โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน

ดัชนี ปลาปักเป้าหนามทุเรียน

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Porcupinefishes, Balloonfishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Diodon (/ได-โอ-ดอน/) ปลาปักเป้าหนามทุเรียนนั้น มีรูปร่างคล้ายปลาปักเป้าทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวยาว หนังหยาบหนา และมีหนามแข็งชี้ไปข้างท้ายลำตัวตลอดทั้งตัว ซึ่งหนามนี้จะตั้งแข็งตรงเมื่อพองตัวกลมคล้ายลูกบอล เพื่อใช้ในการป้องตัวตัวเองจากนักล่าขนาดใหญ่กว่าในธรรมชาติ เช่น ปลาฉลาม ครีบหางเป็นทรงกลม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ มีฟันที่แหลมคมจำนวน 2 ซี่ภายในช่องปากใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู, หอยฝาเดี่ยว หรือหอยสองฝา เป็นต้น ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมีลักษณะแตกต่างไปจากปลาปักเป้าสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ ลักษณะของหนามบนลำตัว มีทั้งหมด 5 ชนิด (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ไปในทะเลและมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามบ้านหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมนำมาสตัฟฟ์เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะเมื่อยามพองตัว แต่ถือเป็นปลาที่มีอันตราย หากได้รับประทานเข้าไป เนื่องจากมีสารพิษชนิด เตโตรโดท็อกซิน และซิกัวเตราอย่างรุนแรง.

32 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งชั้นแกสโทรโพดาชั้นไบวาลเวียฟันพ.ศ. 2301พ.ศ. 2408พ.ศ. 2547พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำกุ้งมหาสมุทรลูกบอลวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่สกุล (ชีววิทยา)สมัยอีโอซีนสัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาปักเป้าทรงกลมทะเลคาโรลัส ลินเนียสปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาฉลามปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาวปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำปูปีเตอร์ เบลเกอร์เมตรเครื่องประดับเตโตรโดท็อกซิน

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นแกสโทรโพดา

ั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 60,000-80,000 ชนิด จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและชั้นแกสโทรโพดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นไบวาลเวีย

ั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและชั้นไบวาลเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2408

ทธศักราช 2408 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1865.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและพ.ศ. 2408 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

ปลาสวายและปลาน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (Public Aquarium) เป็นลักษณะหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสิ่งมีชีวิต มาจากภาษาอังกฤษว่า aquarium ซึ่งหมายถึงตู้ปลา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ผสมผสานเข้ากับการท่องเที่ยวได้อย่างดี ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม เช่น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ลูกบอล

ลูกบอล หรือ บอล (ball) คือวัตถุทรงกลมหรือคล้ายทรงกลม มักใช้เป็นอุปกรณ์กีฬาหลายประเภทเช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เป็นต้น ลูกบอลมีหลายขนาดไล่ตั้งแต่เล็กถึงขนาดใหญ่ มีทั้งทำจากยาง หนัง หรือพลาสติก ลูกบอลส่วนใหญ่จะบรรจุอากาศเพื่อให้สามารถยืดหยุ่นและรับแรงกระแทกได้ ในขณะที่ภาษาอังกฤษ ball ยังหมายความรวมไปถึงทรงกลมอื่นที่ไม่มีอากาศบรรจุอยู่ภายในด้วยเช่นลูกกอล์ฟหรือลูกบิลเลี.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและลูกบอล · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ (Porcupinefish, Blowfish, Globefish, Balloonfish, Burrfish, วงศ์: Diodontidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Diodontidae ซึ่งมีความหมายว่า "ฟันสองซี่" มีรูปร่างคล้ายกับปลาปักเป้าในวงศ์ Tetraodontidae แต่ว่าปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่นี้ มีฟันแหลมคมที่ใช้สำหรับกัดกินสัตว์มีเปลือกรวมถึงปะการังชนิดต่าง ๆ สองซี่ใหญ่ ๆ ในปาก เชื่อมติดต่อกันบนขากรรไกร โดยที่ไม่มีร่องผ่าตรงกลาง มีเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบอกมีขนาดใหญ่คล้ายพัด ครีบหลัง และครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ไม่มีครีบท้อง ครีบหางกลมมน มีรูปร่างอ้วน กลม แบนข้างเล็กน้อย สามารถขยายร่างกายให้กลมเหมือนลูกบอลได้ ด้วยการสูดอากาศหรือน้ำเข้าไปในช่องท้อง และผิวหนังจะมีหนามแหลมคมทั่วทั้งตัว ซึ่งจะตั้งตรงทั้งตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูด้วย พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในทะเลทั้งเขตร้อน, เขตอบอุ่น และเขตหนาว โดยเป็นปลาน้ำเค็มทั้งหมด จัดเป็นปลาที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยสามารถยาวได้ถึง 2 ฟุต เป็นปลาที่มีสารเตโตรโดท็อกซิน อย่างร้ายแรง จึงไม่ใช้ในการบริโภค แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ทั้งในตู้ปลาส่วนบุคคลหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมทำเป็นเครื่องประดับ โดยเฉพาะการสตัฟฟ์เวลาที่พองตัวออก.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกลม

รูปทรงกลม ในทางเรขาคณิต ทรงกลม (อังกฤษ: sphere) เป็นกราฟสามมิติ ทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (x0, y0, z0) จะมีสมการเป็น จุดบนทรงกลมที่มีรัศมี r จะผ่าน พื้นที่ผิวของทรงกลมที่มีรัศมี r คือ และปริมาตรคือ ทรงกลมเป็นรูปทรงที่มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดในบรรดารูปทรงที่มีปริมาตรเท่ากัน และมีปริมาตรมากที่สุดในบรรดารูปทรงที่มีพื้นที่ผิวเท่ากัน หมวดหมู่:เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:พื้นผิว หมวดหมู่:ทอพอโลยี.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว หรือ ปลาปักเป้าสามแถบ (long-spine porcupinefish, spiny balloonfish, freckled ballonfish) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) มีตัวค่อนข้างกลมและแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโตกลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูมีขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ไม่มีครีบท้อง ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง ซึ่งเมื่ออยู่ในยามปกติก็เห็นได้ชัดเจน แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว มีลายจุดสีดำเป็นปื้นตามลำตัวและบนหลัง ซึ่งเมื่อปลาโตขึ้นจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ จางไป จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ฟลอริดา, บาฮามาส, บราซิล, หมู่เกาะกาลาปากอส, เกาะอีสเตอร์ รอบ ๆ แอฟริกาใต้, เรอูนียง, ทะเลแดง, มาดากัสการ์, มอริเชียส, หมู่เกาะฮาวาย, อ่าวเบงกอล, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, อ่าวตังเกี๋ย, ทะเลเหลือง, ทะเลจีนใต้, ทะเลจีนตะวันออก พบไปจนถึงทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่ใช้เนื้อในการบริโภค แต่นิยมทำมาเป็นเครื่องประดับ โดยนำมาสตัฟฟ์เมื่อเวลาที่พองตัวออก และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำ

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำ (Black-blotched porcupinefish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ (Diodontidae) เป็นปลาปักเป้าหนามทุเรียนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างทรงกลม มีขากรรไกรและฟันแบบไม่ผ่าซีก ผิวหนังมีหนามสั้น ที่บริเวณใต้ตามีหนามชิ้นหนึ่งชี้ลงด้านล่าง ครีบทุกครีบมีขนาดเล็กปลายมน ลำตัวสีเทาอมเหลือง มีจุดเด่น คือ มีดวงสีดำขนาดใหญ่ที่มีขอบขาวทั่วตัว ครีบทุกครีบมีสีเหลืองใสโปร่งแสง ใต้ท้องสีขาว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 65 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามโพรงหินและวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก จากแอฟริกาใต้จนถึงทะเลญี่ปุ่น จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลีย และหมู่เกาะมาร์แชลล์ ในน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุม ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักพบตามชายฝั่งและแนวปะการัง กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็กที่อยู่บริเวณพื้นทะเล เป็นปลาที่มีพิษ เนื้อใช้รับประทานไม่ได้ นิยมสตั๊ฟฟ์ทำเป็นเครื่องประดับ และเลี้ยงแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปลาปักเป้าหนามทุเรียนด่างดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 5 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชน.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปู · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องประดับ

รื่องประดับ เป็นสิ่งของที่ใช้เสริมเติมแต่งร่างกายเพิ่มเติมจากเสื้อผ้าที่สวมใส่ โดยทำให้รูปแบบการแต่งตัวมีลักษณะที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่จะเป็นชุดเดิม ก็สามารถสร้างความรู้สึกเปลี่ยนไปได้เมื่อทำการเปลี่ยนเครื่องประดับหรืออัญมณี ในเรื่องความเชื่อและศาสนา เครื่องประดับยังคงถูกนำมาใช้ เช่น พระเครื่อง ไม้กางเขน หรือประคำ เป็นต้น เครื่องประดับชนิดต่าง.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและเครื่องประดับ · ดูเพิ่มเติม »

เตโตรโดท็อกซิน

ตโตรโดท็อกซิน (tetrodotoxin, ตัวย่อ: TTX) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เตโตรด็อก (tetrodox) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น Anhydrotetrodotoxin, 4-epitetrodoxin, Tetraodonic acid เป็นชื่อเรียกพิษที่อยู่ในตัวปลาปักเป้า เตโตรโดท็อกซินมีสูตรเคมีว่า C11 H17 N3 O8 มีน้ำหนักโมเลกุล 319.268 โดยสกัดครั้งแรกได้จากนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.โยชิซุมิ ทะฮะระ ในปี ค.ศ. 1909 เตโตรโดท็อกซิน เป็นสารพิษชนิดที่ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท โดยจะเข้าไปจับกับ fast sodium channel ของผนังหุ้มเซลล์ประสาทก่อให้เกิดการ action potential ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้ ซึ่งส่งผลต่อเซลล์ประสาททั่วร่างกายยกเว้นเซลล์ประสาทที่หัวใจ เมื่อพิษดังกล่าวส่งผลทำลายประสาทจะทำให้เซลล์ประสาทของกล้ามเนื้อไม่สามารถส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ กล้ามเนื้อจึงเป็นอัมพาต และเมื่อกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตก็ส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจเป็นอัมพาตตามด้วย ทำให้ผู้ได้รับพิษหายใจไม่ออกและเสียชีวิตจากการหายใจไม่ออก อาการกว่าพิษจะกำเริบใช้เวลาประมาณ 20 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ในบางกรณีอาจแสดงอาการเพียงแค่ 4 นาที เท่านั้นจากการรับประทานปลาปักเป้าเข้าไป โดยจะมีอาการชาที่ปากและลิ้น มีอาการชาและชักกระตุกบริเวณใบหน้าและแขนขา ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการท้องเสีย กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ชัก หมดสติ การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตต่ำ และเสียชีวิตได้ ส่วนอาการที่รุนแรงที่สุดคือ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลา 4-6 ชั่วโมง แต่ก็มีรายงานการเสียชีวิตเร็วที่สุดหลังจากได้รับพิษไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น แท้จริงแล้วการสร้างพิษในปลาปักเป้ามิได้เกิดจากเซลล์ของตัวปลาเอง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ปลาปักเป้าไปเกินแพลงก์ตอนบางชนิดในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กินแพลงก์ตอนดังกล่าวเข้าไป ทำให้เกิดสารพิษสะสม หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลา เตโตรโดท็อกซิน มีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า และทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และไม่มียาแก้พิษใด ๆ ต่อต้านได้ ซึ่งเตโตรโดท็อกซินนั้นอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของปลาปักเป้า โดยที่มีปริมาณการสะสมของพิษไม่เท่ากัน ส่วนที่สะสมพิษมาก ได้แก่ รังไข่, อัณฑะ, ตับ, ผิวหนัง และลำไส้ พบน้อยในกล้ามเนื้อ แต่แม้การรับประทานเนื้อปลาไปเพียงแค่ 1 มิลลิกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้ ยิ่งโดยเฉพาะผู้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 50 หากได้รับพิษเข้าไป การที่ปลาปักเป้ามีพิษที่ร้ายแรงเช่นนี้ในร่างกายก็เพื่อป้องตัวกันจากการถูกกินจากสัตว์อื่นนั่นเอง ซึ่งพิษของปลาปักเป้านั้นไม่ได้แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมหรือฤดูกาลเช่นเดียวกับแมงดาทะเล นอกจากนี้แล้ว ในตัวปลาปักเป้าเองยังมีพิษอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายเตโตรโดท็อกซิน นั่นคือ ซาซิท็อกซิน (Saxitoxin, STX) ซึ่งมักพบในปลาปักเป้าที่อยู่ในน้ำจืด ซึ่งการปรุงปลาปักเป้าเพื่อการรับประทาน นิยมกันมากในแบบอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะการทำเป็นซาซิมิหรือปลาดิบ ในประเทศญี่ปุ่น พ่อครัวที่จะแล่เนื้อปลาและปรุง ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากทางการเสียก่อน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าร้อยละ 50 เกิดจากการกินตับของปลา ร้อยละ 43 เกิดจากการกินไข่ และร้อยละ 7 เกิดจากการกินหนัง โดยปลาปักเป้าชนิดที่มีสารพิษในตัวน้อยที่สุดหรือแทบไม่มีเลย คือ Takifugu oblongus ที่พบในน่านน้ำของแถบอินโด-แปซิฟิก แต่กระนั้นก็ยังสามารถทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปเสียชีวิตอยู่ดี.

ใหม่!!: ปลาปักเป้าหนามทุเรียนและเตโตรโดท็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DiodonPorcupinefishTrichodiodon

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »