สารบัญ
15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2540มาลาเรียหนูดอกซีไซคลีนปวดศีรษะโรคติดเชื้อไข้ไข้รากสาดน้อยไข้รากสาดใหญ่ไข้เด็งกีไตวายเยื่อหุ้มสมองอักเสบเลือดออกในปอดเซฟไตรอะโซนLeptospira
- ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย
- โรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์
- โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- โรคที่มีสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะนำโรค
- โรครับจากสัตว์
- โรคเขตร้อน
พ.ศ. 2540
ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.
มาลาเรีย
มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P.
หนู
หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.
ดอกซีไซคลีน
อกซีไซคลีน (Doxycycline) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียและโปรโตซัว ยานี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, สิว, การติดเชื้อคลามัยเดีย, ระยะเริ่มต้นของโรคไลม์, อหิวาตกโรค และซิฟิลิส นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษามาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจำพวกโปรโตซัว โดยให้ยานี้ร่วมกับควินิน และอาจใช้ดอกซีไซคลีนเพื่อเป็นการป้องกันมาลาเรียสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคได้ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูกและสามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ ในรายที่มีอาการของโรครุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการบริหารยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotic) โดยยานี้จะฆ่าแบคทีเรียและโปรโตซัวที่ไวต่อยานี้ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการขยายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์จุลชีพเป้าหมายตายไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม การใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษานี้อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยจากการใช้ยานี้ ได้แก่ ท้องเสีย, คลื่นไส้, อาเจียน, ผื่นแดง, และผิวไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดผิวไหม้จากแสงแดด (sunburn) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้ดอกซีไซคลีนในหญิงตั้งครรภ์หรือในเด็กอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟันทารกหรือเด็กเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอย่างถาวรได้ ส่วนการใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย เนื่องจากดอกซีไซคลีนถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก ดอกซีไซคลีนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี..
ปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.
โรคติดเชื้อ
รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.
ไข้
้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..
ไข้รากสาดน้อย
้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever; Enteric fever) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhi พบได้ทั่วโลกโดยติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้จะเจาะทะลุผนังลำไส้แล้วถูกจับกินโดยเซลล์แมโครฟาจ (macrophage) จากนั้นเชื้อ Salmonella typhi จะเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองเพื่อดื้อต่อการทำลายและสามารถหลบหนีออกจากแมโครฟาจได้ กลไกดังกล่าวทำให้เชื้อดื้อต่อการทำลายโดยแกรนูโลไซต์ ระบบคอมพลีเมนต์ และระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อก่อโรคจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางน้ำเหลืองขณะที่อยู่ในเซลล์แมโครฟาจ ทำให้เชื้อเข้าสู่ระบบเรติคูโลเอนโดทีเลียม (reticuloendothelial system) และไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย จุลชีพก่อโรคนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งสั้น ซึ่งเคลื่อนที่โดยแฟลกเจลลัมหลายเส้น (peritrichous flagella) แบคทีเรียเจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิกาย 37 °C (99 °F).
ไข้รากสาดใหญ่
้รากสาดใหญ่ หรือ ไข้ไทฟัส เป็นกลุ่มของโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยมีแมลงปรสิต (louse) เป็นพาหะ ชื่อโรคไทฟัสมาจากรากศัพท์ภาษากรีก typhos แปลว่าขี้เกียจหรือขุ่นมัว ซึ่งอธิบายสภาวะจิตใจของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ เชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้คือเชื้อกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ซึ่งเป็นปรสิตที่จำเป็นต้องอยู่ในเซลล์โฮสต์ตลอดเวลา ไม่มีวงชีพอิสระ เชื้อริกเก็ตเซียเป็นเชื้อที่ระบาดอยู่ในสัตว์พวกหนู และแพร่กระจายเข้าสู่มนุษย์โดยเห็บ เหา หมัด โลน หรือไร พาหะเหล่านี้จะเจริญได้ดีภายใต้ภาวะสุขลักษณะไม่ดีเช่นในเรือนจำ ค่ายผู้ลี้ภัย ในหมู่คนไร้บ้าน และในสนามรบช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศที่พัฒนาแล้วโรคไข้รากสาดใหญ่มักติดต่อผ่านทางหมัด ส่วนในเขตร้อนโรคนี้มักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อริกเก็ตเซียนอกจากจะมีไข้รากสาดใหญ่ประเภทต่างๆ ที่จะกล่าวถึงแล้วนั้น ยังมีโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี (Rocky Mountain spotted fever) และโรคไข้พุพอง (spotted fevers) ที่ระบาดในประเทศโคลอมเบียและบราซิล.
ไข้เด็งกี
้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A.
ไตวาย
ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.
ดู โรคฉี่หนูและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เลือดออกในปอด
เลือดออกในปอด (pulmonary hemorrhage) คือการที่มีการตกเลือดอย่างเฉียบพลันจากปอด ทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลม หรือถุงลม หากปรากฎให้เห็นอาการได้มักเป็นในรายที่มีเลือดออกมากแล้ว อาการแรกเริ่มที่พบบ่อยคือการไอเป็นเลือด หากเป็นรุนแรงจะมีอาการขาดออกซิเจน ทำให้มีออกซิเจนในเลือดต่ำ และมีอาการเขียวคล้ำตามมา การรักษาควรต้องทำอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจประกอบด้วยการดูดเลือดออกจากหลอดลม การให้ออกซิเจน การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก และการแก้ไขโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรืออื่นๆ ในบางรายอาจจำเป็นต้องให้เลือดด้วย หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต หมวดหมู่:โรคของปอด.
เซฟไตรอะโซน
ซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค เช่น หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระดูกและข้อ การติดเชื้อในช่องท้อง การติดเชื้อที่ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หนองใน และการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น บางครั้งอาจใช้ก่อนการผ่าตัดหรือหลังบาดแผลจากการถูกกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สามารถให้ได้ผ่านการให้ทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการเจ็บปวดที่ตำแหน่งฉีดยา และการแพ้ยา ผลข้างเคียงอื่น เช่น ท้องเสียจากเชื้อ ''C.
Leptospira
ล็บโตสไปร่า (Leptospira) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเล็ปโตสไปโรซิสหรือโรคฉี่หนู เล็บโตสไปร่าเป็นแบคทีเรียกลุ่มสไปโรคีต มีลักษณะเป็นเส้นเกลียวยาว ปลายโค้งคล้ายตะขอ เคลื่อนไหวรวดเร็ว โดยการหมุนหรือโค้งงอ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ก่อให้เกิดโรค เช่น สายพันธุ์ Leptospira interrogans ซึ่งเป็นปรสิตในมนุษย์และสัตว์ และ กลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เช่น Leptospira biflexa พบได้ใน สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น พบมากในหนู เช่น หนูนา หนูพุก เชื้อนี้จะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้น ที่อุณหภูมิประมาณ 28 –32 องศาเซลเซียส สถานที่ต่างๆ เช่น ในดิน โคลน แอ่งน้ำ ที่มีค่า pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) เป็นปานกลาง (pH7.2 - 8.0) โดยทั่วไป แสงแดดสามารถทำลายเชื้อได้ โดยเชื้อจะตายเมื่ออยู่ที่อุณหภูมิมากกว่า 45 องศาเซลเซียส เช่น อากาศแห้งก็สามารถทำลายเชื้อได้ เชื้อจะตายในไม่กี่ชั่วโมง ที่ที่มีค่า pH ต่ำกว่า 6.5 หรือ สูงกว่า 8.0 หรือเจอความเค็ม รวมทั้งน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป เช่น คลอรีน ไอโอดีน รวมทั้งสบู่ สามารถฆ่าเชื้อได้ ลเลปโตสไปรา.
ดูเพิ่มเติม
ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย
- Fourniere's gangrene
- กลุ่มอาการผิวหนังลอกจากเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส
- กาฬโรค
- กำแพงพัง
- ซิฟิลิส
- พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย
- หนองในแท้
- แผลริมอ่อน
- แผลริมแข็ง
- แอนแทรกซ์
- โรคคุดทะราด
- โรคฉี่หนู
- โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย
- โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา
- โรคพุพอง
- โรคเมลิออยด์
- โรคไลม์
- ไข้กระต่าย
- ไข้กาฬหลังแอ่น
- ไข้ดำแดง
โรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์
โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- Haemophilus influenzae
- คางทูม
- งูสวัด
- ตับอักเสบ บี
- ตับอักเสบ อี
- ตับอักเสบ เอ
- บาดทะยัก
- มาลาเรีย
- วัณโรค
- อหิวาตกโรค
- อีสุกอีใส
- ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส
- โรคคอตีบ
- โรคฉี่หนู
- โรคนิวโมคอคคัส
- โรคฝีดาษ
- โรคพิษสุนัขบ้า
- โรคหัด
- โรคหัดเยอรมัน
- โรคโปลิโอ
- โรคไวรัสอีโบลา
- โรคไอกรน
- ไข้กาฬหลังแอ่น
- ไข้รากสาดน้อย
- ไข้รากสาดใหญ่
- ไข้หวัดใหญ่
- ไข้หวัดใหญ่ในสุกร
- ไข้เด็งกี
- ไข้เหลือง
โรคที่มีสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะนำโรค
- Mycoplasma
- Salmonella
- กาฬโรค
- ตับอักเสบ อี
- โรคฉี่หนู
โรครับจากสัตว์
- Echinococcosis
- Salmonella
- กาฬโรค
- ตับอักเสบ อี
- พยาธิหนอนหัวใจในสุนัข
- แอนแทรกซ์
- แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส
- โรคจากไข่พยาธิตัวตืด
- โรคฉี่หนู
- โรคชากาส
- โรคติดเชื้อลิชมาเนีย
- โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย
- โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
- โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
- โรคพิษสุนัขบ้า
- โรคไข้ริฟต์แวลลีย์
- โรคไวรัสอีโบลา
- ไข้กระต่าย
- ไข้หวัดนก
- ไข้หวัดใหญ่
- ไข้หวัดใหญ่ในสุกร
- ไข้เด็งกี
- ไข้เวสต์ไนล์
- ไวรัส
โรคเขตร้อน
- Echinococcosis
- Escherichia coli
- Salmonella
- กำแพงพัง
- พยาธิ
- มาลาเรีย
- หิด
- อหิวาตกโรค
- เรื้อน
- แผลบูรูลี
- แอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส
- โรคคุดทะราด
- โรคจากไข่พยาธิตัวตืด
- โรคฉี่หนู
- โรคชากาส
- โรคติดเชื้อลิชมาเนีย
- โรคที่ไม่ได้รับการรักษา
- โรคพยาธิกีเนีย
- โรคพยาธิตาบอด
- โรคพยาธิแส้ม้า
- โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
- โรคพยาธิไส้เดือน
- โรคพิษสุนัขบ้า
- โรคริดสีดวงตา
- โรคเขตร้อน
- โรคไข้ริฟต์แวลลีย์
- โรคไวรัสอีโบลา
- ไข้เด็งกี
- ไข้เลือดออกจากไวรัส
- ไข้เวสต์ไนล์
- ไข้เหลือง
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Leptospirosisฉี่หนูโรคเลปโตสไปโรซีสโรคเล็ปโตสไปโรซิส