โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หนู

ดัชนี หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

32 ความสัมพันธ์: บ้านพ.ศ. 2346พ.ศ. 2453พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กาฬโรคภาษาไทยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์วงศ์ย่อยหนูวงศ์หนูสกุล (ชีววิทยา)สมัยไพลสโตซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์หนูบ้านหนูหริ่งบ้านหนูจี๊ดหนูท้องขาวหนูขนเสี้ยนเขาหินปูนหนูตะเภาอันดับสัตว์ฟันแทะทวีปยุโรปทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียซากดึกดำบรรพ์โรคฉี่หนูโลกโลกเก่าไข้กระต่าย

บ้าน

้าน บ้าน คือ ที่อยู่อาศัยที่ให้ความอบอุ่นใจแก่ผู้อยู่อาศัย คำว่าบ้านอาจมีความหมายถึงรวมอาคารหรือห้องพักที่ใช้พักอาศัยด้วย หรือ ที่อยู่, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่,ถิ่นที่มีมนุษย์อยู.

ใหม่!!: หนูและบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2346

ทธศักราช 2346 ตรงกับคริสต์ศักราช 1803 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: หนูและพ.ศ. 2346 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2453

ทธศักราช 2453 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1910 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: หนูและพ.ศ. 2453 · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: หนูและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: หนูและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กาฬโรค

กาฬโรค (plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก.

ใหม่!!: หนูและกาฬโรค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: หนูและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: หนูและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: หนูและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยหนู

วงศ์ย่อยหนู (Old World rats and mice, วงศ์ย่อย: Murinae) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์ฟันแทะในวงศ์หนู (Muridae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murinae มีจำนวนสมาชิกในวงศ์นี้กว่า 519 ชนิด ถือว่าเป็นวงศ์ของสัตวฟันแทะที่มีความหลากหลายมากที่สุดวงศ์หนึ่ง และถือได้ว่ามีจำนวนสมาชิกพอ ๆ กับค้างคาวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกัน หากแต่ค้างคาวมิใช่สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นโลกเก่า คือ แอฟริกา, เอเชีย, ยุโรป ตลอดจนโอเชียเนียด้วย โดยมีสกุลกว่า 129 สกุล โดยที่บางสกุลก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยที่สกุลที่เป็นที่รู้จักกันคือ Rattus ซึ่งเป็นสกุลที่มีขนาดใหญ่ และพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือนของมนุษย์ ได้แก่ หนูบ้าน (R. norvegicus) และหนูท้องขาว (R. rattus) เป็นต้น ส่วนที่พบได้ในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 34 ชนิด นอกจาก 2 ชนิดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมี หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus), หนูหริ่งใหญ่ (M. cookii), หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน (Niviventer hinpoon), หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica), หนูหวาย (Leopoldamys sabanus) ซึ่งล้วนแต่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ทั้งสิ้น.

ใหม่!!: หนูและวงศ์ย่อยหนู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หนู

วงศ์หนู (Rat, Mice, Mouse; วงศ์: Muridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวงศ์หนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Muridae นับเป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี และนับเป็นวงศ์ของสัตว์ฟันแทะที่มีความหลากหลายและจำนวนสมาชิกมากที่สุดด้วย ด้วยมีจำนวนสมาชิกมากกว่า 700 ชนิด ตั้งแต่อาร์กติกเซอร์เคิลจนถึงปลายสุดของทวีปอเมริกาใต้ โดยยังแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง).

ใหม่!!: หนูและวงศ์หนู · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: หนูและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: หนูและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: หนูและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: หนูและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: หนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: หนูและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนูบ้าน

หนูบ้าน, หนูนอร์เวย์, หนูสีน้ำตาล หรือ หนูท่อ เป็นหนูชนิดที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด เพราะเป็นหนูชนิดที่กระจายพันธุ์ไปอยู่ทั่วโลก พบได้ทุกสภาพแวดล้อม รวมถึงบ้านเรือนที่อาศัยของมนุษย์ สันนิษฐานว่าหนูบ้านกระจายพันธุ์มาจากประเทศนอร์เวย์ในภูมิภาคสแกนดิเนเวียที่เป็นแหล่งกำเนิดดั้งเดิม ไปทั่วทุกมุมโลกจากการติดไปกับเรือขนส่งสินค้าในยุควิคตอเรีย ซึ่งมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีอัตราการสืบพันธุ์ที่สูงและทักษะในการเอาตัวรอดที่เยี่ยมอีกด้วย หนูบ้านจัดได้ว่าเป็นหนูชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rattus มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 300-350 กรัม (ในบางตัวอาจหนักได้ถึง 400 กรัม) ขนาดลำตัวและหัวยาวประมาณ 180-250 มิลลิเมตร หางยาวประมาณ 150-220 มิลลิเมตร เท้าหลังยาวประมาณ 35-40 มิลลิเมตร หูยาวประมาณ 17-23 มิลลิเมตร ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบ ๆ ที่หาง และด้านบนของเท้าหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่ ถ้าอยู่ในชุมชนของมนุษย์ มักอยู่ตามรูท่อระบายน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะหรือตลาดสด สามารถผสมพันธุ์และออกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 4-7 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 8–12 ตัว เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-5 เดือน เมื่อผสมแล้วจะตั้งท้องเพียง 21-22 วัน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้แทบทุกอย่างและกินไม่เลือก รวมถึงมีพฤติกรรมกินซากพวกเดียวกันเองด้วย แม้จะไม่พบบ่อยมากนัก มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี ให้ลูกได้ตลอดทั้งชีวิต 6-10 ครอก จัดเป็นสัตว์ที่สร้างความรำคาญและเป็นพาหะนำโรคระบาดร้ายแรงที่ทำให้ถึงชีวิตมาสู่มนุษย์ได้อย่างมากที่สุดชนิดหนึ่ง เช่น กาฬโรค ที่เคยระบาดอย่างรุนแรงมาแล้วในทวีปยุโรปในยุคกลาง ที่เรียกว่า ความตายสีดำ (Black Death) และโรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซ.

ใหม่!!: หนูและหนูบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่งบ้าน

หนูหริ่งบ้าน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์หนู (Muridae) หนูหริ่งบ้านจัดเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียประมาณ 30-40 กรัม มีขนสีน้ำตาลอ่อนตลอดทั้งลำตัว ส่วนท้องสีขาว ไม่มีขนที่หาง ขาหน้ามี 4 นิ้ว ขาหลังมี 5 นิ้ว ตัวเมียมีเต้านม 10 เต้า มีอายุขัยประมาณ 1.5-3 ปี หนูหริ่งบ้านเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้แทบทุกอย่างเช่นเดียวกับหนูทั่วไป และจัดเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ตามบ้านเรือนของมนุษย์ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบแทบทุกมุมของโลกและทุกทวีป แต่เชื่อว่า ดั้งเดิมเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ก่อนจะกระจายไปทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน หนูหริ่งบ้านเป็นหนูชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจนกลายเป็นหนูเผือกทั้งตัว ตาสีแดง และพัฒนาจนเป็นสีต่าง ๆ ตามลำตัว โดยแรกเรี่มเลี้ยงกันในพระราชวัง และเป็นหนูชนิดที่นิยมเป็นสัตว์ทดลองและเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงแก่สัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: หนูและหนูหริ่งบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

หนูจี๊ด

หนูจี๊ด (อังกฤษ: Polynesian rat, Pacific rat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rattus exulans) เป็นหนูชนิดหนึ่งในวงศ์ Muridae วงศ์ย่อย Murinae เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดที่อยู่ในสกุล Rattus มีขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขนชั้นนอกแข็ง หางมีสีดำเรียบสนิทมีความยาวกว่าความยาวลำตัวและหัวรวมกันเสียอีก และไม่มีขน ส่วนท้องสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 10.5 เซนติเมตร หางยาว 12.8 เซนติเมตร น้ำหนัก 36 กรัม ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 คู่ 2 คู่แรกอยู่ที่หน้าอก อีก 2 คู่อยู่ที่หน้าท้อง สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยตั้งท้องนานประมาณ 21-22 วัน ตกลูกครั้งละ 7-12 ตัว ปีหนึ่งสามารถออกลูกได้ราว 5-6 ครอก อายุขัยมากที่สุดที่พบประมาณ 6 ปี หนูจี๊ด เป็นหนูที่สามารถพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรมเช่น โรงนา, ยุ้งฉาง แต่กลับไม่พบในที่นา และสามารถพบได้ในป่าและถ้ำ เป็นหนูที่มีพฤติกรรมว่องไวมาก ทำรังโดยไม่ขุดรู สามารถปีนป่ายและกระโดดได้เก่ง สามารถไต่ไปตามเส้นลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางแคบ ๆ ได้เป็นระยะทางหลายเมตร โดยใช้หางที่ยาวนั้นช่วยทรงตัวและเกาะเกี่ยว ว่ายน้ำเก่ง กินอาหารได้แทบทุกชนิด และกินอาหารตามที่มนุษย์กินได้ด้วย โดยกินมากเป็นน้ำหนักประมาณ 10 เท่าของน้ำหนักตัวต่อวัน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จนถึงภูมิภาคออสตราเลเชีย, โอเชียเนีย จนถึงฮาวายและโพลินีเซีย โดยมีชื่อเรียกในภาษาเมารีว่า kiore จัดเป็นหนูชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามบ้านเรือนเช่นเดียวกับ หนูท้องขาว (R. rattus) และหนูบ้าน (R. norvegicus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน.

ใหม่!!: หนูและหนูจี๊ด · ดูเพิ่มเติม »

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว หรือ หนูดำ หรือ หนูนาท้องขาว (Roof rat, Black rat) เป็นหนูที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rattus rattus อยู่ในวงศ์ Muridae จัดเป็นหนูที่พบได้ในบ้านเรือนของมนุษย์หนึ่งในสามชนิด ร่วมกับ หนูบ้าน (R. norvegicus) และหนูจี๊ด (R. exulans) เป็นหนูขนาดกลาง ใบหูใหญ่ ขนตามลำตัวด้านสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดงหรือสีดำ ขนท้องสีขาว มีลายสีดำเล็ก ๆ ที่หน้าอก หางสีดำมีความยาวพอ ๆ หรือยาวกว่าความยาวลำตัวและหัว มีเกล็ดตลอดทั้งหาง จมูกแหลมกว่าหนูบ้าน มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 18 เซนติเมตร ส่วนหางก็มีความยาวพอ ๆ กัน ตัวเมียมีเต้านมที่หน้าอก 2 คู่ ออกลูกปีละ 4-6 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 6-8 ตัว มีระยะทางหากิน 100-150 ฟุต เป็นหนูที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และพบกระจายพันธุ์ไปไกลจนถึงทิศตะวันออกของโรมาเนีย เป็นหนูที่ปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นและหากินบนต้นไม้ เพราะชอบกินเมล็ดพืชมากที่สุด จึงมักพบในพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเฉพาะในสวนมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมันในภาคใต้ จัดเป็นศัตรูพืชของพืชจำพวกนี้ เกษตรกรจึงใช้วิธีตามธรรมชาติกำจัดหนูเหล่านี้ โดยสร้างรังนกแสก (Tyto alba) ให้อยู่ท้ายสวน เพราะนกแสกจะกินหนูโดยเฉพาะหนูท้องขาวเป็นอาหารหลัก ถ้าอาศัยอยู่ในบ้านก็มักจะสร้างรังบนเพดานบ้าน.

ใหม่!!: หนูและหนูท้องขาว · ดูเพิ่มเติม »

หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน

หนูขนเสี้ยนเขาหินปูน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Niviventer hinpoon; อังกฤษ: Limestone rat) เป็นสปีชีส์ของสัตว์ฟันแทะในวงศ์ Muridae อาศัยในถ้ำหินปูน พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในจังหวัดอุทัยธานี, สระบุรี และลพบุรี สถานภาพปัจจุบันตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติว่าเป็นสัตว์ใกล้ถูกคุกคาม ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: หนูและหนูขนเสี้ยนเขาหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หนูตะเภา

หนูตะเภา (Guinea pig, Cavy) เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทฟันแทะ ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศเปรู เป็นสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทดลองที่ได้รับความนิยม ในประเทศไทย ยังนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนูแกสบี โดยมักใช้กับสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงจากต่างประเทศที่ได้รับการพัฒนา มีลักษณะภายนอกแตกต่างจากหนูตะเภาทั่วไปที่มีในประเทศไทย ไม่ปรากฏการใช้ชื่อนี้ในภาษาอื่น.

ใหม่!!: หนูและหนูตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: หนูและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: หนูและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: หนูและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: หนูและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: หนูและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคฉี่หนู

รคฉี่หนู, ไข้ฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (leptospirosis) เป็นโรครับจากสัตว์ชนิดหนึ่ง สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง.

ใหม่!!: หนูและโรคฉี่หนู · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: หนูและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โลกเก่า

ลกใหม่ (สีเขียว) เปรียบเทียบกับ โลกเก่า (สีเทา) โลกเก่า (Old World) ประกอบด้วยทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นที่รับรู้ของชาวยุโรป ชาวแอฟริกัน และชาวเอเชีย ก่อนการค้นพบทวีปอเมริกา ตรงข้ามกับ "โลกใหม่" ซึ่งหมายถึงทวีปอเมริกาเหนือ,ทวีปอเมริกาใต้และโอเชียเนี.

ใหม่!!: หนูและโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ไข้กระต่าย

้กระต่าย หรือ โรคทูลารีเมีย (Tularemia) เป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู และกระต่าย มีพาหะคือ ตัวเห็บ หรือ ตัวฟลี (Flea) ลำตัวแบน สีดำ มีขนาดเล็กมาก กระโดดได้ไกลมาก เห็บที่ดูดเลือดกระต่าย หรือสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ แล้วกระโดดไปเกาะและกัดอีกตัวทำให้ติดเชื้อกัน มีอาการเหมือนโรคกาฬโรค คือ ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้สูง มีน้ำมูก และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย โรคนี้สามารถติดจากสัตว์ไปสู่คนได้ทางลมหายใจ และสารคัดหลั่งต่างๆ วิธีการป้องกันโรค คือ การพ่นยาฆ่าตัวเห็บ เพื่อตัดตอนพาหะออกไป ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เลี้ยงกระต่ายหรือสัตว์ที่เป็นฟันแทะ เช่น กระรอก หนู ควรปฏิบัติดังนี้ 1.

ใหม่!!: หนูและไข้กระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

RatRattusStenomys🐭

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »