สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2318พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การจับปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มหาสมุทรอินเดียวงศ์ปลาตาเหลือกยาวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาตาเหลือกปลาที่มีก้านครีบปลาตาเหลือกปลาน้ำเค็มน้ำกร่อยน้ำจืด
- วงศ์ปลาตาเหลือกยาว
พ.ศ. 2318
ทธศักราช 2318 ใกล้เคียงกั.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..
ดู ปลาตาเหลือกยาวและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
การจับปลา
การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและมหาสมุทรอินเดีย
วงศ์ปลาตาเหลือกยาว
วงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Ladyfish, Tenpounder, Bigeyed herring, Tarpon, วงศ์: Elopidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาตาเหลือก (Elopiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elopidae เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในอันดับเดียวกัน กล่าวคือ มีรูปร่างเพรียวยาว ปลายหางแฉกเป็นสองแฉกเว้าลึก แบนข้าง เกล็ดมีสีเงินแวววาว ตามีความกลมโต ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เหมือนกัน แต่มีลำยาวยาวกว่า และที่ก้านครีบหลังก้านสุดท้ายไม่มีเส้นครีบยื่นยาวออกมา เป็นปลาขนาดใหญ่ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 10 กิโลกรัม มีความปราดเปรียวว่องไว หากินโดยกินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเขตร้อนและเขตอบอุ่น และสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ มีทั้งหมด 1 สกุล 7 ชน.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและวงศ์ปลาตาเหลือกยาว
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและสัตว์มีแกนสันหลัง
อันดับปลาตาเหลือก
อันดับปลาตาเหลือก (Tarpon, Ladyfish; อันดับ: Elopiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Elopiformes มีรูปร่างโดยรวม คือ มีปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เกล็ดมีสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต และมีเยื่อไขมันคลุมตาในบางชนิด เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ในเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน จะมีรูปร่างคล้ายกับปลาไหล ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 วงศ์ 2 สกุล 9 ชนิด ได้แก.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและอันดับปลาตาเหลือก
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและปลาที่มีก้านครีบ
ปลาตาเหลือก
ปลาตาเหลือก หรือ ปลาตาเหลือกสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalops cyprinoides; Indo-Pacific tarpon, Pacific tarpon, Oxeye) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) มีรูปร่างป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 15 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทะเลแดง ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและเอเชีย และยังสามารถปรับตัวให้อยู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ด้วย โดยบางครั้งพบว่ายเข้ามาในลำคลองที่ติดกับทะเลหรือนากุ้ง นาเกลือของชาวบ้าน ปลาจะผสมพันธุ์ วางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะเติบโตที่บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกแตกต่างไปอีกเช่น "ข้าวเหนียวบูด" ภาษาใต้เรียก "เดือน" และภาษายาวีเรียก "บุหลัน" ซึ่งหมายถึง "ดวงจันทร์" เป็นต้น.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและปลาตาเหลือก
ปลาน้ำเค็ม
ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.
ดู ปลาตาเหลือกยาวและปลาน้ำเค็ม
น้ำกร่อย
น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.
น้ำจืด
น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.
ดูเพิ่มเติม
วงศ์ปลาตาเหลือกยาว
- ปลาตาเหลือกยาว
- ปลาตาเหลือกยาวซอรัส