โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาปล้องทองปรีดี

ดัชนี ปลาปล้องทองปรีดี

ปลาปล้องทองปรีดี (Mini dragon loach, Dr.) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล แต่ทว่าลำตัวแบนข้าง หัวทู่สั้น ตาเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่เหนือปาก และอีก 2 คู่อยู่ใต้ปาก ลำตัวมีสีเหลืองสลับดำเป็นปล้อง ๆ ดูแลสวยงาม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 นิ้ว เป็นปลาที่เพิ่งค้นพบใหม่ของโลก พบที่ลำธารบนภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่เดียวในโลกเท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและเย็น การศึกษาทางนิเวศวิทยาของปลาชนิดนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เนื่องจากเป็นปลาชนิดใหม่และพบได้น้อย แต่เชื่อว่า ออกหากินในเวลากลางคืน เคลื่อนไหวได้ว่องไวมาก โดยกินอาหารได้แก่ แมลงน้ำ หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในลำธารเหมือนปลาชนิดอื่น ในวงศ์และสกุลเดียวกัน ถูกตั้งชื่อสายพันธุ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสของไท.

21 ความสัมพันธ์: ชวลิต วิทยานนท์พ.ศ. 2546การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์รัฐบุรุษวงศ์ปลาค้อสกุลซิสทูราสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสารคดี (นิตยสาร)สิงหาคมสีดำสีเหลืองสปีชีส์อันดับปลาตะเพียนอันดับปลาไหลอำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ปรีดี พนมยงค์ปลาที่มีก้านครีบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

ชวลิต วิทยานนท์

ร.ชวลิต วิทยานนท์ ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทน์ สปป.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและชวลิต วิทยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบุรุษ

รัฐบุรุษคือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและรัฐบุรุษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาค้อ

วงศ์ปลาค้อ (อังกฤษ: Hillstream loachs, River loachs) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็กชอบอาศัยอยู่ตามต้นน้ำลำธารทั่วไปในทวีปเอเชียและอนุทวีปยูเรเชีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Balitoridae (/บา-ลิ-ทอร์-อิ-ดี้/) มีลักษณะคล้ายปลาในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) มีลักษณะสำคัญ คือ หัวกลม ลำตัวเรียวยาว ด้านล่างแบนราบ ปากอยู่ใต้จะงอยปาก ไม่มีฟันในลำคอ มีหนวดอย่างน้อย 3 คู่ ไม่มีเงี่ยงแข็งที่บริเวณหน้าหรือใต้ตา ครีบอกและครีบท้องแผ่ออกทั้ง 2 ข้างของลำตัว ใช้สำหรับเกาะยึดติดกับโขดหินหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำเพื่อมิให้ตัวถูกกระแสน้ำพัดพาไหลไป เป็นปลาที่จะอาศัยอยู่บริเวณแหล่งน้ำที่เป็นต้นน้ำ คือ ลำธารบนภูเขาสูงที่ไหลมาจากน้ำตก ที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ปลาในวงศ์นี้ว่ายน้ำไม่เก่ง แต่สามารถคืบคลานต้านกระแสน้ำบนโขดหินได้เป็นอย่างดี ในประเทศไทย พบหลายชนิด เช่น ปลาจิ้งจกสมิธ (Homaloptera smithi) และปลาจิ้งจกหัวแบน (Balitora brucei) ปลาเหล่านี้สามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำทางกายภาพได้เป็นอย่างดี เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด และกินแมลงน้ำและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยแมลงน้ำและตะไคร่น้ำจะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาดเช่นกัน ไม่ใช้เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในแง่ของการเป็นปลาบริโภค เพียงแต่อาจมีการบริโภคกันในท้องถิ่น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามหลายชนิดด้วยกัน โดยมักจะเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาจิ้งจก" หรือ "ปลาผีเสื้อติดหิน" หรือ "ปลาซัคเกอร์ผีเสื้อ" เป็นต้น และเดิมทีวงศ์นี้ยังแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยอีก 2 วงศ์ แต่ปัจจุบันได้แยกออกเป็นวงศ์ต่างหาก คือ Nemacheilidae (วงศ์ปลาค้อหิน) และ Gastromyzontidae.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและวงศ์ปลาค้อ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลซิสทูรา

กุลซิสทูรา เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Schistura (/ซิส-ทู-รา/) เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยอยู่รวมอยู่ในสกุล Nemacheilus เป็นปลาที่มีเกล็ดเล็กละเอียด มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้แว่นขยาย ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน มีหนวด 3 คู่ ที่จะงอยปาก 2 คู่ และมุมปาก 1 คู่ มีลำตัวยาวและแบนข้าง หัวกลมมน จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กอยู่ใต้จะงอยปาก ริมฝีปากล่างมีเอ็นคั่นตรงกลาง รูก้นอยู่ใกล้ครีบก้นมากกว่าครีบท้อง ตามีขนาดเล็ก ลำตัวมีลายเป็นปล้อง ๆ สีดำหรือสีน้ำตาล พื้นลำตัวมักมีสีเขียวหรือสีน้ำตาล มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลำธารที่น้ำมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นประมาณ 18-26 องศาเซลเซียส เช่น น้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น หากินในเวลากลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง หากินอาหารจำพวก แมลงน้ำและแทะเล็มตะไคร่น้ำ ปัจจุบันพบแล้วราว 200 ชนิด แต่จำนวนนี้ก็ยังไม่นิ่ง ด้วยการค้นพบใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเวียดนาม, ตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย จนถึงมาเลเซียภาคตะวันตก เช่น รัฐปะลิส พบในประเทศไทยราว 30 ชนิด ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสกุลซิสทูรา · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สารคดี (นิตยสาร)

นิตยสารสารคดี เป็นนิตยสารของไทย ที่มุ่งเน้นบทความแนวสารคดีโดยเฉพาะ ครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ บุคคล ชีวิต ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเริ่มวางแผงฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 โดยอยู่ในเครือของ บริษัท วิริยะธุรกิจ จำกัด โดยมีจุดเริ่มต้นจาก คุณสุชาดา จักพิสุทธิ์ บรรณาธิการคนแรก คุณจำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ คุณสกล เกษมพันธ์ ช่างภาพสารคดี คุณสุดารา สุจฉายา และคุณวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์เป็นนักเขียนรุ่นบุกเบิก โดยมีความคิดทำหนังสือที่มีสาระความรู้หลากหลาย ให้ความสำคัญกับการถ่ายภาพและการออกแบบรูปเล่มเป็นพิเศษ ปัจจุบันมีคุณสุวัฒน์ อัศวไชยชาญ เป็นบรรณาธิการบริหาร สำนักงานนิตยสารสารคดีตั้งอยู่ที่ บริษัทวิริยะธุรกิจ 28,30 ซอยวัดปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสารคดี (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม

งหาคม เป็นเดือนที่ 8 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนสิงหาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกันย์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนสิงหาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปูและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เดือนสิงหาคมเดิมใช้ชื่อในภาษาละตินว่า ซิกซ์ตีลิส (Sextilis) เนื่องจากเป็นเดือนที่ 6 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ ออกัสตัส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เข้าไปโรมในชัยชนะของเจ้าทั้งตะวันออกและตะวันตก ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนสิงหาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงดาว

ียงดาว (60px) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง อำเภอเชียงดาวมีอายุในการจัดตั้งเป็นอำเภอครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและอำเภอเชียงดาว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

อยหลวงเชียงดาว (กลาง) ดอยนาง (ขวา) ทะเลเมฆ ณ ดอยหลวงเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ ครอบคลุมเนื้อที่ของตำบลเมืองแหง ในอำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสน สลับกับทุ่งหญ้า โดยมีจุดน่าสนใจ คือ ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,275 เมตร นับเป็นดอยหรือภูเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ดอยหลวงเชียงดาว เดิมมีชื่อว่า "ดอยเพียงดาว" แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้เรียกเพี้ยนมาเป็น "เชียงดาว" อย่างในปัจจุบัน และมีชื่อดั้งเดิมว่า "ดอยอ่างสลุง" โดยมีความเชื่อว่าในอดีต สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในที่แห่งนี้ ขณะที่ "หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่" ดอยหลวงเชียงดาว เป็นเทือกเขาที่มีความยาวติดต่อกันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเชียงดาว ซึ่งเป็นส่วนต่อเนื่องกับเทือกเขาถนนธงชัย เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลในยุคเพอร์เมียน (250–300 ล้านปีก่อน) ซึ่งลักษณะของหินปูนไม่สามารถรองรับน้ำได้ แต่จะถูกกัดเซาะ จึงกลายมาเป็นเทือกเขาและดอยต่าง ๆ ในบริเวณนี้ ซึ่งเดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ดอยหลวงเชียงดาว มีดอยที่สูงด้วยกันทั้งหมด 3 แห่ง นอกจากดอยหลวงเชียงดาวแล้ว ยังมี "ดอยสามพี่น้อง" และ"ดอยกิ่วลม" อีกซึ่งอยู่ใกล้กัน และถึงแม้ดอยหลวงเชียงดาว จะเป็นยอดดอยที่มีความสูงเช่นเดียวกับดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปกแล้ว แม้จะอยู่ในจังหวัดเดียวกัน คือ เชียงใหม่ แต่ทว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตของที่นี่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และพืชพรรณที่หายากหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของกวางผา สัตว์กีบคู่ประเภทเดียวกับเลียงผา ที่พบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในประเทศไท.

ใหม่!!: ปลาปล้องทองปรีดีและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Schistura pridii

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »