เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กาฬโรค

ดัชนี กาฬโรค

กาฬโรค (plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: หมัด (สัตว์)ห่าอหิวาตกโรคอันดับสัตว์ฟันแทะองค์การอนามัยโลกแบล็กเดทโรคระบาดโรคติดเชื้อไข้เหลือง

  2. ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  3. อาวุธชีวภาพ
  4. โรคของแมว
  5. โรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์
  6. โรคที่มีสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะนำโรค
  7. โรคระบาด
  8. โรครับจากสัตว์

หมัด (สัตว์)

หมัด (Flea) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นแมลงที่ไม่มีปีกขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดความยาวตลอดลำตัวราว 2-2.5 มิลลิเมตร ลำตัวด้านข้างแบน มีขาคู่หลังยาวใช้สำหรับการกระโดด ลำตัวเป็นปล้อง และมีหัวขนาดใหญ่ หมัดถือได้ว่าเป็นปรสิตสำหรับคน และสัตว์เลี้ยง หมัดเมื่อโตตัวเต็มวัยจะวางไข่ในบริเวณขนของสัตว์ หรือ บริเวณที่สัตว์นอนอยู่ โดยวางไข่ครั้งละ 3-18 ฟอง ซึ่งตลอดช่วงอายุของตัวเมียจะวางไข่ได้หลายร้อยฟอง ช่วงระยะการเป็นตัวอ่อนจะกินเวลาประมาณ 9-15 วัน แล้วจึงกลายเป็นดักแด้ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเต็มวัย ช่วงชีวิตของหมัดจากไข่จนเติบโตเต็มวัยจะอยู่ที่ประมาณ 18 วันไปจนถึงหลายเดือน.

ดู กาฬโรคและหมัด (สัตว์)

ห่า

ห่า อาจหมายถึง.

ดู กาฬโรคและห่า

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ดู กาฬโรคและอหิวาตกโรค

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ดู กาฬโรคและอันดับสัตว์ฟันแทะ

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ดู กาฬโรคและองค์การอนามัยโลก

แบล็กเดท

การฝังศพผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดทในเมืองตูร์แน ภาพประกอบจากบันทึกของฌีล ลี มุยซี (Gilles Li Muisis) อธิการอารามนักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แน แบล็กเดท (Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 100 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ดู กาฬโรคและแบล็กเดท

โรคระบาด

ในทางวิทยาการระบาด โรคระบาด (epidemic; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก epi-.

ดู กาฬโรคและโรคระบาด

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ดู กาฬโรคและโรคติดเชื้อ

ไข้เหลือง

ไข้เหลืองเป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสไข้เหลืองมีขนาด 40-50 นาโนเมตร เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสเซนส์บวก มีปลอกหุ้ม อยู่ในแฟมิลีฟลาวิไวริดี ติดต่อผ่านทางการถูกยุงตัวเมียที่มีเชื้อกัด อาจเป็นยุงไข้เหลือง ยุงลาย หรือยุงอื่นๆ บางชนิด พบในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาและพื้นที่ข้างเคียง แต่ไม่พบในทวีปเอเชีย โฮสต์ของไวรัสไข้เหลืองคือลิงไพรเมทรวมถึงมนุษย์และยุงบางชนิด เชื่อว่าโรคนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ระบาดมายังอเมริกาใต้พร้อมกับการค้าทาสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีบันทึกการระบาดครั้งใหญ่หลายครั้งในอเมริกา แอฟริกา และยุโรป จนในศตวรรษที่ 19 ไข้เหลืองก็ถูกยกระดับเป็นโรคติดต่อที่อันตรายที่สุดโรคหนึ่ง ผู้ป่วยไข้เหลืองส่วนใหญ่มีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะหลัง) และปวดศีรษะ ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลาหลายวัน ผู้ป่วยบางคนจะมีระยะพิษตามหลังจากระยะไข้ เซลล์ตับเสียหายจนมีดีซ่าน (เป็นที่มาของชื่อโรค) และอาจเป็นมากจนเสียชีวิตได้ ไข้เหลืองอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่าย จึงจัดอยูในกลุ่มโรคไข้เลือดออก องค์การอนามัยโลกประมาณไว้ว่ามีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้เหลืองป่วยเป็นไข้เหลือง 200,000 รายต่อปี และเสียชีวิต 30,000 รายต่อปี ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไข้เหลืองกว่า 90% อยู่ในแอฟริกา วัคซีนไข้เหลืองที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลนั้นผลิตสำเร็จตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 บางประเทศยังกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนเข้าประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมๆ กับลดจำนวนยุงและลดโอกาสถูกยุงกัด ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยไข้เหลืองเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำ (re-emerging disease) เชื่อว่าเป็นผลจากสภาพสังคมและสงครามในหลายๆ ประเทศในแอฟริกา หมวดหมู่:ไข้จากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัส หมวดหมู่:ฟลาวิไวรัส หมวดหมู่:โรคเขตร้อน หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อจากแมลง หมวดหมู่:โรคที่ไม่ได้รับการรักษา หมวดหมู่:อาวุธชีวภาพ.

ดู กาฬโรคและไข้เหลือง

ดูเพิ่มเติม

ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย

อาวุธชีวภาพ

โรคของแมว

โรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์

โรคที่มีสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะนำโรค

โรคระบาด

โรครับจากสัตว์