โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลากระเบนนก

ดัชนี วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

30 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคพ.ศ. 2381พืดหินปะการังการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกยุคครีเทเชียสวงศ์ปลากระเบนธงวงศ์ปลากระเบนนกสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์มีแกนสันหลังหมึก (สัตว์)หอยอันดับปลากระเบนทรายดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำปลาปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลากระเบนบอนเนตปลากระเบนจมูกวัวปลากระเบนค้างคาวปลากระเบนปีศาจปลากระเบนแมนตาปลากระเบนแมนตามหาสมุทรน้ำกร่อยแพลงก์ตอน

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2381

ทธศักราช 2381 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1838.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและพ.ศ. 2381 · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนนก

วงศ์ปลากระเบนนก (วงศ์: Myliobatidae, Eagle ray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Myliobatidae จัดเป็นวงศ์ใหญ่มีวงศ์ย่อยแยกออกไปจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดเป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่ในทะเล โดยมักจะพบรวมตัวกันเป็นฝูง ในบางครั้งอาจเป็นถึงร้อยตัว มีจุดเด่นคือ มีหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของสัตว์ปีก ปลายแหลม มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 ซี่ อยู่ด้านล่างของลำตัว ด้านท้องสีขาว มีส่วนหางเรียวกว่าและเล็กกว่าปลากระเบนในวงศ์ Dasyatidae ด้วยความที่มีครีบแยกออกจากส่วนหัวชัดเจน ทำให้ปลากระเบนในวงศ์นี้สามารถว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนการบินของนก จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งในบางชนิดอาจกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วย โดยมากแล้วมักจะว่ายในระดับผิวน้ำหรือตามแนวปะการัง มีฟันที่หยาบในปาก หากินอาหารได้แก่ ครัสเตเชียน, หอย, หมึก, ปลาขนาดเล็ก รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วยในบางสกุล ซึ่งเวลาหากินสัตว์ที่อยู่ตามหน้าดิน จะใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายเอา บางชนิดอาจว่ายเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำหรือท่าเรือต่าง ๆ ได้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ มีขนาดความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ซึ่ง ปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ซึ่งเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็อยู่ในวงศ์นี้ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและวงศ์ปลากระเบนนก · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

หอย

หอยเบี้ย (''Monetaria moneta'') ที่มนุษย์ในสมัยก่อนใช้แทนเงินตรา หอย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีจุดเด่น คือ มีเปลือกที่เป็นแคลเซียมแข็ง ใช้ห่อหุ้มลำตัว โดยปกติแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หรือ 3 จำพวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและหอย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและอันดับปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ทราย

ผืนทรายที่ถูกลมพัดเป็นริ้วเหมือนคลื่น ทราย เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุจำพวก สสารแบบเม็ด (granular matter) ตามธรรมชาติแล้ว ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ดละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีกความหมายหนึ่งในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา) แล้ว หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด "ทราย" ที่มีขนาดอนุภาคหรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่ง ๆ ของทรายนั้น เรียกว่า "เม็ดทราย" ขนาดของอนุภาคที่เล็กถัดลงไป เรียกว่า ทรายแป้ง (slit) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย เรียกว่า กรวด (gravel) อนุภาคมีขนาดใหญ่กว่า 2 ถึง 64 มิลลิเมตร (ท่านสามารถศึกษาการแบ่งขนาดของอนุภาคทางธรณีวิทยาได้จาก '''grain size''') เมื่อใช้นิ้วถูเบา ๆ ขนาดอนุภาคทรายนั้นจะให้ความรู้สึกสาก ส่วนอนุภาคทรายแป้งนั้นจะรู้สึกเหมือนนิ้วถูผงแป้ง แต่จะรู้สึกสาก ๆ เพียงเล็กน้อย) ทราย ทราย50 About Sye.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและทราย · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนบอนเนต

ปลากระเบนบอนเนต (Bonnet rays) เป็นสกุลของปลากระเบนในสกุล Aetobatus (/เอ-โต-บา-ตัส/) ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, อินเดีย และแอตแลนติก มีส่วนหัวและปากแหลม กินอาหารจำพวก ปูหรือหอยสองฝาเป็นอาหาร มีลักษณะเด่น คือ เป็นปลากระเบนที่มีครีบข้างยาว แยกออกจากส่วนหัว ส่วนหางยาว จึงทำให้ว่ายน้ำได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน เมื่อตกใจสามารถกระโดดขึ้นเหนือน้ำหรือกระโดดเพื่อเล่นคลื่นได้ แต่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ปัจจุบันจำแนกออกเป็น 5 ชนิด.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบนบอนเนต · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจมูกวัว

ปลากระเบนจมูกวัว (Cownose rays) เป็นปลากระเบนในวงศ์ Rhinopteridae และสกุล Rhinoptera เป็นปลากระเบนที่มีครีบอยู่ข้างลำตัวแยกออกจากส่วนหัวชัดเจนเหมือนปลากระเบนนกหรือปลากระเบนปีศาจ โดยในบางข้อมูลจัดให้เป็นเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Myliobatidae หรือวงศ์ปลากระเบนนก โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Rhinopterinae ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อพ้องรอง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบนจมูกวัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนค้างคาว

ปลากระเบนค้างค้าวหรือ ปลากระเบนเนื้อดำ หรือ ปลากระเบนนกจุดขาวหรือปลากระเบนยี่สน (Spotted eagle ray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1–4 เงี่ยง พบมากที่สุด 6 เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวที่แยกออกจากครีบเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร เคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม หากินจำพวกสัตว์น้ำหน้าดิน เช่น หอย, กุ้ง, กั้ง, ปู บริเวณใต้พื้นน้ำเป็นอาหาร โดยใช้ปากคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหา บางครั้งอาจเข้ามาหากินถึงบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ บางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงหลายตัว และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 80 เมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ฮาวาย, อ่าวเม็กซิโก, ชายฝั่งทะเลของแอฟริกาตะวันตก, ชายฝั่งทะเลของสหรัฐอเมริกา และโอเชียเนีย ปลากระเบนค้างคาวออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ได้พัฒนาเป็นตัวในช่องท้องของปลาตัวเมีย เมื่อแรกเกิดลูกปลาจะมีถุงไข่แดงติดตัวมาด้วย ปลากระเบนค้างคาวสนนั้น มักถูกล่าเป็นอาหารจากปลาฉลาม โดยเฉพาะปลาฉลามหัวค้อน สำหรับความสัมพันธ์ต่อมนุษย์แล้ว นิยมเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ เพราะความสวยงามในสีสันและการว่ายน้ำ และยังนิยมใช้เนื้อเพื่อการบริโภคด้วยทั้งการบริโภคสดและเก็บรักษาเป็นปลาแห้ง และทำเป็นปลาหย็อง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบนค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนปีศาจ

ปลากระเบนปีศาจ (Devil rays) เป็นปลากระเบนสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Mobula ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีลักษณะใกล้เคียงกับปลากระเบนราหู หรือปลากระเบนแมนตา ที่อยู่ในสกุล Manta ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลากระเบนบิน" จากความสามารถที่สามารถกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำได้อย่างสวยงาม มีความกว้างของลำตัวจากปลายครีบอีกข้างหนึ่งจรดอีกข้างหนึ่งได้ถึง 5.2 เมตร (17 ฟุต) และมีน้ำหนักมากกว่าหนึ่งตัน ปลากระเบนปีศาจในอ่าวแคลิฟอร์เนีย (ทะเลคอร์เตส) มีรายงานว่ากระโดดได้สูงกว่า 2 เมตร ซึ่งพฤติกรรมในการกระโดดนี้ยังไม่ทราบถึงสาเหตุ แต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นการกระโดดเพื่อต้อนอาหารซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็ก หรือเคย ให้ตกใจ และรวมกลุ่มอยู่ในฝูงของปลากระเบนปีศาจที่อยู่ตรงกลาง เพื่อง่ายต่อการกินเป็นอาหาร เพราะการกระโดดจะเป็นการกระโดดของปลาที่อยู่ด้านข้างฝูง หรืออาจเป็นไปได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความสนุกเท่านั้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบนปีศาจ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนแมนตา

ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (Manta rays) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง จัดอยู่ในสกุล Manta (เป็นภาษาสเปนแปลว่า "ผ้าห่ม") ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) เดิมทีแล้ว ปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันรวมอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากปลากระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนปลากระเบนทั่วไป ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับปลากระเบนทั่วไป มีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วนท่อน้ำออกมีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า แรม-เจ็ต (Ram-jet) ปลากระเบนแมนตา เดิมถูกจัดเป็นเพียงปลาชนิดเดียว และปัจจุบันถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด เมื่อไม่นานมานี้ ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบนแมนตา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนแมนตามหาสมุทร

ปลากระเบนแมนตามหาสมุทร หรือ ปลากระเบนราหูมหาสมุทร (Giant oceanic manta ray, Oceanic manta) เป็นปลากระเบนแมนตาชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) ที่จะงอยปากมีหงอนหนังขนาดใหญ่ ปากอยู่ทางด้านหน้าสุด ครีบอกโค้งเรียวแหลม ด้านหลังมีเกล็ดที่เป็นตุ่มสากละเอียด หางมีความสั้นไม่มีเงี่ยงแหลม ครีบหลังมีขนาดเล็ก ด้านหลังมีสีดำเข้ม ขณะที่บางตัวจะไม่เป็นสีดำทั้งหมด แต่จะมีระยะห่างระหว่างแถบด้านซ้ายและด้านขวา ส่วนใต้ท้องสีท้องมีแถบสีเข้มบริเวณครีบอก ท่อนหลังทั้งด้านซ้ายและขวายาวตั้งแต่ปลายครีบถึงกึ่งกลางลำตัว มีพฤติกรรมรวมตัวเป็นฝูงขนาดเล็กจนถึงใหญ่ ตั้งแต่ 100-600 ตัว ขณะว่ายน้ำกินแพลงก์ตอนอาจมีการว่ายตีลังกาหรือหงายท้องได้ มีพฤติกรรมในการว่ายน้ำตีโค้งกว่าปลากระเบนแมนตาแนวปะการัง (M. alfredi) ซึ่งเป็นปลากระเบนแมนตาอีกชนิดหนึ่ง และมักจะพบกลางน้ำหรือนอกแนวปะการังมากกว่าจะอยู่ในแนวปะการัง มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยไปตามฤดูกาล โดยอยู่เป็นฝูงขนาดเล็กไม่กี่ตัว ขนาดความกว้างที่พบมีตั้งแต่ 3-7 เมตร น้ำหนักประมาณ 2.4 ตัน (ตัวอย่างใหญ่สุดที่พบคือ 7.6 เมตร) และโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 4 เมตร ซึ่งคิดโดยเฉลี่ยแล้วมีขนาดเล็กกว่าปลากระเบนแมนตาแนวปะการัง แต่ทั้ง 2 ชนิดนี้ก็สามารถพบได้ในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและปลากระเบนแมนตามหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: วงศ์ปลากระเบนนกและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eagle rayMobulidaeMobulinaeMyliobatidaeกระเบนนกปลากระเบนนก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »