โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลปะคริสเตียน

ดัชนี ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

85 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการบานพับภาพชีวประวัติพระสันตะปาปาพระคริสต์ทรงพระสิริพระเยซูพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์พันธสัญญาใหม่พันธสัญญาเดิมการพิพากษาครั้งสุดท้ายการมัดอิสอัคการหนีไปอียิปต์การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนการคืนพระชนม์ของพระเยซูการตกในบาปการตรึงกางเขนการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)การนมัสการของโหราจารย์มรรคาศักดิ์สิทธิ์มหาวิหารมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเรมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสารมาร์ก ชากาลมาเอสตะลัทธิบูชาลัทธิสัญลักษณ์นิยมลัทธิจุลนิยมลัทธิทำลายรูปเคารพวัดวันอาทิตย์ใบลานศาสนาคริสต์ศิลปะกอทิกศิลปะโรมาเนสก์ศิลปะไบแซนไทน์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์สถาปนิกอย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ออกัสตินแห่งฮิปโปอาสนวิหารบูร์ฌอาสนวิหารล็องอาสนวิหารอาเคินอาสนวิหารเฮริฟอร์ดอาหารค่ำมื้อสุดท้าย...อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อ็องรี มาติสจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิไบแซนไทน์จิตรกรรมจิตรกรรมแผงทัศนมิติทิเชียนที่เก็บศพคอนสแตนติโนเปิลคัมภีร์ไบเบิลงานกระจกสีงานโมเสกตรีเอกภาพฉากประดับแท่นบูชาซากรากอนแวร์ซาซีโอเนซีโมเน มาร์ตีนีประติมากรรมประเทศออสเตรียปีเอตะนิกายในศาสนาคริสต์แม่พระรับสารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แม่พระและพระกุมารแองกลิคันโบสถ์วีสโบสถ์คริสต์โรมันคาทอลิกโลเรนโซ กีแบร์ตีโปรเตสแตนต์เลโอนาร์โด ดา วินชีเวียนนาเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเทวดาเซนต์ ขยายดัชนี (35 มากกว่า) »

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและบานพับภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวประวัติ

ีวประวัติ (biography) คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ ชีวประวัติ เป็นคำนาม มาจากคำว่า ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตบุคคล ส่วนคำว่า biography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า bíos (βίος) ที่หมายถึง ชีวิต (life) และ gráphein (γράφειν) ที่มีความหมายว่าการเขียน (to write) ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์ทรงพระสิริ

ระคริสต์ทรงพระสิริ (Christ in Glory) หรือ พระคริสต์ผู้ยิ่งใหญ่ (Christ in Majesty Majestas Domini), เป็นภาพพระเยซูประทับบนบัลลังก์ในฐานะประมุขของโลก ในการวางองค์ประกอบของงานศิลปะจะเป็นภาพที่จะมองจากด้านหน้าเสมอ และมักจะขนาบด้วยคนหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปแล้วแต่บริบท ลักษณะ ภาพ “พระคริสต์ทรงพระสิริ” เป็นภาพที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่ศิลปะคริสเตียนยุคแรกที่นำมาโดยตรงจากภาพจักรพรรดิโรมันบนบัลลังก์ ในศิลปะไบแซนไทน์จะมีลักษณะที่ต่างออกไปเล็กน้อยเป็นภาพครึ่งพระองค์ “พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ” (Christ Pantocrator) และจะไม่มีสิ่งอื่นใดประกอบ และภาพ “เดอีซิส” (Deesis) ที่เป็นภาพทั้งพระองค์บนบัลลังก์ขนาบด้วยพระแม่มารีย์และนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญองค์อื่น ๆ ทางตะวันตกองค์ประกอบของภาพวิวัฒนาการมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยังคงดำรงความสำคัญจนมาถึงปลายศิลปะบารอกที่เป็นภาพที่ลอยอยู่บนฟ้.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและพระคริสต์ทรงพระสิริ · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

จุลจิตรกรรม "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" จากพระวรสารรับบิวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24 และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16 และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57) ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตายซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์Robert W. Funk and the Jesus Seminar.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การพิพากษาครั้งสุดท้าย

การพิพากษาครั้งสุดท้าย(Last Judgment) หรือ วันแห่งการพิพากษา (Day of Judgment) หรือ วันโลกาวินาศ (Doomsday) ตามหลักอวสานวิทยาศาสนาคริสต์ (Christian eschatology) หมายถึง วันที่พระเป็นเจ้าทรงพิพากษาบรรดาประชาชาติต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการคืนชีพของบรรดาผู้ตายและการมาครั้งที่สองของพระเยซู หัวข้อนี้เป็นที่นิยมทำในงานศิลปะต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่าพระเจ้าทรงกำหนดวันหนึ่งไว้เพื่อจะพิพากษาโลก และวันแห่งการพิพากษานั้นจะยาวนานหนึ่งพันปี พระเจ้าจะทรงทำลายองค์ประกอบต่างๆของสังคมมนุษย์ที่เสื่อมทรามและกำจัดคนชั่ว ผู้รอดชีวิตจากอวสานของยุคนี้คือ "คนเป็น" ที่จะถูกพิพากษา ในช่วงการพิพากษาซึ่งยาวนานหนึ่งพันปีนั้น พระเยซูพร้อมด้วยชายและหญิง 144,000 คนที่ถูกปลุกขึ้นจากตายสู่ชีวิตในสวรรค์จะปกครองแผ่นดินโลก ในวันพิพากษา ซาตานและเหล่าผีปิศาจจะถูกจำกัดไม่ให้มีอำนาจครอบงำกิจการของมนุษ.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการพิพากษาครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

การมัดอิสอัค

ียน “เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค” โดยแรมบรังด์ ค.ศ. 1635 เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค (ภาษาอังกฤษ: Sacrifice of Isaac หรือ Binding of Isaac) ในพระธรรมปฐมกาล เป็นเรื่องจากคัมภีร์ฮิบรูเมื่อพระเจ้าสั่งให้เอบราฮัมสังเวยไอแซ็คลูกชายบนภูเขาโมไรยาห์ (Mount Moriah) ในศาสนาอิสลามมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าสั่งให้เอบราฮัมสังเวยอิชมาเอลลูกชายคนโตแทนที่ไอแซ็คที่สนับสนุนในข้อเขียนของมุฮัมมัด แต่ลูกคนใดมิได้บ่งในคัมภีร์อัลกุรอาน เหตุการณ์นี้ตรงกับวันแรกของเดือนแรก (Tishrei) ของปฏิทินยิว และระหว่างวันที่ 10 ถึง 13 ของเดือนสิบสอง (Dhu al-Hijjah) ในปฏิทินมุสลิมในวันฉลองการสังเวย -- “Eid al-Adha” คำบรรยายเรียกว่า “Akedah” (עקדה) หรือ “Akedat Yitzchak” (עקידת יצחק) ในภาษาฮิบรูและ “Dhabih” (ذبح) ในภาษาอาหรับ การสังเวยเรียกว่า “Olah” ในภาษาฮิบรู—เพราะความสำคัญของการสังเวยโดยเฉพาะในสมัยก่อนคริสตกาล ตามคำบรรยายเมื่อพระเจ้าสั่งเช่นนั้น เอบราฮัมก็ตั้งใจที่จะเชื่อฟังพระเจ้าโดยไม่มีคำถาม หลังจากไอแซ็คถูกมัดที่แท่นบูชาพร้อมที่จะถูกสังเวย เทวดาก็ยั้งเอบราฮัมในนาทีสุดท้าย ในขณะเดียวเอบราฮัมพบแกะที่ติดอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆ เอบราฮัมจึงสังเวยแกะแทนที่ เรามักจะนึกภาพว่าไอแซ็คยังเป็นเด็กเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแต่ความคิดนี้เป็นความคิดสมัยใหม่ เพราะหลักฐานในอดีตต่างกล่าวว่าไอแซ็คเป็นผู้ใหญ่แล้ว ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ยิวโจซีฟัส ไอแซ็คอายุยี่สิบห้าปีเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น คัมภีร์ทัลมุด (Talmud) กล่าวว่าไอแซ็คอายุ 37 ปี ซึ่งอาจจะคำนวณจากตำนานไบเบิลอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงการเสียชีวิตของซาราห์เมื่ออายุ 127 ปี และซาราห์อายุ 90 เมื่อไอแซ็คเกิด ไม่ว่าจะอย่างไรไอแซ็คก็เป็นผู้ใหญ่แล้วเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น โตพอที่จะหยุดยั้งเหตุการณ์ได้ถ้าต้องการที่จะทำเช่นนั้น พระธรรมปฐมกาล 22:14 กล่าวว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ “ภูเขาของพระเจ้า”: ใน 2 พงศาวดาร 3:1; เพลงสดุดี; อิสไซยาห์ และ และแซ็คคาริอาห์ แต่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าเกิดขึ้นที่เท็มเพิลเมานท์ (Temple Mount) ในกรุงเยรุซาเล็ม.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการมัดอิสอัค · ดูเพิ่มเติม »

การหนีไปอียิปต์

ระเยซูหนีไปอียิปต์ (Flight into Egypt) เป็นเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิลที่บรรยายในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว (แม็ทธิว) เมื่อนักบุญโจเซฟหนีไปอียิปต์พร้อมกับพระแม่มารีและพระบุตรหลังจากการมาถวายของขวัญของแมไจ เมื่อได้ข่าวว่าพระเจ้าแฮรอด (Herod Antipas) มีคำสั่งให้สังหารเด็กทารกในอาณาจักร เหตุการณ์นี้เป็นหัวเรื่องที่จิตรกรนิยมวาดกันมากฉากหนึ่งและเป็นฉากสุดท้ายในภาพชุด “การประสูติของพระเยซู” และในชุด “ชีวิตของพระแม่มารี” และ “ชีวิตของพระเยซู”.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการหนีไปอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด “ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตกในบาป

อาดัมและเอวาถูกขับจากสวนเอเดนโดยพระเจ้าหลังจากกระทำบาปกำเนิด โดย โดเม็นนิชิโน การตกในบาป (Fall of Man หรือ the Fall) หมายถึงการเปลื่ยนแปลงเป็นครั้งแรกของมนุษย์จากสภาวะของความบริสุทธิ์ที่เชื่อฟังพระเจ้าไปเป็นสภาวะของความรู้สึกผิดเพราะความไม่เชื่อฟังในพระเจ้า ในบาปกำเนิด ในศาสนาคริสต์, มนุษย์คนแรกอาดัมและเอวาเมื่อแรกเริ่มอาศัยอยู่กับพระเจ้าภายในสวรรค์ แต่มาถูกล่อลวงโดยงูให้กินผลไม้จาก “ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว” (Tree of Knowledge of Good and Evil) ซึ่งพระเจ้าทรงสั่งห้ามไว้ว่าไม่ให้แตะต้อง หลังจากที่กินเข้าไปแล้วก็เกิดความละอายในความเปลือยเปล่าของร่างกาย และในที่สุดก็ถูกการตกในบาปโดยพระเจ้า การถูกการตกในบาปมิได้กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ไบเบิล แต่กล่าวถึงทั้งเรื่องของความไม่เชื่อฟังและการถูกขับไล่ ในศาสนาอื่นเช่นศาสนายูดาห์, ศาสนาอิสลาม หรือ ไญยนิยม (Gnosticism) ตีความหมายของการถูกการตกในบาปต่างกันไป ในเทววิทยาศาสนาคริสต์, “การถูกขับจากสวรรค์” มีความหมายที่กว้างหมายถึงมวลมนุษย์ผู้มาจากบาปของอาดัมและเอวาที่เรียกว่า “บาปกำเนิด” (original sin) เช่นในคำสอนของนักบุญพอลแห่งทาซัสที่บันทึกไว้ใน จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 5:12-19 และ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 15:21-22 ผู้นับถือศาสนาคริสต์บางคนเชื่อว่า “การถูกขับจากสวรรค์” เป็นการทำความเสียหายให้แก่ธรรมชาติของโลกทั้งหมดโดยเฉพาะธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดมาพร้อมกับบาปกำเนิด ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ทำให้สามารถมีชีวิตชั่วนิรันดรโดยไม่ต้องให้พระเจ้าเข้ามาช่วย ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เชื่อว่าความตายของพระเยซูเป็น “ค่าไถ่” ซึ่งทำให้มนุษย์ปราศจาก “บาปกำเนิด” ที่เกิดจาก “การถูกขับจากสวรรค์” ตลอดไป นิกายอื่น ๆ เชื่อว่า “การถูกขับจากสวรรค์” ทำให้มนุษย์มีอิสระจากบาปโดยมิต้องหาทางแก้บาปอีก คำว่า “ปราศจากบาป” (prelapsarian) หมายถึง สภาวะที่เป็นอิสระจากความมีบาปก่อน “การถูกขับจากสวรรค์” หรือบางครั้งก็เป็นคำที่ใช้ในการรำลึกถึงเวลาในอดีตที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน หรือสถานะการณ์ที่เรียกว่า “คำนึงถึงความหลัง” (nostalgia).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการตกในบาป · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงกางเขน

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” โดย คาราวัจโจ การตรึงกางเขน (crucifixion) เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งผู้ถูกสั่งให้ประหารจะถูกผูกหรือตอกตะปูบนไม้กางเขนและปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย วิธีการประหารชีวิตแบบนี้เป็นวิธีที่ใช้ในสมัยจักรวรรดิโรมันและในประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และวิธีที่คล้ายคลึงกันในจักรวรรดิเปอร์เชีย การประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขนโดยจักรวรรดิโรมันมาจนถึงปี..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการตรึงกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของโหราจารย์

“การนมัสการของโหราจารย์” โดย เดียริค เบาท์ คริสต์ศตวรรษที่ 15 “การนมัสการของโหราจารย์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ค.ศ. 1423 การนมัสการของโหราจารย์ (Adoration of the Magi) เป็นชื่อที่ใช้ในหัวข้อการวาดภาพหนึ่งในชุดการประสูติของพระเยซู ซึ่งเป็นภาพของโหราจารย์สามคนเดินทางตามดาวแห่งเบธเลเฮม (star of Bethlehem) จนกระทั่งพบพระกุมารเยซู เมื่อพบแล้วก็มอบของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ (myrrh) และถวายการสักการะ ในปฏิทินศาสนาเหตุการณ์นี้ฉลองกันทางตะวันตกในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งเป็นวันฉลองการที่พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์คือพระเยซู ทุกวันที่ 6 มกราคม ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันเดียวกับวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม การขยายความจากคำบรรยายเพียงสั้นๆ เกี่ยวกับแมไจในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ข้อที่ 1-11 เป็นการแสดงว่าการประสูติของพระเยซูเป็นที่ยอมรับตั้งแต่ประสูติในฐานะกษัตริย์แห่งโลก.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและการนมัสการของโหราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

มรรคาศักดิ์สิทธิ์

มรรคาศักดิ์สิทธิ์ หรือ ทางสู่กางเขน (Stations of the Cross (ที่หมายสู่กางเขน); Via Crucis (ทางสู่กางเขน) หรือ Via Dolorosa (ทางแห่งความเศร้า) หรือ เรียกง่ายๆ ว่า The Way - ทาง) คือภาพงานศิลปะศาสนาคริสต์บรรยายถึงช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตพระเยซู ตั้งแต่เดินทางสู่การตรึงกางเขนและหลังการตรึงกางเขน เรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงความทรมานและความเสียสละของพระองค์ ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และ ลูเทอแรน มรรคาศักดิ์สิทธิ์จะปฏิบัติเมื่อใดก็ได้แต่มักจะทำกันระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยเฉพาะทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างช่วงเวลานี้ และวันศุกร์ประเสริฐก่อนเทศกาลอีสเตอร.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและมรรคาศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร (Basilica di Santa Maria Maggiore) ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า St.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร (Mark the Evangelist; מרקוס; Μάρκος) เป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน อีกสามท่านได้แก่มัทธิว ยอห์น และลูกา เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมาระโกซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่และเป็นเพื่อนกับซีโมนเปโตร นักบุญมาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสเมื่อนักบุญเปาโลเริ่มเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากที่มีข้อขัดแย้งกัน บารนาบัสก็แยกตัวจากเปาโลโดยเอามาระโกไปไซปรัสด้วย (กิจการของอัครทูต 15:36-40) การแยกตัวครั้งนี้ทำให้เกิดพระวรสารนักบุญมาระโกขึ้น ต่อมาเปาโลเรียกตัวมาระโกกลับมา ฉะนั้นมาระโกจึงกลับมาเป็นผู้ติดตามเปาโลอีกครั้ง คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์ถือว่ามาระโกเป็นผู้วางรากฐานคริสต์ศาสนาในทวีปแอฟริกา เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย เช่นเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารอีกสามองค์นักบุญมาระโกมักจะปรากฏในภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาใช้สัญลักษณ์สิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามหนังสือดาเนียลบทที่ 7 (Book of Daniel).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก ชากาล

“มาร์ก ชากาล” (4 กรกฎาคม ค.ศ. 1941) โดย คาร์ล ฟาน เวคเทิน (Carl Van Vechten) มาร์ก ชากาล (Marc Chagall; מאַרק שאַגאַל; Марк Захарович Шага́л, Mark Zakharovich Shagal; Мойша Захаравіч Шагалаў, Mojša Zaharavič Šagałaŭ; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Moishe Shagal; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1985) เป็นจิตรกรชาวเบลารุส-ฝรั่งเศส (เดิมเป็นชาวยิว-เบลารุส) คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชากาลเกิดที่เบลารุสซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย เขาเป็นศิลปินผู้มีส่วนในขบวนการศิลปะสมัยใหม่หลังภายหลังสมัยศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ แต่งานของชากาลจะจัดเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ยาก เป็นงานที่เต็มไปด้วยการใช้สัญลักษณ์ นอกจากงานจิตรกรรมแล้วชากาลยังมีงานกระจกสีและงานโมเสก.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและมาร์ก ชากาล · ดูเพิ่มเติม »

มาเอสตะ

มาเอสตะ (Maestà) แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปเคารพแม่พระและพระกุมารที่อาจจะมีนักบุญและทูตสวรรค์รวมอยู่ด้วย “มาเอสตะ” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งปรีชาญาณ” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “พระมารดาพระเจ้า” (Theotokos) ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระคริสต์ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์ หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “พระราชินีมารีย์” (Maria Regina) ที่เป็นพระแม่มารีย์นั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระกุมาร ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจากศิลปะไบแซนไทน์ เช่น ภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏอุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สองในปี..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและมาเอสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบูชา

ในทางสังคมวิทยา ลัทธิบูชา (Cult) หรือลัทธิ หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติตนแปลกหรือเบี่ยงเบนไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม เนื่องจากระบุลงไปได้ยากว่าเบี่ยงเบนถึงระดับไหนจึงเรียกว่าลัทธิ ทำให้ยังมีปัญหาในการนิยามคำดังกล่าวให้ชัดเจน และมักใช้ในความหมายเชิงลบ นักสังคมวิทยาเริ่มให้ความสนใจศึกษาพฤติกรรมทางศาสนาของลัทธิบูชาต่าง ๆ มาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 จนพบว่าหลายกลุ่มถูกตีตราว่าเป็นพวกนอกรีต จนถึงขึ้นมีขบวนการต่อต้านลัทธิเกิดขึ้นภายในศาสนาต่าง.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและลัทธิบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม

วามตาย และ เทวดา, หิมะที่ยังใหม่, และการวางท่าของตัวแบบที่แสดงความต้องการในการแปรจากความเป็นปัจจุบันไปสู่ดินแดนอื่น (transfiguration) ลัทธิสัญลักษณ์นิยม (ภาษาอังกฤษ: Symbolism in arts) คือขบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มาจากฝรั่งเศสและเบลเยียมในการเขียนกวีนิพนธ์และการสร้างศิลปะอื่น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและลัทธิสัญลักษณ์นิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิจุลนิยม

“Dillingen Serra”Dillinger.de: Richard Serra’s "Viewpoint" for Dillingenhttp://www.dillinger.de/dh/aktuelles/news/01700/index.shtml.en ประติมากรรมโดย ริชาร์ด เซร์รา ลัทธิจุลนิยม หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์ (ภาษาอังกฤษ: Minimalism) คือขบวนการทางศิลปะและการออกแบบโดยเฉพาะจักษุศิลป์และคีตศิลป์ ที่เริ่มราวหลังสงครามโลกครั้งที่สองในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะจักษุศิลป์ของสหรัฐอเมริกา ราวปลายคริสต์ทศศตวรรษ 1960 และ ต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1970 งานลัทธิจุลนิยมจะเป็นงานที่ปอกรายละเอียดจนเหลือแต่แก่น ซึ่งมีผลต่องานศิลปะหลายแขนงรวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม และคีตกรรม ศิลปินผู้มีบทบาทในขบวนการนี้ก็ได้แก่ โดนัลด์ จัดด์ (Donald Judd), คาร์ล อันเดร (Carl Andre) และ ริชาร์ด เซร์รา (Richard Serra) ลัทธิจุลนิยมเป็นความคิดรากฐานของการลดลง (reductive aspect) ของลัทธิสมัยใหม่ (Modernism) บางครั้งจึงตีความหมายว่าเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ ลัทธิการแสดงออกทางนามธรรม (Abstract Expressionism) และเป็นสะพานเชื่อมไปยังลัทธิสมัยใหม่สมัยหลัง (Postmodernism) คำว่า “ลัทธิจุลนิยม” ครอบคลุมไปถึงขบวนการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีซึ่งจะใช้การเล่นซ้ำและขยายจากแกนเช่นงานของ สตีฟ ไรค์ (Steve Reich), จอห์น แอดัมส์ (John Adams), ฟิลลิป กลาส (Philip Glass) และ เทอร์รี ไรลีย์ (Terry Riley) คำว่า “ลัทธิจุลนิยม” มักจะใช้ในภาษาพูดที่หมายถึงสิ่งที่เปลือยจากรายละเอียดต่างๆ และบางครั้งก็ใช้บรรยายบทละครที่เขียนโดย ซามูเอล เบคเคท (Samuel Beckett), ภาพยนตร์โดย โรเบิร์ต เบรสซัน (Robert Bresson) และงานเขียนเรื่องเล่าของ เรมอนด์ คาร์เวอร์ (Raymond Carver), งานสถาปัตยกรรมของ ลุดวิก ฟอน เดอร์ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) หรือแม้แต่การออกแบบรถยนต์โดย โคลิน แชพแมน (Colin Chapman).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและลัทธิจุลนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิทำลายรูปเคารพ

การปฏิรูปศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มหาวิหารนักบุญมาร์ติน เมืองยูเทรกต์ (Cathedral of Saint Martin, Utrecht)http://www.domkerk.nl/domchurch/history.html The birth and growth of Utrecht (ที่มาและความเจริญเติบโตของอูเทรชท์) ลัทธิทำลายรูปเคารพ (Iconoclasm) เป็นแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการใช้รูปเคารพ การทำลายศิลปะหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา การทำลายสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือ การทำลายอนุสาวรีย์โดยจงใจภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผลจากการกระทำเพื่อศาสนาหรือการเมือง การกระทำเช่นนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาหรือทางการเมืองภายในสังคมเดียวกัน ลัทธิทำลายรูปเคารพตรงกันข้ามกับ "ลัทธิบูชารูปเคารพ" (Iconodule).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและลัทธิทำลายรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์ใบลาน

“พระเยซูเข้ากรุงเยรูซาเลม” ภาพวาดบนการ์ดไบเบิลสมัยต้นศตวรรษที่ 20 วันอาทิตย์ใบลาน (คาทอลิก), อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หรือ วันอาทิตย์ทางตาล (โปรเตสแตนต์), กรมการศาสนา หรือ วันอาทิตย์ใบปาล์ม (อีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์) (Palm Sunday) เป็นวันสมโภชสำคัญวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ก่อนอีสเตอร์ เป็นวันฉลองเหตุการณ์ที่ระบุบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ ในโอกาสที่พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมก่อนรับพระทรมาน โบสถ์คาทอลิกจะแจกใบลานที่ผูกกับกางเขนในโอกาสนี้แต่ในบางท้องถิ่นที่ไม่มีใบปาล์มก็จะแจกใบไม้อย่างอื่นที่มีในท้องถิ่น ถ้าเช่นนั้นก็จะเรียกตามใบไม้ที่แจกเช่น “วันอาทิตย์ช่อยู" สำหรับที่ที่แจกช่อยูเป็นต้น หรือเรียกอย่างกว้างๆ ว่า “วันอาทิตย์กิ่งไม้” (Branch Sunday).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและวันอาทิตย์ใบลาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและศิลปะกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

ซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี รูปแบบสถาปัตยกรรมบีเซินทีน สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือ สถาปัตยกรรมไบแซนทีน (Byzantine architecture; /bī-ˈzanˌtēn/merriam-webster.com.) คือสถาปัตยกรรมที่เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ลักษณะอาคารส่วนใหญ่เป็นโดมคลุมบนเนื้อที่กลม สี่เหลี่ยม หรือรูปหลายเหลี่ยม บางครั้งมีการจัดรูปทรงภายนอกเป็นโดมหลายอัน ต่างขนาดกัน ลดหลั่นกันไป โดยส่วนใหญ่ยึดหลักสมดุลชนิด 2 ข้างเท่ากันรอบแกนใดแกนหนึ่ง เช่น โบสถ์เซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้

“Noli me Tangere” (อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้)โดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ หรือเดิมใช้ว่า อย่าแตะต้องเรา (Noli me tangere; Do not cling to meNew Testament, John, Chapter 20, Paragraph 17:"Jesus said to her, Do not cling to me, for I have not yet ascended to the Father; but go to my brothers and say to them, 'I am ascending to my Father and your Father, to my God and your God." หรือ Do not touch me หรือ Touch me not) เป็นถ้อยคำที่พระเยซูกล่าวกับมารีย์ชาวมักดาลา เมื่อทรงพบนางหลังจากที่ทรงฟื้นขึ้นจากความตายตามที่บันทึกใน ประโยคนี้เป็นที่นิยมในเพลงสวดเกรกอเรียน (Gregorian chant) ในยุคกลาง และเป็นหัวข้อที่นิยมกันในงานจิตรกรรมที่เกี่ยวกับการคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection) ประโยคเดิม “Μή μου ἅπτου” ในพระวรสารนักบุญยอห์นซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า “จะหยุดยั้งเรานั้นหาได้ไม่” หรือ “จงอย่าหยุดยั้งเรา” มากกว่าที่จะแปลว่า “อย่าแตะต้องเรา” (Don't touch me) เช่นที่เคยแปลกันในบางฉบั.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ · ดูเพิ่มเติม »

ออกัสตินแห่งฮิปโป

นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและออกัสตินแห่งฮิปโป · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบูร์ฌ

อาสนวิหารบูร์ฌ (Cathédrale de Bourges) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Bourges) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์ฌในประเทศฝรั่งเศส และเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลบูร์ฌ โดยอุทิศแด่นักบุญสเทเฟน มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างด้วยความยิ่งใหญ่และกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหน้าบัน รูปปั้นประดับโดยรอบ และงานกระจกสี อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกละเลยมาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารแห่งนี้ก็โดดเด่นไม่แพ้กับอาสนวิหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอาสนวิหารบูร์ฌ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารล็อง

อาสนวิหารล็อง (Cathédrale de Laon) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งล็อง (Cathédrale Notre-Dame de Laon) สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำแพริชในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารของอดีตมุขมณฑลล็องซึ่งในปัจจุบันอยู่ในการปกครองของมุขนายกประจำมุขมณฑลซัวซง อันเป็นผลจากการควบรวมตามความตกลง ค.ศ. 1801 อาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองล็อง จังหวัดแอน แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในสถานที่แห่งแรกในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกในประเทศฝรั่งเศส โดยสร้างหลังจากอาสนวิหารแซ็ง-เดอนีและอาสนวิหารนัวยง และยังสร้างก่อนอาสนวิหารแม่พระแห่งปารีสอีกด้วย อาสนวิหารล็องได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอาสนวิหารล็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเคิน

อาสนวิหารอาเคิน (Aachener Dom) เรียกกันว่าอาสนวิหารหลวง (Imperial Cathedral; Kaiserdom) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัดนี้ชื่อ Royal Church of St.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอาสนวิหารอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเฮริฟอร์ด

อาสนวิหารเฮริฟอร์ด อาสนวิหารเฮริฟอร์ด (Hereford Cathedral) เป็นอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเฮริฟอร์ดในสหราชอาณาจักร อาสนวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอาสนวิหารเฮริฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย

“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” โดย ไซมอน อูชาคอฟ (Simon Ushakov) ราว ค.ศ. 1685 อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper, Lord's Supper, Mystical Supper) ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนคืออาหารมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกของพระองค์ ก่อนจะมีการตรึงพระเยซูที่กางเขน “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในการสร้างงานจิตรกรรม ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดคือภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลอัครทูตในหนังสือโครินธ์ ระหว่างเสวยพระกระหารที่มีขนมปังและเหล้าองุ่น พระเยซูตรัสต่อสาวกว่า “จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา” เหตุการณ์อื่นและบทสนทนาบันทึกในพระวรสารสหทรรศน์และพระวรสารนักบุญยอห์น คริสต์ศาสนิกชนบางคนถือว่าเป็นรากฐานของศีลมหาสนิท ถ้วยที่ใช้ใส่ไวน์บางทีก็เรียกว่าจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Chalice) และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ในปรัมปราวิทยาในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอาหารค่ำมื้อสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี มาติส

อ็องรี เอมีล เบอนัว มาติส (Henri-Émile-Benoît Matisse) (31 ธันวาคม ค.ศ. 1869 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954) เป็นจิตรกร ประติมากร และช่างพิมพ์ ชาวฝรั่งเศส ถือกันว่าเขามีฐานะเป็นหัวหน้าและคนที่สำคัญที่สุดของกลุ่มคติโฟวิสต์ ผลงานการวาดรูปของเขาจะโดดเด่นในการที่ใช้สีสันตัดกันอย่างลื่นไหลลงตัว.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและอ็องรี มาติส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและจิตรกรรมแผง · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนมิติ

ทัศนมิติแบบสองจุด ทัศนมิติ (perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและทัศนมิติ · ดูเพิ่มเติม »

ทิเชียน

“ภาพเหมือน” (ราว ค.ศ. 1488) ภาพเหมือนดยุ๊คแห่งเวนิสมาร์คานโตนิโอ เทรวิซานิ (Marcantonio Trevisani) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บูดาเพช ประเทศฮังการี เทพดานาเอ” (Danaë) ภาพหนึ่งจากหลายภาพจากตำนานเทพที่ทิเชียนเขียน จ้างโดยพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนใน ค.ศ. 1554 แม้ว่าไมเคิล แอนเจโลจะติจากมุมมองของการวาดเส้นแต่ทิเชียนก็เขียนภาพนี้อีกหลายภาพให้กับผู้อุปถัมภ์อื่นๆ ทิเซียโน เวเชลลี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ทิเชียน หรือ ทิชัน (Tiziano Vecelli หรือ Tiziano Vecellio หรือ Titian.) (ค.ศ. 1485 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1576) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความสำคัญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ทิเชียนเป็นจิตรกรผู้นำของศิลปะเรอเนซองส์ของตระกูลการเขียนแบบเวนิส ทิเชียนเกิดที่พิเว ดี คาดอเร (Pieve di Cadore) ใกล้เมืองเบลลูโน ในรัฐอาณาจักรเวนิส จึงรู้จักกันในนามว่า “ดา คอเดเร” ตามเมืองเกิดด้วย ทิเชียน เป็นจิตรกรที่มีความสามารถหลายด้าน ผู้เขียนได้ทั้งภาพเหมือนและภาพภูมิทัศน์อันเป็นสองลักษณะที่ทำให้มีชื่อเสียง และการเขียนตำนานเทพ และศิลปะคริสต์ศาสนา ถ้าทิเชียนเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 40 ปีก็ยังถือเป็นจิตรกรที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น แต่ทิเชียนก็อยู่ต่อมาอีก 50 ปีในขณะที่เปลี่ยนแปลงวิธีเขียนภาพจากเดิมไปเป็นอย่างมาก นักวิจารณ์บางคนไม่เชื่อว่างานที่สร้างเมื่อสมัยต้นและสมัยปลายของทิเชียนเป็นงานของจิตรกรคนเดียวกัน ลักษณะที่ทำให้ทราบว่าเป็นคนเดียวกันคือความสนใจอย่างลึกซึ้งในการใช้สี งานในสมัยหลังแม้จะไม่ใช้สีสดและเรืองอย่างสมัยแรก แต่ฝีแปรงที่พริ้วที่แฝงให้เห็นความที่จะเป็นสีต่างๆ เพียงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและทิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ที่เก็บศพ

ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: มอโซเลียมโมฮัมหมัดที่ 5 ที่โมร็อกโก ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: ฝาครอบโลงหินของอิทรัสกันที่อิตาลี ที่เก็บศพ (Tomb) คือที่เก็บร่างของผู้ตายซึ่งมิใช่การฝัง คำนี้โดยทั่วไปจะหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่มีที่เก็บร่างของผู้ตายที่มีขนาดต่างๆ กัน.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและที่เก็บศพ · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

งานโมเสก

งานโมเสก (Mosaic.) เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นการตกแต่งภายในเช่นภายในมหาวิหาร การตกแต่งลวดลายหรือภาพทำจากชิ้นกระเบื้องหรือเศษจากเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “tesserae” หรือ กระจกสี หรือแก้วใสเคลือบด้วยโลหะข้างหลัง งานโมเสก.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและงานโมเสก · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเน

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเน (Sacra conversazione; Holy Conversation/Sacred Conversation) การสนทนาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นชื่อศิลปะศาสนาคริสต์แบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมกันในประเทศอิตาลีซึ่งองค์ประกอบของภาพจะมีแม่พระและพระกุมาร ท่ามกลางเหล่าเซนต์ ลักษณะองค์ประกอบที่ว่านี้เริ่มวาดกันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มาแทนบานพับภาพที่องค์ประกอบมีส่วนสัมพันธ์แบบทัศนียภาพกับช่องว่างภายในภาพ ตัวอย่างงานชิ้นแรก ๆ ที่ใช้การเขียนลักษณะนี้ก็ได้แก่งานของปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา หรืองานของฟราอันเจลีโก หรือฟีลิปโป ลิปปี.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและซากรากอนแวร์ซาซีโอเน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมเน มาร์ตีนี

หน้าแรกของ “Virgil” โดย เพทราค (Petrach) หนังสือวิจิตร วาดโดยซิโมเน มาร์ตินิราว ค.ศ. 1336 ปัจจุบันอยู่ที่มิลาน รายละเอียดจิตรกรรมฝาผนังที่ “ทีว่าการเมืองเซึยนนา” ซิโมเน มาร์ตินิ (Simone Martini, ราว ค.ศ. 1284 - ราว ค.ศ. 1344) เป็นจิตรกรสมัยยุคกลางคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และบานพับภาพ ซิโมเน มาร์ตินิเป็นจิตรกรคนสำคัญในการวิวัฒนาการการเขียนภาพในอิตาลีสมัยต้น มาร์ตินิได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากการวิวัฒนาการของศิลปะกอธิคนานาชาติ (International Gothic) เชื่อกันว่ามาร์ตินิเป็นลูกศิษย์ของดุชโช ผู้เป็นจิตรกรชาวเซียนนาที่มีความสำคัญในขณะนั้น พี่เขยของมาร์ตินิคือลิบโป เม็มมิ (Lippo Memmi) ผู้เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงเช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของ มาร์ตินิมีไม่มากนักและที่มีอยู่ก็ยังเป็นการถกเถียงกัน มาร์ตินิเสียชีวิตที่อาวินยองเมื่อไปเป็นจิตรกรประจำราชสำนักพระสันตะปาปาที่นั่นเมื่อราวปี..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและซีโมเน มาร์ตีนี · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอตะ

ปีเอตะ" โดย มีเกลันเจโล ปีเอตะโดยลุยส์ จิเมเนซ ปีเอตะ (Pietà; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของศิลปะในศาสนาคริสต์ที่เป็นรูปพระแม่มารีย์ประคองร่างพระเยซูที่เพิ่งอัญเชิญลงจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “แม่พระระทมทุกข์” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “พระทรมานของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารีย์ นางมารีย์ชาวมักดาลา และบุคคลอื่นล้อมพระศพพระเยซู (หลังจากที่อัญเชิญลงจากกางเขน) ด้วยความความโศกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน" ปีเอตะเริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปีเอตะแบบเยอรมันและโปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและปีเอตะ · ดูเพิ่มเติม »

นิกายในศาสนาคริสต์

นิกายในศาสนาคริสต์ (Christian denominations) คือการแบ่งสาขาของศาสนาคริสต์ตามแนวปรัชญาและหลักการปฏิบัติ ในแต่ละนิกาย (denomination) ก็แบ่งย่อยเป็นคริสตจักร (church) รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและนิกายในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์

วาดบรรยายเหตุการณ์เมื่อพระนางมารีย์พรหมจารีถูกรับขึ้นสวรรค์ทั้งร่างกายและวิญญาณ พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ หรือ แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรร.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระและพระกุมาร

แม่พระและพระกุมาร (Madonna and Child; Madonna col Bambino) เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ) และพระกุมารเยซู (พระเยซูเมื่อทรงพระเยาว์) “แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์วีส

วีส (Wies church; Wieskirche) หรือ โบสถ์การจาริกแสวงบุญแห่งวีส (Pilgrimage Church of Wies; Wallfahrtskirche auf der Wies) ตั้งอยู่ในเมืองโชนเกา อยู่บริเวณเชิงเทือกเขาแอลป์ ใกล้เมืองชไตน์กาเดิน (Steingaden) ในรัฐไบเอิร์น ทางใต้ของประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและโบสถ์วีส · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โลเรนโซ กีแบร์ตี

ลเรนโซ กีแบร์ตี บน "ประตูสวรรค์" (Gates of Paradise) ที่หอศีลจุ่มซานจิโอวานนี (Battistero di San Giovanni) ที่ฟลอเรนซ์ งานของโลเรนโซ กีแบร์ตี ที่ชนะการประกวดเมื่อปี ค.ศ. 1401 ซึ่งยังเป็นฉากแบบยุคกลาง แต่รูปนี้ไม่มีบน "ประตูสวรรค์" เมื่อสร้าง "ประตูสวรรค์" ประตูที่เห็นในปัจจุบันเป็นประตูที่ทำเลียนแบบของจริง พระเจ้าสร้างอาดัมและอีฟบานภาพจาก "ประตูสวรรค์" โลเรนโซ กีแบร์ตี (Lorenzo Ghiberti; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Lorenzo di Bartolo; ค.ศ. 1378 - 1 ธันวาคม ค.ศ. 1455) เป็นประติมากรสมัยศิลปะเรอแนซ็องส์ตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางประติมากรรม งานโลหะ และจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและโลเรนโซ กีแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ศิลปะคริสเตียนและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Christian artศิลปะศาสนาคริสต์ศิลปะของศาสนาคริสต์ศิลปะของคริสต์ศาสนาศิลปะคริสต์ศาสนาศิลปะแบบคริสต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »