โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปนิก

ดัชนี สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

145 ความสัมพันธ์: ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้วบัณฑิต จุลาสัยบาร์โทโลมิโอ อัมมานาติฟรันเชสโก บอร์โรมีนีฟร็องซัว ม็องซาร์ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีฟีลีแบร์ต เดอ ลอร์มพ.ศ. 2476พ.ศ. 2498พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพิชัย วาศนาส่งกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยากวารีโน กวารีนีกอทท์ฟรีด เซมเพอร์การก่อสร้างการ์โล มาแดร์โนกาเลอาโซ อัลเลซีกุสตาฟ ไอเฟลภาษาสันสกฤตภิญโญ สุวรรณคีรีมหาวิทยาลัยรังสิตมีเกลอซโซมีเกลันเจโลมีเกเล ซานมีเกลีมติ ตั้งพานิชยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ยาโกบ ฟัน ตีเนินรังสรรค์ ต่อสุวรรณราฟาเอลรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทยรางวัลพริตซ์เกอร์ริชาร์ด รอเจอส์ริชาร์ด ไมเออร์ฤทัย ใจจงรักลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ลูกา แฟนเซลีวรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์วอลเตอร์ โกรเปียสวิลเลียม มอร์ริสวิลเลียม เคนท์วิลเลียมแห่งซ็องส์วิตรูวิอุสวินเชนโซ สกามอซซีวิโรฒ ศรีสุโรวีลาร์ เดอ ออนกูร์วนิดา พึ่งสุนทรสภาสถาปนิกไทยสมภพ ภิรมย์สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา...สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาปนิกตระกูล ซานกาลโลหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรีหม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรีหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณหลุยส์ คาห์นหลุยส์ ซัลลิแวนออสการ์ นีเอไมเยร์อัลวา อัลโตอัลโด ฟัน ไอก์อัลโด รอสซีอันตอนี เกาดีอันเดรอา ปัลลาดีโออาวุธ เงินชูกลิ่นอิมโฮเทปอินิโก โจนส์องอาจ สาตรพันธุ์ฮันส์ ฮอลไลน์ฮันส์ แฮ็นดริก ฟัน ปาสเซินฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์ฌ็อง นูแวลจอร์โจ วาซารีจอห์น แวนบรูห์จอห์น โซนจอตโต ดี บอนโดเนจาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลาจาโกโป ซานโซวีโนจูลิอาโน ดา ซานกาลโลทอมัส เจฟเฟอร์สันทะดะโอะ อันโดทิพย์สุดา ปทุมานนท์ดวงฤทธิ์ บุนนาคคริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์คริสต์ศักราชคริสต์ศตวรรษที่ 12คริสต์ศตวรรษที่ 13คริสต์ศตวรรษที่ 14คริสต์ศตวรรษที่ 15คริสต์ศตวรรษที่ 16คริสต์ศตวรรษที่ 17คริสต์ศตวรรษที่ 18คริสต์ศตวรรษที่ 19คริสต์ศตวรรษที่ 20คริสต์ศตวรรษที่ 21คริสโตเฟอร์ เรนคอสมาส ดาเมียน อาซามคิลเลียน อิกนาซ ดินเซนฮอฟเฟอร์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฆวน เบาติสตา เด โตเลโดฆวน เด เอร์เรราซาลอมง เดอ บร็อสซาฮา ฮาดิดซินานประเวศ ลิมปรังษีปีเอโตร ดา กอร์โตนาปีเตอร์ พาร์เลอร์ปีเตอร์ ไอเซนมานนอร์มัน ฟอสเตอร์นารถ โพธิประสาทนิธิ สถาปิตานนท์นิโคลัส ฮอคสมอร์น็อกซ์แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์แฟรงก์ เกห์รีแร็ม โกลฮาสใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมโยฮันน์ บาลทาซาร์ น็อยมันโยฮันน์ ดินเซนฮอฟเฟอร์โยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์โรเบิร์ต อาดัมโรเบิร์ต เวนทูรีโจเซฟ แพกซ์ตันโทะโยะโอะ อิโตโดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์โดนาโต ดันเจโล บรามันเตไมเคิล เกรฟส์ไอ. เอ็ม. เพไขศรี ภักดิ์สุขเจริญเบอร์นาร์ด ชูมีเยิร์น อุตซอนเรนโซ เปียโนเลอกอร์บูซีเยเลอสม สถาปิตานนท์เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตีเลินฮาร์ด ดินเซนฮอฟเฟอร์เลโอนาร์โด ดา วินชีเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุกเอ็มวีอาร์ดีวีเฮลมุต ยาห์นเดชา บุญค้ำเฉลิม สุจริต ขยายดัชนี (95 มากกว่า) »

ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว

ัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว สถาปนิก ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482) สถาปนิกไทย สถาปนิกดีเด่นยกย่องโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในวาระที่สมาคมมีอายุครบ 60 ปี (พ.ศ. 2537) ศิษย์เก่าดีเด่นของแพรตต์อินสติติว อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันออกแบบหลายแห่ง ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติขนาดใหญ่และดำเนินกิจการต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุดในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและองค์กรสาธารณกุศลหลายแห่ง.

ใหม่!!: สถาปนิกและชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

บัณฑิต จุลาสัย

ตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จุลาสัย เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและบัณฑิต จุลาสัย · ดูเพิ่มเติม »

บาร์โทโลมิโอ อัมมานาติ

ร์โทโลมิโอ อัมมานาติ (Bartolomeo Ammanati; 18 มิถุนายน, 1511 - 13 เมษายน, 1592) เป็นสถาปนิกและประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี.

ใหม่!!: สถาปนิกและบาร์โทโลมิโอ อัมมานาติ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี

ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี (Francesco Borromini) หรือ ฟรันเชสโก กัสเตลลี (Francesco Castelli) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: สถาปนิกและฟรันเชสโก บอร์โรมีนี · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว ม็องซาร์

ฟร็องซัว ม็องซาร์ (François Mansart; 13 มกราคม ค.ศ. 1598 - 23 กันยายน ค.ศ. 1666 ที่กรุงปารีส) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ผู้คิดแนวทางการออกแบบระบบคลาสสิกเข้าไปผสมกับแบบบารอกในฝรั่งเศส สารานุกรมบริตานิกา (The Encyclopædia Britannica) ได้กล่าวถึงม็องซาร์ว่า เป็นสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จที่สุดในศตวรรษที่ 17 เป็นผู้ที่ทำงานอย่างละเอียดละออ ใส่ใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ในทุกส่วนของสถาปัตยกรรม ม็องซาร์เกิดมาในตระกูลครอบครัวช่างไม้ ไม่ได้รับการฝึกหัดให้เป็นสถาปนิก แต่ได้รับการฝึกฝนจากญาติ ๆ ให้เป็นช่างก่อหินและประติมากร นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ม็องซาร์ได้รับการฝึกให้เป็นสถาปนิกในสำนักของซาลอมง เดอ บร็อส ซึ่งเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในแผ่นดินของพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ม็องซาร์ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากในทศวรรษที่ 1620 ในด้านแนวคิดการออกแบบและทักษะของเขา แต่ข้อเสียก็คือ เขาถูกมองว่าเป็นสถาปนิกที่ดื้อรั้น และเป็นผู้ที่ต้องการความสมบูรณ์ในผลงานทุกชิ้น หรือที่เรียกกันว่า เพอร์เฟกชันนิสต์ (perfectionist) ถึงขนาดมีการสั่งให้ทุบอาคารลงทั้งหมดเพื่อสร้างใหม่ตั้งแต่ต้นในบางกรณี ดังนั้นคนที่จะมีโอกาสว่าจ้างม็องซาร์ให้ทำงานได้ต้องเป็นมหาเศรษฐีเท่านั้น หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2141 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวฝรั่งเศส.

ใหม่!!: สถาปนิกและฟร็องซัว ม็องซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี

รูปปั้นฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) (ค.ศ. 1377 - 15 เมษายน ค.ศ. 1446) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี และเป็นหนึ่งในสถาปนิกกลุ่มแรกที่เข้าร่วมกระบวนการเรอเนซองซ์ในเมืองฟลอเรนซ์ งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขาจะอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์แห่งนี้ บรูเนลเลสกีเป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคของเขา ผลงานหนึ่งที่สำคัญของเขาอันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกมาจนถึงทุกวันนี้คือ การคิดค้นระบบการเขียนแบบทัศนียภาพหรือเพอร์สเปกทีฟ (perspective).

ใหม่!!: สถาปนิกและฟีลิปโป บรูเนลเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลีแบร์ต เดอ ลอร์ม

ียนลายเส้นโดยอิสราเอล ซีลแว็สทร์ มุมมองไปที่ปราสาทเนิฟแห่งเมอดง หนึ่งในงานออกแบบของเดอ ลอร์ม ที่อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมในช่วงร้อยปีหลังจากที่ได้รับการก่อสร้าง ฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert de l'Orme; ค.ศ. 1510 – 8 มกราคม ค.ศ. 1570) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นปรมาจารย์ผู้หนึ่งแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ฟีลีแบร์เกิดที่เมืองลียง เป็นลูกของเฌออ็อง เดอ ลอร์ม ซึ่งเป็นสถาปนิกเช่นกัน และพยายามสั่งสอนให้ลูกชายให้เข้าสู่วิชาชีพเดียวกัน ฟีลีแบร์ถูกส่งไปร่ำเรียนที่อิตาลี (ค.ศ. 1533–1536) เมื่อเรียนจบได้ถูกจ้างเข้าทำงานโดยสมเด็จพระสันตปาปาพอลที่ 3 พอได้กลับมาที่ฝรั่งเศสก็ได้มาทำงานกับพระคาร์ดินัล ดูว์ แบแลแห่งลียง (Cardinal du Bellay) ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและฟีลีแบร์ต เดอ ลอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2476

ทธศักราช 2476 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1933.

ใหม่!!: สถาปนิกและพ.ศ. 2476 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2498

ทธศักราช 2498 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1955 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถาปนิกและพ.ศ. 2498 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พิชัย วาศนาส่ง

ัย วาศนาส่ง (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 — 8 เมษายน พ.ศ. 2555) เป็นอดีตสถาปนิก นักเขียน นักวิเคราะห์สถานการณ์ข่าวต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีคลาสสิก รวมถึงเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: สถาปนิกและพิชัย วาศนาส่ง · ดูเพิ่มเติม »

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา

อาคารใหม่สวนอัมพร อาคารศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ (ฟาสาดเดิม) อาคารสำนักงานใหญ่การบินไทย ถนนวิภาวดีรังสิต เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (9 มกราคม พ.ศ. 2475 - 12 มกราคม พ.ศ. 2553) เป็นสถาปนิกชาวไทย นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งบริษัทคาซ่า อดีตคณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คนที่ 4 พ.ศ. 2517-2521),นักแสดง, นักบินสมัครเล่น, อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

กวารีโน กวารีนี

วังการิญญาโนที่โตรีโน กามิลโล-กวารีโน กวารีนี (Camillo-Guarino Guarini หรือ Guarino Guarini) เกิดที่โมดีนาเมื่อวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและกวารีโน กวารีนี · ดูเพิ่มเติม »

กอทท์ฟรีด เซมเพอร์

รงอุปรากรเซมเพอร์ กอทท์ฟรีด เซมเพอร์ (Gottfried Semper) (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1803 - 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิก นักวิพากษ์ศิลป์ และ ศาสตราจารย์สาขาสถาปัตยกรรมชาวเยอรมันของในคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานชิ้นสำคัญของเซมเพอร์คืองานออกแบบโรงอุปรากรเซมเพอร์ในเดรสเดนระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและกอทท์ฟรีด เซมเพอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อสร้าง

ตัวอย่างงานก่อสร้างอาคารบ้านพักสำเร็จรูป งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ การก่อสร้าง (อังกฤษ: Construction) คือกิจกรรมหรือการกระทำที่ทำให้เกิด การประกอบหรือการติดตั้ง ให้เกิดเป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบของสิ่งที่กล่าวข้างต้น และมักจะหมายถึงงานทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่ การก่อสร้างเป็นการปฏิบัติวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก ช่างซึ่งปฏิบัติงานในงานแขนงนั้นๆ ก็จะเรียกตามประเภทของงานนั้นๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คำที่เรียกโดยรวมก็คือ ช่างก่อสร้าง และผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้างจะเรียกทั่วๆ ไปว่า ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล จะมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า บริษัทรับสร้างบ้าน.

ใหม่!!: สถาปนิกและการก่อสร้าง · ดูเพิ่มเติม »

การ์โล มาแดร์โน

้านหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ การ์โล มาแดร์โน (Carlo Maderno; ค.ศ. 1556 - 30 มกราคม ค.ศ. 1629) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี-สวิสเกิดที่ตีชีโน (Ticino) ที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่วนที่พูดภาษาอิตาลี การ์โล มาแดร์โนถือกันว่าเป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมบาโรก งานของมาแดร์โนด้านหน้าของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ วัดซานตาซูซานนา (Santa Susanna) และวัดซานตันเดรอาเดลลาวัลเล (Sant'Andrea della Valle) ถือกันว่าเป็นกุญแจสำคัญของการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบาโรกของอิตาลี การ์โล มาแดร์โนมักจะรู้จักว่าเป็นพี่ชายของประติมากรสเตฟาโน มาแดร์โน (Stefano Maderno) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน.

ใหม่!!: สถาปนิกและการ์โล มาแดร์โน · ดูเพิ่มเติม »

กาเลอาโซ อัลเลซี

กาเลอาโซ อัลเลซี (Galeazzo Alessi) (ค.ศ. 1512- 30 ธันวาคม ค.ศ. 1572) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี เกิดและเสียชีวิตที่จังหวัดเปรูจา ได้รับการถ่ายทอดวิชาโดย จิโอวาน บาติสตา คาโปราลิ (Giovan Battista Caporali) อัลเลซี ให้ความสนใจกับ สถาปัตยกรรมยุคโบราณ (ancient architecture) เป็นอย่างมากตั้งแต่วัยเยาว์ แนวทางการออกแบบที่เขาคิดค้นขึ้น ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมืองเจนัว ซึ่งเขาได้ทำการออกแบบวังไว้หลายแห่ง บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก อัลเลซี ได้ทำการออกแบบก่อสร้างโบสถ์ และ วัง ในหลายๆ เมือง เช่น มิลาน ซิซิลี ฟลอนเดอร์ (ตอนเหนือของประเทศเบลเยี่ยม) และ เยอรมนี งานที่สำคัญที่สุดคือ โบสถ์ ซานตา มาเรีย แห่งเมือง อาซิซิ ในจังหวัดเปรูจา ประเทศอิตาลี (Basilica of Santa Maria degli Angeli in Assisi) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2055 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นอุมเบรีย.

ใหม่!!: สถาปนิกและกาเลอาโซ อัลเลซี · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ ไอเฟล

กุสตาฟ ไอเฟล อนุสรณ์ของกุสตาฟ ไอเฟล ตั้งอยู่ที่ฐานของหอไอเฟลในปารีส กุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) หรือชื่อเต็ม อาเลกซ็องดร์ กูสตาฟว์ แอแฟล (Alexandre Gustave Eiffel 15 ธันวาคม ค.ศ. 1832 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 1923) เป็นวิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็ก สิ่งก่อสร้างที่เขาสร้างและคนจดจำได้มากที่สุดคือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) รวมทั้ง Three-Hinged Arch และยังมีความสามารถในการสร้างสะพาน เป็นต้นว่า สะพานข้ามแม่น้ำดูโร (Douro) ในตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสะพานที่มีช่วงกว้างที่สุดในเวลานั้น จากประสบการณ์การสร้างฐานสะพานที่มีความสูงเหล่านี้ ทำให้เขาสามารถสร้างหอไอเฟลได้ในปี ค.ศ. 1889.

ใหม่!!: สถาปนิกและกุสตาฟ ไอเฟล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: สถาปนิกและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภิญโญ สุวรรณคีรี

รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (10 มีนาคม 2480 -) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมไทย นักการศึกษาสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ศิลปินแห่งชาติและราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์ เป็นบุตรของ นายซ้อน – นางรื่น สุวรรณคีรี สมรสกับ นางลาวัณย์ สุวรรณคีรี มีธิดา ๓ คน ได้แก่ นางสาวดลฤดี สุวรรณคีรี, นางสาวปิยนุช สุวรรณคีรี และนางสาวพุทธชาติ สุวรรณคีรี รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อ 10 มีนาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและภิญโญ สุวรรณคีรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรังสิต

มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University; ชื่อย่อ: มรส. - RSU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 20 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ยังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุด ลำดับที่ 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เปิดสอนหลากหลายหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนศิลปินดาราศึกษาอยู่เป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: สถาปนิกและมหาวิทยาลัยรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลอซโซ

มีเกลอซโซ มีชื่อเต็มคือ มีเกลอซโซ ดี บาร์โตโลเมโอ มีเกลอซซี (Michelozzo di Bartolomeo Michelozzi; ค.ศ. 1391 - ค.ศ. 1472?) เป็นสถาปนิกและประติมากรชาวอิตาลี มีเกลอซซีเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ เป็นบุตรของช่างตัดเสื้อ ได้รับเข้าเป็นลูกศิษย์ของปรามาจารย์แห่งประติมากรชื่อ โดนาเตลโล ตั้งแต่วัยเด็ก มีเกลอซซีมีความเชี่ยวชาญในการใช้วัสดุหินอ่อน สำริด และเงิน ได้สร้างสรรค์ประติมากรรมเลื่องชื่อไว้มากมาย เช่น รูปปั้นนักบุญจอห์นวัยหนุ่ม ที่เหนือประตูหน้าโบสถ์ดูโอโมในเมืองฟลอเรนซ์ และรูปปั้นของนักบุญจอห์นที่ทำจากเงินในโบสถ์ซานโจวันนี เป็นต้น ลูกค้าและเพื่อนรักของมีเกลอซซี คือ โกซีโม เด เมดีชี (Cosimo de' Medici) แห่งตระกูลเมดีชี ที่มีอิทธิพลอย่างมากในเมืองเวนิส ซึ่งได้ชักชวนให้มีเกลอซซีย้ายถิ่นฐานไปพำนักที่เมืองเวนิสในปี ค.ศ. 1433 ณ เมืองเวนิสแห่งนี้ มีเกลอซซีได้สร้างอาคารหลายหลัง รวมทั้งห้องสมุดซานจอร์โจมัจโจเร (San Giorgio Maggiore) ในปี 1428 มีเกลอซซีได้ร่วมงานกับโดนาเตลโล ได้ร่วมกันสร้างแท่นเทศน์กลางแจ้ง (open-air pulpit) ที่โบสถ์เซนต์สตีเฟนที่เมืองปราโต (St. Stephen at Prato) ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของมีเกลอซซี คือ วังของตระกูลเมดีชี (Palazzo Medici in Florence) ซึ่งโกซีโมเป็นผู้ว่าจ้าง อาคารหลังนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของอิตาลีใน ศตวรรษที่ 15 ของ งานออกแบบเป็นการ ผสมผสานกันระหว่างความบางเบาของรูปแบบกอทิกอิตาลี (Italian Gothic) กับความหนาหนักและเป็นทางการของสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก (classical style) นอกจากนี้ด้วยทักษะทางวิศวกรรมของเขา ทำให้มีเกลอซโซได้รับการว่าจ้างให้ทำการปรับปรุงโครงการวังเวกกีโอ (Palazzo Vecchio) ซึ่งอยู่ในสภาพที่พังทลายขึ้นใหม่โดยมีการเพิ่มห้องและบันได้เข้าไปหลายส่วน โกซีโมได้ว่าจ้างให้มีเกลอซซีออกแบบอาคารอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญ แต่ที่น่าสนใจและเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในแดนไกลคือ บ้านพักที่เมืองเยรูซาเลม สำหรับชาวฟลอเรนซ์ที่เดินทางไปแสวงบุญ มีเกลอซซีได้รับความนับถือจากลูกของโกซีโม ชื่อ โจวันนี เด เมดีชี (Giovanni de' Medici) เป็นอย่างมาก จึงได้รับความไว้วางใจให้ทำงานในรุ่นที่สองต่อไป โดยได้ทำโครงการให้กับโจวันนี เช่น ปราสาทแห่งเมืองฟิเอโซเล (Fiesole) มีเกลอซซีเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและมีเกลอซโซ · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: สถาปนิกและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

มีเกเล ซานมีเกลี

มีเกเล ซานมีเกลี (อังกฤษ: Michele Sanmicheli, ค.ศ. 1484 – ค.ศ. 1559) เป็นสถาปนิกแห่งสาธารณรัฐเวนิสหรือประเทศอิตาลีในปัจจุบัน เกิดที่เมืองซานมีเกเล (San Michele) ใกล้เมืองเวโรนา (Verona) ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเวนิส เขาได้เรียนรู้ฝึกฝนการออกแบบและก่อสร้างจากพ่อของเขาที่ชื่อ โจวันนี และอา (หรือลุง) ของเขาชื่อ บาร์โตโลเมโอ ผู้ซึ่งเป็นสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จในเมืองเวโรนา มีเกเลเองก็มีแนวทางการดำเนินวิชาชีพคล้ายกับจาโกโป ซานโซวีโน (Jacopo Sansovino) คือเป็นสถาปนิกที่รับเงินตอบแทนทำงานให้กับสาธารณรัฐเวนิสโดยตรง แต่สิ่งที่ต่างจากซานโซวีโนคือ งานของมีเกเลจะเป็นงานที่อยู่ในเขตชายแดนนอกเมืองหลวงของสาธารณรัฐ ผู้คนมักจะจดจำมีเกเลในฐานะสถาปนิกผู้ทำการออกแบบเพื่อกิจการการทางทหาร และถูกจ้างมาเพื่อทำการออกแบบเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของระบบป้อมปราการให้กับสาธารณรัฐในเมืองต่าง ๆ เช่น ครีต (Crete) กันดีอา (Candia) ดัลเมเชีย (Dalmatia) และคอร์ฟู (Corfù) เช่นเดียวกับปราการหลักที่ลีโด (Lido) ซึ่งเป็นแนวป้องกันเรือที่จะเข้ามาในทะเลสาบเวนิส (Venetian lagoon) จากการที่เขาได้ท่องเที่ยวไปในหลาย ๆ แห่งตามบันทึกแล้ว มีเกเล ซานมีเกลีอาจจะเป็นสถาปนิกชาวอิตาลีเพียงคนเดียวที่ได้เห็นสถาปัคยกรรมกรีกของแท้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้เขานำเสาดอริกของโรมัน มาไว้ในงานออกแบบของเขา เขาได้เดินทางไปโรมตั้งแต่เล็ก และคาดว่าน่าจะมีโอกาสได้ฝึกฝนวิชากับอันโตนีโอ ดา ซานกัลโล (Antonio da Sangallo (Murray)) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของสถาปนิกตระกูลซานกัลโลที่มีชื่อเสียง ณ ที่นี้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและงานประติมากรรมแบบคลาสสิก ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและมีเกเล ซานมีเกลี · ดูเพิ่มเติม »

มติ ตั้งพานิช

มติ ตั้งพานิช สถาปนิกชาวไทยและราชบัณฑิตทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ นายมติ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านสถาปัตยศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (M.I.T.) ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 2 เคยทำงานเป็นสถาปนิกอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะกลับมาสู่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2516 ได้ก่อตั้งบริษัทดีไซน์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด มีผลงานต่าง ๆ มากมาย เช่น ออกแบบสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิ, ออกแบบสปอร์ตคอมเพลกต์ สำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่เมืองทองธานี เป็นต้น และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 สมัยติดต่อกัน ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ โดยมีนโยบายสำคัญ คือ การสร้างถนนวงแหวนแก้ปัญหาการจราจร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้น ได้เป็นที่ปรึกษาของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรี นายมติ เป็นผู้จุดประการความคิดเรื่องการสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่ ขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมา แนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นที่มาของ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ เช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน นายมติเป็นคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามประเมินผลราชการ ประจำกระทรวงยุติธรรม และเป็นนายกสภาสถาปนิก ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายมติ ตั้งพานิช เป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาสถาปัตยกรรมศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สำนักศิลปกรรม.

ใหม่!!: สถาปนิกและมติ ตั้งพานิช · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

อดเยี่ยม เทพธรานนท์ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (27 เมษายน 2496 -) เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นกรรมการอำนวยการของบริษัท Inter PAC ผู้ริเริ่มและพิธีกรปกิณกะทางโทรทัศน์ รายการ "หมอบ้าน" และรายการวิทยุ F.M.96.5 MHz รายการ "คุยกับหมอบ้าน" เป็นอาจารย์และนักเขียน เป็นครูอาสาสอนหนังสือหลากหลายสถาบัน และเขียนหนังสือทางวิชาการและปรัชญาไว้หลายเล่ม และเป็นนักกิจกรรมวิชาชีพที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วกัน เป็นน้องชายของ ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาต.

ใหม่!!: สถาปนิกและยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาโกบ ฟัน ตีเนิน

ยาโกบ ฟัน ตีเนิน (Jacob van Thienen) เป็นสถาปนิกชาวเฟลมมิช (จากภูมิภาคฟลานเดอส์ ทางเหนือของเบลเยียม) มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตามประวัติศาสตร์ของเบลเยียม เชื่อว่า ฟัน ตีเนิน คือสถาปนิกผู้ออกแบบและก่อสร้างศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ (Hôtel de Ville de Bruxelles) ในปี ค.ศ. 1402 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตของพระราชวัง เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานชั้นเอก (masterpiece) ของยุโรปยุคกลาง (Medieval European) หอแขวนระฆัง (belfry) ของอาคารหลังนี้ สร้างโดยสถาปนิกอีกคนชื่อ ยัน ฟัน เรยส์บรุก (Jan van Ruysbroeck) หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวเบลเยียม หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: สถาปนิกและยาโกบ ฟัน ตีเนิน · ดูเพิ่มเติม »

รังสรรค์ ต่อสุวรรณ

นามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รังสรรค์ ต่อสุวรรณ (เกิด 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) สถาปนิกชาวไทย อดีตอาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชาวไทย เป็นที่รู้จักในฐานะสถาปนิกผู้นำสถาปัตยกรรมกรีกและโรมัน เข้ามาใช้งานออกแบบร่วมกับอาคารสมัยใหม่ ทั้งโดม ช่องหน้าต่างโค้ง ซุ้มประตูโค้ง เป็นต้น มีผลงานที่เป็นรู้จักกันดีโดยเฉพาะอาคารสเตท ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงแรมเลอบัวมีจุดเด่นที่โดมสีทอง อาคารสาธร ยูนีค ทาวเวอร์ อาคารที่ใช้แบบคล้ายคลึงกับสเตททาวเวอร์แต่สร้างไม่สำเร็จ ปัจจุบันกลายเป็นอาคารร้างที่สูงที่สุดในไทย สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ที่รังสรรค์เป็นผู้ออกแบบและวิจัยโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ เป็นต้น นอกจากนี้เขายังมีผลงานออกแบบที่อยู่อาศัย มากกว่าร้อยแห่ง และที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือผลงานออกแบบอาคารสาขาธนาคารกสิกรไทยมากกว่าร้อยแห่ง ที่มีจุดเด่นคือ เสาชลูด และโค้งมนตอนยอด ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่สำคัญของธนาคารในปัจจุบัน แม้ว่าผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาส่วนใหญ่จะเป็นแนวโพสต์โมนเดิร์นแบบคลาสสิก แต่งานในช่วงแรกของเขา ก็มีความเป็นโมเดิร์นอย่างแท้จริง ทั้งการใช้คอนกรีตเปลือย เช่น โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงงานมาสด้าของบริษัทกมลสุโกศล โรงงานยาสูบ คลองเตย ศูนย์กีฬาในร่ม หัวหมาก บ้าน ดร.ยงค์ เอื้อวัฒนะสกุล เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีอาคารสูงเช่น ตึกโชคชัย ธนาคารกสิกร สำนักงานใหญ่ ที่นำกระจกสะท้อน เข้ามาใช้ในงานออกแบบครั้งแรกๆ ในประเทศไทย เป็นต้น รังสรรค์เริ่มงานออกแบบตั้งแต่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 โดยเข้าฝึกงานกั.กิตติคุณ กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (สมัยที่ยังไม่เป็นบริษัทคาซ่าในปัจจุบัน) ภายหลังสำเร็จการศึกษาจึงเข้ารับราชการสังกัดกรมโยธาธิการ ก่อนจะไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยไปเรียนโรงเรียนสอนภาษาที่แอนฮาเบอร์ ก่อนจะไปฝึกงานที่ดีทรอยด์ แล้วจึงไปศึกษาต่อที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซต.

ใหม่!!: สถาปนิกและรังสรรค์ ต่อสุวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: สถาปนิกและราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาในกลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ และการผังเมือง.

ใหม่!!: สถาปนิกและรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลพริตซ์เกอร์

รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: สถาปนิกและรางวัลพริตซ์เกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด รอเจอส์

ริชาร์ด รอเจอส์ (Richard Rogers) เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและริชาร์ด รอเจอส์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ไมเออร์

ริชาร์ด ไมเออร์ ปี 2007 ริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier) เกิดเมื่อ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1934 ในนิวอาร์ค,นิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสถาปนิกร่วมสมัย มีชื่อเสียงในการใช้สีขาวในการออกแบบ เขาจบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในปี ค.ศ. 1957 และได้ทำงานกับ Skidmore, Owings และ Merrill ช่วงสั้นๆ ในปี 1959 จากนั้นก็ทำงานกับ Marcel Breuer เป็นเวลา 3 ปีแล้วจึงหันมาศึกษาเองในนิวยอร์กช่วงปี 1963 โดยเขาได้เป็นที่รู้จักในนาม นิวยอร์กไฟฟ์ ในปี 1972 งานออกแบบของเขาพิพิธภัณฑ์เก็ตตี้ในลอสแอนเจลิส เป็นที่กล่าวขวัญมากในช่วงนั้น งานของเขามีส่วนคล้ายและได้รับอิทธิพลจาก กับงานของ เลอ คอร์บูสิเอร์ รวมถึง มีส แฟน เดอ โรห์ และ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ รวมถึง หลุยส์ บาร์รากอง และในปี 1984 ไมเออร์ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร.

ใหม่!!: สถาปนิกและริชาร์ด ไมเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤทัย ใจจงรัก

รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2478 เป็นสถาปนิกชาวไทย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ประจำปีพุทธศักราช 2543.

ใหม่!!: สถาปนิกและฤทัย ใจจงรัก · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์

ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) (27 มีนาคม ค.ศ. 1886 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1969) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เขามักรู้จักในชื่อ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ซึ่งเป็นนามสกุลของเขา โดยนักศึกษาอเมริกันและอื่น ๆ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ รวมถึงวอลเตอร์ โกรเปียส และเลอกอร์บูซีเย ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้บุกเบิกแห่งวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ มีสก็เป็นคนหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่สนใจที่เสาะแสวงหารูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ๆ ที่สามารถสื่อถึงยุคใหม่ เฉกเช่นที่ในยุคคลาสสิกหรือยุคกอธิค ที่มีมาก่อน เขาสร้างสรรค์รูปแบบสถาปัตยกรรมในศตวรรษที่ 20 ที่เห็นชัดถึงความโปร่งและความเรียบง่าย อาคารออกแบบของเขาจะใช้วัสดุสมัยใหม่ อย่างเช่น เหล็ก แผ่นกระจก เพื่อแสดงขอบเขตสถาปัตยกรรมภายใน เขามุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่ใช้โครงสร้างน้อยชิ้นในการจัดระเบียบโครงสร้างอย่างสมดุล ต่อพื้นที่เปิดโล่งอิสระ เขาเรียกอาคารของเขาว่า สถาปัตยกรรม "ผิวหนังและกระดูก" เขายังเสาะหาเหตุผล ในการออกแบบที่เป็นแนวทางกับขั้นตอนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ที่เป็นที่รู้จักในวิธีที่เรียกว่า "น้อยดีกว่ามาก" (less is more) และ God is in the details.

ใหม่!!: สถาปนิกและลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกา แฟนเซลี

ลูกา แฟนเซลี (Luca Fancelli) (มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1430 - หลังปี ค.ศ. 1494) เป็นสถาปนิกและประติมากรชาวอิตาลี เกิดในเขต เซตติกนาโน (Settignano) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟลอเรนซ์ ชีวิตและหน้าที่การงานของเขาค่อนขางจะลี้ลับ และไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ที่ค้นพบแน่ชัดคือ เขาได้รับการอบรมในทักษะการตัดหิน และการก่อ จาก ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี หลักฐานที่เกี่ยวข้องกบ ฟานเซลิ ส่วนใหญ่จะมาจากบันทึกของ จิออจิโอ วาซาริ (Giorgio Vasari) ซึ่งเป็นศิลปินและนักบันทึกประวัติศิลปินที่สำคัญ (Biographer) ซึ่งหลักฐานทั้งหมดก็ยังเป็นที่ถกเถียงของนักประวัติศาสตร์อยู่ เช่นกรณีของการอนุมาณเกี่ยวกับการก่อสร้างพาลัซโซพิตติซึ่งเป็นโครงการของมหาเศรษฐี ลูกา ปิตติ ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่งของตระกูลเมดิจิ วาซาริ ได้ให้เครดิตกับโครงการก่อสร้างนี้กับ บรูเนลเลสกี ผู้ซึ่งเสียชีวิตไปก่อนที่โครงการนี้จะเริ่มก่อสร้าง นอกจากนี้ ปาลาโซ่ ปิตติ ก็ไม่ได้มีลักษณะการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของบรูเนลเลสกีแต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าน่าจะมาจากสถาปนิกมือรอง ซึ่งน่าจะเป็นแฟนเซลี นอกจากนี้ก็ยังมีโครงการอื่นๆ ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ในปี 1450 แฟนเซลี ย้ายมาที่เมือง แมนตัว ได้กลายมาเป็นเสมียนและทำการควบคุมการก่อสร้าง ของโครงการโบสถ์ ซาน เซบาสติอาโน (San Sebastiano) ในปี 1460 และซานตา อันเดรอา ในปี 1472 แม้ว่าแบบแปลนของโบสถ์จะถูกออกแบบโดย อัลเบอร์ติ แต่แฟนเซลีก็มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างมาต่อโครงการ โดยเฉพาะโบสถ์ ซานตา อันเดรอา เพราะอัลเบอร์ติเสียชีวิตลงไป ไม่นานหลังจากเริ่มโครงการก่อสร้าง แฟนเซลียังได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ วังหลวงของเมืองมานตัว ซึ่งเป็นของ มาร์คี เฟรดริโก ที่หนึ่ง (Marquess of Mantua Federico I) ซึ่งแฟนแซลี ได้ทำการออกแบบและก่อสร้างโครงการดังกล่าวตั่งแต่ปี 1478 ถึงปี 1487 แต่วังแห่งนี้ก็สร้างไม่เสร็จ จนถึงศตวรรษที่ 17 จึงได้เสร็จสิ้นลง ไม่มีใครรู้ว่ารายละเอียดในช่วงสุดท้ายของ แฟนเซลลี่ เพราะบันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมในชีวิตของเขาที่พบเป็นจุดสุดท้ายคือปี 1494 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากฟลอเรนซ์.

ใหม่!!: สถาปนิกและลูกา แฟนเซลี · ดูเพิ่มเติม »

วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์

วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ (เกิดวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่กรุงเทพมหานคร) สถาปนิกชาวไทยได้รับรางวัล Difference Design Awards ในปี 2549 ปัจจุบันเป็นเจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัท Supergreen Studio.

ใหม่!!: สถาปนิกและวรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเตอร์ โกรเปียส

วอลเตอร์ โกรเปียส (ค.ศ. 1920) วอลเตอร์ โกรเปียส (Walter Gropius) (18 พ.ค. 1883 — 5 ก.ค. 1969) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมันและผู้ก่อตั้งเบาเฮาส์ เขาร่วมกับ ลุดวิก มีส ฟาน เดอ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) และ เลอ กอร์บูซีเย (Le Corbusier) นั้นได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม.

ใหม่!!: สถาปนิกและวอลเตอร์ โกรเปียส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม มอร์ริส

วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) (24 มีนาคม ค.ศ. 1834 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1896) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักสังคมนิยมชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของ British Arts and Crafts movement และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นกวีและนักประพันธ์นวนิยายด้วย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบลวดลายบนผนัง มอร์ริสเคยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นสถาปนิก ต่อมาจึงพบว่าตัวเองชอบศิลปะการวาดมากกว่า มอร์ริสได้ตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อน และสร้างงานศิลปะเช่น ภาพวาดบนกระจกสี.

ใหม่!!: สถาปนิกและวิลเลียม มอร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เคนท์

วิลเลียม เคนท์ ผู้บุกเบิกสวนอังกฤษแบบธรรมชาติ วิลเลียม เคนท์ (William Kent พ.ศ. 2228-2291) จิตรกร นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิก เกิดที่เมืองบริดลิงตันไรดิงตะวันออกของยอร์กไชร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เคนท์ได้ไปทัศนศึกษาที่อิตาลีกับผู้อุปถัมภ์และกลับมาทำงานกับลอร์ดเบอร์ลิงตันในงานสร้างตำหนักชิสวิก ต่อมาเคนท์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนในอังกฤษ อาคารที่เคนท์ออกแบบได้แก่กลุ่มอาคารฮอร์สการ์ดที่ไวท์ฮอลล์ อาคารรอแยลมิวส์ที่จตุรัสทราฟัลกาและอาคารกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เคนท์ประสบความสำเร็จในงานออกแบบอาคารน้อยกว่างานภูมิทัศน์ สะพานและอาคารแบบพาลลาเดียนในสโตว์ โดยเคนท์ ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์” ตัวอย่างงานศิลปะบางส่วนโดยเคนท์ได้แก่ฉาก กอธิก ห้องโถงในวิหารเวสมินสเตอร์ โบสถ์กลอสเซสเตอร์ งานภายในตำหนักเบอร์ลิงตัน และตำหนักชิสวิกในลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 คเนท์ คเนท์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลอีสต์ไรดิงออฟยอร์คเชอร์.

ใหม่!!: สถาปนิกและวิลเลียม เคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียมแห่งซ็องส์

วิลเลียมแห่งซ็องส์ (William of Sens) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส มีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้รับการบันทึกไว้ในเดือน กันยายน..

ใหม่!!: สถาปนิกและวิลเลียมแห่งซ็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

วิตรูวิอุส

''วิทรูเวียนแมน'' เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี วิตรูวิอุส มีชื่อเต็มว่า มาร์กุส วิตรูวิอุส ป็อลลิโอ (Marcvs Vitrvvivs Pollio; เกิดในช่วง 80-70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักเขียน สถาปนิก และวิศวกรแห่งอาณาจักรโรมัน เป็นบุคคลที่มีบันทึกเกี่ยวกับประวัติชีวิตส่วนตัวน้อยมาก สิ่งที่คนรุ่นหลังรู้จักเกี่ยวกับตัวเขาคือผ่านผลงานของเขา วิตรูวิอุสเกิดในสถานภาพราษฎรโรมันเต็มตัว ได้เข้ารับราชการทหารและประจำอยู่ในกองวิศวกรรมซึ่งมีหน้าที่สร้างเครื่องกลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำสงคราม ต่อมาได้รับการว่าจ้างจากจักรพรรดิเอากุสตุสให้ทำงานกับราชสำนัก วันเวลาของการเสียชีวิตของวิตรูวิอุสนั้นนักประวัติศาสตร์ไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจนได้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่า ในยุคสมัยที่เขาอยู่นั้น เขาไม่ได้เป็นคนสำคัญที่มีชื่อเสียงแต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า วิตรูวิอุสเป็นผู้เขียนศาสตรนิพนธ์ชื่อ ว่าด้วยสถาปัตยกรรม (De architectvra) โดยเขียนเป็นภาษาละตินและภาษากรีก เป็นงานที่เขียนถวายให้กับจักรพรรดิเอากุสตุส และเป็นหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเพียงเล่มเดียวในยุคนั้นที่มีหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ข้อความเขียนโดยวิตรูวิอุสที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดและยังคงใช้กันมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ สถาปัตยกรรมต้องมีคุณลักษณะสามประการ ได้แก่ ความแข็งแรงมั่นคง (firmitas), การใช้ประโยชน์ได้ (vtilitas) และความงาม (venvstas) แนวคิดที่สำคัญอีกประการของวิตรูวิอุสนั้นคือ แนวคิดเกี่ยวกับการมองสถาปัตยกรรมเป็นการสร้างสรรค์เลียนแบบองค์ประกอบของธรรมชาติ เพราะมนุษย์ต้องใช้วัสดุจากธรรมชาติมาสร้างสถาปัตยกรรม ภาษาของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นต้องมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ ชาวกรีกได้นำหลักการนี้ไปเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่น เสาแบบดอริก เสาแบบไอออนิก หรือเสาแบบคอรินเทียน ทุกสัดส่วนที่เกิดขึ้นนั้นมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่งานอันเป็นสุดยอดแห่งการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ ได้แก่ร่างกายของมนุษย์นั่นเอง แนวคิดเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ดังกล่าวได้รับการนำไปถ่ายทอดเป็นภาพเขียนที่มีชื่อเสียงชื่อ "วิทรูเวียนแมน" หรือมนุษย์วิตรูวิอุส ซึ่งเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี.

ใหม่!!: สถาปนิกและวิตรูวิอุส · ดูเพิ่มเติม »

วินเชนโซ สกามอซซี

วินเชนโซ สกามอซซี อนุสาวรีย์วินเชนโซสกามอซซี่ วินเชนโซ สกามอซซี (Vincenzo Scamozzi) (2 กันยายน ค.ศ. 1548 - 7 สิงหาคม ค.ศ. 1616) เป็นสถาปนิกและนักเขียนเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมชาวอิตาลี ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองวีเชนซา (Vicenza) และเวนิส (Venice) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 16 วินเชนโซ สกามอซซี น่าจะเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในยุคนี้โดยเป็นช่วงต่อระหว่างอานเดรอา ปัลลาดีโอ (Andrea Palladio) กับบัลดัสซาร์เร ลองเกนา (Baldassarre Longhena) ซึ่งลองเกนาเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของวินเชนโซ วินเชนโซเกิดที่เมืองวีเชนซา (Vicenza) บิดาเป็นนักสำรวจ (surveyor) และผู้รับเหมาก่อสร้าง (building contractor) นาม จาน โดเมนีโก สกามอซซี (Gian Domenico Scamozzi) วินเชนโซได้มีโอกาสไปเยือนโรมในปี 1579-1580 แล้วย้ายไปเวนิสในปี 1581 อิทธิพลของสกามอซซีต่อโลกของสถาปัตยกรรมนั้นมีอย่างสูงส่ง โดยเฉพาะจากงานเขียนชื่อแนวคิดสถาปัตยกรรมสากล (L'Idea della Architettura Universale หรือ The Universal Idea of Architecture) เป็นงานเขียนชิ้นสุดท้ายของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเกี่ยวกับทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม ถูกพิมพ์เผยแพร่ด้วยภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut illustrations) ในเวนิส เมื่อปี 1615 วินเชนโซยังได้เขียนเกี่ยวกับชีวิตการประกอบวิชาชีพของเขา ซึ่งทำให้หนังสือเล่มนี้กลายเป็นเหมือนกับเครื่องมือทางการประชาสัมพันธ์ของเขาไป วินเชนโซได้บันทึกงานออกแบบ แปลน รูปด้าน ทั้งงานที่ได้สร้างจริงและงานที่ไม่ได้สร้าง รวมทั้งงานที่เป็นลักษณะของจินตนาการที่เหนือเทคโนโลยีในยุคนั้นอีกด้วย วินเชนโซเป็นสถาปนิกผู้หนึ่งที่เข้าใจคุณค่าของการประชาสัมพันธ์ตัวเองผ่านทางงานเขียนที่ประสบความสำเร็.

ใหม่!!: สถาปนิกและวินเชนโซ สกามอซซี · ดูเพิ่มเติม »

วิโรฒ ศรีสุโร

ร.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ได้ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ทางวัฒนธรรมอีสาน จนเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม และรางวัลสถาปนิกดีเด่น เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2482 สถานที่เกิด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่อยู่บ้าน ร้านดินดำ ตำบลด่านเกวียน ถนนราชสีมา-โชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: สถาปนิกและวิโรฒ ศรีสุโร · ดูเพิ่มเติม »

วีลาร์ เดอ ออนกูร์

คาดว่าเป็นภาพของวีลาร์ เดอ ออนกูร์ จาก The Portfolio of Villard de Honnecourt (ราวปี 1230) วีลาร์ เดอ ออนกูร์ (Villard de Honnecourt) เป็นสถาปนิกและนักประดิษฐ์ ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ณ เมือง Picardy ทางเหนือของฝรั่งเศส ออนกูร์ได้รับการยกย่องจากผลงานที่หลงเหลือไว้เพียงแต่ในกระดาษของเขา โดยมีทั้งหมด 33 แผ่น ซึ่งประกอบไปด้วยแบบก่อสร้าง 250 ชิ้น ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงทศวรรษ 1230 (ปัจจุบันถูกเก็บบันทึกไว้ที่หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส (Bibliothèque Nationale, Paris) แบบที่พบนั้น เป็นแบบของทั้งสถาปัตยกรรม แบบรูปด้าน เครื่องกล งานศิลปะ รวมทั้งรูปของคนและสัตว์ด้วย สิ่งที่น่าสนใจที่สุดที่พบคือ แบบของเครื่องเลื่อยไม้ที่ใช้พลังงานต่อจากกังหันลม เครื่องยกที่คล้าย ๆ กับลิฟต์ เครื่องกลที่ใช้ระบบฟันเฟืองต่าง ๆ (แบบเดียวกับที่ค้นพบในจีน สมัยราชวงศ์ซ่ง) โดยบันทึกของออนกูร์นี้ เป็นบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับระบบเครื่องกลฟันเฟืองที่พบได้ในโลกตะวันตก ออนกูร์ได้ทำการท่องเที่ยวไปมากมายหลาย ๆ ที่เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรม โดยมีการบันทึกการเดินทางโดยละเอียดทั้งในลักษณะของตัวอักษรและภาพ หนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจคือ ภาพร่าง (Sketch) ของหอระฆังโบสถ์แห่งเมือง Laon และโถงกลาง (nave) ของโบสถ์แห่งเมืองแรงส์ ในขณะที่กำลังได้รับการก่อสร้าง ซึ่งได้กลายมาเป็นข้อมูลสำคัญในการทำการศึกษาสถาปัตยกรรมรูปแบบไฮกอทิก (High Gothic Architecture) ออนกูร์ ออนกูร์.

ใหม่!!: สถาปนิกและวีลาร์ เดอ ออนกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

วนิดา พึ่งสุนทร

วนิดา พึ่งสุนทร (5 ธันวาคม 2480 -) สถาปนิกหญิงแห่งชาติ ได้รับเกียรติคุณให้เป็นผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรม จากสำนักนายกรัฐมนตรี ศิลปินดีเด่น กรุงเทพมหานคร สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ประจำปี 2546 ท่านเป็นอาจารย์ที่เมตตา แนะนำและพร่ำสอนลูกศิษย์ ให้มีความรู้ ความสามารถ รักและเข้าใจในงานสถาปัตยกรรมไทย โดยมีเจตนารมณ์ที่ว่า "สถาปัตยกรรมไทยนั้นสามารถสืบสานและสร้างสรรค์ได้".

ใหม่!!: สถาปนิกและวนิดา พึ่งสุนทร · ดูเพิ่มเติม »

สภาสถาปนิกไทย

ตราสัญลักษณ์สภาสถาปนิก ในประเทศไทย, สภาสถาปนิก (Architect Council of Thailand หรือชื่อเดิม Council Of Architects) คือองค์กรควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาปนิก..

ใหม่!!: สถาปนิกและสภาสถาปนิกไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมภพ ภิรมย์

ตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ (26 กรกฎาคม 2459 -3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550) สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย ปูชนียบุคคลผู้อนุรักษ์มรดกด้านสถาปัตยกรรมไทย ปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี 2529 และราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์ อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีปทุม อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม เป็นผู้มีผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม และผลงานวิชาการงานเขียนมากมาย ผลงานชิ้นสำคัญ ได้แก่ “กุฎาคาร” “พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยรัตนโกสินทร์” และ “บ้านไทยภาคกลาง” โดยมักจะใช้คำนำหน้าหนังสือหรือบทความว่า “ปกิณกคดีหมายเลข 13” ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและสมภพ ภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

ัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ อาษา (ASA) เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม เป็นสมาคมที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล.

ใหม่!!: สถาปนิกและสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา

มธ ชุมสาย ณ อยุธยา (เกิด มีนาคม 2481) เป็นสถาปนิก จิตรกร ศิลปินชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปี 2541 สุเมธเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสถาปนิกที่นำเสนองานออกแบบสมัยใหม่ ที่มีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็น อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี ที่เป็นอาคารลูกบาศก์ 2 ลูกตั้งเอียง "ตึกหุ่นยนต์" (ธนาคารเอเซีย) อาคารและผังแม่บทมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต อาคารเนชั่น อาคารอาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท เป็นต้น สุเมธเกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นพี่ชายแท้ๆของอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา สุเมธได้เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนกรุงปารีส แล้วจึงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเวลลิ่งบาเร่อร์ ที่ประเทศอังกฤษ ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ตั้งแต่ปริญญาตรีจนจบปริญญาเอก รวมอยู่ในยุโรปกว่า 17 ปี แล้วจึงเข้ารับราชการที่กรมโยธาธิการและสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งลาออกมาก่อตั้งบริษัทสถาปนิกเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: สถาปนิกและสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สถาปนิกและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: สถาปนิกและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมศาสตร์

ปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหัพภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ถือเป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง.

ใหม่!!: สถาปนิกและสถาปัตยกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิกตระกูล ซานกาลโล

ตระกูลซานกาลโล (Sangallo) เป็นตระกูลสถาปนิก ช่างฝีมือ และศิลปินชาวเมือง ฟลอเรนซ์ สมาชิกของตระกูลนี้หลายคนได้กลายมาเป็น สถาปนิก ช่าง และ ศิลปินที่มีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น: "จูลิอาโน ดา ซานกาลโล" ภาพวาด โดยเปียโร ดิ โคสิโม, ค.ศ. 1500-1520 หมวดหมู่:สถาปนิก หมวดหมู่:ชาวอิตาลี หมวดหมู่:บุคคลจากฟลอเรนซ์.

ใหม่!!: สถาปนิกและสถาปนิกตระกูล ซานกาลโล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี

หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540) สถาปนิก ออกแบบสถาปัตยกรรมไทยมีความชำนาญในการออกแบบผูกลาย ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี

ตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี (เกษมศรี) (19 ธันวาคม 2476 - ปัจจุบัน) นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สถาปนิกดีเด่น ผู้บุกเบิกงานวิจัยสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรีได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2499 และได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี พ.ศ. 2504 ศาสตราจารย์ กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี เข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2500 จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2537.

ใหม่!!: สถาปนิกและหม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ

ตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ (9 พฤศจิกายน 2443 - 27 สิงหาคม 2524) พระโอรสองค์ที่ 20 ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเป็นองค์ที่ 3 ของหม่อมบุญ วรรวรรณ ณ อยุธยา สถาปนิกกรมรถไฟ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์พิเศษและต่อมาป็นอาจารย์ประจำและคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกรุ่นบุกเบิกผู้นำเอาเอกลักษณ์ไทยมาประยุกต์กับการออกแบบอาคารสมัยใหม่ ได้ทรงพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่มีใช่ในท้องถิ่นให้เหมาะสม เช่นกระเบื้องปิดหัวจั่วกันผุ รวมทั้งการทดลองการใช้วัสดุพื้นถิ่นเช่นไม้ไผ่ ไม้ระแนงเสริมปูนฉาบซึ่งพบว่าใช้งานได้ดีในระดับเศรษฐกิจขณะนั้น.

ใหม่!!: สถาปนิกและหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ คาห์น

หลุยส์ อิซาดอร์ คาห์น (Louis Isadore Kahn) (20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1901 หรือ 1902 - 17 มีนาคม ค.ศ. 1974) เป็นสถาปนิกผู้มีชื่อเสียงระดับโลก มีพื้นเพเป็นคนยิวเอสโตเนีย อาศัยอยู่ในฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา หลังจากทำงานจำนวนมากหลายชิ้นให้กับหลายบริษัทในฟิลาเดลเฟีย เขาก็ก่อตั้งห้องศิลปะของตัวเองในปี 1935 ขณะที่ทำงานส่วนตัว เขาก็ยังเป็นนักวิจารณ์ด้านการออกแบบและอาจารย์โรงเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์เยล ตั้งแต่ปี 1947 ถึง 1957 และจากปี 1957 จนกระทั่งเสียชีวิตเขาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนออกแบบที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย งานของเขาได้รับอิทธิพลจากซากโบราณ มีลักษณะไปทางอนุสรณ์และสิ่งใหญ่โต ตึกอันหนัก วัสดุ ของเขารวมกันดูไม่ได้ซ่อนรูปน้ำหนัก.

ใหม่!!: สถาปนิกและหลุยส์ คาห์น · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ซัลลิแวน

หลุยส์ ซุลลิแวน หลุยส์ เฮนรี่ ซัลลิแวน (Louis Henri Sullivan) (3 กันยายน พ.ศ. 2399 - 12 เมษายน พ.ศ. 2467) สถาปนิกชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งถูกขนานนามให้เป็น "บิดาแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่" (Father of modernism) เป็นผู้บุกเบิกการออกแบบอาคารสูงสมัยใหม่ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อสถาปนิกรุ่นหลัง และเป็นนักวิจารณ์แห่งสำนักชิคาโก้ (Chicago School) เขาเป็นอาจารย์ของ แฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright) สถาปนิกชื่อดังอีกคนหนึ่งของอเมริกา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากบอสตัน.

ใหม่!!: สถาปนิกและหลุยส์ ซัลลิแวน · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ นีเอไมเยร์

ออสการ์ รีเบย์รู จี อัลเมย์ดา นีเอไมเยร์ โซอาริส ฟิลยู (Oscar Ribeiro de Almeida Niemeyer Soares Filho) หรือ ออสการ์ นีเอไมเยร์ เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1907 เป็นสถาปนิกชาวบราซิล ที่ถูกยกย่องว่าเป็น 1 ในบุคคลสำคัญในวงการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เขาเป็นผู้บุกเบิกในการค้นพบความเป็นไปได้ในการใช้คอนกรีตเสริมแรงอย่างเดียวในการทำให้เกิดผลกระทบด้านสุนทรียศาสตร์ ผลงานอาคารของเขามักมีเอกลักษณ์เรื่องพื้นที่ที่มโหฬารและแสดงถึงการผสมผสานปริมาตรและที่ว่าง ที่จะสร้างรูปแบบอย่างไม่มีแบบแผนและมักจะรับน้ำหนักโดยไพโลติ ทั้งยังได้รับการยกย่องและเสียงวิจารณ์ว่าเป็น "อนุสาวรีย์แห่งประติมากรรม" เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่และหนึ่งในสถาปนิกผู้เยี่ยมยอดในยุคของเขา ผลงานอันโด่งดังของเขาเช่นอาคารสาธารณะจำนวนมากที่ออกแบบในกรุงบราซิเลีย เมืองมรดกโลก และสำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก เป็นต้น นีเอไมเยร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ที่รีโอเดจาเนโร อายุ 104 ปี.

ใหม่!!: สถาปนิกและออสการ์ นีเอไมเยร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลวา อัลโต

วโก อัลวา เฮนริก อัลโต (Hugo Alvar Henrik Aalto) (3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1898 - 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1976) เป็นสถาปนิกชาวฟินแลนด์และดีไซเนอร์ ในบางครั้งเรียกว่า บิดาแห่งสมัยใหม่นิยม ในประเทศแถบสแกนดินาเวีย ผลงานการออกแบบของเขามีทั้งสถาปัตยกรรม เครื่องเรือน สิ่งทอ และเครื่องแก้ว เขายังเป็นที่รู้จักในการร่วมงานกับครอบครัวตระกูล Ahlström-Gullichsen ".".

ใหม่!!: สถาปนิกและอัลวา อัลโต · ดูเพิ่มเติม »

อัลโด ฟัน ไอก์

อัลโด ฟัน ไอก์ (Aldo Van Eyck; 16 มีนาคม พ.ศ. 2461, ดรีแบร์เคิน, จังหวัดยูเทรกต์, ประเทศเนเธอร์แลนด์ – 13 มกราคม พ.ศ. 2542, ลุเนินอานเดอแฟ็คต์) เป็นสถาปนิกชาวดัตช์ ในวัยเด็กศึกษาอยู่ที่สหราชอาณาจักร แล้วได้ศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมที่สถาบันเทคโนโลยีสหพันธ์สวิสในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากสำเร็จการศึกษา ฟัน ไอก์ ได้เป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมอยู่ที่สถาบันสถาปัตยกรรมอัมสเตอร์ดัมระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2502 หลังจากนั้น ได้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแด็ลฟต์ในช่วงปี พ.ศ. 2509 ถึงปี พ.ศ. 2527 และเป็นบรรณาธิการนิตยสารด้านสถาปัตยกรรม Forum ในช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึงปี พ.ศ. 2506 และปี พ.ศ. 2510 ฟัน ไอก์ ยังเป็นสมาชิกสภาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ระหว่างประเทศ (Congrès international d'architecture moderne, CIAM) และได้ก่อตั้งกลุ่มสถาปนิก "Team10" ขึ้น ฟัน ไอก์ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากราชสถาบันสถาปนิกอังกฤษ (Royal Institute of British Architects, RIBA) ในปี พ.ศ. 2533.

ใหม่!!: สถาปนิกและอัลโด ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลโด รอสซี

อัลโด รอสซี (Aldo Rossi; 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 – 4 กันยายน ค.ศ. 1997) เป็นสถาปนิกและดีไซเนอร์ ชาวอิตาลี ที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ จากทฤษฏี การวาดเส้น งานสถาปัตยกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและอัลโด รอสซี · ดูเพิ่มเติม »

อันตอนี เกาดี

อันตอนี เกาดี อี กูร์แน็ต (Antoni Gaudí i Cornet; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1852-10 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นสถาปนิกชาวคาตาลัน ประเทศสเปน ที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวในแบบโมเดิร์นนิสโม (อาร์ตนูโว) และมีชื่อเสียงเรื่องงานออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์และเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง ตัวอย่างเช่น ซากราดาฟามีเลี.

ใหม่!!: สถาปนิกและอันตอนี เกาดี · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรอา ปัลลาดีโอ

อันเดรอา ปัลลาดิโอ อันเดรอา ปัลลาดีโอ (Andrea Palladio, 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1508 – 19 สิงหาคม ค.ศ. 1580) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลีที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดผู้หนึ่งทางด้านแนวคิดการออกแบบในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก ผลงานชิ้นสำคัญของ ปัลลาดิโอ คือ หนังสือเรื่อง Quattro Libri dell'Architettura หรือ เดอะ โฟร์ บุคส์ ออฟ อาร์คิเท็คเจอร์ (The Four Books of Architecture) Monument to Andrea Palladio (Vicenza).jpg|Andrea Palladio Basilica Palladiana (Vicenza) - facade on Piazza dei signori.jpg|Basilica Palladiana Palazzo del Capitanio (Vicenza).jpg|Palazzo del Capitanio Palazzo Chiericati (Vicenza).jpg| Palazzo Chiericati Interior of Teatro Olimpico (Vicenza) scena.jpg|Teatro Olimpico Basilica di San Giorgio Maggiore (Venice).jpg|San Giorgio Maggiore หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2051 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นเวเนโต.

ใหม่!!: สถาปนิกและอันเดรอา ปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธ เงินชูกลิ่น

ลอากาศตรี ศาสตราภิชานอาวุธ เงินชูกลิ่น (22 มีนาคม พ.ศ. 2485 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556) เป็นสถาปนิกชาวไทย อดีตอธิบดีกรมศิลปากร อาจารย์พิเศษในหลายมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบสถาปัตยกรรมไทย หัวหน้าผู้ออกแบบพระเมรุ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพถึง 3 ครั้ง ได้แก่ พระเมรุ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ท้องสนามหลวง พล.อ.ต.อาวุธ ยังได้ออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในงานออกแบบถึง 2 งานหลักๆ ได้แก่ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังเป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณะปฏิสังขรณ์ โบราณสถานแห่งชาติที่สำคัญหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นงานงานบูรณะมณฑป โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร ในปี.ศ 2539 ให้เป็นมณฑปสีดำ หรือหุ้มด้วยทองแดง ยอดพระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร จนต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) สาขาย่อย สถาปัตยกรรม ประจำปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและอาวุธ เงินชูกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

อิมโฮเทป

อิมโฮเทป อิมโฮเทป (Imhotep) เป็นหนึ่งในมนุษย์เทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต.

ใหม่!!: สถาปนิกและอิมโฮเทป · ดูเพิ่มเติม »

อินิโก โจนส์

อินิโก โจนส์ (Inigo Jones; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1573 - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1652) ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญคนแรกของสถาปัตยกรรมสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ และเป็นสถาปนิกคนแรกที่นำสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังอังกฤษ งานชิ้นสำคัญๆ ของโจนส์เป็นตึกโดดเช่นคฤหาสน์รับรอง, ไวท์ฮอลล์ และโคเวนต์การ์เดน ที่กลายมาเป็นแบบอย่างของการพัฒนาในบริเวณเวสต์เอ็นด์ นอกจากนั้นโจนส์ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเวทีในฐานะนักออกแบบฉากละครสำหรับ งานสวมหน้ากากเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตามพระราชประสงค์จากราชสำนัก และอีกหลายชิ้นเป็นงานที่ทำร่วมกับเบ็น จอนสัน.

ใหม่!!: สถาปนิกและอินิโก โจนส์ · ดูเพิ่มเติม »

องอาจ สาตรพันธุ์

องอาจ สาตรพันธุ์ (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487) เป็นสถาปนิกชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เป็นสถาปนิกที่ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยในประเทศไทย ที่มีความสามารถในการสืบทอดและประยุกต์ใช้ศิลปะแบบดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน และแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เขาได้รับรางวัลมากมายจากหลาย ๆ สถาบันทางด้านสถาปัตยกรรมร่วมสมัย งานออกแบบขององอาจส่วนใหญ่ มักใช้วัสดุก่อสร้างเป็นคอนกรีต งานช่วงแรกของเขามีรูปแบบเป็นโมเดิร์นเต็มตัว ที่ล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก เลอกอร์บูซีเย เช่น อาคารโรงเรียนปานะพันธ์วิทยา ซึ่งเขาได้อิงลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการของเลอกอร์บูซีเยมาใช้อย่างชัดเจน ปัจจุบันได้ถูกทุบทิ้งไปแล้ว เขายังออกแบบงานในรูปแบบ สถาปัตยกรรมคอนกรีตเปลือย หรือที่เรียกว่า Brutalism เช่น อาคารเรียนฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านงานอออกแบบอาคารสูง เขาเป็นผู้ออกแบบ ตึกช้าง ซึ่งเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในตึกระฟ้าที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในโลก 20 อันดับ งานในช่วงหลัง องอาจได้เปลี่ยนแนวทางการออกแบบไปสู่งานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของไทย ไม่ว่าจะเป็น โรงแรมราชมรรคา โรงแรมแทมมารินวิลเลจ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำรูปแบบล้านนามาใช้ในงานออกแบบอย่างเต็มตัว เขายังเป็นกรรมการตัดสินผลงานดีเด่นทางสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม อีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปนิกและองอาจ สาตรพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฮอลไลน์

Haas-Haus ในเวียนนา, 1985-1990 ฮันส์ ฮอลไลน์ (Hans Hollein) เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1934 ในเวียนนา เป็นสถาปนิกชาวออสเตรียและเป็นนักออกแบบ ฮอลไลน์ได้รับอนุปริญญาจากวิทยาลัยทัศนศิลป์ในเวียนนา ในปี 1956 จากนั้นเข้าศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ ในปี 1959 และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในปี 1960 เขาทำงานกับหลายหน่วยงานในสวีเดนและสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะกลับมาที่เวียนนา ก่อตั้งบริษัทของตัวเองในปี 1964 เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี 1985 ผลงานโดยส่วนใหญ่ของฮอลไลน์เป็นงานสถาปัตยกรรม แต่เขาก็ยังมีงานออกแบบในฐานะดีไซเนอร์ อย่างเช่นกลุ่ม เมมฟิสกรุป และบริษัทอเลสซี เขายังออกแบบงานนิทรรศการเช่น งานเบียนเนลในเวนิซ และยังมีงานออกแบบฉากให้กับงานละครของอาร์เทอร์ ชนิตซ์เลอร์ ในละคร Der einsame Weg ที่โรงละครเบิร์กในเวียนนาด้ว.

ใหม่!!: สถาปนิกและฮันส์ ฮอลไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ แฮ็นดริก ฟัน ปาสเซิน

ันส์ แฮ็นดริก ฟัน ปาสเซิน (Hans Hendrik van Paesschen; ประมาณ ค.ศ. 1510-ค.ศ. 1582) เป็นสถาปนิกจากเมืองแอนต์เวิร์ป อาณาจักรฟลานเดอส์ (ทางตอนเหนือของประเทศเบลเยียมปัจจุบัน) ผู้ออกแบบอาคารรูปแบบคลาสสิกในหลาย ๆ อาณาจักรในเขตยุโรปเหนือ ในยุคนั้น สถาปนิกที่มีอิทธิพลสุดในอิตาลีคืออันเดรอา ปัลลาดีโอ (Andrea Palladio) ฝรั่งเศสคือฟีลีแบร์ เดอลอร์ม (Philibert Delorme) แต่จริง ๆ แล้ว ฮันส์ แฮ็นดริก ฟัน ปาสเซิน ได้ออกแบบอาคารมากมายในยุโรปเหนือไม่แพ้สถาปนิกสองคนข้างต้น แต่สาเหตุที่เขาไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะว่าแต่ละดินแดนที่เขาได้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ให้นั้น ชื่อของเขาได้รับการสะกดแตกต่างกันหมด ปาสเซินได้รับการฝึกมาจากอิตาลี แล้วกลับมาทำงานในเมืองแอนต์เวิร์ป ทำงานร่วมกับประติมากรชื่อดัง โฟลริส เดอ ฟรีนต์ (Floris de Vriendt) ได้รับโครงการมาทำมากมาย ปาสเซินทำการออกแบบโครงการในฟลานเดอส์ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เวลส์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และคาลีนินกราด (Kaliningrad) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เขาออกแบบอาคารในตอนเหนือของฝรั่งเศส เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ปาสเซินมักจะออกแบบลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบเฟลมิชแท้ ๆ โดยผสมความเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปเหนือเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างกับแบบอย่างในยุโรปเหนือเวลานั้นที่มักจะเป็นส่วนผสมของความเป็นกอทิก (gothic) และจริตนิยม (mannerist style) เขาได้นำองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเมืองเวนิสมาใช้ไม่น้อย เช่น อาร์เคด (arcade) ทางเดินใต้หลังคา (loggia) โดม (dome) และโครงสร้างโค้งแบบเวนิส (Venetian arches) น่าเสียดายที่งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขาได้พังทลายไปหมด หรือได้ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจนไม่เหลือรูปแบบดั้งเดิมแล้ว งานที่เป็นต้นฉบับที่ไว้ให้ศึกษากันคืออยู่ในเอกสารเท่านั้น ลูกศิษย์ของเขาในอีกหลายชั่วคนต่อมาได้กลายเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียง โดยมักจะมีการใช้นามสกุลเพื่อยกย่องปาสเซิน นามสกุลดังกล่าวเช่น เดอ ปา (de Pas) หรือฟัน เดอปัสเซอ (van de Passe).

ใหม่!!: สถาปนิกและฮันส์ แฮ็นดริก ฟัน ปาสเซิน · ดูเพิ่มเติม »

ฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์

ูล อาร์ดวง-ม็องซาร์ (Jules Hardouin-Mansart,; 16 เมษายน ค.ศ. 1646 - 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1708) เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ที่ผลงานถือกันว่าเป็นผลงานของสมัยบาโรกฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองที่สุดที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความยิ่งใหญ่โอ่อ่าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ม็องซาร์ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของยุโรปของคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: สถาปนิกและฌูล อาร์ดวง-ม็องซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง นูแวล

็อง นูแวล (Jean Nouvel; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2488 —) สถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงระดับโลก เจ้าของรางวัลพริตซ์เกอร์ ทางสถาปัตยกรรมแห่งปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและฌ็อง นูแวล · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ วาซารี

อร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) (30 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 - 27 มิถุนายน ค.ศ. 1574) เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ผลงานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคืองานบันทึก ประวัติชีวิตและงานของศิลปินอิตาลีก่อนหน้าและร่วมสมัยในชื่อ “ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น” (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ชีวิตศิลปิน” (The Vite)) ซึ่งเป็นงานที่ยังมีการอ้างอิงกันในการเขียนประวัติชีวิตศิลปินหรือการวิจัยจิตรกรรมและประติมากรรมกันอยู่จนทุกวันนี้.

ใหม่!!: สถาปนิกและจอร์โจ วาซารี · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แวนบรูห์

ซอร์จอห์น แวนบรูห์โดยเจฟฟรี เนลเลอร์ (Godfrey Kneller) จอห์น แวนบรูห์ หรือ เซอร์จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) (24 มกราคม ค.ศ. 1664? – 26 มีนาคม ค.ศ. 1726) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ และนักเขียนบทละคร (dramatist) งานชิ้นเอกของแวนบรูห์ก็เห็นจะเป็น วังเบล็นไฮม์ และ ปราสาทฮาวเวิร์ด งานอื่นก็ได้แก่บทละครฟื้นฟูราชวงศ์ (Restoration comedy) ซึ่งเป็นบทละครชวนหัวที่แรงๆ สองเรื่อง -- “คืนตัว” (The Relapse) ในปี ค.ศ. 1696 และเรื่อง “ภรรยาผู้ถูกยุ” (The Provoked Wife) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นละครที่เล่นกันบ่อยแต่เป็นบทละครที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากเมื่อออกมาใหม่ๆ แวนบรูห์ค่อนข้างจะเป็นผู้มีหัวรุนแรง เมื่อหนุ่มๆ แวนบรูห์ก็เป็นสมาชิกพรรควิกและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นราชบัลลังก์ของ, he was part of the scheme to overthrow สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เพื่อพิทักษ์ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของอังกฤษ และมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองจนถูกจับเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจำขังที่คุกบาสตีย์ในปารีส ส่วนทางด้านการเขียนบทละครแวนบรูห์มักจะเขียนบทละครแบบเสียดสี เช่นบทละครฟื้นฟูราชวงศ์ และเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากจะเป็นงานเขียนที่ออกจะเปิดเผยในเรื่องทางเพศแล้วก็ยังสื่อความหมายในการป้องกันสิทธิสตรีในการแต่งงานอีกด้วย ซึ่งก็ถูกโจมตีทั้งสองประเด็นและเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์ในค่านิยมโดย เจอเรอมี คอลลีเออร์ (Jeremy Collier) ในหนังสือ “ความคิดเห็นสั้นเกี่ยวกับความขาดศีลธรรมและความหยาบคายในวงการละครอังกฤษ” (Short View of the Immorality and Profaneness of the English Stage) ทางด้านสถาปัตยกรรมแวนบรูห์เป็นผู้นำในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มารู้จักกันในนาม “สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ” งานของแวนบรูห์ทางสถาปัตยกรรมก็เป็นการแสดงออกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมือง.

ใหม่!!: สถาปนิกและจอห์น แวนบรูห์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น โซน

นาคารแห่งอังกฤษที่ออกแบบโดยจอห์น โซน จอห์น โซน, RA (John Soane) (10 กันยายน ค.ศ. 1753 - 20 มกราคม ค.ศ. 1837) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ลักษณะงานสถาปัตยกรรมของโซนเป็นการใช้เส้นที่สะอาด รูปทรงที่ใหญ่แต่ง่าย รายละเอียดที่เด่นชัด มีความสมส่วน และ ดีเด่นในเรื่องการใช้แหล่งแสง อิทธิพลของงานมาจากปลายสมัยจอร์เจียนที่มาประดังกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่อิทธิพลของงานของจอห์น โซนจึงได้เป็นที่รู้สึกกันอย่างกว้างขวาง งานชิ้นที่เด่นที่สุดคือธนาคารแห่งอังกฤษที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสิ่งก่อสร้างทางการค้.

ใหม่!!: สถาปนิกและจอห์น โซน · ดูเพิ่มเติม »

จอตโต ดี บอนโดเน

อตโต ดี บอนโดเน จอตโต ดี บอนโดเน (Giotto di Bondone) (ค.ศ. 1267 – 8 มกราคม ค.ศ. 1337), เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม จอตโต (Giotto), เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนสร้างสรรค์ผลงาน ที่ก่อให้เกิดกระแสใหม่ในสังคมที่นำไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในที่สุด จอตโต ดี บอนโดเนเป็นจิตรกรร่วมสมัยกับจิโอวานนี วิลลานิผู้กล่าวว่าจอตโตเป็นช่างผู้มีความสามารถที่สุดในสมัยนั้น เป็นผู้วาดภาพตามกฎของธรรมชาติ และจอตโตได้รับเงินเดีอนจากรัฐบาลเมืองฟลอเรนซ์เนื่องมาจากความสามารถBartlett, Kenneth R. (1992).

ใหม่!!: สถาปนิกและจอตโต ดี บอนโดเน · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลา

ห้าระบบ บันทึกไว้โดย วิกโนลา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ''Regole delle cinque ordini d'architettura''. จาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลา (Giacomo Barozzi da Vignola, แปลได้เป็นว่า นายจาโกโม บารอซซี จากเมืองวิญญอลา แต่ได้รับการเรียกขานจากคนโดยทั่วไปตามชื่อเมืองเกิดของเขาว่า วิกโนลา, 1 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1507 - 7 กันยายน, ค.ศ. 1573) เป็นสถาปนิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุคศตวรรษที่ 16 ของอิตาลี ในรูปแบบของ แมนเนอริสม์ ผลงานที่สำคัญที่สุดสองชิ้นของเขาได้แก่ วิลล่า ฟาร์เนซ (Villa Farnese) ที่เมือง คาปราโรลา และ วัดเจซู ที่ โรม นักเขียนสามคนที่ได้เผยแพร่เนื้อหาของ อิตาเลียน เรเนซองส์ ไป ทั่วทั้งยุโรปตะวันตกได้แก่ วิญญอลา (Vignola), เซบาสติอาโน เซอริโอ (Sebastiano Serlio) อันเดรอา ปัลลาดิโอ (Andrea Palladio).

ใหม่!!: สถาปนิกและจาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลา · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโป ซานโซวีโน

จาโกโป ซานโซวีโน จาโกโป ซานโซวีโน (Jacopo Sansovino) มีชื่อเต็มว่า จาโกโป ดันโตนีโอ ซานโซวีโน (Jacopo d’Antonio Sansovino) (2 กรกฎาคม ค.ศ. 1486 – 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1570) เป็นสถาปนิกและประติมากรชาวอิตาลี เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ชื่อที่ได้รับตอนเกิดคือ จาโกโป ตัตตี (Jacopo Tatti) ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากอันเดรอา ซานโซวีโน (Andrea Sansovino) หลังจากนั้นได้เปลี่ยนนามสกุลตามอาจารย์ เมื่อครั้งอยู่ในโรม ได้มีผลงานประติมากรรมที่ทำให้ศิลปินและสถาปนิกระดับปรมาจารย์ เช่น บรามันเต (Bramante) และ ราฟาเอล (Raphael) ซานโซวีโน ย้ายกลับมาพำนักที่ฟลอเรนซ์ในปี 1511 และได้รับการว่าจ้างให้ปั้นรูปจำลองของเซนต์เจมส์ ให้โบสถ์ประจำเมืองฟลอเรนซ์ (Basilica di Santa Maria del Fiore) รูปปั้นที่เขาวางแผนที่จะปั้นให้กับโบสถ์แห่งเมืองซานลอเรนโซ ได้รับการปฏิเสธโดยมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี (Michelangelo) ซึ่งเป็นสถาปนิกใหญ่ขณะนั้น หลังจากที่แบบร่างได้ถูกเสนอ โดยซานโซวีโนได้เขียนจดหมายประท้วงอย่างรุนแรงในปี 1518 ในช่วงนี้ซานโซวีโนได้พำนักกับเพื่อนศิลปินซึ่งเป็นจิตรกรเลื่องชื่อ นาม อันเดรอา เดล ซาร์โต และต่อมาเขาได้เดินทางกลับไปโรม โดยพำนักอยู่เป็นเวลาเก้าปี และหนีออกจากโรมไปพำนักที่เวนิสเนื่องจากภาวะสงคราม ในเหตุการณ์เข้าตีกรุงโรม โดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทางตอนเหนือ นำโดยสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี 1529 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสถาปนิกสูงสุด (Protomagister) ขึ้นตรงต่อผู้ว่าของเขตซานมาร์โกของเวนิส ทำให้เขากลายมาเป็นศิลปินที่มีอิทธิพลที่สุดในเมือง งานสถาปัตยกรรมชั้นเอกของเขาเป็นงานที่ยังได้รับการเยี่ยมชมโดยนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองเวนิสมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งได้แก่ อาคารทุกหลังที่อยู่ ณ จัตุรัสมาร์โค (Piazza San Marco) โดยเฉพาะอาคารที่เรียกว่า เซกกา (Zecca) หอคอยแห่งจัตุรัส นอกจากนี้เขายังได้ทำการปั้นประติมากรรมหลายชิ้นให้กับมหาวิหารซานมาร์โค งานที่สำคัญมากชิ้นหนึ่งคือห้องสมุดแห่งมาร์โค (Biblioteca Marciana) เป็นอาคารที่ได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรมากที่สุดอาคารหนึ่งในเวนิส เป็นความสำเร็จของการผสมผสานหลักการพื้นฐานที่เรียบง่ายของสถาปัตยกรรมคลาสสิก เข้ากับการตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรในแบบของเมืองเวนิสได้อย่างลงตัว ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมของอานเดรอา ปัลลาดีโอ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2029 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:ประติมากรชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:บุคคลจากฟลอเรนซ์.

ใหม่!!: สถาปนิกและจาโกโป ซานโซวีโน · ดูเพิ่มเติม »

จูลิอาโน ดา ซานกาลโล

ูลิอาโน ดา ซานกาลโล โดย เปียโร ดิ โคสิโม (Piero di Cosimo) จูลิอาโน ดา ซานกาลโล (Giuliano da Sangallo หรือชื่อเต็ม Giuliano Giamberti da Sangallo; ประมาณปี ค.ศ. 1443 - ปี ค.ศ. 1516) เป็นประติมากรและวิศวกรทางยุทธศาสตร์ ชาวอิตาลีสมัยเรอเนซอง.

ใหม่!!: สถาปนิกและจูลิอาโน ดา ซานกาลโล · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน

ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) (เกิดวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1743 - วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1826)The birth and death of Thomas Jefferson are given using the Gregorian calendar.

ใหม่!!: สถาปนิกและทอมัส เจฟเฟอร์สัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะดะโอะ อันโด

ทะดะโอะ อันโด (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2484 ที่ นครโอซะกะ จังหวัดโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น) เป็นสถาปนิกชาวญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงจากการนำคอนกรีตหล่อแล้วเจาะรูปเป็นช่อง ๆ วางเรียงเป็นแผ่น ๆ เป็นวัสดุในการก่อสร้างเป็นหลัก แนวความคิดในการออกแบบของ อันโด จะเน้นเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติโดยใช้ระบบสัญลักษณ์เชิงปรัชญา เช่น การให้แสงเป็นตัวแทนของธรรมชาติ จะสังเกตได้ว่างานส่วนใหญ่ของอันโดจะไม่มีหน้าต่างที่เปิดให้เห็นทวทัศน์นอกอาคาร แต่มักมีช่องเปิดที่แสงแดดสามารถส่องผ่านได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมได้ ในปี 2512 เขาได้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกของตัวเอง และในปี 2538 อันโดก็ได้รับ รางวัลพริตซ์เกอร์ รางวัลสูงสุดทางสถาปนิก โดยอันโดได้บริจาคเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่โกเบ ในปีนั้น ชีวิตในวัยเด็กอันโดได้ทำงานหลายอย่าง เช่นเป็นคนขับรถบรรทุกและนักมวยเพื่อสะสมเงินเพื่อจะเป็นสถาปนิก อันโดนับเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของญี่ปุ่นและของโลก แต่ทว่าทะดะโอกลับไม่เคยผ่านการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมมาก่อนเลย ความรู้ส่วนใหญ่ได้มาจากการอ่านหนังสือและค้นคว้าด้วยตัวเองทั้งสิ้น ภาพ:La Collezione 1.jpg ภาพ:Hyogo prefectural museum of art03s3200.jpg ภาพ:Westin Awaji Island Hotel 06.jpg.

ใหม่!!: สถาปนิกและทะดะโอะ อันโด · ดูเพิ่มเติม »

ทิพย์สุดา ปทุมานนท์

รศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ (2496 -) อาจารย์สังกัดภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเขียนหนังสือด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์หลายเล่ม ได้รับเลือกเป็น "อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติของ ปอมท.

ใหม่!!: สถาปนิกและทิพย์สุดา ปทุมานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงฤทธิ์ บุนนาค

วงฤทธิ์ บุนนาค (เกิด วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 -) (ชื่อเล่น: ด้วง) เป็นสถาปนิกและนักออกแบบชาวไทย ผู้ก่อตั้ง บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด ดวงฤทธิ์เป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบในสไตล์โมเดิร์นเรียบง่าย โดยเฉพาะการออกแบบอาคารทรงสี่เหลี่ยมและการเล่นกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ มีผลงานตัวอย่างเช่น โรงแรมคอสต้าลันตา, โรงแรมเดอะนาคา, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และ เดอะแจมแฟคทอรี.

ใหม่!!: สถาปนิกและดวงฤทธิ์ บุนนาค · ดูเพิ่มเติม »

คริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์

วัดเซ็นต์นิโคลัส (ปราก) คริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์ (ภาษาเยอรมนี: Christoph Dientzenhofer; ภาษาเช็ก: Kryštof Dientzenhofer) เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1665 ที่เมืองเซ็นต์มากาเร็ตเธ็น (St. Margarethen) รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1722 ที่เมืองปราก (Prague) สาธารณรัฐเช็ก คริสตอฟเป็นสถาปนิกบาโรกแบบโบฮีเมีย เป็นสมาชิกคนหนึ่งของตระกูลดินเซนฮอฟเฟอร์ซึ่งเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงทางสถาปัตยกรรม และเป็นพ่อของ คิลเลียน อิกนาซ (Kilian Ignaz) คริสตอฟเป็นลูกชายคนหนึ่งในเจ็ดคนของ จอร์จ ดินเซนฮอฟเฟอร์ (Georg Dientzenhofer) และ แอนนา แธนเนอร์ (Anna Thanner).

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 12

ริสต์ศตวรรษที่ 12 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1101 ถึง ค.ศ. 1200.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 13

ริสต์ศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1300.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 14

ริสต์ศตวรรษที่ 14 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1301 ถึง ค.ศ. 1400.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 16

ริสต์ศตวรรษที่ 16 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ. 1600 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ สเปนและโปรตุเกสได้มีการเดินเรือเพื่อออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบโลกใหม.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 17

ริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึง ค.ศ. 1700.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 19

ริสต์ศตวรรษที่ 19 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 21

ริสต์ศตวรรษที่ 21 คือคริสต์ศตวรรษแรกของคริสต์สหัสวรรษที่ 3 และเป็นคริสต์ศตวรรษปัจจุบัน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสต์ศตวรรษที่ 21 · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและคริสโตเฟอร์ เรน · ดูเพิ่มเติม »

คอสมาส ดาเมียน อาซาม

ในวัดอาซาม หน้าต่างเหนือแท่นบูชา ชัยชนะของอพอลโลบนเพดานปราสาทใกล้เรเก็นสเบิร์ก (ค.ศ. 1730) ภาพเขียนบนเพดาน ชัยชนะของนักบุญเบ็นเนดิคแห่งเนอร์เซียที่สำนักสงฆ์ไวน์การ์เต็น คอสมาส ดาเมียน อาซาม (ภาษาเยอรมนี: Cosmas Damian Asam) เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน..

ใหม่!!: สถาปนิกและคอสมาส ดาเมียน อาซาม · ดูเพิ่มเติม »

คิลเลียน อิกนาซ ดินเซนฮอฟเฟอร์

วัดเซ็นต์นิโคลัส (ปราก) คิลเลียน อิกนาซ ดินเซนฮอฟเฟอร์ (ภาษาเยอรมัน: Kilian Ignaz Dientzenhofer; ภาษาเช็ก: Kilián Ignác Dientzenhofer) เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1689 ที่เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก ตายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1751 คิลเลียนเป็นสถาปนิกบาโรกแบบโบฮีเมีย เป็นสมาชิกคนหนึ่งของตระกูลดินเซนฮอฟเฟอร์ซึ่งเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงทางสถาปัตยกรรม และเป็นลูกของ คริสตอฟ ดินเซนฮอฟเฟอร์ (Christoph Dientzenhofer) แม่เป็นชาวโบฮีเมีย ระหว่างมีชีวิตอยู่คิลเลียนทำงานร่วมกับพ่อ และ แจน บลาเลซ ซานทินี อิเกล (Jan Blažej Santini-Aichel) หรือที่รู้จักกันว่า จิโอวานนี ซานทินี (Giovanni Santini) คิลเลียน และ คริสตอฟ เป็นสถาปนิกที่มีบทบาทสำคัญต่อศิลปะบาโรกในสาธารณรัฐเช็ก ทั้งพ่อและลูกมิได้สร้างแต่สิ่งก่อสร้างใหญ่ๆอย่างเช่นมหาวิหาร หรือวัด แต่ยังสร้างบ้านเรือนหรือสิ่งก่อสร้างเล็กๆทั่วไปในสาธารณรัฐเช็ก ผลงานระยะหลังของคิลเลียนมาเสร็จโดยอันเซลโม มาร์ตินโน โลราโก (Anselmo Martino Lurago) ผู้เป็นลูก.

ใหม่!!: สถาปนิกและคิลเลียน อิกนาซ ดินเซนฮอฟเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Faculty of Architecture, Silpakorn University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: สถาปนิกและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน มีทั้งสิ้น 3 กลุ่มวิชา ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามหอสมุดกลาง ติดกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีเนื้อที่ 80 ไร่เศษ แต่เดิมเป็นโรงเรียนช่างบริการส่งเสริมอาชีวศึกษาก่อนที่ยกฐานะเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถือเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ใหญ่และมีพื้นที่การเรียนการสอนมากที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: สถาปนิกและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสี่คณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ร่วมของไทยในสาขาสถาปัตยกรรม และ สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง  (อันดับที่ 101 - 150 ของโลก) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subject.

ใหม่!!: สถาปนิกและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ฆวน เบาติสตา เด โตเลโด

อารามเอลเอสโกเรียล ฆวน เบาติสตา เด โตเลโด (Juan Bautista de Toledo; เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1567) เป็นสถาปนิกและประติมากรชื่อดังจากกรุงมาดริด เขาเกิดในกรุงมาดริดโดยที่ไม่มีข้อมูลในวัยเด็กของเขา ในปี ค.ศ. 1547 โตเลโดเดินทางไปที่กรุงโรม และเข้าเป็นนักเรียนของมีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปที่เมืองเนเปิลส์ ณ ที่นี่เขาได้รับคำสั่งให้เข้าพบอุปราชสเปนแห่งเนเปิลส์นามว่า เปโดร อัลบาเรซ เด โตเลโด เพื่อรับงานเป็นสถาปนิกให้กับจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 เขาได้ออกแบบอาคารหลายหลังที่นั่น รวมทั้งสตราดาดีโตเลโด (Strada di Toledo) โบสถ์ซานจาโกโมเดลยีสปัญญูโวลี (St. Giacomo degli Spagnuoli) และอาคารอื่น ๆ อีกหลายหลัง ในปี ค.ศ. 1559 พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 ทรงเรียกตัวโตเลโดกลับมาที่มาดริด และทรงแต่งตั้งให้เป็นสถาปนิกหลวงแห่งสเปน เงินรายได้ต่อปีของเขาในช่วงแรกอยู่ในระดับที่น้อย ตามนโยบายของวังที่ต้องการทดสอบความสามารถของสถาปนิกและศิลปินที่รับเข้ามาใหม่ในเมืองมาดริด เขาได้ทำการออกแบบปราสาทมีเซรีกอร์เดีย (Casa de la Misericordia) และโครงการปรับปรุงด้านหน้าโบสถ์เดสกัลซัสเรอาเลส (Church de las Descalzas Reales) แห่งวังกัมโป (Casa de Campo) โตโลโดยังได้ทำการออกแบบที่เมืองอาเซกา (Aceca) ที่วังอารังฆูเอซ (Aranjuez) ผลงานชิ้นเอกของโตเลโด คือ เอลเอสโกเรียล แต่ไม่มีโอกาสสร้างเสร็จ เพราะเขาเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและฆวน เบาติสตา เด โตเลโด · ดูเพิ่มเติม »

ฆวน เด เอร์เรรา

ฆวน เด เอร์เรรา ฆวน เด เอร์เรรา (Juan de Herrera; พ.ศ. 2073 - พ.ศ. 2136) เป็นสถาปนิกและนักคณิตศาสตร์ชาวสเปน เอร์เรราเป็นสถาปนิกที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดในราชอาณาจักรสเปนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นผู้นำแนวทางการออกแบบของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปสู่จุดสูงสุดในสเปน ชื่อของเขาได้รับการนำไปเป็นชื่อเล่นของโบสถ์ซานโลเรนโซว่า "เอร์เรเรียโน" (Herreriano) รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เขาสร้างขึ้นได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของยุคพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 และบรรพบุรุษชาวออสเตรียของพระองค์ เอร์เรรามีความสนใจที่หลากหลายตามลักษณะของปราชญ์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หนึ่งในวิชาความรู้ที่เขามีความเชี่ยวชาญมากที่สุดคือ หลักการของรูปทรงและคณิตศาสตร์ (Geometry and Mathematics) เขาได้เข้าร่วมให้การสนับสนุนกองทัพของจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ในการทำสงครามกับเยอรมนี อาณาจักรฟลันเดอส์ และอิตาลี ฆวน เด เอร์เรรา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบายาโดลิดใน ค.ศ. 1548 เขาเริ่มทำงานในฐานะสถาปนิกใน ค.ศ. 1561 โดยทำงานในโครงการพระราชวังแห่งเมืองอารังฆูเอซ (Royal Palace of Aranjuez) ในการสร้างโบสถ์บายาโดลิด ในปี ค.ศ. 1563 เขาได้ทำงานร่วมกับฆวน เบาติสตา เด โตเลโด ค.ศ. 1562 นอกจากนี้เอร์เรราได้เขียนตำราเกี่ยวกับดาราศาสตร์ขึ้นเช่นกัน (Libro del saber de astronomía) หลังจากการเสียชีวิตของฆวน เบาติสตา ใน ค.ศ. 1567 เอร์เรราก็ได้เข้าทำการสานงานต่อในโครงการทั้งหมด หลายโครงการได้มีการปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบที่เอร์เรรา นิยมชมชอบ และได้มีการทดลองสร้างรูปแบบใหม่ ๆ ที่เป็นแบบเรียบง่าย (sober style) แตกต่างจากสถาปัตยกรรมที่อยู่ในยุคนั้น ๆ โดยมีหลักการอยู่ที่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของเส้นนอนที่หนักแน่นและการใช้วัสดุแท้ (nude use of materials) ไม่มีการตกแต่งบนตัววัสดุ เขาได้ทำการออกแบบรูปด้านทางตะวันตกใหม่ทั้งหมด และได้คิคระบบหลังคาขึ้นใหม่ ซึ่งยังคงเป็นรูปแบบที่สถาปนิกชาวสเปนยังคงใช้มาทุกวันนี้ แผนผังของอาสนวิหารบายาโดลิดและหอจดหมายเหตุอินดีสได้รับการออกแบบโดยเอร์เรรา เขาเป็นสถาปนิกที่ออกแบบร่างของจัตุรัส1593.

ใหม่!!: สถาปนิกและฆวน เด เอร์เรรา · ดูเพิ่มเติม »

ซาลอมง เดอ บร็อส

ซาลอมง เดอ บร็อส (Salomon de Brosse; ค.ศ. 1571 - 9 ธันวาคม ค.ศ. 1626) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกชาวฝรั่งเศสผู้มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17 งานชิ้นสำคัญของซาลอมง เดอ บร็อสก็ได้แก่พระราชวังลุกซ็องบูร์สำหรับสมเด็จพระราชินีนาถมารี เดอ เมดิชิที่ออกแบบตามแบบวังพิตติที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ซาลอมง เดอ บร็อสมาจากครอบครัวที่มีหน้ามีตาของอูกโนเป็นหลานทางแม่ของช่างออกแบบฌักที่ 1 อ็องดรูแอ ดูว์ แซร์โซ (Jacques I Androuet du Cerceau) และลูกของสถาปนิกฌ็อง เดอ บร็อส เดอ บร็อสก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกในกรุงปารีสในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและซาลอมง เดอ บร็อส · ดูเพิ่มเติม »

ซาฮา ฮาดิด

ซาฮา ฮาดิด ซาฮา ฮาดิด (زها حديد; Zaha Hadid, 31 ตุลาคม ค.ศ. 1950 – 31 มีนาคม ค.ศ. 2016) เป็นสถาปนิกหญิงชาวอิรัก-อังกฤษ แนวดีคอนสตรักติวิสซึมชื่อดังของอังกฤษ ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ในปี ค.ศ. 2004 และได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลในหมวดหมู่นักคิดจากนิตยสารไทม์ในปี ค.ศ. 2010 ฮาดิด เกิดที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ได้รับปริญญาทางคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งกรุงเบรุต ก่อนที่จะเข้ารับการศึกษาต่อทางด้านสถาปัตยกรรมที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม ในกรุงลอนดอน หลังจบการศึกษา เธอได้กลายมาเป็นหุ้นส่วนของสำนักงานสถาปัตยกรรมเมโทรโปลิตัน ทำงานร่วมกับ เร็ม คูลฮาส สถาปนิกชื่อดังชาวดัชท์ ที่เคยเป็นอาจารย์ของเธอ ในปีค.ศ. 1979 เธอยังได้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกของตนเองขึ้นในกรุงลอนดอน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1980 เธอยังได้เป็นอาจารย์ในสถาบันเอไอเออีกด้วย ผลงานบางส่วนของซ.

ใหม่!!: สถาปนิกและซาฮา ฮาดิด · ดูเพิ่มเติม »

ซินาน

ซินาน หรือมีชื่อเต็มว่า โคกา มิมาร์ ซินาน อากา (Koca Mimar Sinan Agha - Ḳoca Mi‘mār Sinān Āġā (Ottoman Turkish: قوجه معمار سنان آغا) อีกชื่อที่เรียกกันคือ มิมาร์ ซินาน (15 เมษายน, ค.ศ. 1489 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588) เป็น สถาปนิกหลวง (Chief architect) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1, สุลต่านเซลิมที่ 2 และสุลต่านมูราดที่สาม ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ มัสยิดเซลิมที่เมืองเอเดอร์เน แต่งานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงที่สุดคือ คือ มัสยิดสุไลมานในเมืองอิสตันบูล ซินานยังนับได้ว่าเป็น วิศวกรแผ่นดินไหวคนแรกของโลกอีกด้วย มัสยิด เซลิมี (Selimiye Mosque) สร้างโดย ซินาน ในปี ค.ศ. 1575 ที่เมืองเออร์ดี ประเทศ ตุรกี ภาพ ซินาน ใน ธนบัตรแบบเก่าของตุรกี มิมาร์เป็นชาวคริสต์โดยกำเนิด มาจากครอบครัวในอานาโตเลียที่เมืองเล็กๆ ชื่อ อากีร์นา(Ağırnas) ใกล้กับเมือง กีเซอรี (Kayseri) สันนิษฐานว่าครอบครัวมีสายเลือดกรีก หรืออาร์มีเนีย ในปี ค.ศ.1511 เขาได้ถูกครอบครัวส่งตัวมาตามธรรมเนียมการส่งลูกชายคนหัวปีเพื่อให้ไป รับใช้ในอาณาจักรผู้ปกครอง ให้มาใช้แรงงานใน อาณาจักรอ๊อตโตมาน ที่เมืองอิสตันบูล โดย ณ ที่นี้ เขาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม มิมาร์ได้มีโอกาสรับใช้ขุนนางผู้ใหญ่ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชาผู้เป็นมหาเสนาบดี (Grand Vizier İbrahim Paşa) และได้ถูกสนับสนันให้เล่าเรียนในสังกัดของขุนนางผู้นี้ และได้รับการตั้งชืออิสลามว่า "ซินาน" หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการเล่าเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้าง สามปีผ่านไปก็มีฝีมือแกร่งกล้าขึ้น จนได้เข้าร่วมกับกองทัพของสุลต่าน เซลิม ที่หนึ่ง ในช่วงแผนขยายดินแดนของอาณาจักร ซินานได้รับราชการทหารทำงานในกองวิศวกรรม (engineering corps) เมื่อครั้งอาณาจักรออตโตมัน เข้ายึดกรุงไคโรได้เป็นผลสำเร็จ ซินานได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสถาปนิกเอก โดยรับหน้าที่รื้อถอนอาคารที่ไม่ตรงกับผังเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการกองพันทหารราบ (commander of an infantry division) แต่เขาก็ขอย้ายตัวเองไปอยู่กองสรรพาวุธแทน ในครั้งที่มีการทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ในปี 1535 ซินานรับผิดชอบในการสร้างกองเรือ ข้ามทะเลสาบ แวน เนื่องด้วยความชอบดังกล่าว ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์ (Haseki'i หรือ Sergeant-at-Arms) ในองค์สุลต่าน ซึ่งเป็น ยศที่สูงมาก งานสถาปัตยกรรมชิ้นแรกของ ซินาน คือ มัสยิด เซเซด (Şehzade Mosque) สร้างในปี ค.ศ.1548 เขาได้ทำการก่อสร้าง มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในปี ค.ศ.1550 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1557. ก่อนหน้านี้ ไม่มีอาคารมัสยิดแห่งใด้ที่สร้างด้วยหลังคา Dome on Pendentives โดยใช้หลักการเดียวกับ มัสยิด เฮเจีย โซเฟีย (Hagia Sophia)มาก่อน ซินานได้เขียน ประวัติชีวิตของตัวเอง ชื่อ “Tezkiretü’l Bünyan”, โดยได้กล่าวถึงงาน ส่วนตัว เกี่ยวกับ มัสยิดเซลิมี โดยมีส่วนหนึ่งในหนังสือ บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งหนึ่ง ซินานได้มีโอกาสพบปะกับสถาปนิกชาวคริสเตียน สถาปนิกคนนี้ได้กล่าวเยาะเย้ยซินานว่า "ท่านไม่มีทางที่จะสร้างโดมที่ใหญ่กว่าโดมของเฮเจีย โซเฟียได้ โดยเฉพาะในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิม" คำพูดประโยคนั้น เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ซินานสร้างมัสยิด เซลิมี ขึ้นมา และเมื่อโครงการสำเร็จลง ซินานได้บันทึกไว้ว่า มัสยิดเซลิมี มีโดมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทิ้ง เฮเจีย โซเฟียไปมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสูงจากระดับพื้นของ มัสยิดเซลิมี นั้นไม่ได้สูงเท่า เฮเจีย โซเฟีย และ เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมก็ใหญ่กว่าเพียงครึ่งเมตร (เทียบกับโดมที่อายุเก่าแก่กว่าถึงพันปีอย่าง เฮเจีย โซเฟีย) อย่างไรก็ตาม หากนับจากฐานของมัสยิดแล้ว เซลิมี ก็มีความสูงมากกว่า และมีคุณสมบัติของความเสถียรมากกว่า และมีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีความเรียบง่ายมากกว่า ในขณะที่ มัสยิดเซลิมี เสร็จลงนั้น ซินานมีอายุ 80 ปี ซินาน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1588 ศพของเขาได้รับการฝังไว้ใน หลุมศพนอกกำแพงของ มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในส่วนพื้นที่ทางเหนือ ตรงข้ามกับถนนชื่อ มิมาร์ ซินาน คาเดซิ (Mimar Sinan Caddesi) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับเขา นอกจากนี้ชื่อของเขายังได้รับการนำไปตั้งกับแอ่งบนดาวพุธ (crater on Mercury) อีกด้วย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2032 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวตุรกี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:วิศวกรชาวตุรกี หมวดหมู่:ชาวตุรกี.

ใหม่!!: สถาปนิกและซินาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเวศ ลิมปรังษี

ประเวศ ลิมปรังษี ประเวศ ลิมปรังษี (17 กันยายน พ.ศ. 2473 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561) เป็นสถาปนิกชาวไทย เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รับราชการจนดำรงตำแหน่ง ผู้ราชการจนดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (สถาปนิก 9) ด้านบูรณปฏิสังขรณ์ กรมศิลปากรในปัจจุบัน กรมศิลปากร มีผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมยาวนานกว่า 30 ปี ทั้งการออกแบบผูกลายไทย มีผลงานทั้งในและต่างประเทศ เช่น การออกแบบพระอุโบสถวัดพุทธประทีป ณ มหานครลอนดอน พลับพลาพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบรมมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวงพระเมรุมาศพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และบูรณะพระธาตุพนม เป็นต้น ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและประเวศ ลิมปรังษี · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโตร ดา กอร์โตนา

ปีเอโตร ดา กอร์โตนา หรือ ปีเอโตร แบร์เรตตีนี (Pietro da Cortona หรือ Pietro Berrettini) (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1596 - 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1669) เป็นจิตรกรและสถาปนิกของสมัยบาโรกสูงคนสำคัญชาวอิตาลีของในคริสต์ศตวรรษที่ 17 งานที่รู้จักกันดีของดา กอร์โตนาคืองานเขียนจิตรกรรมฝาผนัง แต่ก็ไม่ด้อยไปกว่าความสามารถทางด้านการเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรม แม้ว่าดา กอร์โตนาจะมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อศิลปินร่วมสมัย แต่ชื่อเสียงในปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึงเช่นศิลปินที่ถือกันว่าเป็นศิลปินชั้นปรมาจารย์เช่นคาราวัจโจ จานโลเรนโซ แบร์นินี หรือฟรานเซสโก บอโรมิน.

ใหม่!!: สถาปนิกและปีเอโตร ดา กอร์โตนา · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ พาร์เลอร์

ซางวิตูส ปีเตอร์ พาร์เลอร์ (Peter Parler) (ราว ค.ศ. 1330 – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1399 ที่เมืองปราก) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน ที่มามีชื่อเสียงในกรุงปราก ได้รับการยกย่องจากผลงานการก่อสร้าง มหาวิหารเซนต์ไวทัส (Saint Vitus Cathedral) และ สะพานชาร์ลส์ (Charles Bridge) ในเมืองปราก ซึ่งเป็นที่พำนักของพาร์เลอร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1356 ปีเตอร์ พาร์เลอร์ เป็นสมาชิกของตระกูลพาร์เลอร์ที่เป็นตระกูลช่างก่อสร้างและมีเครือญาติกระจัดกระจายออกไปทั้งยุโรป ไฮน์ริคท์ พาเลอร์ บิดาของเขา ได้พาครอบครัวมาอยู่ที่เมือง ชเวบิชกมึนด์ (Schwäbisch Gmünd) เพื่อทำงานในโครงการก่อสร้างซ่อมแซมวัดโฮลีครอสที่พังทลายลง ปีเตอร์เองก็ได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างจากครอบครัวมาตลอดชีวิต ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและปีเตอร์ พาร์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ ไอเซนมาน

ปีเตอร์ ไอเซนมาน ปีเตอร์ ไอเซนมาน (Peter Eisenman) (เกิด 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 ใน นิวอาร์ค นิวเจอร์ซีย์) สถาปนิกชาวอเมริกัน ผู้คิดฟอร์ม(รูปทรงรูปร่างสถาปัตยกรรม) โดยได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นสถาปนิกในกลุ่มแนวดีคอนสตรักทิวิสม์ (ผู้รื้อถอนโครงสร้าง) ถึงแม้ว่าตัว ปีเตอร์ ไอเซนมาน จะพยามหลีกเลี่ยงใช้ชื่อดังกล่าว เขามีบทโต้เถียงต่างๆที่ยังทำให้เขาปรากฏตัวอยู่ในสายตาประชาชน และในบทความวิชาการต่างๆ ทฤษฏีของไอเซนมานคือการปล่อยให้สถาปัตยกรรม มีอิสรภาพ โดยไม่อ้างอิงการขึ้นฟอร์มหรือรูปทรงจากความหมายใดทั้งสิ้น ซึ่งเป็นส่วนซึ่งยากที่จะยอมรับจากหลายๆฝ่าย เขามักจะมีความสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมกับนักวิชาการต่างๆในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น Colin Rowe ที่ปรึกษาชาวอังกฤษ Manfredo Tafuri นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาเลียน รวมถึง นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส นาม Jacques Derrida ซึ่งมีอิทธิผลต่องานออกแบบของไอเซนมานอย่างมาก ไอเซนมานมักจะถูกพบอยู่ในชุดหูกระต่ายและเสื้อนอกสีดำ ในวัยเด็ก ปีเตอร์ ไอเซนมาน ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยม โคลัมเบีย ใน เมเปิ้ลวูดส์ นิวเจอร์ซีย์ ก่อนที่จะค้นพบความสนใจในสถาปัตยกรรม เมื่อเรียนอยู่ในระดับปริญญาตรี ในมหาลัยคอร์เนลล์ โดยสละเวลาและการเป็นนักว่ายน้ำของมหาลัยเพื่อจะใช้เวลากับสถาปัตยกรรม หลังจากที่เขาได้รับ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ไอเซนมานยังได้รับสถาปัตยกรรมมหาบัณฑิต(สาขาการวางแผนและการอนุรักษ์) จากมหาลัยโคลัมเบีย รวมถึง ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต และ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จากมหาลัย แคมบริดจ์ และปริญญากิตติมศักดิ์ จากมหาลัยไซราครูซ ในปี 2007 ปัจจุบัน ปีเตอร์ ไอเซนมาน จัดสัมมนาทางทฤษฎี แล้วสตูดิโอห้องปฏิบัติการออกแบบชั้นสูง ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาลัยเยล ไปเซนมานเปนญาติของสถาปนิก ริชาร์ด ไมเออร์ (ทั้งคู่เป็นสมาชิกของกลุ่ม นิวยอร์ก ไฟฟ์).

ใหม่!!: สถาปนิกและปีเตอร์ ไอเซนมาน · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน ฟอสเตอร์

นอร์มัน รอเบิร์ต ฟอสเตอร์, บารอนฟอสเตอร์แห่งเทมส์แบงก์ (Norman Robert Foster, Baron Foster of Thames Bank) เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1935 เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษซึ่ง มีผลงานออกแบบผลงานระดับนานาชาติ เขาเป็นผู้ออกแบบอาคารสำนักงานที่เป็นจุดเด่นมากที่สุดคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี 2009 เขาได้รับรางวัลพรินท์เฟลีเปออฟอัสตูเรียส ในสาขาศิลปะ และได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและนอร์มัน ฟอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นารถ โพธิประสาท

อาจารย์นารถ โพธิประสาท ภาพวาดโดยอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร ตำราสถาปัตยกรรมภาษาไทยเล่มแรกแต่งโดยอาจารย์ นารถ โพธิประสาท พ.ศ. 2487 ภาพวาดอาจารย์นารถ โพธิประสาทในบั้นปลายชีวิต-ไม่ทราบชื่อผู้วาด อาจารย์นารถ โพธิประสาท (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นสถาปนิก อาจารย์ชาวไทย เขาคือผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาแห่งแรกของประเทศไทย ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ร่วมสถาปนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศ นารถยังเป็นผู้แต่งหนังสือ สถาปัตยกรรมในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูล ลักษณะ ที่มาที่ไป ข้อมูลรังวัดของสถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงยุครัตนโกสินทร์ เป็นเล่มแรกๆ และถือเป็นหนังสือเรียนเล่มแรกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปนิกและนารถ โพธิประสาท · ดูเพิ่มเติม »

นิธิ สถาปิตานนท์

นิธิ สถาปิตานนท์ เกิด 7 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและนิธิ สถาปิตานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮอคสมอร์

นิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) (ราว ค.ศ. 1661 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1736) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอังกฤษของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเฮาเวิร์ด โคลวินบรรยายฮอคสมอร์ว่าเป็นสถาปนิกผู้ "มีความมั่นใจในความรู้ทางคลาสสิกกว่าจอห์น แวนบรูห์ผู้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรม, มีจินตนาการการเห็นการไกลมากกว่าผู้รอบรู้เช่นคริสโตเฟอร์ เร็น" ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปนิกและนิโคลัส ฮอคสมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

น็อกซ์

น็อกซ์ เป็นสำนักงานสถาปนิกออกแบบ ก่อตั้งมาตั้งแต่ต้นปีคริสต์ศักราช 1900 โดยโมรีซ นีโอ และลาร์ส สปุยโบรก งานของน็อกซ์เน้าการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมและสื่อหลากหลายประเภท ซึ่งสำนักงานออกแบบนี้ได้พัฒนาความเป็นไปได้ในการสร้างอาณาเขตทางสถาปัตยกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้.

ใหม่!!: สถาปนิกและน็อกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2410 — 9 เมษายน พ.ศ. 2502) สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์ เกิดที่ เมืองริชแลนด์เซนเตอร์ ใน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และลาออกไปทำงานด้านสถาปัตยกรรมทั้งที่เรียนไม่จบ เขาอาศัยและตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองโอกพาร์ก บริเวณชานเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่รวบรวมบ้านพักที่เขาออกแบบไว้กว่า 50 หลังรวมทั้งตัวสำนักงานและบ้านพักของเขาด้วย ผลงานการออกแบบในช่วงแรกของไรต์มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "Prairie Houses" ไรต์มีผลงานทั้งหมด 362 ชิ้น และประมาณการว่ายังคงอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2005) ประมาณ 300 ชิ้น.

ใหม่!!: สถาปนิกและแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ เกห์รี

แฟรงก์ โอเวน เกห์รี (Frank Owen Gehry) (ชื่อแต่กำเนิดคือ Ephraim Owen Goldberg; เกิด:28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 -), Globe and Mail, July 28, 2010 เป็นสถาปนิกสัญชาติแคนาดา-อเมริกัน ปัจจุบันอาศัยในนครลอสแอนเจลิส จากผลงานออกแบบมากมายและแตกต่างจากยุคก่อนหน้านี้ ทำให้ในเวลาต่อมาชื่อของของเขาก็ได้กลายเป็นที่สนใจในหมู่สถาปนิกระดับโลก เขาได้รับการสรรเสริญว่า "งานของเกห์รี เป็นงานที่มีสำคัญที่สุดในวงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัย" โดยเวิลด์อเมริกันเซอร์เวย์ (World Architecture Survey) ในปี 2010 รวมไปถึง "สถาปนิกที่มีความสำคัญที่สุดในยุคสมัยของพวกเรา" จาก วานิตีแฟร์ (Vanity Fair) เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ซ่งเป็นรางวัลสูงสุดในสายวิชาชีพสถาปนิกในปี 1989 และรางวัลอื่นๆอีกมาก รวมถึงได้ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยระดับโลกอีกหลายที่เช่น มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เป็นต้น ผลงานของ แฟรงก์ เกห์รี นั้นมีหลากหลายรวมถึงอาคารพักอาศัย พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ผลงานที่มีชื่อของเขาได้แก่ พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ ในเมืองบิลเบา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นอาคารที่มีไทเทเนียมเป็นวัสดุหลัก วอลต์ดิสนีย์คอนเสิร์ตฮอลล์ที่ ลอสแอนเจลิส และแดนซิงเฮาส์ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก อาคารเรย์แอนด์มาเรียสตาตาเซนเตอร์ ในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในเมืองแคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ อาคาร8 สปรูซสตรีท ในแมนฮัตตัน นิวยอร์ก เป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปนิกและแฟรงก์ เกห์รี · ดูเพิ่มเติม »

แร็ม โกลฮาส

แร็มเมินต์ ลือกัส "แร็ม" โกลฮาส (Remment Lucas "Rem" Koolhaas; เกิด 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944, โรตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์) เป็นสถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์ นักทฤษฎีสถาปัตยกรรม และนักวางผังเมืองชาวดัตช์ ผู้ที่ได้ศึกษาด้านสถาปัตยกรรมที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม (Architectural Association School of Architecture) ในกรุงลอนดอน เขาเป็นประธานของสำนักงานสถาปัตยกรรมมหานคร (OMA) และสตูดิโอเพื่อการวิจัยที่มีชื่อว่า "อาโม" (AMO) ในเมืองโรตเตอร์ดัม โกลฮาสยังเป็นศาสตราจารย์ด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมืองของบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร.

ใหม่!!: สถาปนิกและแร็ม โกลฮาส · ดูเพิ่มเติม »

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ระดับวุฒิสถาปนิก แนวความคิดในการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมแต่ละสาขา ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเดิม (ก่อน พ.ร.บ. สภาสถาปนิก 2543) เรียกย่อว่า ก.. เป็นเอกสารรับรองของสถาปนิกในการออกแบบและเซ็นรับรองแบบ ที่รับรองโดยสภาสถาปนิก ในปัจจุบันมีอยู่ 4 สาขาด้วยกันได้แก่ สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรมผังเมือง และ ภูมิสถาปัตยกรรม ใบประกอบวิชาชีพฯมี 4 ระดับเรียงจากสูงไปต่ำ คือ วุฒิสถาปนิก สามัญสถาปนิก ภาคีสถาปนิก และ สถาปนิกภาคีพิเศษขอบเขตงานที่ควบคุมในสาขาต่างๆ ถูกกำหนดไว้โดยในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2549) ว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม กฎกระทรวงการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมนี้ ได้มีการกำหนดให้งานสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาต่างๆ ทั้ง 4 สาขานั้น ผู้ดำเนินการงานออกแบบ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ ศึกษาโครงการ บริหารและอำนวยการก่อสร้าง ต้องเป็นสถาปนิก (แต่ละสาขา) ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในระดับขั้นต่างๆกันไป ตามขอบเขตของงาน.

ใหม่!!: สถาปนิกและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ บาลทาซาร์ น็อยมัน

ันน์ บาลทาซาร์ น็อยมัน ภายในมหาวิหารเฟียร์เซ็นไฮลิเก็น โยฮันน์ บาลทาซาร์ น็อยมัน (Johann Balthasar Neumann; 27 มกราคม ค.ศ. 1687 - 19 สิงหาคม ค.ศ. 1753) เป็นวิศวกรทางยุทธศาสตร์ และ สถาปนิกชาวเยอรมันสมัยบาโรกที่ผสมผสานการออกแบบจากหลายประเทศเข้าด้วยกัน เช่น ประเทศออสเตรีย ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี และ โบฮิเมีย โดยออกมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สง่างามเช่นที่ วังเวิทซเบิร์ก (Würzburg Residence) และ มหาวิหารเฟียร์เซ็นไฮลิเก็น (Vierzehnheiligen) ที่ใกล้เมืองแบมเบิร์ก (Bamberg) สิ่งก่อสร้างทั้งสองถือว่าเป็นงานชิ้นเด่นของยุคนั้น งานชิ้นสุดท้ายของน็อยมันคือ “Visitation of Mary” ที่เอลมานอัมเมน (Eltmann am Main) ซึ่งเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของศิลปะบาโรก น็อยมันเกิดที่เมืองเช็ป (Cheb) ปัจจุบันอยู่ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก ย้ายไปเวิทซเบิร์กเมื่อ.

ใหม่!!: สถาปนิกและโยฮันน์ บาลทาซาร์ น็อยมัน · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ดินเซนฮอฟเฟอร์

Schloss Weissenstein โยฮันน์ ดินเซนฮอฟเฟอร์ (ภาษาเยอรมนี: Johann Dientzenhofer) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1663 ที่เมืองเซ็นต์มากาเร็ตเธ็น (St. Margarethen) รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตายเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1726 ที่เมืองแบมเบิร์ก (Bamberg) โยฮันน์เป็นลูกชายคนหนึ่งในเจ็ดคนของ จอร์จ ดินเซนฮอฟเฟอร์ (Georg Dientzenhofer) และ แอนนา แธนเนอร์ (Anna Thanner).

ใหม่!!: สถาปนิกและโยฮันน์ ดินเซนฮอฟเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์

ตรกรรมเขียนสีปูนเปียกที่วัดเซ็นต์ไมเคิล ที่เมืองเบิร์ก อัม เลม (St. Michael, Berg am Laim) จิตรกรรมปูนเปียก ที่ วังนิมเฟ็นเบิร์ก ภายในสำนักสงฆ์อ็อตโตบิวเร็น ภายในวัดวีส์ เซ็นต์ไมเคิล ที่เบิร์ก อัม เลม โยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์ (Johann Baptist Zimmermann) เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1680 ที่หมู่บ้านไกส์พ้อยน์ (Gaispoint) ใกล้เมืองเวสโซบรุน (Wessobrunn) เสียชีวิตวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและโยฮันน์ แบพทิสท์ ซิมเมอร์มันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต อาดัม

รเบิร์ต อาดัม (Robert Adam) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1728 - 3 มีนาคม ค.ศ. 1792) เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และสถาปนิกของสมัยฟื้นฟูคลาสสิกคนสำคัญชาวสกอตของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 งานชิ้นสำคัญของชาญโรเบิร์ต อาดัมก็ได้แก่คฤหาสน์ไซออน (Syon House), ปราสาทคัลแอนน (Culzean Castle), คฤหาสน์เคดเลสตัน (Kedleston Hall) และ สะพานพัลเทนีย์ (Pulteney Bridge) โรเบิร์ตเป็นลูกของสถาปนิกวิลเลียม อาดัม (ค.ศ. 1689–ค.ศ. 1748) ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญของสกอตแลนด์ในยุคนั้น และโรเบิร์ตก็ได้รับการศึกษาและฝึกฝนโดยบิดาพร้อมกับพี่ชายจอห์น หลังจากบิดาเสียชีวิตโรเบิร์ตก็ดำเนินธุรกิจของครอบครัวต่อที่รวมทั้งกิจการที่ทำเงินดีกับ Board of Ordnance ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและโรเบิร์ต อาดัม · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต เวนทูรี

รเบิร์ต ชาร์ล เวนทูรี จูเนียร์ (Robert Charles Venturi, Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1925 ในฟิลาเดลเฟีย เป็นสถาปนิกชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งบริษัท เวนทูรี, สก็อต บราวน์และเพื่อน โรเบิร์ต เวนทูรีและภรรยาของเขา เดนิส สก็อต บราวน์ ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทกับสถาปนิกในศตวรรษที่ 20 ผ่านผลงานของทั้งคู่ด้านสถาปัตยกรรมและผัง และทฤษฎีการเขียนและการสอน เวนทูรีได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ในด้านสถาปัตยกรรมในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและโรเบิร์ต เวนทูรี · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ แพกซ์ตัน

ซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน เซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน (Sir Joseph Paxton; 3 สิงหาคม พ.ศ. 2346 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2408) นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิกชาวอังกฤษ เกิดใกล้เมืองวอเบิร์น เบดฟอร์ดไชร์ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรของชาวน.

ใหม่!!: สถาปนิกและโจเซฟ แพกซ์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโอะ อิโต

ตโย อิโตะ เป็นวิทยากรบรรยายในงาน CAADRIA 2006 ณ เมืองคุมะโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น โทะโยะโอะ อิโต (พ.ศ. 2484 –) หรือในชื่อ โตโย อิโต (Toyo Ito) เป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "หนึ่งในสุดยอดสถาปนิกที่มีพลังสร้างสรรค์และอิทธิพลในวงการสถาปัตยกรรมมากที่สุดคนหนึ่ง" อิโตโด่งดังจากการสร้างอาคารที่มีแนวคิดแหวกแนวสุดโต่ง โดยที่เขาพยายามจะหลอมโลกทางกายภาพกับจินตภาพเข้าด้วยกัน เขาเป็นผู้นำในการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีความเป็น"เมืองแห่งจินตนาการ"ร่วมสมัย อิโตเป็นชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: สถาปนิกและโทะโยะโอะ อิโต · ดูเพิ่มเติม »

โดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์

วัดนักแสวงบุญที่เมืองชไตน์เฮาส์เซ็น (Steinhausen an der Rottum) โดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์(Dominikus Zimmermann) เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน..

ใหม่!!: สถาปนิกและโดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์ · ดูเพิ่มเติม »

โดนาโต ดันเจโล บรามันเต

โดนาโต ดันเจโล บรามันเต โดนาโต ดันเจโล บรามันเต (ค.ศ. 1444 - 11 มีนาคม ค.ศ. 1514) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำรูปแบบหรือสไตล์ที่เรียกว่าเออร์ลี่เรเนซองส์เข้ามาในเมืองมิลาน และไฮเรเนซองส์สู่โรม ซึ่ง ณ โรมแห่งนี้ เขาได้ทำการออกแบบผลงานที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกได้แก่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1987 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: สถาปนิกและโดนาโต ดันเจโล บรามันเต · ดูเพิ่มเติม »

ไมเคิล เกรฟส์

อาคารฮูมานา ในหลุยส์วิลล์ ซึ่งเป็นอาคารที่เขาได้ออกแบบ ไมเคิล เกรฟส์ (Michael Graves) (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2558) เป็นสถาปนิกชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในฐานะ 1 ใน เดอะนิวยอร์กไฟฟ์ เขายังมีงานออกแบบของใช้ภายในครัวเรือนวางขายในร้านทาร์เกตในสหรัฐอเมริกา เกรฟส์เกิดในอินเดียแนโพลิส รัฐอินดีแอนา เขาศึกษาจากโรงเรียนบรอดริปเปิลไฮสคูล ระดับ diploma ในปี 1950 เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยซินซินเนติ จากนั้นศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เริ่มทำงานด้านสถาปนิก ทำงานฝึกหัดที่พรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ เขาเปิดบริษัทที่ชื่อไมเคิล เกรฟส์ แอนด์ แอสโซซิเอตส์ มีสำนักงานอยู่ในพรินซ์ตันและนครนิวยอร์ก นอกจากผลงานออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านแล้ว เกรฟส์ยังมีงานในหลากหลายด้านธุรกิจและอาคารที่อยู่อาศัยรวมถึงการออกแบบภายใน เกรฟส์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกของสถาบันสถาปนิกอเมริกันในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและไมเคิล เกรฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอ. เอ็ม. เพ

อ.

ใหม่!!: สถาปนิกและไอ. เอ็ม. เพ · ดูเพิ่มเติม »

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: สถาปนิกและไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์นาร์ด ชูมี

เบอร์นาร์ด ชูมี (Bernard Tschumi) เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1944 ในเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นสถาปนิก นักเขียน และนักศึกษาศาสตร์ เขามีส่วนร่วมกับสถาปัตยกรรมดีคอนสตรักทิวิสม์ เขาเกิดในครอบครัวชาวฝรั่งเศสและสวิส เขาทำงานและอยู่ที่นิวยอร์กและปารีส เขาศึกษาที่ปารีสและที่สถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูริก ที่เขาได้รับสถาปัตยกรรมบัณฑิตในปี 1969 ชูมีสอนที่ Portsmouth Polytechnic ในพอร์ตสมัท สหราชอาณาจักร, สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรมในลอนดอน, Institute for Architecture and Urban Studies ในนิวยอร์ก, มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน, Cooper Union ในนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่เขาเป็นคณบดี Graduate School of Architecture, Planning and Preservation ระหว่างปี 1988 ถึง 2003 ชูมีเป็นพลเมืองถาวรอเมริกัน หมวดหมู่:สถาปนิกชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:สถาปนิกชาวสวิส หมวดหมู่:บุคคลจากโลซาน หมวดหมู่:บุคคลจากสมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: สถาปนิกและเบอร์นาร์ด ชูมี · ดูเพิ่มเติม »

เยิร์น อุตซอน

รงอุปรากรซิดนีย์ เยิร์น โอเบิร์ก อุตซอน (Jørn Oberg Utzon; 9 เมษายน ค.ศ. 1918 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008) เป็นสถาปนิกชาวเดนมาร์ก เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบโรงอุปรากรซิดนีย์ และเมื่อโรงอุปรากรซิดนีย์ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน..

ใหม่!!: สถาปนิกและเยิร์น อุตซอน · ดูเพิ่มเติม »

เรนโซ เปียโน

รนโซ เปียโน (Renzo Piano) (14 กันยายน พ.ศ. 2480) สถาปนิกชาวอิตาลี เกิดที่เมืองเจนัว และได้รับการศึกษาที่โพลีเทคนีโกดีมีลาโน (มิลานโพลีเทคนิค) เขาได้ทำงานกับ หลุยส์ คาห์น และ มาโคว์สกี ในระหว่างปี 1965-1970 ต่อมาในช่วง 1971-1977 ก็ได้ทำงานร่วมกับ ริชาร์ด โรเจอรส์ โดยผลงานที่มีชื่อเสียงคือ Centre Georges Pompidou ที่กรุงปารีส เรนโซ เปียโนได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและเรนโซ เปียโน · ดูเพิ่มเติม »

เลอกอร์บูซีเย

ลอกอร์บูซีเย (Le Corbusier) เป็นนามแฝงของ ชาร์ล-เอดูอาร์ จาเนอเร-กรี (Charles-Édouard Jeanneret-Gris) สถาปนิก นักผังเมือง มัณฑนากร จิตรกร และนักเขียน เกิดเป็นชาวสวิสในภูมิภาคที่ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ แต่แปลงสัญชาติเป็นชาวฝรั่งเศสเมื่ออายุ 43 ปี เกิดที่เมืองโช-เดอ-ฟง (Chaux-de-Fonds) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 และเสียชีวิตที่เมือง รอกเกอบรุน-กัป-มาร์ตัง (Roquebrune-Cap-Martin) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม..

ใหม่!!: สถาปนิกและเลอกอร์บูซีเย · ดูเพิ่มเติม »

เลอสม สถาปิตานนท์

ตราจารย์ เลอสม สถาปิตานนท์ (16 มีนาคม 2492) (นามสกุลเดิม อุรัสยะนันทน์) เป็นสถาปนิกชาวไทย รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีและอาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลอสม เกิดและเติบโต ในครอบครัวที่เป็นสถาปนิกอย่างแท้จริง ทั้งบิดาและมาราดาล้วนเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังเป็นภรรยาของนิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม และผู้ก่อตั้งบริษัทเอ 49 เขาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอย่างยาวนาน เป็นอาจารย์ที่นิสิตชั้นปี 1 คณะสถาปัตย์ ในเกือบทุกภาควิชา ต้องได้ร่ำเรียนกั.เลอสม ทุกคน.เลอสม ยังเป็นผู้ร่วมออกแบบอาคารหลายแห่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาทิเช่น อาคารมหาจักรีสิรินธร อาคารจามจุรี 5 อาคารวิทยกิตติ์ เป็นต้น เลอสม ยังเป็นผู้แต่งหนังสือพื้นฐานในงานออกแบบสถาปัตยกรรม หลายเล่ม ทั้ง การออกแบบเบื้องต้น: Introduction to Design,การออกแบบคืออะไร?: What Is Design?, เทคนิคในการออกแบบ: Design Technique เป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปนิกและเลอสม สถาปิตานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี

ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ ลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ (Leon Battista Alberti) (18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 1947 – 25 เมษายน พ.ศ. 2015) เป็นผู้รู้รอบด้าน ผู้เป็นปราชญ์ สถาปนิก นักเขียน กวี นักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักถอดรหัส ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน ผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาของศิลปวิทยาการในยุคเรอเนซอง.

ใหม่!!: สถาปนิกและเลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี · ดูเพิ่มเติม »

เลินฮาร์ด ดินเซนฮอฟเฟอร์

้านหน้าอารามเซ็นต์ไมเคิล (Monastery Church St. Michael) (แบมเบิร์ก) เลินฮาร์ด ดินเซนฮอฟเฟอร์ (ภาษาเยอรมนี: Leonhard Dientzenhofer หรือ Johann Leonhard Dientzenhofer) เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1660 ที่เมืองเซ็นต์มากาเร็ตเธ็น (St. Margarethen) รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ตายเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1707 ที่เมืองแบมเบิร์ก เลินฮาร์ดมีอาชีพเป็นช่างก่อสร้างและสถาปนิก คนหนึ่งของตระกูลดินเซนฮอฟเฟอร์ผู้มีชื่อเสียงทางสถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: สถาปนิกและเลินฮาร์ด ดินเซนฮอฟเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: สถาปนิกและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

ใหม่!!: สถาปนิกและเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มวีอาร์ดีวี

Mirador, Madrid เอ็มวีอาร์ดีวี (MVRDV) เป็นสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมือง ตั้งอยู่ในนครรอตเทอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 ชื่อของสำนักงานเป็นตัวอักษรย่อของคณะผู้ก่อตั้งได้แก่ วินี มาส (M - เกิดเมื่อปีค.ศ. 1959) จาคอบ แวน ริจ (VR - เกิดเมื่อปีค.ศ. 1964) และ นาตาลี เดอ วรี (DV - เกิดเมื่อปีค.ศ. 1965) มาส กับ แวนริจ เคยทำงานที่สำนักงานสถาปัตยกรรมเมโทรโปลิตัน และสำนักงานสถาปนิกของเร็ม คูลฮาส ส่วนเดอ วรี เคยทำงานที่เมคานูก่อนจะมาร่วมกันก่อตั้งเอ็มวีอาร์ดีวี งานชิ้นแรกที่ได้สร้าง ได้แก่สำนักงานใหม่ของ วีโปร ในเมืองฮิลเวอร์ซัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1993 - ค.ศ. 1997) ผลงานออกแบบอื่นๆที่ได้รับการก่อสร้างได้แก่ อาคารพักอาศัยโวโซโค ในนครอัมสเตอร์ดัม (ค.ศ. 1994 - ค.ศ. 1997) และศาลาดัชท์ที่เอ็กซ์โป 2000 ที่เมืองฮานโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 1997 - ค.ศ. 2000).

ใหม่!!: สถาปนิกและเอ็มวีอาร์ดีวี · ดูเพิ่มเติม »

เฮลมุต ยาห์น

ซนีเซนเตอร์ ผลงานที่สำคัญของ เฮลมุต ยาห์น เฮลมุต ยาห์น (Helmut Jahn; 4 มกราคม พ.ศ. 2482 -) สถาปนิกชาวอเมริกัน-เยอรมัน เกิดที่ ประเทศเยอรมนีและได้อพยพมาที่สหรัฐอเมริกา เป็นสถาปนิกชื่อดังของโลกคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน ผลงานของยาห์นที่สำคัญได้แก่ อาคารโซนีเซนเตอร์ที่กรุงเบอร์ลิน ส่วนตัวขยายอาคารที่สนามบินโอ'แฮร์ อาคารในสนามบินสุวรรณภูมิ และตึกวันลิเบอร์ตีเพลซ ตึกที่สูงสุดในเมืองฟิลาเดลเฟีย เฮลมุต ยาห์น เกิดที่เมืองเนิร์นแบร์ก ประเทศเยอรมนี หลังจากเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิก ระหว่าง พ.ศ. 2503 - 2508 เขาได้ทำงานกับ Peter C. von Seidlein เป็นเวลาหนึ่งปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เพื่อศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ต่อในระดับปริญญาโทที่สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ (Illinois Institute Technology: IIT) ที่นั่น เขาได้ศึกษาในหลักสูตรที่ออกแบบโดย ลุดวิก มีส แวน เดอร์ โรห์ เรียนรู้ภาษาและเทคนิคของลัทธิสมัยใหม่แนวนานาชาติ (International Style modernism) ใน พ.ศ. 2510 เขาเข้าทำงานกับบริษัท ซี.เอฟ.

ใหม่!!: สถาปนิกและเฮลมุต ยาห์น · ดูเพิ่มเติม »

เดชา บุญค้ำ

ตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2482 -) ราชบัณฑิต ประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม สำนักศิลปกรรมศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภูมิสถาปัตยกรรม) ประจำปี 2549 ภูมิสถาปนิกคนสำคัญของเมืองไทย ผู้บุกเบิกด้านการศึกษาและวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทย ได้ออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรมที่สำคัญหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์เขตต่างๆ, สวนหลวง ร.๙, อุทยานเบญจสิริ, สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ และอื่นๆ รวมทั้งงานภูมิทัศน์วัดโสธรวรารามวรวิหาร ผังแม่บทภูมิทัศน์เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2537) เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี..

ใหม่!!: สถาปนิกและเดชา บุญค้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เฉลิม สุจริต

รองศาสตราจารย์เฉลิม สุจริต รองศาสตราจารย์ เฉลิม สุจริต (6 พฤศจิกายน 2475 - 3 กันยายน 2533) สถาปนิก อาจารย์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: สถาปนิกและเฉลิม สุจริต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อสถาปนิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »