โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามครีบดำ

ดัชนี ปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (Blacktip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

28 ความสัมพันธ์: ชนิดต้นแบบช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีฟุตพ.ศ. 2318พ.ศ. 2359พ.ศ. 2367พ.ศ. 2413พ.ศ. 2414พ.ศ. 2455พ.ศ. 2552กวมวงศ์ปลาฉลามครีบดำสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีน้ำเงินสปีชีส์หาดหูฉลามอันดับปลาฉลามครีบดำอ่าวไทยทะเลอันดามันปลากระดูกอ่อนปลาสวยงามปลาฉลามปลาฉลามแนวปะการังเมตรเดือน17 พฤศจิกายน

ชนิดต้นแบบ

นิดต้นแบบ ในทางอนุกรมวิธานคือชนิดแรกที่ถูกระบุบในสกุล หรือเป็นตัวอย่างที่เอกเทศ (สิ่งที่เป็นตัวตน, ซากดึกดำบรรพ์, หรือภาพประกอบ) ที่กำหนดชื่อของสกุล (หรือของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในชั้นต่ำกว่าสกุล) คำนิยามที่แตกต่างทั้งสองนี้ใช้สลับกันได้ในทางทั่วๆไปและทางพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและชนิดต้นแบบ · ดูเพิ่มเติม »

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี · ดูเพิ่มเติม »

ฟุต

ฟุต (foot; พหูพจน์: feet; ย่อว่า ft หรือ ′ (ไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยให้มีขนาดเท่ากับ 0.3048 เมตรพอดี และแบ่งเป็นหน่วยย่อย 12 นิ้ว.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและฟุต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2318

ทธศักราช 2318 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2318 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2359

ทธศักราช 2359 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2359 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2367

ทธศักราช 2367 ตรงกับคริสต์ศักราช 1824 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2367 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2413

ทธศักราช 2413 ตรงกั.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2413 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2414

ทธศักราช 2414 ตรงกั.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2414 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

กวม

กวม (Guam; ชามอร์โร: Guåhån) หรือชื่อทางการว่า ดินแดนกวมของสหรัฐอเมริกา (U.S. Territory of Guam) เป็นเกาะหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชามอร์โรซึ่งอพยพมาอยู่ที่เกาะเป็นครั้งแรกเมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว กวมเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางใต้สุดของหมู่เกาะมาเรียนา มีเมืองหลวงคือ ฮากัตญา (Hagåtña) เดิมเรียกว่า "อากาญา" (Agana) รายได้หลักของเกาะมาจากการท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น) และจากการเป็นฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติจัดให้กวมอยู่ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและมีประชากรทั้งเกาะประมาณ 173,000คน.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและกวม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Requim shark, Whaler shark) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carcharhinidae อยู่ในอันดับปลาฉลามครีบดำ (Carcharhiniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ เพรียวยาวเป็นทรงกระสวย ครีบหลังมีสองตอน โดยเฉพาะครีบหลังตอนแรกมีลักษณะแหลมสูง ดูเด่น ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา ตามีทรงกลม ปากเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้ง ภายในมีฟันแหลมคมอยู่จำนวนมาก เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียวมาก เป็นปลาที่ล่าเหยื่อและหากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำในบางครั้ง โดยปกติแล้ว จะกินปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยอาศัยโครงสร้างฟันที่แหลมคม ประกอบกับการว่ายน้ำที่คล่องแคล่วและรวดเร็วขณะโจม แต่บางชนิดอาจมีพฤติกรรมโจมตีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือสิงโตทะเล เป็นอาหารได้ด้วย จมูกมีความไวมากสำหรับการได้กลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นคาวเลือดและได้ยินเสียงได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร ในบางสกุลจะมีพฤติกรรมอย่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกเป็นตัว จะอาศัยหากินในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในบางครั้งอาจเข้าหากินได้ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เช่น ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus), ปลาฉลามหัวบาตร (C. leucas) และปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงจำพวกเดียวแท้ ๆ ในกลุ่มปลาฉลามที่อาศัยและเติบโตในน้ำจืดสนิท มีทั้งหมด 12 สกุล ประมาณ 57 ชนิด โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ที่ยาวได้ถึง 7 เมตร.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและวงศ์ปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หาด

Pomerania Beach ''(Darss)'' ชายหาดในอังกฤษ หาด หรือ ชายหาด คือที่ลาดลงไปในน้ำหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางน้ำ โดยมากเป็นเนินทราย มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอยู่เสมอ (transient feature) จึงเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (dynamic environment).

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและหาด · ดูเพิ่มเติม »

หูฉลาม

หูฉลามปรุงเสร็จ หูฉลาม หรือ ซุปหูฉลาม หรือ ฮื่อฉี่ ในสำเนียงแต้จิ๋ว (จีนตัวเต็ม: 魚翅, จีนตัวย่อ: 鱼翅) เป็นอาหารจีนที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีอย่างหนึ่ง ประวัติของหูฉลามนั้นย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์หมิง หูฉลาม นั้นปรุงมาจากครีบส่วนต่าง ๆ ของปลาฉลาม โดยใช้วิธีการปรุงคล้ายกับกระเพาะปลา คือ มีความหนีดคาว และมีส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เนื้อไก่, เนื้อหมู, ขาหมู, กระดูกไก่, กระดูกหมู และเครื่องยาจีนต่าง ๆ ซึ่งครีบของปลาฉลามนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือฐานครีบและก้านครีบ ซึ่งเป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นเส้น ๆ เพื่อช่วยให้ปลาฉลามสามารถแผ่ครีบออกได้ ซึ่งส่วนที่นำมาทำเป็นหูฉลามนั้น ก็คือ ก้านครีบ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ตั้งแต่การแตกแห้ง ต้มจนเปื่อย และขูดหนังทิ้งจนเหลือแต่กระดูกอ่อน โดยมีความเชื่อกันว่าหูฉลามที่นำมาต้มจนเปื่อยและตุ๋นจนได้ที่จะกลายเป็นอาหารวิเศษในการบำรุงร่างกาย แต่คุณค่าในทางอาหารแล้ว หูฉลามหนึ่งชามมีค่าเท่ากับไข่เป็ดฟองเดียวเท่านั้น หูฉลาม จัดว่าเป็นอาหารที่มีราคาแพง เป็นอาหารหลักในช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน, งานแต่งงานในจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และอีกหลายประเทศที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ อาทิเช่น สิงคโปร์ ไทย โดยภัตตาคารแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ขายหูฉลามในราคาจานละ 16 ดอลลาร์ จากการขายหูฉลามนั้น ทำให้ทั่วโลกมีการล่าปลาฉลามเพื่อตัดเอาครีบมาทำเป็นหูฉลามมากขึ้น รายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ระบุว่า มีปลาฉลามจำนวนกว่า 73 ล้านตัวถูกฆ่าในทุก ๆ ปี และในปี..

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและหูฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครีบดำ

อันดับปลาฉลามครีบดำ (Ground shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่ออันดับว่า Carcharhiniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลังสองตอน ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา หรือบางชนิดไม่มี ไม่มีหนวดที่จมูก ไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก ไม่มีแผ่นหนังบริเวณมุมปาก ปากมีขนาดใหญ่ กว้าง โค้งแบบพระจันทร์เสี้ยว ฟันมีหลายรูปแบบด้านหน้าเป็นแบบฟันเขี้ยวแหลมคมทางตอนท้ายมักเป็นฟันบด ช่องที่ 3-5 มักอยู่เหนือฐานครีบอก ไม่มีซี่กรองเหงือก ตามีหนังหุ้ม ลำไส้เป็นแบบบันไดวน หรือ แบบม้วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามแนวปะการัง

ปลาฉลามแนวปะการัง หรือ ปลาฉลามปะการัง (Reef sharks, Requiem sharks) เป็นสกุลของปลาฉลามสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carcharhinus (/คา-คา-ไร-นัส/) เป็นปลาฉลามที่ว่ายหากินอยู่บริเวณผิวน้ำและตามแนวปะการังเป็นหลัก จึงมักเป็นปลาฉลามที่เป็นที่รู้จักดีและพบเห็นได้บ่อยที่สุดในทะเล จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ออสเตรเลียพบว่า ปลาฉลามกลุ่มนี้มีประโยชน์ในเชิงนิเวศวิทยา คือ ช่วยรักษาแนวปะการังและปะการังให้ดำรงยั่งยืนอยู่ได้ เนื่องจากเป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร จึงเป็นตัวควบคุมนักล่าระดับกลางที่กินปลาขนาดเล็กที่มีประโยชน์ต่อปะการัง และดูแลปะการังให้เจริญเติบโต โดยพบจากการศึกษาว่า น่านน้ำแถบเกรตแบร์ริเออร์รีฟ คือ แถบตะวันตกเฉียงเหนือมีจำนวนปลาฉลามกลุ่มนี้มากกว่าน่านน้ำแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ปะการังในแถบที่พบปลาฉลามกลุ่มนี้มากจะเจริญเติบโตมากขึ้นรวมถึงการฟื้นตัวจากภาวะปะการังฟอกขาวก็เร็วกว่าด้วย เป็นปลาฉลามที่ใช้เวลาอุ้มท้องนานประมาณ 8–12 เดือน มีลูกครั้งละ 10–40 ตัว ออกลูกเป็นตัว โดยอาจจะมีการกินกันเองตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ด้วยอายุอย่างน้อยที่สุด 4–5 ปี พบทั้งหมด 32 ชนิด โดยมี ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) เป็นชนิดต้นแ.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและปลาฉลามแนวปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและเดือน · ดูเพิ่มเติม »

17 พฤศจิกายน

วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 321 ของปี (วันที่ 322 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 44 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ปลาฉลามครีบดำและ17 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Blacktip reef sharkCarcharhinus melanopterusฉลามหูดำฉลามครีบดำปลาฉลามหูดำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »