โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บาดทะยัก

ดัชนี บาดทะยัก

ทะยักเป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี..

14 ความสัมพันธ์: กระดูกหักการช่วยหายใจการหายใจล้มเหลวสนิมหัวใจเต้นเร็วฮิปพอคราทีสความดันโลหิตสูงตะปูปวดศีรษะแบคทีเรียโรคติดเชื้อไข้เหงื่อเครื่องช่วยหายใจ

กระดูกหัก

กระดูกหักเป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดความเสียหายกับความต่อเนื่องของผิวกระดูก อาจเกิดจากแรงกระแทกหรือแรงเค้น หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อยที่เกิดกับกระดูกที่อ่อนแออยู่เดิม เช่น จากโรคกระดูกพรุน มะเร็งกระดูก หรือการสร้างกระดูกไม่สมบูรณ์ ซึ่งกรณีนี้จะเรียกว่ากระดูกหักเหตุโร.

ใหม่!!: บาดทะยักและกระดูกหัก · ดูเพิ่มเติม »

การช่วยหายใจ

การช่วยหายใจเป็นวิธีการหนึ่งในการช่วยสนับสนุนหรือทดแทนการหายใจเองด้วยการใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นช่วย อาจทำโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจหรือการบีบถุงหรือชุดอุปกรณ์เพื่อช่วยหายใจโดยผู้ที่ได้รับการฝึกจนมีความชำนาญ เช่น แพทย์ พยาบาล ก็ได้ การช่วยหายใจแบบรุกล้ำคือการช่วยหายใจแบบที่มีการต่อท่อผ่านปากหรือผิวหนังเข้าไปยังทางหายใจ หมวดหมู่:การบำบัดการหายใจ หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต.

ใหม่!!: บาดทะยักและการช่วยหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจล้มเหลว

ภาวะการหายใจล้มเหลว (respiratory failure) คือภาวะซึ่งระบบหายใจทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ (hypoxia) หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมาก (hypercarbia) ค่าปกติของความดันออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) คือมากกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท และความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง (PaCO2) น้อยกว่า 45 มิลลิเมตรปรอท ภาวะการหายใจล้มเหลวแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามการไม่มีหรือมีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดตามลำดับ หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:อวัยวะล้มเหลว หมวดหมู่:โรคระบบหายใจ หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต.

ใหม่!!: บาดทะยักและการหายใจล้มเหลว · ดูเพิ่มเติม »

สนิม

ราบสนิม สนิม เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนและธาตุเหล็ก เกิดเป็นรอยของการเกิดการผุกร่อน เป็น Corrosion ประเภทหนึ่งซึ่งมักเกิดกับโลหะจำพวกเหล็ก.

ใหม่!!: บาดทะยักและสนิม · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ใหม่!!: บาดทะยักและหัวใจเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: บาดทะยักและฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: บาดทะยักและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ตะปู

ตะปู. ตะปู เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะ มีลักษณะแข็ง ปลายแหลม รูปร่างคล้ายเข็ม ตะปูส่วนมากทำมาจากเหล็ก มักใช้สำหรับการยึด ตรึง หรือเพื่อติดวัตถุชนิดต่าง ๆ ในงานไม้ งานก่อสร้าง และงานวิศวกรรม ตะปูมักถูกใช้งานร่วมกับค้อน โดยใช้ค้อนในการตีหรือตอกเพื่อดันตะปูให้ผ่านเข้าไปในวัตถุที่ต้องการ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้.

ใหม่!!: บาดทะยักและตะปู · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: บาดทะยักและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: บาดทะยักและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: บาดทะยักและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: บาดทะยักและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เหงื่อ

หยดเหงื่อบนใบหน้า เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน เหงื่อประกอบด้วย น้ำ 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก.

ใหม่!!: บาดทะยักและเหงื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องช่วยหายใจ

เครื่องช่วยหายใจเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งใช้ในการช่วยหายใจ ใช้สำหรับสร้างให้เกิดการไหลของอากาศเข้าและออกจากปอดเพื่อเลียนแบบการหายใจ ใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้ หรือหายใจได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เครื่องช่วยหายใจสมัยใหม่ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องช่วยหายใจแบบอื่นอีก เช่น เครื่องช่วยหายใจแบบเบิร์ด ซึ่งทำงานด้วยกลไกโดยไม่ต้องการไฟฟ้า เป็นต้น หมวดหมู่:การบำบัดการหายใจ.

ใหม่!!: บาดทะยักและเครื่องช่วยหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tetanus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »