โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับปลาปักเป้า

ดัชนี อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

22 ความสัมพันธ์: กระเพาะปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วงศ์ปลาวัววงศ์ปลาวัวจมูกยาววงศ์ปลาวัวจมูกสั้นวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่วงศ์ปลาปักเป้ากล่องวงศ์ปลาแสงอาทิตย์สัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาปักเป้าซูชิประเทศญี่ปุ่นปลาปลาวัวจมูกสั้นปลาที่มีก้านครีบปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาวปลาแสงอาทิตย์เตโตรโดท็อกซิน

กระเพาะปลา

กระเพาะปลา คือชื่อที่นิยมใช้เรียกถุงลมของปลาซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ระดับราคาขึ้นอยู่กับชนิดของกระเพาะปลาที่มีหลากหลายชนิดโดยเฉพาะกระเพาะปลาที่ได้มาจากปลาน้ำลึกที่อยู่ในตระกูลของปลากุเลาจะมีราคาแพงมาก กระเพาะปลานอกจากจะอยู่ในรูปแบบกระเพาะปลาแห้งแล้วยังอยู่ในรูปแบบของกระเพาะปลาสดอีกด้วยรูปแบบของอาหารที่นิยมปรุงกันเช่น กระเพาะปลาน้ำแดง กระเพาะปลาผัดแห้ง ฯลฯ ถุงลมของปลาเป็นอวัยวะส่วนที่นุ่มและอร่อย เมื่อนำมาปรุงรส การนำถุงลมมาแปลงโฉมเป็นกระเพาะปลา จะต้องลอกเอาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อออกให้หมดแล้ว จึงนำไปทอดให้พองสวยน่ารับประทาน กระเพาะปลามีหลายระดับราคาแล้วแต่ความอร่อย และขนาดของกระเพาะปลา ปกติจะได้จากถุงลมของปลามังกร ปลาจวด ปลากระพง ปลาริวกิว กระเพาะปลาที่มีราคาแพงคือ กระเพาะปลามังกร (เหมี่ยนฮื่อ) ซึ่งช่วยบำรุงและเพิ่มกำลังวังชาได้เป็นอย่างดี ส่วนที่เราได้รับประทานกันบ่อย ๆ นั้นก็คือ กระเพาะปลากระพง เวลาที่ไปซื้อกระเพาะปลาที่ราคาถูกมาทานนั้น มักจะสงสัยกันว่า ใช่กระเพาะปลาจริง ๆ หรือเปล่านั้น หลายร้านใช้หนังหมูแห้งมาทำเป็นกระเพาะปลาแทน ไม่ใช่กระเพาะปลาที่ทำมาจากถุงลมของปลา แต่เป็นกระเพาะปลาเทียม หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:อาหาร หมวดหมู่:มีนวิทยา.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและกระเพาะปลา · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัว

วงศ์ปลาวัว หรือ วงศ์ปลางัว หรือ วงศ์ปลากวาง (วงศ์: Balistidae, Triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวกว้างแบนเป็นทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ ข้างตำแหน่งตาอยู่สูงบริเวณด้านบนของหัว ที่ครีบหลังอันแรกจะมีหนามแข็ง 3 อัน สามารถพับเก็บได้ และจะตั้งขึ้นได้เพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรู มีก้านครีบหางจำนวน 12 ก้าน และ 18 ก้านครีบที่ครีบหลัง มีเกล็ดที่ใหญ่แข็งและหนังหนา ส่วนของใบหน้ายาวและยื่นแหลมออกมา ปากมีขนาดเล็ก ภายในมีฟัน 4 ซี่ที่ด้านนอก และด้านในอีก 3 ซี่ ที่แหลมคมมาก ใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ กินเป็นอาหาร รวมถึงฟองน้ำ, ปะการัง, สาหร่าย หรือเม่นทะเลด้วย เช่นเดียวกับปลาปักเป้า อันเป็นปลาในอันดับเดียวกัน แต่อยู่ต่างวงศ์กัน พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะฮาวาย, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน และมหาสมุทรแอตแลนติก ตาของปลาวัวสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้ อันเป็นลักษณะเฉพาะ โดยปกติแล้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าวมาก มักไล่กัดปลาอื่นหรือแม้แต่พวกเดียวกันเองที่รุกล้ำเข้ามาในถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่จะหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการัง มีพฤติกรรมหากินโดยซอกซอนหากินเอาในแนวปะการังในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมากโดยใช้ครีบหลัก ๆ ทั้ง 2 ครีบในด้านบนและด้านล่างของลำตัว ขณะที่ครีบหางใช้เป็นตัวควบคุมทิศทาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางไข่ตามพื้นในรังซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง ซึ่งบางชนิดจะมีนิสัยดุร้ายมากในช่วงนี้ โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามสดใสมาก จึงเป็นที่นิยมมากของนักดำน้ำและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่ว่าเป็นปลาที่ดุร้ายมาก สามารถพุ่งเข้ากัดจนเป็นแผลเหวอะหรือไล่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้อย่างไม่เกรงกลัว มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 25-50 เซนติเมตร โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาวัวไททัน (Balistoides viridescens) ที่ใหญ่ได้ถึง 75 เซนติเมตร หรือราว 1 เมตร และนับเป็นชนิดที่อันตรายมาก เพราะมีรายงานการกัดและไล่นักดำน้ำมาแล้วในหลายที.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาวัว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัวจมูกยาว

วงศ์ปลาวัวจมูกยาว หรือ วงศ์ปลาตะไบ (วงศ์: Monacanthidae, เกาหลี: 쥐치) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง มีรูปร่างโดยรวม คือ มีผิวหนังที่หยาบ มีเกล็ดเล็กละเอียดปกคลุมทั้งตัว ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน มีก้านครีบหลังก้านแรกเป็นแท่งกระดูกใหญ่ ซึ่งแหลมและแข็งแรงคล้ายเขาสัตว์ ซึ่งสามารถใช้ยกขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองได้ ครีบหลังตอนที่ 2 เป็นครีบที่อ่อนนุ่ม ครีบท้องลดรูปไปโดยที่ก้านครีบก้านแรกเป็นเงี่ยงแข็ง ครีบก้นยาว ครีบหางกลมเป็นรูปพัด มีฟันในขากรรไกรด้านนอก 3 ชุด และด้านใน 2 ชุด มีจุดเด่น คือ ในบางสกุลมีจะงอยปากยื่นนยาวออกมาคล้ายท่อหรือหลอด ใช้สำหรับซอกซอนหาอาหารในแนวปะการัง และมีรูปร่างที่เรียวยาวอย่างเห็นได้ชัด โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก มีความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาวได้ถึง 110 เซนติเมตร พบทั้งหมด 26 สกุล ราว 107 ชนิด กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือตามกอสาหร่ายที่มีกระแสน้ำไหลอ่อน ๆ ในระดับความลึกไม่เกิน 30 เมตร โดยหากินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังเหมือนกับปลาในวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน โดยจะกินปะการังเขากวาง (Acropora spp.) เป็นอาหารหลัก หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในแนวปะการังในเวลากลางคืน มีการแพร่พันธุ์โดยการวางไข่ในแหล่งน้ำกร่อย มีตัวผู้เป็นผู้ดูแล เป็นปลาที่เป็นที่นิยมชื่นชอบถ่ายรูปของนักดำน้ำอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งไม่มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย อีกทั้งในอาหารเกาหลี ยังสามารถทำเป็นอาหารรับประทานเล่นได้ด้วย โดยแปรรูปเป็นขนมอบแห้งเรียกว่า "จุยโป" (쥐포) และในอดีตมีการใช้หนังของปลาในวงศ์ปลาวัวจมูกยาวนี้ทำเรือไม้ด้วย โดยคำว่า Monacanthidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Monos" หมายถึง เดี่ยว หรือ อันเดียว ผสมกับคำว่า "Akantha" หมายถึง หนาม.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาวัวจมูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัวจมูกสั้น

วงศ์ปลาวัวจมูกสั้น (วงศ์: Triacanthidae, Tripodfish, Hornfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างและลักษณะโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) หรือวงศ์ปลาวัวจมูกยาว (Monacanthidae) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ต่างวงศ์กัน แต่อยู่ในอันดับเดียวกัน คือ มีผิวที่หยาบเหนียว หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน มีฟันแหลมคมต่อกันเป็นแผ่น ใช้สำหรับแทะเล็มหาอาหารจำพวกครัสตาเชียนหรือหอยหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ ตามแนวปะการังและพื้นทะเล มีก้านครีบหลังก้านแรกเป็นแท่งกระดูกใหญ่ ซึ่งแหลมและแข็งแรงคล้ายเขาสัตว์ ซึ่งสำหรับปลาในวงศ์ปลาวัวจมูกสั้นแล้ว จะมีเงี่ยง 2 เงี่ยงที่แหลมคมและแข็งแรงบริเวณส่วนหน้าอกยื่นออกมาแหลมยาวอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสามารถใช้จับตั้งวางกับพื้นได้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ครีบหลังมีก้านครีบ 20-26 ก้าน ขณะที่ครีบก้นมีก้านครีบ 13-22 ก้าน มีส่วนหน้าและจะงอยปากที่สั้นทู่กว่าเมื่อเทียบกับปลาใน 2 วงศ์ข้างต้นอย่างเห็นได้ชัด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มักพบในแนวปะการังและบริเวณใกล้ชายฝั่งหรือตามปากแม่น้ำ ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นของอินโดแปซิฟิก ซึ่งในบางชนิดอาจปรับตัวให้เข้ากับน้ำกร่อยได้ด้วย ซึ่งคำว่า Triacanthidae ซึ่งใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีก คำว่า "Tri" หมายถึง "สาม" ผสมกับคำว่า "Akantha" ซึ่งหมายถึง "หนาม".

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาวัวจมูกสั้น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ (Porcupinefish, Blowfish, Globefish, Balloonfish, Burrfish, วงศ์: Diodontidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Diodontidae ซึ่งมีความหมายว่า "ฟันสองซี่" มีรูปร่างคล้ายกับปลาปักเป้าในวงศ์ Tetraodontidae แต่ว่าปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่นี้ มีฟันแหลมคมที่ใช้สำหรับกัดกินสัตว์มีเปลือกรวมถึงปะการังชนิดต่าง ๆ สองซี่ใหญ่ ๆ ในปาก เชื่อมติดต่อกันบนขากรรไกร โดยที่ไม่มีร่องผ่าตรงกลาง มีเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบอกมีขนาดใหญ่คล้ายพัด ครีบหลัง และครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ไม่มีครีบท้อง ครีบหางกลมมน มีรูปร่างอ้วน กลม แบนข้างเล็กน้อย สามารถขยายร่างกายให้กลมเหมือนลูกบอลได้ ด้วยการสูดอากาศหรือน้ำเข้าไปในช่องท้อง และผิวหนังจะมีหนามแหลมคมทั่วทั้งตัว ซึ่งจะตั้งตรงทั้งตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูด้วย พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในทะเลทั้งเขตร้อน, เขตอบอุ่น และเขตหนาว โดยเป็นปลาน้ำเค็มทั้งหมด จัดเป็นปลาที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยสามารถยาวได้ถึง 2 ฟุต เป็นปลาที่มีสารเตโตรโดท็อกซิน อย่างร้ายแรง จึงไม่ใช้ในการบริโภค แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ทั้งในตู้ปลาส่วนบุคคลหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมทำเป็นเครื่องประดับ โดยเฉพาะการสตัฟฟ์เวลาที่พองตัวออก.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Puffers, Toadfishes, Blowfishes, Globefishes, Swellfishes) เป็นวงศ์ปลาปักเป้าจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเฉพาะตัวคือ กลมป้อม ส่วนโคนหางเล็ก ครีบหลังและครีบก้นเล็กสั้นอยู่ค่อนไปทางท้าย ครีบอกใหญ่กลมมน ครีบหางใหญ่ปลายมน ว่ายน้ำโดยใช้ครีบอกโบกพร้อมกับครีบหลังและครีบก้น เวลาตกใจสามารถพองตัวได้โดยสูบน้ำหรือลมเข้าในช่องท้อง ช่องเหงือกเล็ก หัวโต จะงอยปากยื่น มีฟันลักษณะคล้ายปากนกแก้ว 4 ซี่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของหัว รูจมูกเป็นติ่งสั้น ๆ ผิวขรุขระ มีเกล็ดเป็นหนามเล็ก ๆ อยู่บริเวณด้านท้อง ผิวลำตัวส่วนอื่นเรียบ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tetraodontidae (/เท-ทรา-โอ-ดอน-ทิ-ดี้/) พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลกและบริเวณปากแม่น้ำ ชนิดที่พบในน้ำจืดมีน้อย สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 32 ชนิดทั้งในทะเล, น้ำกร่อยและน้ำจืด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือกเป็นอาหารหลัก เนื่องจากมีฟันสำหรับกัดแทะเปลือกแข็งที่เป็นแคลเซี่ยมได้เป็นอย่างดี และปลาด้วย รวมทั้งสามารถกัดแทะครีบปลาชนิดอื่นได้ด้วย ในบางชนิดมีพฤติกรรมชอบซุกตัวใต้พื้นทรายเพื่อรอดักเหยื่อ นอกจากแล้วยังสามารถพ่นน้ำจากปากเพื่อเป่าพื้นทรายหาอาหารที่อยู่ซ่อนตัวอยู่ได้อีกด้วย นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกร...ปักเป้าน้ำจืด เป็นปลาที่มีพิษร้ายแรง เมื่อกินเข้าไปอาจถึงตายได้ โดยจากการศึกษาปลาปักเป้าในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทย พบเป็นปลาปลาปักเป้าน้ำจืดที่มีการสะสมพิษในตัวจะมีอยู่จำนวน 8 ชนิด มากกว่าปลาปักเป้าน้ำกร่อยมีพิษ ซึ่งมีอยู่แค่ 4 ชนิด และลักษณะพิษของปลาปักเป้าน้ำจืดจะมีการสะสมพิษในอวัยวะทุกส่วน และพิษจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูวางไข่ ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยพิษเกิดเนื่องจากแพลงก์ตอน หรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดพิษหลังจากปลาปักเป้ากินเข้าไป เมื่อมีผู้จับไปกินก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้ากล่อง

วงศ์ปลาปักเป้ากล่อง หรือ วงศ์ปลาปักเป้าเหลี่ยม (วงศ์: Ostraciidae; Boxfish, Cofferfish, Trunkfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ostraciidae ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ลักษณะของปลาในวงศ์นี้ จะมีรูปทรงป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยม รูปทรงและการเคลื่อนไหวจะมีความคล่องแคล่วกว่าปลาปักเป้าในวงศ์อื่น และมักจะมีขนาดเล็ก มีสีสันลวดลายสวยงาม เกล็ดเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมเรียงตัวต่อกัน อีกทั้งปลาในวงศ์นี้มีพิษที่ต่างออกไปจากปลาปักเป้าในวงศ์อื่น กล่าวคือ มีสารพิษชนิดออสทราซิท็อกซิน (Ostracitoxin) ที่ผลิตขึ้นมาจากต่อมที่ผิวหนัง และสามารถขับออกมาพร้อมกับเมือกที่หุ้มตัวอยู่ ซึ่งสามารถละลายในน้ำได้ ซึ่งพิษชนิดนี้จะเป็นพิษกับปลาด้วยกัน ทำให้ปลาอื่นที่อยู่บริเวณเดียวกันเมื่อได้รับสารพิษตายได้ ซึ่งจะขับออกมาเมื่อได้รับความเครียดหรือตื่นตกใจ อันเป็นกลไกลหนึ่งในการป้องกันตัว ปลาปักเป้ากล่อง มีการกระจายพันธุ์เฉพาะในทะเลเท่านั้น ตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก, อินเดีย และแปซิฟิก พบทั้งหมด 33 ชนิด ใน 9 สกุล (ดูในตาราง) บางชนิดอาจมีระยางค์แหลม ๆ ยื่นออกมาเหนือบริเวณส่วนแลดูคล้ายเขาด้วย ในน่านน้ำไทยพบด้วยกัน 3 ชนิด อาทิ ปลาปักเป้ากล่องเหลืองลายจุดดำ (Ostracion cubicus) โดยคำว่า Ostraciidae นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ostracum" หมายถึง "เปลือกหอย".

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาปักเป้ากล่อง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแสงอาทิตย์

ปลาแสงอาทิตย์วัยอ่อน ขนาด 1 มิลลิเมตร วงศ์ปลาแสงอาทิตย์ หรือ วงศ์ปลาโมลา (Mola, Sunfish, Headfish, Trunkfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Molidae (/โม-ลิ-ดี้/) มีลำตัวกลมรูปไข่ แบนข้างมาก ตามีขนาดเล็ก ช่องเปิดเหงือกที่ขนาดเล็ก ปากอยู่ในตำแหน่งตรงมีขนาดเล็กฟันทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันมีลักษณะคล้ายปากนก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ตรงข้ามกัน ครีบอกมีเล็ก ไม่มีครีบท้อง ในน่านน้ำไทยส่วนใหญ่พบทางฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนหางของลำตัวตัดตรง ไม่มีครีบหาง ปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเข้ามาในเขตน้ำตื้นโดยบังเอิญหรือติดมากับอวนของชาวประมงที่ออกไปทำการประมงในมหาสมุทร เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้า เนื่องจากรูปร่าง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์, แมงกะพรุน และสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ขณะที่ว่ายน้ำจะใช้ครีบก้นและครีบหาง ขณะที่ครีบอกจะใช้ควบคุมทิศทาง มีถุงลมขนาดใหญ่ ปากรวมทั้งเหงือกจะพ่นน้ำออกมาเพื่อเป่าทรายเหมือนเครื่องยนต์เจ็ตเพื่อค้นหาอาหารที่ใต้ทรายอีกด้วย แบ่งออกเป็น 3 สกุล 4 ชนิด โดยชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดและพบได้บ่อย คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นชนิดที่มีความใหญ่ที่สุดด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักกว่า 2 ตัน ซึ่งนับเป็นปลากระดูกแข็งที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก และถือเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ซูชิ

ซูชิ หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือของคาวชนิดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของซูชิเมชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่าง ๆ หน้าที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบหรือเนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิบนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น คำว่า "ซูชิ" นิยมหมายถึง นิงิริซูชิ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและซูชิ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวจมูกสั้น

ปลาวัวจมูกสั้น (Short-nosed tripodfish; ギマ) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยจนเกือบเป็นน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Triacanthus biaculeatus อยู่ในวงศ์ปลาวัวจมูกสั้น (Triacanthidae) มีรูปร่างตัวป้อม ด้านข้างแบน นัยน์ตาใหญ่ จมูกและจะงอยปากสั้นกว่าปลาวัวในวงศ์อื่น ๆ ครีบหลังยาวแยกเป็น 2 ตอน ตอนแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม ตอนหลังอ่อนนิ่ม ครีบหางใหญ่ปลายเว้ารูปวงเดือน พื้นลำตัวเป็นสีเงิน ปนสีเขียว นิยมอยู่เป็นฝูง บริเวณชายฝั่งทะเลแถบป่าชายเลนหรือชายฝั่ง และปากแม่น้ำ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลเปอร์เซียจนถึงทะเลแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขนาดโตเต็มที่ 30 เซนติเมตร กินอาหารจำพวก สัตว์ทะเลขนาดเล็กกว่า ไม่จัดเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม ที่มักมีผู้นำมาขายและปรับสภาพให้อาศัยในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ แต่โดยมากจะไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ตลอด โดยจะค่อย ๆ กินอาหารน้อยลง และตายไปในที่สุด หากจะเลี้ยงจึงต้องปรับค่าความเค็มและรักษาค่าพารามิเตอร์ของน้ำให้เหมือนกับน้ำทะเลให้ดี จึงทำให้ปลาอยู่รอดมีชีวิตได้ตามปกต.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและปลาวัวจมูกสั้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว หรือ ปลาปักเป้าสามแถบ (long-spine porcupinefish, spiny balloonfish, freckled ballonfish) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) มีตัวค่อนข้างกลมและแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโตกลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูมีขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ไม่มีครีบท้อง ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง ซึ่งเมื่ออยู่ในยามปกติก็เห็นได้ชัดเจน แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว มีลายจุดสีดำเป็นปื้นตามลำตัวและบนหลัง ซึ่งเมื่อปลาโตขึ้นจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ จางไป จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ฟลอริดา, บาฮามาส, บราซิล, หมู่เกาะกาลาปากอส, เกาะอีสเตอร์ รอบ ๆ แอฟริกาใต้, เรอูนียง, ทะเลแดง, มาดากัสการ์, มอริเชียส, หมู่เกาะฮาวาย, อ่าวเบงกอล, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, อ่าวตังเกี๋ย, ทะเลเหลือง, ทะเลจีนใต้, ทะเลจีนตะวันออก พบไปจนถึงทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่ใช้เนื้อในการบริโภค แต่นิยมทำมาเป็นเครื่องประดับ โดยนำมาสตัฟฟ์เมื่อเวลาที่พองตัวออก และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแสงอาทิตย์

ำหรับปลาแสงอาทิตย์ที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซันฟิช ปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมลา โมลา (Ocean sunfish, Pacific sunfish, Sunfish, Mola mola) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes).

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

เตโตรโดท็อกซิน

ตโตรโดท็อกซิน (tetrodotoxin, ตัวย่อ: TTX) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เตโตรด็อก (tetrodox) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น Anhydrotetrodotoxin, 4-epitetrodoxin, Tetraodonic acid เป็นชื่อเรียกพิษที่อยู่ในตัวปลาปักเป้า เตโตรโดท็อกซินมีสูตรเคมีว่า C11 H17 N3 O8 มีน้ำหนักโมเลกุล 319.268 โดยสกัดครั้งแรกได้จากนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.โยชิซุมิ ทะฮะระ ในปี ค.ศ. 1909 เตโตรโดท็อกซิน เป็นสารพิษชนิดที่ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท โดยจะเข้าไปจับกับ fast sodium channel ของผนังหุ้มเซลล์ประสาทก่อให้เกิดการ action potential ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้ ซึ่งส่งผลต่อเซลล์ประสาททั่วร่างกายยกเว้นเซลล์ประสาทที่หัวใจ เมื่อพิษดังกล่าวส่งผลทำลายประสาทจะทำให้เซลล์ประสาทของกล้ามเนื้อไม่สามารถส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ กล้ามเนื้อจึงเป็นอัมพาต และเมื่อกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตก็ส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจเป็นอัมพาตตามด้วย ทำให้ผู้ได้รับพิษหายใจไม่ออกและเสียชีวิตจากการหายใจไม่ออก อาการกว่าพิษจะกำเริบใช้เวลาประมาณ 20 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ในบางกรณีอาจแสดงอาการเพียงแค่ 4 นาที เท่านั้นจากการรับประทานปลาปักเป้าเข้าไป โดยจะมีอาการชาที่ปากและลิ้น มีอาการชาและชักกระตุกบริเวณใบหน้าและแขนขา ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการท้องเสีย กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ชัก หมดสติ การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตต่ำ และเสียชีวิตได้ ส่วนอาการที่รุนแรงที่สุดคือ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลา 4-6 ชั่วโมง แต่ก็มีรายงานการเสียชีวิตเร็วที่สุดหลังจากได้รับพิษไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น แท้จริงแล้วการสร้างพิษในปลาปักเป้ามิได้เกิดจากเซลล์ของตัวปลาเอง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ปลาปักเป้าไปเกินแพลงก์ตอนบางชนิดในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กินแพลงก์ตอนดังกล่าวเข้าไป ทำให้เกิดสารพิษสะสม หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลา เตโตรโดท็อกซิน มีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า และทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และไม่มียาแก้พิษใด ๆ ต่อต้านได้ ซึ่งเตโตรโดท็อกซินนั้นอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของปลาปักเป้า โดยที่มีปริมาณการสะสมของพิษไม่เท่ากัน ส่วนที่สะสมพิษมาก ได้แก่ รังไข่, อัณฑะ, ตับ, ผิวหนัง และลำไส้ พบน้อยในกล้ามเนื้อ แต่แม้การรับประทานเนื้อปลาไปเพียงแค่ 1 มิลลิกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้ ยิ่งโดยเฉพาะผู้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 50 หากได้รับพิษเข้าไป การที่ปลาปักเป้ามีพิษที่ร้ายแรงเช่นนี้ในร่างกายก็เพื่อป้องตัวกันจากการถูกกินจากสัตว์อื่นนั่นเอง ซึ่งพิษของปลาปักเป้านั้นไม่ได้แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมหรือฤดูกาลเช่นเดียวกับแมงดาทะเล นอกจากนี้แล้ว ในตัวปลาปักเป้าเองยังมีพิษอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายเตโตรโดท็อกซิน นั่นคือ ซาซิท็อกซิน (Saxitoxin, STX) ซึ่งมักพบในปลาปักเป้าที่อยู่ในน้ำจืด ซึ่งการปรุงปลาปักเป้าเพื่อการรับประทาน นิยมกันมากในแบบอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะการทำเป็นซาซิมิหรือปลาดิบ ในประเทศญี่ปุ่น พ่อครัวที่จะแล่เนื้อปลาและปรุง ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากทางการเสียก่อน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าร้อยละ 50 เกิดจากการกินตับของปลา ร้อยละ 43 เกิดจากการกินไข่ และร้อยละ 7 เกิดจากการกินหนัง โดยปลาปักเป้าชนิดที่มีสารพิษในตัวน้อยที่สุดหรือแทบไม่มีเลย คือ Takifugu oblongus ที่พบในน่านน้ำของแถบอินโด-แปซิฟิก แต่กระนั้นก็ยังสามารถทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปเสียชีวิตอยู่ดี.

ใหม่!!: อันดับปลาปักเป้าและเตโตรโดท็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tetraodontiformesปลาปักเป้าปลาปั๊กเป้าปลาเนื้อไก่ปักเป้า🐡

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »