สารบัญ
33 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2388พ.ศ. 2403พ.ศ. 2555กระเพาะปลาภาษาถิ่นภาษาไทยถิ่นอีสานภาคอีสาน (ประเทศไทย)มกราคมวงศ์ย่อยปลากัดวงศ์ปลากัด ปลากระดี่สกุล (ชีววิทยา)สวนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีสปีชีส์อันดับปลากะพงข้าวคลองประเทศไทยปลากระดี่ปลากริมมุกปลากริมอีสานปลากริมข้างลายปลากัดปลากัด (สกุล)ปลาที่มีก้านครีบนาแม่น้ำโพเพศชายเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พ.ศ. 2388
ทธศักราช 2388 ใกล้เคียงกั.
พ.ศ. 2403
ทธศักราช 2403 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1860.
พ.ศ. 2555
ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..
กระเพาะปลา
กระเพาะปลา คือชื่อที่นิยมใช้เรียกถุงลมของปลาซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ระดับราคาขึ้นอยู่กับชนิดของกระเพาะปลาที่มีหลากหลายชนิดโดยเฉพาะกระเพาะปลาที่ได้มาจากปลาน้ำลึกที่อยู่ในตระกูลของปลากุเลาจะมีราคาแพงมาก กระเพาะปลานอกจากจะอยู่ในรูปแบบกระเพาะปลาแห้งแล้วยังอยู่ในรูปแบบของกระเพาะปลาสดอีกด้วยรูปแบบของอาหารที่นิยมปรุงกันเช่น กระเพาะปลาน้ำแดง กระเพาะปลาผัดแห้ง ฯลฯ ถุงลมของปลาเป็นอวัยวะส่วนที่นุ่มและอร่อย เมื่อนำมาปรุงรส การนำถุงลมมาแปลงโฉมเป็นกระเพาะปลา จะต้องลอกเอาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อออกให้หมดแล้ว จึงนำไปทอดให้พองสวยน่ารับประทาน กระเพาะปลามีหลายระดับราคาแล้วแต่ความอร่อย และขนาดของกระเพาะปลา ปกติจะได้จากถุงลมของปลามังกร ปลาจวด ปลากระพง ปลาริวกิว กระเพาะปลาที่มีราคาแพงคือ กระเพาะปลามังกร (เหมี่ยนฮื่อ) ซึ่งช่วยบำรุงและเพิ่มกำลังวังชาได้เป็นอย่างดี ส่วนที่เราได้รับประทานกันบ่อย ๆ นั้นก็คือ กระเพาะปลากระพง เวลาที่ไปซื้อกระเพาะปลาที่ราคาถูกมาทานนั้น มักจะสงสัยกันว่า ใช่กระเพาะปลาจริง ๆ หรือเปล่านั้น หลายร้านใช้หนังหมูแห้งมาทำเป็นกระเพาะปลาแทน ไม่ใช่กระเพาะปลาที่ทำมาจากถุงลมของปลา แต่เป็นกระเพาะปลาเทียม หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:อาหาร หมวดหมู่:มีนวิทยา.
ภาษาถิ่น
ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.
ภาษาไทยถิ่นอีสาน
ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.
ภาคอีสาน (ประเทศไทย)
อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.
ดู ปลากริมและภาคอีสาน (ประเทศไทย)
มกราคม
มกราคม เป็นเดือนแรกของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมกราคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมกราคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู และไปอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลในปลายเดือน เดือนมกราคมในภาษาอังกฤษ January มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า ยานุส (Janus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งประตูทางผ่าน การเริ่มต้น และการสิ้นสุด ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว ต่อมาได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมกราคมในปี..
วงศ์ย่อยปลากัด
วงศ์ย่อยปลากัด (Fighting fish & Paradise fish) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายเขาวงกต ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodusinae เป็นปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วไม่เกินนิ้วมือของมนุษย์ จัดเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายที่สุดของวงศ์ใหญ่นี้ เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยสมาชิกที่เป็นที่รู้จักกันดีของวงศ์ย่อยนี้ คือ ปลากัด มีพฤติกรรมการวางไข่ทั้งก่อหวอดและอมไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก.
วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.
ดู ปลากริมและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่
สกุล (ชีววิทยา)
ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.
สวน
วนญี่ปุ่น สวน หมายถึง บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก โดยมากมักเป็นภายนอกอาคาร สำหรับเพื่อการแสดง เพาะปลูก และเพื่อให้ความเพลิดเพลิน สวนอาจเป็นทั้งสวนธรรมชาติหรือทำจากวัสตุที่มนุษย์สร้างขึ้น สวนโดยทั่วไปเช่นสวนตามบ้านพักอาศัย ส่วนสวนที่จำลองบรรยากาศธรรมชาติในสวนสัตว์ เรียกว่า สวนสัตว์ป่า (zoological garden) สวนตามธรรมเนียมของตะวันออก อย่างเช่น สวนเซ็น มักใช้พืชอย่างเช่น parsley ส่วนสวนแบบ Xeriscape จะใช้พื้นท้องถิ่นที่ไม่ต้องการน้ำหรือสิ่งที่สิ้นเปลือง แต่ยังคงได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมสวน สวนอาจจะมีการเสริมสร้างด้วยโครงสร้าง อย่างเช่น สิ่งก่อสร้างตกแต่ง หรือ ฟอลลีย์ รวมถึงส่วนประกอบเกี่ยวกับน้ำ อย่างเช่น น้ำพุ บ่อน้ำ (อาจมีปลาหรือไม่มีก็ได้) น้ำตกหรือลำธาร รูปปั้น ซุ้มไม้ โครงไม้ระแนง และอื่น ๆ สวนบางสวนมีจุดประสงค์เพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ ขณะที่ในบางสวนการให้ผลผลิต พืชสวนครัว สวนที่ผลิตพืชผลในฟาร์ม จะมีขนาดเล็กกว่าฟาร์ม และมักมีจุดประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน งานอดิเรกมากกว่าผลิตเพื่อขาย สวนดอกไม้จะรวมไม้ดอกที่มีความแตกต่างทางด้าน สีสัน ความสูง พื้นผิว และกลิ่นหอม เพื่อให้น่าสนใจและความสุข การจัดสวนเป็นกิจกรรมสำหรับการปลูกพืชและบำรุงรักษาสวน สามารถทำโดยมือสมัครเล่นและนักจัดสวนมืออาชีพ ภูมิสถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับวิชาชีพในการออกแบบพิเศษสำหรับสาธารณะและลูกค้.
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลากริมและสัตว์มีแกนสันหลัง
สี
วงล้อสี สี คือการรับรู้ความถี่ (ความกว้างคลื่นหรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้.
ดู ปลากริมและสี
สปีชีส์
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).
อันดับปลากะพง
อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).
ข้าว
้าว ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน.
คลอง
ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ปลากระดี่
ปลากระดี่ (Gouramis, Gouramies; Sepat; อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichopodus (เดิมใช้ Trichogaster) ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ตะเกียบ" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามากนัก เป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก.
ปลากริมมุก
ปลากริมมุก หรือ ปลากริมสี (Pygmy gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ปากมีขนาดเล็ก พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว เกล็ดข้างลำตัวสะท้อนแสงแวววาว ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำพาดยาวตามความยาวลำตัว 1 แถบ เหนือแถบมีจุดสีน้ำตาลกระจายเรียงเป็นแถว ครีบมีลักษณะโปร่งใสและมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่ว ปลายหางมน ตรงกลางเป็นติ่งยื่นยาวเล็กน้อย ปลายขอบครีบมีสีแดงสด มีขนาดความยาวไม่เกิน 4 เซนติเมตร จัดเป็นปลากริมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก พฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็ก เช่น หนองหรือบึงน้ำ พบได้ในประเทศไทยทุกภาค และพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีนิสัยก้าวร้าวชอบกัดกันเองในฝูงอยู่เป็นประจำ แต่ไม่ขั้นกัดกันจนตายเหมือนปลากัด สามารถฮุบอากาศเหนือผิวน้ำได้โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ปลาตัวผู้มีสีสดกว่าตัวเมีย แพร่พันธุ์ด้วยการก่อหวอดใต้ร่มไม้หรือติดกับพืชน้ำ ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 2 วัน โดยตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน โดยไม่ให้ตัวเมียเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยเลย นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.
ปลากริมอีสาน
ปลากริมอีสาน (Threestripe gourami.) เป็นปลากริมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopsis schalleri ในวงศ์ Osphronemidae มีรูปร่างและสีสันคล้ายกับปลากริมมุก (T.
ปลากริมข้างลาย
ำหรับปลากัดป่าที่หมายถึงปลากัด ดูที่: ปลากัดป่า ปลากริมข้างลาย หรือ ปลากริมควาย หรือ ปลากัดป่า (Croaking gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลากริมชนิดหนึ่ง นับเป็นปลากริมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและพบแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางหลากหลายที่สุด มีลักษณะเด่น คือ มีครีบหลัง ครีบอก ครีบก้น และครีบหางยื่นออกมาเป็นเส้นเดี่ยว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 6-8 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 6-7 ก้าน และก้านครีบแขนง 24-28 ก้าน จำนวนแถวของเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมี 28-29 แถว สีสันมีแตกต่างหลากหลายกันไป แม้ว่าจะอยู่ในแหล่งอาศัยแหล่งเดียวกันก็ตาม นอกจากนี้แล้วบางตัวยังมีจุดกลมสีดำอยู่กลางลำตัวและเหนือครีบอก มีแถบสีดำพาดผ่านนัยน์ตาและแก้ม มีความยาวเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น หนองหรือบึงน้ำที่มีหญ้าหรือวัชพืชปกคลุม ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักกัดกันเองอยู่เสมอ ๆ ในระหว่างปลาตัวผู้ แต่ก็ไม่รุนแรงถึงขั้นตายไปกันข้างเหมือนปลากัด นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศ ในเมืองปาล์มบีชเคาน์ตี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา สามารถพบได้ตามท้องร่องระบายน้ำ และสามารถขยายพันธุ์ได้เอง เนื่องจากถูกนำไปในฐานะปลาสวยงาม.
ปลากัด
ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.
ปลากัด (สกุล)
ปลากัด (Fighting fishes) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta (/เบ็ท-ทา/) ในวงศ์ย่อย Macropodinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
นา
ทุ่งนา นา หมายถึงพื้นที่สำหรับปลูก หรือนาแบบขั้นบันไดข้าว โดยมีการไถนาให้ดินอ่อน และขุดคันดินสูงโดยรอบเพื่อกั้นน้ำเอาไว้เลี้ยงต้นข้าว ส่วนคำว่า "ทุ่งนา" นั้นเป็นคำเรียกกว้างๆ หมายถึง บริเวณที่นา หรือรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยก็ได้.
ดู ปลากริมและนา
แม่น้ำ
แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).
โพ
(มักเขียนว่า โพธิ์) (คำว่า "โพ" มาจากภาษาสิงหล; Sacred fig) เป็นต้นไม้สปีชีส์หนึ่งของไทรหรือมะเดื่อ เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ อินโดจีน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 3 เมตร รูปใบโดยทั่วไปของต้นโพ ใบมีรูปหัวใจปลายยาว ยาว 10-17 เซนติเมตร กว้าง 8-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6-10 เซนติเมตร ผลมีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อสุกมีสีม่วง โพเป็นต้นไม้ที่ถูกสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า "Sacred fig" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี.
ดู ปลากริมและโพ
เพศชาย
ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.
เสียง
ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.
ดู ปลากริมและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Trichopsisสกุลปลากริม