โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาสร้อยขาว

ดัชนี ปลาสร้อยขาว

ปลาสร้อยขาว (Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาส้อยหัวกลม" ในภาษาอีสาน, หรือ "ปลากระบอก" ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

24 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2424พ.ศ. 2547การตั้งชื่อทวินามภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นเหนือภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคอีสาน (ประเทศไทย)ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)ภาคเหนือ (ประเทศไทย)ฤดูฝนวงศ์ปลาตะเพียนสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีเทาอันดับปลาตะเพียนประเทศไทยปลาร้าปลาสร้อย (สกุล)ปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดน้ำปลาเมตร

พ.ศ. 2424

ทธศักราช 2424 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1881.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและพ.ศ. 2424 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)

ตะวันออก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลไม้ และอัญมณีของประเท.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและภาคตะวันออก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูฝน

พายุฤดูฝนในเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย ฤดูฝน (อังกฤษ: Rainy Season) เป็นฤดูกาลที่มีฝนตกตลอดทั้งเดือน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมของ ประเทศไทย และจะเกิดมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฤดูฝนยังทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและยังช่วยขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองภายในอากาศด้วย ฝนนั้นเกิดจากการควบแน่น ของก๊าซและกลายเป็นของเหลวตกลงมาซึ่งฤดูฝนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในโลกเป็นอย่างมาก และยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นอีกด้วย ฝน หมวดหมู่:ฝน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและฤดูฝน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีเทา

ีเทา เป็นสีที่อยู่ระหว่างสีขาวและสีดำซึ่งเป็นสีที่ไม่มีสีสัน สีเทาในภาษาอังกฤษสะกดได้สองอย่างคือ grey (อังกฤษบริเตน) และ gray (อังกฤษอเมริกัน) ไทยสมัยโบราณมีคำเรียก "สีเหล็ก" หมายถึงสีเทาออกดำ.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาร้า

องปลาร้าขณะหมัก ปลาร้า หรือ ปลาแดก (ปาแดก) ปลาน้อย ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนามและพม่า โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักตามตลาดสดต่างๆ ในวรรณกรรมลาวโบราณบางเรื่องเรียกปลาร้าว่า ปลาแดกฮ้า หรือปลาแดกร้า ในลาวและอีสานมีวรรณกรรมที่กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปลาร้าโดยตรงคือวรรณกรรมเรื่อง ปลาแดกปลาสมอ หรือลำบุษบา หรือท้าวกำพร้า คนไทยทางภาคเหนือนิยมเรียกปลาร้าว่า ฮ้า ดังนั้นคำว่าปลาร้าจึงเป็นภาษาลาวที่ชาวไทยภาคกลางและภาคเหนือรับอิทธิพลทางภาษามาจากชนชาติลาว.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อย (สกุล)

ปลาสร้อย (Henicorhynchus) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง หัวโตและปากกลมมน จะงอยปากล่างยื่นออกมาคลุมริมฝีปากบน แต่ไม่ปิดด้านข้างทำให้เห็นมุมปาก ริมปากบนและล่างติดต่อถึงกัน ริมฝีปากล่างยาวและติดกับขากรรไกร ในปากล่างมีปุ่มกระดูก มีหนวดสั้นมากหนึ่งคู่ที่มุมปากซึ่งซ่อนอยู่ในร่อง จะงอยปากมีรูเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ตามีขอบเยื่อไขมัน ซี่กรองเหงือกยาวเรียวและมีจำนวนมาก ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่ไม่เป็นหนามแข็ง มีครบแขนง 8 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน บางชนิดมีจุดสีดำที่บริเวณโคนหางเห็นชัดเจน มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป 8–10 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั่วไป ในประเทศไทยและกัมพูชา รวมถึงลาว ในช่วงฤดูน้ำหลากมีการย้ายถิ่นขึ้นบริเวณต้นน้ำเพื่อวางไข่และหากิน รวมถึงในนาข้าว เป็นปลาที่ถูกจับได้ทีละมาก มักนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งหมักทำน้ำปลาด้วย พบทั้งหมด 4 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย และมักอยู่ปะปนรวมกัน.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและปลาสร้อย (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำปลา

น้ำปลา น้ำปลา เป็นเครื่องปรุงรสที่ได้จากการหมักปลา กับเกลือให้มีรสเค็มและกลิ่นชวนรับประทาน เป็นส่วนผสมสำคัญของแกงและน้ำจิ้มหลายชนิด น้ำปลาเป็นส่วนผสมสำคัญของอาหารในประเทศเวียดนาม, ไทย, ลาว, กัมพูชา และฟิลิปปินส์ และใช้ในอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้น้ำปลายังใช้เป็นน้ำจิ้มในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปลา, กุ้ง, หมู และไก่ ส่วนทางตอนใต้ของจีน จะใช้น้ำปลาเป็นส่วนผสมของน้ำซุปและอาหารตุ๋น ส่วนชาวแต้จิ๋วเรียกว่า "หื่อโหล่ว" (魚露) เป็นเคล็ดลับทำให้อาหารอร่อย เป็นหนึ่งใน "สามรัตนะของอาหารแต้จิ๋ว" อันประกอบด้วย น้ำปลา, หัวไชโป๊และเกี้ยมไฉ่ ขณะที่ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "น็อกนัม" (Nuoc-mâm) โดยเรียกตามภาษาเวียดนาม ในประเทศไทย น้ำปลาเชื่อว่าเป็นนวัตกรรมที่ได้มาจากชาวแต้จิ๋วอพยพ หรือมาจากจีนตอนใต้ เข้ามาสู่ไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี..

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและน้ำปลา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาสร้อยขาวและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Henicorhynchus siamensis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »