โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไข้หวัดใหญ่

ดัชนี ไข้หวัดใหญ่

้หวัดใหญ่ (influenza หรือ flu) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการเล็กน้อยไปถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอและรู้สึกเหนื่อย อาการเหล่านี้จะออกอาการหลังได้รับไวรัสสองวันและส่วนมากอาการอยู่นานไม่เกินสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่ใช่อาการปกติในผู้ใหญ่ อาการคลื่นไส้อาเจียนเกินบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบซึ่งเป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่ง ที่บ้างเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ไข้หวัดลงกระเพาะ" (stomach flu) หรือ "ไข้หวัด 24 ชั่วโมง" (24-hour flu) อาการแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจมีปอดบวมจากไวรัส ปอดบวมจากแบคทีเรียตาม โพรงอากาศ (sinus) ติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพที่มีอยู่เดิมแย่ลง เช่น โรคหอบหืดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ติดต่อผ่านอากาศโดยการไอหรือจาม ซึ่งปลดปล่อยละอองลอยที่มีไวรัส ไข้หวัดใหญ่ยังสามารถส่งผ่านโดยการสัมผัสโดยตรงกับมูลหรือสารคัดหลั่งจากจมูกของนก หรือผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อน คาดกันว่าละอองลอยที่มาทางอากาศก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด แต่ยังไม่ทราบช่องทางการส่งผ่านที่สำคัญที่สุด ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถลดฤทธิ์ด้วยแสงแดด สารฆ่าเชื้อและสารชะล้างได้ การล้างมือบ่อย ๆ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เพราะสบู่สามารถลดฤทธิ์ไวรั.

31 ความสัมพันธ์: กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบการตั้งครรภ์การเจาะหลอดเลือดดำภาวะหัวใจวายมะเร็งระบบภูมิคุ้มกันระบบหายใจระบบประสาทระยะฟักสมองอักเสบหลอดลมอักเสบอะแมนตาดีนจมูกซานามิเวียร์ปอดบวมปากน้ำผลไม้แบคทีเรียโรคหืดโรคติดเชื้อโรคไตโอเซลทามิเวียร์ไรแมนตาดีนเบาหวานเกลือแร่เยื่อหุ้มสมองอักเสบเยื่อหุ้มหัวใจเยื่อตาเยื่อตาอักเสบเสมหะเอดส์

กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

กระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบ เป็นโรคที่มีการอักเสบของทางเดินอาหารรวมถึงกระเพาะและลำไส้ ทำให้มีอาการถ่ายเหลว อาเจียน และปวดท้อง อาการแต่ละอย่างอาจมากน้อยแตกต่างกันไป หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อ หมวดหมู่:อาการปวดท้อง.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การเจาะหลอดเลือดดำ

ลากรทางการแพทย์กำลังเจาะเลือดโดยใช้ระบบเก็บเลือดแบบสุญญากาศ ในรูปนี้เป็นอุปกรณ์เก็บเลือดแบบสุญญากาศชนิดใช้ซ้ำซึ่งปัจจุบันไม่มีที่ใช้แล้ว การเจาะหลอดเลือดดำ (venepuncture, venopuncture, venipuncture) เป็นหัตถการทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งทำเพื่อทำให้มีทางเชื่อมเข้าสู่หลอดเลือด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การรักษาเข้าหลอดเลือด (intravenous therapy) หรือเก็บตัวอย่างเลือดดำ ผู้ทำหัตถการจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical technician) หน่วยกู้ชีพ (paramedic) นักเจาะเลือด (phlebotomist) และบุคลากรทางการพยาบาลอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเจาะเลือดที่หลอดเลือดดำ median cubital ที่ข้อพับแขน หลอดเลือดดำเส้นนี้อยู่ในตำแหน่งใกล้ผิวหนัง และไม่มีเส้นประสาทขนาดใหญ่อยู่คู่กัน.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และการเจาะหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และระบบภูมิคุ้มกัน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระยะฟัก

ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และระยะฟัก · ดูเพิ่มเติม »

สมองอักเสบ

มองอักเสบ (encephalitis) เป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบเฉียบพลันของสมอง หากเกิดร่วมกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรียกว่าเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ อาการที่พบได้เช่นปวดศีรษะ ไข้ สับสน ซึม และอ่อนเพลีย หากเป็นมากอาจมีอาการรุนแรง เช่น ชัก สั่น ประสาทหลอน ความจำเสื่อม เป็นต้น.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดลมอักเสบ

หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เป็นการอักเสบที่หลอดลมของปอด ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล, จาม, หายใจลำบาก และเจ็บทรวงอก หลอดลมอักเสบสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภทคือ: แบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันมักมีอาการไอเป็นระยะเวลาราวสามสัปดาห์ ซึ่งในผู้ป่วย 90% มักจะมีอาการอักเสบจากเชื้อไวรัสตามมา และไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายผ่านอากาศเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม ซึ่งอาจทำให้ผู้คนรอบข้างติดเชื้อไปด้วย อีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันก็คือการสูบยา, ฝุ่น และ มลพิษทางอากาศ ทั้งนี้พบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อย ได้รับแบคทีเรียจากการสูดมลพิษทางอากาศเข้าไปในปริมาณมาก วิธีรักษาหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันได้แก่การพักผ่อน, รับประทานพาราเซตามอล และ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ จะช่วยบรรเทาลงได้ หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรังมักจะปรากฏอาการไอมีเสมหะเป็นระยะเวลาตั้งแต่สามสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี หรืออย่างน้อยสองปี และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ร่วมด้วย การสูบยาเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของกรณีนี้ ในขณะที่มลพิษทางอากาศและพันธุกรรมเป็นสาเหตุส่วนน้อย วิธีรักษาคือการเลิกยาสูบ, การใช้วัคซีน, และทำการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด นอกจากนี้ยังต้องทานยาขยายหลอดลมและคอร์ติโคสตีรอยด์เป็นประจำ ในผู้ป่วยบางคนอาจทำการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวร่วมด้วย หลอดลมอักเสบเป็นหนึ่งในโรคสามัญที่พบได้เป็นส่วนมาก ในหนึ่งปีจะมีผู้ใหญ่ราว 5% และเด็กราว 6% ที่เป็นโรคนี้ ในปี 2010 มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกราว 329 ล้านคน หรือคิดเป็น 5% ของประชากรโลก และในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 2.7-2.9 ล้านคน.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และหลอดลมอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

อะแมนตาดีน

อะมันตาดีน (Amantadine หรือ 1-อะมิโน(amino) อะดามันเทน (adamantane)) เป็น ยาต้านไวรัส ที่อนุมัติใช้โดยFDA ในปี 1976 เพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ไทป์ เอ ในผู้ใหญ่ยาตัวนี้ช่วยลดอาการของ โรคปาร์กินสัน ได้ด้วย แต่มีกลุ่มอาการข้างเคียงเอ็กตร้าปิรามิดัล ซิสเต็ม(extrapyramidal system) มันถูกใช้เป็นยาแอนตี้ปาร์กินสันร่วมกับ แอล-โดปา (L-DOPA) อะมันตาดีนเป็นอนุพันธ์ของ อะดามันเทน เหมือนกับไรแมนตาดีน (rimantadine).

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และอะแมนตาดีน · ดูเพิ่มเติม »

จมูก

มูก (Nose) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนอกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยีงเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเฟัยงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้ว.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และจมูก · ดูเพิ่มเติม »

ซานามิเวียร์

ซานามิเวียร์ (Zanamivir) หมวดหมู่:กวานิดีน หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และซานามิเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และปอดบวม · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และปาก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำผลไม้

น้ำส้มเป็นน้ำผลไม้จากผลส้ม น้ำผลไม้ คือของเหลวที่อยู่ในเนื้อเยื่อของผลไม้ตามธรรมชาติ อาจรวมถึงของเหลวจากผลของผักบางชนิดด้วยเช่น ส้ม น้ำผลไม้ได้มาจากการคั้นหรือการปั่นผลไม้เหล่านั้นโดยไม่ต้องใช้ความร้อนหรือตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น น้ำส้มก็คือของเหลวที่สกัดจากผลส้ม น้ำมะนาวก็คือของเหลวที่สกัดจากผลมะนาว น้ำผลไม้สำเร็จที่วางขายในท้องตลาดหลายยี่ห้อถูกกรองเอาเส้นใย เนื้อ หรือกากออก แต่น้ำผลไม้ที่มีเนื้อก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่นิยม น้ำผลไม้อาจขายในรูปแบบเข้มข้น ซึ่งจำเป็นจะต้องเติมน้ำเพื่อลดความเข้มข้นจนกระทั่งอยู่ในสถานะปกติ อย่างไรก็ตาม น้ำผลไม้แบบเข้มข้นมักจะมีรสชาติที่ผิดแปลกไปจากน้ำผลไม้คั้นสดอย่างชัดเจน น้ำผลไม้บางชนิดอาจมีการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหารก่อนวางจำหน่าย อาทิ พาสเจอร์ไรซ์ การแช่แข็ง การระเหย หรือการอบให้เป็นผงแห้ง เป็นต้น.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และน้ำผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โรคหืด

รคหืด (asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้ อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate) โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic) โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1 การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้ การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และโรคหืด · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โรคไต

รคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และโรคไต · ดูเพิ่มเติม »

โอเซลทามิเวียร์

อเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือชื่อที่ถูกต้องอ่านว่า "โอเซิลแทมิวีร์" (/ɒsəlˈtæmɨvɪr/) เป็น ยาต้านไวรัส (antiviral drug) ที่มีฤทธิ์เป็น นิวรามินิเดส อินฮิบิเตอร์ (neuraminidase inhibitor) ใช้รักษาและป้องกัน (prophylaxis) ไข้หวัดใหญ่ (influenza) เอ และ บี โอเซลทามิเวียร์เป็นยาที่ใช้รับประทานและมีผลยับยั้งเอ็นไซม์ นิวรามินิเดส พัฒนาโดย ไกลีด ไซเอนซ์ (Gilead Sciences) และทำตลาดโดย ฮอฟฟ์แมน-ลา โรช ในชื่อการค้าว่า ทามิฟลู® (Tamiflu®).

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และโอเซลทามิเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรแมนตาดีน

ไรแมนตาดีน(Rimantadine) หมวดหมู่:เอมีน หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และไรแมนตาดีน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เกลือแร่

กลือแร่ (Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเกลือแร่ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มหัวใจ

ื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) เป็นเยื่อหุ้มสองชั้นที่มีลักษณะเหนียวและมีความแข็งแรงทนทาน โดยช่องว่างระหว่างเยื้อหุ้มทั้งสองชั้นจะมีของเหลวบรรจุอยู่ซึ่งมีหน้าที่ช่วยปกป้องหัวใจจากการกระตุกและการช็อก เยื่อหุ้มหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชั้นหลักๆได้แก่.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเยื่อหุ้มหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อตา

ื่อตา (Conjunctiva) เป็นเยื่อเมือกใสประกอบด้วยเซลล์และเยื่อฐานซึ่งคลุมส่วนของตาขาวและบุด้านในของหนังตา เยื่อตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเยื่อตา · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อตาอักเสบ

เยื่อตาอักเสบ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตาแดง คือการอักเสบของเยื่อตา (เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ ลักษณะอาการคือมีเส้นเลือดฝอยปรากฏชัดเป็นส่วนมากในนัยน์ตา อาจมีการระคายเคืองและตาแฉะร่วมด้วย โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสมักเกิดในช่วง? -โรคตาแดงมักเกิดในช่วงฤดูฝน เชื้อไวรัสมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง ในฤดูฝนจะพบผู้ติดเชื้อโรคตาแดงเป็นจำนวนมาก หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรค.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเยื่อตาอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เสมหะ

มหะ เสลดหรือสิ่งขาก (Phlegm) เป็นของไหลเหนียวที่ผลิตโดยเยื่อเมือกของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ คำจำกัดความของเสหะคือเมือกที่ผลิตโดยระบบการหายใจนอกจากเมือกที่ออกมาทางช่องจมูกโดยเฉพาะที่ออกมาจากร่างกายโดยการจาม ส่วนผสมของเสหะอาจไม่เหมือนกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ สถานะของระบบภูมิต้านทาน หรือพันธุกรรมของคน ทั้งนี้ เสมหะยังเป็นเจลที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลักและมีสารประกอบโปรตีน โปรตีนที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรค ลิพิดและอื่นๆอีกมากมาย เสมหะอาจจะมีหลายสีแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเสมหะ · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: ไข้หวัดใหญ่และเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Influenzaโรคไข้หวัดใหญ่โรคไข้หวัดใหญ่(คู่มือสถานีอนามัย)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »