โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย

ดัชนี โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย

รคติดเชื้อลิสเทอเรีย (listeriosis) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Listeria monocytogenes เชื้ออื่นที่อาจเป็นสาเหตุได้เช่น L. ivanovii และ L. grayi เชื้อนี้มักทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาท (เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ ฝีในสมอง สมองใหญ่อักเสบ) และภาวะเลือดมีแบคทีเรียได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ผู้ที่มีสุขภาพปกติหากติดเชื้อรุนแรงอาจมีลำไส้อักเสบได้ เชื้อนี้พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ติดต่อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ เมื่อกินเข้าไปแล้วเชื้อจะรุกล้ำเข้าผ่านทางเดินอาหารทำให้เกิดการติดเชื้อทั่วร่างกายได้ การจะวินิจฉัยการติดเชื้อนี้ทำได้โดยการเพาะเชื้อจากเลือดหรือจากน้ำหล่อสมองไขสันหลัง การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ผลเป็นส่วนใหญ่คือแอมพิซิลลินและเจนตาไมซิน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย หมวดหมู่:ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย หมวดหมู่:โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย.

9 ความสัมพันธ์: ภาวะเลือดมีแบคทีเรียภูมิคุ้มกันบกพร่องยาปฏิชีวนะระบบประสาทน้ำหล่อสมองไขสันหลังแบคทีเรียก่อโรคแอมพิซิลลินเยื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย

วะเลือดมีแบคทีเรีย (Bacteremia) เป็นภาวะที่พบแบคทีเรียในเลือด โดยปกติเลือดเป็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ ดังนั้นการพบแบคทีเรียในเลือดนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติเสมอ เชื้อแบคทีเรียอาจเข้าสู่กระแสเลือดได้จากการติดเชื้อรุนแรง (เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) จากการผ่าตัด (โดยเฉพาะที่ต้องกระทำกับเยื่อเมือก เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร) จากการใส่สายสวนหรือการใส่สิ่งแปลกปลอมคาไว้ในหลอดเลือด (รวมถึงการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดด้วย) ภาวะเลือดมีแบคทีเรียอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการมีแบคทีเรียในเลือดอาจทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หรือลุกลามเป็นภาวะช็อกเหตุพิษติดเชื้อ ซึ่งมีอัตราการตายสูง เชื้อแบคทีเรียในเลือดอาจแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ได้ เช่น เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือกระดูกและไขกระดูกอักเสบ ซึ่งมักเกิดตามมาจากการมีแบคทีเรียในเลือด ในกรณีที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ อาจมีการให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการป้องกันด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันได้.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและภาวะเลือดมีแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและภูมิคุ้มกันบกพร่อง · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหล่อสมองไขสันหลัง

ภาพเอ็มอาร์ไอแสดงจังหวะการไหลของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) เป็นสารน้ำชนิดหนึ่งในร่างกาย ใสไม่มีสี หล่ออยู่ในช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและระบบโพรงสมอง ภายนอกและภายในสมองและไขสันหลัง อาจกล่าวได้ว่าเนื้อสมองและไขสันหลัง "ลอย" อยู่ในน้ำหล่อสมองไขสันหลังนี้ หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย หมวดหมู่:ระบบประสาทกลาง หมวดหมู่:ประสาทวิทยา.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียก่อโรค

แบคทีเรียก่อโรคหมายถึงกลุ่มหนึ่งของแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ (บทความนี้จะเน้นแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์) แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ และบางชนิดยังเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วย แต่แบคทีเรียบางชนิดก็ทำให้เกิดโรคได้ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและแบคทีเรียก่อโรค · ดูเพิ่มเติม »

แอมพิซิลลิน

แอมพิซิลลิน (Ampicillin) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น Amilin, Ampat, Ampexin, Ampicillin Pharmacia, Ampicyn ออกฤทธิ์คล้ายกับ Benzypeni-Benzypenicillin ยานี้สามารถทำลายแบคทีเรียได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ เช่นเชื้อทำให้เกิดโรคท้องเสีย หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถุงและท่อน้ำดีอักเสบ แผลมีหนอง ฝี.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและแอมพิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบ (Meningoencephalitis) คือภาวะซึ่งมีการอักเสบของทั้งสมอง (สมองอักเสบ) และเยื่อหุ้มสมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) พร้อมๆ กัน.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและเยื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.

ใหม่!!: โรคติดเชื้อลิสเทอเรียและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Listeriosis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »