เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาหางแข็ง

ดัชนี ปลาหางแข็ง

ปลาหางแข็ง หรือ ปลาแข้งไก่ (Torpedo scad, Hardtail scad, Finny scad, Finletted mackerel scad, Cordyla scad) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megalaspis มีลำตัวเรียวยาวคล้ายกระสวย หัวค่อนข้างแหลมตากลมโต ปากกว้าง หางยาวเรียวและคอด บริเวณโคนหางมีเกล็ดแข็งที่มีลักษณะคล้ายขาไก่ หรือแข้งไก่ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ครีบหูเรียวโค้งคล้ายเคียว ลำตัวสีน้ำเงินปนเขียว ด้านหลังมีสีเขียวเข้ม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 80 เซนติเมตร และหนักได้ถึง 40.

สารบัญ

  1. 28 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2301พ.ศ. 2394มหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกวงศ์ปลาหางแข็งสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์สนุก.คอมหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์อันดับปลากะพงอ่าวไทยอ่าวเอเดนอ่าวเปอร์เซียทะเลญี่ปุ่นทะเลอันดามันทะเลจีนใต้ทะเลแดงคาโรลัส ลินเนียสประเทศออสเตรเลียปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มปีเตอร์ เบลเกอร์แอฟริกาตะวันออกแผนที่เขตร้อน

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ดู ปลาหางแข็งและชั้นปลากระดูกแข็ง

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ดู ปลาหางแข็งและพ.ศ. 2301

พ.ศ. 2394

ทธศักราช 2394 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1851 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู ปลาหางแข็งและพ.ศ. 2394

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ดู ปลาหางแข็งและมหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู ปลาหางแข็งและมหาสมุทรแปซิฟิก

วงศ์ปลาหางแข็ง

วงศ์ปลาหางแข็ง (Jacks, Pompanos, Horse mackerels, Scads, Trevallies, Crevallies, Tunas) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carangidae มีรูปร่างลำตัวสั้นหรือค่อนข้างสั้น คอดหางเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กแบบราบเรียบ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ มีเกล็ดแปรรูปขนาดใหญ่ที่บริเวณเส้นข้างลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อหางเสมือนเกราะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ส่วนหน้าโค้งงอ ส่วนท้ายอาจมีหรือไม่มีสันกระดูกแข็ง ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือกยาวเรียวครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบแรกมีเงี่ยงไม่แข็ง บริเวณหน้าครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 อัน แยกออกมาจากครีบก้น ซึ่งสามารถพับได้ ครีบอกยาวเรียวโค้งแบบรูปเคียว ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ปลาขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือตามแหล่งน้ำจืดหรือน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25-100 เซนติเมตร ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 2 เมตร แบ่งออกเป็น 30 สกุล ประมาณ 151 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากวงศ์หนึ่ง โดยมีการนำไปบริโภคทั้งสด และแปรรูปเป็น ปลากระป๋อง (โดยเฉพาะใช้แทนปลาในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae), ปลาเค็ม เป็นต้น ในน่านน้ำไทย มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ๆ และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาสำลี (Seriolina nigrofasciata), ปลาหางแข็ง (Megalaspis cordyla), ปลาหางแข็งบั้ง (Atule mate), ปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis), ปลากะมง (Caranx sp.), ปลาโฉมงาม (Alectis sp.) และปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) เป็นต้น.

ดู ปลาหางแข็งและวงศ์ปลาหางแข็ง

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ดู ปลาหางแข็งและสกุล (ชีววิทยา)

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาหางแข็งและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาหางแข็งและสัตว์มีแกนสันหลัง

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลาหางแข็งและสปีชีส์

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ดู ปลาหางแข็งและสนุก.คอม

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (Andaman and Nicobar Islands; अंडमान और निकोबार द्वीपसमूह; আন্দামান ও নিকোবর দ্বীপপুঞ্জ; அந்தமான் நிக்கோபார் தீவுகள்; అండమాన్ నికోబార్ దీవులు) เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่มีเกาะรวมกันทั้งหมด 572 เกาะ ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ในบรรดาเกาะทั้งหมดมีเพียง 38 เกาะเท่านั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ราว 350,000 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,293 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 92 ของพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่าฝนหนาทึบ โดยมีเกาะนิโคบาร์ใหญ่เป็นศูนย์กลางทางใต้ และมีเกาะอันดามันเป็นศูนย์กลางทางตอนเหนือ และเป็นที่ตั้งของเมืองพอร์ตแบลร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของดินแดนสหภาพ เมืองพอร์ตแบลร์ตั้งอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอันดามัน และเมืองพอร์ตแบลร์อยู่ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 450 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเจนไน 1,190 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโกลกาตาราว 1,255 กิโลเมตร หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ทางการอินเดียได้จัดให้หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่ง ปัจจุบันอินเดียยังได้ให้ความสำคัญแก่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรืออินเดียอีกด้ว.

ดู ปลาหางแข็งและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ดู ปลาหางแข็งและอันดับปลากะพง

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ดู ปลาหางแข็งและอ่าวไทย

อ่าวเอเดน

อ่าวเอเดน อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ตั้งอยู่ระหว่างประเทศโซมาเลียกับประเทศเยเมน เส้นเดินเรือที่สำคัญเพราะเป็นทางผ่านจากทะเลอาหรับไปทะเลแดงและเข้าสู่คลองสุเอซ อเอเดน หมวดหมู่:ประเทศโซมาเลีย หมวดหมู่:ประเทศเยเมน.

ดู ปลาหางแข็งและอ่าวเอเดน

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ดู ปลาหางแข็งและอ่าวเปอร์เซีย

ทะเลญี่ปุ่น

ทะเลญี่ปุ่น เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1 น้ำในทะเลญี่ปุ่นมีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก.

ดู ปลาหางแข็งและทะเลญี่ปุ่น

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม.

ดู ปลาหางแข็งและทะเลอันดามัน

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ดู ปลาหางแข็งและทะเลจีนใต้

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ดู ปลาหางแข็งและทะเลแดง

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ.

ดู ปลาหางแข็งและคาโรลัส ลินเนียส

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ดู ปลาหางแข็งและประเทศออสเตรเลีย

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ดู ปลาหางแข็งและปลาที่มีก้านครีบ

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ดู ปลาหางแข็งและปลาน้ำเค็ม

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ดู ปลาหางแข็งและปีเตอร์ เบลเกอร์

แอฟริกาตะวันออก

นแดนแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 18 ประเทศคือ.

ดู ปลาหางแข็งและแอฟริกาตะวันออก

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ดู ปลาหางแข็งและแผนที่

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ดู ปลาหางแข็งและเขตร้อน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ MegalaspisMegalaspis cordyla