โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายการสัตว์

ดัชนี รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

333 ความสัมพันธ์: ชะมดชะมดแผงสันหางดำชะมดแปลงลายจุดชะมดแปลงลายแถบชะมดเช็ดชะนีชะนีมือขาวชะนีมือดำชะนีมงกุฎชะนีแก้มขาวชั้นไบวาลเวียชิมแปนซีบีเวอร์บ่างช้างช้างแอฟริกาช้างเอเชียฟองน้ำฟิชเชอร์พะยูนพังพอนกินปูพังพอนเล็กกบบูลฟร็อกกบอกหนามกบทูดกบดอยช้างกบต้นไม้กบต้นไม้สีเขียวกระรอกกระรอกบินกระรอกหน้ากระแตกระจงควายกระจงเล็กกระทิงกระต่ายกระต่ายยุโรปกระต่ายสโนว์ชูกระต่ายอาร์กติกกระต่ายแจ็กกระซู่กวางกวางมูสกวางผากวางดาวกวางป่ากวางแฟลโลว์กวางเรนเดียร์กอริลลากะละปังหากั้ง...กาเซลล์กิล่ามอนสเตอร์กิ้งกือกิ้งก่ากิ้งก่าบินคอแดงกิ้งก่าบินปีกจุดกิ้งก่าสวนกิ้งก่าดงคอสีฟ้ากุ้งกุ้งการ์ตูนกุ้งกุลาดำกุ้งก้ามกรามกุ้งฝอยกุ้งมังกรกุ้งแชบ๊วยกูปรีมอดแป้งมาคอว์มาโมเสทมดมนุษย์ม้าม้าลายม้าน้ำยามา (สัตว์)ยุงยุงก้นปล่องยุงลายยีราฟ (สกุล)รายชื่อชื่อปลาทั่วไปรายชื่อค้างคาวรายชื่องูรายชื่อนกละองละมั่งลาลิงลิงบาบูนลิงกังใต้ลิงลมลิงวอกลิงแสมลิงเสนวอลรัสวัววาฬวาฬบรูด้าวาฬฟินวาฬสีน้ำเงินวาฬสเปิร์มวาฬสเปิร์มเล็กวาฬหลังค่อมวาฬเพชฌฆาตวาฬเพชฌฆาตแปลงวงศ์พังพอนวงศ์กบลูกศรพิษวงศ์กบนาวงศ์หอยขมวงศ์หนูทุ่งสัตว์สัตว์บกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์ปีกสัตว์น้ำสัตว์เลื้อยคลานสางห่าสิงโตสิงโตทะเลสปีชีส์หมัดหมาหมาป่าหมาป่าดิงโกหมาในหมาไม้หมึกกล้วยหมูหมูหริ่งหมูป่าหมีหมีสีน้ำตาลหมีหมาหมีขอหมีขาวหมีดำหมีควายหอยหอยชักตีนหอยมือเสือหอยลายหอยสังข์หอยหมวกเจ๊กหอยหลอดหอยหวานหอยทากหอยปากกระจาดหอยนางรมหอยแมลงภู่หอยแครงหอยเชลล์หอยเชอรี่หอยเต้าปูนหอยเป๋าฮื้อหนอนหนอนถั่วหนอนท่อหนูหนูผีห่านออริกซ์อัลปากาอันดับกบอันดับกระแตอันดับย่อยเม่นอันดับด้วงอาร์มาดิลโลอิกัวนาอิคิดนาอึ่งอ่างอุรังอุตังอีกาอีแลนด์อีเห็นลายเสือโคร่งอีเห็นหน้าขาวอีเห็นข้างลายอ้นใหญ่ฮิปโปโปเตมัสฮิปโปโปเตมัสแคระผึ้งผีเสื้อผีเสื้อแดงผีเสื้อใบไม้ใหญ่อินเดียจระเข้จระเข้ตีนเป็ดจระเข้น้ำจืดจระเข้น้ำเค็มจามรีจิงโจ้จิ้งจกบ้านจิ้งเหลนจิ้งเหลนบ้านทากทากทะเลทาคินดอกไม้ทะเลดาวมงกุฎหนามดาวทะเลด้วงกว่างด้วงกุหลาบด้วงยีราฟด้วงหมัดผักด้วงงวงด้วงงวงข้าวโพดด้วงไฟด้วงเสือด้วงเจาะเปลือกไม้สนควอลควายควายป่าคางคกคิงคองค่างค่างห้าสีค่างแว่นถิ่นใต้ค่างแว่นถิ่นเหนือค่างเทาค้างคาวงูตะพาบม่านลายตะพาบหัวกบตะพาบแก้มแดงตะกวดตะขาบตะโขงตัวกินมดตั๊กแตนตุ๊กแกตุ๊ดตู่ตุ่นตุ่นปากเป็ดต่อปลาปลิงปลิงทะเลปูปูก้ามดาบปูม้าปูลมนกเหยี่ยวกินหอยทากนากนากใหญ่ขนเรียบนากเล็กเล็บสั้นน้ำมันดินแพนด้ายักษ์แกะแมลงแมลงปอแมวแมวลายหินอ่อนแมวทรายแมวดาวแมวป่าแมวป่าหัวแบนแมวน้ำช้างแมวน้ำลายพิณแมวน้ำเสือดาวแมงกะพรุนแมงมุมแมงมุมทะเลแมงมุมทารันทูล่าแมงมุมแม่ม่ายดำแมงคีมแมงคีมยีราฟแมงป่องแรดแร็กคูนแร้งแร้งเคราแอดแดกซ์แตนโพลีคีทาโลมาโลมาหลังโหนกโลมาอิรวดีโลมาปากขวดไฟลัมไก่ไก่ฟ้าพญาลอไก่ฟ้าสีทองไก่ฟ้าหลังขาวไก่ฟ้าหลังเทาไก่ฟ้าหน้าเขียวไก่ต๊อกไก่ป่าไส้เดือนดินไฮยีน่าเพียงพอนเพนกวินเกรินุกเก้งเก้งหม้อเมียร์แคตเม่นหางพวงเม่นทะเลเม่นใหญ่แผงคอยาวเรือดเลียงผาเสือเสือชีตาห์เสือดาวเสือดาวหิมะเสือโคร่งเสือโคร่งอินโดจีนเสือโคร่งเบงกอลเหยี่ยวเหยี่ยวรุ้งเหยี่ยวดำเหยี่ยวแดงเหี้ยเหี้ยดำเฮดจ์ฮอกเต่าเต่ากระเต่ากระอานเต่ามะเฟืองเต่าหกเต่าหับเต่าจักรเต่าดาวเต่าดาวพม่าเต่าดำเต่าตนุเต่าปูลูเต่านาเต่าเหลืองเต่าเดือยเป็ดเป็ดพม่าเป็ดก่าเป็ดหงส์เป็ดแมนดารินเป็ดแดงเนื้อทรายLynx ขยายดัชนี (283 มากกว่า) »

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผงสันหางดำ

มดแผงสันหางดำ (Large-spotted civet) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับชะมดแผงหางปล้อง (V. zibetha) แต่ต่างกันที่บริเวณหาง โดยหางของชะมดแผงสันหางดำจะมีลายขวางสีดำบริเวณด้านบนของหางลากยาวมาจากโคนหางถึงปลายหาง ทำให้ปล้องหางไม่แยกขาดจากกันเหมือนชะมดแผงหางปล้อง ปลายหางมีสีดำและมีลายจุดสีดำกระจายไปทั่วตัว มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 72-85 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 30-36.9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 8-9 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าสมบูรณ์ และตามสวนเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน แต่ส่วนมากมักพบเห็นตามพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 80-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยปกติแล้วมักอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูลูกอ่อน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะมดแผงสันหางดำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายจุด

มดแปลงลายจุด หรือ อีเห็นลายเสือ (Spotted linsang) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง เป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่นเช่นเดียวกับชะมดแปลงลายแถบ (P. linsang) และมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ส่วนหัวมีขนสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลเข้มหรือดำขึ้นอยู่ประปรายตามลำตัว หางยาวและมีแถบสีขาวสลับดำ หรือน้ำตาลเข้มเป็นปล้องประมาณ 7 ปล้อง มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 35-37 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 31-34 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, แคว้นสิกขิมและแคว้นอัสสัมของอินเดีย, ภาคใต้ของจีน, ภาคเหนือของพม่า, ไทย, ลาว และเวียดนาม มักอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจอยู่เป็นคู่หรือหลายตัว มักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500-2,700 เมตร ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก, หนู, นก และแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จะหากินเป็นหลักบนต้นไม้ นานครั้งจึงจะลงมาบนพื้นดิน มีฤดูผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ใช้โพรงไม้ในการเลี้ยงดูลูกอ่อน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะมดแปลงลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายแถบ

มดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ เป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบมาเลเซียตะวันตก, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะมดแปลงลายแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดเช็ด

มดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง (Indian small civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล ViverriculaBlanford, W. T. (1888–91).

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะมดเช็ด · ดูเพิ่มเติม »

ชะนี

นี (วงศ์: Hylobatidae; Gibbons; ภาษาเหนือ: อี่ฮุย, อี่วุย) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร (Primates) เป็นลิงไม่มีหาง ซึ่งชะนีถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Hylobatidae และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด (ประกอบไปด้วย ชะนี, ชิมแปนซี, อุรังอุตัง, กอริลลา ซึ่งชะนีมีความใกล้เคียงมนุษย์น้อยที่สุดในบรรดาทั้ง 4 นี้ เนื่องจากมีแขนขาเรียวยาว มีฟันเขี้ยวที่แหลมคม และใช้ชีวิตหากินอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน) ซึ่งนับว่าชะนีมีแขนที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์อันดับวานรทั้งหมด และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า Myers, P. 2000.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะนี · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีมือขาว

นีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา (Common gibbon, White-handed gibbon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับวานร (Primates) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นลิงไม่มีหางชนิดหนึ่ง จำพวกชะนี (Hylobatidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะนีมือขาว · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีมือดำ

นีมือดำ (Agile gibbon, Black-handed gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates agilis จัดเป็นหนึ่งในสี่ชนิดของชะนีที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ชะนีมือดำดั้งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของชะนีมือขาวหรือชะนีธรรมดา (H. lar) เช่นเดียวกับชะนีมงกุฎ (H. pileatus) แต่เมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น เสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกว่าและการแพร่กระจายพันธุ์ จึงจัดให้เป็นชนิดใหม่ ชะนีมือดำมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับชะนีมือขาว โดยสีของลำตัวจะมีทั้งสีเทา, ดำ และสีน้ำตาลแก่ ซึ่งความแตกต่างของสีนี้จะไม่เกี่ยวกับเพศหรือวัยเช่นเดียวกับในชะนีมือขาว โดยที่ตัวใดเกิดเป็นสีใดก็จะเป็นสีนั้นไปตลอด ชะนีมือดำจะแตกต่างจากชะนีมือขาวตรงที่ขนที่มือและเท้าเป็นสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณกระหม่อมแบนกว่า และมีขนข้างส่วนหัวยาวกว่า ทำให้เวลาดูทางด้านหน้าส่วนหัวจะเป็นรูปสามเหลี่ยม ในขณะที่ส่วนหัวของชะนีมือขาวจะดูเป็นรูปกลม มีการแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศไทย เฉพาะในป่าดิบภาคใต้ตอนล่างที่ติดกับมาเลเซียเท่านั้น จากนั้นจะพบได้ตลอดทั้งแหลมมลายู จนถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ขณะที่นิเวศวิทยาและพฤติกรรมก็คล้ายคลึงกับชะนีชนิดอื่น ๆ สถานะการอนุรักษ์ในอนุสัญญาไซเตสจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) คือ ห้ามค้าขายหรือมีไว้ครอบครองเด็ดขาด เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อการศึกษาหรือวิจัยขยายพัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะนีมือดำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีมงกุฎ

thumb thumb thumb thumb ชะนีมงกุฎ หรือ ชะนีเอี๊ยมดำ (Pileated gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates pileatus เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดย่อยของชะนีมือขาว (H. lar) แต่มีพฤติกรรมและลักษณะบางอย่างต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย โดยสีขนจะแตกต่างออกไปตามเพศและช่วงอายุ ตัวผู้ในช่วงวัยรุ่นจะมีสีขนเหลือง เมื่ออายุ 3-4 ปี จะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัวยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือ หลังเท้า และวงรอบใบหน้า ส่วนตัวเมียมีสีขาวนวลเหมือนเดิม แต่ที่หน้าอกและบนหัวมีสีดำ แลดูคล้ายใส่เอี๊ยม หรือผ้ากันเปื้อน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ พบอาศัยอยู่ในแถบประเทศลาวและกัมพูชา ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์, บุรีรัมย์, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ตราด และในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มักอาศัยอยู่ในป่าดิบที่มียอดไม้สูงและรกชัฏ อาหารหลัก คือ ผลไม้, ใบไม้, แมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ดื่มน้ำโดยใช้วิธีการเลียตามขนตัวเองและหาตามโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เมื่อลูกชะนีอายุได้ 1 ปี จะเริ่มออกจากอกแม่ห้อยโหนไปมาด้วยตัวเอง ซึ่งต่างจากชะนีมือขาวที่จะเกาะอยู่กับอกแม่จนอายุได้ 2 ปี และเมื่อลูกอายุได้ 2-3 ปี แม่ชะนีมงกุฎจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้ง ลูกชะนีโดยเฉพาะตัวผู้จะถูกขับไล่ออกจากฝูงเร็วกว่าตัวเมีย และจะอยู่ตามลำพังจนกระทั่งหาคู่ผสมพันธุ์ได้ ชะนีมงกุฎในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีการผสมข้ามพันธุ์กับชะนีมือขาว จนเกิดเป็นชะนีลูกผสมซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย อันเนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลก ที่มีชะนีทั้ง 2 ชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะนีมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ชะนีแก้มขาว

นีแก้มขาว (White-cheeked gibbon, Northern white-cheeked gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่างตัวผู้และตัวเมีย กล่าวคือ ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นบริเวณแก้มซึ่งจะมีสีขาวเด่นชัด ส่วนตัวเมียนั้นจะมีขนสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นบริเวณกระหม่อมหรือกลางศีรษะซึ่งมีสีดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวลำตัวตั้งแต่ศีรษะ 45-63 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ประมาณ 5.6 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมีย 5.8 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นของทางตอนเหนือของลาวติดต่อกับพรมแดนเวียดนาม และจีน มีพฤติกรรมและนิเวศวิทยาอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก ๆ บนต้นไม้สูง ซึ่งในฝูงจะเป็นครอบครัวกัน ประกอบไปด้วยตัวผู้จ่าฝูง 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว และลูก ๆ อีก 2-3 ตัว จะมีอาณาเขตครอบครองเป็นของตัวเอง และมักจะส่งเสียงร้องที่สอดประสานกันระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ขณะที่ห้อยโหนไปกับกิ่งไม้ โดยที่ตัวผู้จะมีเสียงร้องที่สลับซับซ้อนกว่า ประชากรชะนีแก้มขาวในจีน เดิมเคยเหลือเพียง 60 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะมีการอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นแล้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชะนีแก้มขาว · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นไบวาลเวีย

ั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชั้นไบวาลเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ชิมแปนซี

มแปนซี (Chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที.

ใหม่!!: รายการสัตว์และชิมแปนซี · ดูเพิ่มเติม »

บีเวอร์

รงกระดูกของบีเวอร์ บีเวอร์ (beaver) เป็นสัตว์กินพืชเลี้ยงลูกด้วยนมจัดเป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับหนูยักษ์ พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ยูเรเชียน (Eurasian beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor fiber) กับพันธุ์อเมริกาเหนือ (North American beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือ Castor Canadensis) ถึงแม้จะมีขนาดและรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์แยกขาดจากกันตั้งแต่เมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว พวกมันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันเองได้อีก บีเวอร์มีขนาดตัวที่ใหญ่ตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเด็กอายุ 8 ขวบ ตัวผู้สามารถมีน้ำหนักได้มากกว่า 25 กิโลกรัมส่วนตัวเมียอาจมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ในช่วงอายุเท่ากัน นอกจากนี้บีเวอร์มีอายุยืนยาวได้ถึง 24 ปี พวกมันยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งในอดีตคือสายพันธุ์บีเวอร์ยักษ์ (Giant beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor ohioensis) ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน พวกมันส่วนมากอาศัยอยู่ในบริเวณซีกโลกเหนือมีจำนวนประชากรในแถบอเมริกาเหนือมากกว่า 60 ล้านตัว แต่เมื่อปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และบีเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

บ่าง

ง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeopterus variegatus นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Galeopterus.

ใหม่!!: รายการสัตว์และบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย

้างเอเชีย (Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และช้างเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิชเชอร์

ฟิชเชอร์ (Fisher, Pekan, Pequam, Wejack, Fisher cat) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ฟิชเชอร์จัดอยู่ในสกุลหมาไม้ (Martes spp.) มีความยาวลำตัวและส่วนหัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 32-40 นิ้ว หางยาว 13-16 นิ้ว น้ำหนัก 1.3-5.4 กิโลกรัม มีอายุขัยประมาณ 10 ปี ทั้งในธรรมชาติและสถานที่เลี้ยง จัดเป็นหมาไม้ที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีสีขนสีดำและน้ำตาลเข้ม หางเรียวยาว สีขนจะเปลี่ยนไปในช่วงฤดูหนาว โดยปลายขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาว พบกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางในทวีปอเมริกาเหนือ (แบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) ในป่าที่หนาทึบเช่น ไม้เนื้อแข็งและโกเฟอร์ นอกจากนี้ยังอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ฟิชเชอร์ ผสมพันธุ์ในช่วงตอนต้นฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลาตั้งท้องราว 353 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว (โดยเฉลี่ย 3) ซึ่งตัวเมียกว่าจะผสมพันธุ์และออกลูกได้อีกครั้งต้องเว้นเป็นระยะเวลานาน ลูกที่เกิดใหม่จะมีร่างกายและขนเบาบาง ตาจะยังปิดอยู่จะกระทั่งอายุได้ 7 สัปดาห์ จะอาศัย อยู่ในรังกับพ่อแม่จนอายุได้ 3 เดือน จึงจะแยกตัวออกไป ฟิชเชอร์ ถูกมนุษย์ล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ เช่นเดียวกับสัตว์ในวงศ์นี้สกุลและชนิดอื่น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และฟิชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: รายการสัตว์และพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

พังพอนกินปู

ังพอนกินปู หรือ พังพอนยักษ์ (Crab-eating mongoose) เป็นหนึ่งในสองชนิดของสัตว์จำพวกพังพอนที่พบในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herpestes urva เป็นพังพอนขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีขาวจากมุมปากลาดยาวไปตามข้างคอจนถึงหัวไหล่ หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ขนที่หางเป้นพวง สีขนบริเวณลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเทา คอมีสีดำ หน้าอกมีสีน้ำตาลแดง ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ขนมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีความยาวลำตัวและหาง 44-48 เซนติเมตร ความยาวหาง 26.5-31 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-4 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน, เนปาล ภาคตะวันออกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, ไต้หวัน, เวียดนามและมาเลเซีย ในประเทศไทยพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ มักอาศัยอยู่ตามป่าใกล้กับแหล่งน้ำ ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ หากินโดยจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ปู, ปลา, กุ้ง, หอย หรือแม้แต่แมลงน้ำหรือนกน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน พังพอนกินปูสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และพังพอนกินปู · ดูเพิ่มเติม »

พังพอนเล็ก

ังพอนเล็ก หรือ พังพอนธรรมดา (Small asian mongoose, Small indian mongoose) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Herpestidae มีขนาดเล็ก ขนบนหัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ขามีสีเดียวกับลำตัวหรือเข้มกว่าเล็กน้อย หางยาวประมาณ 2 ใน 3 ของลำตัว เมื่อตกใจจะพองขนทำให้ดูตัวใหญ่กว่าปกติ เพศเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 35-41 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 25-29 เซนติเมตร พังพอนเล็กมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่อิหร่าน, ปากีสถาน, อินเดีย, พม่า, เนปาล, รัฐสิกขิม, บังกลาเทศ, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซียและเกาะชวา จึงทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 12 ชนิด (ดูในเนื้อหา) มีพฤติกรรมชอบอาศัยตามป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ามากกว่าป่าดิบทึบ ดังนั้นจึงมักเห็นพังพอนเล็กอาศัยอยู่แม้แต่ในเขตเมือง มักอาศัยอยู่ตามลำพังในโพรงดินที่ขุดไว้ หรือโพรงไม้ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจอยู่เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อาหารได้แก่ สัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก หรือบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัว เช่น ไก่ป่า กินได้ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน พังพอนเล็กจัดเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อีกทั้งมีนิสัยที่ไม่กลัวใคร จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าชอบที่จะสู้กับงูพิษ โดยเฉพาะงูเห่าเมื่อเผลอจะโดดกัดคองูจนตาย มีฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่แน่นอน มักจะผสมกันในโพงดิน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ สมัยก่อนในบางบ้านจะเลี้ยงพังพอนไว้สำหรับจับหนูหรือสัตว์ที่ทำรังควานในบ้านชนิดอื่น ๆ แทนแมว ซึ่งได้ผลดีกว่าแมวเสียอีก พังพอนเล็กแม้เป็นสัตว์ดุ แต่หากเลี้ยงตั้งแต่เล็กก็จะเชื่องกับเจ้าของ ในสถานที่เลี้ยงพบว่ามีอายุยืนประมาณ 6 ปี ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และพังพอนเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กบบูลฟร็อก

กบอเมริกันบูลฟร็อก (''Lithobates catesbeianus'') กบบูลฟร็อก (Bullfrog) เป็นชื่อสามัญที่เรียกใช้สัตว์ครึ่งบกครึ่งบกจำพวกกบที่มีขนาดใหญ่หลายชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกบบูลฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

กบอกหนาม

กบอกหนาม (อังกฤษ: Spiny-breasted Giant Frog, ชื่อวิทยาศาสตร์: Paa fasciculispina) เป็นกบชนิดหนึ่งในวงศ์กบนา (Ranidae) พบในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง..

ใหม่!!: รายการสัตว์และกบอกหนาม · ดูเพิ่มเติม »

กบทูด

กบทูด หรือ กบภูเขา หรือ เขียดแลว (Kuhl's creek frog, Giant asian river frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnonectes blythii) เป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในที่พบได้ในประเทศไทย ความยาวจากปลายปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง อยู่ตามลำห้วยป่าดิบเฉพาะแห่ง โดยพบภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย เช่นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา, อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในกัมพูชา, ลาว และเวียดนาม มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุดสีดำ น้ำตาลเข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอนกลางคืน ชอบสภาพอากาศค่อนข้างเย็น เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า บริเวณเหล่านี้ล้วนมีสภาพชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้ตายได้ ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ฤดูผสมพันธุ์ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่ตัวเองขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร กบทูด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ปัจจุบัน กบทูดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งในประเทศไทย อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยทางกรมประมง เช่น สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้วในขณะนี้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกบทูด · ดูเพิ่มเติม »

กบดอยช้าง

กบดอยช้าง (Doichang frog) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกกบ จัดเป็นกบขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายก้น 35–38 มิลลิเมตร หัวกว้างกว่ายาว ปลายจมูกมนกลม สันบนจมูกหักมุมเด่นชัด รูจมูกอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างตากับปลายจมูก ระยะระหว่างตาแคบกว่าความกว้างของเปลือกตา แผ่นหูขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของตาและเห็นไม่ชัดเจนนัก นิ้วตีนนิ้วแรกยาวไล่เลี่ยกับนิ้วที่สอง ขาหลังยาวเมื่อเหยียดไปทางด้านหน้า รอยต่อของต้นขากับแข้งอยู่เลยปลายจมูก มีปุ่นที่ฝ่าตีนเพียงปุ่มเดียว ผิวลำตัวเรียบ สันด้านข้างลำตัวเริ่มที่หลังเปลือกตาหลังพาดตลอดความยาวตัวแล้วเข้ามาเชื่อมกับสันอีกด้านหนึ่งตรงเหนือรูทวาร ลำตัวออกสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมดำ สันด้านข้างลำตัวสีขาว มีขลิบสีดำตรงบริเวณหัวและไหล่ ริมฝีปากสีดำมีลายแต้มสีขาว ด้านข้างลำตัวมีจุดสีดำสนิท ขาทั้ง 4 ข้างมีลายพาดขวางสีดำ ใต้ท้องออกสีเหลือง ใต้คางมีลายกระละเอียดสีดำ มีจุดสีดำกระจายห่าง ๆ กันใต้ท้องและใต้ขา กบดอยช้าง ถูกค้นพบครั้งแรกที่ดอยช้าง ตรงรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย เมื่อปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และกบดอยช้าง · ดูเพิ่มเติม »

กบต้นไม้

กบต้นไม้ (Tree frog) หรืออาจเทียบได้กับภาษาไทยว่า ปาด หรือ เขียดตะปาด หมายถึง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) โดยทั่วไปแล้วมีขนาดเล็กกว่ากบหรือเขียดทั่วไป มีขาและนิ้วยาว หลายชนิดอาศัยอยู่บนต้นไม้ แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกบต้นไม้ · ดูเพิ่มเติม »

กบต้นไม้สีเขียว

กบต้นไม้สีเขียว (Green tree frog) หมายถึงกบหรือปาด 3 ชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกบต้นไม้สีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

กระรอก

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระรอก · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกบิน

กระรอกบิน เป็นกระรอกจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเผ่า Pteromyini หรือ Petauristini มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืดที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยมีหางและกระดูกอ่อนพิเศษที่ยื่นออกมาจากข้อเท้าหน้าเพื่อช่วยในการควบคุมทิศทาง กระรอกบินมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากกระรอกในกลุ่มอื่น คือ หากินในเวลากลางคืน มีดวงตากลมโตสีดำสะท้อนแสงไฟ กระรอกบินจะอาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ อาหารหลัก คือ แมลง หากินหลักอยู่บนต้นไม้ แต่ก็สามารถลงมาหากินบนพื้นดินได้ในบางครั้ง แม้จะได้ชื่อว่า กระรอกบิน แต่แท้ที่จริงแล้วกระรอกบินก็ทำได้เพื่อแค่ร่อน หรือโต้อากาศโดยใช้พังผืดนี้อยู่กลางอากาศได้เพียงสั้น ๆ เท่านั้น โดยการกระโจนจากต้นไม้อีกต้นไปยังอีกต้นหนึ่งเท่านั้น กระรอกบินมีทั้งหมด 44 ชนิด ใน 15 สกุล พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรปตอนเหนือและทวีปเอเชีย บางชนิดจัดเป็นกระรอกขนาดใหญ่เทียบเท่าพญากระรอก เช่น พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas) บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei) เป็นต้น ในประเทศไทยพบทั้งหมด 13 ชนิด จาก 6 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระรอกบิน · ดูเพิ่มเติม »

กระรอกหน้ากระแต

กระรอกหน้ากระแต (อังกฤษ: Shrew-faced squirrel, Shrew-faced ground squirrel) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinosciurus laticaudatus จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinosciurus กระรอกหน้ากระแต เป็นกระรอกที่มีลักษณะเด่นชัดแตกต่างไปจากกระรอกชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ใบหน้าบริเวณจมูกจะแหลมยาวยื่นออกมาคล้ายสัตว์จำพวกกระแต ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์กินแมลง มากกว่าจะเหมือนกระรอกที่เป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ จัดเป็นกระรอกดินชนิดหนึ่ง มักอาศัยตามลำพังและหากินตามพื้นดิน โดยใช้ลิ้นที่ยาวตวัดกินอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน และผลไม้บางชนิด มีหางที่สั้นและเป็นพวงเหมือนขนแปรงขัดขวด ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว มีสีเหลืองแซมบริเวณขอบด้านข้างโดยรอบ ความยาวลำตัว 23 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 17 เซนติเมตร อาศัยทำรังอยู่ตามโพรงไม้ ตกลูกปีละครั้งเดียว ครั้งละประมาณ 1-2 ตัว พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะป่าดิบชื้นในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น โดยเฉพาะในบริเวณที่ต่ำโดยเฉพาะในหุบเขาที่มีลำธารน้ำไหล โดยพบตั้งแต่ภาคใต้ของไทยแถบจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป, มาเลเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงเกาะบอร์เนียว กระรอกหน้ากระแตเป็นกระรอกที่มีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก ด้วยความที่เป็นกระรอกที่หาได้ยากมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในประเทศไทย ถูกขึ้นชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ไม่พบการซื้อขายหรือเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนกระรอกชนิดอื่นแต่อย่างใ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระรอกหน้ากระแต · ดูเพิ่มเติม »

กระจงควาย

กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napu อยู่ในวงศ์ Tragulidae มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระจงควาย · ดูเพิ่มเติม »

กระจงเล็ก

กระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (Lesser mouse-deer, Lesser Malay chevrotain; มลายู: Kanchil) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างหน้าตาคล้ายเก้งหรือกวาง เป็นกระจงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีขนาดเล็กกว่ากระจงควาย (T. napu) มีความสูงจากกีบเท้าถึงหัวไหล่ 20-23 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลายแถบสีขาวที่หน้าอกมีแถบเดียว ในขณะที่กระจงควายมี 2 แถบ ในประเทศไทยพบได้ตามแนวป่าตะวันตก, แนวเขาหินปูนภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ในลาว, พม่า, ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, บรูไน, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย หมายเหตุ: เดิมทีกระจงเล็กเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus javanicus แต่ปัจจุบันชื่อนี้ได้ถูกจำแนกออกไปเป็น กระจงชวา พบในเกาะชวา และบาหลีแทน Meijaard, E., & Groves, C. P. (2004).

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระจงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กระทิง

กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระทิง · ดูเพิ่มเติม »

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายยุโรป

กระต่ายยุโรป หรือ กระต่ายบ้าน (European rabbit, Common rabbit; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryctolagus cuniculus) เป็นกระต่ายพื้นเมืองของแถบยุโรป (สเปน และ โปรตุเกส) และตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา (โมรอคโค และ แอลจีเรีย) เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Oryctolagus แบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 6 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระต่ายยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายสโนว์ชู

กระต่ายป่าสโนว์ชู (Snowshoe HareHoffman, Robert S.; Smith, Andrew T. (16 November 2005).. In Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). pp. 195. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC.) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย กระต่ายป่าสโนว์ชูมีถิ่นกำเนิดจากทวีปยุโรป อาศัยอยู่ในป่าสน มีขนสีน้ำตาล เมื่อถึงฤดูหนาว ขนของมันก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพื่อพรางตัวให้เหมือนกับหิมะ ซ่อนตัวจากสัตว์นักล่า เช่น หมาป่า และ นกเค้าแมว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระต่ายสโนว์ชู · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายอาร์กติก

กระต่ายอาร์กติก (Arctic HareHoffman, Robert S.; Smith, Andrew T. (16 November 2005).) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ตอนเหนือของไซบีเรีย และ ขั้วโลกเหนือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระต่ายอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายแจ็ก

ำหรับ Lepus ในความหมายอื่น ดูที่: กลุ่มดาวกระต่ายป่า กระต่ายแจ็ก หรือ กระต่ายป่า (Jackrabbit, Jacklope, Hare) เป็นสกุลของกระต่ายสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Lepus (/ลี-ปัส/) กระต่ายสกุลนี้ เป็นกระต่ายป่า กระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย มีทั้งหมด 32 ชนิด โดยปกติจะมีขนสีน้ำตาลหรือเทา หูยาวมีขนาดใหญ่ และขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมาก ใต้ฝ่าเท้ามีขนอ่อนนุ่มรองรับไว้เพื่อรองรับการกระโดด ในประเทศไทย พบเพียงชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (L. peguensis) กระต่ายแจ็ก หรือ กระต่ายป่านั้นเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก วิ่งและกระโดดได้เร็ว เมื่อคิดเป็นสถิติแล้วยังสามารถวิ่งได้เร็วกว่านักกรีฑาเหรียญทองโอลิมปิกถึง 2 เท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระต่ายแจ็ก · ดูเพิ่มเติม »

กระซู่

กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (Sumatran RhinocerosWilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005).; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกระซู่ · ดูเพิ่มเติม »

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวาง · ดูเพิ่มเติม »

กวางมูส

กวางมูส (moose) คือกวางขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตหนาวและอบอุ่นซีกโลกเหนือ สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือสายพันธุ์อะแลสกา สามารถพบได้ในบริเวณป่าไทกา ในทวีปอเมริกาเหนือจะเรียกว่า มูส ในยูเรเชียจะเรียกว่า เอลก์ พบมากในบริเวณประเทศแคนาดา, ประเทศลัตเวีย, ประเทศเอสโตเนีย และประเทศรัสเซีย พวกมันเป็นสัตว์ที่ไม่รวมกันเป็นฝูงและมีขนาดใหญ่แถมยังมีเขาที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้มันเคลื่อนที่ได้ค่อยข้างช้าทำให้พวกมันตกเป็นเหยื่อของนักล่าอย่างหมาป่าและมนุษย์ โดยปกติพวกมันจะเคลือนไหวช้าแต่ถ้าพวกมันโกรธหรือตกใจพวกมันก็สามารถวิ่งได้เร็วเช่นกัน พวกมันจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูใบไม้ร่วงซึ่งช่วงนั้นมันจะมีการต่อสู้อย่างดุเดือดของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวางมูส · ดูเพิ่มเติม »

กวางผา

กวางผา (Gorals) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae ใช้ชื่อสกุลว่า Naemorhedus.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวางผา · ดูเพิ่มเติม »

กวางดาว

กวางดาว หรือ กวางทอง (Chital, Cheetal, Spotted deer, Axis deer)Grubb, Peter (16 November 2005).

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวางดาว · ดูเพิ่มเติม »

กวางป่า

กวางป่า หรือ กวางม้า หรือ กวางแซมบาร์ (Sambar deer; หรือ Cervus unicolor) เป็นกวางขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา, อินเดีย, พม่า, ไทย, จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว และหมู่เกาะซีลี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวางป่า · ดูเพิ่มเติม »

กวางแฟลโลว์

กวางแฟลโลว์ (fallow deer) เป็นกวางขนาดเล็ก มีความสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากกวางชนิดอื่นๆ คือ ปลายลำเขาแบนจนมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายกับกวางมูส ซึ่งมีแผ่นแบนกว้าง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแต้มด้วยจุดสีขาว แต่จุดเหล่านี้จะหายไปช่วงฤดูหนาว เดิมทีกวางชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในป่าบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ได้ถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปและอเมริกา ในที่สุดกวางในถิ่นอาศัยดั้งเดิมก็สูญพันธุ์ คงเหลือแต่กวางที่เปลี่ยนถิ่นฐานไปแล้ว จนบางตัวมีสีเผือก เนื่องจากผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกันจนเกิดข้อด้อยดังกล่าว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวางแฟลโลว์ · ดูเพิ่มเติม »

กวางเรนเดียร์

กวางเรนเดียร์ หรือ กวางแคริบู (Reindeer, Caribou) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่จำพวกกวาง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rangifer มีนิสัยดุร้าย มีลักษณะคล้ายคลึงกับกวางเอลก์ จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดของแคนาเดียนทุนดรา ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 60–170 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 162– 205 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่า มีน้ำหนักประมาณ 100–318 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 180–214 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 14– 20 เซนติเมตร ตัวผู้ที่มีอายุมากจะผลิเขาในเดือนธันวาคม ตัวผู้ที่อายุน้อยจะผลิเขาในฤดูใบไม้ผลิ ส่วนตัวเมียจะผลิเขาในฤดูร้อน เขาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เขาที่อยู่สูงกว่า และเขาที่อยู่ต่ำกว่า เขากวางเรนเดียร์ตัวผู้ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากกวางมูส คือ กว้างประมาณ 100 เซนติเมตร ยาวประมาณ 135 เซนติเมตร ถือเป็นกวางที่มีขนาดเขาใหญ่ที่สุดในโลก ขนตามลำตัวยามปกติจะมีสีน้ำตาล แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ขนจะเปลี่ยนไปเป็นสีอ่อนขึ้น หรือสีขาว กวางเรนเดียร์ มีกีบเท้าที่แยกออกเป็น 2 ง่ามชัดเจน ใช้สำหรับว่ายน้ำ โดยว่ายได้เร็วถึง 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง และเมื่อเดินกระดูกตรงข้อเท้าและเส้นเอ็นจะทำให้เกิดเสียงไปตลอด สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อติดต่อกับระหว่างฝูงในยามที่อยู่ในที่ ๆ ภาวะวิสัยมองเห็นไม่ชัด เช่น ยามเมื่อหิมะตกหนัก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวในโลกที่สามารถมองเห็นรังสีอัลตราไวโอเลตได้TUNDRA, "Wildest Arctic".

ใหม่!!: รายการสัตว์และกวางเรนเดียร์ · ดูเพิ่มเติม »

กอริลลา

ัวน้อย กอริลลาเพศเมียที่มีชื่อเสียงแห่งสวนสัตว์พาต้า กอริลลา (Gorilla) เป็นเอปที่อยู่ในเผ่า Gorillini และสกุล Gorilla ในวงศ์ Hominidae นับเป็นไพรเมตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน กอริลลา จัดเป็นเอปจำพวกหนึ่งในบรรดาเอปทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน และจัดเป็นเอปและไพรเมตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนกลางของทวีปแอฟริกา ทั้งที่เป็นที่ราบต่ำ และเป็นภูเขาสูงแถบเทือกเขาวีรูงกาที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลถึง 2,200–4,300 เมตร (7,200–14,100 ฟุต) ในคองโก และรวันดา กอริลลา นับได้ว่าเป็นเอปที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดรองจากชิมแปนซีและโบโนโบ โดยมีดีเอ็นเอที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ถึงร้อยละ 95–99.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกอริลลา · ดูเพิ่มเติม »

กะละปังหา

กะละปังหา หรือ กัลปังหา (ยืมมาจากภาษามลายูคำว่า "kalam pangha") เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายทรงกระบอกหรือรูปถ้วย จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง กะละปังหาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวกะละปังหา (โพลิป) ตัวของกะละปังหานี้มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างกะละปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวี แล้วแต่ชนิดกิ่งโครงสร้างนี้ตัวกะละปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารเขาจำพวกสัตว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกะละปังหา · ดูเพิ่มเติม »

กั้ง

กั้ง (Mantis shrimps, Stomatopods) คือสัตว์น้ำจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล ในไฟลัมครัสตาเซียน ในอันดับสโตมาโตโพดา (Stomatopoda) ซึ่งมีอยู่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิด กั้ง โดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับตั๊กแตนตำข้าว ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือกเช่นเดียวกับกุ้ง ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรีมีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ 400 ล้านปีก่อน มักอาศัยอยู่ในทะเลโคลน หรือ บริเวณปากแม่น้ำ หรือตามแนวปะการัง และพบได้ถึงระดับความลึกกว่า 1,500 เมตร กั้งเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดในโลกนี้มาก่อนกุ้ง มีจุดเด่น คือ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถใช้สแกนมองภาพได้ดี โดยสามารถมองเห็นภาพชัดลึกได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็นได้ 3 ตา และตาแต่ละดวงมองเห็นภาพได้ 3 ภาพ และสามารถกะระยะได้ดีมากเพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ กั้งมีแก้วตาหลายพันชิ้น และสามารถมองเห็นสีได้ในระดับที่ซับซ้อน โดยถือว่าเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีระบบการมองเห็นภาพดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์โลก ไม่มีก้ามหนีบ แต่มีระยางค์ส่วนอกคู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นก้ามสับขนาดใหญ่พับได้คล้ายมีดโกน และมีซี่ฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถวคล้ายหวี ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว ซึ่งสามารถใช้สับน้ำให้เกิดเป็นแรงขนาดมากได้ จนอาจถึงทำร้ายสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น มนุษย์ให้ได้รับบาดเจ็บได้ กั้งถูกค้นพบแล้วกว่า 450 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานพบแล้วอย่างน้อย 61 ชนิด กั้งนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับกุ้ง โดยปกติแล้วจะมีราคาสูงกว่ากุ้งธรรมดาหรือปู ในบางชนิดนิยมนำมาแช่กับน้ำปลารับประทานกับข้าวต้ม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกั้ง · ดูเพิ่มเติม »

กาเซลล์

กาเซลล์ (Gazelle) เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eudorcas อยู่ในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ลักษณะโดยรวมของกาเซลล์ คือ มีความสูงที่ไหล่ราว 70-100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 20-35 กิโลกรัม มีลักษณะปราดเปรียวว่องไว เวลาเดินหรืออยู่เฉย ๆ หางจะปัดตลอดเวลา ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัว ท้องสีขาว อาศัยอยู่เป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย คำว่า "กาเซลล์" นั้นมาจากภาษาอาหรับคำว่า غزال‎ (ġazāl).

ใหม่!!: รายการสัตว์และกาเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

กิล่ามอนสเตอร์

กิล่ามอนสเตอร์ (Gila monster) เป็นกิ้งก่ามีพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heloderma suspectum พบในเขตทะเลทรายอริโซน่าทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา กิล่ามอนสเตอร์มีความยาวถึงสองฟุต จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศสหรัฐอเมริกา ลำตัวมีลายดำ ชมพู ส้ม และเหลือง อุปนิสัยเชื่องช้า มักหลบในโพรงเป็นส่วนใหญ่ ล่าสัตว์จำพวกหนู นก และไข่ต่าง ๆ เป็นอาหาร กิล่ามอนสเตอร์สามารถผลิตพิษที่มีผลต่อระบบประสาทของเหยื่อ โดยพิษจะส่งเข้าสู่เหยื่อผ่านทางฟันทางกรามล่าง แต่พิษนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อมนุษย์ กิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการคุ้มครองโดยกฎหมาย ทั้งในท้องถิ่นคือกฎหมายรัฐอริโซน่า และในระดับประเทศคือกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก ส่วนในระดับนานาชาติกิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับในประเทศไทยมีการจัดแสดงในสวนสัตว์ดุสิตในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ถึงต้นปี พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิล่ามอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งกือ

กิ้งกือ (อังกฤษ: millipede; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงแสนตี๋น) เป็นชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขาสองคู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่สองถึงสี่มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึงสองร้อยสี่สิบคู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้งสองสกุลอยู่ในวงศ์ Julidae กิ้งกือจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) ชั้นดิพโพลโปดา (Class Diplopoda) ที่มีมากถึง 10,000 สปีชีส์ทั่วโลก และคาดว่าน่าจะมีมากถึง 80,000 สปีชีส์ โดยมีประวัติยาวนานกว่า 400 ล้านปี กิ้งกือทุกชนิดมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่าเขตร้อนอาจไม่สามารถยืนต้นได้หากไม่มีกิ้งกือ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช ใบไม้ ลูกไม้ ให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหารกลับคืนสู่ธรรมชาติโดยมีจุลินทรีย์คอยช่วยเหลือ กิ้งกือทำหน้าที่นี้มายาวนานหลายล้านปี ซากพืชที่กิ้งกือกินเข้าไป ก็จะถูกถ่ายออกมาเป็นมูลก้อนเล็ก ๆ คล้ายยาลูกกลอน ที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน เช่นเดียวกับมูลของไส้เดือนและหอยทาก พายัพเรียก แมงแสนตีน และชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียก millipede แปลว่า พันเท้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิ้งกือ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าบินคอแดง

กิ้งก่าบินคอแดง หรือ กะปอมปีกคอแดง ในภาษาอีสาน (Blanford's flying lizard, Orange winged flying lizard, Banded winged flying lizard; 裸耳飞蜥) จัดเป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco blanfordii อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) มีเหนียงสีเหลืองอ่อน มีประสีดำบนพื้นสีแดงสด ปีกมีลายบั้งสีเข้มสลับกับสีส้มเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ ลำตัวสีเขียวปนเทา กินปลวกต้นไม้, หนอนขนาดเล็ก และมดไม้ยักษ์ เป็นอาหาร ตัวเมียวางไข่ในพื้นทราย หรือจอมปลวกบนต้นไม้ หรือโพรงไม้ ครั้งละ 5-6 ฟอง พบมากที่สุด คือ 10 ฟอง แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างไกลตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนตอนล่าง เช่น มณฑลยูนนาน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง และมาเลเซีย จัดเป็นกิ้งก่าบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดโคนหาง 4.75 นิ้ว และหางมีความยาว 9นิ้ว มักพบในป่าดิบชื้นที่ราบ หรือ ป่าดิบเขาระดับกลาง และป่าเบญจพรรณ กิ้งก่าบินคอแดง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิ้งก่าบินคอแดง · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าบินปีกจุด

กิ้งก่าบินปีกจุด หรือ กิ้งก่าบินปีกส้ม (Spotted flying dragon, Orange-winged flying lizard) เป็นกิ้งก่าบินชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Draco maculatus อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) เป็นกิ้งก่าบินขนาดเล็ก ใต้คางมีเหนียงคู่หนึ่งรูปร่างกลมมน ซึ่งกึ่งกลางเหนียงตรงนี้สามารถยกขึ้นลงได้ ในตัวผู้จะมีขนาดโตเห็นชัดเจน ข้างลำตัวระหว่างขาคู่หน้าและขู่หลัง มีแผ่นหนังขนาดใหญ่ที่ใช้ในการร่อน ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง มีลายประสีเหมือนลายไม้ จึงสามารถพรางได้เป็นอย่างดีบนต้นไม้ แผ่นหนังด้านข้างนี้ออกสีส้ม มีลายพาดตามยาวสีจาง ใต้ท้องมีสีน้ำตาลอ่อนกว่า ใต้แผ่นหนังข้างลำตัวจะมีจุดสีดำ 2-3 จุด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวจากหัวจรดโคนหาง 60-65 มิลลิเมตร ส่วนหางมีความยาวกว่าคือ 93-110 มิลลิเมตร พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมของอินเดีย จนถึงเกาะไหหลำในจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงตอนเหนือของมาเลเซีย พบได้ในป่าหลากหลายประเภท รวมถึงบ้านเรือนของมนุษย์ที่ปลูกใกล้ชายป่าด้วย หากินในเวลากลางวันจนถึงพลบค่ำ โดยมากจะหากินและอยู่ตามลำพังตัวเดียว ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่โดยตัวเมียวางไข่ไว้ในหลุมดินที่ขุดไว้ ในที่ ๆ มีแสงแดดส่องถึง ครั้งละ 3-5 ฟอง วางไข่ในฤดูฝน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิ้งก่าบินปีกจุด · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าสวน

กิ้งก่าสวน หรือ กิ้งก่าบ้านหัวน้ำเงิน หรือ กิ้งก่าหัวสีฟ้า (Oriental garden lizard, Eastern garden lizard, Changeable lizard) เป็นกิ้งก่าที่อยู่ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะลำตัวปกคลุมด้วยเกล็ดสันชี้มาด้านหลังในลักษณะเฉียงขึ้น มีหนามหลังตา 1 อัน หนามบริเวณเหนือเยื่อหู 2 อัน เยื่อหูปรากฏชัด ด้านหน้าของไหล่มีรอยพับของผิวหนังซึ่งภายในปกคลุมด้วยเกล็ดสีดำ ขนาดของเกล็ดลำตัวเท่ากัน ลำตัวสีเขียวถึงน้ำตาลเทา หัวด้านบนสีน้ำตาล มีแถบดำพาดตั้งแต่บริเวณจมูกมาถึงท้ายทอยเหนือเยื่อหู ริมฝีปากบนสีขาว คางและเหนียงสีเทาดำ หลังมีแถบสีน้ำตาล 6 แถบพาดขวางลำตัว หางมีแถบสีเทาสลับกับดำพาดขวาง พบกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, เนปาล, อินเดีย, มัลดีฟส์, จีนตอนกลางและตอนล่าง, ฮ่องกง, ตลอดจนทั่วทุกภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ จัดเป็นกิ้งก่าชนิดที่พบได้บ่อยและง่ายที่สุด มีการขยายพันธุ์ที่ง่าย ลูกวัยอ่อนมักอาศัยเลี้ยงตัวเองในพุ่มไม้เตี้ย ตัวเต็มวัยมักอยู่ตามเรือนยอด หรือโคนต้น อาศัยเกาะหากินตามต้นไม้ที่ไม่ใหญ่มากนัก หรือมีลักษณะเป็นพุ่ม พบได้หลากหลายพื้นที่อาศัย เช่น ป่าทุ่งหญ้า, ทุ่งหญ้าน้ำขัง และสวนใกล้บ้าน หรือตามสวนสาธารณะ กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร และก็เป็นอาหารของคนในบางพื้นที่ ในต้นปี พ.ศ. 2551 มีข่าวปรากฏว่ามีการค้นพบกิ้งก่าชนิดใหม่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน โดยมีส่วนคอสีม่วงออกแกมน้ำเงิน แท้จริงแล้วเมื่อได้รับการตรวจสอบ พบว่าเป็นกิ้งก่าชนิดนี้นั่นเอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิ้งก่าสวน · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าดงคอสีฟ้า

กิ้งก่าดงคอสีฟ้า (Blue-crested Lizard,Indo-Chinese Forest Lizard,Indo-Chinese Bloodsucker) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง พบได้มากในป่าฮาลา-บาล.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกิ้งก่าดงคอสีฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งการ์ตูน

กุ้งการ์ตูน หรือ กุ้งตัวตลก (Harlequin shrimp, Painted shrimp, Clown shrimp, Dancing shrimp) เป็นกุ้งทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีลวดลายและสีสันสวยงาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hymenocera picta จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Hymenocera (ในกรณีนี้ในหลายข้อมูลมีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ H. elegans ซึ่งจำแนกจากสีสันและแหล่งที่อยู่อาศัย แต่ทว่าก็มีความเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดเดียวกัน ซึ่งความแตกต่างของสีสันเกิดจากสีของกุ้งที่เปลี่ยนไป) มีลักษณะลำตัวมีเปลือกแข็งสีขาว แต้มด้วยลายจุดสีฟ้า สีน้ำตาลตัวผู้มีเปลือกสีขาวค่อนไปทางเหลือง แต่ไม่มีจุดสีน้ำเงิน ส่วนตัวเมียจะมีสีจุดน้ำเงินชัดเจน มีขนาดลำตัวยาวเต็มที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร กินอาหารจำพวก ดาวทะเล, ปลิงทะเล และเม่นทะเล ในบางครั้งจะช่วยกันยกดาวทะเลไปไว้ในที่อาศัยเพื่อที่จะเก็บไว้กินได้ในหลายวัน พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือโพรงหินตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก, ตอนเหนือของออสเตรเลีย จนถึงหมู่เกาะกาลาปากอส ในน่านน้ำไทยจะพบมากบริเวณหมู่เกาะพีพี ในเขตทะเลอันดามัน กุ้งการ์ตูนวัยเจริญพันธุ์สามารถผสมพันธุ์และมีลูกกุ้งได้ คือวัย 7 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นไป โดยสามารถให้ลูกได้ตั้งแต่ 700-2,000 ตัว บางครั้งอาจให้ลูกถึง 3,000 ตัว ขึ้นอยู่กับช่วงวัย หากเป็นกุ้งที่มีอายุมาก จำนวนลูกก็จะยิ่งมาก ในลูกกุ้งวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ด้วยความที่มีขนาดเล็ก และสวยงาม จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามในตู้กระจก ซึ่งในปัจจุบัน กุ้งการ์ตูนสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้งการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งกุลาดำ

กุ้งกุลาดำ หรือ กุ้งม้าลาย (Tiger prawn) เป็นกุ้งทะเล ขนาดประมาณ 18 - 25 เซนติเมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ Penaeidae อาศัยอยู่ในเขตร้อน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันหลายชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ แต่ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป คือ Penaeus monodon Frabricius และมีชื่อภาษาอังกฤษที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ใช้อยู่คือ Giant Tiger Prawn ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก ห่างออกจากฝั่งและชอบพื้นทะเลที่เป็นดินทราย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ เช่น บริเวณป่าชายเลนได้ดี และหาอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, หนอน, แมลงน้ำ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้งกุลาดำ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งก้ามคราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน, ตัวอ่อนของลูกน้ำ, ลูกไร, ลูกปลาขนาดเล็ก, ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยที่กุ้งก้ามกรามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. dacqueti ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า M. rosenbergii เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นชื่อพ้อง กุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ, เผา หรือทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้งก้ามกราม · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งฝอย

กุ้งเรดบีชนิด ''Caridina japonica'' หรือกุ้งยะมะโตะ จัดเป็นกุ้งฝอยน้ำจืดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Atyidae นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม กุ้งฝอย ชื่อสามัญของสัตว์น้ำขาปล้องจำพวกครัสเตเชียนจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่มีขนาดเล็กไม่มากนัก โดยมากอยู่ในอันดับย่อย Caridea และ Dendrobranchiata มีขาขนาดเล็กและเรียว พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด มีอายุโดยเฉลี่ย 7 ปี หลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม กุ้งฝอยน้ำจืดชนิดที่พบมากในประเทศไทยคือชนิด Macrobrachium lanchesteri เป็นชนิดที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาเศรษฐกิจหรือปลาสวยงาม จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้งฝอย · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมังกร

วนหางของกุ้งมังกรแช่น้ำแข็ง พร้อมบริโภค ระวังสับสนกับ: ล็อบสเตอร์ สำหรับกุ้งมังกรที่พบในน้ำจืด ดูที่: เครย์ฟิช กุ้งมังกร หรือ กุ้งหัวโขน หรือ กุ้งหนามใหญ่ เป็นครัสเตเชียนทะเลจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่อยู่ในวงศ์ Palinuridae.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้งมังกร · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งแชบ๊วย

กุ้งแชบ๊วย (Banana shrimp; อดีตใช้ Penaeus merguiensis) เป็นกุ้งธรรมชาติ ที่เติบโตในทะเล แต่สามารถกักเก็บได้ตามริมชายฝั่ง เราเรียกว่า วังกุ้ง บริเวณ มหาชัย แม่กลอง สมุทรปราการ เป็นต้น กินแพลงตอนเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกุ้งแชบ๊วย · ดูเพิ่มเติม »

กูปรี

กูปรี หรือ โคไพร (គោព្រៃ ถอดรูปได้ โคไพร แต่อ่านว่า โกเปร็ย หรือ กูปรี แปลว่า วัวป่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และกูปรี · ดูเพิ่มเติม »

มอดแป้ง

มอดแป้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolium castaneum เป็นแมลงศัตรูทางการเกษตรที่สำคัญ โดยปนเปื้อนในโกดังเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวสาร กาแฟ ข้าวโพด เผือก ถั่ว รวมถึงผลผลิตแปรรูป เช่น แป้ง บิสกิต พาสต้า เป็นต้น โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย กินผลผลิตเป็นอาหารและเพิ่มจำนวนมาก มีการสร้างสารเคมีประเภทควิโนน ที่มีกลิ่นเหม็น สร้างความเสียหายกับผลผลิตเป็นอย่างมาก มอดแป้งมีการแพร่กระจายในโกดังเก็บผลผลิตของมนุษย์ทั่วโลก มูลค่าความเสียหายจากมอดแป้ง(และแมลงปีกแข็งชนิดอื่น)เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี Richards S, Gibbs RA, Weinstock GM et al.

ใหม่!!: รายการสัตว์และมอดแป้ง · ดูเพิ่มเติม »

มาคอว์

มาคอว์ (Macaw) เป็นสัตว์ปีกอยู่ในวงศ์ Psittacidae มาคอว์จัดเป็นนกในตระกูลปากขอที่มีขนาดใหญ่ นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากมีสีสันที่สวยงาม เชื่อง และสามารถพูดเลียนเสียงคนได้ มาคอว์ถือเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและอเมริกาใต้ มีสีสันสวยงาม มีเสียงร้องที่ดังมากจะงอยปากจะใหญ่เป็นพิเศษ เหนือปากด้านบนจะมีสีขาวเส้นเล็กๆ คาดระหว่างปากกับหัว บนหัวมีขนสีเขียวสดและสีฟ้า ดวงตามีขนเป็นลายเส้นดำ 4-5 เส้น ขนบริเวณคอจนถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองเข้มและขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ขนาดของนกแก้วมาคอว์มีขนาดตั้งแต่ 32-35 นิ้ว อาหารของมาคอว์คือ ผลไม้และเมล็ดธัญพืช ชอบอยู่กันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กันแบบคู่ใครคู่มัน และไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่เพื่อวางไข่ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 30-35 วัน ขนของลูกนกจะขึ้นหลังจาก 3 สัปดาห์และขึ้นจนเต็มตัวและมีสีสันสวยงาม ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่เมื่ออายุสามเดือน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมันจนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้ และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่อีกต่อไป สืบค้นวันที่ 11 มิถุนายน..

ใหม่!!: รายการสัตว์และมาคอว์ · ดูเพิ่มเติม »

มาโมเสท

มาโมเสท (Marmoset) เป็นลิงในกลุ่มลิงโลกใหม่ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีหางยาว หากินกลางวัน กินผลไม้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์ตระกูล Callithricidae และเป็นลิงขนาดเล็กที่สุดในโลก ลิงมาโมเส็จเป็นลิงที่น้ำหนักประมาณ5-7ขี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และมาโมเสท · ดูเพิ่มเติม »

มด

มด เป็นมดในมด Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และมด · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: รายการสัตว์และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ม้า

ม้า เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัย พวก "เลือดร้อน (hot blood) " ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood) " เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood) " ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ เทพนิยายเกี่ยวกับม้า เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ถูกวีรบุรุษเพอร์ซีอุสฟันคอขาดตาย ในขณะที่นางสิ้นใจตายนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลยซักคน ตอนที่มันเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่มันวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงาม คือน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring).

ใหม่!!: รายการสัตว์และม้า · ดูเพิ่มเติม »

ม้าลาย

thumb ม้าลาย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคี่ จัดอยู่ในสกุลม้า (Eguus) และจัดอยู่ในสกุลย่อย Hippotigris (แปลว่า ม้าลายเสือ) และDolichohippus แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด (ดูในตาราง) thumb.

ใหม่!!: รายการสัตว์และม้าลาย · ดูเพิ่มเติม »

ม้าน้ำ

ม้าน้ำ เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes.

ใหม่!!: รายการสัตว์และม้าน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ยามา (สัตว์)

ำหรับนักบวชในศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต ดูที่ ลามะ ยามา หรือ ลามา (llama,; llama, เสียงอ่าน:; llama) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในตระกูลอูฐ (camelid) ของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นรู้จักกันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมของชาวแอนดีสตั้งแต่สมัยก่อนการเข้ามาของชาวสเปน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และยามา (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

ยุง

ง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes).

ใหม่!!: รายการสัตว์และยุง · ดูเพิ่มเติม »

ยุงก้นปล่อง

Anopheles หรือยุงก้นปล่อง เป็นสกุลของยุงที่ J. W. Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และยุงก้นปล่อง · ดูเพิ่มเติม »

ยุงลาย

Aedes หรือยุงลาย เป็นสกุลของยุงที่เดิมพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ปัจจุบันพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้ยุงลายบางสปีชีส์แพร่กระจาย Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และยุงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟ (สกุล)

thumb ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และยีราฟ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อชื่อปลาทั่วไป

นี่คือรายชื่อชื่อปลาทั่วไป แต่ละชื่ออาจหมายถึงสปีชีส์หรือสกุลเดียว หรือปลาหลายชนิดพร้อมกันก็ได้ นี่เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ หมวดหมู่ปล.

ใหม่!!: รายการสัตว์และรายชื่อชื่อปลาทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อค้างคาว

รายชื่อค้างคาว เป็นการรวบรวมรายชื่อค้างคาวในแต่ละสายพันธุ์ทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของค้างคาว สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อค้างคาว ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อค้างคาวที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่อค้างคาว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และรายชื่อค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่องู

รายชื่องู เป็นการรวบรวมรายชื่องูในแต่ละสายพันธุ์ทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของงู สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่องู ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่องูที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่องู ----.

ใหม่!!: รายการสัตว์และรายชื่องู · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนก

รายชื่อนก เป็นการรวบรวมรายชื่อนกในแต่ละวงศ์ สกุลและชนิดทั่วโลก เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของนก สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อนก ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อนกที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่รายชื่อนก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และรายชื่อนก · ดูเพิ่มเติม »

ละองละมั่ง

thumb thumb ละองละมั่ง (Eld's deer, Thamin, Brow-antlered deer; Pitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004). Evolution and phylogeny of old world deer. Molecular Phylogenetics and Evolution 33: 880–895.) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคำว่า "ลำเมียง" (រេបីស) ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150–170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220–250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95–150 กิโลกรัม ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่ ละองละมั่งพันธุ์ไทยที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ละองละมั่งพันธุ์พม่า ซันไก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และละองละมั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ลา

ลา (donkey หรือ ass) เป็นสัตว์สี่เท้าชนิดที่มีกีบเท้าเดียวชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Equidae บรรพบุรุษที่เป็นสัตว์ป่าของลาคือลาป่าแอฟริกา (E. africanus) ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราชRossel S, Marshall F et al.

ใหม่!!: รายการสัตว์และลา · ดูเพิ่มเติม »

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิง · ดูเพิ่มเติม »

ลิงบาบูน

ลิงบาบูน (Baboons; بابون) เป็นสกุลของลิง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Papio ลิงบาบูนเป็นลิงที่จัดได้ว่ามีขนาดใหญ่ แขนและขายาวเท่ากัน ทำให้สามารถเดินด้วยขาทั้ง 4 ข้างได้เป็นอย่างดี ขณะที่ส่วนหางที่สั้น และร่างกายที่กำยำแข็งแรง ทำให้วิ่งได้รวดเร็วพอ ๆ กับม้า ลิงบาบูนส่วนมากจะหากินและอาศัยบนพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ ตามแถบที่โล่งกว้างมากกว่าที่รกชัฏ โดยจะขึ้นต้นไม้เฉพาะตอนนอนเท่านั้น หากินในเวลากลางวัน มีลักษณะเด่น คือ มีใบหน้ายาวเหมือนสุนัข และมีฟันเขี้ยวที่แข็งแรงและยาวโง้ง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง อาจถึง 200-300 ตัว มีตัวผู้ขนาดใหญ่เป็นจ่าฝูง หากินผลไม้ เมล็ดพืช ตลอดจนสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมงป่องและแมงมุมโดยการพลิกก้อนหินหา หรือแม้กระทั่งล้มสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ไก่ฟ้า หมูป่า หรือแอนทิโลปที่เป็นตัวลูกหรือตัวขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ ลิงบาบูนขึ้นชื่อว่าเป็นลิงที่มีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เนื่องจากเป็นลิงที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก โดยอาจโจมตีทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย แต่กระนั้นก็ยังมีผู้นำมาฝึกให้เล่นละครลิงหรือละครสัตว์ได้ นอกจากนี้แล้ว ลิงบาบูนยังเป็นลิงที่สามารถออกเสียงได้เหมือนกับเสียงสระในภาษาอังกฤษได้อีกด้วย เนื่องจากมีกล้ามเนื้อลิ้นที่สร้างความแตกต่างในการออกเสียงแต่ละสระได้เหมือนกับมนุษย์ และถึงแม้ว่าจะมีกล่องเสียงสูง ซึ่งต่างจากมนุษย์ที่ออกเสียงด้วยการใช้กล่องเสียงต่ำ แต่ลิงบาบูนก็ไม่สามารถที่จะพูดได้จริง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิงบาบูน · ดูเพิ่มเติม »

ลิงกังใต้

ลิงกังใต้ หรือ ลิงกะบุด (Southern pig-tailed macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) มีรูปร่างอ้วนสั้น ขนสั้นสีเทาหรือสีน้ำตาล หน้าค่อนข้างยาว ขนบนหัวสั้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาล และขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนตรงส่วนใต้ท้องมีสีจางจนเกือบขาว ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือดำ หางค่อนข้างสั้น ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีขนปรกหน้าผากน้อยกว่าลิงตัวผู้ อาศัยอยู่ตามป่าดิบบริเวณเชิงเขา ชอบเปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย ไม่ค่อยอยู่เป็นที่ บางตัวออกหากินตัวเดียว ไม่รวมฝูง ชอบลงมาอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่เวลานอนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ ชอบส่งเสียงร้องและมักร้องรับกันทั้งฝูง เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ผสมพันธุ์ได้ทุกฤดู ระยะตั้งท้องประมาณ 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืนราว 25 ปี ตัวผู้หรือแต่ละตัวอาจผสมพันธุ์กับตัวอื่นได้หลายตัว และไม่อยู่เป็นคู่แน่นอน จัดเป็นลิงที่มีสมาชิกในฝูงน้อยกว่าลิงชนิดอื่น ๆ คือ มีไม่เกิน 40-45 ตัว กินอาหารจำพวกผลไม้, เมล็ดพืช และแมลงขนาดเล็ก เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้างแก้มแล้วค่อย ๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย เดิมลิงกังใต้เคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของลิงกังเหนือ (M. leonina) แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกให้เป็นชนิดต่างหาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่คอคอดกระในประเทศไทยลงไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, เกาะบังกา ในประเทศไทย ลิงกังใต้ เป็นลิงที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะมักจะถูกจับมาเลี้ยงและฝึกให้แสดงต่าง ๆ ตามคำสั่ง เช่น ละครลิง หรือปีนต้นมะพร้าวเก็บลูกมะพร้าว ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นรู้จักกันอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นต้น ลิงกังใต้เผือกที่พบที่อำเภอรามัน สำหรับการฝึกให้เก็บมะพร้าว จะใช้ลิงตัวผู้เนื่องจากมีตัวใหญ่ เรี่ยวแรงมากกว่าลิงตัวเมีย ลิงที่จะใช้ฝึกเป็นอย่างดีอยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 3-5 เดือน และต้องเป็นลิงนิสัยดี เชื่อฟังต่อผู้เลี้ยง มีขนเป็นมัน สุขภาพแข็งแรง ฟันไม่มีความผิดปกติ เพราะจะมีผลต่อการกัดขั้วมะพร้าว ซึ่งลิงบางตัวใช้เวลาฝึกเพียง 3 เดือนก็ใช้เก็บมะพร้าวได้แล้ว โดยการฝึกจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มีชาวบ้านที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้พบลิงกังใต้เผือกตัวหนึ่ง ในป่าสวนยางแถบเทือกเขาบูโด โดยพฤติกรรมของลิงตัวนี้แปลกกว่าลิงกังใต้ป่าโดยทั่วไป กล่าวคือ ไม่ดุร้ายก้าวร้าวต่อมนุษย์ และไม่มีอาการตื่นกลัวด้วย ซึ่งผู้ที่พบได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถานะในกฎหมายปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิงกังใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงลม

ลิงลม หรือ นางอาย หรือ ลิงจุ่น (Slow lorises, Lorises; อินโดนีเซีย: Kukang) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสกุลหนึ่ง ในวงศ์ Lorisidae ในอันดับไพรเมต (Primates) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nycticebus (/นิค-ติ-ซี-บัส/).

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิงลม · ดูเพิ่มเติม »

ลิงวอก

ลิงวอก (Rhesus macaque, Rhesus monkey) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) เป็นลิงที่มีร่างกายอ้วนสั้น บริเวณหลัง หัวไหล่ และตะโพกมีสีน้ำตาลปนเทา ส่วนบริเวณใต้ท้องและสีข้างมีสีอ่อนกว่า หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ขนหางค่อนข้างยาวและฟู มีการผลัดขนประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี โดยจะเริ่มที่บริเวณปากก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลัดขนที่หลัง ตัวเมียอาจมีขนสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่หัวของลิงวอกจะชี้ตรงไปด้านหลัง ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 47 – 58.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 20.5 – 28 เซนติเมตร น้ำหนัก 3 – 6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ อัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของอินเดีย, เนปาล, พม่า, ภาคใต้ของจีน, ลาว, เวียดนาม และภาคตะวันตกของไทย โดยในประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่า เหลืออยู่เพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่ วัดถ้ำผาหมากฮ่อ ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป สมาชิกส่วนใหญ่ในฝูงประกอบไปด้วยลิงตัวเมียและลูก ๆ ตัวเมียในฝูงจะมีบาทบาทสำคัญมากกว่าตัวผู้ แต่ลิงตัวผู้จะมีบทบาทในการปกป้องฝูง ลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3 – 4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5 – 7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลิงตัวเมียจะอยู่กับฝูงไปจนตาย แต่ตัวผู้เมื่อโตขึ้น มักจะถูกขับไล่ให้ออกจากฝูง จากการศึกษาพบว่า ลิงวอกมีความสัมพันธ์กับชุมชนมนุษย์มาเป็นเวลานาน แต่การที่ลิงวอกมักเข้ามาอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ไม่กลัวคน ในบางครั้งจึงถูกจับฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและฆ่าเพื่อลดความรำคาญ ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิงวอก · ดูเพิ่มเติม »

ลิงแสม

ลิงแสม (Long-tailed macaque, Crab-eating macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca fascicularis จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิงแสม · ดูเพิ่มเติม »

ลิงเสน

ลิงเสน หรือ ลิงหมี (Stump-tailed macaque, Bear macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca arctoides จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และลิงเสน · ดูเพิ่มเติม »

วอลรัส

วอลรัส (walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในวงศ์ Odobenidae และสกุล Odobenus อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่ตัวใหญ่กว่ามากและมีเขี้ยวยาว วอลรัสเพศผู้โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม และมีอายุยืนถึง 20-30 ปี วอลรัสมีความสำคัญต่อชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตอาร์กติก การล่าวอลรัสในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ส่งผลให้จำนวนวอลรัสลดลง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวอลรัส · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวัว · ดูเพิ่มเติม »

วาฬ

การพ่นน้ำของวาฬเพชฌฆาต (''Orcinus orca'') ครีบหางของวาฬหลังค่อม ซึ่งวาฬแต่ละตัวและมีลักษณะของครีบและหางแตกต่างกันออก ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนก ตัวอย่างเสียงร้องของวาฬ วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ปลาวาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักวิชาการพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬบรูด้า

วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬบรูด้า · ดูเพิ่มเติม »

วาฬฟิน

วาฬฟิน (fin whale, finback whale, common rorqual) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae) วาฬฟินจัดเป็นวาฬขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองมาจากวาฬสีน้ำเงิน (B. musculus) ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน มีขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 27 เมตร น้ำหนักมากกว่า 75 ตัน ขนาดลูกแรกเกิดยาว 6-6.5 เมตร มีลักษณะเด่น คือ สีด้านหลังสีดำ ด้านท้องสีขาวตัดกันชัดเจน มีซี่กรองอาหารจำนวน 240-480 แผง บนขากรรไกรบนแต่ละข้าง ร่องใต้คางมีจำนวน 50-100 ร่อง วาฬฟินพบได้ในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีหลักฐานที่พบเพียงตัวอย่างเดียว เป็นซากโครงกระดูกขุดพบเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬฟิน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน (Blue whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วาฬสีน้ำเงินในขนาดปกติโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 26-29 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาว 31.2 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100-200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเกือบเท่าช้างหนึ่งตัว หัวใจมีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง และเส้นเลือดบางเส้นกว้างขนาดที่มนุษย์พอจะลงไปว่ายน้ำได้ และครีบหางก็มีขนาดกว้างกว่าปีกของเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา มีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกด้วย และแม้จะมีขนาดร่างกายใหญ่โต แต่วาฬสีน้ำเงินก็มีรูปร่างเพรียวยาวเหมาะแก่การว่ายน้ำ จึงสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 20 นอตต่อชั่วโมง ลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 20 นาที แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 40 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยกินเคยวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตัน วาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วง 70 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 500,000 ตัวถูกฆ่าตาย ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 93 จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1950 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,500 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียงที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย ปัจจุบัน มีปริมาณวาฬสีน้ำเงินในซีกโลกใต้อยู่ประมาณ 1,350 ตัว อีกทั้งมีหลักฐานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี แต่ยังไม่มีการประมาณจำนวนวาฬชนิดนี้ที่ดีพอในบริเวณอื่นของโลก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสเปิร์ม

วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (Sperm whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจเพียงครั้งเดียวที่ผิวน้ำที่มีแรงกดดันเท่ากับที่มนุษย์หายใจ ซึ่งในระดับความลึกกว่า 1,000 เมตร แรงกดของอากาศมากกว่าที่ผิวน้ำ 100 เท่า บีบอัดปอดของวาฬให้เหลือเพียงร้อยละ 1 ของปริมาตรทั้งหมด แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ รอยแผลเป็นบนผิวหนังวาฬสเปิร์มจากปุ่มดูดของหมึกมหึมา วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์ม นับเป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการนำเขี้ยวและฟันมาเป็นทำเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพัน และมีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก ราคาแพง ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทยได้ด้วย เรียกว่า "อำพันขี้ปลา" หรือ "อำพันทะเล" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" และที่ส่วนหัวยังมีสารพิเศษคล้ายไขมันหรือขี้ผึ้ง เรียกว่า "ไขปลาวาฬ" ซึ่งใช้ในการผลิตโลชั่น และเวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งวาฬสเปิร์มได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ "โมบิดิก" ของเฮอร์มัน เมลวิลล์ ในปี ค.ศ. 1855 ที่เป็นเรื่องราวของการล่าวาฬสเปิร์มเผือกตัวหนึ่งที่มีนิสัยดุร้าย ชื่อ โมบิดิก หรือในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "พินอคคิโอ" ที่ตอนท้ายเรื่องพินอคคิโอผจญภัยเข้าไปอยู่ในท้องของวาฬ ซึ่งก็คือ วาฬสเปิร์ม เป็นต้น ในปัจจุบัน มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า วาฬสเปิร์มรวมถึงวาฬชนิดอื่น ๆ มีขนาดลำตัวที่เล็กลงจากอดีต บ่งบอกว่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะวาฬสเปิร์มนั้นในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬสเปิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสเปิร์มเล็ก

วาฬสเปิร์มเล็ก หรือ วาฬหัวทุยเล็ก (Pygmy sperm whale) เป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์วาฬสเปิร์มเล็ก (Kogiidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายวาฬสเปิร์ม (Physeter macrocephalus) แต่ตัวมีขนาดเล็กกว่ามาก ครีบหลังเป็นกระโดงขนาดเล็กเมื่อเทียบกับความยาวลำตัวแล้วน้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนหลังสีน้ำเงินดำหัวกลม ส่วนท้องสีขาวบางครั้งอมชมพูช่อง หายใจอยู่ด้านบนเยื้องทางซ้ายนิดหน่อย ขากรรไกรล่างเล็กแคบมีลักษณะคล้ายปากฉลาม คือ เป็นรูปสามเหลี่ยม ฟันลักษณะแหลมโค้งจำนวน 12-16 คู่ บนขากรรไกรล่างส่วนขากรรไกรบนจะไม่เห็นฟันงอกออกมา แต่จะมีร่องรับพอดีกับฟันล่างเวลาหุบปาก ส่วนหัวด้านข้างมีแนวสีเข้มเป็นรูปโค้งคล้ายแก้มปิดเหงือกของปลา ซึ่งเรียกแนวนี้ว่า "เหงือกปลอม" (False gill) ซึ่งมีเฉพาะวาฬในวงศ์นี้เท่านั้น ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 3.4 เมตร น้ำหนักมากถึง 400 กิโลกรัม ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1.2 เมตร ตั้งท้องประมาณ 11 เดือน พบในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบมีรายงานเพียง 5 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, ระยอง และสงขลา จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์มเล็ก ในอดีตเคยเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นชนิดเดียวกันกับวาฬสเปิร์มหรือไม่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1966 สถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐอเมริกาได้ข้อยุติว่าเป็นคนละชนิดกัน โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของวาฬสเปิร์มเล็กถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1838 โดย อองรี มารี ดูโครแตร์ เดอ แบลงวิลล์ นักสัตววิทยาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬสเปิร์มเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วาฬหลังค่อม

วาฬหลังค่อม หรือ วาฬฮัมแบ็ก (Humpback whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทวาฬบาลีน ในวงศ์วาฬอกร่อง (Balaenopteridae) และจัดเป็นวาฬเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megaptera (มีที่มาจากภาษากรีกคำว่า μεγα-"mega" หมายถึง "ใหญ่" และ πτερα-"ptera" หมายถึง "ปีก").

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬหลังค่อม · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเพชฌฆาต

วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกมากที่สุดนอกเหนือจากมนุษ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเพชฌฆาตแปลง

วาฬเพชฌฆาตแปลง หรือ วาฬเพชฌฆาตเทียม หรือ วาฬเพชฌฆาตดำ หรือ โลมาเพชฌฆาตแปลง (False killer whale) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphindae) เป็นวาฬมีฟัน หรือโลมาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudorca มีลักษณะลำตัวยาวสีดำคล้ายกันมากกับวาฬนำร่องครีบสั้น (Globicephala macrorhynchus) ต่างกันที่ลักษณะครีบหลังตั้งอยู่กึ่งกลางลำตัว (วาฬนำร่องครีบสั้นจะตั้งเยื้องมาทางส่วนหัว) และส่วนหัวไม่โหนกมากปลาวาฬนำร่องครีบสั้นสีดำทั้งตัว ส่วนท้องจะเทาจางเล็กน้อยครีบข้างโค้งหักข้อศอกเรียวยาวค่อนข้างแหลม หน้าผากกลมมนไม่มีจะงอยปาก มีจำนวนฟันทั้งหมด 7-12 คู่ ในปาก มีขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 6 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 1.5-2 เมตร การตั้งท้องใช้เวลา 12-14 เดือน นอกจากนี้แล้วในธรรมชาติยังพบมีการผสมข้ามพันธุ์กับโลมาปากขวด (Tursiops truncatus) ด้วย โดยลูกที่ได้เรียกว่า "วูลฟิน" เป็นโลมาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วทั้งโลก โดยมากจะอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในประเทศไทยมีรายงานพบในหลายจังหวัดทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวาฬเพชฌฆาตแปลง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พังพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์เพียงพอน วงศ์พังพอน (mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวงศ์พังพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบลูกศรพิษ

กบลูกศรพิษ (Poison dart frogs, Dart-poison frogs, Poison frogs, Poison arrow frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobatidae.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวงศ์กบลูกศรพิษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบนา

วงศ์กบนา หรือ วงศ์กบแท้ (True frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ranidae (/รา-นิ-ดี/) กบในวงศ์นี้มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายมีส่วนปลายนิ้วเรียวยาวหรือเป็นรูปตัว T ลูกอ๊อดมีช่องจะงอยปากและมีฟัน ช่องเปิดของเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างของด้านซ้ายลำตัว มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ กบโกไลแอท (Conraua goliath) ที่พบในทวีปแอฟริกาที่มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิด บางสกุลมีลำตัวอ้วนป้อมและอาศัยอยู่ในโพรงดิน บางชนิดอาศัยอยู่ในลำธารที่กระแสน้ำไหลแรงและว่ายน้ำได้ดีมาก ก็มีด้วยกันหลายชนิด ในหลายสกุล.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวงศ์กบนา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หอยขม

หอยขม หรือภาษาในบางท้องถิ่นเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป เป็นหอยฝาเดียวที่พบเฉพาะในแหล่งน้ำจืดเท่านั้น นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยส่วนมากจะพบจากแหล่งธรรมชาติ โดยชาวบ้านในท้องที่เก็บมาขาย หรือพบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้สำหรับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา แต่ในปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยขมในกระชังโดยเฉพาะ หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวงศ์หอยขม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หนูทุ่ง

วงศ์หนูทุ่ง เป็นวงศ์ของสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กจำพวกหนูวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Cricetidae เป็นวงศ์ที่มีสมาชิกหลากหลายมากมาย อาทิ แฮมสเตอร์, แฮมสเตอร์แคระ, หนูเลมมิ่ง, หนูทุ่ง ซึ่งยังสามารถแยกออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก (ในบางข้อมูลจัดให้เป็นวงศ์เดียวกับ Muridae) หนูในวงศ์นี้มีประมาณ 600 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะในซีกโลกใหม่ และยังพบได้ที่ ยุโรป และเอเชีย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยขนาดเล็กที่สุด คือ หนูแคระโลกใหม่ มีขนาดยาวประมาณ 5–8 เซนติเมตร (2.0–3.1 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 7 กรัม (0.25 ออนซ์) จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด คือ หนูมัสก์ ที่ยาว 41–62 เซนติเมตร (16–24 นิ้ว) และมีน้ำหนัก 1,100 กรัม (39 ออนซ์) หางมีความเรียวยาวไม่มีขนและมีเกล็ด มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ใช้สำหรับทรงตัวและเกาะเกี่ยวได้โดยเฉพาะหนูที่อาศัยอยู่ในท้องทุ่ง หรือพื้นที่เกษตรกรรม ขนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลและส่วนท้องสีขาว แต่ก็มีสีต่าง ๆ แตกต่างกันไปได้ เช่นเดียวกับหนูในวงศ์ Muridae คือ พบได้แทบทุกภูมิประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่อาร์กติกเซอร์เคิล, ท้องทุ่ง, ทะเลทรายที่แห้งแล้ง, บ้านเรือนของมนุษย์ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยปกติเป็นสัตว์ที่กินเมล็ดพืชเป็นอาหาร แต่ก็กินอาหารได้หลากหลายมาก เช่น เนื้อสัตว์, ซากสัตว์, อาหารที่กินเหลือ, แมลง เป็นต้น ฟันมีลักษณะเป็นฟันแทะที่งอกใหม่ได้ตลอดเวลา ในอัตราปีละ 5 นิ้ว เป็นฟันที่มีความแข็งแรง ซึ่งทำให้แทะได้แม้แต่สายไฟ หรือฝาผนังปูนซีเมนต์ สามารถเขียนเป็นสูตรฟันได้ว่า เป็นสัตว์ที่มีระบบเผาพลาญพลังงานหรือแมตาบอลิซึมเร็วมาก ในวันหนึ่งหัวใจเต้นได้เร็วมาก ถึงขนาดเมื่อเทียบกับหัวใจของช้างจะเท่ากับหัวใจของช้างเต้นถึง 70 ปี จึงเป็นสัตว์ที่มีความตื่นตัว ว่องไวตลอดเวลา โดยจะกินอาหารแทบทุกชั่วโมง โดยวันหนึ่ง สามารถกินอาหารได้มากถึงร้อยละ 40 ของน้ำหนักตัว เทียบเท่ากับมนุษย์กินซีเรียลมากถึงวันละ 80 กล่อง และเมื่อไปถึงที่ไหนมักจะถ่ายฉี่ไว้ ซึ่งเป็นการปล่อยฟีโรโมน รวมถึงการถ่ายมูลทิ้งไว้ด้วย Mouse: A Secret Life, "Animal Planet Showcase" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: รายการสัตว์และวงศ์หนูทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์บก

สัตว์บก เป็นสิ่งมีชีวิต ที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน มีทั้ง 2ขาและ 4ขาหรือมากกว่านั้น ไม่นับคน จะอาศัยใช้ชีวิตอยู่บนบก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ ๆ คือ พวกที่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ไก่ พวกออกลูกเป็นตัวเช่น แมว สุนัข ช้าง พวกที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่น จิงโจ้ และพวกที่มีรก โดยส่วนใหญ่สัตว์ตัวเมียมีนมให้ลูกกิน หมวดหมู่:สัตว์บก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสัตว์บก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สางห่า

ในที่เลี้ยง สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และสางห่า · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตทะเล

งโตทะเล หรือ หมีทะเล (Sea lions, Sea bears) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ในอันดับ Pinnipedia หรือแมวน้ำ จัดเป็นแมวน้ำมีหูจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ตั้งแต่ทะเลเขตหนาวแถบขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติก และเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นในทวีปแอฟริกาหรืออเมริกาใต้ หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น เกาะกาลาปากอส สิงโตทะเล มีลักษณะแตกต่างจากแมวน้ำ คือ มีใบหูขนาดเล็กที่ข้างหัวทั้งสองข้าง สามารถใช้ครีบทั้งสี่ข้างนั้นคืบคลานไปมาบนบกได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิน ต่างจากแมวน้ำที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่ออยู่บนบกครีบของแมวน้ำใช้ได้เพียงแค่คืบคลานหรือกระเถิบตัวเพื่อให้เคลื่อนที่เท่านั้น สิงโตทะเลโดยทั่วไปมีอายุโดยเฉลี่ย 20–30 ปี อาหารหลัก คือ ปลาและปลาหมึก มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดในแต่ละภูมิภาค โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ สิงโตทะเลสเตลลาร์ (Eumetopias jubatus) ที่ตัวผู้อาจยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม สิงโตทะเลชนิดที่พบได้บ่อย คือ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (Zalophus californianus) ตัวผู้มีความยาว 2.41 เมตร เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนัก 300 กิโลกรัม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และสิงโตทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: รายการสัตว์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมัด

ำสำคัญ "หมัด" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมัด · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่า

หมาป่า หรือ หมาป่าสีแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่าดิงโก

หมาป่าดิงโก (อังกฤษ: Dingo) สุนัขป่าชนิดหนึ่ง พบได้เฉพาะที่ออสเตรเลียเท่านั้น หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขป่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายสุนัขบ้านมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของหมาป่าดิงโก สืบเชื้อสายมาจากสุนัขบ้านจากเอเชียอาคเนย์ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) โดยเข้ามาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อราว 3,000-4,000 ปีก่อน หมาป่าดิงโกจัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์สุนัข (Canidae) ที่พบในออสเตรเลีย แผนที่แสดงความเป็นไปได้ในการอพยพของหมาป่าดิงโก หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขป่าขนสั้น หางเป็นพวง สีขนมีหลากหลายมาก ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ในบางตัวอาจมีสีเทาหรือแดง แม้กระทั่งขาวล้วนหรือดำล้วนก็มี มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีนิสัยดุร้ายและปราดเปรียวมาก แม้พื้นที่ ๆ อาศัยอยู่จะเป็นทะเลทรายหรือที่ราบกว้างใหญ่ แต่หมาป่าดิงโกก็สามารถป่ายปีนก้อนหินหรือหน้าผาได้อย่างคล่องแคล่ว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ สูงประมาณ 52-60 เซนติเมตร ความยาวลำตัวตั้งแต่ปลายจมูกจรดหาง 117-124 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 13-24 กิโลกรัม หมาป่าดิงโกจัดเป็นสัตว์อันตรายชนิดหนึ่งในออสเตรเลีย โดยจะโจมตีใส่สัตว์เลี้ยงของมนุษย์เช่น แกะ หรือ ม้า ได้ แม้กระทั่งโจมตีใส่มนุษย์และทำร้ายจนถึงแก่ความตายได้ด้วย หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขที่ไม่เชื่อง ดังนั้น จึงตกเป็นสัตว์ที่ถูกล่าในศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน หมาป่าดิงโก มีสถานะที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ ในทางตอนใต้และตะวันออกของออสเตรเลีย มีการแบ่งเขตเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หมาป่าดิงโก เพื่อไม่ให้หมาป่าดิงโกเข้ามาปะปนกับมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่น โดยกั้นเป็นรั้วยาวกว่าครึ่งของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจัดเป็นแนวรั้วที่ยาวที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 2010 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้เปิดเผยผลการวิจัยว่า จากการศึกษาดีเอ็นเอพบว่า หมาป่าดิงโกและสุนัขป่านิวกินี (C. l. hallstromi) ซึ่งเป็นสุนัขป่าพื้นเมืองของเกาะนิวกินี นั้นเป็นสายพันธุ์สุนัขป่าที่ใกล้เคียงกับสุนัขบ้านมากที่สุด และถือเป็นสายพันธุ์สุนัขแท้ ๆ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันนี้สุนัขทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ใกล้สูญพันธุ์อย่างเต็มที่แล้ว โดยเฉพาะหมาป่าดิงโกที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะการผสมข้ามสายพันธุ์ เพราะกว่า 80 เปอร์เซนต์ ของหมาป่าดิงโกที่อาศัยแถบชายฝั่งทางตะวันออกของออสเตรเลียเป็นพันธุ์ผสมที่ผสมกับสุนัขสายพันธุ์อื่น ในปัจจุบันหมาป่าดิงโกสายพันธุ์แท้หลงเหลือเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เกาะเฟรเซอร์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมาป่าดิงโก · ดูเพิ่มเติม »

หมาใน

หมาใน, หมาป่าเอเชีย หรือ หมาแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก จมูกสั้น ใบหูกลมมีขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นมีสีน้ำตาลแดง สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางยาวเป็นพวง ปลายหางมีสีเทาเข้มหรือดำ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยูในสกุล Cuon มีความยาวลำตัวและหัว 80–90 เซนติเมตร ความยาวหาง 30.5–34.5 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10–21 กิโลกรัม เพศเมีย 10–13 กิโลกรัม หมาในมีฟันที่แข็งแรงแต่มีฟันกรามล่างเพียงข้างละ 2 ซี่เท่านั้น ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์สุนัขชนิดอื่น ๆ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ทำให้มีชนิดย่อย ถึง 11 ชนิด พบตั้งแต่ภาคใต้ของไซบีเรีย เรื่อยมาจนถึงคาบสมุทรเกาหลี, เนปาล, อินเดีย, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเกาะชวาในอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยฝูงหนึ่ง ๆ มีสมาชิกตั้งแต่ 6–12 ตัว โดยสมาชิกแต่ละตัวจะมีหน้าที่ช่วยกันล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระทิง ควายป่า หรือ กวางป่า มีความเชื่อว่า ก่อนล่าเหยื่อจะปัสสาวะรดพื้นหรือใบไม้เมื่อเหยื่อดมถูกจะเกิดความหวาดกลัวจนยืนแข็งทำอะไรไม่ถูก จึงเชื่อว่า สามารถทำให้เหยื่อตาบอดได้ด้วยวิธีนี้ ฝูงหมาในมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือด ภายในกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ 2–3 ครอบครัว ออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน แต่ในบางครั้งอาจล่าในเวลากลางคืนหรือพลบค่ำหรือเช้าตรู่ได้ อาหารโดยปกติ ได้แก่ สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า, เก้ง และกระต่ายป่า แต่ในบางสถานการณ์ที่อาหารขาดแคลน อาจกินลูกตัวเองเป็นอาหารได้ หมาในระบบประสาทหู ตา และการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 8–10 ตัว ตามโพรงดินหรือในถ้ำที่ปลอดภัย แม่หมาในมีเต้านม 8 คู่ ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีขนสีน้ำตาลเทา มีอายุในที่เลี้ยงประมาณ 16 ปี ในธรรมชาติราว 10 ปี ฝูงหมาในล่ากวางป่า ที่อุทยานแห่งชาติบันดิเปอร์ ประเทศเนปาล สถานภาพในประเทศไทย เป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดที่สามารถพบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิด คือ หมาจิ้งจอก) จากเดิมที่เคยพบในป่าทั่วประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่านั้น และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมาใน · ดูเพิ่มเติม »

หมาไม้

หมาไม้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างคล้ายพญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) มีลักษณะเด่นคือ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงหน้าอกมีสีเหลือง ส่วนหัวด้านบนมีสีดำ ขาสั้นเมื่อเทียบกับขนาดตัว ตัวผู้มีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย หางยาวพอ ๆ กับความยาวลำตัว หมาไม้ชนิดย่อยที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของทวีปเอเชียจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความยาวลำตัวและหัว 45–60 เซนติเมตร ความยาวหาง 38–43 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–3 กิโลกรัม หมาไม้เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวแรงมาก มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมาก สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์ฟันแทะ, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน, นก หรือ ไข่นก บางครั้งอาจเข้ามาหาอาหารที่นักท่องเที่ยวป่าทิ้งไว้ตามเต๊นท์ นอกจากนี้ยังสามารถกินผึ้งและน้ำผึ้งเหมือนหมีได้อีกด้วย มักหากินในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจหากินในเวลากลางคืน มักจะหากินแต่เพียงลำพังหรือเป็นคู่ไม่มากกว่านั้น หมาไม้ตัวเมียจะตั้งท้องนาน 220–290 วัน ออกลูกครั้งละ 3–5 ตัว อายุขัยในสถานที่เลี้ยงประมาณ 14 ปี เป็นสัตว์ที่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของปากีสถาน, รัฐแคชเมียร์และรัฐอัสสัมของอินเดีย, ภาคเหนือของพม่า, ภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน, ไต้หวัน, ไทย, ลาว, ตอนเหนือของกัมพูชา, ภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว สถานะของหมาไม้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมาไม้ · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกล้วย

ลื่อนไหวของหมึกหอม หมึกกล้วย เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมึกกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

หมู

หมู หรือ สุกร เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ ซึ่งมีบรรพบุรุษ คือ หมูป่า (Sus scrofa) สามารถจำแนกเป็นสปีชีส์ย่อยของหมูป่าหรือเป็นอีกสปีชีส์หนึ่งแยกต่างหาก หัวและความยาวลำตัวอยู่ระหว่าง 0.9 ถึง 1.8 เมตร ตัวโตเต็มวัยหนักระหว่าง 50 ถึง 350 กิโลกรัม สุกรแม้จะเป็นสัตว์กีบคู่ซึ่งมักกินพืชเป็นอาหาร แต่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเหมือนกับบรรพบุรุษหมูป่า สุกรมีวิวัฒนาการกระเพาะอาหารใหญ่ขึ้นและลำไส้ยาวขึ้นเพราะพืชย่อยได้ยากกว่าเนื้อ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมู · ดูเพิ่มเติม »

หมูหริ่ง

หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง หรือ หมูดิน (hog badger, Indian badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctonyx collaris อยู่ในวงศ์ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเพียงพอนหรือวีเซล โดยที่หมูหริ่งอยู่ในสกุล Arctonyx นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมี

หมี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมี · ดูเพิ่มเติม »

หมีสีน้ำตาล

หมีสีน้ำตาล (Brown bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่มาก โดยตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย เมื่อยืน 4 เท้ามีความสูงถึง 5 ฟุต และเมื่อยืนด้วย 2 เท้า อาจสูงถึง 9 ฟุต แต่ยืนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักมากถึง 1,000 ปอนด์ ส่วนตัวเมียอาจมีน้ำหนักมากกว่า 450 ปอนด์ มีขนสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ ปุ่มหรือเนินตรงหัวไหล่ มีขนและเล็บยาว มีจมูกที่ใหญ่ แต่มีใบหูขนาดเล็ก แต่จะมีขนสีเข้มหรืออ่อนไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่อาศัย รวมถึงขนาดตัวด้วย ซึ่งถือเป็นชนิดย่อย (ดูในตาราง) โดยกระจายพันธุ์ไปในพื้นที่ ๆ กว้างไกลมาก ตั้งแต่อะแลสกา, แคนาดา, รัสเซีย, หลายพื้นที่ในยุโรป และตามแนวเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย, เนปาล และจีน และตะวันออกกลาง หมีสีน้ำตาลกินอาหารได้หลากหลายมาก ทั้งพืชและสัตว์ โดยหากเป็นพืชมักจะเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่ บางครั้งกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง หรือ หนู แต่บางครั้งก็กินสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า, วัวป่า, กวาง รวมถึงซากสัตว์ ในช่วงฤดูกาลที่มีอาหารสมบูรณ์ อาหารที่หมีสีน้ำตาลชอบมาก คือ ปลาแซลมอน และปลาเทราท์ หมีสีน้ำตาลตัวเมียต้องมีอายุ 4 ถึง 10 ปี จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และให้กำเนิดลูกโดยเฉลี่ย 2 ตัว ในระยะเวลา 4 ปี ฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน แม่หมีจะให้กำเนิดลูกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปกติ 2-3 ตัว โดยลูกหมีที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และยังไม่มีขน ลูกหมีจะอาศัยอยู่ในถ้ำที่แม่หมีขุดขึ้นมาจนกระทั่งถึงเดือนเมษายน หรืออาจถึงเดือนมิถุนายน และเริ่มหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และเริ่มเรียนรู้ว่า พืชหรือสัตว์ประเภทไหนที่ใช้เป็นอาหาร ลูกหมีจะอยู่กับแม่อย่างน้อยอีก 1 ปี หรือมากกว่านั้น จากนั้นจึงเริ่มแยกตัวออกไป ส่วนในฤดูหนาว หมีสีน้ำตาลจะจำศีลในถ้ำเป็นระยะเวลาราว 2 เดือน โดยใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมีสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

หมีหมา

หมีหมา หรือ หมีคน (Malayan sun bear, Honey bear;; อีสาน: เหมือย).

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมีหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมีขอ

หมีขอ หรือ บินตุรง หรือ หมีกระรอก (Binturong, Bearcat;; อีสาน: เหง็นหางขอ, เหง็นหมี) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แม้จะมีหน้าตาคล้ายหมีจนได้ชื่อว่าหมี แต่เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น (Viverridae) ที่ใหญ่ที่สุด จัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในสกุล Arctictis มีหางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวสีดำและหยาบ สีขนบริเวณหัวอาจมีสีเทา หูกลม บริเวณขอบหูมีสีขาว หางที่ยาวสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้เป็นอย่างดี มีความยาวลำตัวและหัว 61-96.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 50-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 9-20 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ภาคตะวันตกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, พรมแดนระหว่างเวียดนามติดกับลาวและกัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวในอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ หมีขอเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน อาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในบางครั้งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประกอบไปด้วย แม่และลูก ในเวลากลางวันจะอาศัยโพรงไม้เป็นที่หลับนอน อาหารได้แก่ ผลไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ บนต้นไม้ทั้งแมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ปีนต้นไม้ได้เก่งมาก โดยใช้หางที่ยาวเกาะเกี่ยวกิ่งไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย มีการผสมพันธุ์กันได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 92 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว หมีขอตัวเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 2 คู่ ลูกที่เกิดใหม่ยังไม่สามารถขาและหางเกี่ยวกิ่งไม้ได้ชำนาญเหมือนตัวพ่อแม่ หมีขอเป็นสัตว์ที่เลี้ยงตั้งแต่เล็กแล้วจะเชื่อง จนสามารถนำมาฝึกให้แสดงโชว์ต่าง ๆ ได้ตามสวนสัตว์ สถานะปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมีขอ · ดูเพิ่มเติม »

หมีขาว

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (polar bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมีขาว · ดูเพิ่มเติม »

หมีดำ

หมีดำ (American Black Bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีถิ่นที่อยู่ในป่าทางตอนเหนือของอเมริกา พบได้ทั่วไปในป่าร้อนชื้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมีดำ · ดูเพิ่มเติม »

หมีควาย

หมีควาย หรือ หมีดำเอเชีย (Asian black bear, Asiatic black bear) จัดเป็นหมี 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งคือ หมีหมา (U. malayanus)).

ใหม่!!: รายการสัตว์และหมีควาย · ดูเพิ่มเติม »

หอย

หอยเบี้ย (''Monetaria moneta'') ที่มนุษย์ในสมัยก่อนใช้แทนเงินตรา หอย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีจุดเด่น คือ มีเปลือกที่เป็นแคลเซียมแข็ง ใช้ห่อหุ้มลำตัว โดยปกติแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หรือ 3 จำพวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอย · ดูเพิ่มเติม »

หอยชักตีน

หอยชักตีน เป็นชื่อของหอยทะเลชนิดฝาเดียวเปลือกบางชนิดหนึ่ง โดยมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ขนาดเล็ก บางทีจึงเรียกว่า หอยสังข์ตีนเดียว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยชักตีน · ดูเพิ่มเติม »

หอยมือเสือ

มุกของหอยมือเสือยักษ์ หอยมือเสือ (Giant clam) เป็นสกุลของหอยสองฝาขนาดใหญ่ ในวงศ์หอยมือเสือ (Tridacninae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tridacna (/ไทร-แดก-นา/).

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

หอยลาย

หอยลาย (Surf clam, Short necked clam, Carpet clam, Venus shell, Baby clam) เป็นหอยฝาคู่ ที่อยู่ในวงศ์หอยลาย (Veneridae) ลักษณะเปลือกมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ฝาทั้งสองฝามีขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกของเปลือกหอยเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน และมีลวดลายหยักเป็นเส้นคล้ายตาข่ายตลอดความยาวของผิวเปลือก เส้นลายหยักเหล่านี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนผิวเปลือกด้านในเรียบมีสีขาว ในส่วนของบานพับ ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างฝาทั้งสองมีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก ๆ ฝาละ 3 ซี่ พบกระจายพันธุ์ในน้ำลึกประมาณ 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นทรายลึกประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดชลบุรี, บางปะกง, สมุทรปราการ, ตราด, สุราษฎร์ธานี หอยลายผัดน้ำพริกเผา นับเป็นหอยลายชนิด 1 ใน 3 ชนิดในสกุล Paphia ที่พบได้ในน่านน้ำไทย และเป็นชนิดที่นิยมรับมาประทานมากที่สุด สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดน้ำพริกเผากับใบกะเพรา และนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยลาย · ดูเพิ่มเติม »

หอยสังข์

หอยสังข์ยักษ์ออสเตรเลีย (''Syrinx aruanus'') ซึ่งเป็นหอยกาบเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกhttp://www.qm.qld.gov.au/Find+out+about/Animals+of+Queensland/Molluscs/Gastropods/Marine+snails/Syrinx+-+Worlds+largest+snail ''Syrinx'' - the world's largest snail en หอยสังข์ หรือ สังข์ หรือ สังข (Conch; શંખ) เป็นชื่อสามัญของหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดหลายสกุล (โดยมากหมายถึงสกุล Strombus) ในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Charonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ 2 ขอน เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยสังข์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยหมวกเจ๊ก

หอยหมวกเจ๊ก (Limpet) จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสคา เป็นกลุ่มของหอยฝาเดียวมีหลายชนิด พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เปลือกนูนขึ้นมีรูปร่างคล้ายหมวกของชาวจีน มีหลายสี ทั้งน้ำตาล ม่วง ดำ ขาว อาศัยอยู่บนหินในเขตน้ำขึ้นน้ำลง กินสาหร่ายเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยหมวกเจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หอยหลอด

หอยหลอด เป็นชื่อสามัญของหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Solenidae ชนิดที่พบในไทย เช่น S. corneus, S. exiguus, S. malaccensis, S. regularis, S. strictus, S. thailandicus ในสกุล Solen เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยหลอด · ดูเพิ่มเติม »

หอยหวาน

หอยหวาน หรือ หอยตุ๊กแก หรือ หอยเทพรส (Spotted babylon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Babylonia areolata) เป็นหอยทะเลฝาเดี่ยวชนิดหนึ่ง มีเปลือกที่ค่อนข้างหนารูปไข่ ผิวเรียบสีขาวมีลวดลายสีน้ำตาลเข้ม มีหนวด 1 คู่ ตา 1 คู่ มีท่อ มีเท้าขนาดใหญ่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ในระดับความลึกตั้งแต่ 2–20 เมตร พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่ ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลจีนใต้ และไต้หวัน กินอาหารโดยใช้อวัยวะที่เป็นท่อสีขาวยื่นออกมา โดยจะยื่นปลายท่อไปยังอาหารและส่งน้ำย่อยออกไปและดูดอาหารกลับทางท่อเข้าร่างกาย หลังกินอาหารแล้ว ก็จะเคลื่อนที่ไปฝังตัวใต้ทราย ซึ่งอาหารได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40–100 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยหอยตัวเมียจะวางไข่เป็นฟัก วางไข่ครั้งละประมาณ 20–70 ฝัก โดยวางไข่ได้ทั้งปี ระยะเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะวางไข่ได้มากที่สุด ฝักไข่มีความกว้างเฉลี่ย 10.32 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 29.31 มิลลิเมตร มีก้านยึดติดกับวัตถุในพื้นทะเล เช่น เม็ดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 5–7 วัน ลูกหอยวัยอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอน คือ ลอยไปมาตามกระแสน้ำ กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ระยะเวลาเติบโตจนเป็นวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 1 ปี ปัจจุบัน หอยหวานถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นอาชีพ แต่ทว่าปริมาณหอยที่ได้นั้นยังไม่เพียงพอต่อการตล.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยหวาน · ดูเพิ่มเติม »

หอยทาก

หอยทาก หอยทาก (Snail) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบมีหอยทาก มากกว่า 500 ชนิด หมวดหมู่:หอยฝาเดี่ยว หมวดหมู่:มอลลัสกาที่รับประทานได้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยทาก · ดูเพิ่มเติม »

หอยปากกระจาด

หอยปากกระจาด (Dog Whelk) จัดอยู่ไฟลัมมอลลัสคา เป็นหอยฝาเดียว เปลือกทรงกรวย ปลายยอดแหลม มีทั้งชนิดที่เปลือกเรียบและเปลือกไม่เรียบ มีได้ทั้งสีน้ำตาล สีดำ หรือน้ำตาลปนดำ กินซากสัตว์เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามหาดทรายหรือหาดเลน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยปากกระจาด · ดูเพิ่มเติม »

หอยนางรม

หอยนางรม หอยนางรมกำลังอ้าปากกินแพลงตอนใต้น้ำ หอยนางรม หรือ หอยอีรมบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยนางรม · ดูเพิ่มเติม »

หอยแมลงภู่

หอยแมลงภู่ จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสคาเป็นหอยสองฝา สีของเปลือกเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย กล่าวคือ ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง หอยแมลงภู่ ขนาดความยาวของเปลือกหอยที่สามารถสืบพันธุ์ได้มีความยาวตั้งแต่ 2.13 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวตั้งแต่ 4-20 เซนติเมตร เป็นหอยที่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก กินอาหารแบบกรองกิน ซึ่งกินได้ทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ หอยแมลงภู่มีทั้งเพศแยก และมีสองเพศในตัวเดียวกัน มีการผสมพันธุ์นอกลำตัว หอยเพศผู้จะมีลำตัวหรือที่ห่อหุ้มตัวสีครีมหรือขาว ส่วนเพศเมียจะมีสีส้ม มีช่วงฤดูสืบพันธุ์อยู่ 2 ช่วงในรอบ 1 ปี คือช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ หอยแมลงภู่ อาศัยด้วยการเกาะตามโขดหินและตามไม้ไผ่บริเวณชายฝั่งทะเล ห่างฝั่งประมาณ 1,000-3,000 เมตร ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล หอยแมลงภู่เมื่อปรุงสุกแล้ว เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น หอยทอด, ออส่วน เป็นต้น เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะเลี้ยงกันมาเป็นเวลานาน โดยที่พันธุ์ของหอย เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจะอาศัยจากธรรมชาติ ที่เมื่อหอยในธรรมชาติได้ผสมพันธุ์และปฏิสนธิเป็นลูกหอยตัวอ่อน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กลอยไปตามกระแสน้ำแบบแพลงก์ตอนแล้ว จะใช้วัสดุที่เพาะเลี้ยงปักลงไปในทะเล เพื่อให้ลูกหอยนั้นเกาะอาศัยตลาดสดสนามเป้า, รายการทางช่อง 5: อาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2555 แบ่งออกได้เป็น การเลี้ยงแบบปักหลักล่อลูกหอย, การเลี้ยงแบบแพ, การเลี้ยงแบบแขวนบนราวเชือก และการเลี้ยงแบบตาข่ายเชือก แบบที่นิยมเลี้ยงกันมาก คือ แบบปักหลักล่อลูกหอย โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ลวกในการล่อลูกหอยในระดับน้ำลึก 4-6 เมตร และเลี้ยงจนมีขนาดใหญ่ ถึงขนาดต้องการ บางแห่งนิยมใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโป๊ะ เพื่อดักจับปลาและล่อลูกหอยในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตารางเมตร จะปักหลักได้ประมาณ 1,200 หลัก ทั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 6-8 เดือน จะได้หอยขนาดความยาวเฉลี่ย 5-6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่สามารถส่งตลาด แต่ก็เป็นสัตว์ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมมาก เช่น อุณหภูมิร้อน หรือน้ำเสีย หรือมีน้ำจืดปะปนลงมาในทะเลเป็นจำนวนมาก หอยก็จะตาย ซึ่งภายในรอบปีสามารถเลี้ยงได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยสามารถนำไปบดเพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ และผสมทำเป็น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยแมลงภู่ · ดูเพิ่มเติม »

หอยแครง

หอยแครง เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยแครง · ดูเพิ่มเติม »

หอยเชลล์

หอยเชลล์ หรือ หอยพัด (Scallop) เป็นสัตว์มอลลัสกาฝาคู่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ Pectinidae หอยเชลล์พบได้ทุกมหาสมุทรของโลก หอยเชลล์จำนวนมากเป็นแหล่งอาหารราคาสูง ทั้งเปลือกสีสว่าง รูปพัดของหอยเชลล์บางตัว พร้อมกับแบบร่องเว้าแผ่ออกจากศูนย์กลาง ทำให้มีค่าสำหรับนักสะสมหอย โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคำว่า "scallop" แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า escalope หมายถึง "เปลือก".

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยเชอรี่

หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled applesnail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยเชอรี่ · ดูเพิ่มเติม »

หอยเต้าปูน

หอยเต้าปูน (Cone snail, Cone shell) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา ชั้นแกสโทรโพดา เป็นสัตว์นักล่า พบได้ตามแถบแนวปะการัง เปลือกมีสีสันสดใส และมีลวดลายสวยงาม ดึงดูดสายตา แต่มีบางสายพันธุ์ที่สีของหอยเต้าปูนจะซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อเยื่อพิเศษ ที่ยังไม่ทราบการทำงานที่แน่ชัด (Periostracum) บางชนิดในแถบทะเลเขตร้อน จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมากกว่า 500 สปีชี่ส์ จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มักจะล่าหนอนทะเล ปลาเล็ก ๆ หอย หรือแม้กระทั่งหอยเต้าปูนด้วยกันเองเป็นอาหาร เนื่องจากเคลื่อนที่ได้ช้า จึงมีการพัฒนาอาวุธเฉพาะตัวขึ้นมาคือ เข็มพิษ (venomous harpoon) เพื่อใช้สำหรับล่าเหยื่อและทำให้เหยื่อหมดสติก่อนกลายเป็นอาหาร ที่มีความรวดเร็วสูง ซึ่งในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ พิษของหอยเต้าปูนมีความรุนแรงมากพอที่จะฆ่าคนได้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยเต้าปูน · ดูเพิ่มเติม »

หอยเป๋าฮื้อ

หอยเป๋าฮื้อ หรือหอยโข่งทะเล สามารถรับประทานได้มีตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึง ขนาดใหญ่ เป็นสัตว์ในวงศ์ Haliotidae มีฝาเดียว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหอยเป๋าฮื้อ · ดูเพิ่มเติม »

หนอน

องหนอน Proserpinus proserpina หนอน (larva) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อตัวอ่อนของแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola โดยมี 4 ระยะการเจริญเติบโต คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย ตามลำดับ ลักษณะของตัวหนอนจะไม่มีตารวม มีปีกที่เจริญอยู่ภายใน ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตขึ้นไปได้หลายระยะ โดยการลอกคราบจนถึงระยะสุดท้ายจะลอกคราบกลายเป็นดักแด้ พบได้ในแมลงจำพวก แมลงช้าง แมลงปีกใส ด้วง หนอนปลอกน้ำ ผีเสื้อ แมลงวัน หมัด ผึ้ง ต่อ แตน และ มด คำว่า หนอน อาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตจำพวก หนอนพยาธิ (worm) เช่น หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน รวมทั้งไส้เดือนและหนอนทะเลด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหนอน · ดูเพิ่มเติม »

หนอนถั่ว

หนอนถั่ว (Sipuncula) เป็นสิ่งมีชีวิตอาศัยตามทราย โคลน ซอกหิน รอยแยกของปะการัง ในทะเลน้ำตื้น ถึง น้ำลึก ลักษณะลำตัวกลมยาวไม่มีขา ผิวไม่เรียบ เป็นร่องสันทั่วตัวคล้ายเปลือกถั่วลิสง ปลายด้านหนึ่งยืดหดได้คล้ายคอ มีกระจุกหนวดไว้คอยหาอาหาร หนอนถั่วมีอยู่ประมาณ 350 ชนิดพัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหนอนถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

หนอนท่อ

หนอนท่อ (Keelworm) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ไฟลัมแอนเนลิดา วงศ์ Serpulidae ความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พบในท่อหินปูนแข็งที่ติดตามก้อนหิน อาศัยในเขตน้ำขึ้นน้ำลง กินอาหารโดยการกรองตะกอนจากน้ำทะเล.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหนอนท่อ · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหนู · ดูเพิ่มเติม »

หนูผี

หนูผี (Shrews) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Soricidae ครั้งหนึ่ง หนูผีเคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) หนูผี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนู ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งเป็นสัตว์คนละอันดับมาก แต่ทว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก มีฟันที่แหลมคมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ตามลำตัวมีขนที่อ่อนนุ่มสีคล้ำปกคลุม ตาและใบหูมีขนาดเล็กมากฝังอยู่ในขน ดังนั้นตาและหูของหนูผีใช้การไม่ค่อยดี จึงอาศัยประสาทการดมกลิ่นจากจมูกเป็นหลัก โดยมักจะกระดุกกระดิกจมูกสอดส่ายหากลิ่นตามพื้นดิน หรือบางครั้งก็ชูขึ้นสูดกลิ่นในอากาศ หนูผี โดยขุดรูตื้น ๆ อยู่ในดินหรือซุกซ่อนในพงหญ้า กินอาหารหลักจำพวก แมลง และอาจมีเมล็ดพืชบ้าง หนูผีเป็นสัตว์ที่มีระบบการเผาผลาญอาหารสูงมาก ดังนั้น จึงจะหากินอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับ 3 ชั่วโมง เป็นเช่นนี้สลับกันไปตลอด หากไม่เช่นแล้ว อาจทำให้ถึงตายได้ หนูผี เป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยดุร้าย มักกัดกันเองเสมอ ๆ โดยหากเมื่อต่อสู้กันแล้ว มักจะขู่ศัตรูด้วยการยืนด้วยสองขาหลังส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้หนีไป หากได้กัดแล้ว จะกัดด้วยการกัดที่หางและขาหลังของกันและกันเป็นวงกลมเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเสียงดังข่มขู่กันตลอด หนูผี บางชนิดเมื่อกัดแล้วมีพิษ และถือเป็นสัตว์ที่มีต่อมน้ำพิษที่มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้น หนูผีจึงมักไม่ค่อยตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นนกเค้าแมว หนูผี ทำรังด้วยใบไม้และฟาง ออกลูกครอกละ 5-8 ตัว ปีหนึ่ง ๆ อาจออกได้หลายครอก ลูกอ่อนจะสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้เมื่อมีอายุได้ 5 สัปดาห์ แต่หนูผีมักมีอายุสั้นไม่เกินหนึ่งปี กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทุกทวีปของโลก พบในหลากหลายภูมิประเทศ รวมถึงในบ้านเรือนของมนุษย์ หนูผีที่พบในบ้านจะไม่ทำลายข้าวของเหมือนเช่นหนูบ้านทั่วไป เนื่องด้วยไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ แต่อาจจะมีขโมยเศษอาหารได้ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็บสาบรุนแรง และอาจจะจับแมลงสาบกินได้ และกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของหนูผีจะไล่หนูบ้านออกไปได้ นอกจากนี้แล้ว หนูผียังสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เก่งกว่าหนูมาก โดยสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานถึง 20 วินาที เพื่อจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น หอย หรือตัวอ่อนของแมลงปอ กินเป็นอาหาร หนูผี ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 385 ชนิด ใน 26 สกุล แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง)สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ หนูผีบ้าน (Suncus murinus), หนูผีจิ๋ว (S. etrusucs), และชนิดที่พบได้ในป่าและทุ่งนา เช่น หนูผีป่า (S. malayanus), หนูผีภูเขา (Crocidura monticola) เป็นต้น โดยที่ครั้งหนึ่ง หนูผีจิ๋วที่พบได้ในทวีปยุโรปและในไทยด้วย เคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมาแล้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และหนูผี · ดูเพิ่มเติม »

ห่าน

ห่าน จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้าน หรือกำจัดวัชพืชในสวน และนำมาเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร ห่าน จัดเป็นนกขนาดใหญ่ที่อยู่ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ด, หงส์ และนกเป็ดน้ำชนิดต่าง ๆ ห่านมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหงส์ แต่หงส์มีขนาดใหญ่กว่า และมีจุดเด่น คือ ในตัวผู้เมื่อถึงวัยโตเต็มที่แล้วจะมีปุ่มเนื้อแข็งหรือโหนกบริเวณก่อนถึงจะงอยปากตอนบน เด่นเห็นได้ชัดเจน ห่าน แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล ด้วยกัน (ดูในตาราง) แต่ในส่วนในประเทศไทยที่กลายมาเป็นต้นสายพันธุ์ห่านที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ห่านเทาปากชมพู (Anser anser) และห่านเทาปากดำ (A. cygnoides) ห่าน เป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยว่ามีตัวใหญ่ มีเนื้อในปริมาณที่มาก นิยมปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ขาห่านอบหม้อดินกับเส้นบะหมี่ในอาหารจีน และชาวจีนมีความเชื่อว่า หากไหว้เจ้าด้วยห่านจะส่งผลให้ลูกหลานรับราชการเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และห่าน · ดูเพิ่มเติม »

ออริกซ์

ออริกซ์ (oryx) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่เคี้ยวเอื้อง จำพวกแอนทิโลปหรือกาเซลล์ พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ มีลักษณะเด่น คือ เป็นแอนทิโลปขนาดใหญ่ และมีเขาที่บิดเป็นเกลียวยาวแหลม เห็นได้ชัดเจน มีใบหน้ารวมถึงลำตัวช่วงขาที่เป็นลายสีเส้นดำพาดผ่าน ขณะที่ตามลำตัวเป็นสีขาวหรือสีสว่าง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และออริกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลปากา

อัลปากา (Alpaca; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicugna pacos) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามา อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของประเทศเปรู ตอนเหนือของประเทศโบลิเวีย ประเทศเอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลี อัลปากาเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนมาก โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต).

ใหม่!!: รายการสัตว์และอัลปากา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอันดับกบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระแต

ฟันของกระแต กระแต (1920.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Scandentia กระแต มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับกระรอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) รวมทั้งมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน หากแต่กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ไม่ได้เป็นฟันแทะ แบ่งออกเป็นฟันตัด 4 ซี่ ที่ขากรรไกรบน และ 6 ซี่ที่ขากรรไกรล่าง สามรถเขียนเป็นสูตรได้ว่า จึงไม่สามารถที่จะกัดแทะผลไม้หรือไม้เปลือกแข็งอย่างกระรอกได้ และมีนิ้วที่ขาคู่หน้า 5 นิ้ว ที่เจริญและใช้ในการหยิบจับได้ดี เหมือนเช่นสัตว์ในอันดับไพรเมต (Primate) หรืออันดับวานร กระแตมีขนปกลุมลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลเหมือนกระรอก มีหางยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร กระแต นั้นหากินทั้งบนพื้นดิน โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ กินได้ทั้งพืช และสัตว์เล็ก ๆ อย่าง แมลง หรือหนอน เป็นอาหาร โดยมากจะหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งก็พบอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว เป็นฝูงเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว โดยที่ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ชะมด หรืออีเห็น, แมวป่า หรือนกล่าเหยื่อ อย่าง เหยี่ยว หรืออินทรี ด้วย กระแต กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าทวีปเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีทั้งหมด 19 ชนิด 5 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) และกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis), กระแตเล็ก (T. minor), กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และกระแตหางหนู (Dendrogale murina) เดิม กระแตเคยถูกจัดรวมอยู่อันดับเดียวกับอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) เช่น หนูผี แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นอันดับต่างหาก และกระแตถูกสันนิษฐานว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับอันดับไพรเมตด้วย ด้วยมีนิ้วที่เท้าหน้าคล้ายคลึงกัน โดยวิวัฒนาการแยกออกจากกันในยุคอีโอซีนตอนกลาง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเม่น

ม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ" โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์ เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

อาร์มาดิลโล

รงกระดูกอาร์มาดิลโลเก้าแถบ อาร์มาดิลโล (armadillo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับ Cingulata ในอันดับใหญ่ ซีนาร์ทรา อาร์มาดิลโลมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหน้าและจมูกที่ยาว มีปากขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ มีกรงเล็บที่แหลมคมทั้งตีนหน้าและตีนหลัง ใช้สำหรับขุดทำโพรงอยู่อาศัยและขุดหาอาหารกิน กินอาหารโดยการใช้ลิ้นที่ยื่นยาวและน้ำลายที่เหนียวตวัดกินแมลงจำพวกมด ปลวก และหนอนตามพื้นดิน และมีเกราะหุ้มอยู่ตามตัวเป็นแผ่น ๆ มีข้อต่อเชื่อมต่อกันเหมือนชุดเกราะ โดยเฉพาะที่หัวไหล่และด้านท้ายลำตัว ทำให้ดูเหมือนกับลิ่นซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับ Pholidota มาก แต่ทั้งอาร์มาดิลโลและลิ่นเป็นสัตว์ที่อยู่ต่างอันดับกัน และอยู่ในอันดับใหญ่คนละอันดับกันด้วย โดยอาร์มาดิลโลมีความใกล้เคียงกับสลอทหรือตัวกินมดมากกว่า แต่ในอดีตทั้งอาร์มาดิลโลและลิ่นเคยถูกจัดอยู่ในอันดับเดียวกัน คือ Edentata ซึ่งแปลว่า "ไม่มีฟัน" แต่ความจริงแล้ว อาร์มาดิลโลมีฟัน เป็นฟันกรามที่มีขนาดเล็ก และไม่แข็งแรง บรรพบุรุษของอาร์มาดิลโลที่สูญพันธุ์ไปแล้วราว 10,000 ปีก่อน มีชื่อว่า "คลิปโตดอน" ที่มีขนาดตัวใหญ่เท่ากับรถยนต์คันเล็ก ๆ คันหนึ่ง คลิปโตดอนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีเกราะที่หุ้มตัวเป็นชิ้น ๆ รูปหกเหลี่ยม ไม่เหมือนกับอาร์มาดิลโลในปัจจุบัน ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีโครงกระดูกของคลิปโตดอนที่สมบูรณ์แบบจัดแสดงอยู่ เป็นตัวอย่างที่ชาลส์ ดาร์วิน ได้ส่งมาให้เมื่อครั้งเดินทางไปสำรวจที่ทวีปอเมริกาใต้ เมื่ออาร์มาดิลโลถูกคุกคามแล้วจะขดตัวเป็นวงกลมคล้ายลูกบอล โดยเก็บส่วนหน้าและขาทั้ง 4 ข้างไว้ เหมือนกับลิ่น โดยที่ชื่อ armadillo นั้นในภาษาสเปนออกเสียงว่า "อาร์มาดีโย" และมีความหมายว่า "ตัวหุ้มเกราะน้อย" ขณะที่ชาวแอซเท็ก จะเรียกว่า azotochtli หมายถึง "กระต่ายเต่า" แต่ชื่อในภาษาถิ่นของชาวลาตินอเมริกาในปัจจุบันจะเรียกว่า ปีชี (Pichi) This book used the term "azotochtli", but that word is wrong.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอาร์มาดิลโล · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวนา

อิกัวนา (อังกฤษและiguana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าในสกุล Iguana ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) และในวงศ์ย่อย Iguaninae พบกระจายพันธุ์ในเม็กซิโก, อเมริกากลาง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคแคริบเบียนและพอลินีเซีย กิ้งก่าสกุลนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในเชิงวิทยาศาสตร์เมื่อปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และอิกัวนา · ดูเพิ่มเติม »

อิคิดนา

อีคิดนา (Echidna) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ตัวกินมดหนาม (Spiky Anteater) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย พบในนิวกินีและออสเตรเลีย นอกจากตุ่นปากเป็ดแล้วมีเพียงอีคิดนาเท่านั้น ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสองชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอิคิดนา · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งอ่าง

อึ่งอ่าง หรือ อึ่งยาง (accessdate) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในสกุล Kaloula ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) วงศ์ย่อย Microhylinae พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ลักษณะโดยทั่วไป มีผิวหนังมันลื่น มีสีนํ้าตาลลายขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน มักร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองโดยเฉพาะหลังฝนตกที่มีอากาศเย็นชื้น เสียงร้องดังระงม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

อุรังอุตัง

อุรังอุตัง (Orangutan) เป็นไพรเมตจำพวกลิงไม่มีหาง ที่อยู่ในสกุล Pongo (/พอง-โก/) เป็นสัตว์พื้นเมืองของเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น มีขนาดใหญ่คล้ายมนุษย์ ไม่มีหาง หูเล็ก แขนและขายาว ตัวผู้มีน้ำหนัก 75–200 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนัก 50–80 กิโลกรัม มีขนหยาบสีแดงรุงรัง เมื่อโตขึ้นกระพุ้งแก้มจะห้อยเป็นถุงขนาดใหญ่ มันชอบอยู่บนต้นไม้โดดเดี่ยว เว้นแต่ช่วงผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ ชอบห้อยโหนจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง มีการสร้างรังนอน แบบเดียวกับชิมแปนซี เชื่อง ไม่ดุ หัดง่ายแต่เมื่อเติบโตแล้วจะดุมาก เมื่ออุรังอุตังอายุ 10 ปี จะสามารถผสมพันธุ์ได้ ออกลูกทีละ 1 ตัว และอายุยืนถึง 40 ปีเลย ปัจจุบัน เป็นสัตว์หายาก อาหารหลักคือผลไม้ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะทุเรียน นอกจากนี้ยังกินแมลง ไข่นก สัตว์เล็ก ๆ อื่น ๆ อีกด้วย แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ (สูญพันธุ์ไป 1).

ใหม่!!: รายการสัตว์และอุรังอุตัง · ดูเพิ่มเติม »

อีกา

thumb อีกา หรือ กา (jungle crow, large-billed crow, thick-billed crow, แปลว่านกกาที่มีปากใหญ่) เป็นนกกาที่กระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในเอเชีย ปรับตัวได้เก่ง สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทำให้ขยายไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัตว์รังควานโดยเฉพาะในเกาะต่าง ๆ มีปากใหญ่ ทำให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า macrorhynchos ซึ่งเป็นคำกรีกโบราณแปลว่า ปากใหญ่ และมีชื่ออังกฤษว่า large-billed crow (นกกาปากใหญ่) หรือ thick-billed crow (นกกาปากหนา) บางครั้งมองผิดว่าเป็น นกเรเวน นกมีพันธุ์ย่อยถึง 11 ชนิด ที่แตกต่างกันทางเสียงร้อง ทางสัณฐาน และทางพันธุกรรม ทำให้มีแนวคิดว่า จริง ๆ อาจจะเป็นนกหลายพันธุ์ พันธุ์ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอีกา · ดูเพิ่มเติม »

อีแลนด์

อีแลนด์ (Eland) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Taurotragus อีแลนด์ จัดเป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปแอฟริกา น้ำหนักตัวหลายร้อยกิโลกรัม (ประมาณ 800-900 กิโลกรัมในตัวผู้ และ 300-500 กิโลกรัมในตัวเมีย) อีแลนด์มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร และความยาวลำตัวได้ถึง 2.4-3.4 เมตร มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาของตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่า แต่เขาของตัวเมียมีความยาวกว่า เนื้อของอีแลนด์มีโปรตีนมากกว่าเนื้อวัวและไขมันน้อยกว่า และนมของอีแลนด์มีระดับแคลเซียมสูงมาก ด้วยเหตุนี้อีแลนด์จึงได้รับการคัดเลือกว่ามีคุณภาพและปริมาณเนื้อนมในแอสคาเนีย-โนวาสวนสัตว์ในยูเครน แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจในยุโรป แต่อีแลนด์ในแอฟริกาบางท้องถิ่นชาวพื้นเมืองได้เลี้ยงไว้เพื่อทำการทำไร่ไถ่นาเหมือนกับควายในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเสือโคร่ง หรือ อีเห็นลายพาด (Banded palm civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemigalus derbyanus มีรูปร่างหน้าตาเหมือนสัตว์จำพวกอีเห็นหรือชะมดทั่วไป แต่มีหน้ายาวและมีรูปร่างเพรียวบางกว่า ขนตามลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีดำ 7-8 แถบพาดขวางลำตัว โดยแถบดังกล่าวมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมยาว ๆ และมีแถบสีดำพาดยาวผ่านใบหน้าและหน้าผาก 2 เส้น ด้านล่างของลำตัวและขามีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง มีหูยาวและมีประสิทธิภาพในการฟังเสียงที่สูง ตามีขนาดใหญ่ ส่วนโคนหางจะมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ มีต้อมกลิ่นขนาดเล็ก สามารถหดเล็บเก็บได้เหมือนพวกแมว มีความยาวลำตัวและหัว 45-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-32.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว มักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ มักอาศัยและออกหากินตามลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ หรือ มีลูกอ่อนที่อาจพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 หรือ 3 ตัว ออกหากินในเวลากลางคืน มีลิ้นที่สากเหมือนพวกแมว กินสัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง, ไส้เดือน, มด, แมงมุม, สัตว์น้ำขนาดเล็ก หอยทาก รวมทั้งพืช อย่าง ผลไม้เป็นต้น ปัจจุบัน การศึกษานิเวศวิทยาของอีเห็นลายเสือโคร่งนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบเห็นตัวได้ยาก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอีเห็นลายเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นหน้าขาว

อีเห็นหน้าขาว หรือ อีเห็นหูด่าง (Small-toothed palm civet) เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctogalidia trivirgata มีรูปร่างหน้าตาคล้ายอีเห็นเครือ (Paguma larvata) แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีขนที่แตกต่างหลากหลายออกไป ในบางตัวอาจมีสีน้ำตาลแดง บางตัวเป็นสีน้ำตาลดำ มีลักษณะเด่นคือ ขอบใบหูจะมีสีขาว บริเวณหลังมีแถบสีดำ 3 เส้นพาดเป็นทางยาวจนถึงโคนหาง บางตัวอาจมีลายเส้นสีขาวพาดยาวมาจรดปลายจมูก หางมีความยาวมากใช้สำหรับทรงตัวบนต้นไม้ ตัวเมียจะมีเต้านม 2 คู่ และมีต่อมกลิ่นด้วย มีความยาวลำตัวและหัว 43-53 เซนติเมตร ความยาวหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-2.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัม, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีชนิดย่อยทั้งหมด 14 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าเบญจพรรณ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตามลำพังและหากินบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไวกว่าอีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hermaphroditus) มาก โดยมักล่าสัตว์ที่อยู่บนต้นไม้เป็นอาหาร เช่น หนู, กระรอก, นก และช่วยควบคุมปริมาณกระรอกที่ทำลายสวนมะพร้าวไม่ให้มีมากไป สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 45 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอีเห็นหน้าขาว · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นข้างลาย

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้ (Asian palm civet) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วยหน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอีเห็นข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

อ้นใหญ่

อ้นใหญ่ (Bamboo rat, Large bamboo rat, Indomalayan bamboo rat) เป็นสัตว์ฟันแทะที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhizomys sumatrensis อยู่ในวงศ์ Spalacidae มีลำตัวกลมอ้วนป้อมสีน้ำตาล มีตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น เพื่อความสะดวกในการขุดโพรงอยู่ใต้ดิน อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือโพรงไม้ มีฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด กินหน่อไม้และไม้ไผ่เป็นอาหาร มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าไผ่หรือป่าโปร่ง ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยในโพรงจะมีด้วยกันหลายห้อง ใช้ประโยชน์ต่างกัน อ้นใหญ่นับเป็นอ้น 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย อ้นใหญ่, อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius) อ้นใหญ่นับเป็นอ้นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยวัดจากปลายหัวจรดปลายหางได้ถึง 48 เซนติเมตร เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ในประเทศไทย ที่วัดหนองปรือ จังหวัดกำแพงเพชร พระสงฆ์ที่พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ได้ทำการเลี้ยงดูอ้นใหญ่จำนวนกว่า 10 ตัวในบ่อปูนซีเมนต์ ความสูงประมาณ 150 เซนติเมตร โดยทำการเลี้ยงมานานกว่า 6 ปี จนกระทั่งเชื่อง สามารถอุ้มเล่นได้ ให้อาหารเป็นมันแกวกับข้าวโพด ตัวที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 8 กิโลกรัม โดยเริ่มจากขอซื้อจากชาวบ้านที่กำลังจะฆ่าเพื่อนำไปรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และอ้นใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปโปเตมัส

ปโปโปเตมัส หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ฮิปโป (Hippopotamus; Hippo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ จัดอยู่ในวงศ์ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamidae) โดยเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน (อีกชนิดนั้นคือ ฮิปโปโปเตมัสแคระ (Choeropsis liberiensis) ที่พบในป่าดิบชื้นของแอฟริกาตะวันตก) ชื่อ "ฮิปโปโปเตมัส" มาจากภาษากรีกคำว่า ἵππος (hippos) หมายถึง "ม้า" และ ποταμός (potamos) หมายถึง "แม่น้ำ" รวมแล้วหมายถึง "ม้าแม่น้ำ" หรือ "ม้าน้ำ" (ἱπποπόταμος) เนื่องจากมีส่วนหัวคล้ายม้ามาก โดยเฉพาะยามเมื่ออยู่ในน้ำ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และฮิปโปโปเตมัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปโปเตมัสแคระ

ปโปโปเตมัสแคระ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฮิปโปแคระ (Pygmy hippopotamus; หรือ Hexaprotodon liberiensis) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamidae) ฮิปโปโปเตมัสแคระ จัดเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน อีกชนิดหนึ่งนั้นคือ ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus amphibius) ซึ่งถือเป็นญาติสนิท ฮิปโปโปเตมัสแคระมีรูปร่างทั่วไปคล้ายฮิปโปโปเตมัส แต่ว่ามีรูปร่างแตกต่างกันมากทีเดียว โดยมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของฮิปโปโปเตมัสเท่านั้น มีความสูงจากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ไม่เกิน 1 เมตร (3 ฟุต) มีความยาวลำตัวประมาณ 75–100 เซนติเมตร (2.46–3.28 ฟุต) และน้ำหนักประมาณ 180–275 กิโลกรัม (397–606 ปอนด์) อายุขัยไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่อายุในที่เลี้ยงสูงสุด 30–55 ปี เชื่อว่าในธรรมชาติไม่น่าจะมีอายุได้ยาวนานขนาดนี้ มีสีผิวที่เข้มกว่าฮิปโปโปเตมัส คือ มีสีเขียวเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวกลมกว่าฮิปโปโปเตมัส ส่วนหลังโค้งขึ้นและลาดต่ำลงมาทางก้น ผิวหนังเรียบลื่น ตามลำตัวแทบไม่มีขน ยกเว้นขนเพียงไม่กี่เส้น ที่บริเวณริมฝีปากและหาง เบ้าตาอยู่ด้านข้างของหัว และมีเหงื่อใส ไม่เข้มเป็นสีแดงเหมือนเลือดแบบฮิปโปโปเตมัส อีกทั้งฮิปโปโปเตมัสแคระ ยังมีอุปนิสัยและพฤติกรรมต่างจากฮิปโปโปเตมัสอีกด้วย กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่รักสันโดษ อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ขี้อาย และหวาดกลัวมนุษย์ เป็นสัตว์ที่แม้ประสาทการมองเห็นไม่ดี แต่ประสาทการดมกลิ่นนั้นดีเยี่ยม กินอาหารจำพวก พืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น มันเทศ, ผลไม้ที่หล่นตามพื้น, หญ้า รวมถึงกินดินโป่งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ร่างกายเหมือนกับสัตว์กินพืชชนิดอื่นด้วย โดยจะพบกระจายพันธุ์ได้เฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำในป่าดิบชื้นของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น คือ แถบประเทศไลบีเรีย, กินี, เซียร์ราลีโอน และโกตดิวัวร์ พฤติกรรมโดยทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด รวมถึงมีภาพบันทึกความเป็นอยู่ในธรรมชาติทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้น เท่าที่ทราบ คือ เป็นสัตว์หากินกลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวหรือแช่น้ำ จะรวมตัวกันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ มีแหล่งอาศัยโดยใช้เขี้ยวคู่หน้าที่แหลมยาวขุดโพรงดินริมตลิ่งน้ำใช้เป็นที่อยู่อาศัย ในที่ ๆ มีกิ่งไม้หรือรากไม้หรือวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ มาปกปิดไว้ ความยาวของโพรงอาจยาวได้ถึง 9 เมตร นับว่าใหญ่กว่าขนาดตัวของฮิปโปโปเตมัสแคระมาก และอาจมีทางเข้ามากกว่าหนึ่งทาง โดยจะดำน้ำเข้าไป และเชื่อว่าใช้เป็นที่เลี้ยงดูลูกอ่อนด้วย ลักษณะของหัวกะโหลก ฮิปโปโปเตมัสแคระคู่ แม้ฮิปโปโปเตมัสแคระจะเป็นสัตว์ที่สันโดษ อยู่อาศัยและหากินเพียงตัวเดียว แต่จากการศึกษาก็พบว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระสามารถใช้เส้นทางการหากินร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวได้ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย แม้จะไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ฮิปโปโปเตมัสแคระมีการประกาศอาณาเขตด้วยการถ่ายปัสสาวะและมูลโดยใช้หางสะบัดใส่ตามโคนต้นไม้หรือตามทางเดินหาอาหาร และมีทฤษฎีว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระมีพฤติกรรมในการปล่อยฟีโรโมนคล้ายแมว เมื่อฮิปโปโปเตมัสแคระตัวเดิมเดินมาพบกับฟีโรโมนของตัวเอง จะเป็นแรงกระตุ้นให้รู้สึกสดชื่นและคึกคัก ปัจจุบัน สถานะในธรรมชาติของฮิปโปโปเตมัสแคระจัดว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยเพราะการตัดไม้ทำลายป่า อีกทั้งยังถูกล่าเพื่อเอาเนื้อมาบริโภค และนำหนังมาทำเป็นแส้ของชาวพื้นเมืองแอฟริกาด้วย โดยฮิปโปโปเตมัสแคระมีการคุ้มครองที่อุทยานแห่งชาติตาอีในโกตดิวัวร์ แต่ในไลบีเรียที่อยู่ติดกันกลับไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เนื้อของฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นมีรสชาติอร่อยเหมือนเนื้อหมูป่า จึงนิยมซื้อขายกันในตลาดค้าสัตว์ป่าเถื่อน ฮิปโปโปเตมัสแคระ ในธรรมชาติปัจจุบันเหลือเพียงไม่เกิน 3,000 ตัว แต่ส่วนที่เลี้ยงในสวนสัตว์ทั่วทั้งโลกมีประมาณ 350 ตัว และมีการคลอดลูก ในประเทศไทยมีเลี้ยงเช่นที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว และสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษคล้ายกับวัว คือ ตัวผู้เรียกว่า bull ตัวเมียเรียกว่า cow ขณะที่ลูกฮิปโปโปเตมัสแคระเรียกว่า calf ส่วนฝูงฮิปโปโปเตมัสแคระเรียกว่า herd หรือ bloa.

ใหม่!!: รายการสัตว์และฮิปโปโปเตมัสแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ผึ้ง

ำหรับผึ้งในความหมายอื่น ดูที่: ผึ้ง ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่ มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว ฟาโรห์เมเนสของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อ

ผีเสื้อ อาจหมายถึง; สัตว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อแดง

ผีเสื้อแดง (Red Admiral Butterfly) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นแแมลงบินได้ชนิด ผีเสื้อกลางวัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และผีเสื้อแดง · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อใบไม้ใหญ่อินเดีย

ผีเสื้อใบไม้ใหญ่อินเดีย (Orange Oakleaf) เป็นผีเสื้อที่พบได้ในทวีปเอเชีย มีลักษณะเด่นคือปีกคล้ายใบไม้แห้ง จึงสามารถอำพรางตัวในธรรมชาติได้เป็นอย่างดี มีความยาวประมาณ 8.5-11 เซนติเมตร ปีกส่วนบนจะเป็นสีน้ำเงิน ปลายปีกมีสีดำพาดด้วยสีส้มเหลืองระหว่างกลาง ปีกล่างมีสีน้ำตาลลักษณะจะเหมือนใบไม้แห้ง มีหนวดสีน้ำตาลเข้ม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และผีเสื้อใบไม้ใหญ่อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้ตีนเป็ด

แอลลิเกเตอร์ หรือ จระเข้ตีนเป็ด (Alligators; เรียกสั้น ๆ ว่า เกเตอร์: Gators) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodilia) ในวงศ์ Alligatoridae ใช้ชื่อสกุลว่า Alligator แอลลิเกเตอร์เป็นจระเข้ที่อยู่ในวงศ์ Alligatoridae ซึ่งแยกมาจากจระเข้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่จะอยู่ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งแยกออกมาจากกันราว 200 ล้านปีก่อน ในมหายุคมีโซโซอิก และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง แอลลิเกเตอร์จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae หรือจระเข้ทั่วไป คือ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นจะงอยปากสั้นและเป็นรูปตัวยู รูจมูกมีขนาดใหญ่ และเมื่อหุบปากแล้วฟันล่างจะไม่โผล่ออกมาให้เห็น เพราะมีส่วปลายของหัวแผ่กว้างและขากรรไกรยาว ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกแอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ่นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น ปัจจุบัน แอลลิเกเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งถือเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ที่พบในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว ซึ่งคำว่า แอลลิเกเตอร์นั้น มาจากภาษาสเปนคำว่า "Lagarto" หมายถึง "สัตว์เลื้อยคลาน".

ใหม่!!: รายการสัตว์และจระเข้ตีนเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้น้ำจืด

ระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย (freshwater crocodile, Siamese crocodile) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเวียดนาม, กัมพูชา, ลาว ไทย, กาลีมันตัน, ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3 - 4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10-12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20-48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว โดยปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่เช่นที่ทะเลสาบเขมร ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะทิวเขาพนมกระวาน ซึ่งช่วงแรกค้นพบเพียง 3 ตัว จนนำไปสู่การค้นพบจระเข้นับร้อยตัวที่อาศัยโดยไม่พึ่งพาอาศัยมนุษย์ แต่ที่นี่ก็ประสบปัญหาการจับจระเข้ไปขายฟาร์มจำนวนมาก สถานะในอนุสัญญาของไซเตส ได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1) ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจระเข้น้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้น้ำเค็ม

ระเข้น้ำเค็ม หรือ จระเข้น้ำกร่อย หรือ ไอ้เคี่ยม หรือ จระเข้ทองหลาง(Saltwater crocodile, Estuarine crocodile) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Crocodylidae เป็นจระเข้ 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 2 ชนิด คือ จระเข้น้ำจืดและตะโขง) มีลักษณะทั่วไปคล้ายจระเข้น้ำจืด จุดที่แตกต่างกันคือ ขาคู่หลังมีลักษณะแข็งแรงกว่าขาคู่หน้าและมีเพียง 4 นิ้วมีพังผืดระหว่างนิ้วตีนมากกว่าจระเข้น้ำจืด จะงอยปากยาวและส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีฟันประมาณ 60 ซี่ ลักษณะแตกต่างจากจระเข้น้ำจืดคือไม่มีเกล็ด 4 เกล็ดที่ท้ายทอย ปากยาวกว่าจระเข้น้ำจืดอย่างเห็นได้ชัด มีสันเล็ก ๆ ยื่นจากลูกตาไปตามความยาวของส่วนหัวจนถึงตำแหน่งของปุ่มจมูก หรือที่เรียกว่าก้อนขี้หมา สีลำตัวออกเหลืองอ่อนหรือสีขาว และมีการเรียงตัวที่ส่วนหาง ดูคล้ายตาหมากรุก ตัวผู้มีความยาวหางยาวกว่าตัวเมีย แต่ลำตัวของตัวผู้ผอมเพรียวกว่าแต่โดยรวมแล้วขนาดลำตัวของตัวเมียจะเล็กกว่าเมื่อเทียบกันตัวต่อตัว และระยะห่างของโหนกหลังตาจะกว้างกว่าหัวของตัวผู้ดูป้อมสั้น ตัวเมียจะดูหัวยาวเรียว จระเข้น้ำเค็มจัดว่าเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ได้ถึง 4-5 เมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ บริเวณนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี มักอาศัยอยู่ในป่าโกงกางหรือป่าชายเลนในที่ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี ตัวเมียอายุ 10 ปี แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุ 12 ปี มีขนาดยาว 2.2 เมตร มีการผสมพันธุ์ในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูฝน ครั้งละ 25-90 ฟอง การวางไข่จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 80 วัน ขนาดของไข่จระเข้น้ำเค็มจะใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืดเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 110-120 กรัม จระเข้น้ำเค็มมีอุปนิสัยดุร้ายมาก สามารถโจมตีสัตว์ที่โดยปกติไม่ใช่อาหารได้ เช่น มนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางถิ่นของออสเตรเลียที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในเรื่องการโจมตีมนุษย์ของจระเข้น้ำเค็ม อีกทั้งมีการกัดของกรามได้อย่างรุนแรงมากที่สุดในโลก โดยมีแรงมากถึง 1,700 ปอนด์ และสามารถกระโดดงับเหยื่อได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสัตว์เลื้อยคลายขนาดใหญ่เช่นนี้ จนกระทั่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Man Eater" ซึ่งในสวนสัตว์บางแห่งได้ใช้ความสามารถพิเศษอันนี้หลอกล่อให้จระเข้กระโดดงับเหยื่อที่แขวนล่อไว้เพื่อแสดงแก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม ในทางอุตสาหกรรม หนังของจระเข้น้ำเค็มมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องหนังมากกว่าจระเข้น้ำจืด เพราะมีหนังที่เหนียวทนทานกว่า จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ แต่ทว่าด้วยความที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการจระเข้จะโตและให้ผลผลิตที่ดีได้ จึงนิยมผสมข้ามสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นเพื่อให้ได้จระเข้ลูกผสมที่จะให้ผลผลิตที่เร็วกว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจระเข้น้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

จามรี

มรี (Yak, Grunting ox; як; 犛牛; พินอิน: Máoniú; มองโกล: Сарлаг; ฮินดี: याक) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์วัวและควาย (Bovidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และจามรี · ดูเพิ่มเติม »

จิงโจ้

งโจ้ (Kangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ในประเภทนี้ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย จิงโจ้นั้นจัดออกได้เป็นหลากหลายประเภท ในหลายวงศ์, หลายสกุล แต่ทั้งหมดจัดอยู่ในอันดับ Macropodiformes หรือที่เรียกในชื่อสามัญว่า "แมคโครพอด" (Macropod) ที่หมายถึง "ตีนใหญ่" แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายกัน (แต่โดยปกติแล้ว จิงโจ้จะหมายถึงแมคโครพอดที่อยู่ในสกุล Macropus) คือ มีขาหลังที่ยาวแข็งแกร่ง ทรงพลัง ใช้ในการกระโดด และมีส่วนหางที่แข็งแรง ใช้ในการทรงตัว และใช้ในการกร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจิงโจ้ · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งจกบ้าน

้งจกบ้าน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจก เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่อยู่ในสกุล Hemidactylus พบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแพร่พันธุ์ไปในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งแอฟริกาตะวันออก, นิวกินี, เม็กซิโก, มาดากัสการ์, ออสเตรเลีย และหลายพื้นที่ทั่วโลก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามที่พักอาศัย สำหรับชนิดที่พบได้บ่อยและแพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คือ จิ้งจกบ้านหางแบน (H. platyurus) และจิ้งจกบ้านหางหนาม (H. frenatus) มีสี่เท้า มีลำตัวขนาดเล็ก ลำตัวแบน หัวสั้น และมีหาง ไม่มีม่านตา โดยเฉลี่ยลำตัวจะมีความยาว 3 นิ้ว ตัวเต็มวัยอาจจะถึง 5 นิ้ว มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม ลิ้นสั้นแต่ยืดออกได้ ผิวหนังค่อนข้างละเอียด ตัวมักมีสีขาวหรือคล้ำ สามารถปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม เท้าเหนียวช่วยให้ไต่ไปตามเพดานหรือข้างฝาได้ มักอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน (2004):.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจิ้งจกบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลน

้งเหลน (Skink, ชื่อวิทยาศาสตร์: Scincidae) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์ Scincidae มีรูปร่างโดยรวม คือ ลดรูปรยางค์ขาแตกต่างกันหลายระดับเพราะบางชนิดมีขาใหญ่ บางชนิดมีขาเล็กมาก และบางชนิดไม่มีขา มีรูปร่างแตกต่างกันตั้งแต่ลำตัวป้อมและขาใหญ่ไปจนถึงลำตัวเรียวยาวคล้ายงู เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้นซึ่งแตกต่างจากกิ้งก่าวงศ์อื่น ๆ ที่มีชั้นเดียว ลักษณะจำเพาะและแตกต่างจากกิ้งก่าวงศ์อื่นอีกประการ คือ หลายชนิดของวงศ์นี้มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์ควาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟันหรือไม่มีฟัน วงศ์จิ้งเหลนนี้ถือว่าเป็นวงศ์ที่ใหญ่มาก สามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) แบ่งออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ได้ถึง 116 สกุล และเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ราว 1,000 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะการค้นพบใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี สำหรับสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ จิ้งเหลนบ้าน (Eutropis multifasciata) ที่สารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจิ้งเหลน · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลนบ้าน

้งเหลนบ้าน (East Indian brown mabuya, Many-lined sun skink, Many-striped skink, Common sun skink, Golden skink; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eutropis multifasciata) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) นับเป็นจิ้งเหลนชนิดที่ได้ง่ายและบ่อยที่สุดในประเทศไทย มีลำตัวหนา แต่หลังแบนจึงดูคล้ายว่ามีลำตัวเป็นรูปสี่เหลียมทรงกระบอก หัวและลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือบทอง เกล็ดมีความเงางาม มีลายเส้นสีดำข้างลำตัวตั้งแต่ 5-7 ขีด ปลายปากเรียวแหลมและเล็ก ด้านข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มมีจุดสีขาว ขณะที่บางตัวเป็นสีส้ม มีหางเรียวยาว ใต้ท้องสีขาวเทาหรือออกเหลือง มีความยาวลำตัวประมาณ 81–90 มิลลิเมตร หางยาวประมาณ 142–156 มิลลิเมตร จิ้งเหลนบ้านเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่พบได้ทั่วไปในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ในป่าทึบจนถึงพื้นที่ในสังคมเมืองใหญ่ เช่น สวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย แต่นิยมกินแมลงมากที่สุด แต่อาจจะกินสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างเขียดได้ด้วย โดยมักหากินบนพื้นดินเป็นหลัก มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์, จีนตอนใต้ จนถึงออสเตรเลีย วางไข่โดยการผสมพันธุ์ในฤดูฝน ตัวเมียที่มีขนาดเล็กกว่าจะเข้าไปในถิ่นอาศัยของตัวผู้ และมีการวิ่งไล่กันสักพักจึงจะมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น เริ่มวางไข่ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม จิ้งเหลนบ้านยังมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปในแต่ละถิ่นว่า "จักเล้อ" หรือ"ขี้โก๊ะ" เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และจิ้งเหลนบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ทาก

ทาก (Slug) เป็นชื่อสามัญที่คนไทยใช้เรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 2 กลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกันของโครงสร้างร่างกาย กลุ่มแรก คือ ทากดูดเลือด เป็นกลุ่มเดียวกับปลิงดูดเลือด จัดอยู่ใน Phylum Annelida คลาสฮิรูดินี (Class Hirudinae) และกลุ่มที่สอง คือ หอยทาก และทากทะเล (Phylum Mollusca) ซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับหอยและหมึก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และทาก · ดูเพิ่มเติม »

ทากทะเล

ทากทะเล (Nudibranch, Sea slug) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เช่นเดียวกับหอย และหมึก จัดอยู่ในชั้นหอยฝาเดี่ยว ในอันดับย่อย Nudibranchia ทากทะเล มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีเปลือกห่อหุ้มลำตัว เพราะเปลือกลดรูปจนมีขนาดเล็กคลุมตัวไม่มิด หรือไม่มีเปลือกเลย ทากทะเลส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย สีที่ฉูดฉาดของทากทะเลทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร เพราะทากทะเลจะสร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว บางชนิดมีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ทางด้านบนของหัวหรือลำตัว ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นเส้น เป็นกระจุก หรือเป็นแผ่น หรือคล้ายเขา และเป็นสัตว์ที่ไม่มีตาสำหรับการมองเห็น ส่วนมากอาศัยอยู่ในแนวปะการัง และบริเวณใกล้เคียง กินอาหารพวกสาหร่าย, ฟองน้ำ, ดอกไม้ทะเล, ปะการังอ่อน, กัลปังหา และเพรียงหัวหอม ทั่วโลกพบประมาณ 2,000 ชนิด ในน่านน้ำไทยสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด เช่น ทากเปลือย เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และทากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทาคิน

ทาคิน (Takin) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Phylum Chordata) ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Class Mammalia) เป็นสัตว์ประจำชาติของภูฏาน ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในพื้นที่หนาวเย็น มีหน้าและเขาคล้ายแพะ แต่ว่าไม่มีเครา ตัวใหญ่ประมาณวัว เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม ทาคินจะกินใบไผ่ หน่อไม้ เป็นอาหารหลัก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และทาคิน · ดูเพิ่มเติม »

ดอกไม้ทะเล

อกไม้ทะเล (Sea Anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดและหลายสกุล ในอันดับ Actiniaria อาศัยอยู่ภายใต้ท้องทะเลและมหาสมุทร ลักษณะของลำตัวที่มีรูปร่างคล้ายถุงรูปทรงกระบอก มีด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยืด ด้านตรงข้ามเป็นช่องปาก(รูเปิด).

ใหม่!!: รายการสัตว์และดอกไม้ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมงกุฎหนาม

วมงกุฎหนาม หรือ ปลาดาวหนาม (Crown-of-thorns starfish) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่ง เป็นดาวทะเลขนาดใหญ่ มีแขนรวมกันทั้งหมด 16-21 แฉก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตามผิวหนังมีหนามยาวคล้ายเม่น ปากอยู่ทางด้านล่าง มีกระเพาะอยู่ด้านนอก ใต้แขนมีขาขนาดเล็ก ๆ คล้าย ๆ กับปุ่มที่หนวดปลาหมึกเป็นจำนวนมากยื่นออกมายึดเกาะพื้น ตรงกลางตัวด้านล่างมีปาก มีหนามแหลมคมปกคลุมที่ตัวทางด้านบน บนหนามมีสารซาโปนินเคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิด เป็นสัตว์ที่แยกเพศ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยตัวเมียปล่อยไข่ออกมานอกตัว และตัวผู้ปล่อยสเปอร์มออกมาผสมพันธุ์ ตัวเมียแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 12-24 ล้านฟอง ฤดูกาลวางไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีรายงานว่าดาวมงกุฎหนามที่เกรตแบร์ริเออร์รีฟ วางไข่ในเดือนธันวาคม และมกราคม ดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์ที่กินปะการังเป็นอาหาร ในทางนิเวศวิทยาถือเป็นสัตว์ที่ควบคุมประชากรปะการังไม่ให้มากจนเกินไป แต่ในหลายพื้นที่ก็มีการแพร่ระบาดจนเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ที่เกาะกวม แนวปะการังถูกดาวมงกุฎหนามทำลายไปเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ต่อเดือน บริเวณที่ถูกทำลายไปแล้วปะการังอาจฟื้นตัว ก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 10-40 ปี หรือนานกว่านี้ หรือในประเทศญี่ปุ่น ได้ลงทุนกำจัดดาวมงกุฎหนามโดยใช้ทุนไป 600 ล้านเยน กำจัดดาวมงกุฏหนามไป 13 ล้านตัวที่เกาะริวกิว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1983 แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และจากการศึกษาในระยะหลัง มีการสรุปว่าปริมาณดาวมงกุฎหนามในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (10,000 ตารางเมตร) หากมีจำนวนเกิน 10 ตัว ก็ถือว่าอยู่ในระดับระบาดแล้ว ถ้าเกิน 30 ตัว ถือว่าระบาดรุนแรงมาก เมื่อดาวมงกุฎหนามระบาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแนวปะการังจะแผ่เป็นบริเวณกว้างกว่าที่จะเกิดจากสาเหตุการทำลายโดยปัจจัยอื่น ๆ เพราะดาวมงกุฎหนามสามารถคืบคลานกินปะการังได้ทุกซอกทุกมุม แต่ดาวมงกุฎหนามเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ หอยสังข์แตร (Charonia tritonis) ที่กินดาวมงกุฎหนามเป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นตัวควบคุมมิให้ปริมาณดาวมงกุฏหนามมีปริมาณมากเกินไปด้วย รวมถึงปูขนาดเล็กบางชนิดหนึ่งที่ซ่อนตัวในปะการัง ใช้ก้ามในการต่อสู้กับดาวมงกุฎหมายมิให้มากินปะการังอันเป็นที่หลบอาศัยด้วย แต่ก็ทำได้เพียงแค่ขับไล่ให้ออกไปเท่านั้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และดาวมงกุฎหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทะเล

วทะเล หรือ ปลาดาว เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และดาวทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่าง

้วงกว่าง หรือ กว่าง หรือ แมงกว่าง หรือ แมงกวาง หรือ แมงคาม เป็นแมลงในวงศ์ย่อย Dynastinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Scarabaeidae ในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera).

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงกว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกุหลาบ

ด้วงกุหลาบ เป็นด้วงขนาดเล็ก ที่ชอบบุกกัดกิน ดอกกุหลาบ พวกใบปาล์มเล็กๆ โดยเฉพาะในที่ดินที่เพิ่งบุกเบิกใหม่ๆ ถ้าหนักมากจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ กระจายตัวในเดือนต่างๆและฤดูกาลต่างๆ พบได้มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พบในดินที่เพิ่งมีการบุกเบิกใหม่ๆเพื่อการทำปาล์มน้ำมัน และเกิดกับปาล์มในระยะแรกปลูกเท่านั้น ป้องกันและกำจัดได้โดยใช้สารฆ่าแมลงประเภท caพ่นทุก 7-10 วัน ในตอนเย็นทั้งใบและบริเวณโคนต้นrbaryI (Sevin 85% WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หมวดหมู่:แมลง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงยีราฟ

หมวดหมู่:ด้วง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงหมัดผัก

หมวดหมู่:ด้วง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงหมัดผัก · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงงวง

หมวดหมู่:ด้วง หมวดหมู่:ด้วงงวง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงงวง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงงวงข้าวโพด

้วงงวงข้าวโพด (Corn weevil) ชื่อวิทยาศาสตร์: Sitophilus zeamais Motshulsdy (Coleoptera: Curculionidae) ขนาดลำตัว 3.0 – 3.8 มิลลิเมตร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงงวงข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงไฟ

้วงไฟ (Blister beetle).

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงเสือ

้วงเสือ จัดอยู่ในอันดับโคลีออปเทอรา วงศ์ซิซินเดลิดี (Cicindelidae) ด้วงเสือมีหลายชนิด มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตา บางชนิดมีสีแดง น้ำเงิน เขียว บางชนิดมีสีเหลืองและดำ ดัวงเสือเป็นแมลงนักล่าที่น่ากลัว มันมีเขี้ยวยาวโค้ง นิสัยดุร้าย ขายาว วิ่งได้เร็ว ตัวอ่อนของด้วงเสือก็ดุร้ายไม่แพ้ตัวเต็มวัย ด้วงเสือวางไข่ในดิน ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะขุดโพรงลึกลงไปถึง 60 เซนติเมตร และรอเหยื่ออยู่ในโพรง เมื่อพื้นดินสั่นสะเทือนแม้เพียงเล็กน้อยมันจะรีบพุ่งออกมา และลากเหยื่อลงไปกินในโพรง ด้วงเสือถือเป็นสุดยอดสิ่งมีชีวิตที่มีความเร็วมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าถ้าด้วงเสือมีขนาดเท่ากับมนุษย์จะวิ่งได้เร็วประมาณ 494 กม./ชม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงเจาะเปลือกไม้สน

ด้วงเจาะเปลือกไม้สน เป็นหนึ่งในประมาณ 220 สกุล กับ 6,000 ชนิดของด้วงในวงศ์ย่อย Scolytinae หมวดหมู่:ด้วง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และด้วงเจาะเปลือกไม้สน · ดูเพิ่มเติม »

ควอล

วอล (quoll) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่งอาศัยอยู่บริเวณออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี ควอลมีขนาดตั้งแต่ 25–75 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มวัย หางมีขนยาวประมาณ 25–30 เซนติเมตร เพศเมียจะมีหัวนม 6–8 หัว และมีถุงท้องในช่วงที่ตั้งครรภ์ ควอลอาศัยอยู่ในป่าและทุ่งร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และควอล · ดูเพิ่มเติม »

ควาย

| name.

ใหม่!!: รายการสัตว์และควาย · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่า

วายป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยในอดีตเคยมีอยู่มากและกระจัดกระจายออกไป โดยพบมากที่บ้านลานควาย หรือบ้านลานกระบือ (ปัจจุบัน คือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร) แต่สถานะในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัม ของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20–25 ปี โดยควายป่ามักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ โดยเฉพาะเสือโคร่ง ในอินเดีย ควายป่ามักอาศัยอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกับแรดอินเดีย ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย แม้จะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน แต่ก็มักถูกแรดอินเดียทำร้ายอยู่เสมอ ๆ จนเป็นบาดแผลปรากฏตามร่างกาย สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และควายป่า · ดูเพิ่มเติม »

คางคก

accessdate.

ใหม่!!: รายการสัตว์และคางคก · ดูเพิ่มเติม »

คิงคอง

งคอง (King Kong) เป็นลิงบนเกาะลึกลับ"เกาะหัวกะโหลก" เกาะลึกลับกลางมหาสมุทรอินเดีย คิงคองปรากฏอยู่ในผลงานภาพยนตร์, นิยาย, การ์ตูน จำนวนมากตั้งแต..

ใหม่!!: รายการสัตว์และคิงคอง · ดูเพิ่มเติม »

ค่าง

ง (อังกฤษ: Langur, Leaf Monkey) ชื่อสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร โดยจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และค่าง · ดูเพิ่มเติม »

ค่างห้าสี

thumb ค่างห้าสี (Red-shanked douc) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร เป็นค่างที่มีสีสันต่าง ๆ ห้าสีตามชื่อ ตัวและหัวมีสีเทา แต่ตรงหน้าผากมีสีดำออกแดง หนวดเคราสีขาว หางและก้นสีขาว ผิวหน้าสีเหลือง หน้าแข้งสีแดง ได้ชื่อว่าเป็นค่างที่มีความสวยที่สุดในโลก มีความยาวลำตัวและหางรวมกัน 53-63 เซนติเมตร จัดอยู่ในบัญชีแดงของ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียราวสองเท่า และมีขนเป็นพู่ที่เอวทั้งสองข้าง ซึ่งตัวเมีย นิสัยเงียบขรึมขี้อาย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง พบในพรมแดนระหว่างประเทศลาวและเวียดนาม อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นลึกและป่าที่ราบสูงซึ่งมีความสูง 200-1,400 เมตร จากระดับน้ำทะเล อาหารหลักได้แก่ ดอกไม้ ยอดอ่อนของใบไม้ แมลง รวมทั้งผลไม้บางชนิด จากการศึกษาพบว่าค่างห้าสีสามารถกินอาหารได้ถึง 450 ชนิด อยุ่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ราว 4-5 ตัว การสืบพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องประมาณ 196 วัน หรือ 7 เดือนครึ่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว โดยลูกค่างจะมีสีคล้ายตัวเต็มวัยแต่ซีดกว่าเล็กน้อย ในสถานที่เลี้ยง สวนสัตว์ดุสิตในประเทศไทยเป็นสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ค่างห้าสีได้เป็นแห่งแรกในโลก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และค่างห้าสี · ดูเพิ่มเติม »

ค่างแว่นถิ่นใต้

งแว่นถิ่นใต้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus obscurus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกค่าง ลักษณะทั่วไปคล้ายค่างแว่นถิ่นเหนือ (T. phayrei) คือ มีวงกลมสีขาวรอบตาเหมือนกับใส่แว่นอันเป็นที่มาของชื่อ มีขนาดของลำตัวยาว 45-57 เซนติเมตร หางยาว 66-78 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 6-9 กิโลกรัม ค่างโตเต็มวัยมีขนบริเวณด้านหลังสีเทาเข้มเกือบดำ ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าบริเวณปลายมือและปลายเท้ามีสีเทาเข้ม โคนขาและโคนแขนด้านนอกเป็นสีเทาจาง ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกค่างชนิดนี้ คือสีขนหางสีดำ ลูกที่เกิดใหม่สีขนจะเป็นสีทอง ค่างแว่นถิ่นใต้แบ่งออกเป็นชนิดย่อย 7 ชนิดย่อยด้วยกัน (ดูในตาราง).

ใหม่!!: รายการสัตว์และค่างแว่นถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ค่างแว่นถิ่นเหนือ

งแว่นถิ่นเหนือ เป็นค่างชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับค่างแว่นถิ่นใต้ (T. obscurus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีสีขนที่หลากหลาย ตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาเข้ม ในขณะที่บางตัวอาจจะเข้มมากจนดูคล้ายสีสนิม ขนบริเวณหลังและด้านบนลำตัวจะเข้มกว่าสีขนที่อยู่ด้านล่าง สีขนด้านล่างของบางตัวอาจเป็นสรเทาอ่อนหรือขาวขุ่น บริเวณใบหน้าจะมีสีดำหรือสีเทาอมฟ้า มีลักษณะเด่น คือ บริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากมีสีน้ำเงินปนขาว แต่สีขาวรอบวงตานั้นบางตัวอาจไม่เป็นรูปวงกลม ในขณะที่บางตัวอาจจะมีริมฝีปากเป็นสีขาวขุ่น มือและเท้าโดยทั่วไปจะเข้มกว่าบริเวณหลัง มีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง 52-62 เซนติเมตร ความยาวหาง 58.5-88 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 6-9 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า, ประเทศจีน, ประเทศไทย, ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ มีด้วยกัน 3 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และค่างแว่นถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ค่างเทา

งเทา หรือ ค่างหงอก (อังกฤษ: Silvered langur, Silvery lutung, Silvered leaf monkey) ค่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trachypithecus cristatus จัดเป็นลิงโลกเก่าชนิดหนึ่ง ค่างเทามีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับค่างดำมลายู (Presbytis femoralis) ขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้ม ปลายขนเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้แลดูคล้ายผมหงอกของมนุษย์ อันเป็นที่มาของชื่อ บนหัวจะมีขนยาวเป็นหงอนแหลม ใบหน้ามีสีดำไม่มีวงแหวนสีขาวรอบดวงตา มือและเท้าเป็นสีดำ ลูกค่างที่เกิดใหม่ขนตามลำตัวจะเป็นสีเหลืองทอง มีความยาวลำตัวถึงหัว 49-57 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 72-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 6-8 กิโลกรัม มีชนิดย่อยด้วยกัน 2 ชนิด มีพฤติกรรมอาศัยอยู่บนต้นไม้สูง ในบางครั้งอาจพบในป่าพรุด้วย อาหารของค่างชนิดนี้ได้แก่ ใบอ่อนของต้นไม้, ผลไม้ และแมลงตัวเล็ก ๆ จะออกหากินในเวลากลางวัน มักอยู่รวมเป็นฝูงประมาณ 10-15 ตัว มีการกระจายพันธุ์ในแถบภาคตะวันตก, ภาคเหนือของไทย, ภาคใต้ของลาว, พม่า, เวียดนาม, ตอนใต้ของจีน, กัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และค่างเทา · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาว

้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และงู · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/) มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และตะพาบม่านลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหัวกบ

ตะพาบหัวกบ (Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์ และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และตะพาบหัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบแก้มแดง

ตะพาบแก้มแดง (Malayan solf-shell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ".

ใหม่!!: รายการสัตว์และตะพาบแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

ตะกวด

ตะกวด, จะกวด หรือ จังกวด (อีสาน, ลาว, ใต้, เหนือ: แลน; เขมร: ตฺรอกวต) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก โดยโพรงจมูกของตะกวดจะอยู่ไม่ใกล้กับปลายปากเหมือนกับเหี้ย รวมถึงมีปลายปากที่มนทู่กว่า อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ ในนิทานชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นตะกวดเช่นกัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และตะกวด · ดูเพิ่มเติม »

ตะขาบ

ตะขาบ (อังกฤษ: Centipedes; พายัพ: จักขาบ; อีสาน: ขี้เข็บ) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Chilopoda จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3-8 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8-10 นิ้ว) ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ และเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวดและเป็นอัมพาต เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืช ต้นหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานโดยลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร ในประเทศไทย พบทั้งหมด 48 ชนิด (ค.ศ. 2017).

ใหม่!!: รายการสัตว์และตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะโขง

ตะโขง หรือ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขงมลายู (Malayan gharial, False gharial) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ อยู่ในวงศ์ตะโขง (Gavialidae) จัดเป็นหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แต่จัดว่าเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Tomistoma อนึ่ง บางข้อมูลได้จัดให้ตะโขงอยู่ในวงศ์จระเข้ (Crocodylidae).

ใหม่!!: รายการสัตว์และตะโขง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกินมด

ตัวกินมด (Anteater) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่ง ที่จัดอยู่ในอันดับย่อย Vermilingua (แปลว่า "ลิ้นหนอน") ในอันดับ Pilosa หรือสลอธ ในอันดับใหญ่ Xenarthra ตัวกินมด เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับสัตว์จำพวกอื่นในอันดับใหญ่ทั่วไป คือ เป็นสัตว์ที่มีส่วนจมูกและปากยาวเหมือนท่อ ไม่มีฟันในกราม จึงไม่สามารถที่จะเคี้ยวอาหารได้ แต่ใช้ลิ้นที่ยาวเรียวและมีน้ำลายที่เหนียวตวัดกินแมลงขนาดเล็กตามต้นไม้ หรือพื้นดินกินเป็นอาหาร โดยใช้จมูกที่ไวต่อความรู้สึกหาแมลงไปเรื่อย ๆ เมื่อพบเจอแล้วจะใช้กรงเล็บตีนหน้าที่แหลมคมขุดคุ้ยหรือพังทลายรังของแมลงเหล่านี้ เช่นเดียวกับอาร์มาดิลโล ที่อยู่ในอันดับใหญ่เดียวกัน หรือลิ่น หรืออาร์ดวาร์ก ที่เคยมีบรรพบุรุษร่วมกันมาก่อนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจากตัวกินมดกินแมลง ซึ่งได้แก่ มด และปลวก ซึ่งให้พลังงานต่ำ ดังนั้นวัน ๆ หนึ่งจึงต้องกินมดในปริมาณมากที่อาจมากถึง 9,000 ตัวได้ ตัวกินมด มีขนที่หนาปกคลุมตลอดทั้งตัวและผิวหนังที่หนาที่ช่วยป้องกันตัวจากการโจมตีของมด แต่ก็ไม่สามารถที่จะใช้ป้องกันได้สมบูรณ์แ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และตัวกินมด · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตน

อวัยวะสืบพันธุ์ของตั๊กแตน ภาพของ ''Coryphistes ruricola'' ที่คล้ายตั๊กแตน ตั๊กแตน (Grasshopper) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และตั๊กแตน · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแก

ตุ๊กแก (Geckos, Calling geckos, Tropical asian geckos, True geckos) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานสกุลหนึ่ง ในวงศ์ย่อย Gekkoninae ในวงศ์ใหญ่ Gekkonidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gekko (/เก็ก-โค/) โดยสัตว์ที่อยู่ในสกุลนี้ จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายบนลำตัว วางไข่ครั้งละ 2 - 7 ฟอง พบได้ทั้งในบ้านเรือนของมนุษย์และในป่าดิบ โดยปกติแล้วจะมีขนาดความยาวมากกว่า 10 เซนติเมตร มีรูปร่างที่แตกต่างกันหลากหลาย ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้และใต้นิ้วเท้ามีแผ่นหนังเรียงต่อกัน ที่มีเส้นขนจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเส้นยาวประมาณ 60-90 ไมครอน ส่วนปลายของเส้นขนแตกแขนงและขยายออกเป็นตุ่ม เรียกว่า "เซต้า" ใช้สำหรับยึดเกาะติดกับผนังได้โดยแรงวานเดอร์วาลส์ โดยชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ตุ๊กแกบ้าน (G. gekko).

ใหม่!!: รายการสัตว์และตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊ดตู่

ตุ๊ดตู่ (Dumeril's monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกัน เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอจะมีสีส้มหรือสีแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่อาศัย เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม การวางไข่ วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203–230 วัน ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย เป็นสัตว์ไม่มีพิษ โดยเต็มที่จะมีขนาด 50–125 เซนติเมตรเท่านั้น โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ อองเดรย์ มารี คอนสแตนต์ ดูเมรีล นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส เป็นสัตว์ขี้อาย มักอาศัยอยู่ในโพรงไม้ จนมีเอ่ยถึงในบทสร้อยสุภาษิตว่า ในประเทศไทยจะพบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีไปจนถึงคอคอดกระในภาคใต้ และพบไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียCota, M.; Chan-ard, T.; Mekchai, S.; Laoteaw, S. (2008).

ใหม่!!: รายการสัตว์และตุ๊ดตู่ · ดูเพิ่มเติม »

ตุ่น

ำหรับ ติ่ง ที่เป็นความหมายสแลงดูที่ ติ่งหู ตุ่น หรือ ติ่ง (Moles) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวงศ์หนึ่ง ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Talpidae ซึ่งครั้งหนึ่ง (หรือบางข้อมูล) จะจัดให้ตุ่นอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ตุ่น มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาตัวอ้วน ๆ ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ทว่าตุ่นมีอันดับแยกออกมาเองต่างหาก ซึ่งใกล้เคียงกับหนูผี (Soricidae) มากกว่า มีขนอ่อนนุ่ม สีคล้ำอย่างสีเทาหรือสีดำ ตลอดทั้งลำตัว ซึ่งขนนี้มีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบิดไปในทิศทางใดก็ได้ แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น ๆ ส่วนหางสั้น ตุ่นอาศัยในโพรงใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนพื้นดิน หากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก เพราะแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกเก็บซ่อนอยู่ใต้ขน เพื่อป้องกันมิให้ดินเข้าเวลาขุดดิน ในบางชนิดจะมีหนังพิเศษปิดเหนือตาด้วย ขาคู่หน้าของตุ่นซ่อนอยู่ใต้ขน ซึ่งจะยื่นออกมาแต่ส่วนปลายเป็นข้อมือที่มีเล็บที่แข็งแรง 5 เล็บ ซึ่งใช้ในการขุดโพรงดิน แต่จะใช้เดินบนพื้นดินไม่ได้เลย หากตุ่นขึ้นมาบนดินจะทำได้เพียงแค่คืบคลาน ในโพรงใต้ดินของตุ่น มีทางยาวมาก โดยมักจะขุดให้ลึกไปจากผิวดินราว 3 นิ้วครึ่งถึงครึ่งฟุต เป็นทางยาวขนานไปกับผิวดิน และลึกจากหน้าดินราวหนึ่งฟุตก็มีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนานด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็ก ๆ ในแนวตามจุดต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบสม่ำเสมอกัน ที่ปลายสุดของโพรงจะใช้เป็นที่กลับตัว ซึ่งมีความกว้างเพียงขนาดเท่าตัวของตุ่น ดินที่ขุดขึ้นทำโพรงนั้นจะถูกอัดไปตามผนังโพรงเพื่อให้แน่นและแข็งแรง แต่บางส่วนก็จะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเป็นเนิน ๆ ซึ่งเรียกในภาษาไทยว่า "โขย" ตุ่น กินอาหารหลัก คือ ไส้เดือนดิน และก็สามารถกินอาหารอื่นได้ เช่น หนอน, หอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน หรือ แห้ว หลายชนิด ในวันหนึ่ง ๆ ตุ่นสามารถที่จะกินอาหารได้เท่ากับน้ำหนักตัว จึงเป็นสัตว์ที่ไม่อาจอดอาหารได้นาน ในฤดูแล้งที่อาหารขาดแคลน ตุ่นสามารถจะสะสมอาหารเป็นเสบียงได้ ในโพรงดินส่วนที่เป็นห้องเก็บอาหาร โดยมีรายงานว่า ตุ่นบางตัวเก็บหนอนไว้ในห้องเก็บอาหารนับร้อยตัว โดยที่หัวของหนอนเหล่านี้ถูกกัดจนหัวขาดแล้ว แต่ยังไม่ตาย ไม่อาจจะหนีไปไหนได้ ตามปกติ ตุ่นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ต้องต่อสู้แย่งชิงตัวเมียเสียก่อน ตัวเมียจะเป็นฝ่ายสร้างรั งขนาดลูกรักบี้ที่บุด้วยใบไม้และฟางหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยจะอยู่ลึกจากหน้าดินประมาณ 2 ฟุต หรือตื้นกว่านั้น มีทางแยกออกจากรังหลายทาง เพื่อที่จะเข้าออกได้หลายทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งรังของตุ่นจะสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ ตุ่นมักจะมีลูกครอกละ 2-7 ตัว ลูกอ่อนที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และขนจะเริ่มงอกเมื่อมีอายุได้สัก 10 วัน และลืมตาในเวลาต่อมา และจะออกจากรังเมื่อมีอายุได้ราว 5 สัปดาห์ มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ตุ่นกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลกและโอเชียเนีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 17 สกุล และ 3 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบประมาณ 44 ชนิด ซึ่งบางชนิดมีขนสีทอง บางชนิดมีส่วนหางยาว บางชนิดที่จมูกมีเส้นขนเป็นอวัยวะรับสัมผัสเป็นเส้น ๆ 22 เส้น ลักษณะคล้ายดาว และมีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่บนดินและว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วย ขณะที่บางชนิดก็สามารถปีนต้นไม้ได้ และอาศัยอยู่เป็นฝูง สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ ตุ่นโคลส (Euroscaptor klossi).

ใหม่!!: รายการสัตว์และตุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ตุ่นปากเป็ด

ตุ่นปากเป็ด (Platypus, Watermole, Duckbill, Duckmole, Duck-billed platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย แม้ว่าตุ่นปากเป็ดจะมีเพียงสปีชีส์เดียว แต่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อ เช่น และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้อีกหลายชื่อ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet พบตุ่นปากเป็ดเฉพาะในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และตุ่นปากเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

ต่อ

ต่อ (wasp)คือแมลงสังคมซึ่งมีนางพญาเป็นจุดศูนย์กลางชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Vespidae มันถูกจัดให้เป็นแมลงประเภทที่ทั้งกินเนื้อและพืชเป็นอาหาร ต่อในโลกนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ มนุษย์สามารถนำตัวอ่อนของต่อมาทำอาหารได้ ต่อทำรังด้วยเศษใบไม้กับน้ำลาย ลักษณะกลมและรี ขนาดของรังจะขึ้นอยู่กับเวลา และจำนวนประชากรต่อ หมวดหมู่:แมลง หมวดหมู่:แมลงที่รับประทานได้ hr:Ose ko:말벌상과 pl:Osa sr:Оса (инсект).

ใหม่!!: รายการสัตว์และต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลิง

ปลิง (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech) จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง (สำหรับปลิง) และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน (สำหรับทากดูดเลือด) ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่น รวมทั้งเลือดมนุษย์เป็นอาหาร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปลิง · ดูเพิ่มเติม »

ปลิงทะเล

ปลิงทะเล (sea cucumber) เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์ม ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับดาวทะเลและหอยเม่น เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ทวารของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย หายใจ เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสารพิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อยออกทางผิวหนัง ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำปลิงทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามากจนทำให้ปลาตายได้ ถิ่นอาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนใน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความยาวประมาณ 30–40 ซม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปลิงทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 5 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปู · ดูเพิ่มเติม »

ปูก้ามดาบ

ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (Fiddler crabs, Ghost crabs) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปูก้ามดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ปูม้า

ปูม้า (Flower crab, Blue crab, Blue swimmer crab, Blue manna crab, Sand crab) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปูม้า · ดูเพิ่มเติม »

ปูลม

ระวังสับสนกับ ปูทหาร ปูลม หรือ ปูผี (Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กในสกุล Ocypode อยู่ในวงศ์ Ocypodidae อันเป็นวงศ์เดียวกันกับปูก้ามดาบด้วย ปูลมมักถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งอยู่ในสกุล Mictyris ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ปูลมจะมีลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก และมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่เหมือนปูทหารที่เป็นวงกลม และมีก้านตายาว ซ้ำยังมีพฤติกรรมการหากินที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ปูลมจะไม่ปั้นทรายเป็นก้อนเหมือนปูทหาร แต่จะใช้ก้ามคีบอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์ และอินทรีย์สารต่าง ๆ เข้าปาก และมักจะทำรูอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นเลนมากกว่า แต่ก็มีพบบ้างที่บริเวณหาดทราย ปูลมได้ชื่อว่าในภาษาไทยเนื่องจากเป็นปูที่วิ่งได้เร็วมาก และส่วนชื่อปูผีในภาษาอังกฤษ มาจากพฤติกรรมการหากินที่มักหากินในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีกคำว่า ocy หมายถึง "เร็ว" และคำว่า ποδός หมายถึง "เท้า" รวมความแล้วหมายถึงสัตว์ที่วิ่งเร็ว ปูลมพบทั้งหมด 28 ชนิด โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทยได้แก่ ปูลมใหญ่ (Ocypode ceratophthalmus) และปูลมเล็ก (O. macrocera) ซึ่งมีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และปูลม · ดูเพิ่มเติม »

นกเหยี่ยวกินหอยทาก

นกเหยี่ยวกินหอยทาก (Snail Kite) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก หมวดหมู่:เหยี่ยว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และนกเหยี่ยวกินหอยทาก · ดูเพิ่มเติม »

นาก

นาก (ไทยถิ่นเหนือ: บ้วน) เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ใหญ่ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับวีเซลหรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) เป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้างแบน หูมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้ขน นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายน้ำร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับปลาและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบางชนิดอาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น บึง, ทะเลสาบ, ลำธาร, ป่าชายเลน แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ท้องร่องในสวนผลไม้, นาข้าว หรือนากุ้ง เป็นต้น พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ บางชนิดพบในทะเล คือ นากทะเล (Enhydra lutris) ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย นากมีความสำคัญต่อมนุษย์ คือ ในอดีตมีการล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปมีการล่าอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ ซึ่งเสื้อขนสัตว์ 1 ตัว ต้องใช้ขนของนากมากถึง 40 ตัว จนทำให้ใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งในปี ค.ศ. 1975 ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้นากได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการลักลอบกันอยู.

ใหม่!!: รายการสัตว์และนาก · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ขนเรียบ

นากใหญ่ขนเรียบ (smooth-coated otter) เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นนากชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก มีลักษณะแตกต่างไปจากนากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra) และ นากจมูกขน (L. sumatrana) คือ มีหัวกลม แนวขนบนจมูกเป็นรูปตัววีคว่ำ ขนสั้น หูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูเวลาว่ายน้ำเพื่อมิให้น้ำเข้าหู ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลปนสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางแบน และมีความยาวประมาณร้อยละ 60 ของลำตัว อุ้งเท้าและนิ้วเท้ามีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 65–75 เซนติเมตร ความยาวหาง 40–45 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ 7–11 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, อินเดีย, ภาคตะวันตกของมณฑลยูนาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนามตอนใต้, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา มีพฤติกรรมอาศัยตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่ลุ่มต่ำ เช่น ริมทะเลสาบ ลำธาร คลอง ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้ เช่นเดียวกับนากชนิดอื่น ๆ โดยใช้หนวดทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก เช่น หนู ด้วย ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน มักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ยกเว้นในสถานที่ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ มีเท้าและเล็บแข็งแรงจึงสามารถขุดรูริมตลิ่งได้ลึกถึง 3 เมตร เพื่อใช้การเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนากที่เกิดใหม่จะลืมตาภายในเวลา 10 วัน และออกหากินได้เองเมื่ออายุได้ 3 เดือน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาค โดยพบได้แม้กระทั่งในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ในแถบป่าชายเลน ในเขตบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี รวมถึงบริเวณพื้นที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วในประเทศสิงคโปร์ แถบหน้ามารีนาเบย์แซนส์ โรงแรมขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่เป็นที่รู้จักดี ก็มีฝูงนากใหญ่ขนเรียบอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และนากใหญ่ขนเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

นากเล็กเล็บสั้น

นากเล็กเล็บสั้น (oriental small-clawed otter, Asian small-clawed otter) เป็นนากขนาดเล็กที่สุดในโลก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แต่สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่า แต่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล ลักษณะเด่นคือ พังผืดบริเวณนิ้วตีนจะมีขนาดเล็กลง ช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น ใต้คอมีสีขาว มีจมูกที่สั้นมากกว่านากชนิดอื่น ๆ ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีจมูกยาว และโค้งกว่า เมื่ออายุได้ 5 สัปดาห์จมูกก็จะหดสั้นลง มีความยาวลำตัวและหางประมาณ 45-55 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-35 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย ในทวีปเอเชียพบตั้งแต่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวและเกาะชวา (แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ดูในตาราง) นากเล็กเล็บสั้นมีความสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธารขนาดเล็ก, ป่าชายเลน, ริมทะเลสาบ, ห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือแม้แต่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นเขตเกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ตามท้องร่องสวนต่าง ๆ อาหารหลักได้แก่ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ แต่ชอบกินปูมากที่สุด มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ นากเล็กเล็บสั้นไม่ได้ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่ขาหน้า ออกลูกตามโพรงไม้หรือโพรงหินที่มีอยู่แล้ว เพราะขาหน้าไม่แข็งแรงพอจะขุดโพรงริมตลิ่งได้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า นากเล็กเล็บสั้นหากนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก จะเชื่องและสามารถทำตามคำสั่งของมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ เช่น ซาฟารีเวิลด์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่กระทั่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบในพื้นที่แถบคลองบางมด เขตทุ่งครุ ฝั่งธนบุรี เป็นนากเล็กเล็บสั้นที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมขโมยกินปลาของเกษตรกรในพื้นที่ตามท้องร่องสวนในเวลากลางคืน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และนากเล็กเล็บสั้น · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันดิน

วดตัวอย่างน้ำมันดินตั้งแสดงอยู่ที่ the Cape Fear Museum in Wilmington, North Carolina น้ำมันดิน หรือ ทาร์ (tar) เป็นของเหลวสีดำ ได้จากการกลั่นทำลายของสารอินทรีย์เช่น ถ่านหิน ไม้ และน้ำมันดิบ เป็นต้น ส่วนผสมประกอบด้วยธาตุไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนอิสระ Tar ที่ได้จากการน้ำมันดิบ มีประโยชน์ในการรักษาเนื้อไม้ โดยใช้ทาเรือไม้ป้องกันการผุกร่อน หรือทาหลังคาบ้านกันรั่วซึม แต่ Tar ที่ได้จากไม้บางชนิด ใช้เป็นยารักษาโรคได้ บางชนิดให้กลิ่นหอมและช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร Tar ที่ได้จากการเผาไม้หรือถ่านหินเป็นพิษต่อร่างกาย เพราะเป็นต้นเหตุของมะเร็ง Tar ที่เกิดจากขบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) จะต้องกำจัดออกก่อนนำไปใช้ เพราะ Tar จะติดไปกับ syngas เมื่อนำ syngas ป้อนเข้าไปในเครื่องยนต์ Tar จะไปติดลูกสูบของเครื่องยนต์นั้น ทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ เนื่องจาก Tar ดังกล่าว มีพิษต่อร่างกาย จึงต้องทำการกำจัดอย่างเหมาะสม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และน้ำมันดิน · ดูเพิ่มเติม »

แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ (Giant panda) หรือที่นิยมเรียกว่า แพนด้า (Panda เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแพนด้ายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

แกะ

ลูกแกะที่สวนสัตว์พาต้า แกะ เป็นสัตว์สี่เท้าเคี้ยวเอื้องและเลี้ยงลูกด้วยนม แกะเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนสัตว์กับเคี้ยวเอื้องส่วนใหญ่ แกะส่วนใหญ่เคยเป็นแกะป่าที่พบได้ตามป่าของเอเชียและยุโรป ซึ่งแกะป่าเป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ที่นำมาทำให้เชื่องเพื่อใช้งานเกษตรกรรม ขน หนัง เนื้อและนม ขนแกะเป็นเส้นใยจากสัตว์ที่ผู้คนใช้มากที่สุด ส่วนมากจะเก็บขนแกะด้วยการโกนขน เนื้อแกะจะมีทั้งเนื้อของลูกแกะและเนื้อของตัวโตเต็มวัย กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แกะบางพื้นที่กินดอกไม้และแมลงบางชนิด เช่น แกะภูเขา ส่วนใหญ่แกะจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่หนาวเย็น แถบภูเขาและพื้นที่ราบโล่ง เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย อเมริกาตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศแคนาดา โดยมีการกระจายอยู่ตลอดแถบประเทศเขตหนาว ในโลกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยมีตั้งแต่สายพันธุ์ดังเดิมจนถึง สายใหม่ที่ถูกผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ และสายพันธุ์ที่มนุษย์พัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น ขนสัตว์, เนื้อ, นม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแกะ · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงปอ

วนหัวและตาขนาดใหญ่ของแมลงปอ การผสมพันธุ์ของแมลงปอ แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำบี้) คือแมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป แมลงปอจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ 320 ล้านปีก่อนในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ก่อนหน้าไดโนเสาร์ และแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากขนาดลำตัวที่แมลงปอในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงปอในยุคปัจจุบันมาก โดยมีความห่างระหว่างปีกมากกว่า 70 เซนติเมตร ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ แมลงปอปรากฏอยู่ในอักษรภาพเฮียโรกริฟฟิธในหลุมศพของฟาโรห์Sky Hunters: The World Of Dragonfly.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมลงปอ · ดูเพิ่มเติม »

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมว · ดูเพิ่มเติม »

แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน (Marbled cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เสือ (Felidae) ที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน (Felis catus) แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) หรือลวดลายบนหินอ่อน ได้รับการอนุกรมวิธานโดยตัวอย่างต้นแบบเป็นตัวเมียที่ได้ตัวอย่างจากประเทศไทย ปัจจุบันนักวิชาการแบ่งแมวลายหินอ่อนออกเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่ P. m. marmorata และ P. m. charltoni ถิ่นอาศัยของแมวลายหินอ่อนอยู่ในรัฐอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนปาล (P. m. chartoni) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา เมื่ออยู่ในป่าทึบตามธรรมชาติจะพบเห็นได้น้อย ปัจจุบันยังมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแมวชนิดนี้อยู่น้อย และยังไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ขณะเดียวกันป่าที่เป็นถิ่นอาศัยก็มีพื้นที่ลดลง ทำให้ปัจจุบันแมวชนิดนี้อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พฤติกรรมของแมวลายหินอ่อน เมื่ออยู่ในที่เลี้ยงค่อนข้างดุร้ายกว่าเสือหรือแมวป่าชนิดอื่น ๆ มีอายุในสถานที่เลี้ยงยืนสุด 12 ปี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวลายหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

แมวทราย

แมวทราย หรือ แมวเนินทราย (Sand cat, Sand dune cat) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทกินเนื้อชนิดหนึ่ง จำพวกแมวป่า นับเป็นแมวป่าขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวทราย · ดูเพิ่มเติม »

แมวดาว

แมวดาว (Leopard cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเท่า ๆ กับแมวบ้าน แต่มีความคล่องแคล่วว่องไวกว่ามาก ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทา ลักษณะเด่นคือ ตามลำตัวมีจุดขนาดเล็กสีดำกระจายอยู่ทั่วไป ด้านข้างของหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4—5 แถบ ขนบริเวณท้องมีสีขาวนวล แมวดาวตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย แมวดาวมีความยาวลำตัวและหัว 44.5—55 เซนติเมตร ความยาวหาง 23—29 เซนติเมตร น้ำหนัก 3—5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง พบตั้งแต่ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, รัสเซีย, อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, สิงคโปร์ แมวดาว สามารถปรับตัวให้อยู่ในพื้นที่หลากหลายสภาพได้ บางครั้งอาจพบในป่าที่ใกล้กับพื้นที่ชุมชน ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน พักผ่อนในเวลากลางวัน สามารถปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว และยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย ปกติอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์ ที่อาจพบเห็นอยู่ด้วยกัน 2 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 65—72 วัน ออกลูกครั้งละ 2—4 ตัว จากการศึกษาในสถานที่เลี้ยงมีอายุยืนประมาณ 13 ปี นอกจากนี้แล้ว แมวดาวที่ผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวบ้าน จะได้ลูกเป็นแมวพันทางสายพันธุ์ที่เรียกว่า แมวเบงกอล.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวดาว · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่า

แมวป่า, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Felidae มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน มีลักษณะเด่นคือ มีหูแหลมยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีกระจุกขนยื่นออกมาจากปลายใบหูแลดูคล้ายกระต่าย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า "เสือกระต่าย" มีขายาว หางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็นปล้อง ๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่านับเป็นเสือในสกุล Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวและหัว 50–56 เซนติเมตร ความยาวหาง 26–31 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4–6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกาจรดเอเชียตะวันออก พบในภาคตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย, คูเวต, อิรัก, อิหร่าน, จอร์แดน, ภาคตะวันออกของตุรกี, อิสราเอล, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชาและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังที่ไม่รกชัฏนัก จับสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยบนพื้นดินกินเป็นอาหาร เช่น กระต่ายป่า, กบ, หนู, กิ้งก่า หรือนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารหลัก ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่มักพบบ่อยในช่วงเช้า และช่วงเย็น จากกายภาพที่มีขายาว แต่หางสั้นไม่สมดุลกันเช่นนี้ ทำให้แมวป่ามีการทรงตัวที่ไม่ดีเมื่ออยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยปีนขึ้นไปบนต้นไม้นัก ในประเทศไทย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรและนักเขียนได้บันทึกไว้ในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวป่า · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่าหัวแบน

แมวป่าหัวแบน (Flat-headed cat) แมวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus planiceps อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) โดยเป็นแมวป่าขนาดเล็ก ขาและหางสั้น ใบหูเล็ก ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือส้ม ส่วนปลายของขนแต่ละเส้นมีขาวปนเทาหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ หัวที่มีรูปร่างยาวและแบน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกแมวป่าหัวแบนจะมีจุดสีขาวบริเวณหลังหู อุ้งเท้าแคบและยาว มีขนากลำตัวและหัวยาว 46.5 - 48.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 12.8 - 13 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.5 - 2.2 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว โดยอาศัยและหากินอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุ หรือป่าที่น้ำท่วมขังหรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ, ปลา, สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลไม้บางประเภทด้วย จัดเป็นเสือชนิดที่หายากชนิดหนึ่งของโลก เนื่องจากพบเห็นตัวได้ยากและมีรายงานพบเห็นในธรรมชาติเพียงไม่กี่ครั้ง แม้แต่ภาพถ่ายก็ยังมีเพียงไม่กี่รูปเท่านั้น ปัจจุบัน สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวป่าหัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

แมวน้ำช้าง

แมวน้ำช้าง (elephant seal) บ้างก็เรียกว่า ช้างน้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์แมวน้ำ สกุล Mirounga ขนาดใหญ่เท่าวอลรัสแต่ไม่มีเขี้ยว และจมูกไม่ย้อยเหมือนพะยูน มีสองสปีชีส์คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวน้ำช้าง · ดูเพิ่มเติม »

แมวน้ำลายพิณ

แมวน้ำลายพิณ หรือ แมวน้ำหลังอาน (Harp seal, Saddleback seal) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำพวกสัตว์กินเนื้อ จัดเป็นแมวน้ำชนิดหนึ่ง ที่เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล PagophilusWilson, D. E. & Reeder, D. M. (eds.) (2005).

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวน้ำลายพิณ · ดูเพิ่มเติม »

แมวน้ำเสือดาว

แมวน้ำเสือดาว (Leopard seal) หรือบางทีเรียกว่า เสือดาวทะเล (Sea leopard) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์แมวน้ำ (Phocidae) หรือแมวน้ำแท้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Hydrurga.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมวน้ำเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุน

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงกะพรุน · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมทะเล

แมงมุมทะเล (Sea spiders) หรือ พีคโนโกนิดา เป็นสัตว์ทะเลไม่มีแกนสันหลังที่ในไฟลัมอาร์โธพอด จัดอยู่ในชั้น Pycnogonida และอันดับ Pantopoda แมงมุมทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ที่เป็นอาร์โธพอดจำพวกแมงที่อยู่บนพื้นผิวโลก แต่ทั้งสองมิได้เกี่ยวเนื่องอะไรกันเลยนอกจากจะอยู่ในไฟลัมเดียวกัน แมงมุมทะเลมีลักษณะเด่น คือ ส่วนขาที่ยาวที่อาจยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร เป็นสัตว์นักล่าที่โดยดูดกินเนื้อเยื่อสัตว์อื่นเป็นอาหาร ที่อาศัยที่พื้นทะเล พบได้ในทะเลต่าง ๆ เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลแคริบเบียน รวมถึงมหาสมุทรอาร์กติก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยที่มหาสมุทรแอนตาร์กติกนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในที่อื่น แมงมุมทะเลเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำและเบามาก โดยระบบการไหลเวียนของเลือดจะอยู่ช่วงล่างของลำตัว ขณะที่ลำไส้ที่เป็นท่อลงไปและช่วงขาที่มีความแข็งแรง ลักษณะการเดินของแมงมุมทะเล เป็นไปในลักษณะขึ้น ๆ ลง ๆ เรียกว่า เพอริสทอลซิส (Peristalsis) คือ กระบวนการที่กล้ามเนื้อบีบรัดและคลายตัวอย่างมีจังหวะ เป็นกระบวนการเช่นเดียวกับการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารไปจนถึงลำไส้ของมนุษย์ หากแต่กระบวนนี้ในแมงมุมทะเลอยู่ไกลกว่าจะเป็นที่ต้องการสำหรับการย่อยอาหาร เพราะต้องได้รับออกซิเจนเพียงพอในร่างกายด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงมุมทะเล · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมทารันทูล่า

แมงมุมทารันทูล่า (Tarantula; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: เบิ้ง) เป็นสัตว์ขาปล้องจำพวกแมงมุมกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Theraphosidae เป็นแมงมุมที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่า 350 ล้านปีมาแล้ว โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกายน้อยมาก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับแมงมุมท้องปล้อง แต่ทารันทูล่าจะไม่เหลือปล้องบริเวณท้องอีกแล้ว ทารันทูล่าทั่วไปเป็นแมงมุมขนาดใหญ่ มีขายาว และมีลักษณะเด่นคือ มีเส้นขนจำนวนมากขึ้นอยู่ตามตัวและขา เห็นได้ชัดเจน ส่วนมากมีสีสันหรือลวดลายที่สดใส พบได้ทั่วไปทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่ทะเลทราย, ทุ่งหญ้า หรือในถ้ำที่มืดมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบร้อนชื้น หรืออุณหภูมิแบบป่าดิบชื้น ยกเว้นขั้วโลกเท่านั้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงมุมทารันทูล่า · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมแม่ม่ายดำ

แมงมุมแม่ม่ายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Latrodectus hesperus) เป็นแมงมุมพิษในสกุลแมงมุมแม่ม่าย กระจายพันธุ์ในภาคตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เพศเมียมีขนาดตัวราว 14–16 มิลลิเมตร มีลำตัวสีดำ กลางลำตัวมีเครื่องหมายเป็นรูปนาฬิกาทราย เครื่องหมายนี้อาจเป็นได้ทั้งสีแดงหรือสีเหลือง ในขณะที่เพศผู้จะมีขนาดตัวราวครึ่งหนึ่งของตัวเมียและมีลำตัวสีอ่อนกว่าตัวเมีย แมงมุมในสกุลแม่ม่าย ภายหลังการผสมพันธุ์กับตัวผู้แล้ว ตัวเมียจะกินแมงมุมตัวผู้เข้าไปซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ โดยที่แมงมุมตัวเมียเท่านั้นที่สามารถกัดมนุษย์ได้ เนื่องจากตัวผู้มีกรามขนาดเล็กเกินกว่าจะกัดผ่านผิวหนังมนุษย์ พิษของแมงมุมสายพันธุ์นี้ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งจนกลายเป็นอัมพาต ซึ่งหากการอัมพาตเกิดกับกระบังลมและหัวใจก็อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ผู้ถูกกัดมักมีอาการแสดงออกราว 20 นาทีถึง 1 ชั่วโมงภายหลังถูกกัด ซึ่งความรุนแรงก็จะขึ้นกับปริมาณสารพิษที่ร่ายกายได้รับ นอกจากนี้ยังอาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆร่วมด้วย อาทิ ปวดท้องอย่างรุนแรง, คลื่นไส้อาเจียน, เหงื่อออกมาก, มือสั่น และชัก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงมุมแม่ม่ายดำ · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีม

แมงคีม หรือ ด้วงเขี้ยวกาง หรือ ด้วงคีม (Stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Lucanidae ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) พบประมาณ 1,200 ชนิด แมงคีมมีลักษณะเด่นคือ ในตัวผู้จะมีขากรรไกรล่างที่มีขนาดใหญ่และกางเข้าออกได้เหมือนคีมหรือกรรไกรอันเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งใช้สำหรับเป็นอาวุธในการต่อสู้กันและแย่งตัวเมียเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดและขากรรไกรเล็กกว่า มีสีลำตัวที่อ่อนกว่า แมงคีมมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิดที่ขนาดเล็กมีความยาวเพียง 5 เซนติเมตรเท่านั้น มีลำตัวโดยรวมค่อนข้างแบน มีหนวดแบบหักเหมือนข้อศอก โดยมีปล้องแรกยาวและปล้องต่อ ๆ ไปเป็นปล้องสั้น ๆ เรียงตัวกันในทิศทางเดียวกันแต่เป็นคนละทิศกับหนวดปล้องแรก ปล้องใกล้ส่วนปลายมีหลายปล้องที่ขยายใหญ่ขึ้นเป็นปมอาจจะประกอบไปด้วยปล้องเล็ก ๆ 3-4 ปล้อง หรือ 5-6 ปล้อง ซึ่งจำนวนปล้องที่ปลายหนวดนี้มีส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธานด้วย แมงคีมวางไข่และตัวหนอนเจริญเติบโตในซากไม้ผุเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae แต่จะไม่วางไข่ในดิน เพราะระยะเป็นตัวหนอนจะกินอาหารจำพวกไม้ผุหรือเห็ดราที่ติดมากับไม้เหล่านั้น แตกต่างกันไปตามชนิดหรือสกุล โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวเต็มวัยนานเป็นแรมปีเหมือนกัน แมงคีมพบได้ทั่วโลก ปกติเป็นแมลงที่ไม่ก้าวร้าวต่อมนุษย์ ในประเทศไทยสามารถพบได้หลายชนิด อาทิ แมงคีมยีราฟ (Prosopocoilus giraffa) ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ มีที่มีขนาดพอ ๆ กับนิ้วมือมนุษย์ พบได้ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งในภาคเหนือและภาคตะวันออก เป็นชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว และมีรายชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ด้วย แมงคีมนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงใช้สำหรับต่อสู้กันเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae ซึ่งอาจจะใช้ต่อสู้ด้วยกันก็ได้ และเป็นที่นิยมสะสมของนักสะสมแมลง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงคีม · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีมยีราฟ

แมงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมหยักสองต่อ (Giraffe stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prosopocoilus giraffa จัดอยู่ในวงศ์แมงคีม (Lucanidae) แมงคีมยีราฟจัดเป็นแมงคีมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจุดเด่น คือ เขี้ยวหรือขากรรไกรล่างที่ใช้เป็นอาวุธของตัวผู้ที่เรียวยาวและแลดูแข็งแรงมาก โดยอาจยาวได้ถึง 2.5-4.0 เซนติเมตร ในขณะที่ลำตัวมีความยาวทั้งหมดประมาณ 10.5 เซนติเมตรในตัวผู้ และ 7.5 เซนติเมตรในตัวเมีย ลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำเป็นเงามัน บริเวณตรงกลางส่วนอกของขาคู่กลาง และขาคู่หลังมีหนามข้างละ 1 อัน แต่ที่ขาคู่หลังจะมีขนาดเล็กกว่า ที่ฐานของขากรรไกรล่างมีปุ่มขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ข้างละ 1 อัน และมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ ส่วนหัวบริเวณขอบตรงกลางด้านบนจะมีปุ่มยื่นตรงไปด้านหน้า 1 คู่ ในขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามาก โดยที่ขากรรไกรในตัวผู้จะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามช่วงวัยและขนาดลำตัว ซึ่งยิ่งเจริญเติบโตมากและมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด คีมหรือขากรรไกรนั้นก็จะยาวใหญ่และมีส่วนโค้งและมีปุ่มเหมือนเขี้ยวมากขึ้นด้วย แมงคีมยีราฟพบกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งของหลายประเทศในทวีปเอเชียจนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือและภาคตะวันออก (มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) เป็นแมลงที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินยางไม้ตามเปลือกไม้ของต้นไม้ใหญ่ในป่า ตัวผู้มีพฤติกรรมใช้ขากรรไกรที่ยาวใหญ่นั้นต่อสู้เพื่อป้องกันตัว และสู้กับตัวผู้ตัวอื่น ๆ เพื่อแย่งตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ หรือแม้แต่สู้กับด้วงในวงศ์ Dynastinae ที่ใช้เขาเพื่อการต่อสู้ได้ด้วยเช่นกัน ในระยะที่เป็นตัวหนอน อายุการเป็นตัวหนอนของแมงคีมยีราฟจะแตกต่างออกไปตามเพศ ตัวผู้จะมีอายุราว 9 เดือน ขณะที่ตัวเมียมีอายุสั้นกว่าคือ 4-7 เดือน และตัวหนอนสามารถส่งเสียงขู่ผู้รุกรานได้ด้วย ด้วยการยกขาคู่หลังตั้งขึ้นให้ด้านข้างซึ่งเป็นแผ่นแข็งเสียดสีกับขาคู่กลางไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการสั่นจนมีเสียงพอรับรู้ได้ สำหรับสถานะในประเทศไทย เป็นแมลงที่หาได้ยากใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยงและสตัฟฟ์เพื่อการสะสม และการทำลายป่าที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้แมงคีมยีราฟถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเคยมีภาพปรากฏลงในสลากกินแบ่งรัฐบาลและแสตมป์ด้วยแต่ขณะนี้ได้มีความพยายามจากภาคเอกชนในการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงแล้ว ซึ่งแมงคีมยีราฟจะวางไข่ไว้ในไม้ผุเท่านั้น โดยจะไม่วางไข่ไว้ในดินเหมือนด้วงในวงศ์ Dynastinae เพราะตัวหนอนกินอาหารต่างกัน โดยจะกินไม้ผุและเห็ดราที่ติดมากับไม้นั้นด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงคีมยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

แมงป่อง

แมงป่อง (ภาษาไทยถิ่นอีสาน: แมงงอด; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงเวา) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง เป็นสัตว์มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี ตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

แรด

แรด เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแรด · ดูเพิ่มเติม »

แร็กคูน

แร็กคูน (raccoon, common raccoon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyon lotor อยู่ในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) มีความยาวลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวงมีแถบสีดำคาดเป็นปล้อง ๆ ยาวราว 10 นิ้ว ขนตามลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดจากตาไปเป็นแถบตลอดแก้ม แลดูคล้ายเหมือนโจรสวมหน้ากาก เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลางในหลายพื้นที่ ทั้งในป่า หรือแม้แต่ชุมชนของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเนื้อสัตว์และพืช อีกทั้งยังชอบที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการจับสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร เช่น กบ, ปลา, กุ้ง และปู หรือเต่าขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งนกหรือแมลงปีกแข็งขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ จะใช้วิธีการจับในน้ำตื้น ๆ ที่ขาหยั่งถึงแทน ในช่วงฤดูแล้งที่อาหารขนาดแคลนก็จะกินลูกไม้, ผลไม้ และดอกข้าวโพด เป็นอาหาร หรืออาจจะบุกเข้าไปในบ้านเรือนของมนุษย์ ขุดคุ้ยหาขยะหรือเศษอาหาร หรือแม้กระทั่งเปิดตู้เย็นหากิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนมือสำหรับหยิบจับอาหาร ซึ่งสามารถกระทำได้ถึงขนาดคลายปมเชือก และยังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมพิเศษ คือ ก่อนจะกินอาหาร มักจะนำไปล้างน้ำเสียก่อน จนมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์รักสะอาด แต่ความจริงแล้ว เป็นพฤติกรรมที่จะนวดอาหารให้นิ่มซะก่อน ก่อนที่จะกิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้เก่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ในเวลากลางวันจะนอนขดอยู่ตามพงไม้ หรือซอกหิน หรือนอนผึ่งแดดอยู่ในรัง ในตอนกลางคืนจะออกหากิน โดยใช้เส้นทางเดิม และมักจะใช้เส้นทางที่เป็นพื้นแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดรอยเท้า ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล แร็กคูน เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก จึงมีผู้นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง อีกทั้งขนและหนังมีความหนานุ่มและสีสวย จึงมีการล่าเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ด้วย ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยแร็กคูนถูกนำเข้าไปในเยอรมนีครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และแร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

แร้งเครา

แร้งเครา (Bearded vulture, Lammergeier, Ossifrage) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกแร้งชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทแร้งโลกเก่า โดยเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gypaetus แร้งเครา เป็นแร้งขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับแร้งชนิดอื่น ๆ จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีลักษณะที่แตกออกไปจากแร้งทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนหัวจะมีขนปุกปุยต่างจากแร้งทั่วไปที่หัวและลำคอจะล้านเลี่ยน สีของขนตามลำตัวเป็นสีเหลือง ส่วนหัวสีขาวเป็นสัญลักษณะบ่งบอกว่า แร้งตัวนั้นโตเต็มวัยแล้ว และมีกระจุกขนสีดำบริเวณจะงอยปากล่างแลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อ แร้งเครา มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 95–125 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 4.5–9.9 กิโลกรัม ความยาวปีกเมื่อกางเต็มที่เกือบ 10 ฟุต มีเอกลักษณะในการบินเฉพาะตัว มีสายตารวมถึงประสาทในการดมกลิ่นอย่างดีเยี่ยม กระจายพันธุ์ตามเทือกเขาสูงในทวีปยุโรปตอนใต้, แอฟริกา จนถึงอินเดีย และทิเบต เช่น เทือกเขาแอลป์ ทำรังและวางไข่บนหน้าผาสูงสำหรับใช้หลบหลีกจากสัตว์นักล่าชนิดต่าง ๆ ที่มารังควาญได้ นอกจากจะกินเนื้อและซากสัตว์ต่าง ๆ เหมือนแร้งชนิดอื่นแล้ว แร้งเครายังมีพฤติกรรมและชื่นชอบอย่างมากในการกินกระดูกด้วย สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะอาหารขาดแคลนด้วยปัจจัยของถิ่นที่อยู่อาศัยที่ทำให้หาอาหารได้ยากและสภาพอากาศที่หนาวเย็น เคยมีผู้พบแร้งเคราคาบกระดูกสัตว์ชิ้นใหญ่ เชื่อว่าเป็นกระดูกของแกะบินขึ้นไปในอากาศที่จุดสูงสุด และทิ้งลงไปให้แตกเป็นชิ้นละเอียดกับพื้น ก่อนจะบินลงมากินทั้งหมดลงไปในกร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแร้งเครา · ดูเพิ่มเติม »

แอดแดกซ์

แอดแดกซ์ หรือ แอนทิโลปขาว หรือ แอนทิโลปเขาเกลียว (addax, white antelope, screwhorn antelope) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นแอนทิโลปชนิดหนึ่ง จำพวกแอนทิโลปปศุสัตว์ จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Addax โดยคำว่า "แอดแดกซ์" นั้นมาจากภาษาอาหรับแปลว่า "สัตว์ป่าเขาเบี้ยว" ขณะที่ชื่อชนิดทางวิทยาศาสตร์ nasomaculatus มาจากภาษาละตินแปลว่า "จมูกเป็นจุด" (nasus (หรืออุปสรรคว่า naso) หมายถึง "จมูก" และ macula หมายถึง "จุด" และหน่วยคำเติม atus) ขณะที่ชาวเบดูอินจะรู้จักแอดแดกซ์ดี โดยคำว่าแอดแดกซ์นั้นมาจากภาษาอาหรับเรียกว่า bakr (หรือ bagr) al wahsh หมายถึง วัว, ควาย หรือสัตว์กีบทั่วไป แอดแดกซ์มีความแตกต่างจากแอนทิโลปอื่น ๆ ที่มีฟันขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมและไร้ต่อมบนหน้า มีความสูงจากไหล่ 91–115 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 120–130 เซนติเมตร ความยาวหาง 25–35 เซนติเมตร น้ำหนัก 60–125 กิโลกรัม ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีขนสีน้ำตาลเทาในฤดูหนาว และเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีซีดในฤดูร้อน มีขนสีน้ำตาลหรือดำรูปตัวเอ็กซ์บนจมูก ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขาทั้งคู่ ลักษณะเขาบิดเป็นเกลียวยาว 55–85 เซนติเมตร และมีการขด 2–3 ครั้ง มีกีบเท้าขนาดใหญ่เพื่อเดินบนพื้นทราย ที่กีบเท้าทั้งหมดมีต่อมกลิ่นอยู่ แต่เป็นสัตว์ที่มีความเชื่องช้าจึงมักตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าอยู่เสมอ ๆ เช่น หมาล่าเนื้อแอฟริกา, ไฮยีนา, ชีตาห์, เสือดาว, คาราคัล, เซอวัล โดยเป็นสัตว์ที่ไม่ก้าวร้าวแม้จะถูกรบกวนก็ตาม พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาเหนือ โดยเป็นสัตว์พื้นเมืองของชาด, มอริเตเนีย และไนเจอร์ ปัจจุบันนี้สูญพันธุ์ไปแล้วที่แอลจีเรีย, อียิปต์, ลิเบีย, ซูดาน และสะฮาราตะวันตก และกำลังได้รับการฟื้นฟูที่โมร็อกโกและตูนิเซีย ปัจจุบันเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตเนื่องจากพบน้อยกว่า 500 ตัว ในแถบทะเลทรายสะฮารา เป็นสัตว์ที่มีความอดทนอย่างมากจากการขาดน้ำเนื่องจากรับน้ำจากอากาศและพืชจำพวกพุ่มไม้หรืออาเคเชียที่กินเข้าไป อีกทั้งยังมีกระเพาะที่มีความพิเศษที่เก็บน้ำไว้ใช้ในคราวจำเป็น และปัสสาวะก็มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนโดยจะหลบนอนอยู่ตามร่มเงาของภูเขาทรายในเวลากลางวันและหลบพายุทะเลทราย แต่แอดแดกซ์เป็นสัตว์ที่มีอยู่จำนวนมากในสถานที่เลี้ยงหรือเขตอนุรักษ์ทางธรรมชาติในปัจจุบัน มีโครงการขยายพันธุ์ในหลายประเทศในหลายทวีป ทั้ง อิสราเอล, ญี่ปุ่น, อเมริกาเหนือ, ซูดาน, อียิปต์, ออสเตรเลี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแอดแดกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แตน

แตน (Hymenoptera) จัดเป็นแมลงจำพวกผึ้ง เพราะว่ามีเหล็กในและการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน แตนเป็นแมลงเอวคอด ปีกบางสองคู่ แตนมีหลายชนิดสร้างรังรูปแบบแปลกๆ สวยงาม แตนบัว หรือแตนฝักบัวสร้างรังคล้ายกับฝักบัวคว่ำ รังนี้ยึดติดแน่นกับกิ่งไม้ ด้านล่างของรังที่หันลงดินแบ่งเป็นช่องสำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน และเป็นทางเข้าออก แตนสร้างรังโดยการเคี้ยวไม้เก่าๆ ผสมกับน้ำลายซึ่งจะแปรสภาพเป็นเยื่อไม้แล้วเอาไปเรียงต่อกันเป็นห้องจนกลายเป็นรัง ภายหลังผสมพันธุ์เสร็จ เมื่อแม่แตนสร้างรังหรือห้องได้บ้างแล้ว มันจะไปหาอาหารมาทิ้งไว้ให้ลูกอ่อนกิน อาหารตัวอ่อนชอบกิน คือตัวหนอนผีเสื้อ ซึ่งแม่แตนจะต่อยให้สลบแล้วนำมาใส่ไว้ในช่องที่เตรียมไว้เมื่อไข่ฟักเป็นตัวก็จะมีอาหารกิน แมลงจำพวกเดียวกันกับแตนมีหลายชนิด เช่น ต่อ ต่อหมาร่า รูปร่างคล้ายกัน แต่สีแตกต่างกันไป สีเหลือง ดำสลับเหลือง รังอาจเป็นรูปกลมรี รูปกระปุกหรือแบบลูกฟูก แตนบางชนิดทำรังด้วยดิน เช่น หมาร่า หมวดหมู่:แมลง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และแตน · ดูเพิ่มเติม »

โพลีคีทา

ลีคีท (Polychaeta) หรือ ไส้เดือนทะเล เป็นสิ่งมีชีวิตพื้นทะเลอยู่ในไฟลัมสัตว์พวกหนอนปล้อง ลักษณะที่เด่นชัด คือ การมีเดือย (setae) หรือก้าน (chaetae) ในแต่ละปล้องเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ โพลีคีท (polychaete) โดย poly หมายถึง มาก และ setae หรือ chaete หมายถึง ขนแข็ง นอกจากนี้ ลำตัวของไส้เดือนทะเลยังมีระยางศ์สองข้างของแต่ละปล้อง เรียกว่า พาราโพเดียม (parapodium) งอกออกมาจากผนังด้านข้างของปล้อง ปล้องละ 1 คู่ ลักษณะเป็น 2 พู ประกอบไปด้วยพูด้านบนหรือด้านหลัง เรียกว่า โนโทโพเดียม (notopodium) และพูด้านล่างหรือด้านท้อง เรียกว่า นิวโรโพเดียม (neuropodium) ลำตัวของไส้เดือนทะเลนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และโพลีคีทา · ดูเพิ่มเติม »

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ใหม่!!: รายการสัตว์และโลมา · ดูเพิ่มเติม »

โลมาหลังโหนก

ลมาหลังโหนก หรือ โลมาขาวเทา หรือ โลมาเผือก หรือ โลมาสีชมพู (Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin;; 中華白海豚; พินอิน: Zhōnghuá bái hǎitún) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีจะงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูงรองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาว หรืออย่างน้อยขาวในบางส่วน หรือสีชมพู ซึ่งสีเหล่านี้ไม่ได้มาจากเม็ดสี แต่เป็นสีของหลอดเลือดที่ช่วยให้ไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงจนเกินไป และมีส่วนหลังที่เป็นสันนูนเหมือนโหนก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ขนาดโตเต็มที่ ตัวผู้ยาวประมาณ 3.2 เมตร ขณะที่ตัวเมียยาว 2.5 เมตร และลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร มีอายุโดยเฉลี่ย 40 ปี โลมาหลังโหนกเมื่ออายุมากขึ้นสีชมพูตามตัวจะยิ่งเข้มขึ้น และส่วนด้านท้องและด้านล่างลำตัวจะเป็นจุด และมีสีที่สว่างกว่าลำตัวด้านบน กระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่งหรือแหล่งน้ำตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณอินโดแปซิฟิก พบมากที่สุด คือ อ่าวรีพัลส์ หรือเกาะลันเตา ที่ฮ่องกง ที่มีจำนวนประชากรในฝูงนับร้อย โดยมากชายฝั่งทะเลที่โลมาหลังโหนกอาศัยอยู่นั้นมักจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอ ๆ แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น มีอุปนิสัยอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร จึงพบเห็นตัวได้โดยง่าย โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ กินปลาทั้งตามชายฝั่งและในแนวปะการังเป็นอาหารหลัก รวมทั้งหมึก, กุ้ง, ปู ออกหาอาหารเป็นฝูง โดยใช้คลื่นเสียง เป็นโลมาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาฝึกกันตามสวนน้ำหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และโลมาหลังโหนก · ดูเพิ่มเติม »

โลมาอิรวดี

ำหรับโลมาน้ำจืดจำพวกอื่น ดูที่: โลมาแม่น้ำ โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180-275 เซนติเมตร น้ำหนักไม่มีรายงาน มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบชิลิก้า ประเทศอินเดีย, แม่น้ำโขง, ทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำมหาคาม ประเทศอินโดนีเซีย และปากแม่น้ำบางปะกง โดยสถานที่ ๆ พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด คือ ทะเลสาบสงขลา ในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์ โลมาอิรวดีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง", "โลมาน้ำจืด", "โลมาหัวหมอน" ในภาษาใต้ และ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และโลมาอิรวดี · ดูเพิ่มเติม »

โลมาปากขวด

ลมาปากขวด หรือ โลมาหัวขวด (Bottlenose dolphin) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tursiops (/ทูร์-ไซ-ออฟส์/) จัดอยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) มีลำตัวสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจางหรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จะงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง รูปร่างค่อนข้างอ้วน ไม่มีลายหรือจุดประแต่ประการใด ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 2.3-3.1 เมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในบางฝูงอาจพบได้ถึงหลายร้อยตัวจนถึงหลักพัน และชอบว่ายน้ำแข่งกับเรือขณะที่เรือเดินอยู่ในทะเลได้หลายไมล์ และมีความเร็วในการว่ายน้ำประมาณ 40.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง โลมาปากขวด เป็นโลมาที่ฉลาด มีความแสนรู้ ขี้เล่น เป็นมิตรกับมนุษย์ จึงนิยมเลี้ยงไว้แสดงตามสวนสัตว์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ตามทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นรวมถึงเขตหนาวทั่วโลก แต่เดิมถูกแบ่งไว้เพียงชนิดเดียว คือ โลมาปากขวดธรรมดา (T. truncatus) แต่ต่อมาในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และโลมาปากขวด · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไก่

ลูกเจี๊ยบขณะมีอายุได้หนึ่งวัน ไก่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา เสียงร้องดัง ต๊อก ต๊อก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้าพญาลอ

ก่ฟ้าพญาลอ (Siamese fireback, Diard's fireback) เป็นไก่ขนาดกลางในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) มีขนสวยงาม พบในประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ฟ้าพญาลอ · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้าสีทอง

ก่ฟ้าสีทอง (Golden pheasant, Red golden pheasant, Chinese pheasant; 红腹锦鸡) เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมาก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางส่วนในปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี ไก่ฟ้าสีทอง ตัวผู้จะมีหลายสี (5 สี) แต่ถ้าเป็นสีทองส่วนของอกจะมีสีแดง ส่วนหลังมีสีเหลืองและปีกมีสีน้ำเงิน นัยน์ตาจะเป็นวงแหวนนสีน้ำเงิน สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลพื้นธรรมดา นัยน์ตาไม่มีวงแหวน เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 500-700 กรัม มีรูปร่างป้อม และไม่มีหงอน ไก่ฟ้าสีทอง สามารถแยกแยะเพศออกได้เมื่อมีอายุ 3 เดือน ดูความแตกต่างที่วงแหวนของดวงตา ส่วนสีขนจะค่อย ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งตัวเต็มวัย เฉลี่ยประมาณ 1.5-2 ปี จึงจะมีสีเหมือนกับไก่ตัวเต็มวัย โตเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ 2 ปี ออกลูกในช่วงฤดูร้อนเพียงปีละครั้ง ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ออกไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 21-23 วัน ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นฟาร์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างเสรี เนื่องจากไม่จัดว่าเป็นสัตว์ที่จะจัดอยู่ในสถานะคุ้มครองตามกฎหมายแต่ประการใด โดยการเลี้ยงในแบบฟาร์ม สามารถทำให้ไก่ออกไข่ได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยแล้วปีละถึง 20-30 ฟอง มีอายุขัยในที่เลี้ยงประมาณ 15 ปี โดยมีราคาขายในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงามถึงราคาคู่ละ 6,000-7,000 บาท (อายุ 1.5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับอายุของไก่ที่ขายและสายพันธุ์ โดยราคาสูงอาจไปถึงคู่ละ 400,000-500,000 บาท ในอดีตราว 20 ปีก่อน (นับจาก พ.ศ. 2555) ไก่ฟ้าสีทองมีราคาขายเพียงคู่ละไม่เกิน 1,000 บาท เท่านั้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ฟ้าสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้าหลังขาว

องไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังขาว (Silver pheasant) เป็นนกในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) ที่พบในป่าในภูมิภาคอินโดจีน และทางตะวันออกและทางใต้ของจีน ถูกนำเข้าไปในรัฐฮาวายและในบางส่วนของสหรัฐอเมริกา ตัวผู้มีสีดำและขาว ตัวเมียมีสีน้ำตาล ทั้งสองเพศมีหน้ากากหนังสีแดงที่หน้า ขามีสีแดง (ใช้แบ่งชนิดจากไก่ฟ้าหลังเทาที่มีขาสีเทา)McGowan, P. J. K. (1994).

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ฟ้าหลังขาว · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้าหลังเทา

ก่ฟ้าหลังเทา (Kalij pheasant) เป็นไก่ฟ้าที่พบในป่าทึบโดยเฉพาะในตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัย จากแม่น้ำสินธุไปทางตะวันตกจนถึงไทย มันถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวาย (แต่ค่อน ข้างหายาก) ที่นั่นมันจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กินและแพร่กระจายพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตัวผู้มีขนหลากหลายขึ้นกับชนิดย่อย แต่อย่างน้อยก็มีสีขนดำออกฟ้า ขณะที่เพศเมียเป็นสีน้ำตาลทั้งตัว ทั้งสองเพศมีหนังสีแดงที่หน้า ขาออกเทาMcGowan, P. J. K. (1994).

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ฟ้าหลังเทา · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้าหน้าเขียว

ก่ฟ้าหน้าเขียว (Crested fireback) เป็นไก่ฟ้าที่มีความสวยงาม มีลักษณะเด่นคือมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้า ต่างจากไก่ฟ้าชนิดอื่นๆที่มีแผ่นหนังสีแดง พบในประเทศไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ฟ้าหน้าเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ต๊อก

ก่ต๊อก (guineafowl, guineahen) เป็นวงศ์ของสัตว์ปีกจำพวกไก่วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Numididae ลักษณะโดยทั่วไปของไก่ต๊อก คือ มีจะงอยปากสั้นและหนา สีน้ำตาลหรือแดงอมส้ม มีเหนียงสีเทาอมดำห้อยอยู่ที่จะงอยปากล่างแผ่ไปทั้ง 2 ข้างของคาง และมีเหนียงสีขาวประแดงบริเวณใต้ขากรรไกรทั้ง 2 ข้างด้วย หัวถึงสันคอมีขนเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำตัวป้อม ขนหางมี 14-16 เส้น หางสั้น ปลายชี้ลง ขาแข็งแรง ส่วนนิ้วตีนเหมือนไก่ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้มีเดือยหรือไม่มีแล้วแต่ชนิด มีพฤติกรรมการจับคู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางครั้งอาจมีสมาชิกได้ถึง 100 ตัว แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา หากินตามพื้นดินมากกว่าจะขึ้นต้นไม้ จะบินหรือขึ้นต้นไม้ต่อเมื่อจำเป็น เช่น หนีศัตรู มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งและทุ่งหญ้าสะวันนา ในธรรมชาติมักตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงบาบูน, เสือชีตาห์, ไฮยีนา, หมาจิ้งจอก, เสือดาว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหารสำหรับมนุษ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ต๊อก · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่า

''Gallus gallus'' ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไก่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไส้เดือนดิน

้เดือนดิน หรือไส้เดือน หรือรากดิน (earthworm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแอนเนลิดา ในอันดับย่อย Lumbricina มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ เป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ปัจจุบันพบทั่วโลกประมาณ 4,400 ชนิด โดยแบ่งออกได้ตามลักษณะแหล่งที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไส้เดือนดิน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮยีน่า

ีนา (hyena; มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า ὕαινα ออกเสียงว่า /ฮือไอนา/ หรือ /ฮือแอนา/) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Hyaenidae ไฮยีนา มีลักษณะและรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสุนัขหรือหมาป่า ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์ Canidae แต่ไฮยีนาก็ไม่ใช่สุนัข หากแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของตนเองต่างหาก โดยอยู่ในอันดับย่อย Feliformia ซึ่งใกล้เคียงกับแมวและเสือ (Felidae) มากกว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และไฮยีน่า · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M. sibirica), เพียงพอนเหลือง (M. nudipes) และเพียงพอนเส้นหลังขาว (M. strigidorsa).

ใหม่!!: รายการสัตว์และเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวิน

นกวิน (Penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเพนกวิน · ดูเพิ่มเติม »

เกรินุก

กรินุก, วอลเลอส์กาเซลล์ หรือ แอนทิโลปคอยีราฟ (gerenuk, Waller's gazelle, giraffe-necked antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovinae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Litocranius มีลักษณะทั่วไปเหมือนสัตว์ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันไป แต่มีลักษณะเด่นคือ มีคอยาวและขายาวกว่าชนิดอื่น ๆ ซึ่งคำว่า "เกรินุก" นั้นมาจากคำในภาษาโซมาเลีย หมายถึง "คอยีราฟ" เพราะเกรินุกมีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลก คือ มักจะยืนบนสองขาหลัง ทำให้สามารถยืดคอขึ้นไปกินใบไม้ที่อยู่สูงขึ้นไปเหมือนยีราฟ ส่วนสองขาหน้าจะใช้เกาะกิ่งไม้ไว้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ในตัวผู้จะมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม ในตัวเมีย 33 กิโลกรัม มีความสูงวัดจากเท้าจนถึงหัวไหล่ประมาณ 85 เซนติเมตรจนถึง 1 เมตร ความยาวลำตัวประมาณ 1.5-1.6 เมตร ความยาวหาง 25-30 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10-12 ปี ตัวผู้มีเขาที่โค้งงอสวยงาม ขณะที่ตัวเมียไม่มีเขาและตัวเล็กกว่า ขณะกินใบไม้ ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรูในเคนยา เกรินุกถือเป็นจุดสนใจในบรรดาสัตว์ป่า 5 ชนิดที่พบได้ในนั้น ซึ่งประกอบไปด้วยเกรินุก, ยีราฟลายร่างแห, นกกระจอกเทศโซมาลี, ม้าลายเกรวี และไบซาออริกซ์ จะพบได้ในเขตแอฟริกาตะวันออก เฉพาะที่เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรูเท่านั้น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเกรินุก · ดูเพิ่มเติม »

เก้ง

ก้ง หรือ อีเก้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเก้ง · ดูเพิ่มเติม »

เก้งหม้อ

ก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (Fea's muntjac, Tenasserim muntjac) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย เป็นเก้งที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าเหลือเพียงตัวเดียวในโลก ที่สวนสัตว์ดุสิต แต่ปัจจุบัน ยังพอหาได้ตามป่าธรรมชาติและวัดในพรมแดนไทยพม่า ที่พระสงฆ์เลี้ยงอยู่ เก้งหม้ออาศัยอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณหุบเขาหรือป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ อดน้ำได้ไม่เก่งเท่าเก้งธรรมดา ออกหาอาหารตามลำพังในช่วงเย็นหรือพลบค่ำ แต่ในบางครั้งอาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ในฤดูผสมพันธุ์ จะผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเก้งหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

เมียร์แคต

มียร์แคต (Meerkat, Suricate) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (2 ปอนด์) และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน (Herpestidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Suricata และแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เมียร์แคตมีอุ้งเล็บที่มีลักษณะโค้งเพื่อใช้ในการขุด และมีจมูกไวมาก มีขนสั้นสีน้ำตาล มีขนเป็นแนวเส้นขนานพาดข้ามหลัง อาศัยและหาอาหารในโพรงดินที่ขุดขึ้น โดยอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็ก ๆ อีกด้วย อีกทั้งยังสู้และกินสัตว์มีพิษต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น แมงป่อง ตะขาบ งูพิษ เป็นต้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่บางครั้งอาจมีสมาชิกถึง 30 ตัว และอยู่ร่วมกับสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น กระรอกดิน ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบ ๆ จะออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เมียร์แคตถือได้ว่าเป็นสัตว์มีประสาทสัมผัสและการระแวดระวังภัยที่ดีมาก โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50 เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย ทั้งนี้โพรงของเมียร์แคตมีความลึกลงไปในใต้ดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มีทางหลบหนีเมื่อมีภัยมา เมียร์แคตจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือนตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเมียร์แคต · ดูเพิ่มเติม »

เม่นหางพวง

ม่นหางพวง (Asiatic brush-tailed porcupine) เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเม่นชนิดหนึ่ง ในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) เป็นเม่นขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 36–52 เซนติเมตร ความยาวหาง 14–23 เซนติเมตร ขนตามลำตัวและหนามเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีหางที่ยาวกว่าหางของเม่นในสกุล Hystrix ปลายหางเป็นพู่ แต่จะไม่มีขนแผงคอ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภาคใต้และมณฑลไหหลำของจีน, ภาคเหนือและตะวันออกของเมียนมา, ทั่วทุกภาคของไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม, มาเลเซีย ตลอดจนถึงเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย มีชื่อพ้อง คือ Atherurus assamensis (Thomas, 1921) และ Atherurus macrourus (Thomas, 1921) และชนิดย่อย คือ assamensis เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าอุดมสมบูรณ์ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม อาหารได้แก่ รากไม้, ผลไม้, เปลือกไม้ของพืชบางชนิด และซากกระดูกหรือเขาสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยมักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ละ 6–8 ตัว นอนตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน โดยใช้โพรงไม้เดิมเป็นเวลาหลายปี บางครั้งพบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ในโพรงเดียวกัน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเม่นหางพวง · ดูเพิ่มเติม »

เม่นทะเล

ม่นทะเล หรือ หอยเม่น (Sea urchin) เป็นสัตว์ในชั้น เอไคนอยเดีย (Echinoidea) ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา และอยู่ในกลุ่มเอคไคนอยด์ที่มีสมมาตร อาศัยอยู่ตามพื้นแข็ง มีสีต่างกัน ด้านที่เกาะกับพื้นเป็นปาก ทวารหนักอยู่กลางลำตัว ด้านบนสุด เม่นทะเลจะมีหนามสองขนาด หนามขนาดยาวใช้ในการผลักดันพื้นแข็ง ขุดคุ้ยสิ่งต่างๆหรือช่วยในการฝังตัว หนามเล็กสั้นใช้ยึดเกาะเวลาปีนป่าย เม่นทะเลที่มีพิษจะมีหนามที่กลวงและมีพิษอยู่ภายใน หนามนี้จะแทงทะลุผิวหนังได้ง่าย เมื่อหักจะปล่อยสารพิษออกมา อาหารของเม่นทะเลคือสาหร่าย สัตว์ที่ตายแล้ว และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เกาะอยู่กับที่ มีตาด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเม่นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เม่นใหญ่แผงคอยาว

ม่นใหญ่แผงคอยาว (Malayan porcupine, Himalayan porcupine, Large porcupine) เป็นเม่นขนาดใหญ่ หูและหางสั้น ขนตามลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีขนแข็งแหลมและยาวมากบนหลังและสะโพก ซึ่งขนดังกล่าวจะชี้ตรงไปทางด้านหลัง ก้านขนมีสีขาว บางเส้นอาจมีวงสีดำสลับอยู่ ขนแผงคอยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลเข้ม มีฟันหน้าที่ใหญ่ยาวและแข็งแรงมาก มีความยาวลำตัวและหัว 63.5-72.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.4-11.4 เซนติเมตร น้ำหนัก 20-27 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, ภูฏาน, จีน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ทั้งป่าสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมที่ผ่านการทำลายมาแล้ว หลับนอนในโพรงที่ขุดขึ้นมาเอง บริเวณปากโพรงจะปกคลุมด้วยพืชรกชัฏเพื่ออำพราง ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวกรากพืช หน่อไม้ เปลือกไม้ ผลไม้สุกที่ร่วงจากต้น กระดูกสัตว์รวมทั้งเขาสัตว์ด้วย เช่น เขาของเก้งหรือกวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซี่ยมให้กับร่างกาย อีกทั้งเป็นการขัดฟันไม่ให้ยาวเกินไปในตัวด้วย นอนหลับในเวลากลางวันในโพรง โดยจะลากเอาเขาหรือกระดูกสัตว์เข้ามาแทะถึงในโพรง เมื่อพบศัตรูจะกระทืบเท้าเสียงดัง หากไม่สำเร็จจะค่อย ๆ เดินหนี หากศัตรูยังตามมา จะวิ่งหนีรวดเร็วและหยุดอย่างกะทันหัน เพื่อให้ศัตรูหยุดไม่ทันและถูกหนามแหลมทิ่ม โดยปกติจะสั่นขนของตัวเองอยู่เสมอ ทำให้มักได้ยินเสียงการกระทบกันของเส้นขนอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นการอวดศักยภาพของตัวเอง หรือแม้แต่เดินธรรมดา ๆ ก็จะได้ยินเสียงเส้นขนลากกับพื้น เม่นใหญ่แผงคอยาวออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว มีอายุสูงสุดในที่เลี้ยง 27 ปี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเม่นใหญ่แผงคอยาว · ดูเพิ่มเติม »

เรือด

รือด (Bedbug) เป็นแมลงขาปล้องที่เป็นปรสิต อยู่ใน Phylum Arthropoda, Class Insecta มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cimex lectularius.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเรือด · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผา

ลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (Serows; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/).

ใหม่!!: รายการสัตว์และเลียงผา · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เสือชีตาห์

ือชีตาห์ (Cheetah) เป็นเสือเล็กชนิดหนึ่ง เนื่องไม่สามารถส่งเสียงคำรามได้ แต่จากรูปร่างภายนอก ทำให้นิยมเรียกกันว่า เสือชีตาห์ เสือชีตาห์มีที่อยู่อาศัยในทุ่งหญ้าสะวันนา เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมากวิ่งได้เร็วประมาณ 110–120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นสัตว์บกที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก เป็นผลมาจากความสามารถในการโค้งงอของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนที่และเมื่อพุ่งตัวกระดูกสันหลังจะเหยียดออก ปัจจุบันเสือชีตาห์ลดจำนวนลงในทวีปเอเชียเหลืออยู่แค่ในอิหร่านไม่เกิน 20 ตัว ส่วนในแอฟริกาประมาณการว่าเหลืออยู่ราว 4,000 ตัวเท่านั้น เสือชีตาห์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acinonyx jubatus และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acinonyx ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเสือชีตาห์ชนิดอื่น ๆ นั้นได้สูญพันธุ์ไปหมดในยุคน้ำแข็งสุดท้าย จึงทำให้สายพันธุ์กรรมของเสือชีตาห์ทั้งหมดในปัจจุบันใกล้ชิดกันมาก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือชีตาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาว

ำหรับเสือดำ มีบทความขยายที่: เสือดำ เสือดาว หรือ เสือดำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (P. tigris) thumb.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวหิมะ

ือดาวหิมะ (Snow leopard, Ounce) สัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera uncia เดิมทีเสือดาวหิมะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Uncia โดยใช้มาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 แต่จากการศึกษาด้านจีโนไทป์พบว่าอยู่ในสกุล Panthera เช่นเดียวกับเสือใหญ่หลายชนิด ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือดาวหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งอินโดจีน

ือโคร่งอินโดจีน (Indochinese tiger, Corbett's tiger) เสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) และขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย โดยถูกอนุกรมวิธานแยกออกมาจากเสือโคร่งเบงกอลในปี พ.ศ. 2511 โดยเฉพาะที่พม่าจะมีเสือโคร่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ โดยแบ่งตามภูมิศาสตร์โดยถือเอาแม่น้ำอิรวดีเป็นเกณฑ์ คือ เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจะอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ส่วนเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นอกจากนี้ในอดีตเคยมีในจีนด้วย เสือโคร่งอินโดจีนในจีนตัวสุดท้ายตายลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 ที่เมืองลา มณฑลยูนนาน เนื่องจากชาวบ้านคนหนึ่งฆ่า เสือโคร่งอินโดจีนอาศัยและหากินอยูในป่าที่ราบต่ำใกล้แหล่งน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าผลัดใบ ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และกลาง เช่น วัว, ควายป่า, กวาง, กระทิง เป็นอาหาร โดยมักจะกินเนื้อบริเวณตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วจะกลับมากินใหม่จนหมด ในบางครั้งเมื่อมีลูกเสือที่อ่อนแอ แม่เสืออาจกินลูกด้วยถ้าหากปกป้องหรือเลี้ยงต่อไปไม่ได้ เสือโคร่งเป็นเสือที่ชอบเล่นน้ำและว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะและชายฝั่งทะเลได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยการใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์เสือตัวผู้จะรับรู้ถึงความต้องการของเสือตัวเมียจากเสียงร้องที่ดังขึ้นบ่อยขึ้น เมื่อได้ผสมพันธุ์แล้วเสือตัวผู้จะจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับเสือตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก เสือโคร่งอินโดจีนมีระยะตั้งท้อง 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลูกครั้งละ 1–7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ลูกเสือที่ไม่แข็งแรงจะตายไป ตัวที่เหลือจะได้รับการเลี้ยงดูและฝึกสอนให้หาอาหารจากแม่ต่อไป เมื่อลูกเสือโตพอที่จะล่าเหยื่อได้เอง ก็จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือ ป่าเขาใหญ่และป่าผืนภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งมีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกสัตว์กีบมากที่สุด โดยสัตว์ที่ถูกล่าเป็นเพื่อเป็นอาหารมากที่สุด คือ วัวแดง --> สำหรับประเทศพม่าผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ทางรัฐบาลทหารพม่านับจำนวนประชากรเสือในป่าได้ทั้งหมด 85 ตัว ในปี 2553 ตัวเลขนี้ไม่สามารถนับเป็นข้อมูลสถิติได้ เนื่องจากข้อมูลการนับดังกล่าวไม่ได้ระบุวันเวลาและข้อมูลอื่นๆไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่ายังมีเสือโคร่งอินโดจีนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามป่าแถบตะวันออกบริเวณรอยต่อชายแดนไทย ในภูมิภาคอินโดจีน เสือโคร่งถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์จากพื้นที่แถบนี้ทั้งหมด ที่ประเทศเวียดนาม ปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งเบงกอล

ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวรุ้ง

หยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง (Crested serpent-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู).

ใหม่!!: รายการสัตว์และเหยี่ยวรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวดำ

หยี่ยวดำ (Black kite, Pariah kite) เป็นเหยี่ยวชนิดหนึ่ง จัดเป็นนกขนาดกลาง ขนาดลำตัวประมาณ 60-66 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกันคือ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองทั้งด้านบนและด้านล่าง ปีกสีน้ำตาลเข้ม หางเป็นแฉกตื้น ๆ มองดูคล้ายง่าม ปากสั้นสีดำแหลมคม ปลายปากเป็นขอ หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกยาว ส่วนนกที่ยังไม่โตเต็มที่ ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน พร้อมกับมีขีดสีเหลืองอ่อนทั่วทั้งตัว พบกระจายพันธุ์อยู่กว้างขวางในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ยูเรเชีย, ออสตราเลเชีย และโอเชียเนีย จึงทำให้มีชนิดย่อยหลากหลายถึง 5 ชนิด (ดูในตาราง) และเป็นนกอพยพในหลายพื้นที่ในช่วงฤดูหนาว ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือ, ภาคกลางและภาคใต้ มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวัน ชอบบินอยู่ตามที่โล่งชายป่า ตามริมฝั่งทะเล หรือตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อจับเหยื่อได้ก็มักกินบนพื้นดิน หรืออาจนำไปกินบนต้นไม้ พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่หรือเป็นฝูง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ เหยี่ยวดำจะทำรังรวมกันเป็นกลุ่มบนต้นไม้สูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันสร้างรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ นำมาขัดสานกัน จากนั้นทั้งคู่จะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อน นกจะใช้เวลากกไข่นานประมาณ 29-32 วัน ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ปกติ 3 ฟอง ไข่ของเหยี่ยวดำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ในการสำรวจในปี..

ใหม่!!: รายการสัตว์และเหยี่ยวดำ · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวแดง

หยี่ยวแดง (Brahminy kite, Red-backed sea-eagle) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางในวงศ์ Accipitridae สามารถพบได้ในอนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเหยี่ยวแดง · ดูเพิ่มเติม »

เหี้ย

หี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย (แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ดูในตาราง) โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เหี้ยดำ

หี้ยดำ หรือ มังกรดำ (Black water monitor, Black dragon) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Varanus komaini มีรูปลักษณะทั่วไปคล้ายเหี้ย มีขนาดใกล้เคียงกับเหี้ยทั่วไป เมื่อโตเต็มวัยจากปลายหัวถึงโคนหาง 9ฟุต สีดำด้านทั้งตัว บางตัวก็มีจุดและลายแทรกอยู่บ้าง แต่ลายจะจาง ท้องสีเทา ลิ้นสีน้ำเงินเข้ม เหี้ยดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลหรือป่าชายเลนและบนเกาะเล็ก ๆ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยเท่านั้น โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคืออำเภอละงู จังหวัดสตูล และสถานที่ ๆ พบเหี้ยดำจะไม่พบเหี้ยเลย ในประเทศไทยหายากมาก และมีรายงานพบทางประเทศมาเลเซีย บริเวณ ปีนัง และ อินโดนีเซีย บริเวณ ลัมปุง และบางหมู่เกาะทางตอนเหนือของอินโดนีเซีย ปัจจุบัน เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ CITES2 และถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเหี้ยดำ · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอก

อก (hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กที่อยู่ในวงศ์ย่อย Erinaceinae ในวงศ์ใหญ่ Erinaceidae เฮดจ์ฮอก มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเม่น ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งอยู่กันคนละอันดับกัน คือ ด้านหลังของลำตัวปกคลุมไปด้วยขนที่มีลักษณะแข็งคล้ายหนาม ซึ่งไว้สำหรับป้องกันตัว แต่เฮดจ์ฮอกมีขนาดที่เล็กกว่ามาก และมีหนามที่สั้นกว่ามาก โดยขนของเฮดจ์ฮอกมีลักษณะเล็กแข็งคล้ายเสี้ยนหรือหนามมากกว่า มีส่วนใบหน้าคล้ายหนู แต่มีจมูกที่เรียวยาวที่ขมุบขมิบสำหรับดมกลิ่นอยู่ตลอด ขนของเฮดจ์ฮอกตลอดทั้งตัวมีประมาณ 7,000 เส้น ในเส้นขนมีลักษณะกลวงแต่แข็งแรงด้วยสารประกอบเคราติน จึงมีน้ำหนักเบา และซับซ้อนเพื่อช่วยในการรับแรงกระแทกของสัตว์ใหญ่ที่เข้ามาจู่โจมหรือรับแรงกระแทกหากตัวเฮดจ์ฮอกต้องตกจากที่สูงPets 101- Hedgehogs, ทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่า · ดูเพิ่มเติม »

เต่ากระ

ต่ากระ หรือ เต่าปากเหยี่ยว (Hawksbill sea turtle) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลาน และเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Eretmochelys มีลักษณะคล้ายเต่าตนุ (Chelonia mydas) โดยที่เป็นเต่าทะเลขนาดกลาง มีลำตัวไม่ใหญ่มากนัก จะงอยปากแหลมงองุ้มคล้ายกับจะงอยปากของนกเหยี่ยว มีเกล็ดบริเวณหัวด้านหน้า 2 คู่ และเกล็ดบริเวณด้านข้างข้างละ 4 เกล็ด ลักษณะของกระดองมีลวดลายและสีสันสวยงาม ขอบกระดองเป็นหยักโดยรอบ ซึ่งในอดีตมักจะถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับและข้าวของต่าง ๆ เช่น หวี เมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดความยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม เต่ากระพบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นในมหาสมุทรทั่วทั้งโลก โดยมักอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งที่สงบเงียบไม่มีการรบกวน จากการศึกษาพบว่า เต่ากระกินทั้งได้พืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่งองุ้มนี้กินทั้งสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล รวมทั้งสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ รวมถึงปะการังด้วย วางไข่บนชายหาดครั้งละ 150-250 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และจัดเป็น 1 ใน 4 ชนิดของเต่าทะเลที่พบได้ในน่านน้ำไท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่ากระ · ดูเพิ่มเติม »

เต่ากระอาน

ต่ากระอาน (Northern river terrapin) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง จัดเป็นเต่าน้ำจืด-น้ำกร่อย มีความยาวกระดองมากกว่า 60 เซนติเมตร ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และถือว่าเป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ ล่าสุดชาวบ้านในพื้นที่ อ.ตะกั่วทุ่ง.พังงา พบบริเวณคลองถ้ำเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่ากระอาน · ดูเพิ่มเติม »

เต่ามะเฟือง

ต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (Leatherback turtle) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Dermochelyidae และสกุล Dermochelys เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีขนาดคล้ายผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตร.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่ามะเฟือง · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหก

ต่าหก (Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manouria emys เมื่อโตเต็มที่มีกระดองยาว 2 ฟุต น้ำหนักประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆ ขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ และไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีกสองขา เป็นหกขา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก เต่าหก พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย แม้จะเป็นเต่าบก แต่ก็ชอบความชื้น ชอบอาศัยอยู่ในโคลนตมหรือใกล้แหล่งน้ำ ในป่าดิบเขา โดยจะขุดหลุมแล้วฝังตัวอยู่ ไม่ค่อยพบในที่ราบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าหก · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหับ

ต่าหับ (Asian box turtle, Siamese box terrapin) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเต่านา แต่มีกระดองโค้งนูนสูงกว่า กระดองราบเรียบ ใต้ท้องแบ่งเป็น 2 ตอน ซึ่งเรียกว่า "แผ่น" หรือ "หับ" หรือ "ขีด" สามารถเก็บขา หัว และหางเข้ากระดองได้มิดชิด อันเป็นที่มาของชื่อ หัวมีขนาดเล็กสีเหลืองมีลวดลายสีดำ กระดองสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาวหรือสีเหลือง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่ชอบอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าลงน้ำ ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่เพียงครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มีชนิดย่อย ถึง 4 ชนิด ได้แก่ C. a. lineata พบในพม่า, C. a. amboinensis พบในอินโดนีเซีย, ซูลาเวสี, C. a. couro พบในสุมาตรา, ชวา, บาหลี และ C. a. kamaroma พบในไทย, มาเลเซีย นอกจากนี้แล้ว เต่าหับยังมีความแตกต่างหากหลายทางสีสันและลวดลายต่าง ๆ ออกไปอีก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยจากสถิติในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าเต่าหับนับเป็นสัตว์ที่มีการลักลอบซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดค้าสัตว์ป่าร่วมกับลิ่น โดยเต่าที่เข้ามาในประเทศไทย ส่วนมากจะถูกนำเข้ามาทางอินโดนีเซียผ่านมาทางมาเลเซีย และเข้ามาทางภาคใต้ของไทย ก่อนจะนำออกต่อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม โดยเต่าหับนอกจากได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังถือว่าเป็นสัตว์นำโชคอีกด้วย เชื่อว่าจะนำโชคลาภมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเต่าหับตัวใดมีหับที่ใต้ท้องมากกว่า 2 ตอน หรือ 3 ตอน และยังนำกระดองไปทำเป็นเครื่องรางของขลังได้อีกด้ว.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าหับ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าจักร

ต่าจักร (Spiny turtle, Spiny terrapin) สัตว์เลืิ้อยคลานประเภทเต่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เต่าจักร มีสันหนาเป็นเส็นกลางแผ่นเกล็ดสันหลังทุกแผ่น และมีตุ่มหลายตุ่มบนแผ่นเกล็ดชายโครงแต่ละแผ่น เมื่อยังเป็นเต่าวัยอ่อนจะมีแผ่นเกล็ดขอบกระดองแต่ละชิ้นคล้ายหนามแหลม 1 หนามคล้ายจักร อันเป็นที่มาของชื่อ ยกเว้นแผ่นเกล็ดขอบกระดอง ที่ 4 ที่ 5 จะมี 2 หนามซึ่งหนามที่ปรากฎในลูกเต่าจะค่อย ๆ หายไปเมื่อโตเต็มที่ ขาหน้าไม่มีผังพืด กระดองหลังสีน้ำตาลแดง กระดองท้องและด้านข้างแผ่นเกล็ดขอบกระดองออกสีเหลืองหรือสีส้ม และมีเส้นลายสีน้ำตาลดำ ขาสีน้ำตาลดำเกล็ดลำตัวออกสีชมพูอ่อน ผิวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวสีน้ำตาล พบกระจายพันธุ์ในที่ชุ่มชื้นของป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย เช่น ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง ไปจนถึงพม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงฟิลิปปินส์ เต่าจักร เป็นเต่าที่อาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ โดยมักจะอยู่ในสภาพพื้นที่ ๆ มีความชุ่มชื้นและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นมากกว่า และพบได้ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร กินผักและผลไม้เป็นอาหาร จัดเป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 6.5 กิโลกรัม นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันสามารถขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว โดยพฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่จะเลียนแบบตามพฤติกรรมในธรรมชาติ คือ เต่าตัวผู้จะไล่กัดตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนหรือเวลาที่ฝนตก เต่าตัวเมียวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน สามารถวางไข่ได้ 3 ครั้่งต่อปี มีระยะเวลาฟักเป็นตัวนานประมาณ 106, 110, และ 145 วัน เต่าจักรเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าจักร · ดูเพิ่มเติม »

เต่าดาว

ต่าดาว (Star tortoise, Typical tortoise) เป็นสกุลของเต่าจำพวกเต่าบกสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Geochelone (/จี-โอ-เช-ลอน/) พบกระจายพันธุ์บนบกในป่าทวีปเอเชียและแอฟริกา จัดเป็นสกุลที่เป็นต้นแบบของเต่าบกในอีกหลายสกุลและหลายชนิด ปัจจุบันจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าดาว · ดูเพิ่มเติม »

เต่าดาวพม่า

ต่าดาวพม่า (Burmese star tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geochelone platynota) เป็นเต่าบกที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 11 นิ้ว มีลวดลายบริเวณกระดองหลังเป็นรูปดาว ความเข้มของสีกระดองจะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม มีช่วงวัยเจริญพันธุ์ 10-15 ปี ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน มักวางไข่ใต้พื้นทรายหรือทรายที่ปนดิน ระยะเวลาฟักไข่ 130-148 วัน มีถิ่นอาศัยในป่าผลัดใบ, ป่าดิบแล้ง ทุ่งหญ้าทางตอนเหนือของประเทศพม่า อาหารที่เต่าดาวพม่าชอบคือ ผักชนิดต่าง ๆ อาทิ คะน้า, กะหล่ำปลี, ผักโขม, ตำลึง, หน่อไม้ และมะเขือเทศ ปัจจุบันเต่าดาวพม่าได้ถูกขึ้นบัญชีอนุสัญญา CITES ห้ามล่า ห้ามซื้อขายในตลาดค้าสัตว์ ทำให้เต่าดาวพม่าเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นและเป็นสัตว์หายาก ในประเทศไทยสวนสัตว์นครราชสีมา หรือสวนสัตว์โคราช ที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ เต่าดาวพม่า ได้เป็นครั้งแรกในโลก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าดาวพม่า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าดำ

ต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (Black marsh turtle; 粗頸龜) เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะ ลำตัวยาวประมาณครึ่งฟุต น้ำหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลำตัวแบน มีกระดองสีดำ หัว หาง และขามีสีดำ มีลักษณะเด่น คือ มีแต้มสีขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง อันเป็นที่มาของชื่อ กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำประเภทหนองหรือบึง ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกทั่วภาค แต่จะพบได้มากในภาคกลางและภาคใต้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ มีอุปนิสัยชอบหมกตัวอยู่ใต้โคลนในน้ำ นาน ๆ ทีจึงค่อยโผล่มาหายใจบนผิวน้ำ ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่อยู่ ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ ในเต่าที่เป็นเต่าเผือกจะมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เพราะถือเป็นสัตว์ที่หายาก.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าดำ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าตนุ

ต่าตนุ (Green turtle) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง พบกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป เต่าตนุเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวก หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4-7 ปี เชื่อว่าอายุยืนถึง 80 ปี ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทยและอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด เป็นเต่าที่มักพบในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ สำหรับในน่านน้ำไทย พบเต่าชนิดนี้ขึ้นวางไข่มากที่เกาะครามและเกาะกระในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามันพบวางไข่มากที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนชายหาดและเกาะหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตและพังง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าตนุ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าปูลู

ต่าปูลู เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum (เป็นภาษาละตินแปลว่า "หัวโต อกแบน") ในสกุล Platysternon วงศ์ Platysternidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์และสกุลนี้ มีรูปร่างที่แปลกไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มีหัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ เป็นเต่าที่พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าปูลู · ดูเพิ่มเติม »

เต่านา

ำหรับบุคคลดูที่ หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล เต่านา หรือ เต่าสามสัน (Snail-eating turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Malayemys ในวงศ์ Bataguridae เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะเด่น คือ กระดองส่วนบนมีสันนูน 3 เส้น เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีขอบเรียบ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และมีลายเส้นสีเหลืองหรือสีขาว กระดองส่วนบนมีสีน้ำตาลและขอบสีครีมหรือสีเหลือง กระดองส่วนล่างมีสีเหลือง และแต้มสีดำบนแผ่นเกล็ด ขณะที่สีผิวทั่วไปเป็นสีน้ำตาลเทาหรือดำ บริเวณส่วนหน้าและจมูกมีลายเส้นขีดสีขาว เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำของภูมิภาคอินโดจีนและแหลมมลายู พบเห็นได้ทั่วไปทั้งนาข้าว, สวนสาธารณะ หรือท้องร่องสวนผลไม้ พื้นที่การเกษตรทั่วไป เป็นเต่าที่กินหอยเป็นอาหารหลักทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยใช้ริมฝีปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก แล้วใช้เล็บจิกเนื้อหอยออกมากิน และยังกินสัตว์น้ำอย่างอื่นได้ด้วย เดิมทีเต่านาถูกจำแนกไว้เพียงชนิดเดียว แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยนักวิชาการชาวตะวันตก เมื่อปี ค.ศ. 2004 พบว่าแท้จริงแล้วมี 2 ชนิด โดยมีลักษณะแตกต่างกันทางกายวิภาคบางประการ และถิ่นที่แพร่กระจายพันธุ์ คือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่านา · ดูเพิ่มเติม »

เต่าเหลือง

ต่าเหลือง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าแขนง หรือ เต่าขี้ผึ้ง (Elongated tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indotestudo elongata จัดเป็นเต่าบกขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงพอสมควร ทั่วตัวมีสีขาวหรือเหลืองเป็นส่วนใหญ่ มีแต้มสีดำบ้างประปราย ขอบกระดองของบางตัวมีสีเหลืองใสดูคล้ายขี้ผึ้งหรือเทียน จึงเป็นที่มาของชื่อ ในบางตัวเมื่อโตเต็มที่อาจมีสีน้ำตาลแก่ปน ขามีสีเทาดำ ขาหน้ามีเกล็ดใหญ่ ๆ อยู่ด้านบน ขาหลังสั้นทู่ ขาหน้าและขาหลังไม่มีพังผืดระหว่างนิ้ว แต่มีนิ้วแข็งแรงมาก ตัวผู้มีเกล็ดกระดองเว้าและลึก ขณะที่ตัวเมียราบเรียบกว่า พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนในเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินเนื้อ เช่น ซากสัตว์หรือหอยได้ด้วย เป็นเต่าที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบที่จะแช่น้ำ พบได้ในป่าแทบทุกสภาพ แม้กระทั่งในสวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม จากนั้นในเดือนธันวาคมจึงจะวางไข่ โดยจะขุดหลุมลึกประมาณครึ่งตัว ใช้เวลาฟักประมาณ 146 วัน ลูกเต่าที่เกิดมาใหม่กระดองจะมีความนิ่ม จะแข็งเมื่ออายุได้ราวหนึ่งปี เต่าชนิดนี้ ในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ง่าย คือ ที่หมู่บ้านบ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวอำเภอเมืองราว 50 กิโลเมตร โดยจะพบเต่าเหลืองอาศัยและเดินไปเดินมาทั่วไปในหมู่บ้าน โดยที่ชาวบ้านไม่ทำอันตรายหรือนำไปรับประทาน เต่าจึงอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านที่นี่เชื่อว่าเต่าเหลืองเป็นเต่าเจ้า เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และเรียกชื่อเต่าชนิดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า "เต่าเพ็ก" จนได้รับชื่อเรียกว่าเป็น "หมู่บ้านเต่า" เต่าเหลือง มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

เต่าเดือย

ต่าเดือย หรือ เต่าควะ (Impressed tortoise) เต่าประเภทเต่าบกชนิดหนึ่ง เต่าเดือย นับเป็นเต่าบกที่พบได้ในป่าทวีปเอเชียที่มีกระดองสวยงามมากชนิดหนึ่ง โดยมีแผ่นเกล็ดที่กระดองหลังบางแผ่นที่โปร่งแสง แผ่นเกล็ดสันหลังและแผ่นเกล็ดชายโครงยุบลงมาเล็กน้อย แผ่นเกล็ดเหนือต้นคอมีขนาดใหญ่ ตอนปลายแยกออกเป็น 2 ส่วน โคนขาหน้าหุ้มด้วยเกล็ดที่มีลักษณะแหลมคล้ายหนาม ขาหลังคล้ายเท้าช้าง มีเดือยรูปวงกลมและเดือยคล้ายไก่ 1 เดือย ระหว่างโคนขาหลังและโคนหาง แผ่นเกล็ดใต้คอมีขนาดเล็ก แผ่นเกล็ดท้องมีขนาดใหญ่ มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตร ความยาวของกระดองท้อง 27 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัมหรือมากกว่า กระดองหลังเป็นสีเหลืองส้ม ขอบกระดองเป็นสีเหลือง มีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ประปราย ตัวผู้และตัวเมียมีสีที่แตกต่างกัน และมีน้ำหนักที่ต่างกันอีกด้วย เต่าเดือย เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงจีนตอนใต้ อาจพบได้บนที่สูงถึง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นเต่าที่กินอาหารจำพวกพืช เช่น หน่อไม้, เห็ดรา เป็นอาหารหลัก โดยมักหากินตามพื้นที่มีความชื้นสูงและมีหญ้าขึ้นรกชัฎ เป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติมากแล้วชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 เต่าเดือย เป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ โดยในอดีต มีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงผู้ค้าสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์ป่าว่า "เต่าหกพม่า" มีราคาขายเพียงตัวละ 50-100 บาทเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2516 โดยจะเป็นเต่าที่ถูกจับมาจากทางพม่า ผ่านทางอำเภอแม่สอด แต่ทว่าก็เป็นเต่าที่เลี้ยงให้รอดยากมากในที่เลี้ยง โดยมากเต่าที่ถูกจับมาขายนั้นมักไม่กินอาหาร หรือเลือกกินเป็นอย่างยิ่ง และในปัจจุบัน ได้มีการค้นพบเต่าเดือยอีกจำพวกหนึ่ง ที่มีขนาดเล็กกว่าเต่าเดือยขนาดปกติ โดยตัวผู้มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ถึง 2 กิโลกรัม ตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม พบได้ในป่าตั้งแต่ชายแดนของประเทศไทยแถบจังหวัดตราดต่อเนื่องไปตามแนวเทือกเขาในประเทศกัมพูชาภาคตะวันตก และมีรายละเอียดที่แตกต่างจากเต่าเดือยปกติพอสมควร เช่น ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันที่คล้ายกันและลำตัวไล่เลี่ยกัน, ตัวผู้มีเกลล็ดสีแดงที่ขาหลัง, มีสีสันที่สดใสน้อยกว่า และสามารถปรับตัวได้ดีในที่เลี้ยง โดยไม่เลือกอาหารที่จะกินมากนัก ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาทางวิชาการ จึงอาจเป็นไปได้ว่าเป็นเต่าชนิดใหม่ หรือเป็นชนิดย่อยของเต่าเดือ.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเต่าเดือย · ดูเพิ่มเติม »

เป็ด

ป็ด เป็นสัตว์ปีกในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา พืชน้ำและสัตว์เล็กๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดแมลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง การเลี้ยงเป็ดมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐาน.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดพม่า

ป็ดพม่า หรือ เป็ดรัดดี (Ruddy shelduck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tadorna ferruginea) เป็นนกอพยพชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Anatidae พบตามแม่น้ำสายใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง นาเกลือ ตามชายทะเล และบึง แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรป, แอฟริกา และเอเชีย ลำตัวมีขนาดใหญ่ ยาว 61-67 เซนติเมตร คล้ายห่าน ขนมีสีน้ำตาลแกมแดงหรือส้มเป็นหลัก ตัวผู้มีสร้อยรอบคอสีดำ ตัวเมียมีใบหน้านวลมากกว่า แต่ตัวเล็กกว่าตัวผู้ มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งอาจถึงพันตัว ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กทั่วไป.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเป็ดพม่า · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดก่า

ป็ดก่า (White-winged duck, White-winged wood duck) เป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง จำพวกเป็ด อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Asarcornis จัดเป็นเป็ดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ หัวและลำคอตอนบนสีขาว มีจุดกระดำกระด่างสีดำ โดยทั่วไปสีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลเหลือบเขียว มีขนเป็นปื้นขาวตรงหัวไหล่เป็นลักษณะเด่น มีรูปร่างเทอะทะ ปีกกว้าง ขาสั้น เพศผู้มีม่านตาสีสดใสเป็นสีเหลืองส้ม ในขณะที่เพศเมียมีม่านตาสีน้ำตาลเข้ม จะงอยปากสีเหลืองเข้มหรือสีส้ม มีประดำเป็นหย่อม ๆ เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์โคนปากจะพองโต เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักโดยเฉลี่ยเพศผู้ประมาณ 2,945-3,855 กรัม ขณะที่เพศเมีย 1,925-3,050 กรัม พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, พม่า, ไทย จนถึงหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยถือเป็นนกในวงศ์ Anatidae ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็ดก่า มีอุปนิสัยแปลกไปจากนกชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมักจะอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ และพบได้จนถึงในพื้นที่ ๆ มีความสูงถึง 5,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกลับสู่ถิ่นที่อยู่ในเวลารุ่งเช้า โดยมักจะจับกิ่งไม้สูง ๆ ใช้เป็นที่หลับนอน มักจับคู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 5-6 ตัวในแหล่งน้ำที่สงบ ปราศจากการรบกวน แม้จะมีรูปร่างเทอะทะแต่ก็สามารถบินได้ดี และบินหลบหลีกต้นไม้ต่าง ๆ ในป่าดิบได้เป็นอย่างดี ในฤดูผสมพันธุ์ เป็ดก่าจะส่งเสียงร้องขณะบิน การจับคู่ผสมพันธุ์อาจเป็นในรูปแบบผัวเดียวเมียเดียว แต่ยังไม่เป็นที่ยืนยัน วางไข่ครั้งละ 6-13 ฟอง สีของไข่เป็นสีเหลืองอมเขียว มักทำรังตามโพรง เพศเมียเท่านั้นที่กกฟักไข่ ระยะเวลาฟักประมาณ 33-35 วัน ขณะฟักไข่หรือเลี้ยงลูกอ่อนเพศผู้จะอยู่พัวพันเพียงห่าง ๆ เท่านั้น เป็ดก่า ถือเป็นเป็ดป่าที่หายากและเพาะขยายพันธุ์ได้ยากชนิดหนึ่ง มีการขยายพันธุ์ได้ด้วยฝีมือมนุษย์เพื่อการอนุรักษ์ ได้แค่ไม่กี่ครั้ง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเป็ดก่า · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดหงส์

ป็ดหงส์ (Knob-billed duck, Comb duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sarkidiornis จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึมกว่า และไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัม, พม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ ชอบที่จะเกาะคอนไม้สูง ๆ อาศัยเป็นที่หลับนอน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ, เมล็ดข้าว, แมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเป็ดหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดแมนดาริน

ป็ดแมนดาริน (Mandarin duck; 鸳鸯; พินอิน: Yuānyāng; オシドリ; 원앙) เป็นนกชนิดหนึ่ง จำพวกเป็ด อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) เป็ดแมนดาริน มีสีสวยมาก โดยเฉพาะในตัวผู้ จนได้ชื่อว่าเป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามที่สุดในโลก เป็นนกที่จัดอยู่ในประเภทขนาดกลาง มีความยาวลำตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 48 เซนติเมตร ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีสีฉูดฉาดหลายสี ซึ่งแต่ละสีตัดกันเห็นเด่นชัดสวยงามมาก โดยหน้าผากและหัวเป็นสีทองแดง, สีม่วง และเขียวเหลือบเป็นมันเงา และมีขนปีกสีส้มขนาดใหญ่ดูคล้ายเป็นแผงข้างละเส้นงามสะดุดตา และจะสวยงามในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดตัวย่อมลงมาและสีสันไม่ฉูดฉาดเท่า มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามหนองบึง และลำห้วยที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เพื่ออาศัยเป็นที่หลบซ่อนตัว และจะชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ โดยอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำ โดยกินพืชน้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร พอสิ้นฤดูหนาวเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะผลัดขนจนดูคล้ายตัวเมีย ซึ่งจะมีลายขีดสีขาวบริเวณท้องและลายขีดสีดำที่โคนปาก เป็ดแมนดาริน วางไข่ครั้งละ 9-12 ฟอง ไข่มีสีเนื้อเป็นมัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 28-30 วัน โดยที่ตัวเมียจะเป็นผู้ฟัก กระจายพันธุ์อยู่ในภาคตะวันออกของประเทศจีนแถบลุ่มแม่น้ำอุสซูรี ไปจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ ไต้หวัน, ญี่ปุ่น และเกาหลี รวมถึงบางส่วนในทวีปยุโรปด้วย เป็ดแมนดาริน เป็นนกที่จับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต ดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของความรักแท้ จนปรากฏเป็นนิทานพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และยังเป็นสัตว์แห่งความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย โดยปกติแล้ว เป็ดแมนดาริน ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย ในประเทศไทยจะพบก็เพียงเป็นนกอพยพหนีหนาว แต่ก็พบได้น้อยมาก ในแถบภาคเหนือและภาคกลางบางพื้นที่ ด้วยความสวยงาม เป็ดแมนดาริน จึงมักถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งในกฎหมายไทย เป็ดแมนดารินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเป็ดแมนดาริน · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดแดง

ป็ดแดง เป็นเป็ดขนาดเล็ก มีแหล่งขยายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ p. 58.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเป็ดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อทราย

thumb เนื้อทราย หรือ ทราย หรือ ตามะแน (Hog deer) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกวางชนิดหนึ่ง มีรูปร่างอ้วนป้อม ขาสั้น เนื้อทรายจะมีสีขนเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ thumb thumb.

ใหม่!!: รายการสัตว์และเนื้อทราย · ดูเพิ่มเติม »

Lynx

Lynx อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการสัตว์และLynx · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อสัตว์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »