โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคคอตีบ

ดัชนี โรคคอตีบ

รคคอตีบ (diphtheria) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae อาการมีได้หลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน ในช่วงแรกมักมีอาการเจ็บคอและมีไข้ หากเป็นรุนแรงผู้ป่วยจะมีแผ่นเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทาที่คอหอย ซึ่งอาจอุดกั้นทางหายใจและทำให้เกิดอาการไอเสียงก้องเหมือนในโรคกล่องเสียงอักเสบ (ครุป) ได้ อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ทำให้มีคอบวม เชื้อนี้นอกจากทำให้มีอาการที่คอแล้วยังทำให้มีอาการที่ระบบอื่น เช่น ผิวหนัง ตา หรืออวัยวะเพศ ได้อีกด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ ไตอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น เชื้อคอตีบสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านวัตถุที่เปื้อนเชื้อ หรือผ่านอากาศ ผู้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการ แต่มีเชื้อในร่างกาย และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ เชื้อ C. diphtheriae มีชนิดย่อยอยู่ 3 ชนิด แต่ละชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงแตกต่างกัน อาการของโรคส่วนใหญ่เกิดจากพิษที่สร้างโดยเชื้อนี้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายดูลักษณะของคอหอยของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจยืนยันด้วยการเพาะเชื้อ การหายจากเชื้อนี้จะไม่ได้ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งถัดไป วัคซีนโรคคอตีบเป็นวิธีป้องกันโรคนี้ที่ได้ผลดี และมีให้ใช้ในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กทั่วไปได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนบาดทะยักและไอกรน 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนคอตีบและบาดทะยักร่วมกันทุกๆ 10 ปี สามารถตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดเพื่อยืนยันการมีภูมิคุ้มกันได้ การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเช่นอีริโทรมัยซิน หรือเบนซิลเพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะเหล่านี้นอกจากใช้รักษาโรคแล้วยังใช้ป้องกันการเกิดโรคในผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อได้ด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นรุนแรงจนต้องรับการรักษาด้วยการเจาะคอ ในปี..

33 ความสัมพันธ์: พยาธิวิทยากล่องเสียงกล่องเสียงอักเสบอุดกั้นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบการย้อมสีกรัมการวินิจฉัยการติดเชื้อการเจาะคอภาวะไข้สูงยาปฏิชีวนะระบบหายใจระยะฟักวัคซีนโรคคอตีบหลอดลมหัวใจเต้นผิดจังหวะอัมพาตอาการหายใจลำบากอาการจามฮิปพอคราทีสความล้าคอหอยต่อมน้ำเหลืองโตประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียปวดศีรษะแบคทีเรียไร้อาการไอ (อาการ)ไข้เบนซิลเพนิซิลลินเกล็ดเลือดน้อยเดอะ บีเอ็มเจเนื้อเยื่อ

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: โรคคอตีบและพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: โรคคอตีบและกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น

รุป หรือ กล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup, acute obstructive laryngitis) เป็นการติดเชื้อในระบบหายใจอย่างหนึ่งที่มักเกิดจากไวรัส ภาวะนี้จะทำให้หลอดลมบวม ขัดขวางการหายใจ และทำให้เกิดอาการสำคัญได้แก่ การไอเสียงก้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า การมีเสียงฮี้ด (stridor) ขณะหายใจ และเสียงแหบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไข้และน้ำมูกไหลร่วมด้วย อาการของโรคมีทั้งเป็นเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง มักเริ่มเป็นหรือเป็นมากเวลากลางคืน ระยะเวลาของการเจ็บป่วยรวมแล้วประมาณ 1-2 วัน ไวรัสที่เป็นสาเหตุของครุปมีหลายอย่าง ที่พบบ่อยได้แก่เชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา และไวรัสอินฟลูเอนซา (หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่) แบคทีเรียก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้แต่พบได้น้อยกว่า การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำโดยอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย ก่อนวินิจฉัยจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกเอาโรคอื่นที่อันตรายกว่า เช่น ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ หรือสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ออกไปให้ได้ก่อน การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น การตรวจเลือด การถ่ายภาพรังสี หรือการเพาะเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นนัก เชื้อที่เป็นสาเหตุของครุปบางส่วนป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อคอตีบ การรักษาที่สำคัญคือการให้สเตียรอยด์ครั้งเดียว ซึ่งอาจให้กินหรือให้ฉีดก็ได้ ถ้าอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ยาเอพิเนฟรีนพ่นแบบฝอยละอองเข้าทางการหายใจ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจจำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นประมาณ 1-5% ของผู้ป่วยทั้งหมด โรคนี้ค่อนข้างพบได้บ่อย เด็กประมาณ 15% จะเคยป่วยโรคนี้ ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคือระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี แต่บางครั้งก็พบได้ในเด็กโตถึงอายุ 15 ปี พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย มักพบบ่อยในฤดูใบไม้ร่วง ในยุคก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนโรคนี้มักเกิดจากเชื้อคอตีบ และมักเป็นอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันครุปจากเชื้อคอตีบพบได้น้อยมากเนื่องจากมีการให้วัคซีนโรคคอตีบอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: โรคคอตีบและกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ Trypanosoma cruzi หรือเกิดจากการแพ้ยา เป็นต้น หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคหัวใจ หมวดหมู่:โรคหัวใจรูมาติกเรื้อรัง.

ใหม่!!: โรคคอตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การย้อมสีกรัม

การย้อมสีกรัม สีม่วงคือ ''Staphylococcus aureus'' ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรัมบวก สีแดงคือ ''Escherichia coli'' ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรัมลบ การย้อมสีกรัม (Gram staining) เป็นวิธีการหนึ่งในการจำแนกชนิดของแบคทีเรีย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ แบคทีเรียกรัมบวกและแบคทีเรียกรัมลบ ชื่อนี้มาจากแฮนส์ เครสตีแยน กรัม นักวิทยาแบคทีเรียชาวเดนมาร์ก ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิกนี้ การย้อมสีกรัมจำแนกชนิดแบคทีเรียได้จากความแตกต่างของคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของผนังเซลล์ โดยเฉพาะการมีเปปติโดไกลแคน ซึ่งจะพบเป็นชั้นหนาในแบคทีเรียกรัมบวก ในการย้อมสีกรัม แบคทีเรียกรัมบวกจะสามารถรักษาสีน้ำเงินของสีย้อมคริสตัลไวโอเลตเอาไว้ได้ ในขณะที่แบคทีเรียกรัมลบจะสูญเสียสีนี้ไปในขั้นตอนการล้าง และจะติดสีแดงเมื่อย้อมด้วยสีเคาน์เตอร์สเตน เช่น ซาฟรานิน หรือฟุคซีน หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของเดนมาร์ก หมวดหมู่:จุลทรรศนศาสตร์ หมวดหมู่:วิทยาแบคทีเรีย.

ใหม่!!: โรคคอตีบและการย้อมสีกรัม · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัย

การวินิจฉัย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โรคคอตีบและการวินิจฉัย · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: โรคคอตีบและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การเจาะคอ

ศัลยกรรมทำรูเปิดท่อลม หรือการเจาะคอ (tracheotomy หรือบุคลากรทางการแพทย์ในไทยนิยมเรียก tracheostomy) เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง ทำโดยลงมีดที่ด้านหน้าของคอลงไปจนถึงหลอดลมสำหรับใช้เป็นทางหายใจ ช่องเปิดที่เกิดขึ้นสามารถใช้เป็นช่องทางหายใจได้โดยตรงหรือเป็นที่สำหรับใส่ท่อช่องหลอดลมซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้โดยไม่ต้องใช้จมูกหรือปาก หมวดหมู่:หัตถการในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

ใหม่!!: โรคคอตีบและการเจาะคอ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะไข้สูง

'''ภาวะไข้สูง''' '' (ซ้าย) '' อุณหภูมิปกติของร่างกาย (อุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่) แสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวร้อนเกินแสดงด้วยสีแดง จากภาพในภาวะตัวร้อนเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย'''ภาวะตัวเย็นเกิน''' '' (กลาง) '' อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียว และอุณหภูมิของภาวะตัวเย็นเกินแสดงด้วยสีน้ำเงิน จากภาพในภาวะตัวเย็นเกินจะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย'''ไข้''' '' (ขวา) '' อุณหภูมิปกติของร่างกายแสดงด้วยสีเขียวซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติ "ใหม่" เพราะกลไกควบคุมอุณหภูมิได้ปรับอุณหภูมิเป้าหมายให้สูงขึ้น เป็นเหตุผลที่อุณหภูมิปกติเดิมของร่างกาย (น้ำเงิน) "เย็นเกิน" กว่าปกติ ผู้ป่วยจึงรู้สึกหนาวทั้งที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: โรคคอตีบและภาวะไข้สูง · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: โรคคอตีบและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

ใหม่!!: โรคคอตีบและระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

ระยะฟัก

ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้.

ใหม่!!: โรคคอตีบและระยะฟัก · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีนโรคคอตีบ

วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อต่อต้านเชื้อ Corynebacterium diphtheriae ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคคอตีบ การใช้วัคซีนนี้ในผู้ป่วยทั่วโลกมีจำนวนลดลงกว่า 90% ในช่วงปี 2523 ถึง 2543 การแนะนำสำหรับการให้วัคซีนครั้งแรกคือสามครั้งตามขนาดที่กำหนด โดยวัคซีนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ทั้งนี้วัคซีนจะสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 10 ปีซึ่งหลังจากเวลาดังกล่าวก็จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้น การสร้างภูมิคุมกันโรคอาจเริ่มตั้งแต่เมื่อทารกอายุหกเดือนและการให้วัคซีนครั้งต่อๆ ไปทุกสี่สัปดาห์ วัคซีนโรคคอตีบนี้มีความปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงสำคัญนั้นพบได้น้อยมาก แต่ทั้งนี้อาจมีความเจ็บปวดที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีนได้ รอยบวมที่ตำแหน่งการฉีดจะเกิดขึ้นนานราวสองสามสัปดาห์ วัคซีนนี้ปลอดภัยต่อผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง  การให้วัคซีนร่วมที่ใช้เพื่อป้องกันโรคมีหลายวิธี ซึ่งได้แก่ การให้ร่วมกับ tetanus toxoid (หรือที่เรียกว่า วัคซีน dT หรือ DT) และวัคซีนโรคบาดทะยักและวัคซีนโรคไอกรน หรือที่เรียกว่า วัคซีน DPT ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้นับตั้งแต่ปี 2517 ประชากรโลกที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนประมาณ 84% โดยเป็นการให้วัคซีนโดยการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ วัคซีนนี้ต้องเก็บในที่เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง วัคซีนโรคคอตีบผลิตขึ้นในปี 2466 วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ปี 2557 ราคาขายส่งของวัคซีนที่มี tetanus toxoid อยู่ในราว 0.12 ถึง 0.99 เหรียญสหรัฐฯ ในสหรัฐอเมริกามีราคาต่ำกว่า 25 เหรียญสหรัฐฯ.

ใหม่!!: โรคคอตีบและวัคซีนโรคคอตีบ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดลม

หลอดลม (trachea) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม หลอดลม หลอดลม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก.

ใหม่!!: โรคคอตีบและหลอดลม · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: โรคคอตีบและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: โรคคอตีบและอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากหรืออาการหอบ (dyspnea, shortness of breath) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นิยามโดยสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวถึงอาการหายใจลำบากไว้ว่าหมายถึง "ประสบการณ์โดยอัตวิสัยที่คนผู้หนึ่งหายใจไม่สะดวก เป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ" และแนะนำให้ผู้ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกที่ว่านี้ ระดับของความลำบากที่ปรากฎ และผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้สึกหายใจลำบากนี้มีหลายแบบ (เชิงคุณภาพ) เช่น รู้สึกว่าต้องใช้แรงมากในการหายใจ รู้สึกแน่นอยู่ในอก หรือรู้สึกหิวอากาศ หายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อาการหายใจลำบากเป็นอาการปกติของการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่หากเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกแรงเพียงเล็กน้อย จะถือเป็นความผิดปกติ โรคที่เป็นสาเหตุมีอยู่หลายอย่าง เช่น โรคหืด ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคเนื้อปอด หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคทางจิตใจ เช่น โรคแพนิก โรควิตกกังวล เป็นต้น การรักษาอาการหายใจลำบากมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหต.

ใหม่!!: โรคคอตีบและอาการหายใจลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

อาการจาม

ม (sneeze หรือ sternutation) เป็นกลไกกึ่งอัตโนมัติของการขับลมออกจากปอดผ่านทางจมูกและปากอย่างรวดเร็ว มักเกิดจากอนุภาคแปลกปลอมระคายเคืองเยื่อเมือกของจมูก.

ใหม่!!: โรคคอตีบและอาการจาม · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: โรคคอตีบและฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: โรคคอตีบและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

คอหอย

อหอย (pharynx, pharynges) เป็นส่วนหนึ่งของคอ (neck) และช่องคอ (throat) ตั้งอยู่ด้านหลังปากและโพรงจมูก และอยู่บนหลอดอาหาร กล่องเสียงและท่อลม (trachea).

ใหม่!!: โรคคอตีบและคอหอย · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมน้ำเหลืองโต

รคปุ่มน้ำเหลือง (lymphadenopathy) โรคต่อม (adenopathy) เป็นโรคอย่างหนึ่งของต่อมน้ำเหลือง ทำให้มีความผิดปกติไปของขนาด จำนวน หรือความแข็งของต่อม ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้นด้วย จึงนิยมเรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองโต สาเหตุที่พบบ่อยคือเกิดจากการอักเสบ เรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (lymphadenitis) ในทางการแพทย์แล้ว มักไม่นิยมให้ความสำคัญกับการพยายามแยกแยะว่าโรคของต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นต่อมน้ำเหลืองโตหรือเป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ บางครั้งจึงถูกถือว่าเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน ต่อมน้ำเหลืองโตเป็นอาการแสดงที่พบได้บ่อย และไม่มีความจำเพาะต่อโรคใดๆ เป็นพิเศษ สาเหตุที่พบบ่อยคือการติดเชื้อ (ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่การติดเชื้อเล็กน้อย เช่น หวัด ไปจนถึงการติดเชื้อรุนแรง เช่น เอชไอวี) โรคภูมิต้านตนเอง และมะเร็ง นอกจากนี้ยังอาจไม่มีสาเหตุ และหายเองได้.

ใหม่!!: โรคคอตีบและต่อมน้ำเหลืองโต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: โรคคอตีบและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: โรคคอตีบและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: โรคคอตีบและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: โรคคอตีบและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไร้อาการ

ร้อาการ หรือ การเจ็บป่วยโดยไม่มีอาการ (asymptomatic) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีโรคดำเนินอยู่ในร่างกาย เช่น มีการเจริญของมะเร็ง มีการติดเชื้อ ฯลฯ แต่ไม่มีอาการปรากฏให้ผู้ป่วยรู้สึก บางครั้งอาจมีความผิดปกติที่สามารถตรวจพบได้แต่ไม่ได้ตรวจจึงไม่พบและไม่รู้ว่ามีก็ได้ ภาวะการเจ็บป่วยโดยไม่มีอาการนั้นมีความสำคัญ เพราะมีการดำเนินโรคหลายแบบ และอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาต่างๆ กัน เช่น อาจมีอาการมากขึ้นในภายหลัง จึงต้องเฝ้าระวัง, อาจหายได้เอง หรือเป็นภาวะที่ไม่มีอันตราย จึงไม่ต้องทำอะไร, อาจต้องรับการรักษาภาวะนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันจะเกิดขึ้นในภายหลัง (เช่นในภาวะความดันเลือดสูง หรือไขมันในเลือดสูง เป็นต้น), อาจต้องตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหรือพบร่วมกันในตอนนั้น, อาจเป็นการติดเชื้อที่สามารถแพร่ไปยังคนอื่นได้ เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคคอตีบและไร้อาการ · ดูเพิ่มเติม »

ไอ (อาการ)

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจขนาดใหญ่ รีเฟลกซ์การไอประกอบด้วยสามระยะ ได้แก่ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรง ต้านกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการปล่อยอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วพร้อมกันกับการเปิดกล่องเสียง ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดเสียงไอร่วมด้วยเสมอ การไออาจเกิดจากความตั้งใจของคนคนนั้นเองหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้ หากมีอาการไอบ่อยครั้งมักบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้รับประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการกระตุ้นให้โฮสต์มีอาการไอ ซึ่งจะช่วยแพร่กระจายเชื้อไปยังโฮสต์ใหม่ ส่วนใหญ่การไอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิดเช่น ACE inhibitor การรักษามักรักษาที่สาเหตุ เช่น เลิกบุหรี่ หยุดใช้ยา ACE inhibitor ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งบางครั้งการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความสบายใจก็เป็นการเพียงพอ มักมีการสั่งยาแก้ไออย่าง codeine หรือ dextromethorphan อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลช่วยไม่มากนัก การรักษาอย่างอื่นมักรักษาที่การอักเสบของทางเดินหายใจหรือการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ เนื่องจากการไอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีเพื่อป้องกันร่างกาย การยับยั้งอาการไอจึงอาจมีผลเสีย โดยเฉพาะหากอาการไอนั้นเป็นอาการไอแบบมีเสมห.

ใหม่!!: โรคคอตีบและไอ (อาการ) · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: โรคคอตีบและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เบนซิลเพนิซิลลิน

เบนซิลเพนิซิลลิน (benzylpenicillin) หรือเพนิซิลลิน จี (penicillin G) เป็นยาเพนิซิลลินชนิดมาตรฐาน โดยตัว G ย่อมาจาก Gold Standard หมายถึงมาตรฐานสูงสุดในการรักษา เพนิซิลลินจีเป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำเนื่องจากไม่คงทนในกรดไฮโดรคลอริกซึ่งมีอยู่ในกระเพาะอาหาร หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:เพนิซิลลิน.

ใหม่!!: โรคคอตีบและเบนซิลเพนิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือดน้อย

วะเกล็ดเลือดน้อย หรือเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia, thrombopenia) เป็นภาวะซึ่งในเลือดมีเกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ก็ต่อเมื่อจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และถ้าต่ำกว่า 20,000 มีโอกาสเลือดออกได้เองโดยไม่ต้องมีบาดแผล คนปกติจะมีเกล็ดเลือดประมาณ 150,000-450,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ทำให้เลือดออกผิดปกติ หยุดยาก ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการใด แต่บางรายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมาก ต้องได้รับการรักษาทันที อาจเกิดเลือดออกจนเสียชีวิตได้.

ใหม่!!: โรคคอตีบและเกล็ดเลือดน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: โรคคอตีบและเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: โรคคอตีบและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Diphtheriaคอตีบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »