้อ อาศัยอยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก บางชนิดอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ และมีอยู่สองชนิดที่พบได้เฉพาะในน้ำจืดและน้ำกร่อยเท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแดงสั้นหางปาน

ปลากะพงแดงสั้นหางปาน (Malabar red snapper, Malabar blood snapper, scarlet sea perch) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีลำตัวค่อนข้างป้อม ด้านข้างแบน หางยาว หัวโต ตาใหญ่ จะงอยปากสั้น ปากกว้างมีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงติดกันเป็นแผง ครีบหลังมีฐานยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งมีขอบปลายเว้าขึ้นลงตามความสูงต่ำของก้านครีบ ครีบก้นอยู่ใกล้กับหาง ครีบอกและครีบท้องมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางใหญ่และลำตัวตรง พื้นลำตัวด้านบนสีแดงหรือชมพูอมแดง ส่วนท้องสีเหลือง เหมือนเส้นข้างตัวมีเส้นสีเหลืองจางพาดเฉียงขึ้น เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน จะมีลำตัวสีเหลืองอ่อน จะมีแถบสีดำพาดผ่านบริเวณส่วนหน้า และข้อหางมีปื้นสีดำคล้ายปาน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยที่พบคือ 30-60 เซนติเมตร หากินตามแนวปะการังหรือใกล้ชายฝั่ง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลอาหรับ, อินโด-แปซิฟิก, ฟิจิ, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร เนื้อมีรสชาติดี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงแดงสั้นหางปาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแดงหน้าตั้ง

ปลากะพงแดงหน้าตั้ง (Emperor red snapper) เป็นปลาน้ำเค็มกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lutjanus sebae อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ด้านข้างแบน ส่วนของท่อนหางยาว หัวโต บริเวณหัวส่วนบนมีลักษณะลาดชัน นัยน์ตามีขนาดใหญ่ ปากกว้างมีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแผง ครีบหลังมีฐานยาว ปลายเรียวแหลม ครีบก้นอยู่ใกล้กับคอดหางและมีส่วนปลายแหลม ครีบหูและครีบท้องมีส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งมีจำนวนใกล้เคียงกัน ครีบหางยาวและเว้าลึก สีจะเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของปลา ขณะที่เป็นปลาวัยอ่อนลำตัวจะมีสีชมพูและมีแถบสีดำเข้ม 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหน้าผ่านนัยน์ตาไปจนบริเวณคาง ข้างลำตัวบริเวณครีบหู และข้างลำตัวโค้งจากบริเวณครีบหลังตอนที่ 2 ไปจรดท่อนหาง ดูแลสวยงามเห็นได้ชัดเจน เมื่อปลาโตขึ้น บริเวณส่วนหัวลาดชันขึ้น แถบดังกล่าวจะกลายเป็นสีแดงและเริ่มลดขนาดลง และเมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย แถบสีดังกล่าวจะค่อย ๆ เลือนจางจนหายไปเมื่อปลาโตเต็มที่ เหลือแต่เพียงเป็นจุดสีแดงเรื่อ ๆ บนพื้นลำตัวสีขาวอมแดงเท่านั้น มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดขนาด 1 เมตร น้ำหนักราว 20-30 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณแนวปะการังและชายฝั่งของอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน ในวัยเล็กมักอาศัยอยู่คู่กับเม่นทะเล โดยว่ายผ่านไปมาระหว่างขนของเม่นทะเล เพื่อป้องตัวกันจากนักล่า เป็นปลาที่นิยมรับมาบริโภคโดยการปรุงสุดเช่นเดียวกับปลากะพงแดงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งพฤติกรรมในสถานที่เลี้ยงนั้น ปลากะพงแดงหน้าตั้งเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก ทรหดอดทน ทนทานต่อโรค และกินอาหารง่ายแบบตะกละไม่เลือกทั้งอาหารสดหรืออาหารเม็.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงแดงหน้าตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงเหลืองห้าเส้น

ปลากะพงเหลืองห้าเส้น หรือ ปลากะพงเหลืองแถบฟ้า (five-lined snapper, blue-striped snapper, blue-banded sea perch) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน แต่มีลักษณะเด่น คือ มีแถบข้างลำตัวเป็นสีฟ้าบนพื้นสีเหลืองสด และมีแต้มสีดำระหว่างเส้นสองแถบบน ลูกปลาขนาดเล็กมีลำตัวใสจนมองเห็นกระดูกภายในได้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบชายฝั่งและแนวปะการังของอินโด-แปซิฟิกตะวันออก ไปจนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีการบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจบ้าง แต่รสชาติไม่อร่อย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่า เนื่องจากความสวยงามที่โดดเด่น นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลากะพงข้างปาน", "ปลากะพงทอง" หรือ "ปลาเหลืองลีซี".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงเหลืองห้าเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงเขียว

ปลากะพงเขียว (Blue-gray snapper, Green jobfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากยาวปลายมน นัยน์ตาโตและอยู่ใกล้ช่องเปิดเหงือก ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเป็นเขี้ยวที่แหลมคมท่อนหางยาวเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กที่หัวและลำตัว ครีบหลังยาว ส่วนของก้านครีบแข็งและอ่อนติดเป็นแผ่นเดียวกัน ครีบหางเว้าเป็นแฉกกว้าง ปลายแฉกเรียวแหลม พื้นลำตัวมีสีเขียวปนน้ำเงิน ส่วนท้องเป็นสีขาวปนเทาจาง ๆ จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Aprion (มาจากภาษากรีกคำว่า "Aprion" หมายถึง "ปราศจาก" กับคำว่า "prion" หมายถึง "เลื่อย") มีความยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 112 เซนติเมตร น้ำหนัก 15.4 กิโลกรัม เป็นปลาที่แพร่กระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่เกาะฮาวาย, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่น จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบมากที่ทะเลอันดามัน มักพบในหน้าดิน บริเวณเกาะ, แนวปะการัง ในระดับความลึกไม่เกิน 100 เมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ ที่มีรสชาติดี มีความสำคัญในการทำประมง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะพงเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังลายจุด

ปลากะรังลายจุด หรือ ปลากะรังน้ำกร่อย (Brown spotted grouper, Estuary grouper, Malabar grouper, Greasy cod, Spotted river cod, Estuary rock cod) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในบริเวณชายฝั่งหรือปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก จนถึงทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร มีขนาดโตเต็มที่ได้มากกว่า 120 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 150 กิโลกรัม นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะเลี้ยงตัวเองในบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยปลาที่โตเต็มวัยจะผสมพันธุ์และวางไข่ในทะเล และที่สำคัญยังสามารถเปลี่ยนเพศได้อีกตามวัย โดยลูกปลาที่อยู่ในวัยไม่เกิน 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด และเมื่อเติบโตขึ้นมาจนน้ำหนักเกิน 7 กิโลกรัมขึ้นไป จะกลายเป็นเพศผู้ การผสมพันธุ์จะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศเมีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่มีการนิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในกระชังหรือบ่อดินริมทะเบหรือบริเวณน้ำกร่อยในหลายพื้นที.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะรังลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังหน้างอน

ปลากะรังหน้างอน หรือ ปลากะรังหงส์ หรือ ปลาเก๋าหงส์ (Humpback grouper, Barramundi cod, Panther grouper) อยู่ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว ลำตัวสีเทาอ่อน แต้มด้วยจุดสีดำกระจายทั่วทั้งตัวและครีบ จัดเป็นปลาชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cromileptes มีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2 ปี น้ำหนักกว่า 2.5 กิโลกรัม พบกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังหรือกองหินที่มีน้ำขุ่น ความลึกตั้งแต่ 2–40 เมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทะเลจีน, ญี่ปุ่น, ปาปัวนิวกินี, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ปลากะรังหน้างอนเป็นปลาที่มีความโดดเด่นที่สีสันที่มีความสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก พื้นลำตัวจะเป็นสีขาวตัดกับจุดกลมสีดำเห็นชัดเจน จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อย จึงนิยมจับเพื่อรับประทานเป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาตัวที่ถูกจับได้ในธรรมชาติจะมีราคาสูงถึงตัวละ 2,400–2,800 บาท ดังนั้น สถานะในธรรมชาติของปลากะรังหน้างอนจึงอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม แต่ในปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะรังหน้างอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังปากแม่น้ำ

ปลากะรังปากแม่น้ำ (Arabian grouper, Greasy grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus tauvina) ปลาทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) วงศ์ย่อย Epinephelinae มีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเก๋าลายจุด", "ปลาเก๋าจุดน้ำตาล" มีพื้นลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีจุดดำและลายปื้นสีเขียวกระจายไปทั่วตัว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ โดยสามารถยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกินเหยื่อโดยการฮุบกินไปทั้งตัว พบกระจายอยู่ตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาใต้ ในทวีปเอเชียพบได้จนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยอาศัยอยู่ในทะเลที่มีความลึกตั้งแต่ 1–300 เมตร อีกทั้งยังสามารถพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลนที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบชุกชุมที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา นิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงในกระชัง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะรังปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะตัก

ำหรับปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซิวข้าวสาร ปลาข้าวสาร ปลากะตัก หรือ ปลาไส้ตัน (Anchovy) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Stolephorus จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวเรียวยาว แบนข้างมีสันหนามที่ท้อง ขากรรไกรบนยาวเลยหลังตา ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก มีแถบสีเงินพาดตามแนวความยาวของลำตัว ปลากะตัก ในประเทศไทยเป็นพันธุ์ปลาขนาดเล็กกว่าปลากะตักประเทศอื่นๆ ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เป็นปลาที่หากินตามผิวน้ำ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล ตามบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ กินแพลงก์ตอนต่าง ๆ เป็นอาหาร ทั้งแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดอะตอม และแพลงก์ตอนสัตว์เช่น ตัวอ่อนของครัสเตเชียน, โคพีพอด หรือไข่ของหอยสองฝา เป็นต้น และสำหรับห่วงโซ่อาหารในทะเล ปลากะตักก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า เช่น แมวน้ำ, สิงโตทะเล, โลมา, วาฬ และปลาฉลาม ปลากะตัก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำของอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบ 11 ชนิด จากการศึกษาของ ทศพร วงศ์รัตน์ ในปี ค.ศ. 1985 จากทั้งหมด 20 ชนิด (เดิมมีอยู่ 18 ชนิด) เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญต่อมนุษย์ โดยสามารถนำไปแปรรูปต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น น้ำปลา, ปลาป่น, ปลาแห้ง, บูดู รวมทั้งการบริโภคสด ปลากะตัก นอกจากปลาไส้ตันแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ปลากล้วย, ปลาหัวอ่อน, ปลาจิ้งจั๊ง, ปลามะลิ, ปลาหัวไม้ขีด, ปลาเส้นขนมจีน, ปลายู่เกี้ย, ปลาเก๋ย เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ปลากะตักตากแห้งมีชื่อเรียกว่า ปลาข้าวสาร นิยมรับประทานเป็นกับแกล้มกับอาหารชนิดอื่น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะตัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะตักใหญ่

ปลากะตักใหญ่ หรือ ปลากะตักควาย (Indian anchovy) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stolephorus indicus ในวงศ์ปลากะตัก (Engraulidae) มีลำตัวยาวเรียวด้านข้างแบน ท้องเป็นสันคม เกล็ดบริเวณหน้าครีบท้องแข็งเป็นหนาม หัวโต จะงอยปากสั้น ปากกว้างและเฉียงขึ้นข้างบน ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางลึกเป็นแฉก ครีบหูและครีบท้องมีขนาดเล็ก มีแถบสีขาวคาดที่ข้างลำตัวและมีจะงอยปากใหญ่กว่าปลากะตักชนิดอื่น ๆ ไม่มีเส้นดำบนด้านหลังระหว่างหัวถึงครีบหลัง ลำตัวเป็นสีเทาโปร่งแสง มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ หากินตามผิวน้ำ โดยมีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร กินอาหารขนาดเล็ก จำพวก แพลงก์ตอน, เคยหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล สามารถเข้าไปหากินถึงในแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำได้ ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นอกจากนั้นแล้วยังพบได้ไกลถึงชายฝั่งของแอฟริกาใต้, ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, ซามัว, ตาฮิติ, มาดากัสการ์, ทะเลจีนตะวันออก และออสเตรเลีย มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในแง่ของการทำเป็นน้ำปลา, ปลาแห้ง, ปลาป่น และแกงกะหรี่ ในอินเดีย ปลากะตักใหญ่ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลามะลิ", "ปลากล้วย" หรือ "ปลาไส้ตัน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะตักใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะแมะ

ปลากะแมะ (Angler catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) มีรูปร่างประหลาด หัวแบนราบมากและปากกว้าง ครีบหลังและครีบอกสั้น ก้านครีบอกมีขอบหยัก ครีบท้องใหญ่ มีผิวย่นและเป็นตุ่มขนาดต่างๆ หัวมีติ่งหนังอยู่โดยรอบ ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ท้องสีจาง มีประและจุดสีคล้ำกระจายทั่ว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่กองใบไม้ร่วง มักอยู่นิ่งเป็นเวลานานเพื่อรอจับปลาเล็ก ๆ โดยอาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาสที่เดียวเท่านั้น สถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และบรูไน ปลากะแมะในวัยอ่อน ไม่บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาแปลก แต่เป็นชนิดที่เลี้ยงให้รอดยาก เนื่องจากปลามักปรับสภาพให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากะแมะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่ามหาชัย

ปลากัดป่ามหาชัย หรือ ปลากัดมหาชัย (Mahachai betta) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลากัดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากัดป่ามหาชัย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากา

ปลาการาชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูน เป็นปลากระดูกแข็งขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amphiprioninae ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง

ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง หรือ ปลาการ์ตูนอินเดียน (Skunk clownfish, Nosestripe anemonefish, Whitebacked clownfish) เป็นปลาการ์ตูนที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงกับดอกไม้ทะเล โดยเฉพาะชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea พบในเขตอินโด-แปซิฟิก อาศัยอยู่ตามแนวปะการังชายฝั่งลึกประมาณ 15 เมตร ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงสามารถเลี้ยงเป็นปลาตู้ได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาการ์ตูนอินเดียนแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนแดงดำ

ปลาการ์ตูนแดงดำ หรือ ปลาสลิดหินส้ม (Red saddleback anemonefish, Saddle clownfish, Black-backed anemonefish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง มีลักษณะและสีสันคล้ายกับปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (A. frenatus) มาก จนอาจทำให้เกิดความสับสนกันได้ เนื่องจากมีสีดำบริเวณลำตัวเหมือนกัน แต่ต่างกันคือ ปลาการ์ตูนแดงดำจะไม่มีสีขาวขาดบริเวณหัวเหมือนปลาการ์ตูนมะเขือเทศเลย ตั้งแต่เล็กจนโต มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-12 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่ที่สุด 14 เซนติเมตร มีรายงานพบว่ามีอายุขัยสูงสุดถึง 16 ปี พบกระจายพันธุ์ในทะเลอันดามันและอ่าวไทย จัดเป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่งที่พบได้ในน่านน้ำไทย และพบได้จนถึงทะเลชวา, เกาะสุมาตรา, หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เป็นปลาการ์ตูนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามบ้าง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากสีสันไม่สวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาการ์ตูนแดงดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวแข็ง

ปลากดหัวแข็ง (Spotted catfish) เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius maculatus ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายปลาอุก (Cephalocassis borneensis) ที่เป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ต่างกันตรงที่มีจุดสีดำอยู่ที่ครีบไขมัน มีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงตอนล่าง รวมถึงทะเลสาบสงขลา หากินอยู่บริเวณพื้นน้ำ โดยกินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร ปลากดหัวแข็ง มีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาอุกจุดดำ".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลากดหัวแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้าง

ปลาก้าง หรือ ปลากั้ง (Dwarf snakehead, Red-tailed snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเชีย, บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา ปลาก้าง จัดว่าเป็นหนึ่งชนิดของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศไทย โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า "ปลากั๊ง" หรือ "ปลาขี้ก้าง" หรือ "ปลาครั่ง" มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ถือเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่ายมาก ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และอมไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว และเลี้ยงลูกปลาในระยะวัยอ่อนพร้อมกับตัวเมีย โดยปลาที่พบในแหล่งน้ำแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันด้านสีสัน เช่น ในเทือกเขาสูงในประเทศลาว พบปลาที่มีครีบหลังสีแดงสดเหมือนสีของไฟ อนึ่ง ปลาก้างโดยมากจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua เช่นเดียวกับปลาก้างอินเดีย แต่ทว่าข้อเท็จจริงแล้วปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทว่ายังไม่มีเอกสารหรือการยืนยันอย่างถูกต้องในเชิงวิชาการ โดยในทัศนะของนักมีนวิทยาบางท่านเห็นว่า ปลาก้างชนิดที่พบในในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata (Cuvier, 1831) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาก้าง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้างพระร่วง

ปลาก้างพระร่วง (glass catfish, ghost catfish, phantom catfish, Thai glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุล Kryptopterus นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค พบได้ทั่วไปในตลาดซื้อขายปลาน้ำจืดสวยงามโดยเป็นปลาส่งออกที่ขึ้นชื่อชนิดหนึ่ง แต่อนุกรมวิธานของปลาชนิดนี้เป็นที่สับสนกันมานานและเพิ่งได้รับการจำแนกอย่างชัดเจนในปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาก้างพระร่วง · ดูเพิ่มเติม »

ปลามังกง

ปลามังกง หรือ ปลาอีกง (Long-whiskered catfish) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง เป็นปลาหนังอยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมหนา ปกติมีสีเทาอมทอง หรือเทาอมม่วง ท้องมีสีขาว กินกุ้ง, ตัวอ่อนของแมลง, แพลงก์ตอนพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 12-15 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 46 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่บริเวณน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำ พบชุกชุมที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา คำว่า "บางปะกง" นั้นก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" อีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ปลามังกงยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมาก เช่น ปลากดหมู, ปลากด, ปลาแขยงกง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจและนิยมรวบรวมลูกปลาวัยอ่อนขายเป็นปลาสวยงามด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะว่ายไปวางไข่ในบริเวณน้ำจื.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลามังกง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาม้า

ปลาม้า (Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis (/บี-ซี-มา-เนีย/ ไม-โคร-เล็พ-อิส/) ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae) มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวค่อนข้างเล็ก หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania มีความประมาณ 25–30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร อาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย ชื่อปลาม้ามาจากการที่มีครีบหลังยาวเหมือนแผงคอของม้า ขณะที่ชื่อในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลากวง" พฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่งใต้พื้นน้ำ เมื่อว่ายน้ำจะเชื่องช้า แต่จะรวดเร็วมากเวลาไล่จับเหยื่อ ในธรรมชาติชอบอาศัยในเขตน้ำลึก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ปลาม้าเป็นปลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงมีอำเภอชื่อ อำเภอบางปลาม้า เพราะความที่ในอดีตเคยชุกชุม เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมมาก มีราคาขายที่สูง และเคยพบมากในบึงบอระเพ็ด แต่สถานภาพในปัจจุบันลดลงมาก อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการจับในปริมาณที่มาก ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ด้วยการฟักไข่ที่ได้จากพ่อแม่ปลาที่เลี้ยงรวมกันในบ่อเลี้ยง และนำลูกปลาที่ได้หลังจากเลี้ยงดูจนโตได้ที่แล้วไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เขื่อนกระเสียว ปลาม้ามีฤดูผสมพันธุ์ตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวในช่วงต้นปี สามารถส่งเสียงร้องได้ดังระงมเหมือนอึ่งอ่าง เพื่อดึงดูดปลาตัวเมียให้มาผสมพันธุ์ มักจะร้องในช่วงกลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ กระเพาะของปลาม้า ขึ้นชื่อมากในการทำกระเพาะปลา เพราะมีกระเพาะขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถพองลมทำให้เกิดเสียงได้ นอกจากนี้แล้วกระเพาะปลาม้ายังใช้ทำเป็นยางในของรถจักรยานและทำกาวในอดีตอีกด้วย แต่ปลาม้าเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อจับพ้นจากน้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาม้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลายอดม่วงลาย

ปลายอดม่วงลาย (River tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus fledmanni ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (C. microlepis) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีสีลำตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ตามตัวมีลายเส้นสีดำคล้ายลายเสือพาดตามตัว ขนาดที่พบโดยเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร ถิ่นอาศัยอยู่ที่เดียวกับปลายอดม่วงเกล็ดถี่ แต่พบน้อยกว่า พบได้ในแม่น้ำโขง และปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบได้ที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลายอดม่วงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่

ปลายอดม่วงเกล็ดถี่ (Smallscale tonguesole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynoglossus microlepis อยู่ในวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีรูปร่างคล้ายใบมะม่วง ตาเล็กอยู่ชิดกัน ปลายจะงอยปากงุ้ม เฉพาะด้านบนท้องเล็กมาก ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวตลอดลำตัว ครีบหางมีปลายแหลม เกล็ดเล็กมีขอบหยัก มีเส้นข้างลำตัว 3 เส้นบนลำตัวด้านบนและต่อเนื่องกันบริเวณหัว ตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมแดงโดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบค่อนข้างใส ลำตัวด้านล่างมีสีขาว ขนาดที่พบเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 1 ฟุต อาศัยตามชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นพื้นทราย พบในตอนล่างของแม่น้ำแม่กลอง, เจ้าพระยา, บางปะกง และภาคใต้ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดชัยนาทจนถึงพิษณุโลก บริโภคโดยทำปลาแห้ง มีราคาขายค่อนข้างสูง และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกอื่นว่า "ปลายอดม่วง", "ปลายอดม่วงแม่น้ำ" หรือ "ปลายอดม่วงน้ำจืด" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลายอดม่วงเกล็ดถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลายาว

ปลายาว (Cá bông lau) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวเรียว ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก หนวดยาวถึงลูกตา รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมและแบนข้างที่ด้านท้าย ตัวผู้มีปลายครีบหลังและครีบท้องยื่นเป็นเส้นสั้น ๆ ลำตัวมีสีเทาคล้ำอมฟ้า ข้างลำตัวสีจาง ครีบสีจาง ครีบหางมีสีเหลืองอ่อน ที่ขอบบนแฉกมีสีคล้ำจาง ๆ มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายถึงอุบลราชธานี เท่านั้น เป็นปลาที่ตายง่ายมากหลังการจับจึงได้อีกชื่อจากชาวประมงที่จังหวัดหนองคายว่า "ปลาซวยเสาะ" แต่ที่จังหวัดนครพนมเรียกว่า "ปลายาว" บริโภคโดยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี ปลายาวที่มีขนาดเล็กจะพบเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำโขง และชายฝั่งทะเลไปถึงเกาะไหหลำ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลายาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลายี่สก

ปลายี่สก หรือ ปลายี่สกทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลายี่สก · ดูเพิ่มเติม »

ปลายี่สกเทศ

ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (রুই) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60–80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน พบในรัฐโอริศา, รัฐพิหาร และรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย, แม่น้ำคงคา, ปากีสถาน จนถึงพม่าทิศตะวันตก มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่ ปลายี่สกเทศทอดในบังกลาเทศ เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมใช้บริโภคในภูมิภาคแถบนี้ โดยปรุงสด เช่น แกงกะหรี่ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2511 เช่นเดียวกับปลากระโห้เทศ (Catla catla) และปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus) เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในประเทศ ปราฏฏว่าได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความนิยมมาก โดยมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในหลายโครงการของกรมประมงทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของบ่อตกปลาต่าง ๆ อีกด้วย จนสามารถขยายพันธุ์ได้เองในแหล่งน้ำของประเทศไทย เช่น ที่แม่น้ำโขง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลายี่สกเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาย่าดุก

ปลาย่าดุก (Freshwater lionfish, Three-spined frogfish) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batrachomoeus trispinosus อยู่ในวงศ์ปลาคางคก (Batrachoididae) มีรูปร่างหัวโต ปากกว้าง มีติ่งเนื้อสั้น ๆ อยู่รอบมุมปาก ตาโต ครีบอกเป็นวงกลมและแผ่กางได้ ครีบหลังและครีบท้องยาวไปจรดหาง ครีบหางเป็นวงกลม ลำตัวอ่อนนุ่ม ไม่มีเกล็ด พื้นสีลำตัวสีน้ำตาลมีแถบดำเป็นลายเลอะพาดตลอดทั้งตัว ขนาดโตได้เต็มที่ราว 30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และยังพบในปากแม่น้ำ หรือในเขตน้ำกร่อยในภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบตั้งแต่อินโด-แปซิฟิก, ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลีย มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่ง ๆ ตามพื้นน้ำเพื่อดักรอเหยื่อ โดยสีของลำตัวกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สามารถกินปลาที่ใหญ่กว่าตัวได้ โดยปลาในวงศ์นี้จะมีพิษอยู่ที่เงี่ยงครีบหลังและครีบอก เมื่อถูกจับพ้นน้ำจะส่งเสียงร้องว่า "อุบ อุบ" เป็นปลาที่เมื่อกินเบ็ดแล้ว กินลึกลงถึงในคอ ในบางพื้นที่มีการบริโภค โดยเนื้อนุ่ม มีรสชาติอร่อย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยต้องทำการปรับสภาพน้ำให้อยู่ในน้ำจืดให้ได้เสียก่อน หน้า 110-129, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาย่าดุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลารากกล้วย

ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย (horseface loach) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsis ของวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae)ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลารากกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาริวกิว

ปลาริวกิว หรือ ปลาเรียวเซียว หรือ ปลาลู่ทู (Giant catfish, Giant sea catfish, Giant salmon catfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาหนัง ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากดหรือปลาแขยงที่พบในน้ำจืด หรือปลากดทะเลชนิดอื่น ๆ แต่มีขนาดใหญ่มากกว่า มีลำตัวยาวและค่อยข้างกลม หางแบนข้างและหัวใหญ่ ด้านหลังตรงหัวเป็นกระดูกแข็ง หน้าแหลม จะงอยปากยาว ปากกว้าง ฟันมีขนาดเล็กและสั้น มีหนวดใต้คาง 2 คู่และริมฝีปากบน 1 คู่ ครีบหลังและครีบอกมีเงี่ยงเป็นหนามแหลมครีบละหนึ่งอัน ครีบไขมันเล็กอยู่ใต้โคนหาง ครีบหางเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวนวล ครีบต่าง ๆ สีเทาคล้ำ ครีบไขมันสีดำ กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามบริเวณหน้าดินเป็นอาหาร จัดเป็นปลาอุก หรือปลากดทะเลที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.2 เมตร แต่ความยาวเฉลี่ย 30–40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามพื้นทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนเหลว บางครั้งอาจพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ใช้เนื้อในการบริโภคกันจนเป็นที่รู้จักดี รวมถึงแปรรูปเป็นปลาเค็มหรือปลาหวาน ไข่ของปลาริวกิวนิยมนำมาทำเป็นแกงส้มเหมือนปลากดทะเลชนิดอื่น ๆ แต่ไข่ปลาริวกิวนั้นมีความคาวมาก เมื่อจะนำมาปรุงอาหารต้องล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง ปลาจะมีไข่ได้ทุกฤดูกาล แต่ช่วงที่ีไข่สมบูรณ์มากที่สุด คือ ช่วงฤดูหนาวหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาริวกิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลัง

ปลาลัง, ปลาทูลัง หรือ ปลาทูโม่ง เป็นปลาชนิดหนึ่งในสกุลปลาทู อีกสองชนิดได้แก่ ปลาทู (R. brachysoma) และปลาทูปากจิ้งจก (R. faughni) ปลาลังมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาทูชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน จนชาวประมงในอดีตเคยเชื่อว่าปลาลังเป็นปลาทูตัวผู้ แต่ปัจจุบันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นปลาคนละชนิดกัน ความแตกต่างระหว่างปลาลังกับปลาทูชนิดอื่นคือ ปลาลังตัวโตกว่า ตัวเรียวยาวกว่า ปลายจมูกยื่นแหลมกว่า มีจุดสีดำใต้ฐานครีบหลัง 16 จุดซึ่งมีมากกว่าปลาทูชนิดอื่น ชอบอยู่ในบริเวณห่างไกลจากฝั่ง นิยมกินอาหารที่เป็นแพลงก์ตอนสัตว์เรื่องจากปก: วิกฤตอาหารโลก ระเบิดสงครามชิงน่านน้ำ ตามรอยปลาทูสู่โครงการฟื้นฟูทะเลไท.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาลัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลิ่น

ปลาลิ่น หรือปลาเกล็ดเงิน หรือปลาหัวโต เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีส่วนหัวโต ตาเล็กอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ปากและข้างแก้มกว้าง ครีบหลังเล็กอยู่ประมาณกึ่งกลางลำตัว ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กแบบขอบเรียบ ด้านท้องเป็นสันแคบ ตัวมีสีเงินคล้ำที่ด้านหลัง และสีเงินแวววาวที่ด้านท้อง หัวมีสีคล้ำอมแดงหรือสีเนื้อ ครีบมีลักษณะสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-50 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 105 เซนติเมตร หนักได้ถึง 50 กิโลกรัม เป็นปลาพื้นเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เป็นปลาที่ชาวจีนนิยมบริโภคเพราะมีรสชาติดีแม้ว่าจะมีก้างเยอะก็ตาม ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงในบ่อและถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น เช่น บ่อปลาในโครงการต่าง ๆ ของกรมประมงหรือหมู่บ้านหรืออ่างเก็บน้ำ โดยให้ปลาลิ่นกินเศษอาหารและแพลงก์ตอนจากการกินพืชจำพวกหญ้า และมูลจากปลาชนิดอื่น เช่น ปลาไน (Cyprinus carpio) เป็นต้น ขยายพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียมเท่านั้น ไม่พบการแพร่พันธุ์เองในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย ถูกนำเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2475 โดยถูกนำเข้ามาพร้อมกับชาวจีนทางเรือสำเภา และต่อมากรมประมงและคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำการทดลองผสมเทียมขึ้นจนสำเร็จจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด

ปลาลิ้นหมาน้ำจืด (Freshwater sole, River sole) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachirus panoides มีรูปร่างเรียวเป็นรูปไข่ ตาเล็กอยู่ห่างกัน ปากเล็กมีรูจมูกเห็นเป็นท่อชัดเจน ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก มีเส้นข้างลำตัวตรงตลอดแนวลำตัว และมีแขนงสีล้ำตัดเป็นแนวดิ่ง 6-7 เส้น ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มใหญ่สีคล้ำหลายแต้มตามบริเวณใกล้กับครีบหลังและครีบก้น ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว ขนาดลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร อาศัยอยู่บริเวณพื้นน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นดินและพลิ้วตัวขึ้นมาแนวขึ้นลง สามารถมุดลงใต้ทรายได้เร็วเวลาตกใจ โดยปกติมักจะไม่เคลื่อนไหว อาหารได้แก่สัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือนน้ำ, ลูกกุ้ง เป็นต้น ปลาลิ้นหมาน้ำจืดเป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่ค่อยลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ ดังนั้น คนสมัยก่อนหากเห็นปลาลิ้นหมาลอยตัวขึ้นมาเหนือน้ำ จะเก็บน้ำใส่ตุ่ม เพราะเป็นสัญญาณบ่งชี้แล้วว่าน้ำจะเสีย ปลาลิ้นหมาน้ำจืดพบในแม่น้ำตอนล่างใกล้กับปากแม่น้ำของทุกภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ไม่พบในแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาแห้ง อีกทั้งเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย แต่ปัจจุบันหาได้ยากขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทได้ทำการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้อยู่ ซึ่งปลาลิ้นหมาน้ำจืดมีชื่อเรียกที่แตกต่างและซ้ำซ้อนกันไปเช่น "ใบไม้", "ลิ้นควาย" หรือ "เป" ในภาษาอีสาน เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาลิ้นหมาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น

ปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น หรือ ปลาลิ้นเสือ (Largetooth flounder) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซีกเดียวหรือปลาลิ้นหมา ในวงศ์ปลาลิ้นเสือ (Paralichthyidae) โดยถือเป็นชนิดต้นแบบของสกุล Pseudorhombus ด้วย เป็นปลาทะเลที่มีรูปทรงภายนอกดูมนคล้ายใบไม้หรือขนุน ลำตัวด้านข้างแบน ด้านที่มีสีเข้มอยู่ทางซีกซ้ายและมีตาทั้งสองข้างอยู่ด้านเดียวกัน ปากค่อนข้างกว้าง ฟันเล็กแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางเป็นเหลี่ยม ลำตัวทางซีกซ้ายมีสีน้ำตาลปนดำและมีรอยแต้มสีดำอยู่ 2 จุด เป็นปลาหน้าดินที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำในท้องทะเล พบแพร่กระจายอยู่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบตามบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไปในอ่าวไทย บางครั้งอาจพบได้ในแม่น้ำที่ต่อกับทะเล กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก เช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลา, หนอนทะเล มีความยาวเต็มที่ประมาณ 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เพื่อการบริโภคเป็นปกต.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาลิ้นควายเกล็ดลื่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลามะลิเลื้อยสำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสร้อยลูกกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยขาว

ปลาสร้อยขาว (Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาส้อยหัวกลม" ในภาษาอีสาน, หรือ "ปลากระบอก" ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสร้อยขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขา

ปลาสร้อยนกเขา (hard-lipped barb, lipped barb, nilem carp, orange shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวค่อนข้างแบน ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่คือที่บริเวณ ขากรรไกรบน และใต้คางอย่างละ 1 คู่ บริเวณท้องมีสีเขียวสด ด้านล่างสีขาวนวล ใต้ท้องสีขาว มีจุดสีดำบนเกล็ดติดต่อกันจนดูเป็นลายสีดำ 6-8 ลายด้านข้างลำตัว ครีบท้อง ครีบก้น และครีบท้องเป็นสีแดง ครีบอกมีลายเป็นสีเขียวอ่อน ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยและยังพบได้ในหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย และพบไปจนถึงแหลมมลายูและเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย กินอาหารจำพวกสาหร่ายและตะไคร่น้ำใต้พื้นน้ำ จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และนิยมจับมาบริโภคกัน โดยมักจะจับได้ทีละครั้งละมาก ๆ นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ขี้ขม", "ซ่า", "นกเขา" หรือ "ขาวอีไท" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสร้อยนกเขา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขาลายขวาง

ปลาสร้อยนกเขาลายขวาง หรือ ปลาตะเภาม้าลาย หรือ ปลาแตงโม (Oriental sweetlips, Indian Ocean oriental sweetlips) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) มีส่วนหัวลาดโค้งเหมือนมีดอีโต้ ริมฝีปากหนาและอยู่ต่ำ ครีบอกและครีบหางมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว ครีบหางมีขนาดใหญ่และเป็นแบบเว้าตื้น ครีบต่าง ๆ เป็นสีเหลือง มีความยาวประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 86 เซนติเมตร ปลาสร้อยนกเขาลายขวาง มีจุดเด่น คือ มีลายเส้นสีดำพาดขวางลำตัวบนพื้นสีขาว ซึ่งเป็นจุดเด่น พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ในแนวปะการัง อาศัยอยู่เป็นฝูง หากินโดย กินสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ ตามหน้าดินเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสร้อยนกเขาลายขวาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขาทะเล

ปลาสร้อยนกเขาทะเล หรือ ปลาสร้อยนกเขา เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Plectorhinchus มีลำตัวป้อม แบนด้านข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ๆ ใต้คางมีรู 1-3 คู่ เกล็ดมีขนาดเล็กและเป็นแบบสาก พื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลาขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง ในแถบอินโด-แปซิฟิก มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 30-80 เซนติเมตร ปลาสร้อยนกเขาลายขวางเมื่อเป็นปลาวัยโต เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีพฤติกรรมการว่ายน้ำที่ไม่เหมือนปลาขนาดใหญ่ จะว่ายดีดดิ้น พริ้วไปมา เหมือนหนอนตัวแบน เชื่อว่าเป็นการเลียนแบบเพื่อเอาตัวรอดจากสัตว์นักล่าขนาดใหญ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสร้อยนกเขาทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Chinese algae eater, Honey sucker, Sucking loach) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ในวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก มีสีพื้นลำตัวสีน้ำตาลเขียวมีลายแถบสีคล้ำพาดยาวตามลำตัวและมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่ว ตัวผู้เมื่อเจริญวัยขึ้นจะมีปุ่มคล้ายเม็ดสิวขึ้นตามหน้าและริมฝีปากบน มีลักษณะสำคัญ คือมีช่องเล็ก ๆ อยู่ด้านบนสุดของช่องเหงือก ริมฝีปาก มีลักษณะเป็นแผ่นดูดรูปกลมใช้ดูดกินตะไคร่น้ำตามพื้นหิน และ ทราย แล้วหายใจโดยใช้น้ำผ่านเข้าช่องเปิดด้านบนฝาปิดเหงือก แล้วออกมาทางด้านข้าง แทนที่จะใช้ปากสูบน้ำเข้าอย่างปลาทั่ว ๆ ไป หากินอยู่ตามท้องน้ำ พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งแหล่งน้ำหลากและที่ราบลุ่ม ขนาดความยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร กินอาหารจำพวกตะไคร่น้ำ, ซากพืช, ซากสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป พบตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศจีน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคและพบไปจนถึงมาเลเซีย ปลาสร้อยน้ำผึ้ง ในอดีตขึ้นชื่อมากในแง่ของการนำไปทำเป็นน้ำปลาที่มีรสชาติดี เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดราชบุรีในชื่อ "น้ำปลาปลาสร้อยน้ำผึ้ง" และใช้เนื้อบริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้ เพื่อใช้ทำความสะอาดตู้ด้วยการกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำ ปัจจุบัน นิยมเพาะพันธุ์เป็นปลาเผือกหรือปลาที่มีร่างกายสั้นกว่าปกติอีกด้วย รวมถึงยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินได้อีกด้วย ชื่ออื่น ๆ เรียกว่า "ปลาน้ำผึ้ง" หรือ "ปลาผึ้ง" หรือ "ปลาลูกผึ้ง" หรือ "ปลามูด", "ปลาอีดูด", "ปลายาลู่" หรือ "ปลาปากใต้".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสร้อยน้ำผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสละ

ปลาสละราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสละ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลาด

ปลาสลาด หรือ ปลาฉลาด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ปลาตอง" หรือ "ปลาตองนา".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสลาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิด

ำหรับปลาใบไม้ชนิดอื่น ดูที่: ปลาใบไม้ ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichopodus ที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง, ภาคอีสาน และภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้าง พฤติกรรมในการสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันที่มีแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่ ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อและอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อเรียกในภาษามลายูว่า "Sepat siam" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "ปลากระดี่หนังงู" (Snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้" ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสลิด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิดหินสามจุด

ปลาสลิดหินสามจุด หรือ ปลาโดมิโน (Threespot dascyllus, Three-spot damselfish, Domono damselfish) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) เป็นปลาที่มีครีบคู่สามารถแผ่ครีบได้เหมือนพัด ลำตัวค่อนข้างกลม แบนข้างมาก หัวสั้นทู่ สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาเข้ม มีจุดกลมสีขาว 3 จุด ที่บริเวณของด้านข้างลำตัวข้างละจุด และที่ด้านบนของตาอีกจุด ซึ่งจุดสีขาวนี้เมื่อยังเล็กอยู่จะเห็นชัดเจน เมื่อปลาโตขึ้นจะค่อย ๆ เลือนหายไป มีขนาดโตเต็มที่ได้ 33 เซนติเมตร สามารถพบได้ลึกถึง 55 เมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามชายฝั่งอินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย ปกติจะอยู่รวมกันเป็นฝูงในแนวปะการัง ปลาวัยเล็กจะอยู่รวมกันในดอกไม้ทะเล แต่ไม่สามารถสัมผัสกับหนามพิษของดอกไม้ทะเลได้เหมือนกับปลาการ์ตูน กินโคพีพอด, สาหร่าย, แพลงก์ตอน และครัสเตเชียน เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม Siliotti, A. (2002) fishes of the red sea Verona, Geodia ISBN 88-87177-42-2.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสลิดหินสามจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสลิดหินแขก

ปลาสลิดหินแขก หรือ ปลาใบขนุนลายแถบ (Java rabbitfish, Bluespotted spinefish, Streaked spinefoot) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสลิดทะเล (Siganidae) มีรูปร่างแบนข้างเป็นรูปไข่ ช่องปากมีขนาดเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งหลายชิ้น ครีบท้องมีก้านครีบแข็งรวมด้านหน้าและด้านหลังเป็นสองชิ้น ผิวเรียบ ครีบหางแบบเว้าตื้น ด้านหลังมีสีกากีอมเหลือง ด้านข้างลำตัวและด้านท้องมีสีเหลือง มีลายเส้นสีจางตามทางยาวหลายเส้นตลอดทั้งลำตัว หัวและด้านหน้าเป็นลายจุด ครีบมีสีคล้ำ หรือมีสีเหลือสดที่ครีบก้น ครีบหางมีคล้ำ ไม่มีลาย มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงและอาศัยหากินสาหร่ายและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ตามกองหินและแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก อ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีพิษที่ก้านครีบแข็ง แต่สามารถใช้เนื้อในการรับประทานได้ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสลิดหินแขก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวาย

ปลาสวาย (Iridescent shark, Striped catfish, Sutchi catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยถือเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่ทางกรมประมงของไทยผสมเทียมประสบความสำเร็จเป็นชนิดแรกด้วย ปลาในธรรมชาติมีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสวาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวายหนู

ปลาสวายหนู เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicophagus waandersii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวหลิม ตาเล็ก ขอบตามีแผ่นหนังคลุม จะงอยปากเรียว ปากเล็กกว่าปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ริมฝีปากบางมีแผ่นหนังนิ่มหุ้ม รูจมูกอยู่ห่างกัน หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก รูปร่างเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ครีบก้นยาว ครีบไขมันยาว ลำตัวสีเทาอ่อนหรืออมฟ้า ด้านข้างลำตัวสีจางไม่มีแถบสี หัวและท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ปลาวัยอ่อนมีสีเทาอมชมพู มีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร อาหารกินแต่เฉพาะหอยขนาดเล็ก ทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ โดยมักหากินใกล้พื้นท้องน้ำ มักกินจุจนท้องป่อง แล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและเจ้าพระยา ไม่พบในภาคใต้ของไทย แต่มีในมาเลเชียจนถึงเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเชีย ในประเทศไทยบริโภคโดยการปรุงสุดและหมักสับปะรด (เค็มบักนัด) ปลาสวายหนู มีชื่อที่เรียกในภาษาถิ่นอีสานว่า "ยอนหนู" และ "หน้าหนู" ปัจจุบัน กรมประมงได้มีการศึกษาเอนไซน์ในระบบการย่อยอาหารของปลาสวายหนู เพื่อนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสวายหนู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะอี

ปลาสะอี (湄公魚; พินอิน: Méi gōngyú–ปลาแม่น้ำโขง) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีลักษณะทรงกระบอก หัวเล็ก ตาโต จะงอยปากงุ้มลง ริมฝีปากมีหนวดสั้น 1 คู่ ครีบหลังสั้น ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก สีลำตัวเป็นสีเขียวมะกอก หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยแทะเล็มตะไคร่น้ำหรือสาหร่าย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 45 เซนติเมตร นิยมบริโภคโดยการปรุงสด มักพบขายในตลาดสดที่ติดแม่น้ำโขงทั้งฝั่งไทยและลาวรวมถึงกัมพูชา เพราะเป็นปลาที่พบเฉพาะแม่น้ำโขงและสาขาเท่านั้น มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ตอนบนของแม่น้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเพื่อวางไข่ และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาสะอี ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาชะอี", "ปลาหว่าชะอี" หรือ "ปลาหว่าหัวแง่ม" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสะอี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะตือ

ำหรับ "สะตือ" ในความหมายอื่น ดูที่ สะตือ ปลาสะตือ (Giant featherback) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis (/ไค-ตา-ลา-โล-ปิส/) อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 1.5 เมตร นับเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้เป็นอันดับสองรองจากปลากรายอินเดีย (C. chitala) โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ กรุงจาการ์ตา บนเกาะชวา ในอินโดนีเซีย และชื่อวิทยาศาสตร์ lopis เป็นชื่อสามัญที่เรียกกันในท้องถิ่นของเมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย นับเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา และแม่น้ำตาปี ในต่างประเทศพบที่พม่า, มาเลเซีย และบนเกาะบอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ปลาตองแหล่" ในภาษาอีสาน "ปลาสือ" ในภาษาใต้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ปลาตือ" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสะตือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะนาก

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาซิวอ้าว หรือปลาน้ำหมึก ปลาสะนาก (Burmese trout, Giant barilius) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสะนาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะนากยักษ์

ปลาสะนากยักษ์ (Giant salmon carp, Mekong giant salmon carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aaptosyax grypus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสะนากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะแงะ

ปลาสะแงะ (Bengal freshwater eel) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหล จัดอยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตูหนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย โดยสามารถยาวได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ในตัวเต็มวัยครีบอกมีสีจาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ลำตัวด้านหลังมีสีเทาคล้ำอมเหลืองและมีประสีจางและคล้ำผสมกันคล้ายกับลายหินอ่อน ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง พบมากในแม่น้ำสาละวินและสาขาในจังหวัดตาก และ แม่ฮ่องสอน และยังสามารถพบได้เป็นครั้งคราวในแม่น้ำของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่างประเทศพบได้ในบริเวณแม่น้ำชายฝั่งของประเทศอินเดีย, พม่า และทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก ปลาสะแงะ มีบันทึกว่าพบครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็น คือ มีผู้จับได้ในคลองบางกะปิที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2469 ด้วยความใหญ่โตของลำตัว ทำให้บางคนเชื่อว่า เป็นปลาไหลไฟฟ้าบ้าง บางคนก็คิดว่าเป็นพญานาค หรือมังกร โดยปลาตัวนั้นมีขนาดความยาว 65 เซนติเมตร ว่ากันว่า ปลาชนิดนี้สามารถส่งเสียงร้องคล้ายเสียงเด็กทารกได้ด้วยในเวลากลางคืน ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกและแถบภาคตะวันตกไปจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีชื่อพื้นเมืองภาษากะเหรี่ยงว่า "หย่าที" สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย A. b. bengalensis พบได้ในทวีปเอเชีย และ A. b. labiata พบได้ในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่พบน้อย หายาก เนื้อมีรสชาติอร่อย ราคาแพง และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสะแงะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวาดท้องคม

ปลาสังกะวาดท้องคม เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudolais pleurotaenia อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะ หัวสั้น ตาโต ปากแคบ หนวดสั้น ลำตัวแบนข้างกว่าชนิดอื่น ๆ ท้องเป็นสันคมตลอด ปลาตัวผู้มักมีรูปร่างเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบท้องเล็กอยู่สูงกว่าระดับสันท้อง ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าเป็นแฉก ตัวด้านบนสีคล้ำเหลือบเขียวหรือเหลือง ข้างลำตัวสีจางมีแถบสีคล้ำตามยาวตั้งแต่บริเวณโคนครีบอก ท้องสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนขอบคล้ำ มีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร จัดว่าเป็นปลาขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ กินแมลงเป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืช ผลไม้ และพืชน้ำในบางครั้ง พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง พบน้อยในแม่น้ำตาปี เป็นปลาที่พบชุกชุม จึงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอีสาน นิยมบริโภคเป็นปลาแห้งและปรุงสด มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า "ปลายอนปีก" หรือ "ปลายอนหลังเขียว".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสังกะวาดท้องคม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสากหางเหลือง

ระวังสับสนกับ ปลาน้ำดอกไม้เหลือง ปลาสากหางเหลือง (Yellowstripe barracuda, Yellowtail barracuada) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสาก (Sphyraenidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสากหางเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสากเหลือง

ระวังสับสนกับ ปลาสากหางเหลือง ปลาสากเหลือง หรือ ปลาน้ำดอกไม้เหลือง (Obtuse barracuda) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสาก (Sphyraenidae) มีรูปร่างเรียวยาว ปากกว้าง จะงอยปากแหลม ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนมีฟันเขี้ยว ช่องปากสีเหลือง กระดูกแก้มอันแรกมีเหลี่ยมรูปมุมฉาก ครีบหลังอันแรกมีเทาปนกับสีเหลือง ครีบอก, ครีบก้น, ครีบหลังอันที่ 2 และครีบหางมีสีเหลืองแต่ครีบท้องมีสีขาว ลำตัวสีเหลืองอ่อน ท้องสีขาวเงิน ตามลำตัวไม่มีแถบสีหรือลวดลายใด ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 20-30 เซนติเมตร พบยาวที่สุด 55 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนต่าง ๆ ทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบชุกชุมทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มักจะสับสนกับปลาสากหางเหลือง (S. flavicauda) เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กทั่วไป บางครั้งอาจพบรวมฝูงกันเล็กตามชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมนำเนื้อไปทำข้าวต้มหรือปลาเค็ม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสายยู

ปลาสายยู (Club-barbel sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด หัวเล็กมีสีแดงเรื่อ ๆ ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก คล้ายสายยูแม่กุญแจ อันเป็นที่มาของชื่อ ตาเล็กมาก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง, แมลงน้ำ เป็นต้น พบเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันมีสถานะเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตในธรรมชาติ แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหาของนักเลี้ยงปลาด้วย โดยเป็นปลาที่มีราคาสูงมาก มีชื่อเรียกอื่นว่า "เกด" อนึ่ง ชื่อสายยู นี้เป็นชื่อที่เรียกซ้ำซ้อนกับปลาในหลายชนิด หลายสกุล เช่น ปลาในสกุล (Pangasius spp.) ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) หรือปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis) ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbedae) เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสายยู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสายรุ้ง

ปลาสายรุ้ง (ชื่ออังกฤษ: Blue-banded Whiptail ชื่อวิทยาศาสตร์: Pentapodus setosus).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสายรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสำลี

ปลาสำลี หรือ ปลาช่อลำดวน (Black-banded trevally, Black-banded kingfish) ปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Seriolina (เป็นภาษาละตินหมายถึง "หม้อดินเผาขนาดใหญ่") มีความแตกต่างจากปลาหางแข็งชนิดและสกุลอื่น ๆ ตรงที่ที่ไม่มีเกล็ดแข็งบนเส้นข้างตัวตอนปลาย ลำตัวค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมน ส่วนหัวโค้งนูน และลาดเมื่อใกล้จุดเริมของครีบหลัง ปากกว้าง โคนขากรรไกรบนมน มุมปากยื่นมาใต้นัยน์ตา ยาวเสมอขอบนัยน์ตา ยาวเสมอขอบนัยน์ตาด้านหลัง ครีบหลังแยกจากกันเป็นสองตอน ตอนหน้าเล็กและสั้น ตอนหลังมีฐานยาว ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบหลังมีฐานสั้นกว่ามาก ครีบอกมีปลายแหลม และเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางมีปลายเว้าลึก เส้นข้างตัวบริเวณโคนหางมีสันเนื้อหนา ๆ นูนขึ้นมา สีหลังสีเทาอมน้ำตาล สีข้างและท้อง เป็นสีเทาจางลงมาเรื่อย ๆ บริเวณสันท้องจะเป็นสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีแถบดำ 5-7 แถบ ขวางลำตัวบริเวณเหนือเส้นข้างตัว ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 70 เซนติเมตร และน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้งมหาสมุทรอินเดีย, แปซิฟิก, แอตแลนติก, ชายฝั่งของแอฟริกาใต้ โดยพบมากบริเวณหน้าดิน และระดับน้ำลึกตั้งแต่ 20-150 เมตร ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคกันอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสำลี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสิงโต

ำหรับปลาสิงโตจำพวกอื่น ดูที่: ปลาย่าดุก และปลาคางคก ปลาสิงโต (Lionfishes, Turkeyfishes, Firefishes, Butterfly-cods) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มทะเลสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาแมงป่อง (Scorpaenidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Pterois (/เท-โร-อิส/; มาจากภาษากรีกคำว่า "πτερον" (pteron) หมายถึง "ปีก" หรือ "ครีบ").

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรวงฟ้า

ปลาสินสมุทรวงฟ้า หรือ ปลาสินสมุทรวงแหวนสีน้ำเงิน (Bluering angelfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus annularis อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) ลำตัวมีลายสีน้ำเงินพาดโค้งตลอดลำตัว เหนือแผ่นปิดเหงือกมีวงคล้ายวงแหวนสีฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังตอนท้ายเป็นปลายแหลมยื่นยาวออกไป เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนมีลายพาดขวางสีน้ำเงินสลับฟ้าคล้ายกับปลาสินสมุทรหางเส้น (P. semicirculatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่หางของปลาสินสมุทรวงฟ้าเป็นสีขาว มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ รวมถึงซากโป๊ะหรือเรือจมด้วย ในความลึกตั้งแต่ 3-40 เมตร ขณะยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนจะอยู่ในความลึกเพียง 2-3 เมตร มักอยู่เป็นฝูงประมาณ 10-20 ตัว หรือเป็นคู่ น้อยครั้งที่จะพบเพียงลำพังตัวเดียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินโดนีเซียจนถึงปาปัวนิวกินี, นิวแคลิโดเนีย และทะเลญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทยจะพบได้ที่จังหวัดภูเก็ต สตูล และ จังหวัดชุมพร โดยมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "ปลาโนราห์" เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเหมือนกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน ซึ่งนับเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้หลากหลาย ฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ แต่เป็นปลาที่ขี้ตื่นตกใจโดยเฉพาะปลาในวัยอ่อน แต่หากปลาปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วก็จะเป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสินสมุทรวงฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีกุนทอง

ปลาสีกุนทอง (Bigeyed scads, Goggle-eyes, Gogglers) ปลาทะเลในสกุล Selar ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย มีลักษณะเด่น คือ มีดวงตาโต มีแถบสีเหลืองพาด จากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองพาดข้างตัว จำแนกออกได้เป็น 2 ชน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสีกุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีขน

ปลาสีขน หรือ ปลาหางกิ่วหม้อ หรือ ปลากะมงตาแดง หรือ ปลากะมงตาโต (Bigeye trevally, Dusky jack, Great trevally) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม ปากกว้าง เกล็ดมีขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างลำตัวมีเกล็ดขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง ตามีขนาดใหญ่อยู่เกือบสุดปลายจะงอยปาก ครีบอกยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้น อันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 120 เซนติเมตร หนัก 18 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยเฉลี่ยราว 40-60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อน ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แคลิฟอร์เนีย, เอกวาดอร์, แอฟริกาใต้, ญี่ปุ่นทางตอนเหนือ จนถึงออสเตรเลียด้วย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมบริเวณช่องเกาะคราม, แสมสาร, เกาะเต่า ในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน โดยมักจะอยู่รวมกันบางครั้งอาจพบได้ใต้โป๊ะ เป็นต้น และพบได้ถึงแหล่งน้ำจืด เป็นปลาที่มีรสชาติดี จึงนิยมบริโภคเป็นอาหาร และตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในน้ำจืด หรือน้ำกร่อย โดยเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เหมือนเช่นปลากะมงพร้าว (C. ignobilis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หน้า 123-128, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสีขน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีเสียด

ปลาสีเสียดราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสีเสียด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียน

ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon, Oсетр, 鱘) ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่ในวงศ์ Acipenseridae ในอันดับ Acipenseriformes อาศัยได้อยู่ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เมื่อยังเล็กจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบหรือตามปากแม่น้ำ แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพสลงสู่ทะเลใหญ่ และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืด ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านใต้ของลำตัว เพราะฉะนั้นหนวดเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนมือที่คอยสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ข้างใต้ของตัวเอง หากินตามพื้นน้ำโดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ สเตอร์เจียนจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น ได้แก่ ทวีปเอเชียตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปยุโรปตอนเหนือ และทวีปอเมริกาเหนือตอนบน เช่น อะแลสกา, แคนาดา และบางส่วนในสหรัฐอเมริกา สถานะปัจจุบันของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปลาสเตอร์เจียน มีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 3 สกุล โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาฮูโซ่ (Huso huso) พบในรัสเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 900 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวถึง 210 ปี นับเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกมา และเป็นชนิดที่ให้ไข่รสชาติดีที่สุดและแพงที่สุดด้วย ส่วนชนิดที่เล็กที่สุดคือ ปลาสเตอร์เจียนแคระ (Pseudoscaphirhynchus hermanni) ที่โตเต็มที่มีขนาดไม่ถึง 1 ฟุตเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิด ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (Acipenser baerii) ได้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาสเตอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami" ปลาหมอกำลังแถกเหงือกบนบก ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาหมอไทย", "ปลาเข็ง" หรือ "ปลาสะเด็ด" ในภาษาอีสาน เป็นต้น ในขณะที่ภาษายาวีเรียกว่า "อีแกปูยู".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล หรือ ปลาเก๋ามังกร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4–100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50–100 เซนติเมตร สีเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอทะเลกับปลากะรังดอกแดง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียง ที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล" โดยปลาเสือตอทะเลนั้นได้นำมาเปิดตัวครั้งแรกในงานประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน–8 กรกฎาคม..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมอทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอคอนวิค

ปลาหมอคอนวิค หรือ ปลาหมอม้าลาย (Convict cichlid, Zebra cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amatitlania nigrofasciata มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง จัดเป็นปลาหมอสีขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 6 นิ้ว ตัวผู้และตัวเมียสามารถแยกได้อย่างชัดเจน โดยตัวผู้จะมีลายสลับขาวดำ 8-9 ปล้อง หัวโหนก ครีบแหลมยาว และมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมีย ในขณะที่ตัวเมียครีบก้นมีสีเหลือบเขียว ส่วนท้องมีสีส้ม และขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีปลาที่มนุษย์คัดสายพันธุ์จนเป็นสีขาวจากการขาดเมลานิน ซึ่งพบเห็นเป็นปลาสวยงามได้ทั่วไปเช่นเดียวกับปลาสีดั้งเดิม ปลาหมอคอนวิค เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถึงแม้จะเป็นปลาหวงถิ่นที่ก้าวร้าว แต่ก็มีขนาดเล็กและเลี้ยงง่ายมีความทนทาน สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยปลาจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ตั้งแต่มีความยาว 1.5 นิ้ว ปลาในที่เลี้ยงที่จับคู่กันแล้ว มักวางไข่ในภาชนะดินเผา โดยปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่และลูกอ่อน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมอคอนวิค · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอตาล

ปลาหมอตาล หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ (Kissing gourami) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Helostomatidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปาก มีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 5 ซี่ เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องสีขาว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ Osphronemidae จึงสามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่ต่ำได้ ปลาหมอตาล มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาชนิดอื่น คือ เมื่อจะต่อสู้หรือข่มขู่กัน จะใช้ปากตอดกันคล้ายกับการจูบที่แสดงออกถึงความรักของมนุษย์จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาจูบ" วางไข่แบบไข่ลอยบนผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำทั่วไปรวมถึงนาข้าวหรือท้องร่องสวนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12-20 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 30 เซนติเมตร สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน และพบบางส่วนในป่าพรุทางภาคใต้ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์น้ำตลอดจนถึงแมลงและแพลงก์ตอน โดยใช้ปากที่ยืดหดได้นี้ตอดกิน จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเพื่อความเพลิดเพลินและทำความสะอาดภายในตู้ปลา โดยนิยมเลี้ยงกันในตัวที่มีสีพื้นลำตัวเป็นสีขาวนวลหรือสีชมพู ในขณะที่ปลาที่มีสีตามธรรมชาติจะนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ใบตาล, อีตาล, ตาล, ปากง่าม, อีโก๊ะ หรือ วี ในภาษาใต้ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมอตาล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมากผาง

ำหรับปลาที่เป็นปลาทะเลหรือปลาน้ำกร่อยดูที่: ปลามงโกรย ปลาหมากผาง (Freshwater herring, Mekong shad, Laotian shad) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa thibaudeaui อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมากผาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมูอารีย์

ปลาหมูอารีย์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) มีรูปร่างแบนข้าง ลำตัวเรียวยาวเล็กน้อย ลำตัวมีสีเหลืองสด หลังและกลางลำตัวมีแถบสีดำพาด และมีบั้งสีดำพาดลงมาจากสันหลังถึงด้านท้อง ปากค่อนข้างเรียว มีหนวด 3 คู่ ใต้ตามีกระดูกแข็งอยู่ข้างละคู่ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ครีบมีแถบสีดำบนพื้นสีจาง ๆ เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยจะพบแค่ 2-3 เซนติเมตรเท่านั้น เป็นปลาที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยนายดำริ สุขอร่าม ที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ในเขตจังหวัดราชบุรีติดต่อกับเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยปะปนมากับปลาทรงเครื่อง (Epalzeorhynchos bicolor) ต่อมา นายสมพงษ์ เล็กอารีย์ (ผู้ค้นพบปลาปักเป้าสมพงษ์ (Carinotetraodon lorteti), ปลาซิวสมพงษ์ (Trigonostigma somphongsi) และปลาตะเพียนสมพงษ์ (Poropuntius melanogrammus)) ได้ส่งตัวอย่างปลาให้แก่ ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมูอารีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมูขาว

ปลาหมูขาว (Yellow tailed botia, Orange-finned loach, Blue botia, Redtail botia) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Yasuhikotakia modesta อยู่ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) เป็นปลาที่นับว่ามีขนาดใหญ่ มีลำตัวป้อมสั้น หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม และมีหนวดเป็นกระจุก ตามีขนาดเล็ก มีเงี่ยงแหลมปลายแยกเป็นสองแฉกอยู่หน้าตา เมื่อกางออกจะตั้งฉากกับแก้ม ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว มีก้านครีบแขนงประมาณ 7-9 ก้าน ครีบก้นอยู่ใกล้กับส่วนหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายแยกเป็นสองแฉก ครีบอกและครีบก้นอยู่บริเวณแนวสันท้อง สีพื้นลำตัวเป็นสีเทาอมเหลือง หลังมีสีเทาปนเขียว ครีบหางเป็นสีแดง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองจาง ๆ โคนครีบหางมีสีดำจาง ๆ แต่ถ้าเป็นปลาวัยอ่อน บนลำตัวเหนือครีบอกและครีบท้องมีลายสีเขียวอยู่หลายสาย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพื่อใช้เก็บกินเศษอาหารที่หลงเหลือในตู้ โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หมูมัน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหมูขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหยะเค

ปลาหยะเค เป็นภาษากะเหรี่ยง ที่หมายถึงปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gagata dolichonema อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหยะเค · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหลด

ปลาหลด (spiny eel) เป็นชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุลปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Macrognathus จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes) วงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) ปลาหลดมีรูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้าง หัวและตามีขนาดเล็ก มีจุดเด่นคือ ปากเล็กและมีจะงอยปากแหลมยาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาในสกุล Mastacembelus หรือปลากระทิง แต่ทว่ามีขนาดและรูปร่างเล็กกว่ากันมาก มีสีสันและลวดลายน้อยกว่า โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความยาวประมาณไม่เกิน 1 ฟุต และมีครีบหางแยกออกจากครีบหลังและครีบท้องชัดเจน ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังเป็นหนามสั้น ๆ ปลายแหลมประมาณ 12-31 ก้าน ปลายจะงอยปากที่จมูกคู่หน้าแยกออกเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ 4 หรือ 6 ติ่ง เกล็ดมีขนาดเล็กมากมีพฤติกรรมความเป็นอยู่และการหากินคล้าย ๆ กัน โดยอาจจะพบได้ในลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบชื้นด้วย พบกระจายพันธุ์ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นอาหาร ตกปลา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหลด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหวีเกศ

ปลาหวีเกศ (Siamese schilbeid catfish, Siamese flat-barbelled catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีรูปร่างคล้ายปลาสังกะวาดและปลาเนื้ออ่อนผสมรวมกัน ตัวเรียวยาว มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนหลังเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กมาก มีลักษณะเด่นคือ มีหนวดยาว 4 คู่ แต่หนวดจะแบนไม่เป็นเส้น คล้ายกับเส้นผมของผู้หญิง จึงเป็นที่มาของชื่อ พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น กินแมลงเป็นอาหาร ขนาดโตเต็มที่ราว 20 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีรายชื่ออยู่ในกาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้ากุ้งนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายที่ว่า ปัจจุบันนี้ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติมานานแล้ว จึงเชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือแต่เพียงซากที่ถูกดองเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรมประมงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เก็บตัวอย่างได้จากตลาดปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 และสถาบันสมิธโซเนียนเท่านั้น มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาสายยู" หรือ "ปลาเกด".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหวีเกศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหว้าหน้านอ

ปลาหว้าหน้านอ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bangana behri จัดเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะเด่นคือ ปลาโตเต็มวัยแล้ว โดยเฉพาะตัวผู้ ส่วนหัวจะมีโหนกและตุ่มเม็ดคล้ายสิวเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาวัยอ่อน โคนหางจะมีจุดสีดำเห็นได้ชัด เมื่อโตขึ้นจะจางหาย ริมฝีปากหนา หากินบริเวณพื้นน้ำและแก่งหินที่น้ำไหลเชี่ยว โดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย บริเวณที่ปลาหากินจะเห็นเป็นรอยทางยาว โตเต็มที่ได้กว่า 60 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง, แม่น้ำสาละวิน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลางา" และภาษาอีสานเรียกว่า "หว้าซวง" ปัจจุบัน พบหาได้ยากในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมปรุงสด และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งค่อนข้างหายาก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหว้าหน้านอ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหัวตะกั่ว

ระวังสับสนกับ ปลาซิวหัวตะกั่ว ปลาหัวตะกั่ว หรือ ปลาหัวเงิน หรือ ปลาหัวงอน (Blue panchax, Whitespot panchax) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus panchax อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Adrianichthyidae) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน มีลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโต และอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ มีจุดเด่น คือ มีจุดกลมสีเงินเหมือนสีของตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทุกภาค จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ที่พบได้ในประเทศ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ตัวผู้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบใหญ่กว่าและสีสันต่าง ๆ ก็สดกว่า และมีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูง ผู้คนในสมัยโบราณจึงนักนิยมจับมาเลี้ยงดูเพื่อการกัดกันเป็นการพนันเหมือนปลากัดหรือปลาเข็ม หลวงมัศยจิตรการและโชติ สุวัตถิ ได้กล่าวถึงปลาหัวตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2503 ไว้ว่า ปลาหัวตะกั่วมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "หัวกั่ว" ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหางนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางแข็ง

ปลาหางแข็ง หรือ ปลาแข้งไก่ (Torpedo scad, Hardtail scad, Finny scad, Finletted mackerel scad, Cordyla scad) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megalaspis มีลำตัวเรียวยาวคล้ายกระสวย หัวค่อนข้างแหลมตากลมโต ปากกว้าง หางยาวเรียวและคอด บริเวณโคนหางมีเกล็ดแข็งที่มีลักษณะคล้ายขาไก่ หรือแข้งไก่ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ครีบหูเรียวโค้งคล้ายเคียว ลำตัวสีน้ำเงินปนเขียว ด้านหลังมีสีเขียวเข้ม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 80 เซนติเมตร และหนักได้ถึง 40.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหางแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางแข็งบั้ง

ปลาหางแข็งบั้ง หรือ ปลาสีกุนกบ (Yellowtail scad, Banded crevalle, Deep trevally) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Atule มีลำตัวยาว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากยาวและแหลม นัยน์ตาโตมีเยื่อไขมันหุ้มอยู่ ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีฟันเล็ก บนขากรรไกร เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวแข็ง โดยเฉพาะส่วนหางดูเป็นสันแข็งกว่าส่วนอื่น ๆ ครีบหลังมีสองอัน แยกเป็นอิสระจากกัน อันแรกเป็นรูปสามเหลี่ยม อันที่สองตอนหน้าสูงแหลม ตอนท้ายสุดจรดโคนหาง ครีบก้นยาวปลายจรดโคนหาง เช่นกัน ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว ช่วงท้องสีขาว มีแถบสีเทาจาง ๆ พาดตัวลายใหญ่บ้างเล็กบ้างสลับกัน ครีบต่าง ๆ มีสีเหลือง มีความยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยที่พบ คือ 15-26 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งและน้ำกร่อยอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทะเลแดง, หมู่เกาะฮาวาย, แอฟริกา, ซามัว, ตอนเหนือของญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี จึงนิยมแปรรูปเป็นปลาเค็ม, ปลากระป๋อง เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหางแข็งบั้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางไหม้

ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Bala shark, Burn tail shark, Silver shark, Black tailed shark) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Balantiocheilos (/บา-แลน-ทิ-โอ-ไคล-ออส/) มีรูปร่างคล้ายปลาตามิน (Amblyrhynchichthys truncatus) มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ก้านครีบแข็งก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขนาดใหญ่ และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย จะงอยปากแหลม มีเยื่อไขมันเป็นวุ้นรอบนัยน์ตา ครีบท้องมีก้านครีบแขนงทั้งหมด 9 ก้าน ไม่มีหนวด มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหางสีส้มแดงหรือสีเหลืองอมขาว และมีขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหางไหม้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหิมะ

ปลาหิมะ (sablefish, sable, black cod, butterfish, bluefish, candlefish, coal cod; ギンダラ; /กิน-ดะ-ระ/) เป็นชื่อทางการค้าที่เรียกปลาชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลาหิมะ (Anoplopomatidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Anoplopoma ปลาหิมะ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกประมาณ 300–3,500 เมตร บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือจนถึงทะเลญี่ปุ่นในแถบที่พื้นทะเลเป็นโคลน เป็นปลาที่เจริญเติบโตช้า วางไข่ได้เมื่ออายุ 10 ปี อายุยืน ความยาวสูงสุดที่พบประมาณ 2.2 เมตร น้ำหนัก 120 กิโลกรัม กินปลาหมึก, กุ้ง, ปู และปลาเป็นอาหาร ปลาหิมะ เป็นปลาเนื้อสีขาว เนื้อนิ่ม รสชาติกลมกล่อม เนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อปลากะพงขาว แต่เนื้อปลาหิมะจะมีไขมันผสมอยู่สูงกว่า เนื้อของมันสามารถใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภทเช่น ต้ม, ย่าง, อบ, ทอด รวมถึง รับประทานสดเป็นซาชิมิ โดยเป็นเนื้อปลาที่มีราคาแพงในญี่ปุ่น คุณค่าทางสารอาหาร เนื้อปลาหิมะอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า เช่น กรดไขมันโอเมกา-3 ที่มีประโยชน์แก่ร่างก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหิน

ปลาหิน (Stonefishes) เป็นสกุลของปลาทะเลในสกุล Synanceia ในวงศ์ปลาหิน (Synanceiidae) อันดับปลาแมงป่อง (Scorpaeniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวป้อมเกือบกลม หัวขนาดใหญ่ส่วนหัวมีหนามจำนวนมาก สีลำตัวคล้ำมีลายเลอะ ทำให้แลดูคล้ายก้อนหิน ลำตัวสากและมีหนามเล็ก ๆ หนังหนาและเป็นปุ่ม เกล็ดละเอียด บางชนิดไม่มีเกล็ด ครีบหลังยาว ครีบอกกว้าง มีก้านครีบแข็งขนาดใหญ่ที่ครีบหลัง ครีบอก และครีบท้อง ก้านครีบแข็งมีลักษณะเป็นหนาม ซึ่งก้านครีบนี้มีพิษร้ายแรงมาก โดยต่อมพิษของก้านครีบแข็งอยู่ใต้ชั้นผิวโดยอยู่รอบส่วนกลาง ส่วนปลายของก้านหนามหุ้มห่อด้วยเนื้อเยื่อ พิษจะถูกปล่อยออกเมื่อเยื่อหุ้มหนามฉีกขาด อันตรายเกิดจากการไปสัมผัสถูกก้านครีบแข็งบริเวณต่าง ๆ และหนามบริเวณหัว เนื่องจากปลาหินชอบอยู่นิ่ง ๆ ทำให้ดูคล้ายก้อนหิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ หากไปสัมผัสหรือเหยียบได้ พิษมีความรุนแรงมากเมื่อถูกตำหรือบาดจะปวดและบวมทันที ความเจ็บปวดอาจอยู่นานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ในกรณีที่รับพิษจำนวนมากหรือแพ้ ผู้ได้รับพิษอาจมีอาการคอแห้ง ปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ ซึม เพ้อ ไม่ได้สติ จนกระทั่งเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยปลาหินถือว่าเป็นปลาจำพวกหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก ปลาหิน เป็นปลาที่หากินอยู่ตามพื้นทะเล โดยกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ เพื่อรอฮุบเหยื่อซึ่งเป็นอาหารไปทั้งคำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก โดยอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ หรือตามชายหาดเมื่อน้ำล.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหนวดพราหมณ์

ปลาหนวดพราหมณ์ หรือ ปลาหนวดตาแป๊ะ (Threadfins) เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Polynemus (/โพ-ลี-นี-มัส/) เป็นปลาที่พบได้ในน้ำกร่อยและน้ำจืดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบอกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบปลาทั่วไป แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิด ตั้งแต่ 3-14 เส้น เป็นปลาที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ฟักเป็นตัวในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ อาจพบได้บ้างตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง พบแพร่กระจายพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร สำหรับในชนิดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหนวดพราหมณ์เหนือ (P. aquilonaris), ปลาหนวดพราหมณ์ตะวันออก (P. dubius), ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (P. paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นิยมรับประทานเป็นอาหาร และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหนวดพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น

ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น หรือ ปลาหนวดพราหมณ์น้ำจืด (Elegant threadfin) อยู่ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้น (P. paradiseus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน เพียงแต่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า หัวมีขนาดสั้นกว่า สีพื้นลำตัวคล้ำกว่า และมีจุดดำอยู่บริเวณเหนือครีบอก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 30 เซนติเมตร ครีบอกที่เป็นเส้นยาวพบข้างละ 7 เส้น จึงเป็นที่มาของชื่อ พบในบริเวณที่เป็นน้ำจืดมากกว่าปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้น จึงสามารถเลี้ยงให้รอดในสถานที่เลี้ยงได้มากกว่า ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น เป็นปลาที่สวยงามและมีขนาดที่ใหญ่กว่าปลาหนวดพราหมณ์ธรรมดาจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาสวยงาม แต่ด้วยความที่เป็นปลาที่เลี้ยงค่อนข้างยากจึงทำให้มีอัตราการรอดที่น้อยมากทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูง ในต่างประเทศนิยมสั่งซื้อปลาชนิดนี้ จากประเทศไทย และ ประเทศเวียดนาม โดยราคาของปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 ถึง 3,000 บาท แล้วแต่ความสมบูรณ์ และขนาดของปลา ซึ่งด้วยความที่ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าปลาหนวดพราหมณ์ธรรมดา จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าเกือบ 2 เท่า โดยทั่วไปปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มและสามารถโตได้ในน้ำจืด สำหรับประเทศไทย ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น กลายเป็นปลาหายากไปแล้วเพราะปลาส่วนใหญ่มาจากการจับจากธรรมชาติ ซึ่งมีจำนวนลดน้อยลงมาก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 สถานีประมงจังหวัดพิษณุโลกสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำแควน้อ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหนามหลัง

ปลาหนามหลัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus marginatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างมากกว่า ครีบหลังสูงปานกลาง ก้านครีบหลังมีหยักที่ขอบด้านท้าย ที่โคนครีบหลังด้านหน้าสุดมีหนามแหลมสั้นยื่นออกมาทางข้างหน้า ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาสกุลนี้ และเป็นที่มาของชื่อ มีเกล็ดใหญ่คลุมตัว ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเงินอมเหลืองอ่อน ขอบเกล็ดด้านบนมีสีคล้ำ บางเกล็ดบนลำตัวจึงดูเหมือนเป็นขีดสั้น ๆ ประที่ด้านข้าง ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือส้ม และขอบครีบด้านท้ายมีสีคล้ำ เมื่อติดอวนหรือตาข่ายจะปลดออกได้ยาก เพราะหนามแหลมที่ครีบหลัง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 15 เซนติเมตร พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศ โดยอาศัยอยู่ทุกระดับของน้ำเป็น จัดเป็นปลาที่มีราคาถูก นำมาทำปลาร้าหรือปรุงสด และถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาหนามหลังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาขี้ยอก" หรือ "ปลาหนามบี้" ในภาคอีสาน "ปลาหญ้า" ในภาคใต้ ที่เขตแม่น้ำน่านเรียก "ปลาหนามไผ่" หรือ "ปลาหนามแต๊บ" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาหนามหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาออร์

ปลาออร์ หรือ ปลาริบบิ้น (Oarfish, King of herrings; 皇帶魚; พินอิน: huángdài yú) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne อยู่ในวงศ์ Regalecidae มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกระหว่าง 50–250 เมตร จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นกันเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาด หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่ ภาพถ่ายของปลาออร์ ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ประเทศลาว เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตอยู่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อตได้ ปลาออร์เมื่อปรากฏตัวขึ้นมามักจะปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าเป็นพญานาคหรือสัตว์ประหลาด อาทิ ในกลางปี ค.ศ. 1996 ได้ปรากฏภาพถ่ายใบหนึ่งของกลุ่มทหารชาวอเมริกันอุ้มปลาชนิดนี้ แพร่กระจายกันทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อว่า นั่นเป็นพญานาคที่จับได้จากแม่น้ำโขง และเชื่อว่า ภาพถ่ายนั้นถ่ายที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในประเทศลาวและถ่ายมานานแล้วกว่า 30 ปี ในยุคสงครามเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วเป็นภาพที่ถ่ายในค่ายทหารที่เกาะโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีเดียวกันนั้นเอง และเป็นปลาที่อยู่จับได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรี

วามหมายอื่น อินทรี ปลาอินทรี (Indo-Pacific king mackerels, Spotted mackerels, Seerfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Scomberomorus (/สะ-คอม-บี-โร-โม-รัส/) ในวงศ์ Scombridae ปลาอินทรีมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเว้าเป็นแฉกลึก ส่วนหัวและปลายปากแหลม ภายในปากในบางชนิดและปลาขนาดใหญ่จะเห็นฟันแหลมคมอย่างชัดเจน อาศัยอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ มีลวดลายเป็นจุดหรือบั้งตามแต่ชนิด จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งในวงศ์ คือ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนิยมนำมาทอดหรือทำเป็นปลาเค็ม ซึ่งในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "เบกาฮื้อ" (馬鮫魚; พินอิน: Mǎ jiāo yú) และนิยมตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรีบั้ง

ปลาอินทรีบั้ง (Narrow-barred Spanish mackerel) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาอินทรีชนิดอื่น หรือปลาอินทรีจุด (S. guttatus) ซึ่งเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในเขตน่านน้ำประเทศไทย แต่มีลำตัวค่อนข้างกลมและหนากว่า ด้านข้างลำตัวจะมีแถบสีดำหรือเทาเข้มเป็นบั้ง ๆ ขวางลำตัวเริ่มจากแนวฐานครีบหูหรือครีบอกเรื่อยออกไปเกือบจรดโคนครีบหาง จะเห็นบั้งได้ชัดตรงบริเวณแนวเส้นข้างตัว ปลาอินทรีบั้งตัวโตจะมีบั้งมากกว่าตัวเล็ก กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร เช่น ปลากะตัก, ปลาหลังเขียว และหมึก ขนาดที่พบทั่วไปมักมีความยาว 30-70 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 1 เมตร (พบใหญ่ที่สุด 2 เมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ที่ออสเตรเลีย) พบทั่วไปในอ่าวไทยทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก และทางฝั่งทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ทั้งทั่วชายฝั่งทวีปแอฟริกา, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน, ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, มหาสมุทรอินเดีย จนถึงออสเตรเลียและนิวกินี เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง นิยมใช้ปรุงอาหาร ปรุงสุด และทำปลาเค็ม ชาวจีนเรียกว่าปลาเค็มที่ทำจากปลาอินทรีบั้งว่า "ปลาเบกา" หรือ "เบกาฮื้อ" (จีน: 土魠魚) ในภาษาแต้จิ๋ว อีกทั้งเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาอินทรีบั้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรีจุด

ปลาอินทรีจุด หรือ ปลาอินทรีดอก หรือ ปลาอินทรีข้าวตอก (Indo-Pacific king mackerel, Spotted seerfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาอินทรี ในวงศ์ปลาอินทรี หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื้อปลาอินทรีจุดหั่นทอด หรือ "เบกาฮื้อ" จัดเป็นปลาอินทรีขนาดเล็กกว่าปลาอินทรีชนิดอื่น นับเป็นปลาอินทรีอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นอกจากปลาอินทรีบั้ง (S. commerson) มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลม และเรียวยาว ด้านข้างลำตัวครึ่งบนมีแต้มด้วยจุดสีดำหรือสีเทาคล้ายลายข้าวตอก ส่วนปากมีมุมปากยาว ปากอ้าได้กว้าง จะงอยปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน ก้านครีบด้านหน้าเป็นก้านครีบแข็ง ส่วนก้านครีบหลังมีลักษณะเหมือนกับก้านครีบก้นที่ประกอบด้วยก้านครีบอ่อน และถัดมาจะเป็นครีบฝอย ส่วนครีบหูหรือครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องมีขนาดเล็กสุด ครีบหางมีขนาดใหญ่ ลักษณะครีบเว้าลึก เป็นรูปวงเดือย มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำรวดเร็ว ลำตัวยาวประมาณ 40-55 เซนติเมตร นิยมนำมาปรุงอาหารต่าง ๆ และแปรรูปเป็นปลาเค็มหรือหั่นเป็นชิ้นทอด ที่ภาษาแต้จิ๋วเรียก "เบกาฮื้อ" (จีน: 土魠魚) รวมถึงตกเป็นเกมกีฬ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาอินทรีจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (Chinese seerfish, Chinese mackerel; เขมร: ត្រីស្បៃកា, ត្រីបីកា) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างเพรียวยาว หัวแหลม ปากมีฟันแหลมคม ครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังแหลมและมีรอยหยักไปจรดครีบหาง ชายครีบเป็นสีดำ ปลายครีบอกหรือครีบอกมนกลมไม่แหลม ลำตัวสีเทาเงินเหลือบเขียว ลำตัวไม่มีลวดลายหรือแต้มจุดเหมือนปลาอินทรีชนิดอื่น อาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาแถบชายฝั่งแปซิฟิก, ญี่ปุ่น, จีน, เวียดนาม และพบบางส่วนเข้ามาอาศัยในแหล่งน้ำจืด ที่ปากแม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมรด้วย โดยพบได้ตั้งแต่น้ำตกคอนพะเพ็งในลาวไปจนถึงจังหวัดกระแจะและพนมเปญในกัมพูชา ในประเทศไทยพบได้บ้างแถบจังหวัดจันทบุรี และมีการตกได้ที่เกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต เมื่อปลายเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาอินทรีทะเลสาบเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอุก

ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างเพรียว หางคอดเล็ก หลังยกสูงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นยาว หัวโตแบนราบเล็กน้อย ปากเล็ก ตาเล็กอยู่กลางหัว ครีบหลังมีก้านแข็งหนาและยาว ครีบไขมันเล็กมีสีคล้ำเล็กน้อย ครีบท้องใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมเหลืองอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 20 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง พบในแม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำบางปะกง ในแม่น้ำเจ้าพระยาพบขึ้นไปสูงสุดจนถึง จังหวัดชัยนาท นิยมบริโภคตัวผู้ที่มีไข่ในปากเรียก "ไข่ปลาอุก" โดยนิยมนำมาทำแกงส้ม พบจับขึ้นมาขายเป็นครั้งคราวในตลาดของชัยนาท อยุธยา และ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพบได้ในภาคใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว และพบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "อุกแดง", "อุกชมพู" หรือ "กดโป๊ะ".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาอุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอีโต้มอญ

ปลาอีโต้มอญ (Common dolphinfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ปลาอีโต้มอญ มีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว มีความยาวตั้งแต่ 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน ปลาอีโต้มอญ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น "หน้ามอม", "อีโต้", "มงเจ้าเลือด", "โต้มอญ" หรือ "สีเสียดอินเดีย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาฮาวายจะเรียกว่า "Mahi-mahi" ซึ่งเป็นชื่อที่เพิ่งใช้ไม่นานมานี้ โดยจะปรากฏบนเฉพาะบนเมนูอาหาร ในขณะที่ภาษาสเปนจะเรียกว่า "Dorado" ที่หมายถึง ทองคำ สถานะของปลาอีโต้มอญ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) ได้จัดให้อยู่สถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาอีโต้มอญ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อถ้ำ

ปลาผีเสื้อถ้ำ (waterfall climbing cave fish) เป็นปลาในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) โทรโกลไบต์ถิ่นเดียวในประเทศไทย มีความยาวมาตรฐานได้ 2.8 เซนติเมตรปลานี้เป็นที่รู้จักว่าครีบของมันสามารถเกาะภูมิประเทศและสามารถปีนได้ ปลานี้เป็นสมาชิกชนิดเดียวเท่าที่ทราบของสกุลของมัน ชนิดนี้มีการบันทึกจากจุดใต้ดินแปดจุดในคาสต์ปางมะผ้า (Pang Mapha karst formation) ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย ชนิดนี้มีขอบเขตการพบเกือบ 200 ตารางกิโลเมตร แต่มีพื้นที่การครอบครอง 6 ตารางกิโลเมตร ยังไม่ทราบความเชื่อมโยงของระบบคาสต์นี้ บางถ้ำเชื่อมต่อกันอย่างแน่นอน ชนิดนี้พบในแปดถ้ำ มีบันทึกจากถ้ำซู่ซ่า (ซึ่งมีการรวบรวมครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1985) และแม่ลานา นอกจากนี้ ยังอาจพบในถ้ำอยู่ใต้น้ำอื่นในพื้นที่อีก ทว่า ชนิดนี้อาจมีภัยคุกคามจากมลภาวะเกษตรกรรมซึ่งอาจกระทบต่อทั้งระบบคาสต์ ปลาชนิดนี้ไม่มีสารสีและไม่มีตามองเห็น เช่นเดียวกับปลาถ้ำอื่น ชนิดนี้อยู่ร่วมกับปลาค้อถ้ำอีกชนิดหนึ่ง คือ Schistura oedipus ชนิดนี้ปรับตัวกับน้ำไหลใต้ดินที่เร็วในเขตลึกกว่าของถ้ำ (กว่า 500 เมตรจากทางเข้า) มันอาศัยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ของถ้ำ และไวมากต่อการรบกวน คุณภาพน้ำและการเปลี่ยนแปลงทางอุทกศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาผีเสื้อถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อนกกระจิบ

ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Copperband butterflyfish, Beak coralfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelmon rostratus ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีลำตัวแบนข้าง ลบลำตัวมีสีขาวคาดด้วยแถบสีส้มจำนวน 4 แถบ โดย 2 แถบแรกมีขอบสีดำตัดบาง ๆ ทั้งด้านหน้าและหลัง ปลายครีบบนและครีบล่างเจือด้วยปื้นสีส้ม โคนหางมีจุดสีดำเล็ก ๆ และมีจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณโคนครีบบนหนึ่งจุด คล้ายตา เพื่อใช้หลอกล่อศัตรูให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นดวงตาจริง ๆ ในขณะที่ดวงตาแท้ ๆ มีแถบสีส้มคาดเพื่ออำพรางไม่ให้ดูเด่นกว่าจุดวงกลมสีดำนั้น ปากยื่นยาวและมีขนาดเล็กคล้ายหลอด ใช้สำหรับดูดกินหรือแทะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ ที่อาศัยตามแนวปะการังที่หลบตามซอกหลีบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินดอกไม้ทะเลแก้ว (Aiptasia spp.) ซึ่งเป็นดอกไม้ทะเลขนาดเล็กที่หนวดพิษสามารถทำร้ายปะการังได้ด้วย นับเป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการังของมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เช่น ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, หมู่เกาะริวกิว จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดเป็นปลาที่ราคาไม่แพง เลี้ยงง่าย แต่ไม่อาจจะฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้เหมือนปลาผีเสื้อชนิดอื่น ๆ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องให้กินอาหารสด เช่น ไรทะเลหรือเนื้อหอยชนิดต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นปลาที่ต้องรวบรวมมาจากแหล่งน้ำรรมชาติ ซึ่งในปลาขนาดกลางที่ไม่เล็กไปหรือใหญ่ไป ราว ๆ 2.5-3.5 นิ้ว เป็นขนาดที่กำลังพอดีที่จะนำมาเลี้ยง เพราะปลาจะปรับตัวให้เข้ากับตู้เลี้ยงได้ไม่ยากนัก ไม่ตื่นกลัวเหมือนปลาใหญ่หรืออ่อนแอเกินไปเหมือนปลาขนาดเล็ก อนึ่ง ปลาผีเสื้อนกกระจิบนั้น ในแวดวงของการดำน้ำยังมีการเรียกปนกับปลาผีเสื้อจมูกยาวในสกุลปลาผีเสื้อจมูกยาว ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ปลาผีเสื้อจมูกยาวใหญ่ (Forcipiger longirostris) และปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง (F. flavissimus) ซึ่งปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีสีสันที่แตกต่างออกจากปลาผีเสื้อนกกระจิบพอสมควร โดยมีสีเหลืองสดเป็นสีพื้นเป็นหลัก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาผีเสื้อนกกระจิบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ดขาว

ปลาจะละเม็ดขาว (White pomfret, Silver pomfret) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) มีรูปร่างป้อมสั้น เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหัวป้อมสั้น ตาค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและเฉียงขึ้น ครีบหลังและครีบก้นมีความยาวของฐานเกือบเท่ากัน ครีบหางเว้า และปลายทั้งสองเรียวยาวเป็นรยางค์ ครีบอกยาว ปลาที่โตเต็มวัยจะไม่มีครีบท้อง เกล็ดมีลักษณะเล็กบางและหลุดง่าย สันหลังสีเทาปนสีขาวเงิน ส่วนที่อยู่ใต้ลงมาจะมีสีจางลง บริเวณท้องจะเป็นสีขาวเงิน ปลายของครีบท้องมีแถบสีดำ ครีบอื่น ๆ สีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงทะเลญี่ปุ่น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินอยู่ตามพื้นหน้าดินที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนโคลน บางครั้งเข้าไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และบริเวณหมู่เกาะอ่างทองมีอยู่ชุกชุม รวมถึงฝั่งทะเลอันดามันด้วย โดยอาหารที่ชื่นชอบ คือ แมงกะพรุนขนาดเล็ก มีชื่ออื่น ๆ เรียกอีก เช่น "ปลาแปะเชีย" (银鲳) ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น นึ่ง, นึ่งบ๊วย, นึ่งซีอิ๊ว หรือทอ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาจะละเม็ดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ดดำ

ปลาจะละเม็ดดำ (Black pomfret) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Parastromateus มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาจะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) ต่างกันที่มีสีและคอดหางของปลาจะละเม็ดดำจะเป็นสันแข็ง ครีบหางใหญ่และเว้าเล็กน้อย ครีบอกยาวเรียวคล้ายขนของหางไก่ตัวผู้ ลำตัวมีสีเทาปนน้ำตาล ของครีบหลัง เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีครีบท้อง และครีบหางมีสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ได้ 75 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 30 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง อาศัยอยู่ในชายฝั่ง, แนวปะการัง และปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ในเขตอินโด-แปซิฟิก, แอฟริกาตะวันออก, ทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ปลาขนาดเล็กซึ่งยังปรากฏครีบท้องชัดเจน มีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลาโอวเชีย" (黑色鲳) ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่รสชาติสู้ปลาจะละเม็ดขาวไม่ได้ จึงมีราคาขายที่ถูกกว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาจะละเม็ดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์

ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16-47 เซนติเมตร ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง, บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อยของทะเลสาบสงขลา โดยมักหลบซ่อนอยู่ใต้กอพืชน้ำหรือผักตบชวา ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ

ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ลำธาร (Longsnouted pipefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีลักษณะคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (D. boaja) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่สั้นกว่า จะงอยปากสั้นกว่ามาก หัวเล็ก ลำตัวมีปล้อง 15-17 ปล้อง หางยาวกว่าลำตัวมาก ซึ่งแตกต่างจากปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลแดง และมีจุดดำเล็ก ๆ ระหว่างปล้อง ครีบใส ครีบหางสีน้ำตาลและขอบสีจาง มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 15 เซนติเมตร อาหารได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามลำธารหรือแม่น้ำในภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบมากในบางแหล่งน้ำ โดยมักหลบซ่อนอยู่ตามพื้นท้องน้ำใต้ใบไม้ที่ร่วง หากินโดยคืบคลานไปกับพื้นน้ำ ตัวผู้และตัวเมียต่างกันชัดเจนในขณะที่ปลาตัวเมียโตเต็มที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย และไม่มีถุงช่องหน้าท้องที่มีไว้เพื่อเก็บไข่และลูก ๆ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้งจอก

ปลาจิ้งจอก (Siamese algae eater, Siamese flying fox) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่ มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 16 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและนำไปทำเป็นฟิชสปาเช่นเดียวกับปลาในสกุล Garra.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจ่าเอก

ำหรับปลาตะกรับอย่างอื่น ดูที่: ปลาตะกรับ ปลาจ่าเอก หรือ ปลาตะกรับทะเล หรือ ปลาสลิดหินบั้ง (Sergeant-major, Sergeant fishes) สกุลของปลาทะเลในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Abudefduf โดยชื่อมาจากภาษาอาหรับคำว่า "อาบู" (Abu) โดยแปลตรงตัวหมายถึง "พ่อ" แต่ไม่ได้เป็นความหมายในบริบทนี้ โดยชื่อในที่นี้หมายถึง "หนึ่งด้วย" และความหมายคำว่า "ด้าน" และมีพหูพจน์ในตอนท้ายคำว่า duf โดยรวมจึงมีความหมายว่า "ปลาหนึ่งตัวกับด้านที่โดดเด่น".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาจ่าเอก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทู

ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น เป็นปลาทูชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาทู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขวาน

ปลาขวานทะเลลึก (Deep Sea Hatchetfish) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาขวานนั้น ชื่อก็บอกอย่างตรงตัวแปลว่า ขวานด้ามเล็ก ๆ ซึ่งถูกตั้งมาจากลักษณะของตัวมันที่มองแล้วคล้ายกับขวานอย่างชัดเจน ส่วนลักษณะลำตัวของมันจะบางคล้ายกับใบมีดของขวานด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาขวาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขาไก่

ปลาขาไก่ (blue sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างเพรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก ตาโตอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ส่วนหลังไม่ยกสูง มีหนวดยาว 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณขอบฝาปิดเหงือก หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็กมากเห็นเป็นเส้นสั้น ๆ ครีบอกใหญ่มีก้านแข็งที่ยาวเกือบเท่าความยาวของครีบ ครีบก้นยาว มีหางเว้าตื้น ตัวมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียว ตัวค่อนข้างใส ครีบสีจาง ขอบครีบก้นมีสีคล้ำเช่นเดียวกับครีบหาง ครีบอกในตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักย้ายถิ่นขึ้นมาในบริเวณน้ำหลากในฤดูฝน โดยกินอาหารได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด หรือนำมาทำเป็นปลาแห้ง ปลารมควัน นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย แค่ค่อนข้างเลี้ยงยาก เนื่องจากเป็นปลาขี้ตกใจ ตายง่าย ปลาขาไก่ มีชื่อเรียกที่เรียกกันหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น "ปลาเพียว" ที่ภาคอีสาน "ปลากะปิ๋ว" ที่ จังหวัดปราจีนบุรี "ปลาปีกไก่" หรือ "ปลานาง" หรือ "ปลาดอกบัว" ในแถบแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล หรือบางครั้งเรียก "ปลาหางไก่" หรือ "ปลาไส้ไก่" เป็นต้น ซึ่งนอกจากปลาชนิดนี้แล้ว ชื่อเหล่านี้ยังเป็นชื่อที่เรียกปลาชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาขาไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้างเหลือง

ปลาข้างเหลือง หรือ ปลาสีกุนข้างเหลือง (Yellow-stripe scad, Yellow-stripe trevally, Thinscaled trevally) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Selaroides มีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาว ลักษณะคล้ายกับปลาทู แต่ปลาข้างเหลืองจะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากปลาทูอย่างชัดเจนคือ ลำตัวจะมีแถบสีเหลืองเป็นแนวยาวจากหัวจนถึงโคนหาง ลำตัวแบนมีส่วนโค้งทางด้านหลังและด้านท้องเท่ากัน นัยน์ตาโต ปากเล็ก คอดหางเรียว ครีบหูยาวเรียวปลายแหลม ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหลังและครีบก้นยาว เส้นข้างตัวโค้งตามแนวสันหลังและเป็นเส้นตรงบริเวณตอนกลางครีบหลังอันที่สอง และมีจุดดำอยู่เหนือครีบหูตรงขอบแก้มด้านบน ความยาวตลอดลำตัวประมาณ 9-16 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชและสัตว์ขนาดเล็กที่ล่องลอยในน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง พบในทุกระดับของทะเลเขตร้อน แถบอินโด-แปซิฟิก ถึงอ่าวเปอร์เซียจนถึงภาคตะวันตกของวานูอาตูและนิวแคลิโดเนีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ใช้ในการบริโภค ปลาข้างเหลือง นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียก ๆ อื่น เช่น "ปลาข้างลวด" หรือ"ปลากิมซัว".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาข้างเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดอกหมากกระโดง

ปลาดอกหมากกระโดง (Whipfin silver-biddy; Whipfin mojarra) ปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาดอกหมาก (Gerreidae) ปลาดอกหมากกระโดงมีรูปร่างของลำตัวป้อมดูคล้ายรูปไข่หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบนข้าง หัวเล็กสั้น นัยน์ตาโต จะงอยปากแหลม ปากยืดหดได้ เกล็ดเล็กหลุดง่ายมีความแวววาวเงางาม ตัวโตเต็มวัยก้านครีบแข็งอันที่สองของครีบหลังจะเจริญยาวเป็นเส้นเดี่ยว ครีบอกยาว ครีบหางลึกเว้ารูปส้อม สีลำตัวอมเทามีสีดำแต้มเป็นจุดประปรายท้องสีขาวเงิน ครีบทุกครีบสีเทาอมเหลือง มีความยาวประมาณ 11-22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลตื้น ๆ หรือปากแม่น้ำในจังหวัดชุมพร, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรปราการ, ชลบุรี และระยอง เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำเล็ก ๆ รวมทั้งพืชเป็นอาหาร ใช้ประโยชน์เป็นปลาที่บริโภคเนื้อเป็นอาหาร และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย เนื่องจากมีความสวยงามพอสมควร อีกทั้งยังสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ แต่เป็นปลาที่เลี้ยงยาก มีความเปราะบาง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดอกหมากกระโดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดัก

ปลาดัก (Blackskin catfish) ปลาดุกชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias meladerma อยู่ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) เว้นแต่ที่ครีบอกด้านหน้ามีลักษณะขอบหยักคล้ายฟันเลื่อย และมีผิวเนื้อสีดำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาดุกเนื้อเลน" (ภาษาใต้) โตเต็มที่ขนาดความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้แถบภาคกลางตอนบนและภาคอีสาน ในต่างประเทศพบได้ที่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคือ ปัตตาเวีย (ปัจจุบัน คือ จาการ์ตา) บนเกาะชวา ในอินโดนีเซีย ไม่มีการเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดังแดง

ปลาดังแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemisilurus mekongensis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากสั้นและงุ้มเล็กน้อย ปากเล็ก ขากรรไกรมีหนังนิ่ม ๆ หุ้ม มีหนวดหนึ่งคู่ ตาเล็ก ครีบหลังเล็กมากเป็นเพียงเส้นสั้น ๆ ครีบท้องเล็ก ครีบหางเว้าลึกแฉกมนป้าน ตัวผู้มีหนวดเรียวสั้น ตัวเมียมีหนวดเส้นใหญ่ปลายแบนและยาวถึงบริเวณหลัง สีลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้า หนังบางค่อนข้างใส ครีบสีจางขอบครีบหางสีคล้ำ ส่วนหัวมีสีแดงเรื่อโดยเฉพาะบริเวณจะงอยปาก จึงเป็นที่มาของชื่อ (ดัง เป็นภาษาอีสานแปลว่า จมูก) มีขนาดประมาณ 30–40 เซนติเมตร อาหารได้แก่ หอย, ไส้เดือนน้ำ, กุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมขณะว่ายน้ำจะยื่นหนวดและกระดิกถี่ ๆ เพื่อเป็นการสัมผัส พบเฉพาะแม่น้ำโขงเท่านั้น ถูกจับขึ้นมาขายครั้งละมาก ๆ ในบางฤดูกาลของจังหวัดริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี เนื้อมีรสชาติดี มักบริโภคโดยการปรุงสด ปลาดังแดง มีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "เจ๊ก".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดังแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดาบลาวยาว

ปลาดาบลาวยาว (Dorab wolf-herring) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) จัดเป็นปลาดาบลาวชนิดหนึ่ง มีลำตัวเรียวยาวและมีทรวดทรงแบนมาก ปากมีลักษณะเฉียงขึ้นข้างบน มีฟันเขี้ยวคู่หน้าใหญ่และคมมากเขี้ยวคู่นี้จะยื่นเลยริมฝีปาก ครีบหางเว้าลึกครีบหลังมีรอยแต้มสีดำลำตัวสีน้ำเงินเข้มปนเหลือง ท้องเป็นสันคม มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และยาวที่สุด 100 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามปากอ่าว, ชายทะเล หรือพื้นที่ ๆ เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกจนถึงหมู่เกาะโซโลมอน, ทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, ตอนเหนือและตอนใต้ของออสเตรเลีย รวมถึงตองกา ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกินเป็นอาหาร เช่น ลูกปลาขนาดเล็กและกุ้งขนาดเล็ก จัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง FAO, Species Fact Sheet.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดาบลาวยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดาบเงินใหญ่

ปลาดาบเงินใหญ่ (Atlantic cutlassfish, Australian hairtail, Largehead hairtail, タチウオ) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาดาบเงิน (Trichiuridae) เป็นปลาที่มีลำตัวแบนเรียวยาว มีลักษณะคล้ายแถบริบบิ้น ไม่มีเกล็ด ปากล่างยื่นย่าวล้ำปากบน หางเรียวยาวปลายแหลม แผ่นปิดเหงือกมีปลายเป็นมุมแหลม ๆ อยู่แนวเดียวกับครีบอก ไม่มีครีบท้องและครีบหาง มีฟันแหลมคมเป็นเขี้ยวยาวโค้งออกมานอกปาก มีขนาดความยาวได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 5 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 40-50 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 15 ปี แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในหลายพื้นที่ของโลก ในอ่าวไทยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลน้ำตื้นและปากแม่น้ำ กินอาหาร โดยไล่ล่าปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เป็นปลาที่นำมาแปรรูป เช่น ทำลูกชิ้น, ทำปลาเค็มและปลาแห้งเป็นอาหาร ในอาหารญี่ปุ่น ปลาดาบเงินใหญ่ยังนิยมนำมาทำซาชิม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดาบเงินใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุก

ปลาดุก (Walking catfishes) เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืดในสกุล Clarias (/คลา-เรียส/) ในวงศ์ Clariidae โดยคำว่า Clarias มาจากภาษากรีกคำว่า chlaros หมายถึง "มีชีวิต" มีความหมายถึง การที่ปลาสกุลนี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้บนบกหรือสภาพที่ขาดน้ำ มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดนิ้ว มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วย เป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกลำพัน

ปลาดุกลำพัน (Slender walking catfish, Nieuhof's walking catfish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาดุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุกลำพัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย หรือ ปลาดุกนา หรือ ปลาอั้วะชื้อ(劃鼠) ในภาษาแต้จิ๋ว (-zh 大頭鬍鯰; อังกฤษ: Broadhead catfish, Günther's walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Clariidae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน, มาเลเซีย, เกาะกวม และฟิลิปปินส์ ปลาดุกอุยย่าง บางครั้งมีความเข้าใจผิดกันว่าปลาดุกอุยคือปลาดุกด้านตัวเมีย แต่ที่จริงเป็นปลาคนละชนิดกัน ปลาดุกอุยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทยและชาวลาวมากกว่าปลาดุกด้าน เนื่องจากเนื้อมีรสชาติมัน อร่อย มีราคาที่สูงกว่าปลาดุกด้าน จึงได้มีการเพาะเลี้ยงและผสมเทียมในบ่อ แต่ปัจจุบันได้นำมาผสมกับปลาดุกเทศ (C. gariepinus) เป็นปลาลูกผสม เรียกว่า "ปลาดุกบิ๊กอุย" ทำให้โตเร็วและเลี้ยงง่ายกว่าปลาดุกอุยแท้ ๆ ซึ่งได้มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลาย ในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า "ปลาดุกเนื้ออ่อน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุกอุย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกทะเล

ปลาดุกทะเล หรือ ปลาปิ่นแก้ว เป็นปลาหนังที่อยู่ในสกุล Plotosus (/พโล-โต-ซัส/) ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) ลำตัวปกคลุมด้วยเมือกลื่น รูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด 4 คู่ อยู่ที่บริเวณรูจมูก 1 คู่, ริมฝีปาก 1 คู่ และใต้คาง 2 คู่ ครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกันครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบแข็งซึ่งมีลักษณะเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ขนาดใหญ่แข็งแรง ส่วนหัวใหญ่ ส่วนท้ายลำตัวเรียวเล็กลง เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามชายทะเล เช่น แนวปะการัง รวมถึงปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน หรือพื้นที่ ๆ มีสภาพเป็นโคลน โดยจะฝังตัวอยู่ เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางชนิดจะมีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นลูกกลมคล้ายลูกบอลประมาณ 100 ตัว อาศัยและหากินอยู่ตามแนวปะการังซึ่งเป็นน้ำใส โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาวได้ถึง 150 เซนติเมตร (59 นิ้ว) เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง โดยพิษจะอยู่บริเวณก้านครีบแข็งบริเวณครีบหลังและครีบอก ที่สามารถแทงทะลุเนื้อเข้าไปได้หากสัมผัสโดนสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ถูกแทงเป็นอันมาก บางครั้งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งผู้ที่จะจับโดยเฉพาะนำมาบริโภคเป็นอาหารต้องใช้ความชำนาญเฉพาะตัว พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดีย, แปซิฟิกตะวันตก จนถึงนิวกินี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุกทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกทะเลลาย

ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทน โดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และนิยมนำมาบริโภคกันโดยปรุงสุด แต่เนื้อมีกลิ่นคาวจึงมักจะนำไปปรุงประเภทรสจัดเช่น ผัดฉ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุกทะเลลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, คาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์ และมีรายงานว่าพบในศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และพม่า ถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือกหรือสีที่แปลกไปจากปกติ ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาดุกด้านถือเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยอง เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุกด้าน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกแอฟริกา

ปลาดุกแอฟริกา เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดง นับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี โดยนำเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า "ปลาดุกบิ๊กอุย" แต่ในปัจจุบัน สถานะของปลาดุกแอฟริกาในประเทศไทย จากบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย สำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกปลาดุกแอฟริกา ก็ได้แก่ "ปลาดุกรัสเซีย", "ปลาดุกเทศ" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาดุกแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคลุด

ปลาคลุด (Orbfish, Spadefish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหูช้าง (Ephippidae) เป็นปลาที่มีส่วนลำตัวลึกแบน ส่วนโค้งของหัวลาดชันมาก มีปากเล็ก ตาโต จะงอยปากสั้นก้านครีบแข็งแยกจากครีบอ่อนได้ชัดเจน จะมีส่วนก้านครีบยื่นออกไป 2-4 ก้าน ครีบอกเล็กสั้นและกลมมีแถบสีดำ 4-5 เส้น พาดจากส่วนหลังไปทางด้านท้อง มีพื้นลำตัวออกสีเงิน ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นมีรอยแต้มสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปคือ 15 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยและหากินตามพื้นดินที่มีสภาพเป็นโคลนเลน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิค, แอฟริกาใต้, อินเดีย, อ่าวไทย พบจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ, เกาะไต้หวัน, ทะเลญี่ปุ่น เป็นปลาที่ใช้บริโภคได้ โดยเนื้อใช้ปรุงอาหารและแปรรูปทำเป็นปลาเค็ม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาคลุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคาร์ป

ปลาคาร์ป (Carp) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Cyprinus (/ไซ-พริน-อัส/) เป็นปลาที่มีลำตัวป้อมยาวและแบนข้าง มีจุดเด่น คือ มีหนวดที่ริมฝีปาก อันเป็นลักษณะสำคัญของสกุล เป็นปลาที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี โดยเชื่อว่าเป็นปลาชนิดแรกที่ได้มีการเลี้ยง เป็นระยะเวลานานกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ในฐานะการเลี้ยงเพื่อการบริโภคเป็นอาหาร ต่อมาชาวจีนก็ได้ ปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีสีสันสวยงามขึ้นกว่าเดิม จนกลายเป็นปลาสวยงามเช่นในปัจจุบัน เป็นปลาที่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ เอเชียเหนือ, เอเชียตะวันออก, เอเชียกลาง ไปจนถึงอิหร่าน ในภูมิภาคตะวันออกกลาง หลายชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบได้แต่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น และบางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาคาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคางเบือน

ปลาคางเบือน (Twisted-jaw catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะส่วนหัวแบนข้างมากเช่นเดียวกับลำตัว รูปร่างเพรียวยาว ด้านท้ายเล็กหัวและจะงอยปากงอนขึ้นด้านบน ปากกว้างมาก คางเชิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า "คางเบือน" มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบก้นและครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวินและภาคตะวันออก ในธรรมชาติมักอยู่ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลเวียนดี โดยหันหน้าทวนกระแสน้ำเพื่อดักจับกินลูกปลาขนาดเล็ก ๆ ที่รวมฝูงกันตามตอม่อสะพาน หรือบริเวณประตูน้ำหน้าเขื่อน เนื้อมีรสชาติดีและราคาแพง สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดกระเทียม ต้มยำ และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยปลาที่เลี้ยงกันจะเป็นปลาที่จับได้จากธรรมชาติ มักจะมีขายกันในช่วงปลายฤดูฝน ปลาคางเบือนยังมีชื่อเรียกในภาษาอีสานอีกว่า "เบี้ยว", "ขบ", "ปากวิบ" หรือ "แก็ก" เป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีชื่อถูกกล่าวถึงกาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ที่ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาคางเบือน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคู้แดง

ปลาคู้แดง หรือ ปลาเปคูแดง (Red bellied pacu) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalminae มีรูปร่างเหมือนกับปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลาปิรันยาแดง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลาปิรันยาแดง แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น ปลาคู้แดง มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนักหนัก 25 กิโลกรัม (ขนาดและน้ำหนักโดยเฉลี่ยคือ 45 เซนติเมตร และน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในประเทศอาร์เจนตินา นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะพืชเช่นเมล็ดพืชหรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้น โดยจะไปรอกินถึงบริเวณผิวน้ำเลยทีเดียว ปลาคู้แดงขณะเมื่อยังเล็ก ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่นิยมทำเป็นอาหารของชนพื้นถิ่น มีชื่อเรียกในภาษาพื้นเมืองว่า Pirapitinga ในประเทศไทยปลาคู้แดงถูกนำเข้ามาครั้งแรกในฐานะปลาสวยงาม เมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาคู้แดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้อถ้ำพระวังแดง

ปลาค้อถ้ำพระวังแดง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schistura spiesi อยู่ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) มีลักษณะลำตัวค่อนข้างป้อม สีเนื้ออมชมพูและเหลืองอ่อน ครีบมีสีใสสีเหลืองเรื่อ ๆ ตัวผู้มีส่วนหลังโค้งนูน รูจมูกมีติ่งแหลมคล้ายหนวด ตาลดขนาดเล็กจนมีขนาดเล็กมากจนเป็นจุดเล็ก ๆ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเพราะอาศัยอยู่ในถ้ำลึก ปากมีขนาดหนา มีลำตัวยาวประมาณ 8–13 เซนติเมตร เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาค้อถ้ำพระวังแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้อถ้ำพระไทรงาม

ปลาค้อถ้ำ (ชื่ออังกฤษ: Smart's Blind Cave Loach ชื่อวิทยาศาสตร์: Schistura Deansmarti Vidthayanon & Kottelat 2003).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาค้อถ้ำพระไทรงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้าวขาว

ปลาค้าวขาว หรือ ปลาเค้าขาว เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวและจะงอยปากปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยด้านหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ส่วนหลังป่องออก ครีบหลังอันเล็กมีปลายแหลม ครีบหางเว้า ตื้น ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ตัวมีสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ในปลาบางตัวมีแถบยาวสีคล้ำที่ด้านข้างลำตัว ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีครีบสีคล้ำอมเหลืองอ่อน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70–80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เวลาล่าเหยื่อจะว่องไวและดุดันมาก ในบางครั้งที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกระแทกตัวกับน้ำจนเกิดเสียงดังหนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026 พบในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้และคาบสมุทรมลายู เป็นปลาที่นิยมบริโภคโดยปรุงสด รมควัน มีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้แล้วยังนิยมตกเป็นเกมกีฬาและเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ โดยมีชื่อเรียกในภาคอีสานว่า "ค้าวคูน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาค้าวขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้าวดำ

ปลาค้าวดำ หรือ ปลาเค้าดำ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จัดเป็นปลาที่อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ปลาค้าวดำมีรูปร่างลำตัวยาวแต่ค่อนข้างป้อม ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก พื้นลำตัวสีเทาถึงดำสนิท ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ส่วนท้องป่องออก ส่วนหลังยกสูงขึ้นกว่าปลาค้าวขาว (Wallago attu) ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่จัดอยู่ในคนละสกุล มีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม โดยอาจยาวได้ถึงกว่า 2 เมตร น้ำหนัก 80 กิโลกรัม สถิติที่ใหญ่ที่สุดพบที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ พฤติกรรมตามปกติ มักจะซุกตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ เป็นปลาที่สายตาไม่ดี จึงใช้หนวดในการนำทางและหาอาหาร พบตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั้งภาคกลางและภาคอีสานรวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา, แม่น้ำโขงและสาขา, แม่น้ำตาปีรวมทั้งที่ทะเลสาบสงขลาด้วย เป็นต้น ปลาค้าวดำ มีสถานภาพในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2534 โดยได้มีการปล่อยลูกปลาที่เพาะได้กลับคืนถิ่นธรรมชาติ ปลาค้าวดำเป็นปลาไทยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว หวงถิ่นที่อยู่อาศัยมาก กินปลาขนาดเล็กตัวอื่นเป็นอาหาร จึงมักเลี้ยงตัวเดียวเดี่ยว ๆ นอกจากนี้แล้ว ปลาค้าวดำเป็นปลาที่สามารถฮุบกลืนกินเหยื่อหรืออาหารขนาดใหญ่ได้ โดยในอดีตที่บ้านปากกิเลน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เคยมีเหตุการณ์ปลาค้าวดำกินคนมาแล้ว โดยเกิดเหตุที่โป๊ะท่าน้ำ เมื่อทารกคนหนึ่งอุจจาระเลอะเปรอะเปื้อนทั้งตัว ผู้เป็นแม่จึงนำไปแกว่งล้างในแม่น้ำ ทันใดนั้นก็ได้มีปลาค้าวดำตัวใหญ่โผล่ขึ้นมาจากน้ำฮุบกินเด็กเข้าไปทั้งตัว เหตุการณ์นี้เป็นที่แตกตื่นตกใจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น นอกจากนี้แล้ว ปลาค้าวดำมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาอีทุก" หรือ "ปลาทุก" ในภาษาอีสาน โดยเรียกตามสีลำตัวที่มีสีดำสนิทเหมือนกับคนสวมชุดไว้ทุก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาค้าวดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้างคาว

ปลาค้างคาว (Batfish) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาในหลายวงศ์ หลายชน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้างคาว (น้ำจืด)

ปลาค้างคาว หรือ ปลาติดหิน (Freshwater batfish, Bat catfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในชั้นปลากระดูกแข็งสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Oreoglanis (/ออ-รี-โอ-แกลน-อิส/) ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาค้างคาว (น้ำจืด) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตกเบ็ด

ปลาตกเบ็ด (anglerfish) หรือ ปลาแองเกลอร์ คือปลาทะเลลึกอยู่ในชั้นปลากระดูกแข็งซึ่งชื่อของมันตั้งมาจากวิธีการล่าเหยื่อของมันซึ่งคำว่า แองเกลอร์ (Angler) นั้นมีความหมายว่า ผู้ตกปลา พวกมันมีสายพันธุ์มากกว่า 200 ชนิดซึ่ง พวกมันสามารถพบได้ทั่วโลกตรงบริเวณที่เป็นไหล่ทวีปจนถึงทะเลลึกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกและแอนตาร์กติกและยังอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำเขตร้อนตื้นๆด้วย พวกมันมีจุดเด่นตรงที่พวกมันมีติ่งเนื่อเรืองแสงที่คล้ายเบ็ดตกปลาซึ่งเอาไว้ใช่ในการล่อเหยือและมันยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือกรณีเพศสัณฐานของปรสิตเพศชายที่จะรวมตัวกันกับตัวเมี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตกเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตองลาย

ปลาตองลาย (Royal knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือนปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย (C. ornata) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้านท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาดประมาณ 60 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงานพบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วย โดยอยู่ในระดับหายาก (R)แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยการเพาะขยายพันธุ์สำเร็จเป็นครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาท โดยพ่อแม่ปลาเป็นปลาที่จับมาจากแม่น้ำโขง เมื่ออายุประมาณ 1 ปี น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 ปี ในตู้กระจก จนปลามีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์พบว่าตัวผู้มีน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.1 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีความยาวครีบท้องมากกว่าตัวเมียถึงสองเท่า เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่ ปลาจะมีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว จะมีพฤติกรรมไล่กัดปลาตัวอื่นที่มาข้องแวะหรือมาอยู่ใกล้ ๆ ฤดูวางไข่ของปลาตองลายอยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม แม่ปลาวางไข่ครั้งทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 200-400 ฟอง การวางไข่แต่ละครั้งห่างกันราว 2-8 วัน ไข่มีลักษณะเป็นไข่จมเกาะติดกับวัสดุใต้น้ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ที่อุณหภูมิ 23-26 องศาเซลเซียส ลูกปลาจะเจริญเติบโตได้ดีและมีอัตราการรอดตายสูงที่อุณหภูมิประมาณ 29-31 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตองลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพัด

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอาโรวาน่า (Malayan bonytongue fish, Arowana, Asian arowana, Arawana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพาก

ปลาตะพาก เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Hypsibarbus (/ฮีป-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลางในวงศ์นี้ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 11 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ "ปลากระพาก" (ประพาสไทรโยค), "ปลาปากหนวด", "ปลาปีก" (ภาษาอีสาน), "ปลาปากคำ" หรือ "ปลาสะป๊าก" (ภาษาเหนือ) เป็นต้น โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsibarbus มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "ὕψι" (ฮิปซี) และ barbus (บาร์บัส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน โดยมีความหมายถึง สันฐานที่มีความแบนข้าง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะพาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะกาก

ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุล Cyclocheilichthys หรือ ปลาตะโกก คือ ลำตัวเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นชายครุยรอบ ๆ ครีบหลังยกสูงมาก โดยจะสูงมากกว่าปลาตะโกก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม กินอาหารได้แก่ แมลง, พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก (C. enoplus) เพราะเนื้อแข็งกว่า พบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า "กระมังครีบสูง " และมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปากบาน" หรือ "โจกเขียว".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะกาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะลุมพุก

ทความนี้หมายถึงปลา ส่วนตะลุมพุกในความหมายอื่นดูที่: ตะลุมพุก ปลาตะลุมพุก หรือ ปลากระลุมพุก หรือ ปลาหลุมพุก (ใต้) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่เข้ามาวางไข่ในน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa toli ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะลุมพุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะคอง

ระวังสับสนกับ: ปลาตะคองจุดเหลือง ปลาตะคอง หรือ ปลาตะคองเหลือง หรือ ปลาทูทอง (Golden trevally, Golden toothless trevally, Yellow jack) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gnathanodon มีลำตัวด้านข้างแบนข้างมาก ลักษณะลำตัวค่อนไปทางยาวแบนคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เกล็ดมีขนาดเล็ก ใต้ท้องไม่มีเกล็ด ในปลาวัยอ่อนมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำเล็ก ๆ พาดตามแนวตั้ง ซึ่งจะค่อย ๆ ลดจำนวนและจางลงเมื่อปลาโตขึ้น หัวมีลักษณะกลมป้าน จะงอยปากกลมมน ปากกว้าง ไม่มีฟัน ครีบทุกครีบเป็นสีเหลือง ปลายครีบสีดำ ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 50–70 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 120 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในแนวปะการังและกองหิน พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจนถึงเอกวาดอร์, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตลอดจนการเลี้ยงดูไว้ดูเล่นตามบ้าน โดยเฉพาะในลูกปลาที่มีแถบสีดำ เพราะมีสีสันสวยงามและมีความแวววาวบนลำตัว อีกทั้งสามารถเลี้ยงในน้ำที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อย ที่มีปริมาณความเค็มต่ำได้ โดยจัดเป็นปลาน้ำกร่อยที่เลี้ยงได้ง่ายมากอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะคอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะโกก

ปลาตะโกก (Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะโกก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนหน้าแดง

ปลาตะเพียนหน้าแดง (Red-line torpedo barb, Denison barb) เป็นปลาน้ำจืดกึ่งเขตร้อนในสกุล Sahyadria และวงศ์ Cyprinidae มีถิ่นอาศัยอยู่ในแม่น้ำและลำธารไหลแรงในประเทศอินเดี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะเพียนหน้าแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระแห (B. schwanenfeldi) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน กล่าวคือ มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด แต่ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า ครีบหลังและครีบหางไม่มีแถบสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร ปลาตะเพียนทองพบอยู่ทั่วไปตามห้วยหนองคลองบึงและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมักจะอยู่ปะปนกับปลากระแหและปลาตะเพียนขาว (B. gonionotus) ด้วยกันเสมอ ๆ สำหรับต่างประเทศพบในลาว กัมพูชา และภาคใต้ของเวียดนาม ปลาตะเพียนทองเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี โดยนิยมบริโภคเป็นอาหารมายาวนานและใช้สานเป็นปลาตะเพียนใบลาน นอกจากนี้ยังเป็นปลาชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาตะเพียนหางแดง", "ปลาลำปำ" หรือ "ปลาเลียนไฟ" ในภาษาปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นชื่อเรียกซ้ำซ้อนกับปลากระแห.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะเพียนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะเพียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม

ปลาตะเพียนน้ำเค็ม หรือ ปลาโคก หรือ ปลามักคา (Shortnose gizzard shad, Chacunda gizzard shad) ปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาตะเพียนที่พบในน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์และต่างอันดับกัน ลักษณะลำตัวป้อมสั้นจะงอยปากสั้นทู่ ตามีเยื่อไขมันหุ้ม ปากเล็ก ท้องแบนเป็นสันคมซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนรูปของเกล็ดไปทำหน้าที่ในการป้องกันตัว ครีบหางเว้าลึก ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก สีของลำตัวด้านหลังมีสีดำปนเทา ทางด้านท้องสีขาวเงิน หลังช่องเปิดเหงือกมีจุดสีดำข้างละจุด มีความยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร กินซากสัตว์และพืชเน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นที่หน้าดินตามชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำ พบทั่วไปในอ่าวไทย ในต่างประเทศพบในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, ชายฝั่งอินเดีย, ทะเลอันดามัน จนถึงนิวแคลิโดเนีย เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะเพียนน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเกียง

ปลาตะเกียง (μυκτήρmyktḗr)เป็นปลาทะเลลึกเล็กมีจำนวน 246 ชนิดใน 33 สกุลและพบได้ในมหาสมุทรทั่วโลกพวกมันถูกตั้งชื่อตามความสามารถในการเรืองแสงของมัน จากการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบปลาให้ทะเลลึกนั้นพบว่ามันมีจำนวนมากถึง 65% ของสายพันธุ์ปลาทะเลลึกทั้งหมด หรือก็คือมันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่กระจายพันธุ์นอยู่อย่างแพร่หลายและมีประชากรมากที่สุดและยังมีบทบาททางนิเวศวิทยาที่สำคัญอย่างมากในฐานะของเหยื่อของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่นหมึกกล้วยและเพนกวินราชาถึงแม้ว่ามันจะมีสายพันธุ์และจำนวนที่เยอะแต่กลับมีการทำประมงปลาชนิดนี้แค่ที่อ่าวโอมานและแอฟริกาใต้เท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตะเกียง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตามิน

ปลาตามิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys truncatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวแบนข้าง แต่ส่วนหัวและจะงอยบปากสั้นทู่ หน้าหนัก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด ตามีขนาดใหญ่มีเยื่อไขมันใสคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อ ครีบหลังสูง มีก้านแข็งที่ขอบหยัก ครีบหางเว้า เกล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ครีบอกสั้น ตัวมีสีเงินวาวตลอดทั้งตัว ไม่มีจุดหรือสีอื่นใด ๆ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อนใส มีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 40 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่ แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลาที่กินพืช และแมลง รวมถึงสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอย เป็นต้น โดยมีพฤติกรรมหากินตามพื้นท้องน้ำ เป็นปลาที่มักถูกจับได้ครั้งละมาก ๆ มีราคาขายปานกลาง นิยมบริโภคโดยปรุงสดและทำปลาร้า อีกทั้งยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ปลาตามิน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาตาโป" ในภาษาอีสาน "ปลาตาเหลือก" หรือ "ปลาหนามหลัง" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตามิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตาดำ

ปลาตาดำ หรือ ปลาเปี่ยน หรือ ปลาปากเปี่ยน (Sharp-mouth barb) เป็นปลาน้ำจืดสกุล Scaphognathops (/สแค-โฟ-แน็ธ-ออฟส์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มี 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตาดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตาเหลือก

ปลาตาเหลือก หรือ ปลาตาเหลือกสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalops cyprinoides; Indo-Pacific tarpon, Pacific tarpon, Oxeye) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) มีรูปร่างป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 15 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทะเลแดง ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและเอเชีย และยังสามารถปรับตัวให้อยู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ด้วย โดยบางครั้งพบว่ายเข้ามาในลำคลองที่ติดกับทะเลหรือนากุ้ง นาเกลือของชาวบ้าน ปลาจะผสมพันธุ์ วางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะเติบโตที่บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกแตกต่างไปอีกเช่น "ข้าวเหนียวบูด" ภาษาใต้เรียก "เดือน" และภาษายาวีเรียก "บุหลัน" ซึ่งหมายถึง "ดวงจันทร์" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตาเหลือก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตาเหลือกยาว

ปลาตาเหลือกยาว (Ladyfish, Tenpounder) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Elopidae) มีรูปร่างคล้ายปลาตาเหลือก (Megalops cyprinoides) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ต่างวงศ์กัน แต่อยู่อันดับเดียวกัน โดยที่ปลาตาเหลือกยาวมีรูปร่างที่เปรียวยาวกว่า อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล บริเวณมหาสมุทรอินเดีย สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ พฤติกรรมและนิเวศวิทยาคล้ายคลึงกับปลาตาเหลือก มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร นิยมตกเป็นเกมกีฬ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตาเหลือกยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตุม

ปลาตุม หรือ ปลาตุ่ม (Bulu barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระมังชนิดอื่น ๆ เว้นแต่ก้านครีบก้นไม่มีรอยหยัก เกล็ดเล็กกว่า และลำตัวมีรอยขีดสีคล้ำตามขวางประมาณ 7-8 รอย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้น้อย โดยจะพบแต่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น ที่สามารถพบชุกชุมได้แก่ ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยกรมประมง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตุม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตูหนา

ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ (Shortfin eel, Level-finned eel) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปลาสะแงะ (A. bengalensis) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่ปลาตูหนามีรูปร่างที่เล็กกว่า ครีบอกของปลาตูหนามีสีคล้ำ ในปลาโตเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "ปลาไหลหูดำ" ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่มีลวดลาย ใต้ท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 1.5 เมตร ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบริมชายฝั่งอันดามัน เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และในภาคตะวันตกในชายแดนที่ติดกับประเทศพม่า เช่น จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยชาวกะเหรี่ยงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หย่าที" ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกพบได้ตั้งแต่พม่า บังกลาเทศ จนถึงอินเดีย โดยปลาที่พบในประเทศแถบนี้จะเป็นสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า A. b. pacifica ส่วนปลาที่พบในแถบเอเชียตะวันออกมีชื่อเรียกว่า A. b. bicolor ปลาตูหนามีพฤติกรรมจะกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลูกปลาแรกเกิดมีลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ จากนั้นเมื่อโตขึ้นจะค่อยอพยพว่ายทวนน้ำมาสู่แหล่งน้ำจืด ซึ่งบางครั้งอาจพบได้ไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขา ปลาชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง สามารถนำไปปรุงได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง ในต่างประเทศที่นิยมบริโภคได้แก่จีนและญี่ปุ่น โดยหน่วยงานประมงของประเทศเหล่านี้ได้มีการส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจ มีการทำฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ แต่ว่าเนื้อมีกลิ่นคาวมาก จึงนิยมปลาตูหนาญี่ปุ่น (A. japonica) มากกว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาตูหนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามพยาบาล

ปลาฉลามพยาบาล หรือ ปลาฉลามขี้เซา (nurse shark, sleepy shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ginglymostoma cirratum อยู่ในวงศ์ Ginglymostomatidae เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ginglymostoma โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นคำว่า Ginglymostoma หรือ Ginglymostomatidae มาจากภาษากรีกคำว่า γίγγλυμος (ginglymos) หมายถึง "บานพับ" หรือ "สายยู" และ στόμα (stoma) หมายถึง "ปาก" และคำว่า cirratum มาจากภาษากรีก หมายถึง "ขด" หรือ "ว่ายน้ำ" จัดเป็นปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes หรือปลาฉลามหน้าดินขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามพยาบาลสีน้ำตาล (Nebrius ferrugineus) ที่พบได้ในทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งในอดีตได้สร้างความสับสนให้แก่แวดวงวิชาการมาแล้ว โดยปลาฉลามพยาบาลจะพบได้ตามแถบหมู่เกาะแคริบเบียน, แถบชายฝั่งของรัฐฟลอริดาตอนใต้และฟลอริดาคียส์, ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา, ทะเลคอร์เตสไปจนถึงชายฝั่งเปรูในทวีปอเมริกาใต้ มีขากรรไกรที่แข็งแรง ในปากมีฟันที่แบนและงุ้มเข้าภายใน ใช้สำหรับงับอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าตามหน้าดินและสัตว์มีกระดองและมอลลัสคาต่าง ๆ รวมถึงหอยเม่นให้อยู่และกัดให้แตก โดยใช้อวัยวะที่คล้ายหนวดเป็นเครื่องนำทางและเป็นประสาทสัมผัส จะใช้วิธีการกินด้วยการดูดเข้าปาก มีครีบหางที่ยาวถึงร้อยละ 25 ของความยาวลำตัว ลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขณะที่ยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีจุดเข้มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่ว ขณะกินอาหาร เป็นปลาที่อาศัยและหากินตามพื้นน้ำในความลึกไม่เกิน 70 เมตร บางครั้งพบได้ใกล้ชายฝั่งหรือป่าชายเลน เนื่องจากเข้ามาหาอาหารกิน ใช้เวลาหากินในเวลากลางคืน และนอนหลับตามโพรงถ้ำหรือกองหินในเวลากลางวัน เป็นปลาที่มักจะอยู่นิ่ง ๆ ซึ่งบางครั้งอาจพบรวมตัวกันได้นับสิบตัวVacation Nightmares, "Dangerous Encounters".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามกบ

ปลาฉลามกบ หรือ ปลาฉลามปล้องอ้อย (Brownbanded bamboo shark, Banded cat shark) เป็นปลาฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chiloscyllium punctatum อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง ตามีขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาวกว่าแฉกล่าง ในลูกปลาวัยอ่อนจะมีลายเป็นแถบสีขาวสลับดำคาดตามขวางลำตัวและจะค่อย ๆ จางลงเมื่อโตขึ้นและกลายเป็นสีน้ำตาลแทน และมีอวัยวะคล้ายหนวดบริเวณส่วนหน้าด้วย จึงได้อีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาฉลามแมว" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ความยาวที่เคยพบสูงสุด คือ 121 เซนติเมตร พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์ จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และไทย พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาฉลามที่หากินอยู่บริเวณหน้าดิน มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กินแต่พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ โดยที่ตัวเมียจะไม่ดูแลไข่ แต่จะวางไข่อยู่บริเวณแนวปะการังที่มีสาหร่ายล้อมรอบอยู่ และสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรงเพื่อปกป้องตัวอ่อน จัดเป็นปลาทะเลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จากการที่เป็นปลาขนาดเล็กและสีสันที่สวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้เลี้ยง ตั้งแต่ยังเป็นไข่ โดยมีการเพาะฟักจนกลายเป็นปลาวัยอ่อนและนำไปปล่อยคืนสู่ทะเลเพื่อเป็นการอนุรักษ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามกรีนแลนด์

ปลาฉลามกรีนแลนด์ (Greenland shark, Gray shark, Ground shark, Gurry shark) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม ในวงศ์ปลาฉลามสลีปเปอร์ (Somniosidae) ปลาฉลามกรีนแลนด์ เป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง นับว่ารองมาจากปลาฉลามขาว เพราะอาจยาวได้ถึง 24 ฟุต และมีน้ำหนักได้ถึง 2,500 ปอนด์ แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปยาว 2.44–4.8 เมตร (8.0–16 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม (880 ปอนด์) ปลาฉลามกรีนแลนด์มีผิวหนังที่หนาหยาบเหมือนกระดาษทรายสีเทาเข้มเกือบดำ ครีบหลังเป็นเพียงโหนกสั้น ๆ ไม่เหมือนกับปลาฉลามทั่วไป มีขากรรไกรกว้าง มีฟันที่แหลมคมเรียงกันเป็นแถว บนขากรรไกรบน 48–52 ซี่ ในขณะที่ขากรรไกรล่างมีประมาณ 50–52 ซี่ ใช้สำหรับจับอาหารให้แน่นและงับเหยื่อ รวมทั้งสะบัดให้ขาด ลักษณะกรามและฟันของปลาฉลามกรีนแลนด์ ปลาฉลามกรีนแลนด์ พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบน้ำที่หนาวเย็นมีอุณหภูมิเพียง 10 ถึง -6 องศาเซลเซียส ในแถบอาร์กติก เช่น กรีนแลนด์, ไอซ์แลนด์ หรือนอร์เวย์ นับว่าเป็นปลาฉลามที่อาศัยอยู่ในซีกโลกตอนเหนือที่สุด นอกจากนี้แล้วยังอาศัยอยู่ในความลึกกว่า 2,000 ฟุตจากผิวน้ำ ดังนั้น วงจรชีวิตของปลาฉลามกรีนแลนด์จึงยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เชื่อว่ากินปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามพื้นทะเลเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ขนาดใหญ่ที่ตายลงน้ำด้วย เช่น หมีขั้วโลก, ม้า หรือ กวางแคริบู เนื่องจากมีการผ่าพบซากสัตว์เหล่านี้ในกระเพาะอาหาร และเชื่อว่าด้วยขนาดและรูปร่าง กอรปกับถิ่นที่อยู่อาศัยจึงเป็นต้นเหตุของความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ในแม่น้ำหรือมหาสมุทรในแถบซีกโลกทางเหนือ เช่น สัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ เนื้อปลาฉลามกรีนแลนด์แขวนตาก หรือฮัลกาติ ที่ไอซ์แลนด์ แม้จะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก แต่ทว่าชาวไวกิ้งหรือชาวไอซ์แลนด์ได้รับประทานเนื้อของปลาฉลามกรีนแลนด์มานานนับเป็นพันปีแล้ว โดยมีชื่อเรียกในภาษาอินุอิตว่า "Eqalussuaq" โดยมีการทำการประมงจนเป็นอุตสาหกรรม โดยเรือประมงที่ใช้เอ็นเบ็ดน้ำลึกยาวถึง 1 ไมล์ หรือ 1 ไมล์ครึ่ง และมีระยะเวลาการออกเรือเป็นช่วงเวลา ซึ่งอาจทิ้งเวลานานถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน เนื้อของปลาฉลามกรีนแลนด์เมื่อรับประทานสด ๆ จะมีสภาพเป็นพิษ ต้องผ่านกระบวนการถนอมอาหาร เช่น หมัก และ ตากแห้ง เรียกในภาษาไอซ์แลนด์ว่า ฮัลกาติ (Hákarl) เป็นระยะเวลานานก่อนจึงจะสามารถรับประทานได้ เนื้อเมื่อหั่นมาแล้วจะมีสีขาวบาง กระนั้นก็ยังคงมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นปัสสาวะอยู่ดี เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วก็ยังคงมีกลิ่นติดอยู่ในปากไปอีกนาน Legend of Loch Ness, "River Monsters".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามก็อบลิน

ปลาฉลามก็อบลิน หรือ ปลาฉลามปีศาจ (Goblin shark, Elfin shark) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามก็อบลิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามมาโก

ปลาฉลามมาโก (Mako shark) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามในสกุล Isurus (/อิ-ซัว-รัส/) ในวงศ์ Lamnidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาฉลามขาว ซึ่งเป็นปลากินเนื้อและสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ปลาฉลามมาโก จัดเป็นปลาฉลามที่มีความปราดเปรียวว่องไว เป็นปลาฉลามที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลก โดยทำความเร็วได้ถึง 50-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยับหางที่เว้าเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วได้ในช่วงระยะเวลาเสี้ยววินาที เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อประเภทต่าง ๆ เช่น โลมา, แมวน้ำ หรือเต่าทะล จากการจู่โจมจากด้านล่าง อีกทั้งยังสามารถกระโดดได้พ้นน้ำได้สูงถึง 9 เมตรอีกด้วย เป็นปลาที่มีดวงตากลมโตสีดำสนิท ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวนมากจนล้นออกนอกปาก จัดเป็นปลาฉลามอีกจำพวกหนึ่งที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากตั้งแต่ยุคครีเตเชียสจนถึงควอเทอนารี (ประมาณ: 99.7 ถึง 0.781 ล้านปีก่อน) จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีความยาวประมาณ 2.5 ถึง 4.5 เมตร (8.2 ถึง 14.8 ฟุต) และน้ำหนักมากที่สุดถึง 800 กิโลกรัม (1,800 ปอนด์) โดยคำว่า "มาโก" มาจากภาษามาวรี หมายถึง ปลาฉลามหรือฟันปลาฉลาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามมาโก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามวาฬ

ปลาฉลามวาฬ (Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหัวบาตร

ปลาฉลามหัวบาตร (Bull shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามหัวบาตร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหัวค้อนหยัก

ปลาฉลามหัวค้อนหยัก หรือ ปลาฉลามหัวค้อนสั้น หรือ อ้ายแบ้หยัก หรือ อ้ายแบ้สั้น (Scalloped hammerhead, Squat-headed hammerhead, Kidney-headed shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน (Sphyrnidae) รูปร่างยาวเรียวคล้ายกับปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น ๆ มีลักษณะเด่น คือ ส่วนของหัวที่แผ่ออกแบนออกไปทั้งสองข้าง เป็นรูปค้อน นัยน์ตาอยู่ตรงบริเวณปลายส่วนที่แผ่ออกไปทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักลึกด้านหน้าสุดของหัวที่แตกต่างไปจากปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่น มีเยื่อหุ้มนัยน์ตา ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ครีบหลังมีขนาดใหญกว่าครีบอก พื้นลำตัวสีเทา หลังสีเทาปนน้ำตาล ท้องสีขาว ขอบครีบมีรอยแต้มสีดำที่ปลาย มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาล่าเหยื่อที่สามารถกินสัตว์น้ำได้หมดแทบทุกอย่าง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 4.3 เมตร (14 ฟุต) น้ำหนักถึง 15 กิโลกรัม (330 ปอนด์) แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณอยู่ที่ 50-100 เซนติเมตร จัดเป็นปลาฉลามหัวค้อนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยหากินตั้งแต่กลางน้ำจนถึงหน้าดิน มีรายงานว่าพบได้ในที่ ๆ ลึกถึง 500 เมตร ในบางครั้งอาจหากินเข้ามาถึงในแหล่งน้ำกร่อย มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ตั้งแต่ตลอดแนวชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง จนถึงอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย, ออสเตรเลีย สำหรับน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทย เป็นปลาเศรษฐกิจ สามารถนำมาบริโภคได้ ครีบสามารถทำไปเป็นหูฉลามได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามหัวค้อนหยัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาว

ปลาฉลามหางยาว (Thresher shark, Long-tailed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนประเภทปลาฉลามวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alopiidae ในอันดับปลาฉลามขาว (Lamniformes) โดยมีเพียงสกุลเดียว คือ Alopias แม้ว่าปลาฉลามหางยาวจะอยู่ในอันดับเดียวกันกับปลาฉลามขาว แต่ปลาฉลามหางยาวมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นปลาที่ขี้อาย หาตัวพบเห็นได้ยากมาก แม้ว่าจะพบได้ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก แต่สถานที่ ๆ พบเห็นตัวได้มีเพียงไม่กี่แห่ง ปลาฉลามหางยาว มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเพรียวยาวทรงกระสวย ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ แต่มีปากขนาดเล็กและส่วนหัวที่กลมเล็ก ลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ครีบหางตอนบนยาวมากอันเป็นลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อ ยามเมื่อว่ายน้ำครีบหางส่วนนี้สามารถขยับขึ้นลงได้ด้วย ครีบอกมีขนาดใหญ่ ปลาฉลามหางยาว มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมากเช่นเดียวกับปลาฉลามทั่วไป เป็นปลาที่ล่าปลาชนิดอื่นในแนวปะการังกินเป็นอาหาร สามารถพบได้ในระดับความลึกกว่า 150 เมตร จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อที่พบเห็นได้บ่อย คือ เกาะมาลาปัสกัว ที่อยู่ทางเหนือของเกาะเซบู ของทะเลฟิลิปปิน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางยาวธรรมดา

ปลาฉลามหางยาวธรรมดา หรือ ปลาฉลามเทรเชอร์ (Common thresher shark, Thresher shark, Long-tailed thresher shark) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยที่คำว่า vulpinus นั้นแปลงมาจากภาษาละตินคำว่า vulpes หมายถึง "หมาจิ้งจอก" ซึ่งในบางแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลเก่าอาจจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alopias vulpes จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเฉลี่ยเต็มที่ประมาณ 5.5-6.1 เมตร น้ำหนักตัวหนักได้ถึง 499 กิโลกรัม มีลักษณะเด่น คือ ครีบหางส่วนบนที่ยาวมาก คิดเป็นร้อยละ 50 ของขนาดตัว และมีน้ำหนักส่วนหางมากถึงร้อยละ 33 ของน้ำหนักตัวทั้งหมด ซึ่งครีบหางนี้ยามว่ายน้ำสามารถโบกขึ้นลงไปในแนวตั้งได้ด้วย ส่วนหัวมีขนาดกลมเล็ก ปากเล็ก ขากรรไกรเล็ก ภายในปากมีฟันแหลม ๆ คมซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ดวงตากลมโตมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีขาวปลอดหรือขาวเงินแวววาวทั้งตัว ครีบอกแหลมยาว ครีบหลังตอนที่ 2 มีขนาดเล็ก ปลาฉลามหางยาวธรรมดา เป็นปลาฉลามที่มีนิสัยขี้อาย มักพบเห็นตัวได้ยากมาก เป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่ตามลำพัง โดยล่าปลาขนาดเล็กรวมถึงสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร โดยมีวิธีการล่าเหยื่อด้วยการตีวนรอบฝูงเหยื่อให้เกิดน้ำวน เพื่อให้เหยื่อเกิดอาการตื่นตระหนกและจับทิศทางไม่ถูก จากนั้นปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็จะว่ายผ่าตรงกลางวงไปงับกินเหยื่อทันที จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ว่ายน้ำได้ว่องไวมาก เป็นปลาที่พบได้ทั่วโลกในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็ถือว่าเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมาก สามารถพบเห็นได้ในที่ลึกถึง 500 เมตร แต่ปลาฉลามหางยาวธรรมดาก็สามารถว่ายเข้าชายฝั่งและเขตที่น้ำตื้นได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงสามารถกระโดดได้สูงขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาจะกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เหมือนปลาฉลามชนิดอื่นอีกหลายชนิด ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร โดยออกลูกครั้งละ 2-6 ตัว เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์จากการทำประมง จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดของโลก โดยนำชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่เกาะมาลาปาสกัว ทางตอนเหนือของเกาะเซบู ในทะเลฟิลิปปิน เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พบปลาฉลามหางยาวธรรมดาได้บ่อย จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูปลาฉลามหางยาวจนขึ้นชื่อ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามหางยาวธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)

ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Burnt-tailed barb, Siamese bala-shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาหางไหม้ มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการจับจากธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เพียงข้อสันนิษฐาน โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว แม้จะมีรายงานพบในลุ่มแม่น้ำโขง ในเวียดนาม, กัมพูชา และลาว แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน และไม่เป็นที่ยอมรับจาก IUCN ซึ่งในอดีตปลาหางไหม้ได้ถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับปลาฉลามหางไหม้ชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย (B. melanopterus) และถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์และข้อมูลนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2007 มีการจัดอนุกรมวิธานกันขึ้นมาใหม่ Ng, Heok Hee; Kottelat, Maurice (2007).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามหางไหม้ (ไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหนูใหญ่

ปลาฉลามหนูใหญ่ หรือ ปลาฉลามหนูหัวแหลม (Spadenose shark, Walbeehm's sharp-nosed shark) เป็นปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) เป็นปลาฉลามเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Scoliodon ปลาฉลามหนูใหญ่ จัดเป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีอุปนิสัยไม่ค่อยดุร้าย มีรูปร่างยาวเพรียวคล้ายกระสวย ความยาวของลำตัวมาก หัวแบนลาดลงไปทางด้านหน้า จะงอยปากยาว ฟันที่ตาค่อนข้างโต มีเยื่อหุ้มตา ปากอยู่ด้านล่าง รูปร่างโค้งคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว มีฟันคม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบเรียบ ครีบหลังมี 2 อัน อันแรกมีขนาดใหญ่รูปสามเหลี่ยม อันที่สองมีขนาดเล็กเกล็ดมีฐานรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โผล่เฉพาะปลายที่เป็นหนามแข็งและคม เมื่อลูบจะสากมือ ครีบหูมีขนาดใกล้เคียงกับกระโดงหลัง ครีบหางมีขนาดใหญ่ และแยกเป็น 2 ส่วน อันบนมีขนาดใหญ่กว่าอันล่างมาก พื้นลำตัวสีเทาเข้ม ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ สีดำ มีความยาวตั้งแต่ 35-95 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในพื้นทะเลที่เป็นทราย หรือเป็นโคลนแถบชายฝั่งตื้น ๆ อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำจืดได้ด้วย พบตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทวีปเอเชีย จนถึงญี่ปุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทย เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้บริโภคได้ โดยเนื้อมีราคาถูก นิยมทำเป็นลูกชิ้น ขณะที่ครีบต่าง ๆ นำไปทำเป็นหูฉลาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามหนูใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามอาบแดด

ปลาฉลามอาบแดด หรือ ปลาฉลามยักษ์น้ำอุ่น (basking shark) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cetorhinidae และสกุล Cetorhinus ปลาฉลามอาบแดดจัดอยู่ในอันดับ Lamniformes เช่นเดียวกับปลาฉลามขาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามอาบแดดมีความยาวได้ถึง 10 เมตร เท่ากับรถโดยสารสองชั้นคันหนึ่ง (ขนาดโดยเฉลี่ย 8 เมตร) มีน้ำหนักมากถึงได้ 7 ตัน เท่ากับช้างสองเชือก มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีซี่กรองเหงือกสีแดงมีลักษณะเป็นซี่คล้ายหวีหรือแปรงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีสำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว ซึ่งปลาฉลามอาบแดดจะใช้ซี่กรองเหงือกนี้ในการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ ผ่านซี่กรองนี้เป็นอาหารเหมือนปลาฉลามวาฬ และปลาฉลามเมกาเมาท์ จัดเป็นปลาฉลามที่มีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีประสาทสัมผัสโดยเฉพาะประสาทการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยมเหมือนปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ปลาฉลามอาบแดด เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรเขตน้ำอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ เกาะอังกฤษ นับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในเกาะอังกฤษ ปลาฉลามอาบแดดบางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ เพื่อกินแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณผิวน้ำ ตามสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่แพลงก์ตอนสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี คือ มีแสงแดด มีอุณหภูมิอบอุ่นที่เหมาะสม ปลาฉลามอาบแดดจะอ้าปากได้กว้าง จนกระทั่งเห็นซี่กรองภายในปากชัดเจน ไล่กินแพลงก์ตอนสัตว์ตามผิวน้ำ แต่โดยปกติจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะมีพฤติกรรมย้ายถิ่นฐานไปตามแพลงก์ตอนตามฤดูกาล ซึ่งเชื่อว่าจะว่ายตามแพลงก์ตอนไปตามกลิ่น จากการศึกษาพบว่าสามารถเดินทางได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 7 วันThe Basking Shark, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามอาบแดด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามจ้าวมัน

ปลาฉลามจ้าวมัน หรือ ปลาฉลามสีเทา (Grey reef shark, Gray reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาฉลามในสกุลนี้ทั่วไป เช่น ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) แต่ทว่ามีรูปร่างที่หนาและบึกบึนกว่า ครีบหลังทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวเป็นสีเทาอมฟ้า ส่วนท้องเป็นสีขาว มีขนาดลำตัวใหญ่เต็มที่ประมาณ 1.9 เมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 2.6 เมตร และน้ำหนักเต็มที่ 33.7 กิโลกรัม อายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังและกองหินในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ จนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยมักพบติดมากับอวนหรือเครื่องมือประมง หายากกว่าปลาฉลามครีบดำ และหายากที่พบตัวที่มีชีวิตอยู.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามจ้าวมัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว (Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นปลาที่ถือกำเนิดมาแล้วนานกว่า 16 ล้านปี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครุย

ปลาฉลามครุย (Frilled shark; ラブカ) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนหัว ลักษณะฟันและปาก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล เป็นไปได้ว่าตำนานงูทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเล่าขานของนักเดินเรือในสมัยอดีตอาจมีที่มาจากปลาฉลามชนิดนี้ มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (Blacktip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามปากเป็ด

ปลาฉลามปากเป็ด (American paddlefish, Mississippi paddlefish) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามปากเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเมกาเมาท์

ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megamouth shark) เป็นปลาฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ที่พบได้ยากมาก หลังจากพบครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1976 จากการติดกับสมอของเรือรบ AFB 14 ของกองทัพเรือสหรัฐ เมื่อกว้านขึ้นมา พบเป็นซากปลาฉลามขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครรู้จักเหมือนสัตว์ประหลาดขนาดความยาวประมาณ 4.5 เมตร น้ำหนักราว 3-4 ตัน มีจุดเด่น คือ ปากที่กว้างใหญ่มากและฟันซี่แหลม ๆ เหมือนเข็มอยู่ทั้งหมด 7 แถว ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร นักวิทยาศาสตร์เมื่อได้ศึกษาแล้วพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ และมีจุดที่แตกต่างไปจากปลาฉลามทั่วไป จึงจัดให้อยู่ในสกุล Megachasma และวงศ์ Megachasmidae ซึ่งยังมีเพียงชนิดนี้ชนิดเดียวเท่านั้น ปัจจุบัน เป็นปลาที่ยังพบได้น้อย โดยมีรายงานการพบเห็นและเก็บตัวอย่าง 39 ครั้ง และมีการบันทึกภาพไว้ได้ 3 ครั้ง (ตามข้อมูลเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007) โดย 1 ใน 3 ของการพบตัวอย่างปรากฏในเขตน่านน้ำญี่ปุ่น ปลาฉลามชนิดนี้กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนปลาฉลามบาสกิ้น และปลาฉลามวาฬ โดยมีปากกว้างใหญ่เพื่อกลืนเอาน้ำเข้าไปมาก ๆ แล้วกรองน้ำออกให้เหลือแต่แพลงก์ตอนและแมงกะพรุน ส่วนหัวขนาดใหญ่และริมฝีปากเป็นผิวหนังเหนียวจัดเป็นลักษณะเด่นของปลาฉลามชนิดนี้ นอกจากนี้แล้ว จากการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามเมกาเมาท์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือ

ปลาฉลามเสือ (Tiger shark) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกฉลาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ในวงศ์ Carcharhinidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Galeocerdo.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือดาว

ำหรับปลาฉลามเสือดาวอีกชนิดหนึ่ง ดูที่ ปลาฉลามเสือดาว (''Triakis semifasciata'') ปลาฉลามเสือดาว (Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark) ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย บนลำตัวมีสันเป็นเหลี่ยมด้านละสองสัน ผิวหนังหยาบเป็นเม็ด เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดอง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป โดยใช้อวัยวะคล้ายหนวดที่อยู่รอบ ๆ ปลายส่วนหัวซึ่งเป็นอวัยวะใช้รับสัมผัสในการนำทางและหาอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉลามเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง

ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง หรือ ปลาฉนากน้ำจืด (Largetooth sawfish, Freshwater sawfish) เป็นปลากระดูกอ่อน ในวงศ์ปลาฉนาก (Pristidae) เป็นปลากระดูกอ่อน รูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีลักษณะเด่นคือ จะงอยปากที่แหลมยาว มีกระดูกแข็งรอบ ๆ จะงอยแลดูคล้ายฟันเลื่อย มีความยาวได้ถึง 2 นิ้ว มีความคม มีจำนวนประมาณ 14–24 แถว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ราว 6 เมตร หนักได้ถึง 600 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินเดียทางตอนเหนือ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อิเรียนจายา, ปาปัวนิวกินี ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือบริเวณรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง เป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ สามารถพบในเขตน้ำจืดได้ เช่นที่ ปากแม่น้ำคงคา, ปากแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำฟริซต์รอย สำหรับในประเทศไทยเคยมีผู้พบไกลถึงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในปี ค.ศ. 1957 การเข้ามาในน้ำจืดของปลาฉนากจะงอยปากกว้าง นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัยด้วยการติดแทคที่ตัวปลาเชื่อว่า ปลาเข้ามาเพื่อขยายพันธุ์ เพราะในน้ำจืดมีสัตว์นักล่าและอันตรายน้อยกว่าในทะเล จนกระทั่งปลามีความยาวได้ 8–9 ฟุต หรืออายุราว 5 ปี จึงจะค่อยว่ายออกทะเลไป ในออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปลาฉนากจะงอยปากกว้างจะว่ายน้ำเข้ามาในแม่น้ำที่เป็นน้ำจืดไกลถึง 200 ไมล์ ในถิ่นที่เป็นแดนทุรกันดาร และถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูแล้งที่ระดับน้ำลดลงอย่างมากก็ตาม พฤติกรรมของปลาชนิดนี้ คือ มักหากินบริเวณหน้าดินที่มีดินเลนค่อนข้างขุ่นในเวลากลางคืน โดยอาหารได้แก่สัตว์น้ำมีกระดอง เช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นต้น โดยใช้จะงอยปากที่เหมือนใบเลื่อยนั้นไล่ตามและตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ และถึงแม้จะมีจะงอยปากยาวเหมือนเลื่อย แต่ปลาฉนากจะงอยปากกว้างก็ยังมีศัตรูตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปลาฉนากที่นั่นพบว่ามีบาดแผลจากการถูกโจมตีโดยสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น ปลาฉลามหัวบาตร หรือจระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย โดยปลาที่พบในแม่น้ำฟริซต์รอยจำนวนร้อยละ 60 ที่มีบาดแผลเช่นนี้หน้า 10 ต่างประเทศ, ภาพสะท้อน 'ปลาฉนาก' อยู่ยากเจอจระเข้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาฉนากจะงอยปากกว้าง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาบะ

ปลาซาบะ (さば Saba) เป็นชื่อของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Scomber จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาแมคเคอเรลจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกระสวยหรือจรวด เป็นปลาผิวน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็ว กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอนสัตว์ เช่น โคพีพอด ด้วย โดยมากเป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรและน่านน้ำเขตหนาว เช่น มหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือ แถบส่วนเหนือของทวีปแอฟริกา ไล่เรียงขึ้นไปทางทวีปยุโรป จนถึงแถบสแกนดิเนเวีย แต่ก็มีประชากรบางส่วนพบที่มหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น หรือจีน และสหรัฐอเมริกา หรือซีกโลกทางใต้ เช่น นิวซีแลนด์ ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซาบะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวอ้าว

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาน้ำหมึก และปลาสะนาก ปลาซิวอ้าว (Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลานางอ้าว" หรือ "ปลาอ้ายอ้าว" หรือ "ปลาซิวควาย" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซิวอ้าว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวควาย

ปลาซิวควาย (Silver rasbora, Yellowtail rasbora) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาซิวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornieri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างยาวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กไม่มีหนวด ตาโต ครีบเล็ก ครีบหางเว้าลึก มีเกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเหลืองอ่อนอมทอง มีแถบสีเงินพาดตามความยาวกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ครีบสีเหลืองอ่อนมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่ง รวมถึงลำธารในที่สูงบางแห่ง พบในภาคใต้ ภาคกลาง ถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมชอบตอมตะไคร่หรือสาหร่ายบริเวณใต้แพหรือท่าน้ำ อาหารได้แก่ พืชน้ำ และแมลงน้ำขนาดเล็ก เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยปรุงสด ทำปลาร้าหรือปลาแห้ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยที่ ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซิวควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวควายข้างเงิน

ปลาซิวควายข้างเงิน (Silver rasbora) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora argyrotaenia อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาซิวควาย (R. torieri) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันมาก เป็นปลาผิวน้ำ ชอบอยู่กันเป็นฝูง ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว ข้างลำตัวมีแถบสีเงิน และสีเหลืองสดอมส้มพาดคู่ขนานไปกับแถบสีเงินตามยาวลำตัว พบในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล พบอยู่ทั่วทุกภาค กินอาหารได้แก่ ลูกน้ำ ตัวอ่อนของแมลง และแมลงน้ำ รวมทั้งแมลงที่บินตามผิวน้ำ มีขนาดความยาวตั้งแต่ 5 เซนติเมตร ถึง 17 เซนติเมตร นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด ตากแห้งและทำปลาร้า และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซิวควายข้างเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวแก้ว

ปลาซิวแก้ว (Thai river sprat) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวยาว ตัวใส ที่ริมฝีปากมีขากรรไกรเป็นแผ่นแบน และมีเขี้ยวแหลมโค้งขนาดเล็กมาก เกล็ดบางมากและหลุดร่วงได้ง่าย ครีบก้นมี 2 ตอน ตอนท้ายเห็นเป็นติ่งเล็ก ๆ แยกออกมา ลำตัวใสสีอมเหลืองอ่อนมีแถบสีเงินคาดกลางลำตัว หัวมีสีคล้ำเล็กน้อยออกสีเขียวอ่อน มีขนาดลำตัวประมาณ 4 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบประมาณ 6 เซนติเมตร พบเฉพาะในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบมากที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น, เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์, เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่มากบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ กินอาหารโดยได้แก่ แมลง โดยการกระโดดงับขึ้นเหนือน้ำ และแพลงก์ตอนสัตว์ มีวิธีจับด้วยการยกยอและใช้ไฟล่อในเวลากลางคืน นิยมใช้บริโภคและเป็นปลาเศรษฐกิจในท้องถิ่นภาคอีสาน โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำน้ำปลา, ปลาแห้ง, ปลาเจ่า เป็นต้น และได้ถูกส่งไปปล่อยในอ่างเก็บน้ำของมาเลเซียและอินโดนีเซียจนกลายเป็นปลาเศรษฐกิจของทื่นั่นด้วย ปลาซิวแก้ว มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ปลาแก้ว, ปลาแตบแก้ว หรือ ปลาแปบควาย เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซิวแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซีลาแคนท์

ซีลาแคนท์ (Coelacanth, ดัดแปลงมาจากคำละตินสมัยใหม่ Cœlacanthus เมื่อ cœl-us + acanth-us จากภาษากรีกโบราณ κοῖλ-ος + ἄκανθ-α) เป็นชื่อสามัญของปลาออร์เดอร์หนึ่งที่รวมถึงสายพันธุ์ของปลาในปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบันพวก gnathostomata นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่าปลาซีลาแคนท์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปลาปอดและเตตราพอดที่เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคครีเทเชียส จนกระทั่งมีการพบปลา แลติเมอเรีย ครั้งแรกที่นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาใต้เลยแม่น้ำชาลัมนาออกมาในปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซีลาแคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซ่อนทราย

ปลาซ่อนทราย สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาซ่อนทราย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปล้องทองปรีดี

ปลาปล้องทองปรีดี (Mini dragon loach, Dr.) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล แต่ทว่าลำตัวแบนข้าง หัวทู่สั้น ตาเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่เหนือปาก และอีก 2 คู่อยู่ใต้ปาก ลำตัวมีสีเหลืองสลับดำเป็นปล้อง ๆ ดูแลสวยงาม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 นิ้ว เป็นปลาที่เพิ่งค้นพบใหม่ของโลก พบที่ลำธารบนภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่เดียวในโลกเท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและเย็น การศึกษาทางนิเวศวิทยาของปลาชนิดนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นปลาชนิดใหม่และพบได้น้อย แต่เชื่อว่า ออกหากินในเวลากลางคืน เคลื่อนไหวได้ว่องไวมาก โดยกินอาหารได้แก่ แมลงน้ำ หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในลำธารเหมือนปลาชนิดอื่น ในวงศ์และสกุลเดียวกัน ถูกตั้งชื่อสายพันธุ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสของไท.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปล้องทองปรีดี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าสมพงษ์

ปลาปักเป้าสมพงษ์ (Redeye puffer, Sompong's puffer) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียว ใต้ท้องสีขาว มีลวดลายสีเทาเข้มขนาดใหญ่พาดบนแผ่นหลังและข้างลำตัว สามารถปรับเปลี่ยนสีลำตัวให้เข้มหรือจางได้ตามสภาพแวดล้อม ตามีสีแดงสามารถกรอกกลิ้งไปมาได้ ตัวผู้และตัวเมียความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ตัวสีแดง ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็ก มีลำตัวสีเขียวมีลาดพาดตามลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว พบกระจายอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วประเทศ โดยมักหลบอยู่ใต้กอผักตบชวา หรือในบริเวณน้ำกร่อยตามชายฝั่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้แม้แต่ในพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว มักกัดกันเองเสมอ ๆ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้เลี้ยง โดยจะวางไข่ในน้ำกร่อย ปลาชนิดนี้ถูกค้นพบโดยคนไทย จึงตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ คือ นายสมพงษ์ เล็กอารีย์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจส่งออกปลาสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลาปักเป้าตาแดง" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปักเป้าสมพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหางวงเดือน

ปลาปักเป้าหางวงเดือน (Ocellated pufferfish; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) เป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดเล็ก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ครีบเล็ก ลำตัวสีคล้ำหรือเขียวขี้ม้า มีจุดประสีเหลืองหรือสีจางทั่วตัว หลังมีลายพาดสีคล้ำ ข้างลำตัวมีดวงสีดำใหญ่ ตาสีแดง ครีบหางมีขอบสีแดงหรือชมพู มีขนาดประมาณ 4-5 เซนติเมตร จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Leiodon พบอาศัยอยู่ตามลำธารและแม่น้ำในภาคตะวันตกตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนไปจนถึงภาคใต้ โดยหลบซ่อนอยู่ตามซอกหินหรือใบไม้ใต้น้ำ อาหารได้แก่ ลูกปลา, ลูกอ๊อด, ปู, หอย และกุ้งขนาดเล็ก เป็นปลาที่ไม่พบบ่อยมากนัก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาปักเป้าแคระ" หรือ "ปลาปักเป้าเขียวจุด" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปักเป้าหางวงเดือน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Porcupinefishes, Balloonfishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Diodon (/ได-โอ-ดอน/) ปลาปักเป้าหนามทุเรียนนั้น มีรูปร่างคล้ายปลาปักเป้าทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวยาว หนังหยาบหนา และมีหนามแข็งชี้ไปข้างท้ายลำตัวตลอดทั้งตัว ซึ่งหนามนี้จะตั้งแข็งตรงเมื่อพองตัวกลมคล้ายลูกบอล เพื่อใช้ในการป้องตัวตัวเองจากนักล่าขนาดใหญ่กว่าในธรรมชาติ เช่น ปลาฉลาม ครีบหางเป็นทรงกลม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ มีฟันที่แหลมคมจำนวน 2 ซี่ภายในช่องปากใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู, หอยฝาเดี่ยว หรือหอยสองฝา เป็นต้น ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมีลักษณะแตกต่างไปจากปลาปักเป้าสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ ลักษณะของหนามบนลำตัว มีทั้งหมด 5 ชนิด (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ไปในทะเลและมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามบ้านหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมนำมาสตัฟฟ์เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะเมื่อยามพองตัว แต่ถือเป็นปลาที่มีอันตราย หากได้รับประทานเข้าไป เนื่องจากมีสารพิษชนิด เตโตรโดท็อกซิน และซิกัวเตราอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปักเป้าหนามทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าขน

ปลาปักเป้าขน (Hairy puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปักเป้าขน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าดำ

ปลาปักเป้าดำ ปลาปักเป้าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pao cochinchinensisKottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปักเป้าดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง

ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง หรือ ปลาปักเป้าบึง (Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาปักเป้าน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodonidae) ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาปักเป้าดำ (P. cochinchinensis) และปลาปักเป้าจุดแดง (P. abei) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่จุดที่ข้างลำตัวจะไม่มีจุดที่กลมใหญ่เหมือนรูปดวงตาในปลาขนาดใหญ่ (แต่ในปลาขนาดเล็ก อาจจะยังมีอยู่) แต่จะมีลักษณะเป็นวงดำ โดยสีทั่วไปเป็นสีคล้ำบนพื้นสีเขียวขี้ม้า มีดวงตาสีแดง และมีแนวของเกล็ดฝอยขนาดเล็กบนผิวหนังที่เป็นลักษณะสาก คลุมลงมาแค่ระหว่างดวงตา แต่ไม่ถึงบริเวณช่องจมูก ด้านท้องมีจุดเล็กเป็นแต้ม ๆ ตัวเมียมีสีจางกว่าตัวผู้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบเฉพาะในลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้น ตั้งแต่จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, บึงกาฬ พบอาศัยอยู่ในน้ำตื้นของแหล่งน้ำนิ่ง พบได้ตลอดทั้งปี เช่น หนอง หรือบึง ที่มีน้ำใสสะอาดมีพืชน้ำ และชายฝั่งมีต้นไม้น้ำขึ้นหนาแน่น ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงได้รับการอนุกรมวิธานโดยภาสกร แสนจันแดง, ชวลิต วิทยานนท์ และชัยวุฒิ กรุดพันธ์ นักมีนวิทยาชาวไทย จากการศึกษาวิจัยร่วมกันในเรื่องปลาปักเป้าน้ำจืดในสกุลเดียวกันนี้ในลุ่มแม่น้ำโขง 6 ชนิด ซึ่งปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงนั้นเป็นรู้จักกันมานานไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว โดยปะปนไปกับปลาปักเป้าชนิดอื่น ๆ และเพิ่งถูกแยกออกมาต่างหากเมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปิรันยา

ปลาปิรันยา (piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิดFace Ripper, "River Monsters" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลานกขุนทองปากยื่น

ปลานกขุนทองปากยื่น (Longjawed wrasse, Slingjaw wrasse) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Epibulus เป็นปลาที่มีความแปรฝันของสีสันลำตัวสูง โดยปกติแล้วตัวเมียจะมีสีเหลือง ส่วนตัวผู้มีลำตัวสีดำ บริเวณส่วนหน้าและหลังสีขาว แต้มด้วยสีแดงบริเวณหน้าผาก มีขากรรไกรที่ออกแบบมาให้ยื่นออกไปได้ยาวเป็นพิเศษเพื่อใช้จับสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อันเป็นที่มาของชื่อ มีพฤติกรรมว่ายน้ำโดยการเอาหน้าทำมุมกับพื้นเพื่อมองหาเหยื่ออยู่ตลอดเวลา อาศัยอยู่ในบริเวณแนวปะการัง มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลานกขุนทองปากยื่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์ทะเล

ปลานวลจันทร์ทะเล หรือ ปลานวลจันทร์ (milkfish; bangus) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chanos chanos อยู่ในวงศ์ Chanidae ซึ่งถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุลนี้ ปลานวลจันทร์ทะเลมีรูปร่างเพรียวยาว เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว ครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังเล็ก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว พบได้ตามชายฝั่งทะเลแถบอบอุ่นทั่วภูมิภาคของโลก มักอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้แก่ ปลาอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า และสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ รวมถึงสาหร่ายทะเลด้วย มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.5 เมตร ในประเทศไทยพบมากที่แถบจังหวัดเพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร และบางส่วนในจังหวัดตราด โดยมีการสำรวจพบครั้งแรกที่บ้านคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์หน้า 24 เกษตร, ปลานวลจันทร์ทะเล ตลาดยังสดใส, "เกษตรนวัตกรรม".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลานวลจันทร์ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์น้ำจืด

ปลานวลจันทร์น้ำจืด หรือ ปลานวลจันทร์ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มน้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ ปัจจุบันเป็นปลาที่หายาก เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "ปลาพอน" และ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลานวลจันทร์น้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์เทศ

ปลานวลจันทร์เทศ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus cirrhosus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม หัวสั้น ปากเล็ก ริมฝีปากบางมีชายครุยเล็กน้อย ครีบหลังและครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีขนาดใหญ่ หัวและลำตัวด้านบนมีสีเงินหรือสีเงิมอมน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีส้มหรือชมพู ขอบครีบมีสีคล้ำเล็กน้อย ตามีสีทอง มีขนาดเต็มที่โดยเฉลี่ย 50-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ คือ 1 เมตร มีพฤติกรรมชอบหากินในระดับพื้นท้องน้ำ โดยสามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่ง และกินอาหารด้วยวิธีการแทะเล็มพืชน้ำขนาดเล็กและอินทรีย์สาร รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลานวลจันทร์ (C. microlepis) ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปลานวลจันทร์เทศเป็นปลาพื้นเมืองของทางเหนือของภูมิภาคเอเชียใต้ พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำคงคา, แม่น้ำสินธุจรดถึงแม่น้ำอิรวดีของพม่า นำเข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งใน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 จำนวน 100 ตัว โดยอธิบดีกรมประมงในขณะนั้น เพื่อทำการขยายพันธุ์เพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยทำการเลี้ยงอยู่ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงใหม่ และอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 โดยผ่านมาจากประเทศลาว ซึ่งประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงจนขยายไปสู่ฟาร์มของเอกชนต่าง ๆ ในภาคอีสานจนกระจายมาสู่ภาคกลาง เช่นเดียวกับปลายี่สกเทศ (Labeo rohita) หรือปลากระโห้เทศ (Catla catla) ปลานวลจันทร์เทศที่อาศัยในแม่น้ำโขงสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดีจนสามารถแพร่ขยายพันธุ์เองได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลานวลจันทร์เทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลานิล · ดูเพิ่มเติม »

ปลานีออน

ปลานีออน หรือ ปลานีออนเตตร้า (อังกฤษ: Neon, Neon tetra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon innesi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลานีออน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำหมึก

ปลาน้ำหมึก (Stream barilius) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opsarius pulchellus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาน้ำหมึกโคราช (O. koratensis) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน ต่างกันที่น้ำหมึกมีลำตัวที่ป้อมสั้นกว่า ปลายปากป้าน มีสีสันที่สดใสกว่าและลายขีดข้างลำตัวใหญ่และชัดเจนกว่า เกล็ดมีขนาดใหญ่กว่า ครีบหลังมีแต้มสีแดงเห็นชัดเจน มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธารในป่าและเชิงเขาที่น้ำสะอาดไหลแรงที่ภาคเหนือของประเทศไทย พบในแม่น้ำโขงด้วย แต่ไม่พบในแม่น้ำสาละวิน มีพฤติกรรมมักแย่งชิงตัวเมียกันในฤดูผสมพันธุ์ โดยปลาตัวผู้จะใช้หัวและลำตัวฟาดคู่ต่อสู้ บริเวณส่วนหัวจะมีตุ่มขึ้นในฤดูนี้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาน้ำหมึก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำหมึกโคราช

ปลาน้ำหมึกโคราช หรือ ปลานางอ้าวโคราช เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opsarius koratensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้างปลายแหลม เกล็ดใหญ่ค่อนข้างบาง มีลายขีดข้างลำตัวเล็กสีน้ำเงินตามแนวตั้ง ครีบสีเหลือง มีแต้มสีน้ำเงินหรือสีคล้ำอยู่ตรงกลางระหว่างขากรรไกรล่าง ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีสีสันสดใส มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง แมลงน้ำ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงในฤดูผสมพันธุ์ ปลาตัวอ่อนเลี้ยงตัวชายฝั่งของแม่น้ำและลำธารที่อยู่ พบในลำธารในป่าและบริเวณเชิงเขาในภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย รวมทั้งพบในแม่น้ำโขงด้วย เป็นปลาที่พบชุกชุม และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาน้ำหมึก" หรือ "ปลาแปบ" เป็นต้นสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 118 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาน้ำหมึกโคราช · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเงิน

ปลาน้ำเงิน (コモンシート) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus apogon อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างคล้ายปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ไม่มีเกล็ด พื้นลำตัวสีขาวเงิน ส่วนหลังมีสีดำอมเขียว หัวแบนสั้นและตาเล็ก ปากค่อนข้างกว้าง มีฟันแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบหูใหญ่ปลายมน ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแผงยาว แต่ไม่มีครีบหลัง สันหลังบริเวณต้นคอสูงและลาดต่ำลงไปทางปลายหาง ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 15-77 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร อาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่ของภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง เป็นต้น โดยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงในระดับกลางน้ำ อาหารได้แก่ ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก และแมลงต่าง ๆ และจะชอบอาหารกลิ่นแรง เช่น แมลงสาบ เป็นที่รู้จักกันดีของนักตกปลาที่ใช้เป็นเหยื่อ เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ทอดพริก, ทอดกระเทียม เป็นต้น ของจังหวัดตามริมแม่น้ำ และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย จัดเป็นปลาที่เมื่ออยู่ในตู้แล้วจะมีความแวววาวสวยงามมากชนิดหนึ่ง เคยพบชุกชุมในธรรมชาติ ปัจจุบันพบน้อยลงเพราะการจับมากเกินไปและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่ปัจจุบันกรมประมง โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการผสมเทียม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแบล็คสวอลโล

ปลาแบล็คสวอลโล (Black swallower)เป็นสายพันธุ์ปลาทะเลลึกในตระกูล Chiasmodontidae เป็นที่รู้จักด้วยความสามารถของมันทีสามารถกลืนปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้ มันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกในเขตร้อนและเขตหุบเขาใต้ทะเลลึกภูเขาใต้ทะเลที่มีความลึก 700-2,745 เมตร (2,297-9,006 ฟุต) เป็นปลาทะเลลึกที่แพร่พันธุ์ได้แพร่หลายมากCarpenter, K.E., et al.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแบล็คสวอลโล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแบล็คโกสต์

ปลาแบล็คโกสต์ หรือ ปลาผีดำ (Black ghost knifefish, Apteronotid eel) เป็นปลาที่จัดอยู่ในอันดับ Gymnotiformes เช่นเดียวกับปลาไหลไฟฟ้า และปลาไนท์ฟิช แหล่งที่อยู่แถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอนและซูรินามในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแบล็คโกสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแฟงค์ทูธ

ปลาแฟงค์ทูธ (fangtooth.) มีลักษณะรูปร่างที่น่ากลัวเขี้ยวยาวมี2ชนิดใหญ่ๆโดยพวกมันเป็นอาศัยในน้ำลึกพบได้ทั้วโลก ส่วน Anoplogaster Brachycera อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนและมหาสมุทรแอตแลนติก ตัวที่โตเต็มวัยมีหลากสีตั้งแต่ น้ำตาลแก่ จนถึงดำ ในขณะที่ตัวที่อายุยังน้อยมีลักษณะต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะมีสีเทาสว่างและมีหนามยาวบนหัวหรือ ดวงตาของมันมีขนาดเล็กขากรรไกรขนาดใหญ่และเขี้ยวที่ยาวและคม รูปร่างเหมือนสัตว์ประหลาด ตัวโตเต็มวัยของมันก็มีขนาดความยาวแค่ 6 นิ้ว แถมมีลำตัวสั้นและหัวขนาดใหญ่ แฟงค์ทูธ ตั้งชื่อตามตัวปลาที่มีฟันยาวและคม เหมือนเขี้ยวเรียงตัวกันอยู่ในปากขนาดใหญ่ แฟงค์ทูธเป็นอีกสายพันธุ์สุดขั้วที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกลงไปถึง 16,000 ฟุต ด้วยความลึกระดับนี้ แรงดันน้ำจึงมีระดับสูงและเย็นมากจนแทบจะเป็นน้ำแข็ง อาหารจึงเป็นสิ่งหายาก ดังนั้นแฟงค์ทูธจึงกินทุกอย่างที่หาได้ และอาหารส่วนใหญ่ก็ตกลงมาจากทะเลด้านบน เจ้าปลาแฟงค์ทูธสามารถพบเจอได้ทั่วโลก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแฟงค์ทูธ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแก้มช้ำ

ปลาแก้มช้ำ (Red cheek barb, Javaen barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ แต่มีรูปร่างป้อมกลมกว่า ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้น ๆ และเล็กจำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน ฝาปิดเหงือกมีสีแดงหรือสีส้มเหมือนรอยช้ำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีสีแถบดำ ครีบทั้งหมดมีสีแดง ครีบหางจะมีสีแถบดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปทุกภูมิภาคของไทย โดยอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และบางครั้งอาจปะปนกับปลาตะเพียนชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนเงิน (Barbonymus gonionotus), ปลาตะเพียนทอง (B. altus) หรือ ปลากระแห (B. schwanenfeldii) เป็นต้น มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ภาษาใต้เรียก "ปลาลาบก", ภาษาเหนือเรียก "ปลาปกส้ม", ภาษาอีสานเรียก "ปลาสมอมุก" หรือ "ปลาขาวสมอมุก" เป็นต้น เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยปลาที่ถูกเลี้ยงในตู้กระจกสีสันจะสวยกว่าปลาที่อยู่ในธรรมชาต.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแก้มช้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมว

ปลาแมว (Dusky-hairfin anchovy) เป็นชื่อปลาชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) มีลำตัวแบนข้าง ท้องเป็นสันคม เกล็ดเล็กหลุดร่วงง่าย ครีบอกมีปลายเรียวเป็นเส้น ตัวผู้มีสีคล้ำ ครีบหางสีเหลือง และขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 25 เซนติเมตร สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ โดยมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงเล็ก ว่ายในระดับกลางน้ำ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา พบในปากแม่น้ำตอนล่างถึงชายฝั่ง ในภาคอีสานพบที่แม่น้ำโขง เป็นต้น ไม่พบบ่อยมากนัก และมักตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแมว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรดแม่น้ำโขง

ปลาแรดแม่น้ำโขง หรือ ปลาแรดเขี้ยว (Elephant ear gourami; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus exodon) เป็นปลาแรดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลาแรดธรรมดา (O. goramy) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป หากแต่ปลาแรดแม่น้ำโขงนั้น จะพบเฉพาะในแม่น้ำโขงที่เดียวเท่านั้น มีความแตกต่างคือ มีลำตัวสีน้ำตาลแดงคล้ำ ครีบก้นแคบและเล็กกว่า และริมผีปากจะไม่สามารถสบกันจนสนิท จนเผยอให้เห็นซี่ฟันในปาก โดยเฉพาะฟันที่ริมฝีปากบน อันเป็นที่มาของชื่อ สันนิษฐานว่าเพื่อใช้สำหรับในการงับลูกไม้หรือผลไม้ต่าง ๆ ที่ตกลงไปในน้ำซึ่งเป็นอาหารหลัก มีขนาดเมื่อโตเต็มที่เล็กกว่าปลาแรดธรรรมดา กล่าวคือ ประมาณ 40 เซนติเมตร เท่านั้น โดยพบใหญ่ที่สุดประมาณ 2 ฟุต โดยปลาขนาดเล็กจะมีแถบสีส้มหรือสีแดงคล้ายคลึงกับปลาแรดแดง (O. laticlavius) มาก และไม่มีแถบแนวตั้งที่ชัดเจน หรือมีก็แค่จาง ๆ มีจุดสีดำขนาดใหญ่ที่โคนหางเหนือครีบก้นชัดเจน มีส่วนหลังสีน้ำตาลเข้มและส่วนท้องสีจางกว่า นอกจากนี้แล้วปลาแรดแม่น้ำโขงยังมีกระดูกปิดเหงือก เมื่อเทียบกับขนาดตัวใหญ่กว่าปลาแรดชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ตัวผู้มีหัวโหนกนูน ขากรรไกร และริมฝีปากหนาและใหญ่กว่าตัวเมีย ขณะที่ตัวเมียจะมีจุดสีดำบริเวณโคนครีบอก ซึ่งตัวผู้ไม่มี จากการสำรวจของ ดร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแรดแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแดง

ปลาแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus bleekeri อยุ่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาน้ำเงิน (P. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปากล่างยื่นน้อยกว่า ตาโต ปากกว้าง แต่ส่วนคางไม่เชิดขึ้น มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ที่มุมปากและใต้คาง ส่วนหลังไม่ยกสูง และครีบหางเว้าตื้น ฟันบนเพดานเป็นแผ่นรูปโค้ง ตัวค่อนข้างใสและมีสีเงินวาวอมแดงเรื่อ หรือมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียวที่ด้านบนลำตัว หรือสีขาวอมชมพู โดยสีเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละแหล่งน้ำ ครีบก้นสีจาง ไม่มีแถบสีคล้ำ มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร มีน้ำหนักได้ถึง 8.3 กิโลกรัม มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาน้ำเงิน โดยมักอาศัยในแหล่งน้ำเดียวกันและอาจปะปนกันในฝูง แต่พบในภาคใต้มากกว่า ซึ่งในการตกปลาชนิดนี้ (รวมถึงปลาน้ำเงินด้วย) พรานเบ็ดมักใช้เหยื่อกลิ่นฉุนเช่น แมลงสาบ เป็นต้น เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบกินอาหารกลิ่นแรง ทำให้ในบางคนไม่นิยมรับประทานโดยอ้างว่าเนื้อมีกลิ่นฉุน มีชื่อเรียกในภาคอีสานแถบแม่น้ำโขงว่า "เซือม", "นาง" หรือ "นางแดง" เป็นต้น ปลาแดง ถือเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายกันสูงโดยเฉพาะในพื้นที่บึงบอระเพ็ด โดยขายกันในราคากิโลกรัมละ 200 กว่าบาท ถือเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายสูงที่สุดในพื้นที่นี้ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้ยักษ์

ปลาแค้ยักษ์ (Goonch) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแค้ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้วัว

ปลาแค้วัว หรือ ปลาแค้ (Dwarf goonch, Devil catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีลักษณะหัวแบนราบมีด้านบนโค้งและด้านล่างเรียบ จะงอยปากยื่นยาว มองจากด้านบนจะโค้ง หนวดเป็นเส้นแข็งมีผังผืดที่ริมฝีปาก ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว มีลักษณะคล้ายตาของงูหรือจระเข้ คือ มีม่านตาดำเล็กเป็นช่องแนวตั้ง ปากกว้างมากมีฟันเป็นเขี้ยวแหลมคมอย่างสัตว์ดุร้าย ส่วนหลังยกสูง ลำตัวแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านครีบแข็งแหลมคมเช่นเดียวกับครีบอก ที่ปลายครีบอก ครีบท้อง ครีบหลัง มีลักษณะเป็นเส้นเรียวยาว โดยเฉพาะในตัวเมีย ผิวหนังสาก บนหัวมีกระ ไม่เรียบ ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือน้ำตาลอ่อนอมเหลือง มีประด่างสีคล้ำและสีดำตลอดลำตัวด้านบนและครีบ ด้านท้องสีจาง ครีบท้องของปลาแค้วัวจะตั้งตรงอยู่แนวเดียวกับด้านท้ายของครีบหลัง เป็นปลาล่าเหยื่อ กินปลาและซากสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ของทุกภาคในประเทศไทย พบน้อยในภาคใต้ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา ในต่างประเทศพบที่อินเดีย, กัมพูชา, เวียดนาม ไปจนถึงเกาะสุมาตรา, บอร์เนียว และชวา มีความยาวเต็มประมาณ 30-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดไม่เกิน 70 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาตุ๊กแก" เป็นต้น นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย ทำเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ เป็นต้น มักพบขายในร้านแม่น้ำตามภูมิภาคที่ติดริมแม่น้ำ และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแค้วัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้ขี้หมู

ปลาแค้ขี้หมู ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethistes maesotensis (/เออ-รี-ธีส-ทีส แม่-สอด-เอน-ซิส/) อยู่ในวงศ์ปลาแค้ขี้หมู (Erethistidae) ซึ่งแยกมาจากวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแค้ขี้หมู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้งู

ปลาแค้งู (Crocodile catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีรูปร่างเหมือนปลาแค้ทั่วไป แต่มีสีลำตัวอ่อนกว่า และมีส่วนหัวแบนราบกว่า และมีกระอยู่ทั่วลำตัวมากกว่าเห็นได้ชัด มีขนาดประมาณ 70 เซนติเมตร โดยมีอาหารและถิ่นที่อยู่เหมือนกับปลาแค้อีก 2 ชนิด คือ ปลาแค้วัว (B. bagarius) และปลาแค้ยักษ์ (B. yarrelli) ที่อยู่ในสกุลเดียวกันแต่พบในส่วนที่เป็นหน้าดินกว่า เป็นปลาแค้ชนิดที่พบได้น้อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาสูง และมีชื่ออื่นอีกว่า "ปลาแค้หัวแบน".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแค้งู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้ติดหินสามแถบ

ปลาแค้ติดหินสามแถบ (Three line hill-stream catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) เป็นปลาแค้ติดหินชนิดหนึ่งที่มีลำตัวเพรียวยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีน้ำตาลหรือคล้ำอมเหลือง มีแถบสีเหลืองสดพาดลำตัวตามแนวยาวตรงกลางหลังและด้านข้างไปถึงโคนครีบ ครีบสีเหลืองและมีแต้มสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เฉพาะลำธารและน้ำตกในระบบแม่น้ำสาละวินเท่านั้น และมีรายงานพบที่จีน, อินเดียและเนปาลด้วย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม โดยจะหันหน้าสู้กับกระแสน้ำ อาหารได้แก่ แมลงน้ำและลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก เป็นปลาที่ไม่พบบ่อยมากนัก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่บางครั้งพบมีขายในตลาดปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกว่า "ฉลามทอง" ปลาแค้ติดหินสามแถบ มีชื่อเรียกในภาษาเหนือว่า "ก๊องแก๊ง".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแค้ติดหินสามแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแซลมอน

วาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ ปลาแซลมอน http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแซลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบควาย

ปลาแปบควาย เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกปลาแปบ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cultrinae ใช้ชื่อสกุลว่า Paralaubuca (/พา-รา-ลอ-บู-คา/) มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50–85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 หรือ 4 ชน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแปบควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแป้นเขี้ยว

ปลาแป้นเขี้ยว (Toothed ponyfish, Toothed soapy) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแป้น (Leiognathidae) มีลำตัวป้อมสั้นเป็นสีขาวเงิน ด้านข้างแบน นัยน์ตาโต ปากมีขนาดเล็ก ปากสามารถยืดหดได้คล้ายปลาแบบทั่ว ๆ ไป มีฟันเขี้ยวตรงบริเวณริมฝีปากบนและล่าง บริเวณลำตัวมีเกล็ดเล็กแต่ส่วนหัวและครีบใต้หูไม่มีเกล็ด ครีบหลังมีก้านครีบแข็งแล้วต่อด้วยก้านครีบอ่อนเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบหางเว้าแฉกเข้าด้านใน ส่วนบนของลำตัวจะมีลายเส้นสีน้ำตาลทองและมีรอยแต้มสีแดงและสีน้ำเงิน บริเวณครีบอกครีบก้นจะมีแถบสีเหลืองอยู่ตรงบริเวณตอนส่วนหน้าของครีบ จัดเป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 21 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, หมู่เกาะริวกิว และออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น บางปะกง, ชลบุรี, สมุทรปราการ, ภูเก็ต, ระนอง, พังงา เป็นต้น เป็นปลาที่มักถูกทำเป็นปลาเป็ด คือ ปลาป่นสำหรับทำอาหารสัตว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาแป้นเขี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบขนุน

ปลาใบขนุน หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันในชื่อภาษาแต้จิ๋วว่า ปลาอังนั้ม (乳香鱼; False trevally, Milkfish, Whitefish, Butterfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactarius lactarius อยู่ในวงศ์ Lactariidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาทู ซึ่งอยู่ในวงศ์ Scombridae คือ มีลำตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นแผงอยู่บนขากรรไกรเพดานและลิ้น เกล็ดเป็นแบบบางเรียบขนาดใหญ่และหลุดง่าย มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนที่ 2 ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย มีลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำดูเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน และมีสีน้ำเงินแทรกด้านหลังและท้องบริเวณหลัง เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินตามชายฝั่งซึ่งบางครั้งอาจพบได้ในแถบน้ำกร่อย มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 15-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตอนใต้ทะเลญี่ปุ่น, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และฟิจิ ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ปลาใบขนุนที่ตลาดสดของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี นิยมนำมาบริโภคด้วยการปรุงสด ปลาใบขนุนยังมีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น "ปลาขนุน", "ปลาซับขนุน", "ปลาสาบขนุน" หรือ "ปลาญวน" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาใบขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบโพ

ปลาใบโพ (หรือสะกดว่า ปลาใบโพธิ์) หรือ ปลาใบปอ หรือ ปลาแมลงปอ (Banded sicklefish, Concertina fish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ซึ่งแตกต่างจากปลาใบโพจุด (D. punctata) ที่มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน ปลาวัยอ่อนจะมีแถบสีดำในบริเวณที่เป็นจุดสีส้ม มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 40 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการังและแหล่งน้ำกร่อย กินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาใบโพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบไม้

ำหรับปลาใบไม้ชนิดอื่น ดูที่: ปลาใบไม้ ปลาใบไม้ (Harmand's sole) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมาน้ำจืด (B. panoides) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เพียงแต่ปลาใบไม้มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ตาอยู่ชิดกัน ปากเล็กและเบี้ยว ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว มีแต้มจุดสีคล้ำตลอดแนวครีบ ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว เกล็ดเป็นแบบสาก ขนาดลำตัวประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมคล้ายกับปลาลิ้นหมาน้ำจืด พบในถิ่นที่อยู่เดียวกัน เพียงแต่ใบไม้จะพบในภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขงด้วย ใช้บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาตากแห้ง มีราคาค่อนข้างสูง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เป".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโมง

ปลาโมง (Snail eater pangasius) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P. bocourti) อันเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร พบปลาที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง, ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย, ปู และเมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง มีการบริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาโมงออดอ้อ", "ปลาเผาะ" (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด P. bocourti), "ปลาสายยู" หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "ปลาสายยูเผือก" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาโมง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนันจุดขาว

ปลาโรนันจุดขาว (Spotted guitarfish, Giant guitarfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกปลาโรนันยักษ์ (Rhynchobatidae) มีส่วนหัวแบนราบคล้ายปลากระเบน และเป็นทรงแหลมคล้ายหัวหอก ครีบหูขนาดใหญ่ ปาก และช่องเปิดเหงือกอยู่ด้านล่าง ครึ่งหลังคล้ายปลาฉลาม เพราะลำตัวส่วนนี้ค่อนข้างกลมมีครีบหลังสองอัน และมีแพนหางเหมือนปลาฉลาม พื้นลำตัวสีเขียว มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว ปลาโรนันจุดขาว มีความยาวประมาณ 60–180 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาโรนันชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบได้ตามพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค, ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก รวมทั้งบางครั้งอาจเข้าไปในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำได้ด้วย หากินอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำมีเปลือกชนิดต่าง ๆ ปลาโรนันจุดขาว ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ในบางครั้งก็ติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมง จึงเจอมีขายเป็นปลาบริโภคในตลาดปลาริมทะเลบางตลาดเป็นบางครั้งบางคราว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาโรนันจุดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโรนิน

ปลาโรนิน (Bowmouth guitarfish, Mud skate, Shark ray) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhina ancylostoma อยู่ในวงศ์ Rhinidae จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Rhina มีรูปร่างแตกต่างไปคล้ายกับปลาโรนัน (Rhinobatidae) แต่มีลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อป้องกันตัว โดยมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนาม ตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน พื้นผิวลำตัวด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาตัวโต ขนาดโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 135 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน จัดเป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมากในปัจจุบัน พบได้ในทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่นตอนใต้, ปาปัวนิวกินี, ในน่านน้ำไทยพบที่ฝั่งอันดามัน โดยมีชื่อที่ชาวประมงเรียกว่า "ปลากระเบนพื้นน้ำ" และมีความเชื่อว่าหนามบนหลังนั้นใช้เป็นเครื่องรางของขลังในทางไสยศาสตร์ได้ โดยนิยมนำมาทำเป็นหัวแหวน หรือนำมาห้อยคอ ซ้ำยังมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ที่อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ พัทยา จังหวัดชลบุรี และ SEA LIFE Bangkok Ocean World ที่ห้าง Siam Paragon โดยมีราคาซื้อขายที่แพงมากนับล้านบาท ซึ่งปลาในที่เลี้ยงมีพฤติกรรมที่เชื่องต่อผู้เลี้ยงและกินเก่งมาก ในวันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาโรนิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอดำ

ปลาโอดำ หรือ ปลาโอหม้อ หรือ ปลาทูน่าน้ำลึก (longtail tuna, northern bluefin tuna) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง เป็นปลาผิวน้ำที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเช่นเดียวกับปลาชนิดอื่นในวงศ์นี้ทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างกลมและยาวเพรียวแบบกระสวย ครีบหลังที่แยกออกจากกันเป็นสองอันและอยู่ห่างกันเพียงเล็กน้อยเท่าขนาดความ ยาวของตา ครีบอกหลังยาวมาก ครีบท้องตั้งอยู่ในแนวเดียวกับครีบอก ครีบก้นอยู่เยื้องครีบหลังอันที่สองเล็กน้อย ครีบหางใหญ่เว้าลึกเป็นรูปวงเดือน มีเกล็กเล็กละเอียดอยู่บริเวณแนวท้อง มีจุดสีขาวเรียงกันเป็นแถวไปตามความยาวของส่วนท้อง ครีบฝอยของครีบหลังและครีบก้นมีสีเทาแกมเหลือง มีความยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร มีขนาดความยาวใหญ่สุดถึง 145 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 35.9 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงและแอฟริกาตะวันออกถึงนิวกินี, ทะเลญี่ปุ่นตอนเหนือ จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในน่านน้ำไทยพบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ โดยล่าปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื้อสามารถทำไปปลาดิบในอาหารญี่ปุ่นได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาโอดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอแถบ

ปลาโอแถบ หรือ ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack tuna, Arctic bonito, Striped tuna, Victor fish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Katsuwonus มีรูปร่างกลมและยาวเพรียวแบบรูปกระสวย ปากกว้าง นัยน์ตาขนาดปานกลาง ครีบหลังอันที่สองมีขนาดเล็กและไม่สูงครีบหูมีขนาดเล็ก ปลายแหลมเรียว ครีบท้องเล็ก ครีบก้นมีจุดเริ่มต้นอยู่ประมาณกลางครีบหลังอันที่สอง มีเกล็ดเฉพาะบริเวณใต้ครีบหลังอันแรกและบริเวณเส้นข้างลำตัวมีแถบสีดำ ประมาณ 4-6 แถบ อยู่ใต้เส้นข้างตัว แลดูเด่นเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นปลาที่มีพฤติกรรมรวมฝูงขนาดใหญ่เป็นพันหรือหมื่นตัวกันหากินตามผิวน้ำ และชอบกระโดดพร้อมกันทีเดียว มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-80 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 110 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมที่ทะเลอันดามันแถบจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ตถึงสตูล.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาโอแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรี

ำหรับโนรีที่หมายถึงนก ดูที่: นกโนรี สำหรับโนรีที่หมายถึงนักมวย ดูที่: โนรี จ๊อกกี้ยิม ปลาโนรี (Bannerfishes, Pennanfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Heniochus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุดจะงอยปาก ครีบหลังที่มีก้านแข็งราว 11-12 อัน ก้านครีบหลังอันที่ 4 ตอนแรกยื่นยาวเป็นเส้นยาวมากดูโดดเด่น ตัวมีสีสันสดสวยหัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางราว 3 แถบ มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาโนรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไบเคอร์

ปลาไบเคอร์ หรือ ปลาบิเชียร์ (Bichir) ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับ Polypteriformes จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อนทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีกระดูกอ่อนเป็นจำนวนมาก มีช่องน้ำออก 1 คู่ และภายในลำไส้มีลักษณะขดเป็นเกลียว ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบกานอยด์ ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาในอันดับปลาเข็ม, ปลาฉลามปากเป็ดและปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับงูมากกว่าจะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับปลาซีลาแคนท์ ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด ถุงลมด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับปลาปอด ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจากน้ำได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงมีท่อจมูก สำหรับดมกลิ่น 2 ท่อ เนื่องจากเป็นปลาที่สายตาไม่ดี ต้องใช้การดมกลิ่นในการหาอาหาร ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลม นับได้ว่าปลาไบเคอร์เป็นรอยต่อที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากปลาขึ้นมาจากน้ำมาใช้ชีวิตอยู่บกอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูร้อน ที่แหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเหือดแห้ง ปลาไบเคอร์สามารถที่จะขุดรูเข้าไปจำศีลในใต้พื้นดินเพื่อรอให้ถึงฤดูฝน เช่นเดียวกับปลาปอ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไบเคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไฟฟ้า

ปลาไฟฟ้า หมายถึงปลาจำพวกหนึ่งที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองในตัว เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อและป้องกันตัว โดยมีอวัยวะบางอย่างที่ช่วยในการสร้าง ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมานั้นจะมีความแรงแตกต่างกันไปตามชนิดวงศ์ (Family) และสายพันธุ์ (Species) และขนาดของลำตัว ปลาที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดคือ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) เป็นปลาน้ำจืด พบในอเมริกาใต้ เป็นปลาขนาดใหญ่ เมื่อเต็มที่ยาวได้ถึง 2 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 600 โวลต์ รุนแรงพอที่จะทำให้หัวใจมนุษย์วายตายได้ ชนิดอื่น ๆ ที่พบในน้ำจืด ก็ได้แก่ ปลาดุกไฟฟ้า (Malapterurus electricus) พบในแอฟริกา สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 โวลต์ และปลาอบา อบา (Gymnarchus niloticus) ขนาดโตเต็มที่ได้ 2 เมตร เช่นกัน และปลาในวงศ์ Gymnotidae พบในอเมริกาใต้ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนเพื่อการล่าเหยื่อ โดยมากปลาไฟฟ้าที่พบน้ำจืดจะนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ส่วนที่พบในทะเลก็ได้แก่ กระเบนไฟฟ้า อันเป็นปลากระเบนในวงศ์ Narcinidae และ Torpedinidae หมวดหมู่:ปลาแบ่งตามชื่อสามัญ หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด หมวดหมู่:ปลาน้ำเค็ม หมวดหมู่:ปลาตู้ หมวดหมู่:ปลาไฟฟ้า.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไวเปอร์

ปลาไวเปอร์ (Viperfish.) เป็นปลาในสกุลChauliodus มีลำตัวยาวส่วนมากสีของมันจะดำสนิทมันมีฟันเหมือนเข็มยาวและคมมากมีขากรรไกรเหมือนบานพับ ปลาไวเปอร์นั้นถือเป็นนักล่าขนาดเล็กเนื่องจากมันมีขนาดยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรเท่านั้นแต่มันก็อาศัยอยู่ในความลึกถึง 80–1,520 เมตรซึ่งในความมืดมิดนั้น มันจะมีการเรืองแสงเป็นจุดๆที่เรียกว่า photophores เป็นลายไปตามท้องของมัน มีทั้งหมด 9 ชนิด ส่วนมากอายุโดยเฉลี่ย 15-30 ปีในตอนกลางวันพวกมันจะอยู่บริเวณน้ำลึกในเวลากลางคืนส่วนใหญ่อยู่ในเขตน่านน้ำเขตร้อน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไวเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไส้ตันตาขาว

ปลาไส้ตันตาขาว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาไส้ตันตาแดง (A. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ขอบตาบนไม่มีสีแดง และมีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวสีเงินวาวหรืออมเหลืองอ่อน มีแถบสีคล้ำพาดตามความยาวลำตัว 5-6 แถบ ครีบสีเหลืองอ่อนหรือชมพูจาง ๆ มีขนาดโดยเฉลี่ย 15-20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ พบได้ตามแม่น้ำ หนองบึง และแหล่งน้ำนิ่งของภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน เป็นปลาที่พบชุกชุมเช่นเดียวกับปลาไส้ตันตาแดง ปลาไส้ตันตาขาวมีชื่อที่เรียกต่างออกไป เช่น จังหวัดพะเยาเรียกว่า "แพ็บ" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไส้ตันตาขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไส้ตันตาแดง

ปลาไส้ตันตาแดง (Beardless Barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไส้ตันตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลกัลเปอร์

ปลาไหลกัลเปอร์ (Gulper, Gulper eel) เป็นวงศ์และสกุลของปลาทะเลน้ำลึกวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Saccopharyngidae (มาจากภาษาละติน "saccus" หมายถึง "ถุง" และภาษากรีก φάρυγξ, หมายถึง "คอหอย") ปลาไหลกัลเปอร์ เป็นปลาที่มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล ลำตัวไม่มีเกล็ด มีลักษณะเด่น คือ มีปากกว้างใหญ่ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่า 1 ใน 4 ของลำตัว ภายในปากมีฟันที่แหลมคมเต็มไปหมด มีหางยาวและไวต่อความรู้สึก ดวงตามีขนาดเล็ก มีลำตัวทั่วไปสีดำ และยาวได้เต็มที่ประมาณ 2 เมตร (6.5 ฟุต) พบได้ในระดับความลึก 1,800 เมตร (6,000 ฟุต) เป็นปลาที่เหมือนกับปลาใต้ทะเลลึกทั่วไป คือ กินอาหารได้หลากหลายชนิดไม่เลือก เนื่องจากเป็นสถานที่ ๆ อาหารหายาก ซึ่งด้วยปากที่กว้างใหญ่เช่นนี้ทำให้สามารถกินอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไหลกัลเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลมอเรย์ตาขาว

ปลาไหลมอเรย์ตาขาว หรือ ปลาหลดหินตาขาว (White-eyed moray, Slender moray, Greyface moray) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (G. javanicus) แต่มีลำตัวเรียวกว่า ฟันเขี้ยวเล็กกว่า ผิวหนังเรียบ ลำตัวสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองสด มีจุดด่างสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้มกระจายทั่วลำตัว ใต้ท้องและใต้คอมีสีจาง มีม่านตาสีขาวชัดเจน ตาสีดำ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 80 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่ในซอกหินตามแนวปะการังเป็นคู่ ซึ่งอาจจะอยู่รวมกับปลาไหลมอเรย์ชนิดอื่นได้ ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไหลมอเรย์ตาขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาไน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเพ้า

ปลาเพ้า เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุลปลาหว้า (Bangana) ของวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เช่น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเพ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเกล็ดถี่

ปลาเกล็ดถี่ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thynnichthys thynnoides จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาลิ่นหรือปลาหัวโต (Hypophthalmichthys molitrix) ที่มีขนาดเล็ก กล่าวคือ หัวโต ตากลมโต ลำตัวเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีหนวด ปากเล็กอยู่ปลายสุดของส่วนหัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดมาก มีสีเงินแวววาวเมื่อถูกแสงและหลุดร่วงได้ง่าย ที่บริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 58-65 เกล็ด ข้อหางคอด ปลายครีบหางเว้าลึก ครีบทุกครีบสีจางใส ที่ฝาปิดแผ่นเหงืออกมีจุดสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาวจาง มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ชุกชุมอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ไม่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน และพบได้จนถึงคาบสมุทรมลายูและเกาะบอร์เนียว บางครั้งอาจพบปะปนอยู่กับกลุ่มปลาสร้อยด้วย โดยเฉพาะปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis) อาจจะจำสับสนกันได้ เพราะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ปลาสร้อยขาวมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่ามาก ปลาเกล็ดถี่เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น สร้อยเกล็ดถี่, นางเกล็ด, เรียงเกล็ด, ลิง, พรม เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเกล็ดถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าแดง

ปลาเก๋าแดง (Blacktip grouper, Red-banded grouper) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม มีจุดเด่น คือ มีทั้งสีแดงสด, สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด มีขนาดตั้งแต่ 15-40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและกองหินใต้น้ำ ตั้งแต่แอฟริกาใต้, ทะเลแดง จนถึงทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, คาบสมุทรเกาหลี และออสเตรเลีย เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมใช้ในการบร.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเก๋าแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าเสือ

ปลาเก๋าเสือ หรือ ปลากะรังลายน้ำตาล (Brown-marbled grouper, Tiger grouper) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก, อ่าวเปอร์เซีย, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, อินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตัวละ 400-600 บาท รวมถึงมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล หรือปลาเก๋ายักษ์ (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันแต่ตัวใหญ่กว่า เพื่อให้ได้ปลาลูกผสมที่เรียกว่า  ปลาเก๋ามุกมังกร ที่เนื้อมีความนุ่มอร่อยกว่า และราคาถูกกว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเก๋าเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนาง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจะงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 17 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก อาหารได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก เป็นปลาที่พบบ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาเล็บมือนาง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาสร้อยดอกยาง".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเล็บมือนาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเวียน

ปลาเวียน (Thai mahseer, Greater brook carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกมาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจะงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร ส่วนหัว อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4–8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี และถือเป็นปลาประจำจังหวัด เพราะมีเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย ปัจจุบัน กรมประมงสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ด้วยการรวบรวมพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ 2 วิธี คือ การเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในระบบที่เลียนแบบธรรมชาติ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ ปลาแม่ที่พร้อมจะวางไข่จะมีการสลัดไข่ จึงนำมารีดผสมกับน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 72–96 ชั่วโมง และการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเวียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือพ่นน้ำ

ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fish, Blowpipe fish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ปากกว้างมีขนาดใหญ่เฉียงลงด้านล่างและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต เกล็ดสาก ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสง พื้นลำตัวสีขาวอมเหลือง มีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 จุด ซึ่งนับว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดนี้เป็นปลาเสือพ่นน้ำชนิดที่มีจุดวงกลมนี้มากที่สุด และเป็นปลาเสือพ่นน้ำที่พบได้มากและแพร่หลายที่สุด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร นิยมว่ายหากินอยู่ตามผิวน้ำเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พบได้ตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปจนถึงเขตน้ำกร่อยเช่น ป่าชายเลน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถฉีดพ่นน้ำจากปากใส่แมลงที่อยู่เหนือน้ำได้เหมือนปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้แล้วยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย เป็นต้น มีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเสือพ่นน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่

ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ (Smallscale archerfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีลักษณะลำตัวแบนลึกข้างค่อนข้างมาก ตากลมโต ขอบหลังไล่ตั้งแต่ช่วงครีบไปจนถึงหางมีลักษณะเกือบเป็นเส้นตรง ปากมีขนาดใหญ่และมีลักษณะเฉียงลงลึก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายลำตัว พื้นลำตัวทางตอนบนสีเหลือง ช่วงท้องสีขาว ข้างลำตัวจะมีจุดสีดำแต้มอยู่ประมาณ 4-5 แต้ม เกล็ดเป็นแบบสาก โดยปลาใช้กลุ่มนี้มีความสามารถพิเศษ คือ สามารถพ่นน้ำขึ้นไปในอากาศได้สูงถึง 1 เมตร เพื่อล่าเหยื่อ อันได้แก่ แมลงต่าง ๆ ที่อยู่เหนือผิวน้ำ หรือกระโดดตัวขึ้นงับเหยื่อในบางที ปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่มีขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 15 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศ ไปจนถึงออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่เป็นฝูง ๆ ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ หรือ ปากแม่น้ำ ในประเทศไทยพบตั้งแต่ภาคกลางและภาคอีสาน ไม่พบในภาคใต้ วางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อนในน้ำกร่อย โดยปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่เป็นปลาที่พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ ไม่นิยมบริโภค ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่า ซึ่งปลาที่นิยมจับมาเป็นปลาสวยงามนั้นมักจับมาจากบึงบอระเพ็ดหรือสถานที่ใกล้เคียงในจังหวัดนครสวรรค์ จึงมีชื่อเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาเสือพ่นน้ำนครสวรรค์" หรือ "ปลาเสือพ่นน้ำเหลือง" ทั้งนี้ปลาเสือพ่นน้ำชนิดนี้จะมีสีเหลืองตามลำตัวสดและเห็นได้ชัดเจนกว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หม่อง".

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือตอลายใหญ่

ปลาเสือตอลายใหญ่ (Siamese tigerfish, Finescale tigerfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides pulcher เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเสือตอลายใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือตอลายเล็ก

ปลาเสือตอลายเล็ก (Northeastern siamese tigerfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides undecimradiatus อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae).

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเสือตอลายเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือเยอรมัน

ปลาเสือเยอรมัน (Black tetra, Black widow tetra, Petticoatfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาเตตร้า ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นปลาขนาดเล็ก หลังช่องเหงือกมีแถบสีดำ 2 แถบ ชายครีบก้นยาว เกล็ดเป็นประกายสีเงิน สภาพลำตัวค่อนข้างใส ท้ายลำตัวโดยเฉพาะครีบก้นเป็นสีดำ พบกระจายพันธุ์ตามแม่น้ำสายต่าง ๆ และปากแม่น้ำ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น เปรู, โบลิเวีย, อาร์เจนตินา, บราซิล และปารากวัย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร (2.4 นิ้ว) เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเลี้ยงเป็นฝูงในตู้ไม้น้ำ เป็นปลาที่มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างหลากหลายรวมถึงในประเทศไทย บางครั้งมีการฉีดสีเป็นสีต่าง ๆ ลงในตัวปลา รวมถึงตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นปลาเรืองแสงด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเสือเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเหล็กใน

ทความนี้หมายถึงปลาน้ำจืดขนาดเล็ก สำหรับเหล็กในของแมลงหรือแมง ดูที่: เหล็กใน ปลาเหล็กใน หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเหล็กใน (Indostomidae) มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ ซึ่งอดีตเคยรวมเป็นอันดับเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก หัวและปากสั้นกว่า ตาโต หางเรียวเล็ก ครีบหลังเป็นก้านแข็งสั้น ๆ ที่ตอนหน้าของลำตัว และเป็นครีบอ่อนที่ตอนกลาง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นเล็ก ครีบหางเป็นรูปพัด ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงคล้ำ และมีลายประสีคล้ำ มีขนาดลำตัวเพียง 2-3 เซนติเมตร เท่านั้นเอง พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส และมีรายงานว่าพบที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ด้วย กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร วางไข่ติดกับพืชน้ำ โดยตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่ เป็นปลาที่พบน้อยในธรรมชาติ พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเลี้ยงให้รอดได้ในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเหล็กใน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเห็ดโคน

ปลาเห็ดโคน หรือ ปลาซ่อนทราย หรือ ปลาบุรุด เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลกระดูกแข็งในสกุล Sillago (/ซิล-ลา-โก/) ในวงศ์ปลาเห็ดโคน (Sillaginidae) เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีส่วนหัวหลิม ลําตัวกลมยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ลําตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา บางชนิดมีแต้มสีเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีพฤติกรรมไซ้ทรายหรือโคลนบริเวณแหล่งที่อยู่เพื่อหากินและหลบซ่อนตัว อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพบบริเวณใกล้ชายฝั่ง ปากแม่น้ำ พงหญ้าทะเล หรือป่าชายเลน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเห็ดโคน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเผาะ

ปลาเผาะ (Vietnamese pangasius, basa fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius bocourti อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง พบในแม่น้ำโขงถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และในแม่น้ำเจ้าพระยาFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเผาะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทพา

ปลาเทพา หรือที่ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเลิม (Chao Phraya giant catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาชนิดนี้ตั้งโดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว.สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเทพา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา (Angelfish) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum (/เทอ-โร-ฟิล-ลั่ม/; เป็นภาษาละตินแปลว่า "ครีบใบไม้" ซึ่งหมายถึง ลักษณะรูปร่างลำตัวที่คม) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันอย่างหลากหล.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเทโพ

ปลาเทโพ (Black ear catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้, เมล็ดพืช, ปลา, หอย, แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวาย (P. hypophthalmus) ด้วย ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง "แกงเทโพ" มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเทโพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเขียวพระอินทร์

ำหรับเขียวพระอินทร์อย่างอื่น ดูที่: งูเขียวพระอินทร์ ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon wrasse, Cressent wrasse) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) มีลำตัวยาวรี แบนข้าง พื้นลำตัวสีเขียวตลอดทั้งตัว มีริ้วสีน้ำเงินพาดขวางตลอดตัว บริเวณส่วนหัวมีแถบลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างเป็นสีแดง อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2-10 ตัว ตามแนวปะการังในแถบอินโด-แปซิฟิก เมื่อขนาดยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีพื้นสีน้ำตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดกลมใหญ่สีดำ มีขนาดโตเต็มที่ 30 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามพื้นทะเล รวมทั้งไข่ของปลาชนิดอื่น เป็นปลาที่สามารถเปลี่ยนแปลงสีและเพศได้ใน​ช่วงการเจริญเติบโต​ โดยมากจะมีการเปลี่ยนเพศระหว่างการเจริญเติบโต​จาก​ปลา​เพศเมีย​เป็น​ปลา​เพศ​ผู้.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเขียวพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเขี้ยวก้าง

ปลาเขี้ยวก้างหรือปลาสตอปไลต์ลูสจอว์ (Stoplight loosejaw) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม โดยชื่อ สตอปไลต์ มาจาก Stoplight ซึ่งหมายถึงสัญญาณไฟจราจรนั่นเอง จะสามารถพบพวกมันได้มากที่ความลึก500เมตรลงไป พวกมันอยู่ในสกุล Aristostomias และ Pachystomias และมันสามารถเรืองแสงได้โดยแสงของมันนั้นจะมีแสงสีส้มหรือสีแดง และพวกมันยังมีเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่สัตว์ที่ใช้คลอโรฟิลล์อนุพันธ์เพื่อรับรู้แสงสีแดงได้ด้วย ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันนั้นมาจากภาษากรีกโดย malakos ความหมาย "อ่อน" และ osteon แปลว่า "กระดูก"ส่วนสาเหตุที่ใช้ชื่อนี้ก็มาจากขากรรไกรของมันที่ดูผิดปกติขากปลาอื่นๆนั้นเอง.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเขี้ยวก้าง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มงวง

ปลาเข็มงวง หรือ ปลาเข็มช้าง (Forest halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemirhamphodon pogonognathus อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาทั่วไปในวงศ์เดียวกัน แต่มีปากล่างงอม้วนลงคล้ายงวงช้าง จึงเป็นที่มาชื่อเรียก ครีบหลังมีฐานยาวเป็นสองเท่าของฐานครีบก้น มีฟันที่ปากล่างตลอดทั้งปาก ลำตัวสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาลอมชมพู ครีบหางสีแดงมีขอบสีขาว ครีบหลังสีแดงมีขอบสีดำ ครีบท้องกับครีบก้นสีแดง ครีบอกมีสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวลำตัวที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยเฉพาะที่ป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น และพบได้ในป่าพรุจนถึงแหลมมลายู มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินแมลงที่ตกลงในน้ำเป็นอาหารหลัก นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ที่ไม่ค่อยจะได้พบบ่อยนักในตลาดปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเข็มงวง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฉลียบ

ปลาเฉลียบ,ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเฉลียบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเนื้ออ่อน

ปลาเนื้ออ่อน (Sheatfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Phalacronotus ปลาในสกุลนี้มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีครีบหลัง จัดเป็นปลาขนาดกลางเมื่อเทียบกับสกุลอื่นในวงศ์นี้ เป็นปลาที่ใช้เพื่อการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในอาหารไทย เดิมเคยจัดให้อยู่ในสกุล Micronema แต่ปัจจุบันได้แยกออกม.

ใหม่!!: รายชื่อชื่อปลาทั่วไปและปลาเนื้ออ่อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อปลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »