โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาดอกหมากกระโดง

ดัชนี ปลาดอกหมากกระโดง

ปลาดอกหมากกระโดง (Whipfin silver-biddy; Whipfin mojarra) ปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาดอกหมาก (Gerreidae) ปลาดอกหมากกระโดงมีรูปร่างของลำตัวป้อมดูคล้ายรูปไข่หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบนข้าง หัวเล็กสั้น นัยน์ตาโต จะงอยปากแหลม ปากยืดหดได้ เกล็ดเล็กหลุดง่ายมีความแวววาวเงางาม ตัวโตเต็มวัยก้านครีบแข็งอันที่สองของครีบหลังจะเจริญยาวเป็นเส้นเดี่ยว ครีบอกยาว ครีบหางลึกเว้ารูปส้อม สีลำตัวอมเทามีสีดำแต้มเป็นจุดประปรายท้องสีขาวเงิน ครีบทุกครีบสีเทาอมเหลือง มีความยาวประมาณ 11-22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลตื้น ๆ หรือปากแม่น้ำในจังหวัดชุมพร, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรปราการ, ชลบุรี และระยอง เป็นปลาที่กินสัตว์น้ำเล็ก ๆ รวมทั้งพืชเป็นอาหาร ใช้ประโยชน์เป็นปลาที่บริโภคเนื้อเป็นอาหาร และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย เนื่องจากมีความสวยงามพอสมควร อีกทั้งยังสามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ แต่เป็นปลาที่เลี้ยงยาก มีความเปราะบาง.

7 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาดอกหมากสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาดอกหมาก

วงศ์ปลาดอกหมาก

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาดอกหมาก (Mojarra, Silver biddy) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gerreidae เป็นปลาที่มีลำตัวแบนข้าง ดูผิวเผินคล้ายปลาในวงศ์ปลาแป้น (Leiognathidae) มีขนาดปานกลาง เกล็ดบนหัวเป็นแบบบางขอบเรียบ หรือเกล็ดสาก มีเหงือกเทียม ขอบของกระดูกพรีโอเพอร์เคิลเป็นหยักเล็กน้อย มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีฟันเขี้ยว ปากยืดหดได้ มีสเกรีชีทที่ฐานครีบหลังและครีบก้น ครีบหลังมีตอนเดียว ครีบหางเว้าแบบส้อม ปกติอยู่เป็นฝูงในทะเลเขตร้อน ตั้งแต่ทะเลแคริเบียน, อเมริกาใต้ จนถึงเอเชีย แต่ก็อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แบ่งออกได้ทั้งหมด 6 สกุล.

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและวงศ์ปลาดอกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดอกหมาก

ำหรับปลาดอกหมากที่เป็นปลาน้ำจืด ดูที่: ปลาดอกหมาก (น้ำจืด) ปลาดอกหมาก (Mojarra, Silver-biddy) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาดอกหมาก (Gerreidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gerres มีลำตัวสั้นป้อม แบนข้าง แลดูคล้ายปลาแป้น ต่างกันตรงที่มีเกล็ดใหญ่ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลังอันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ตามชายฝั่งหรือปากแม่น้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงมหาสมุทรแอตแลนติก สามารถพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยและน้ำจืด จำแนกได้ดังนี้.

ใหม่!!: ปลาดอกหมากกระโดงและปลาดอกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gerres filamentosus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »