โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระคริสต์ทรงพระสิริ

ดัชนี พระคริสต์ทรงพระสิริ

ระคริสต์ทรงพระสิริ (Christ in Glory) หรือ พระคริสต์ผู้ยิ่งใหญ่ (Christ in Majesty Majestas Domini), เป็นภาพพระเยซูประทับบนบัลลังก์ในฐานะประมุขของโลก ในการวางองค์ประกอบของงานศิลปะจะเป็นภาพที่จะมองจากด้านหน้าเสมอ และมักจะขนาบด้วยคนหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปแล้วแต่บริบท ลักษณะ ภาพ “พระคริสต์ทรงพระสิริ” เป็นภาพที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่ศิลปะคริสเตียนยุคแรกที่นำมาโดยตรงจากภาพจักรพรรดิโรมันบนบัลลังก์ ในศิลปะไบแซนไทน์จะมีลักษณะที่ต่างออกไปเล็กน้อยเป็นภาพครึ่งพระองค์ “พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ” (Christ Pantocrator) และจะไม่มีสิ่งอื่นใดประกอบ และภาพ “เดอีซิส” (Deesis) ที่เป็นภาพทั้งพระองค์บนบัลลังก์ขนาบด้วยพระแม่มารีย์และนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญองค์อื่น ๆ ทางตะวันตกองค์ประกอบของภาพวิวัฒนาการมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยังคงดำรงความสำคัญจนมาถึงปลายศิลปะบารอกที่เป็นภาพที่ลอยอยู่บนฟ้.

29 ความสัมพันธ์: บารอกฟราอันเจลีโกพระนางมารีย์พรหมจารีพระเยซูกงก์มหาวิหารเวเซอแลมาเอสตะมิลานยอห์นผู้ให้บัพติศมาลุกกาศิลปะคริสเตียนศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรกศิลปะไบแซนไทน์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหน้าบันอารามอาสนวิหารชาทร์ฮายาโซฟีอาจักรพรรดิโรมันงานกระจกสีงานโมเสกประติมานวิทยาประเทศฝรั่งเศสประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศอิตาลีประเทศเยอรมนีแบร์นโลงหินไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา

บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและบารอก · ดูเพิ่มเติม »

ฟราอันเจลีโก

“ฟราอันเจลีโก” โดย ลุคา ซินยอเรลลิ ภราดาทูตสวรรค์ หรือทับศัพท์ว่าฟราอันเจลีโก (Fra Angelico) เป็นสมญานามของภราดาโจวันนีแห่งฟีเอโซเล (ชื่อเมื่อแรกเกิดคือ กวีโด ดี ปีเอโตร, ราว ค.ศ. 1395 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1455) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีฝุ่นบนไม้ และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง เป็นผู้ที่จอร์โจ วาซารีกล่าวถึงในหนังสือ“ชีวิตศิลปิน” ว่ามีความสามารถพิเศษที่หายากGiorgio Vasari, Lives of the Artists.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและฟราอันเจลีโก · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

กงก์

กงก์ (Conques; Concas) เป็นอำเภอของเมืองรอแดซ จังหวัดอาแวรงในแคว้นมีดี-ปีเรเน เมืองกงก์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและกงก์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเวเซอแล

มหาวิหารนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาแห่งเวเซอแล (Basilique Sainte-Marie-Madeleine de Vézelay) เป็นบาซิลิกา ในอดีตเดิมเป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกตินและอารามกลูว์นี (Cluniac) ตั้งอยู่ที่เวเซอแล จังหวัดอียอน แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส ตัวสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยการตกแต่งที่ซับซ้อนด้วยรูปสลักเสลาด้านหน้า, เหนือประตูทางเข้า และหัวเสาที่ถือกันว่าเป็นงานฝีมือชั้นเอกของสถาปัตยกรรมและศิลปะโรมาเนสก์ของบูร์กอญ แม้ว่าบางส่วนของงานศิลปะจะถูกทำลายไปในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มหาวิหารเวเซอแลและเนินในบริเวณเวเซอแล ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและมหาวิหารเวเซอแล · ดูเพิ่มเติม »

มาเอสตะ

มาเอสตะ (Maestà) แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปเคารพแม่พระและพระกุมารที่อาจจะมีนักบุญและทูตสวรรค์รวมอยู่ด้วย “มาเอสตะ” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งปรีชาญาณ” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “พระมารดาพระเจ้า” (Theotokos) ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระคริสต์ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์ หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “พระราชินีมารีย์” (Maria Regina) ที่เป็นพระแม่มารีย์นั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระกุมาร ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจากศิลปะไบแซนไทน์ เช่น ภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏอุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สองในปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและมาเอสตะ · ดูเพิ่มเติม »

มิลาน

มิลาน (Milan) หรือ มีลาโน (Milano) เป็นเมืองหลักของแคว้นลอมบาร์เดียและเป็นเมืองสำคัญในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอมบาร์ดี (Lombardy) เมืองมิลานมีประชากรประมาณ 1,308,500 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2547) โดยถ้ารวมบริเวณรอบนอกและเขตปริมณฑลจะมีประมาณ 4 ล้านคน ซึ่งเรียกเขตทั้งหมดว่า ลากรันเดมีลาโน (La Grande Milano) มิลานมีพื้นที่ประมาณ 1,982 ตร.กม.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและมิลาน · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

ลุกกา

ลูคคา (Lucca) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในแคว้นตอสคานาทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซร์คิโอในบริเวณที่ราบที่ไม่ไกลจากทะเลลิกูเรียน ลูคคาเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลูคคา เป็นเมืองที่ยังมีกำแพงเมืองจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาล้อมรอบ และลักษณะศูนย์กลางของตัวเมืองยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใดนักจากยุคกลาง.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและลุกกา · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก

ลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก คือศิลปะที่สร้างโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาหรือโดยผู้ได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นับถือคริสต์ศาสนาที่เริ่มตั้งแต่ราวปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและศิลปะและสถาปัตยกรรมคริสเตียนเริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

หน้าบัน

การตกแต่งหน้าบันวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร หน้าบัน (Tympanum鼓室) คือบริเวณครึ่งวงกลมหรือเกือบสามเหลี่ยมเหนือประตูทางเข้าที่อยู่ระหว่างทับหลังและโค้ง (arch) ซึ่งจะมีรูปสลักตกแต่งหรือเครื่องตกแต่งอื่นๆ สถาปัตยกรรมเกือบทุกแบบจะมีองค์ประกอบนี้ ผู้คิดค้นการสร้างหน้าบันเป็นคือชาวอียิปต์โบราณประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาก็ปรากฏในสถาปัตยกรรมกรีก สถาปัตยกรรมของคริสต์ศาสนา และ สถาปัตยกรรมของศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและหน้าบัน · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารชาทร์

อาสนวิหารชาทร์ (Cathédrale de Chartres) หรือ อาสนวิหารแม่พระแห่งชาทร์ (Cathédrale Notre-Dame de Chartres) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลชาทร์ ตั้งอยู่ที่เมืองชาทร์ในประเทศฝรั่งเศส (ราว 80 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้) ของกรุงปารีส เป็นสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศส เมื่อมองจากนอกเมืองอาสนวิหารเหมือนกับผุดขึ้นมาจากทุ่งข้าวสาลี จนเมื่อเข้าไปใกล้เข้าจึงเห็นว่าตั้งอยู่เหนือกลุ่มบ้านเรือนที่เกาะกันเป็นกระจุกบนเนินรอบ ๆ ด้านหน้าอาสนวิหารเป็นหอสองหอที่มีลักษณะต่างกัน — หอหนึ่งเป็นหอพีระมิดเรียบ ๆ ที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1140 ที่สูง 105 เมตร อีกหอหนึ่งสูง 113 เมตร สร้างราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าหอแรก ภายนอกอาสนวิหารเป็นค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปรอบตัวอาสนวิหาร อาสนวิหารชาทร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและอาสนวิหารชาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮายาโซฟีอา

ัณฑ์อายาโซเฟียในปัจจุบัน โครงสร้างโบสถ์ ฮายาโซฟีอา (Hagia Sophia), อายาโซเฟีย (Ayasofya), ฮากีอาโซพีอา (Ἁγία Σοφία) หรือ ซางก์ตาซาปีเอนเตีย (Sancta Sapientia) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนา นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางHereward Carrington (1880-1958), "The Seven Wonders of the World: ancient, medieval and modern", reprinted in the Carington Collection (2003) ISBN 0-7661-4378-3,.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและฮายาโซฟีอา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมัน

จักรพรรดิโรมัน เป็นผู้ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 476 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และปี ค.ศ. 1453 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันออก.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและจักรพรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

งานโมเสก

งานโมเสก (Mosaic.) เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นการตกแต่งภายในเช่นภายในมหาวิหาร การตกแต่งลวดลายหรือภาพทำจากชิ้นกระเบื้องหรือเศษจากเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “tesserae” หรือ กระจกสี หรือแก้วใสเคลือบด้วยโลหะข้างหลัง งานโมเสก.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและงานโมเสก · ดูเพิ่มเติม »

ประติมานวิทยา

ประติมานวิทยา (Iconography) เป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เป็นการศึกษาประวัติ, คำบรรยาย และ การตีความหมายของเนื้อหาของภาพ คำว่า “Iconography” แปลตรงตัวว่า “การเขียนรูปลักษณ์” (image writing) ที่มีรากมาจากภาษากรีกโบราณ “εἰκών” ที่แปลว่า “รูปลักษณ์” และคำว่า “γράφειν” ที่แปลว่า “เขียน” ความหมายรองลงมาคืองานประติมา (Icon) ในไบแซนไทน์และออร์โธด็อกซ์ของประเพณีนิยมคริสเตียน ในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ประติมานวิทยาก็ยังอาจจะหมายถึงกรรมวิธีการแสดงหัวเรื่องในรูปแบบของการใช้รูปสัญลักษณ์ต่างๆ ในเนื้อหาของภาพที่ออกมาให้ผู้ชมได้เห็น นอกจากนั้นประติมานวิทยาก็ยังใช้ในด้านสาขาวิชาอื่นนอกไปจากประวัติศาสตร์ศิลป์เช่นในวิชาสัญญาณศาสตร์ และ media studies, และในการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงลักษณะรูปลักษณ์ที่ใช้กันเป็นสามัญของหัวเรื่องหรือความหมายในทำนองเดียวกัน.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและประติมานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แบร์น

แบร์น (Bern; Berne) หรือ แบร์นา (อิตาลีและBerna) เป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรประมาณ 130,000 คน มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ภาษาราชการที่ใช้ในกรุงแบร์นคือ ภาษาเยอรมัน แต่คนในเมืองส่วนใหญ่นิยมพูดภาษาเยอรมันแบร์นเป็นภาษาถิ่น ในปี..

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและแบร์น · ดูเพิ่มเติม »

โลงหิน

ลงหินของฟาโรห์เมเร็นพ์ทาห์ โลงหิน (ภาษาอังกฤษ: Sarcophagus) หมายถึงที่บรรจุศพที่ส่วนใหญ่แกะหรือตัดจากหิน คำว่า “sarcophagus” มาจากภาษากรีก “σαρξ sarx” ที่แปลว่า “เนี้อสด” และ “φαγειν phagein” ที่แปลว่า “กิน” เมื่อรวมกันเป็น “sarkophagus” จึงหมายถึง “กินเนื้อสด” จากวลี “lithos sarkophagos (λιθος σαρκοφάγος)” กลายมาหมายถึงหินปูนที่เชื่อว่าสามารถทำให้ศพที่บรรจุไว้เน่าสลายไปได้ Columbia University Dept.

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและโลงหิน · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา

ฟรบวร์คอิมไบรส์เกา (Freiburg im Breisgau) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ประเทศเยอรมนี มีประชากรราว 230,000 คน เป็นเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ระหว่างแม่น้ำไดรซัม ที่เชิงเขาด้านตะวันตกสุดของแบล็กฟอเรสต์ มีมหาวิหารยุคกลาง และมีมหาวิทยาลัยไฟรบวร์คที่เก่าแก่และมีชื่อเสียง เมืองตั้งอยู่ใจกลางของศูนย์กลางการทำไวน์ เป็นเมืองที่มีแดดและอบอุ่นที่สุดในเยอรมนี มีสถิติอุณหภูมิสูงสุดที่ 40.2 °C (104.4 °F).

ใหม่!!: พระคริสต์ทรงพระสิริและไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Christ in JudgementChrist in Majestyพระเยซูผู้ทรงเดชานุภาพ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »