โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากดหัวแข็ง

ดัชนี ปลากดหัวแข็ง

ปลากดหัวแข็ง (Spotted catfish) เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius maculatus ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายปลาอุก (Cephalocassis borneensis) ที่เป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ต่างกันตรงที่มีจุดสีดำอยู่ที่ครีบไขมัน มีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงตอนล่าง รวมถึงทะเลสาบสงขลา หากินอยู่บริเวณพื้นน้ำ โดยกินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร ปลากดหัวแข็ง มีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาอุกจุดดำ".

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2335พ.ศ. 2389พ.ศ. 2478พ.ศ. 2480การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามวงศ์ปลากดทะเลสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสีดำอันดับปลาหนังทะเลสาบสงขลาปลากดทะเลหัวแข็งปลาสวยงามปลาอุกปลาที่มีก้านครีบปีเตอร์ เบลเกอร์แม่น้ำโขงแม่น้ำเจ้าพระยาเมตร

พ.ศ. 2335

ทธศักราช 2335 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1792 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและพ.ศ. 2335 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2389

ทธศักราช 2389 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1846 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและพ.ศ. 2389 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2478

ทธศักราช 2478 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1935.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและพ.ศ. 2478 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากดทะเล

วงศ์ปลากดทะเล หรือ วงศ์ปลาอุก (Sea catfishes, Crucifix catfishes, Fork-tailed catfishes) จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลาหนัง ซึ่งเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ โดยมากจะไม่มีเกล็ด มีครีบแข็งที่ก้านครีบอก มีหนวด โดยมากเป็นปลากินซาก ทั้งซากพืช ซากสัตว์ พบทั้งน้ำจืด, น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทั่วเขตอบอุ่นของโลก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ariidae (/อา-รี-อาย-ดี้/) สำหรับปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาที่อาศัยในบริเวณน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ และในทะเล ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวที่โตกว่าและแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบไขมันใหญ่ ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่รอบปาก บนเพดานมีฟันเป็นแถบแข็งรูปกลมรี โดยการแพร่พันธุ์ ตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก รอจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว โดยหลังจากการผสมพันธุ์ภายนอกแล้วตัวเมียจะใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าตัวผู้อุ้มไข่ไว้แล้วให้ตัวผู้มารับไป ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เช่น ปลาริวกิว หรือปลาลู่ทู (Arius thalassinus) และพบในน้ำจืดราว 10 ชนิด เช่น ปลากดหัวโต (Ketengus typus), ปลาอุก (Cephalocassis borneensis), ปลาอุกจุดดำ (Arius maculatus), ปลาอุกหัวกบ (Batrachocephalus mino) และ ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) เป็นต้น จินตภาพของกะโหลกปลากดทะเล (ขวา) ที่มองเห็นเป็นรูปพระเยซูตรึงกางเขน (ซ้าย) โดยมากปลาในวงศ์นี้ จะถูกเรียกรวมกันว่า "อุก" เนื่องจากเมื่อถูกจับพ้นน้ำได้แล้วจะส่งเสียงร้องได้ โดยส่งเสียงว่า "อุก อุก" นอกจากนี้แล้ว ในมุมมองของชาวตะวันตก เมื่อมองกะโหลกของปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นกระดูกแข็ง ก่อให้เกิดเป็นจินตภาพเห็นภาพมีคนหรือพระเยซูตรึงกางเขนอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Crucifix catfish".

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและวงศ์ปลากดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบสงขลา

ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและทะเลสาบสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดทะเลหัวแข็ง

ปลากดทะเลหัวแข็ง (Hardhead catfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius (/อา-เรียส/) ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ ได้แก่ มีฟันที่เพดานปากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีจำนวนหนวดซึ่งมีอยู่ 3 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ ริมฝีปากล่าง 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ รูจมูกอยู่ใกล้กัน ปลาในสกุลนี้ แม้จะเป็นปลาทะเล แต่ก็มีหลายชนิดที่เข้ามาหากินและอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำจืดที่ห่างไกลทะเลมาก เช่น แม่น้ำสาละวิน ตัวผู้จะทำหน้าที่อมไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว จนกระทั่งฟักเป็นตัว การจำแนกชนิดกระทำได้จากการสังเกตจากรูปร่างและขนาดของหัว ตำแหน่งและรูปร่างของครีบบางครีบ และครีบท้องเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะพิเศษผิดไปจากเดิม พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงเอเชียอาคเน.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและปลากดทะเลหัวแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอุก

ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างเพรียว หางคอดเล็ก หลังยกสูงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นยาว หัวโตแบนราบเล็กน้อย ปากเล็ก ตาเล็กอยู่กลางหัว ครีบหลังมีก้านแข็งหนาและยาว ครีบไขมันเล็กมีสีคล้ำเล็กน้อย ครีบท้องใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมเหลืองอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 20 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง พบในแม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำบางปะกง ในแม่น้ำเจ้าพระยาพบขึ้นไปสูงสุดจนถึง จังหวัดชัยนาท นิยมบริโภคตัวผู้ที่มีไข่ในปากเรียก "ไข่ปลาอุก" โดยนิยมนำมาทำแกงส้ม พบจับขึ้นมาขายเป็นครั้งคราวในตลาดของชัยนาท อยุธยา และ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพบได้ในภาคใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว และพบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "อุกแดง", "อุกชมพู" หรือ "กดโป๊ะ".

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและปลาอุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลากดหัวแข็งและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Arius maculatusปลาอุกจุดดำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »