โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอนสแตนติโนเปิล

ดัชนี คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

16 ความสัมพันธ์: ชาวไวกิงกรีซโบราณภาษากรีกภาษาละตินมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์กสมัยกลางอิสตันบูลจักรวรรดิละตินจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิไบแซนไทน์ทวีปยุโรปทวีปเอเชียทะเลมาร์มะราโรมโบราณเมืองหลวง

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก

มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก (Mustafa Kemal Atatürk, 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) เป็นผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐตุรกี อตาเติร์กเป็นที่รู้จักในฐานะนายทหารที่มีความสามารถจากการที่เขาเป็นผู้บังคับบัญชาของจักรวรรดิออตโตมันเพียงคนเดียวที่ไม่แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากที่จักรวรรดออตโตมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว เขาได้เป็นผู้นำของขบวนการแห่งชาติตุรกีในสงครามประกาศเอกราชตุรกี เขาได้เอาชนะกองทหารของฝ่ายไตรภาคี ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยประเทศและการก่อตั้งประเทศในที่สุด ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น เขาได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เขาตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ จากจักรวรรดิออตโตมันเดิม ให้เป็นรัฐชาติสมัยใหม่ที่ไม่อิงศาสนาและเป็นประชาธิปไต.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อิสตันบูล

อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและอิสตันบูล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิละติน

ักรวรรดิละติน หรือ จักรวรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Latin Empire หรือ Latin Empire of Constantinople, Imperium Romaniae (จักรวรรดิโรมาเนีย)) เป็นชื่อที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ที่หมายถึงนครรัฐครูเสดที่ก่อตั้งโดยผู้นำต่างๆ ของสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จากบริเวณที่ยึดได้จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิละตินก่อตั้งขึ้นหลังการยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลใน..

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและจักรวรรดิละติน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลมาร์มะรา

ที่ตั้งของทะเลมาร์มะรา ทะเลมาร์มะรา หรือ ทะเลมาร์โมรา (Sea of Marmara, Marmara Sea, Sea of Marmora; Marmara Denizi; Προποντίς) เป็นทะเลที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลอีเจียน ซึ่งแยกตุรกีในทวีปเอเชียจากตุรกีในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือช่องแคบบอสฟอรัสเชื่อมกับทะเลดำ ทางตอนใต้ช่องแคบดาร์ดาเนลส์เชื่อมกับทะเลอีเจียน ทะเลมาร์มะรามีเนื้อที่ทั้งหมด 11,350 ตารางกิโลเมตร และจุดที่ลึกที่สุดลึก 1,370 เมตร.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและทะเลมาร์มะรา · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: คอนสแตนติโนเปิลและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Constantinopleกรุงคอนสแตนติโนเปิล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »