โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับปลากะพง

ดัชนี อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

48 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วงศ์ปลาบู่วงศ์ปลาบู่ทรายวงศ์ปลาช่อนวงศ์ปลากระโทงวงศ์ปลากะพงขาววงศ์ปลากะพงดำวงศ์ปลากะพงปากกว้างวงศ์ปลากะพงแดงวงศ์ปลากะรังวงศ์ปลากัด ปลากระดี่วงศ์ปลาสลิดหินวงศ์ปลาสินสมุทรวงศ์ปลาหมอวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบวงศ์ปลาหมอสีวงศ์ปลาหางแข็งวงศ์ปลาอมไข่วงศ์ปลาอินทรีวงศ์ปลาผีเสื้อวงศ์ปลาจะละเม็ดวงศ์ปลาดาบวงศ์ปลาตะกรับวงศ์ปลาแป้นแก้ววงศ์ปลาใบโพวงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำวงศ์ปลาเสือตอวงศ์ปลาเฉี่ยวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอัตราร้อยละอันดับย่อยปลากระโทงอันดับย่อยปลากะพงอันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่อันดับย่อยปลาทูน่าอันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ดอันดับย่อยปลานกขุนทองทะเลปลาปลากะพงแดงป่าชายเลนปลาที่มีก้านครีบปลาใบขนุนปลาโนรีเทวรูปปลาเบลนนี่น้ำกร่อยน้ำจืด

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่ทราย

วงศ์ปลาบู่ทราย (Sleeper, Gudgeon) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่งในอันดับปลากะพง (Perciformes) ที่พบได้ในทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวงศ์ว่า Eleotridae (/เอ็ล-อี-โอ-ทริ-ดี้/) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกออกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางมนกลม ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ซึ่งที่แตกต่างจากปลาในวงศ์ปลาบู่ก็คือ ครีบท้องใหญ่จะแยกจากกัน ซึ่งในวงศ์ปลาบู่จะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย แยกออกได้ทั้งหมด 35 สกุล 150 ชนิด พบกระจายอยู่ในเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยพบทั้งตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกจนถึงอเมริกาใต้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงนิวซีแลนด์ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาบู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) ซึ่งสามารถยาวได้ถึง 60-70 เซนติเมตร และเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย และ ปลาบู่สียักษ์ (O. selheimi) พบในออสเตรเลียทางตอนเหนือ ที่ยาวถึง 50.5 เซนติเมตร.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาบู่ทราย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาช่อน

วงศ์ปลาช่อน (Snakehead fish) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่มีขอบเรียบ ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า Suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Channidae (/ชาน-นิ-ดี้/) แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น 2 สกุล คือ Channa 28 ชนิด พบในทวีปเอเชีย และ Parachanna ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา 3 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (C. limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ปลาชะโด (C. micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้ โดยปลาช่อนชนิดที่นิยมนำมาบริโภคคือ ปลาช่อน (C. straita) ซึ่งพบได้ทุกแหล่งน้ำและทุกภูม.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระโทง

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลากระโทง, วงศ์ปลากระโทงแทง หรือ วงศ์ปลาปากนก ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่จำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ในทะเล อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Istiophoridae โดยคำว่า Istiophoridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ιστίων" (Istion) หมายถึง "ใบเรือ" รวมกับคำว่า "φέρειν" (pherein) หมายถึง "แบกไว้" ปลากระโทง เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่มีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จัดเป็นปลาที่สามารถว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกด้วยมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง และกระดูกหลังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถพุ่งจากน้ำได้เร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และในฤดูอพยพอาจทำความเร็วได้ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากกว้าง มีฟันแบบวิลลิฟอร์ม ครีบหลังและครีบก้นมีอย่างละ 2 ครีบ ไม่มีครีบฝอย ครีบท้องมีก้านครีบ 1-3 ก้าน มีสันที่คอดหาง ครีบหางเว้าลึก มีจุดเด่นคือปลายปากด้านบนมีกระดูกยื่นยาวแหลมออกมา ใช้ในการนำทาง ล่าเหยื่อ และป้องกันตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวจากบรรดาปลานักล่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ดาษดื่นSuper Fish: fastest predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต.ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556 มีครีบกระโดงหลังมีสูงแหลม ในบางชนิด จะมีกระโดงสูงมากและครอบคลุมเกือบเต็มบริเวณหลัง ดูแลคล้ายใบเรือ มีสีและลวดลายข้างลำตัวแตกต่างออกไปตามแต่ชนิด ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพอารมณ์ หากตกใจหรือเครียด สีจะซีด และใช้เป็นสิ่งที่แยกของปลาแต่ละตัว โดยมากแล้วมักจะอาศัยหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ พบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจอยู่รวมเป็นฝูงนับร้อยตัว มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาที่ล่าด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นหลัก สามารถโดดพ้นน้ำได้สูงและมีความสง่างามมาก จึงนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้รับฉายาจากนักตกปลาว่าเป็น "ราชินีแห่งท้องทะล" โดยมักจะออกตกด้วยการล่องเรือไปกลางทะเลและตกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้วยกันเวลาหลายชั่วโมง ด้วยการให้ปลายื้อเบ็ดจนหมดแรงเอง โดยปลากระโทงชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลากระโทงสีน้ำเงิน (Makaira nigricans) เป็นชนิดที่พบที่มหาสมุทรแอตแลนติก ที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 636 กิโลกรัม.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงขาว

วงศ์ปลากะพงขาว (Perch) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง เป็นปลากินเนื้อในอันดับ Perciformes พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายในภูมิภาคเขตร้อนตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงทวีปเอเชีย ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Latidae (/เลท-ที-เด-อา/) มีทั้งหมด 11 ชนิด ใน 3 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากะพงขาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงดำ

วงศ์ปลากะพงดำ (Tripletail) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง ใช้ชื่อว่า Lobotidae ซึ่งคำว่า Lobotidae มาจากภาษากรีกคำว่า "Lobo" หมายถึง ก้านครีบ ลักษณะของปลาในวงศ์นี้ ลักษณะลำตัวแบนค่อนข้างลึก ความยาวหัวจะสั้นกว่าความลึกลำตัว ปากกว้างเฉียงขึ้น มุมปากจะอยู่แนวเดียวกับปุ่มกลางนัยน์ตา ครีบหลังจะเป็นก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่ปลายแหลมประมาณ 11-13 ก้าน และก้านครีบแขนง 13-16 ก้าน ส่วนครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางขนาดใกล้เคียงกันดูเหมือนจะมีครีบหาง 3 ครีบ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ มีลักษณะเด่นอีกประการ คือ มีสีลำตัวที่ดูเลอะเปรอะเปื้อนเพื่อใช้ในการอำพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยปลาในวงศ์นี้มักจะอยู่ลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ โดยใช้ส่วนหัวทิ่มลงกับพื้น และมักแอบอยู่ตามวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ เช่น ซากเรือจม, กองหิน หรือ ขอนไม้ และขณะเป็นลูกปลาวัยอ่อนมักจะลอยตัวนิ่ง ๆ ดูเหมือนใบไม้อีกด้วย โดยมักพบตามปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด และมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น ได้แก.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากะพงดำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงปากกว้าง

วงศ์ปลากะพงปากกว้าง (Bluegill, Sunfish, Largemouth bass; วงศ์: Centrarchidae) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Centrarchidae เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือตลอดจนบางส่วนเม็กซิโกส่วนที่ติดกับสหรัฐอเมริกา เป็นปลาที่มีความแตกต่างกันมากในขนาดรูปร่าง ตั้งแต่มีขนาดเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร ในปลากะพงปากกว้าง (Micropterus salmoides) พบประมาณ 27 ชนิด เป็นปลาที่ตัวผู้เป็นฝ่ายดูแลไข่ จนกระทั่งฟักเป็นตัวเป็นลูกปลา จนกระทั่งลูกปลาเริ่มดูแลตัวเองได้ นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา มีการนำไปปล่อยตามที่ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แหล่งกำเน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากะพงปากกว้าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงแดง

วงศ์ปลากะพงแดง หรือ วงศ์ปลากะพงข้างปาน (วงศ์: Lutjanidae, Snapper) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะคือ มีครีบหลังยาวต่อเนื่องไปจนถึงโคนหาง แบ่งเป็นครีบแข็ง 10-12 ซี่ ครีบอ่อน 10-17 ซี่ ครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 7-11 ซี่ ส่วนหัวใหญ่ ปากมีลักษณะกว้างยาว ยืดหดได้ ฟันมีลักษณะเล็กแหลมคมและมีหลายแถวในขากรรไกร ซึ่งบางชนิดอาจมีฟันเขี้ยวได้เมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา พบทั้งหมด 17 สกุล มีมากกว่า 160 ชนิด โดยมีสกุลใหญ่คือ Lutjanus โดยพบในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อาศัยและหากินในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ เช่น ปลากะพงแดง (Lutjanus argentimaculatus) หรือ ปลากะพงข้างปาน (L. russellii) เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เนื่องด้วยเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญจำพวกหนึ่ง และนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ในน่านน้ำไทยพบประมาณ 25 ชนิด สำหรับชื่อสามัญในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "อังเกย" (紅鱷龜).

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากะพงแดง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้ ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้ สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก".

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากะรัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดหิน

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลาสลิดหิน (Damsel, Demoiselle) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacentridae เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า "ปก" หมายถึง "แผ่นปิดเหงือก" และ "kentron" แปลว่า "หนาม" ซึ่งหมายถึง "หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้" ลักษณะทางชีววิทยา คือ ลำตัวสั้นปอมรูปไขรีแบนขาง เกล็ดเป็นแบบสาก เสนขางตัวขาดตอน ครีบหลังติดกันเปนครีบเดียว มี รูจมูกเพียงคูเดียว ครีบทองอยูในตำแหนงอก ไมมีฟนที่พาลาทีน ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้ว.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาสลิดหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสินสมุทร

วงศ์ปลาสินสมุทร (Angelfish, Marine angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae (/โป-มา-แคน-ทิ-ดี้/) ปลาสินสมุทรนั้นมีรูปร่างและสีสันโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) บางสกุล เช่น Chaetodon กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้างเป็นทรงรีหรือรูปไข่ในแนวนอน ปากมีขนาดเล็กมีริมฝีปากหนา เกล็ดเล็กละเอียดกลม ไม่มีหนามที่ขอบตาด้านหน้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ เส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ ครีบท้องและครีบทวารมนกลม ก้านครีบแข็งค่อนข้างจะยาวกว่าก้านครีบอ่อน โดยก้านครีบอันแรกของครีบเอวจะยาวมาก ครีบหางมีลักษณะเป็นหางตัดหรือมนกลม ปลาสินสมุทรจัดเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังวงศ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาดตั้งแต่ 10-40 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย มีอาณาบริเวณหากินค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งเป็นปลาที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมักว่ายน้ำเข้าหามาเมื่อมีผู้ดำน้ำลงไปในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยและหากินในแนวปะการังเป็นหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่หากินลึกลงไปกว่านั้นเป็นร้อยเมตร ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนหรือปลาผีเสื้อ อันเนื่องจากสีสันที่สวยงาม พบทั้งหมด 9 สกุล (ดูในตาราง) มีประมาณ 74 ชนิด ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Pomacanthus imperator), ปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) และปลาสินสมุทรลายบั้ง (P. sexstriatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาสินสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอ

วงศ์ปลาหมอ (Climbing gourami, Climbing perch) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ที่มีการกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anabantidae (/อะ-นา-เบน-ทิ-ดี/) เดิมวงศ์นี้เคยถูกรวมเข้าเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) และวงศ์ปลาจูบ หรือ ปลาหมอตาล (Helostomatidae) ซึ่งปลาในวงศ์เหล่านี้ถูกเรียกรวม ๆ กันในชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" (ปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ) ซึ่งปลาในวงศ์ทั้ง 3 นี้ มีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจเหมือน ๆ กัน แต่เมื่อศึกษาแล้ว พบว่ามีโครงสร้างหลัก ๆ ของกระดูกแตกต่างกันมาก ซึ่งลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญของวงศ์ปลาหมอ คือ มีอวัยวะช่วยหายใจที่พัฒนามาจากเหงือกชุดสุดท้าย ลักษณะเป็นแผ่นกระดูกบางจำนวนมาก และทับซ้อนกันและมีร่องวกวนเหมือนเขาวงกต ระหว่างร่องเหล่านี้มีเส้นเลือดฝอยอยู่จำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับออกซิเจนจากอากาศจากผิวน้ำ นักมีนวิทยาสันนิษฐานว่า ปลาในวงศ์ปลาหมอนี้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีทั้งปริมาณออกซิเจนสูงและต่ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจและเผาผลาญอาหารไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องขึ้นมาหายใจรับออกซิเจนบนผิวน้ำเพื่อกิจกรรมเหล่านี้ แต่ในระยะที่ยังเป็นลูกปลาอยู่ ในระยะที่มีอายุไม่เกิน 15 วัน อวัยวะที่ช่วยในการหายใจยังไม่พัฒนาเต็มที่ ลูกปลาจึงไม่สามารถขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้ นอกจากนี้แล้ว ปลาในวงศ์นี้ ยังมีลักษณะทางอนุกรมวิธานทางกายภาพอีก คือ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าครีบอกเล็กน้อย ขอบของกระดูกแก้มชิ้นหน้าและชิ้นกลางมีขอบเป็นหนามแข็ง ภายในปากมีฟันแหลมคมเป็นแบบเขี้ยวที่กระดูกขากรรไกรทั้งสองข้างและกระดูกเพดานปาก ปลาเกือบทุกสกุลมีเกล็ดแบบสาก ยกเว้นสกุล Sandelia ที่มีเกล็ดแบบบางเรียบ เส้นข้างลำตัวแยกออกเป็นสองเส้น สมาชิกของปลาในวงศ์นี้มีทั้งหมด 4 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ

วงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Asian leaffish, Banded leaffish) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristolepididae มีลักษณะสำคัญ คือ มีรูปร่างแบนข้างมากเป็นรูปไข่หรือวงรี เกล็ดสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีปากเล็ก มุมปากยาวถึงนัยน์ตา ดวงตากลมโต หนังขอบกระดูกแก้มติดต่อกันถึงส่วนใต้ปาก ริมกระดูกแก้มชิ้นกลางเป็นหนามแหลม 2 ชิ้น มีเพียงสกุลเดียว คือ Pristolepis จำแนกออกได้ทั้งหมด 6 ชน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหางแข็ง

วงศ์ปลาหางแข็ง (Jacks, Pompanos, Horse mackerels, Scads, Trevallies, Crevallies, Tunas) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carangidae มีรูปร่างลำตัวสั้นหรือค่อนข้างสั้น คอดหางเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กแบบราบเรียบ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ มีเกล็ดแปรรูปขนาดใหญ่ที่บริเวณเส้นข้างลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อหางเสมือนเกราะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ส่วนหน้าโค้งงอ ส่วนท้ายอาจมีหรือไม่มีสันกระดูกแข็ง ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือกยาวเรียวครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบแรกมีเงี่ยงไม่แข็ง บริเวณหน้าครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 อัน แยกออกมาจากครีบก้น ซึ่งสามารถพับได้ ครีบอกยาวเรียวโค้งแบบรูปเคียว ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ปลาขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือตามแหล่งน้ำจืดหรือน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25-100 เซนติเมตร ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 2 เมตร แบ่งออกเป็น 30 สกุล ประมาณ 151 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากวงศ์หนึ่ง โดยมีการนำไปบริโภคทั้งสด และแปรรูปเป็น ปลากระป๋อง (โดยเฉพาะใช้แทนปลาในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae), ปลาเค็ม เป็นต้น ในน่านน้ำไทย มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ๆ และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาสำลี (Seriolina nigrofasciata), ปลาหางแข็ง (Megalaspis cordyla), ปลาหางแข็งบั้ง (Atule mate), ปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis), ปลากะมง (Caranx sp.), ปลาโฉมงาม (Alectis sp.) และปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาหางแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอมไข่

ปลาอมไข่ หรือ ปลาคาร์ดินัล (Cardinalfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apogonidae อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง เกล็ดมีขนาดใหญ่ หลุดง่าย มีทั้งแบบขอบบางเรียบและเกล็ดสาก ปากค่อนข้างกว้าง เฉียงลง ส่วนมากมีฟันแบบวิลลีฟอร์มบนขากรรไกร มีบางชนิดที่มีฟันเขี้ยวคู่หนึ่งที่รอยต่อของขากรรไกร ครีบหลังทั้งสองครีบแยกจากกันอย่างเห็นได้ชัด ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งอก ไม่มีเกล็ดอซิลลารี ครีบหางเว้า ตัดตรง หรือกลม เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในชายทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในบางครั้งอาจพบได้ตามปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ เป็นปลาขนาดเล็กที่มีความสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม บางชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ที่ได้ชื่อว่าปลาอมไข่ เนื่องจากเป็นปลาที่เมื่อผสมพันธุ์วางไข่แล้ว ปลาตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งลูกปลาฟักออกมาเป็นตัว และอาจจะเลี้ยงลูกปลาและอมไว้ต่อไปจนกว่าลูกปลาจะโตแข็งแรงพอที่จะดูแลตัวเองได้.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาอมไข่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาจะละเม็ด

วงศ์ปลาจะละเม็ด (Butterfish, Harvestfish, Pomfret, Rudderfish, วงศ์: Stromateidae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) รูปร่างโดยรวมของปลาในวงศ์นี้ มีลำตัวรูปไข่แบนข้างมาก เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ส่วนหัวเล็กมน ปากเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ครีบหางเป็นแฉกยาวเว้าลึก มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในทะเล พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งของอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้, แอฟริกา และเอเชีย ในแถบอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลาจะละเม็ดแบ่งได้เป็น 3 สกุล (ดูในตาราง) 17 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญมากจำพวกหนึ่ง เช่น ปลาจะละเม็ดขาว (Pampus argenteus), ปลาจะละเม็ดเทา (P. chinensis) อนึ่ง ปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) แม้จะได้ชื่อสามัญว่าเป็นปลาจะละเม็ดเหมือนกัน แต่ไม่จัดอยู่ในวงศ์นี้ แต่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae).

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาจะละเม็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาดาบ

วามหมายอื่น: ปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากระโทง ดูที่ ปลากระโทงดาบ วงศ์ปลาดาบ หรือ วงศ์ปลาดาบเงิน (Cutlassfish, Hairtail, Scabbardfish, Walla Walla; วงศ์: Trichiuridae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Trichiuridae อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลำตัวเพรียวยาวเหมือนปลาไหล ด้านข้างแบนมาก ส่วนหัวแหลมลาดต่ำไปข้างหน้า ปากล่างยื่น มีฟันคมแข็งแรงเห็นได้ชัดเจน ลำตัวเรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้อง หรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังมีสีเงินหรือสีเทา พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบชายฝั่ง และพบอาจได้บริเวณปากแม่น้ำ มีทั้งหมด 10 สกุล ประมาณ 40 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่พบได้บ่อย เช่น ปลาดาบเงินใหญ่ (Trichiurus lepturus) เป็นปลาเศรษฐกิจจำพวกหนึ่ง สามารถนำมาใช้บริโภคได้ทั้งบริโภคสดและแปรรูปเช่น ทำเป็นลูกชิ้นปลา, ปลาเค็ม, ปลาแห้ง เป็นต้น โดยคำว่า Trichiuridae นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า thrix หมายถึง "เส้นผม" บวกกับคำว่า oura หมายถึง "หาง".

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาดาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะกรับ

วงศ์ปลาตะกรับ (Scat, Butterfish, Spadefish) เป็นวงศ์ปลาน้ำเค็มในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Scatophagidae (/สแคท-โต-ฟา-กิ-ดี้/) มีรูปร่างทั่วไปแบนข้างมาก เกล็ดละเอียดเป็นแบบสากมือ และติดแน่นกับลำตัว ครีบหลังตอนแรกเป็นครีบแข็ง ครีบหลังตอนหลังจะอ่อนนุ่ม ก้านครีบหลังก้านแรกเป็นครีบแข็งและชี้ไปด้านหน้า ครีบหางตัดตรงและมีก้านครีบจำนวนมาก ตามลำตัวจะมีจุดสีดำหรือลวดลายกระจายไปทั่วต่างกันไปตามสกุลและสายพันธุ์ มีฟันที่เพดานปากและขากรรไกร ไม่มีหนามบนกระดูกโอเปอร์คัลและกระดูกพรีโอเปอร์คัล มีเส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น พบตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, ทะเลแดง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ซูลาเวซี, อินโดนีเซีย ตลอดจนถึงโซนโอเชียเนีย พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ ปลาตะกรับ (Scatophagus argus) โดยปกติแล้วปลาในวงศ์นี้จะสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ แต่จะวางไข่ในที่น้ำเค็มแบบน้ำทะเล มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีทั้งหมด 4 ชนิด ใน 2 สกุล ซึ่งทั้งหมดนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม หรือตกเป็นเกมกีฬาและรับประทานเป็นอาหารในบางประเทศ โดยแบ่งออกเป็น สกุล Scatophagus.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาตะกรับ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแป้นแก้ว

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae; Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง" มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตร.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาแป้นแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาใบโพ

วงศ์ปลาใบโพ (Sicklefish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Drepaneidae มีลักษณะลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบนข้างมาก หัวใหญ่ จะงอยปากสั้น ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นส่วนเงี่ยงแข็งมีทั้งหมด 13-14 ก้าน ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีทั้งหมด 19-22 ก้าน ครีบก้นมีทั้งหมด 3 ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน 17-19 ก้าน ครีบอกยาวกว่าความโค้งของส่วนหัว พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิกและแอฟริกาตะวันออก มีทั้งหมด 3 ชนิด เพียงสกุลเดียว.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาใบโพ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้

วงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้ (Leaffish) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Polycentridae.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาใบไม้อเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fishes) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Toxotidae (/ท็อก-ออท-อิ-ดี้/; มาจากคำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง "นักยิงธนู").

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเสือตอ

วงศ์ปลาเสือตอ (Siamese tiger fishes) เป็นปลากระดูกแข็งจัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Datnioididae (/แดท-นี-โอ-นอย-เด-อา/) และมีเพียงสกุลเดียว คือ Datnioides (/แดท-นี-โอ-นอย-เดส/).

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาเสือตอ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเฉี่ยว

วงศ์ปลาเฉี่ยว (วงศ์: Monodactylidae) เป็นวงศ์ปลาจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีรูปร่างโดยรวมคือ แบนข้างมากเป็นรูปสี่เหลี่ยม หัวเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ครีบหลังและครีบท้องคม ครีบอกและครีบหางสั้น มีลายพาดสีดำบริเวณหางและช่องปิดเหงือก ตากลมโต เกล็ดเล็กละเอียดมาก ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ที่สุดไม่เกินฝ่ามือของมนุษย์ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ สามารถปรับตัวให้อาศัยได้ทั้งน้ำเค็ม-น้ำกร่อย-น้ำจืด ได้เป็นอย่างดี แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ในบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือมีปริมาณความเค็มน้อย โดยปลาตัวเมียจะวางไข่ก่อนที่ปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสม ก่อนที่ลูกปลาจะค่อย ๆ เติบโตและอพยพไปอยู่ในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง พบในทะเลแถบเขตร้อนอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงออสเตรเลีย มีทั้งหมด 2 สกุล 6 ชน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและวงศ์ปลาเฉี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อัตราร้อยละ

รื่องหมายเปอร์เซ็นต์ อัตราร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (percentage/percent) คือแนวทางในการนำเสนอจำนวนโดยใช้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 มักใช้สัญลักษณ์เป็น เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ "%" เช่น ร้อยละ 45 หรือ 45% มีค่าเทียบเท่ากับ อัตราร้อยละมักใช้สำหรับการเปรียบเทียบว่าปริมาณหนึ่ง ๆ มีขนาดเท่าไรโดยประมาณเมื่อเทียบกับอีกปริมาณหนึ่ง ซึ่งปริมาณอย่างแรกมักเป็นส่วนย่อยหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอย่างหลัง ตัวอย่างเช่น ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเท่ากับ $2.50 และผู้ขายต้องการเพิ่มราคาอีก $0.15 ดังนั้นอัตราการเพิ่มราคาคือ 0.15 ÷ 2.50.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอัตราร้อยละ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากระโทง

อันดับย่อยปลากระโทง (Swordfish, Marlin, Billfish) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งทะเล ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphioidei เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดลำตัวเกินกว่า 1 เมตร มีจุดเด่น คือ มีจะงอยปากบนยาวแหลมใช้สำหรับไล่ต้อนปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร และสำหรับป้องกันตัว เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากะพง

อันดับย่อยปลากะพง (Bass, Perch, Snapper, Trevally) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็น 1 ใน 18 อันดับย่อยของอันดับนี้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Percoidei เป็นปลาส่วนใหญ่ในอันดับนี้ พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย, ทะเล.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่

อันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ (อันดับย่อย: Anabantoidei) เป็นอันดับย่อยของปลาที่อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ซึ่งทั้งหมดเป็นปลาที่อยู่ในน้ำจืดทั้งหมด โดยจะพบในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabantoidei (/อะ-นา-เบน-ทอย-เดีย/) ส่วนมากเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกินฝ่ามือของมนุษย์ แต่จะมีบางสกุลเท่านั้นที่ใหญ่ได้ถึงเกือบหนึ่งเมตร ได้แก่ Osphronemus หรือสกุลปลาแรด ปลาในอันดับนี้จะถูกเรียกในชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Labyrinth fish" หรือ "ปลาที่มีอวัยวะช่วยในการหายใจ" เพราะปลาในอันดับนี้จะมีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป Pinter, H. (1986).

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลาทูน่า

อันดับย่อยปลาทูน่า (Tuna, Mackerel) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombroidei แบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลาทูน่า · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด

อันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด หรือ อันดับย่อยปลาขี้ตัง (Surgeonfish) อันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthuroidei ปลาในอันดับย่อยนี้ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาขี้ตังเบ็ด, ปลาขี้ตัง, ปลาค้างคาว เป็นต้น บางชนิดสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลานกขุนทอง

อันดับย่อยปลานกขุนทอง (Wrasse, Cichlid, Parrotfish, Damsel) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labroidei เป็นปลาที่มีลักษณะร่วมกัน คือ มีริมฝีปากหนา พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ซึ่งปลาในอันดับย่อยนี้ ที่เป็นที่รู้จักดี คือ ปลานกขุนทอง, ปลานกแก้ว, ปลาสลิดหิน, ปลาการ์ตูน และปลาหมอสี.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและอันดับย่อยปลานกขุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแดงป่าชายเลน

ปลากะพงแดงป่าชายเลน หรือ ปลากะพงแดงปากแม่น้ำ (mangrove jack, mangrove red snapper) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) รูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโตแหลมยาว มีส่วนหัวและลำตัวที่ยาวกว่า มีฟันเขี้ยวแหลมคมโง้งเห็นชัดเจน 2 ซี่ในปาก ริมฝีปากหนา คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ เส้นข้างลำตัวติดต่อกันเป็นแถวยาวโค้งอยู่บริเวณค่อนไปทางลำตัวด้านบน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีแดงหรือแดงสด พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าชายเลน, ปากแม่น้ำ หรือบริเวณทะเลชายฝั่ง ลูกปลาขนาดเล็กจะฟักตัวและเติบโตในบริเวณน้ำกร่อยแถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลำตัวจะเป็นสีขาวสลับลายพาดสีดำคล้ายปลานิล อาหารได้แก่ สัตว์น้ำจำพวก ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย สามารถปรับตัวได้ดีในน้ำจืดสนิท แต่สีสันความสวยงามและขนาดของปลาจะไม่โตและสวยเท่ากับปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลธรรมชาติ มีพฤติกรรมที่ดุร้าย ตะกละตะกลาม และมักทำร้ายปลาอื่นร่วมสถานที่เลี้ยงเดียวกันที่มีขนาดเล็กกว่าเสมอ.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและปลากะพงแดงป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาใบขนุน

ปลาใบขนุน หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันในชื่อภาษาแต้จิ๋วว่า ปลาอังนั้ม (乳香鱼; False trevally, Milkfish, Whitefish, Butterfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactarius lactarius อยู่ในวงศ์ Lactariidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาทู ซึ่งอยู่ในวงศ์ Scombridae คือ มีลำตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นแผงอยู่บนขากรรไกรเพดานและลิ้น เกล็ดเป็นแบบบางเรียบขนาดใหญ่และหลุดง่าย มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนที่ 2 ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย มีลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำดูเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน และมีสีน้ำเงินแทรกด้านหลังและท้องบริเวณหลัง เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินตามชายฝั่งซึ่งบางครั้งอาจพบได้ในแถบน้ำกร่อย มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 15-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตอนใต้ทะเลญี่ปุ่น, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และฟิจิ ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ปลาใบขนุนที่ตลาดสดของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื้อมีรสชาติดี นิยมนำมาบริโภคด้วยการปรุงสด ปลาใบขนุนยังมีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกเช่น "ปลาขนุน", "ปลาซับขนุน", "ปลาสาบขนุน" หรือ "ปลาญวน" เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและปลาใบขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามัน ในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกา หากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยกินฟองน้ำเป็นอาหารหลัก และสัตว์น้ำทั่วไปขนาดเล็ก ปลาวัยอ่อนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตคล้ายกับแพลงก์ตอนคือ จะถูกกระแสน้ำพัดพาลอยไปไกลจากถิ่นกำเนิด จึงทำให้การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อหรือปลาโนรี และสามารถเลี้ยงรวมกันได้ ซึ่งในวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลาโนรีเทวรูปได้ถูกสร้างเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของวอลต์ ดีสนีย์ ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 โดยเป็นหัวหน้าฝูงปลาชื่อ กิลด์ (ให้เสียงพากย์โดย วิลเลม ดาโฟ) ในตู้กระจกภายในคลินิกทันตแพทย์ ปลาโนรีเทวรูป ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ "ปลาผีเสื้อหนัง" หรือ "ปลาโนรีหนัง".

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและปลาโนรีเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเบลนนี่

ปลาเบลนนี่ (Blennies) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blennioidei ปลาเบลนนี่ มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า "ปลาตั๊กแตนหิน" หรือ"ปลาตุ๊ดตู่" จากพฤติกรรมที่อาศัยและมุดไปมาอยู่ในรู เหมือนกับตุ๊ดตู่ มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวกลมยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ แต่สั้นกว่ามาก มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ดวงตากลมโต ปากกว้าง ครีบหลังยาวต่อกันไปตลอดความยาวของลำตัว อาศัยอยู่ในรูหรือซอกหิน หรือเปลือกหอยที่ว่างเปล่า โดยจะโผล่มาแต่ส่วนหัวเพื่อสังเกตการณ์ เป็นปลาออกหากินในเวลากลางวัน โดยมักหากินตามพื้นทะเลใกล้ ๆ กับรูที่อาศัย ตัวผู้มีสีสันสดใสสวยกว่าตัวเมีย และมีขนาดใหญ่กว่าด้วย โดยมากเป็นปลากินพืชเป็นอาหาร มีอาหารหลัก คือ ตะไคร่น้ำ แต่ก็มีบางจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถจำแนกวงศ์ของปลาเบลนนี่ ออกได้ทั้งหมด 6 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและปลาเบลนนี่ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: อันดับปลากะพงและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PerciformPerciformesปลากะพง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »