โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อีสุกอีใส

ดัชนี อีสุกอีใส

รคอีสุกอีใส (chickenpox, varicella) เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นตุ่มพองน้ำขนาดเล็ก มีอาการคัน และแตกแห้งเป็นสะเก็ดในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่เริ่มเป็นที่บริเวณหน้าอก หลัง และใบหน้า ต่อมาจึงกระจายไปทั่วตัว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอยู่ 5-7 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ได้แก่ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนที่รอยผื่น เป็นต้น หากเป็นในผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าที่เป็นในเด็ก อาการเหล่านี้มักเริ่มมีขึ้นประมาณ 10-21 วัน หลังได้รับเชื้อ เชื้อไวรัสนี้ติดต่อทางอากาศ โดยออกมากับละอองจากการไอหรือจามของผู้ป่วย ซึ่งอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1-2 วันก่อนเริ่มมีผื่น และสามารถแพร่เชื้อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าแผลผื่นจะตกสะเก็ดแห้งและหลุดออกจนหมด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำได้ด้วย ผู้ป่วยโรคงูสวัดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดียวกันอาจแพร่เชื้อนี้ให้กับผู้อื่นที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ผู้รับเชื้อป่วยด้วยโรคอีสุกอีใสได้ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและผลการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงเป็นผื่นลักษณะเฉพาะดังกล่าว ในบางรายที่อาการไม่ชัดเจนอาจจำเป็นต้องตรวจด้วยการนำสารน้ำจากตุ่มน้ำหรือจากสะเก็ดไปตรวจหาพันธุกรรมเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์ นอกจากนี้การตรวจหาแอนติบอดียังช่วยบอกได้ว่าผู้รับการตรวจนั้นมีภูมิหรือไม่มีภูมิต่อเชื้อนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากหลังหายจากอีสุกอีใสแล้วมักไม่เป็นอีก หากได้รับเชื้อนี้ซ้ำมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนโรคอีสุกอีใสออกใช้ได้ทั่วไป ทำให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ลดลงมาก ผู้รับวัคซีน 70-90% จะไม่เป็นโรค และหากเป็นโรคก็ลดความรุนแรงของโรคลงได้มาก หลายประเทศเริ่มกำหนดให้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนมาตรฐานที่ทางรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ นอกจากนี้แม้จะไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หากผู้รับเชื้อซึ่งเป็นเด็กได้รับวัคซีนภายใน 3 วันก็ยังมีประโยชน์ช่วยลดการเกิดโรคและลดอาการได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการบรรเทาอาการ เช่นการใช้โลชั่นคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน ตัดเล็บให้สั้นเพื่อไม่ให้เกาผื่นจนเกิดแผล และใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ในบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสเช่นอะไซโคลเวียร์ อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก ในปี..

32 ความสัมพันธ์: พันธุศาสตร์พาราเซตามอลยาต้านไวรัสระยะฟักวัคซีนโรคอีสุกอีใสสมองสมองอักเสบสารภูมิต้านทานสเตอรอยด์อะไซโคลเวียร์อาการอาการแสดงผื่นจามคลอเฟนะมีนความล้าคันคาลาไมน์งูสวัดตับปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสประวัติผู้ป่วยปวดศีรษะปอดบวมแบคทีเรียแอสไพรินโรคฝีดาษโรคหวัดโรคติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ไอ (อาการ)ไข้

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พาราเซตามอล

ราเซตามอล (Paracetamol (INN)) หรือ อะเซตามีโนเฟน (acetaminophen (USAN)) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์แก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้หายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำให้แกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบแล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลน.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและพาราเซตามอล · ดูเพิ่มเติม »

ยาต้านไวรัส

ต้านไวรัส (Antiviral drugs) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาเฉพาะการติดเชื้อจากไวรัส เช่นเดียวกับยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสก็ใช้ได้กับไวรัสบางชนิดเท่านั้น การแพทย์ดั้งเดิมจะไม่มียาฆ่าหรือต้านเชื้อไวรัสโดยตรง ถ้ามีการติดเชื้อไวรัสวิธีปฏิบัติคือ ถ้าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงเช่น หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็จะให้พักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ก็จะหายเอง แต่ถ้าติดเชื้อร้ายแรงอย่างโรคพิษสุนัขบ้านั้นไม่มียารักษา แต่ถึงแม้ไม่มียารักษาแต่ก็มีวัคซีนป้องกัน จนกระทั่งตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1980 ก็ได้เกิดยาต้านไวรัสขึ้นมาเป็นสิบๆ ตัว จากความเจริญ ก้าวหน้าทางการแพทย์สาขาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลที่ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างและการทำงานของเชื้อไวรัส ประกอบกับความกดดันทางการแพทย์ ที่จะต้องหาทางรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus - HIV) ที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ (acquired immunodeficiency syndrome - AIDS) มีคนกล่าวว่าเราควรขอบคุณโรคเอดส์ เพราะมันกดดันเราอย่างมากให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยีการต่อต้านไวรัส ยาต้านไวรัสส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและยาต้านไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ระยะฟัก

ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและระยะฟัก · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีนโรคอีสุกอีใส

วัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันอีสุกอีใส วัคซีนหนึ่งเข็มสามารถป้องกันโรคขนาดปานกลางได้ 95% และโรคขั้นรุนแรงได้ 100% การให้วัคซีนสองเข็มจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพียงหนึ่งเข็ม ถ้าให้แก่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคภายในห้าวันหลังจากที่ได้รับเชื้ออีสุกอีใส วัคซีนจะสามารถป้องกันเชื้อโรคในผู้ติดเชื้อได้เกือบทุกราย ทั้งนี้การให้วัคซีนแก่ประชากรกลุ่มใหญ่จะสามารถป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนได้อีกด้วย วิธีการให้วัคซีนคือการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการให้วัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนเท่านั้นถ้าประชากรที่ได้รับวัคซีนของประเทศดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 80% แต่ถ้าประชากรที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนเพียง 20 ถึง 80% ก็เป็นไปได้ว่าประชากรที่จะติดเชื้อโรคเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีจำนวนมากขึ้นและผลโดยรวมก็อาจแย่ลงตามไปด้วย ดังนั้นจึงแนะนำว่าควรที่จะให้วัคซีนไม่ว่าจะเพียงเข็มเดียวหรือสองเข็มก็ตาม ข้อแนะนำสำหรับการให้วัคซีนในประเทศสหรัฐอเมริกาสองเข็ม โดยเริ่มเข็มแรกเมื่อเด็กอายุสิบสองถึงสิบห้าเดือน นับตั้งแต่ปี 2555 ประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปได้แนะแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่เด็กทุกคนหรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีการจัดหาวัคซีนเนื่องจากราคาของวัคซีน วัคซีนนี้มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงเล็กน้อยอาจได้แก่ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ และผื่นผิวหนัง ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมากและส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มของผู้ที่มีการกดการทำงานของภูมิคุ้มกัน ควรต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่มีให้การวัคซีนในระหว่างการตั้งครภ์และไม่พบผลลัพธ์เชิงลบใดๆ การให้วัคซีนนี้อาจทำโดยการให้เพียงตัวเดียวหรือร่วมกับวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ วัคซีนนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ การจำหน่ายวัคซีนอีสุกอีใสครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2527 วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน ในสหรัฐอเมริการาคาของวัคซีนนี้อยู่ที่ระหว่าง 100 ถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและวัคซีนโรคอีสุกอีใส · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองอักเสบ

มองอักเสบ (encephalitis) เป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบเฉียบพลันของสมอง หากเกิดร่วมกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบเรียกว่าเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ อาการที่พบได้เช่นปวดศีรษะ ไข้ สับสน ซึม และอ่อนเพลีย หากเป็นมากอาจมีอาการรุนแรง เช่น ชัก สั่น ประสาทหลอน ความจำเสื่อม เป็นต้น.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและสมองอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

อะไซโคลเวียร์

อะไซโคลเวียร์ (อังกฤษ:Aciclovir ตามแบบ INN หรือ acyclovir ตามแบบ USAN) เป็นยาต้านไวรัสที่มีชื่อทางการค้าว่า โซวิแรกซ์® (Zovirax&reg) มีพิษต่อเซลล์น้อย (cytotoxicity)ขอบเขตการต้านไวรัสที่แคบคือมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสดังนี้.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและอะไซโคลเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและอาการแสดง · ดูเพิ่มเติม »

ผื่น

ผื่น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีของผิวหนัง ซึ่งอาจพบเพียงบางส่วน ผื่น อาจส่งผลให้ผิวหนังเปลี่ยนสี ผิวขรุขระ แห้ง คัน แตก พอง และอาจมีความเจ็บปวดร่วมด้วย หมวดหมู่:ตจวิทยา.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและผื่น · ดูเพิ่มเติม »

จาม

ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและจาม · ดูเพิ่มเติม »

คลอเฟนะมีน

ลอเฟนะมีน (Chlorphenamine) ซึ่งเป็นชื่อสากล หรือ คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา (USAN) และเคยใช้ในประเทศอังกฤษ (BAN) เป็นยาที่ขายในรูปแบบ chlorphenamine maleate เป็นสารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine รุ่นแรกที่ใช้ป้องกันอาการแพ้ เช่น เยื่อจมูกอักเสบและลมพิษ ผลระงับประสาทของมันค่อนข้างอ่อนเทียบกับสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรกอื่น ๆ คลอเฟนะมีนเป็นสารต้านฮิสทามีนที่ใช้มากที่สุดในสัตวแพทย์สำหรับสัตว์เล็ก แม้จะไม่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าหรือยาแก้วิตกกังวล (anxiolytic) คลอเฟนะมีนก็มีฤทธิ์เหล่านั้นด้วย คลอเฟนะมีนเป็นส่วนของกลุ่มสารต้านฮิสทามีน ที่รวมเฟนิรามีน, สารอนุพันธ์แบบเฮโลเจน (halogenated) ของเฟนิรามีน, และยาอื่น ๆ รวมทั้ง fluorpheniramine, เดกซ์คลอเฟนิรามีน, บรอมเฟนิรามีน, เดกซ์บรอมเฟนิรามีน, deschlorpheniramine, ไตรโพรลิดีน, และ iodopheniramine สารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine แบบเฮโลเจนทั้งหมดรวมทั้งคลอเฟนะมีน มี optical isomerism เช่นกัน และคลอเฟนะมีนที่วางขายจะอยู่ในรูปแบบ chlorphenamine maleate แบบแรซิมิก เทียบกับเดกซ์คลอเฟนิรามีน ซึ่งเป็น dextrorotary stereoisomer.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและคลอเฟนะมีน · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

คัน

ัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและคัน · ดูเพิ่มเติม »

คาลาไมน์

ลาไมน์ หรือ แคลาไมน์ (Calamine) เป็นสารผสมซิงก์ออกไซด์ (ZnO) กับเฟอร์ริกออกไซด์ (Fe2O3) ราว 0.5% มีลักษณะเป็นสีชมพู เป็นส่วนประกอบสำคัญในโลชันคาลาไมน์ และใช้เป็นยาแก้คัน (เป็นผลมาจากฟีนอลในสูตร) เพื่อรักษาอาการคันอ่อน ๆ เช่น ไหม้แดด ผื่นแดง การสัมผัสไอวี่พิษ อีสุกอีใส และแมลงกัดต่อย นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาแก้คันอ่อน ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซึ่งสามารถเกิดได้จากการเกาบริเวณที่คัน และเป็นยาสมานเพื่อทำให้การซึมเยิ้มแห้ง (dry weeping) หรือการซึมเยิ้มตุ่มพอง (blister) และฝีสิว (acne abscess).

ใหม่!!: อีสุกอีใสและคาลาไมน์ · ดูเพิ่มเติม »

งูสวัด

รคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับ โรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัดจะต้องเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลงจึงกลายเป็นโรคงูสวัด มักจะเป็นผื่นตามแนว dermatome (แนวเส้นประสาทของผิวหนัง) และมักจะปวดมาก โรคนี้ไม่ติดต่อระหว่างคนสู่คน แต่การได้รับไวรัสที่พบในตุ่มสามารถก่อโรคสุกใสในผู้ที่ไม่เคยเป็นได้.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและงูสวัด · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส

ั้นตอนการทำ PCR ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase chain reaction; ตัวย่อ: PCR) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งกระบวนการนี้เลียนแบบกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ผู้คิดค้นเทคนิคพีซีอาร์ คือ Kary Mullis พีซีอาร์ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติผู้ป่วย

ประวัติผู้ป่วย (medical history) คือข้อมูลที่แพทย์ได้จากผู้ป่วยด้วยการถามคำถามเฉพาะ โดยผู้ให้ประวัติอาจเป็นผู้ป่วยเองหรือผู้อื่นที่สามารถให้ข้อมูลได้ก็ได้ จุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลเหล่านี้คือเพื่อใช้สร้างคำวินิจฉัยที่จะนำไปสู่แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จากผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดเหล่านี้เรียกว่าอาการ (symptom) ซึ่งแตกต่างจากอาการแสดง (sign) โดยที่อาการแสดงนั้นจะเป็นสิ่งที่ได้จากการตรวจโดยบุคลากรทางการแพทย์ การเข้ารับบริการทางสาธารณสุขส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนของการซักประวัติเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการเสมอ ประวัติผู้ป่วยนั้นอาจมีจุดสนใจหรือความละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานการณ์ เช่น paramedic ที่ไปกับรถพยาบาลอาจถามเฉพาะชื่อ ประวัติอาการสำคัญปัจจุบัน ประวัติแพ้สารต่างๆ เป็นต้น ในทางกลับกัน ประวัติทางจิตเวชอาจยาวและมีความละเอียดมาก เนื่องจากรายละเอียดบางอย่างในชีวิตของผู้ป่วยอาจมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัตินั้นเมื่อใช้ร่วมกับการตรวจร่างกายจะทำให้แพทย์สามารถกำหนดคำวินิจฉัยและแนวทางการรักษาได้ หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้แพทย์อาจให้คำวินิจฉัยเบื้องต้น (provisional diagnosis) ไว้ก่อนและเพิ่มสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ในลักษณะของการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis) ร่วมกันไปตามลำดับของความน่าจะเป็น แผนการดูแลรักษาอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มมาใช้ในการวินิจฉั.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและประวัติผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและปอดบวม · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอสไพริน

แอสไพริน (aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome) แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน..

ใหม่!!: อีสุกอีใสและแอสไพริน · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหวัด

อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและโรคหวัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์

ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus, VZV) หรือ ไวรัสเฮอร์ปีส์ในมนุษย์ชนิดที่ 3 (human herpesvirus type 3, HHV-3) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มไวรัสเริมซึ่งทำให้เกิดโรคในมนุษย์ เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด พบได้ทั่วโลก.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอ (อาการ)

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจขนาดใหญ่ รีเฟลกซ์การไอประกอบด้วยสามระยะ ได้แก่ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรง ต้านกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการปล่อยอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วพร้อมกันกับการเปิดกล่องเสียง ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดเสียงไอร่วมด้วยเสมอ การไออาจเกิดจากความตั้งใจของคนคนนั้นเองหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้ หากมีอาการไอบ่อยครั้งมักบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้รับประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการกระตุ้นให้โฮสต์มีอาการไอ ซึ่งจะช่วยแพร่กระจายเชื้อไปยังโฮสต์ใหม่ ส่วนใหญ่การไอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิดเช่น ACE inhibitor การรักษามักรักษาที่สาเหตุ เช่น เลิกบุหรี่ หยุดใช้ยา ACE inhibitor ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งบางครั้งการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความสบายใจก็เป็นการเพียงพอ มักมีการสั่งยาแก้ไออย่าง codeine หรือ dextromethorphan อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลช่วยไม่มากนัก การรักษาอย่างอื่นมักรักษาที่การอักเสบของทางเดินหายใจหรือการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ เนื่องจากการไอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีเพื่อป้องกันร่างกาย การยับยั้งอาการไอจึงอาจมีผลเสีย โดยเฉพาะหากอาการไอนั้นเป็นอาการไอแบบมีเสมห.

ใหม่!!: อีสุกอีใสและไอ (อาการ) · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: อีสุกอีใสและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chickenpoxวาริเซลลาชิคเกนพอกโรคอีสุกอีใส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »