โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

ดัชนี สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

119 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บัมแบร์คชาร์เลอมาญชาวแซกซันบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ชไปเออร์ฟลอเรนซ์พ.ศ. 1343พ.ศ. 1506พ.ศ. 1544พ.ศ. 1573พ.ศ. 1609พ.ศ. 1623พ.ศ. 1631พ.ศ. 1638พ.ศ. 1663พ.ศ. 1673พ.ศ. 1813พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันการจาริกแสวงบุญการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรกงก์ก็องภูมิภาคบูร์กอญมหาวิหารมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)มหาวิหารบัมแบร์กมหาวิหารซันมาร์โกมหาวิหารนักบุญเปโตรมหาวิหารเวเซอแลมุขข้างโบสถ์ระบบเจ้าขุนมูลนายราเวนนาวิหารคดวิหารแพนธีอันศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์ศิลปะการอแล็งเฌียงศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัยก่อนโรมาเนสก์ศิลปะโรมาเนสก์ศิลปะไบแซนไทน์สมัยกลางสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3สถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมตะวันตก...สถาปัตยกรรมนอร์มันสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์สงครามครูเสดสแกนดิเนเวียหอศีลจุ่มซันโจวันนีหินปูนหินเหล็กไฟหน้าต่างกุหลาบอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อัศวินเทมพลาร์อารามแซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์อาสนวิหารอาเคินอาสนวิหารอีลีอาสนวิหารซอลส์บรีอาสนวิหารปีเตอร์บะระอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีอาสนวิหารเดอรัมอาสนวิหารเปรีเกอผังอาสนวิหารจักรวรรดิการอแล็งเฌียงจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันตะวันตกจิตรกรรมฝาผนังจุดตัดกลางโบสถ์ทวีปยุโรปคริสต์มาสครีบยันคอนสแตนติโนเปิลคัมภีร์ไบเบิลคณะออกัสติเนียนคณะคาร์ทูเซียนคณะซิสเตอร์เชียนคณะเบเนดิกตินตะวันออกกลางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาประเทศฝรั่งเศสประเทศสกอตแลนด์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศสเปนประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศฮังการีประเทศโปแลนด์ประเทศเยอรมนีประเทศเซอร์เบียปราสาทป้อมสนามแม่น้ำไรน์แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์แคว้นปกครองตนเองซิซิลีโบสถ์คริสต์โรมโรมันโรมโบราณโดมโครงสร้างทรงโค้งโคโลญโค้งพระจันทร์ครึ่งซีกไมนทซ์เยรูซาเลมเรลิกเวนิสเวโรนาเสาแบบคอรินเทียนเส้นทางเซนต์เจมส์เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเทือกเขาพิเรนีสเซนต์ ขยายดัชนี (69 มากกว่า) »

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บัมแบร์ค

ัมแบร์ค (Bamberg) เป็นเมืองในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในอัปเปอร์ฟรังโกเนียบนฝั่งแม่น้ำเรกนิทซ์ไม่ไกลจากจุดที่บรรจบกับแม่น้ำไมน์ บัมแบร์คเป็นเมืองเพียงไม่กี่เมืองในประเทศเยอรมนีที่มิได้ถูกทำลายโดยลูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 บัมแบร์คเป็นที่พำนักของชาวต่างประเทศเกือบ 7,000 คนรวมทั้งกว่า 4,100 คนที่เป็นทหารจากสหรัฐอเมริกา ชื่อเมือง “บัมแบร์ค” เชื่อว่ามีที่มาจากตระกูลบาเบนแบร์ก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และบัมแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1013 โดยสังฆราชอาลิบรันโด โดยการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตเริ่มด้วยการเป็นสำนักสงฆ์ของลัทธิเบ็นนาดิคติน จากนั้นก็เปลี่ยนมือไปเป็นของลัทธิคลูนี และในปี ค.ศ. 1373 ก็ตกไปเป็นของลัทธิโอลิเวตันผู้ซึ่งยังคงใช้คริสต์ศาสนสถานนี้อยู่ นักบวชของสำนักสงฆ์มีชื่อเสียงในการทำสุรา, น้ำผึ้ง และ ชาสมุนไพรที่ขายในร้านที่ตั้งอยู่ติดกับวัด ด้านหน้าวัดที่ทำด้วยหินอ่อนเป็นลวดลายเรขาคณิตอาจจะเริ่มทำขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชไปเออร์

มืองชไปเออร์มองไปยังมหาวิหารชไปเออร์ ชไปเออร์ (Speyer) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในรัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนตของประเทศเยอรมนี เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำไรน์ตอนบน และเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี ที่มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คน ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไรน์ประมาณ 25 กิโลเมตรจากลุดวิจส์ฮาเฟินและมันน์ไฮม์ ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า Civitas Nemetum เป็นเมืองหลวงที่ตั้งขึ้นโดยชนเนเมเทอร์ (Nemeter) ซึ่งเป็นชนในกลุ่มชนทิวทันที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ประมาณ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และชไปเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1343

ทธศักราช 1343 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1343 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1506

ทธศักราช 1506 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1506 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1544

ทธศักราช 1544 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1544 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1573

ทธศักราช 1573 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1573 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1609

ทธศักราช 1609 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1609 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1623

ทธศักราช 1623 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1623 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1631

ทธศักราช 1631 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1631 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1638

ทธศักราช 1638 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1638 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1663

ทธศักราช 1663 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1663 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1673

ทธศักราช 1673 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1673 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1813

ทธศักราช 1813 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพ.ศ. 1813 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีสิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร (separation of church and state) เป็นแนวคิดทางปรัชญาและนิติปรัชญาที่กำหนดให้มีระยะห่างทางการเมืองในความสัมพันธ์ขององค์การศาสนาและรัฐชาติ โดยเนื้อหาแล้ว แนวคิดนี้หมายถึงการสร้างรัฐที่เป็นฆราวาส (ไม่ว่าจะมีการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายรัฐไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) รวมถึงการยุบเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์มีอยู่อย่างเป็นทางการในระหว่างศาสนากับรัฐ ในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างศาสนากับรัฐนั้นย่อมกำหนดตามโครงสร้างทางกฎหมายและแนวคิดทางกฎหมายที่นิยมอยู่ในเวลานั้น เช่น หลักความยาวแขน (arm's length principle) ซึ่งนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ต่างหากจากกัน แนวคิดเรื่องการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรนั้นเป็นปรัชญาคู่ขนานกับแนวคิดฆราวาสนิยม (secularism), คตินิยมยุบเลิกศาสนจักร (disestablishmentarianism), เสรีภาพทางศาสนา (religious liberty), และพหุนิยมทางศาสนา (religious pluralism) ซึ่งด้วยแนวคิดเหล่านี้ รัฐในยุโรปจึงรับเอาบทบาทบางอย่างในทางสังคมขององค์การศาสนามาเป็นของตน เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางสังคมที่ก่อให้เกิดประชากรและพื้นที่สาธารณะที่เป็นฆราวาสในทางวัฒนธรรม ในทางปฏิบัติแล้ว การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ บางประเทศ เช่นฝรั่งเศส ใช้แนวคิดความเป็นฆราวาสอย่างเคร่งครัด บางประเทศแยกศาสนากับรัฐจากกันอย่างสิ้นเชิงโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น อินเดีย และสิงคโปร์ ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และมัลดีฟส์ ยังยอมรับนับถือศาสนาประจำรัฐอยู่ในทางรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

กงก์

กงก์ (Conques; Concas) เป็นอำเภอของเมืองรอแดซ จังหวัดอาแวรงในแคว้นมีดี-ปีเรเน เมืองกงก์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ก็อง

ก็อง (Caen) เป็นเมืองหลักของจังหวัดกาลวาโดส ในแคว้นนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส เมืองก็องเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่สร้างในสมัยของวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี และเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของยุทธการที่นอร์ม็องดีในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และก็อง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคบูร์กอญ

ูร์กอญ (Bourgogne; Burgundy; Burgund) เป็นอาณาบริเวณในประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยูในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสวิสเซอร์แลนด์ปัจจุบัน ภูมิภาคบูร์กอญเป็นบริเวณที่มีบทบาทสำคัญของยุโรปมาตั้งแต่ยุคกลาง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และภูมิภาคบูร์กอญ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหาร (basilica) คำว่า “basilica” มาจากภาษากรีก “Stoa Basileios” ที่เดิมใช้ในการบรรยายสิ่งก่อสร้างสาธารณะในโรมโบราณ (เช่นในกรีซที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการศาล) ที่มักจะตั้งอยู่ในจัตุรัส (Roman forum) ของเมืองโรมัน ในเมืองกรีกมหาวิหารสาธารณะเริ่มสร้างกันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนั้น “มหาวิหาร” ก็ยังมีความหมายทางศาสนา ซากมหาวิหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ก็มีการพบมหาวิหารนีโอไพธากอเรียนที่ปอร์ตามัจโจเร (Porta Maggiore) ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารบัมแบร์ก

มหาวิหารบัมแบร์ก (Bamberger Dom) มีชื่อเป็นทางการว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรและนักบุญจอร์จ (Bamberger Dom St. Peter und St. Georg) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำอัครมุขมณฑลบัมแบร์ก ตั้งอยู่ที่เมืองบัมแบร์ก ในประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมของมหาวิหารที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ตอนปลายโดยมีหอสี่หอ มหาวิหารแรกก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1004 โดยจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1012 และได้รับการเสกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1012 ต่อมาถูกเพลิงไหม้ไปบางส่วนในปี ค.ศ. 1081 มหาวิหารใหม่สร้างโดยออทโทแห่งบัมแบร์ก และได้รับการเสกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1111 ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มหาวิหารก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และต่อเติมใหม่จนเป็นรูปทรงเป็นแบบปลายสมัยโรมานเนสก์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมหาวิหารบัมแบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันมาร์โก

มหาวิหารซันมาร์โก หรือชื่อเต็มคือ อัครบิดรอาสนะมหาวิหารซันมาร์โก (Basilica Cattedrale Patriarcale di San Marco, St Mark's Basilica หรือ Saint Mark's Basilica) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก ระดับมหาวิหารประจำเขตอัครบิดรเวนิสในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิก มหาวิหารซันมาร์โกได้รับการเสกในปี ค.ศ. 1094 มหาวิหารซันมาร์โกที่เป็นตัวอย่างอันสำคัญของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ตั้งอยู่ที่จตุรัสซันมาร์โกติดและเชื่อมกับวังดยุกแห่งเวนิส เดิมตัวโบสถ์เป็นโบสถ์น้อยของประมุขผู้ครองเวนิส และมิได้เป็นมหาวิหารของเมือง แต่ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมหาวิหารซันมาร์โก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเวเซอแล

มหาวิหารนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาแห่งเวเซอแล (Basilique Sainte-Marie-Madeleine de Vézelay) เป็นบาซิลิกา ในอดีตเดิมเป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกตินและอารามกลูว์นี (Cluniac) ตั้งอยู่ที่เวเซอแล จังหวัดอียอน แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส ตัวสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยการตกแต่งที่ซับซ้อนด้วยรูปสลักเสลาด้านหน้า, เหนือประตูทางเข้า และหัวเสาที่ถือกันว่าเป็นงานฝีมือชั้นเอกของสถาปัตยกรรมและศิลปะโรมาเนสก์ของบูร์กอญ แม้ว่าบางส่วนของงานศิลปะจะถูกทำลายไปในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส มหาวิหารเวเซอแลและเนินในบริเวณเวเซอแล ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมหาวิหารเวเซอแล · ดูเพิ่มเติม »

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และมุขข้างโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

ราเวนนา

มเสกจักรพรรดิจัสติเนียนและข้าราชสำนักที่บาซิลิกาซานวิทาเล ที่ราเวนนา ราเวนนา (Ravenna) เป็นเมืองที่อยู่ในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา ประเทศอิตาลี ราเวนนาเคยเป็นเมืองหลักของจักรวรรดิโรมันตะวันตก และอาณาจักรออสโตรกอท (Ostrogoth Kingdom) ในเวลาต่อมา ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของจังหวัดราเวนนา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 652 ตารางกิโลเมตร ราเวนนาเป็นเมืองที่มีเนี้อที่ใหญ่เป็นที่สองของอิตาลีรองจากกรุงโรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และราเวนนา · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

วิหารแพนธีอัน

ตึกแพนธีอัน (PantheonRarely Pantheum.; หรือ) “แพนธีอัน” มาจาก ที่แปลว่า “พระเจ้าทั้งหมด” เป็นสิ่งก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม เดิมสร้างโดยมาร์คัส วิพซานิอัส อกริพพา (Marcus Vipsanius Agrippa) สำหรับเป็นเทวสถาน (Roman temple) สำหรับเทพต่างๆ ของโรมันโบราณ โรมันโบราณ ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ตัวสิ่งก่อสร้างจะอุทิศให้แก่เทพเท่าใดนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ คำว่า “แพนธีอัน” โดยทั่วไปในปัจจุบันหมายถึงอนุสาวรีย์ที่เป็นที่เก็บศพของคนสำคัญ แพนธีอันเป็นสิ่งก่อสร้างจากสมัยโรมันที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดสิ่งหนึ่ง และได้รับการใช้สอยตลอดมาในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ก็ใช้เป็นคริสต์ศาสนสถานของโรมันคาทอลิก ที่อุทิศให้ “พระแม่มารีและผู้พลีชีพเพื่อศาสนา” ตัวตึกเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโดมขนาดใหญ่ที่เก่าที่สุดในกรุงโรม ความสูงของช่องตา (oculus) บนเพดานและเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องวัดจากด้านในเท่ากับ 43.3 เมตรเท่ากัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และวิหารแพนธีอัน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะการอแล็งเฌียง

ลวิส ศิลปะการอแล็งเฌียง (art carolingien) เป็นศิลปะที่มาจากจักรวรรดิแฟรงก์ในช่วงเวลาราว 120 ปี ราวระหว่าง ค.ศ. 780 จนถึง ค.ศ. 900 — ในรัชสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญและทายาทที่สืบครองทันทีหลังจากพระองค์ — สมัยนี้นิยมเรียกกันว่าเป็น "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการอแล็งเฌียง" ศิลปะการอแล็งเฌียงสร้างโดยศิลปินของราชสำนักที่สร้างงานให้กับราชสำนัก และโดยสำนักสงฆ์สำคัญ ๆ ที่อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหาจักรพรรดิ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของที่ยุโรปเหนือในการฟื้นฟูและเลียนแบบงานศิลปะคลาสสิกของเมดิเตอร์เรเนียนทั้งทางรูปแบบและลักษณะ ที่กลายมาเป็นการผสานองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิกเข้ากับศิลปะของทางตอนเหนือของยุโรปในรูปแบบของงานที่เป็นสง่าและตระการตา (sumptuous) โดยเฉพาะอิทธิพลในการสร้างรูปลักษณ์ของมนุษย์ ที่เป็นการวางรากฐานให้แก่ศิลปะโรมาเนสก์ที่ตามมา และต่อมาศิลปะกอทิกในยุโรปตะวันตก สมัยการอแล็งเฌียงเป็นส่วนหนึ่งของสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะของศิลปะสมัยกลางที่เรียกว่า "ศิลปะยุคก่อนโรมาเนสก์".

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัยก่อนโรมาเนสก์

ลปะและสถาปัตยกรรมสมัยก่อนโรมาเนสก์ (Pre-Romanesque art and architecture) เป็นสมัยศิลปะยุโรปตะวันตกที่รุ่งเรืองไม่ก็ในช่วงการเริ่มการก่อตั้งราชอาณาจักรเมรอแว็งเฌียงเมื่อราว..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัยก่อนโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3

thumbnail สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 (อังกฤษ: Leo III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 795 ถึง ค.ศ. 816 ลีโอที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 8 หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมตะวันตก

ปัตยกรรมตะวันตก (Western Architecture) สถาปัตยกรรมโรโคโค มหาวิหารโนเตรอดาม - ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมกอ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

ซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี รูปแบบสถาปัตยกรรมบีเซินทีน สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือ สถาปัตยกรรมไบแซนทีน (Byzantine architecture; /bī-ˈzanˌtēn/merriam-webster.com.) คือสถาปัตยกรรมที่เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ลักษณะอาคารส่วนใหญ่เป็นโดมคลุมบนเนื้อที่กลม สี่เหลี่ยม หรือรูปหลายเหลี่ยม บางครั้งมีการจัดรูปทรงภายนอกเป็นโดมหลายอัน ต่างขนาดกัน ลดหลั่นกันไป โดยส่วนใหญ่ยึดหลักสมดุลชนิด 2 ข้างเท่ากันรอบแกนใดแกนหนึ่ง เช่น โบสถ์เซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

หอศีลจุ่มซันโจวันนี

หอศีลจุ่มซันโจวันนี หรือ หอศีลจุ่มฟลอเรนซ์ (Battistero di San Giovanni; Florence Baptistry) เป็นหอศีลจุ่มนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี และมีฐานะเป็นไมเนอร์บาซิลิกา ตัวหอเป็นทรงแปดเหลี่ยมที่ตั้งอยู่กลางจตุรัสเดลดูโอโมตรงกันข้ามกับมหาวิหารฟลอเรนซ์และหอระฆังของจอตโต ดี บอนโดเน (หอระฆังจอตโต) หอศีลจุ่มซันโจวันนีเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าที่สุดสิ่งหนึ่งของฟลอเรนซ์ที่สร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และหอศีลจุ่มซันโจวันนี · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หินเหล็กไฟ

หินเหล็กไฟ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และหินเหล็กไฟ · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินเทมพลาร์

ทหารผู้ยากแห่งพระคริสต์และพระวิหารแห่งโซโลมอน (Pauperes commilitones Christi Templique Solomonici) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัศวินเทมพลาร์ หรือคณะแห่งพระวิหาร (Ordre du Temple หรือ Templiers) เป็นคณะทหารคริสตชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดMalcolm Barber, The New Knighthood: A History of the Order of the Temple.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอัศวินเทมพลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อารามแซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์

อารามแซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์ (Abbaye de Saint-Savin-sur-Gartempe) เดิมเป็นแอบบีย์ของคณะเบเนดิกติน ตั้งอยู่ที่แซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์ มณฑลปัวตู ประเทศฝรั่งเศส อารามแซงต์ซาแว็งเริ่มสร้างราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ ความสำคัญของอารามอยู่ที่จิตรกรรมฝาผนังจากคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ที่ได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดีมาก แผนผังอารามเป็นแบบกางเขนโดยมีหอสี่เหลี่ยมเหนือจุดตัดของกางเขน บริเวณแขนกางเขนเป็นบริเวณแรกที่ได้รับการก่อสร้าง ต่อมาเป็นบริเวณขับเพลงสวด (Choir) พร้อมกับบริเวณจรมุข (ambulatory) โดยมีชาเปลกระจายออกไปด้วยกันห้าโบสถ์น้อยทางมุขตะวันออก ต่อมาตัวอารามก็ได้รับการขยายเพิ่มเติมโดยการเพิ่มทางเดินข้างประกบทางเดินกลาง หอระฆัง และระเบียงทางเข้าหน้าโบสถ์ และในที่สุดก็เพิ่มทางเดินกลางอีกหกช่วง หอระฆังสร้างด้วยหินที่สูงกว่า 80 เมตรที่ต่อเติมในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพดานโค้งประทุนรองรับด้วยเสาที่มีหัวเสาที่แกะสลักเป็นใบไม้ ภายในคริปต์เป็นที่ฝังศพนักบุญซาแว็งและนักบุญซิเปรียน ผนังเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงภาพชีวิตของนักบุญทั้งสององค์ อารามแซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์ได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอารามแซ็ง-ซาแว็ง-ซูร์-การ์ต็องป์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเคิน

อาสนวิหารอาเคิน (Aachener Dom) เรียกกันว่าอาสนวิหารหลวง (Imperial Cathedral; Kaiserdom) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัดนี้ชื่อ Royal Church of St.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอีลี

อาสนวิหารอีลี (ภาษาอังกฤษ: Ely Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า The Cathedral Church of the Holy and Undivided Trinity of Elyเป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันของสังฆมลฑลของบาทหลวงแห่งอีลี ตั้งอยู่ที่เมืองอีลี, เคมบริดจ์เชอร์, ในสหราชอาณาจักร สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิค อาสนวิหารเป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า “เรือแห่งเฟ็น” เพราะอาสนวิหารตั้งเด่นอยู่บนบริเวณที่ราบที่เห็นได้แต่ใกล คริสต์ศาสนสถานเดิมที่สุดก่อตั้งโดยเอเธลเดรดา (Etheldreda) พระธิดาของพระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอน เอเธลเดรดาได้ที่ดินมาจากทอนดเบิร์คท์ (Tondberct) สามีคนแรกผู้เป็นหัวหน้ากีเวียนส์ใต้ (South Gyrvians) และหลังจากการแต่งงานครั้งที่สองกับเอกรฟริด (Eegrfrid) เจ้าชายจากนอร์ทธัมเบรียสิ้นสุดลงก็ได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ที่นั่นเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารอีลี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารซอลส์บรี

อาสนวิหารซอลส์บรี (Salisbury Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อาสนวิหารเซนต์แมรี (Cathedral of Saint Mary) เป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองซอลส์บรี มณฑลวิลท์เชอร์ในสหราชอาณาจักร เริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารซอลส์บรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปีเตอร์บะระ

อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Peterborough Cathedral หรือ Cathedral Church of St Peter, St Paul and St Andrew) มีชื่อเต็มว่า "อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์มีชื่อเสียงว่ามีด้านหน้าที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นอย่างเด่นชัด ที่มีประตูโค้งใหญ่มหึมาที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน หรือสร้างตามมา ลักษณะที่ปรากฏเป็นเชิงที่ไม่สมมาตร เพราะหอหนึ่งในสองหอที่สูงขึ้นมาหลังด้านหน้านสร้างไม่เสร็จ แต่จะมองเห็นได้ก็จากระยะทางไกลจากตัวอาสนวิหารเท่านั้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารปีเตอร์บะระ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเดอรัม

อาสนวิหารเดอรัม คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม (The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham) เรียกโดยย่อว่าอาสนวิหารเดอรัม เป็นอาสนวิหารแองกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองเดอรัมใน สหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1093 มีชื่อเต็มว่า The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น อาสนวิหารเป็นที่เก็บเรลิกของคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์น (Cuthbert of Lindisfarne) นักบุญจากศตวรรษที่ 7 นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บศีรษะของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ธัมเบรีย (St Oswald of Northumbria) และร่างของนักบุญบีด มุขนายกแห่งเดอรัมเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมากมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตำแหน่งของมุขนายกแห่งเดอรัมถือว่ามีความสำคัญเป็นที่สี่ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีป้ายของมณฑลเดอรัมว่าเป็นดินแดนของ Prince Bishops อาสนวิหารได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับปราสาทเดอรัมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันเหนือแม่น้ำเวียร์ (River Wear).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเปรีเกอ

อาสนวิหารเปรีเกอ (Cathédrale de Périgueux) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญฟรอนโตแห่งเปรีเกอ (Cathédrale Saint-Front de Périgueux) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลเปรีเกอ ตั้งอยู่ที่เมืองเปรีเกอ แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาสนวิหารแห่งเมืองเปรีเกอมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1669 หรืออาจจะหมายถึงอาสนวิหารก่อนหน้านั้นคือ "อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งนครเปรีเกอ" (Cathédrale Saint-Étienne-de-la-Cité de Périgueux) อาสนวิหารทั้งสองเดิมเป็นที่ตั้งของบิชอปแห่งเปรีเกอหรือบิชอปแห่งเปรีเกอและซาร์ลาที่เป็นชื่อมุขมณฑลมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารเปรีเกอ · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ร์ล มาร์แตลในยุทธการที่ตูร์ที่ทรงหยุดยั้งการรุกรานของอุมัยยะห์เข้ามาในยุโรป จักรวรรดิการอแล็งเฌียง (Carolingian Empire) เป็นคำประวัติศาสตร์ที่บางครั้งก็หมายถึงราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ที่เห็นกันว่าเป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี จักรวรรดิการอแล็งเฌียงอาจจะถือว่าเป็นปลายสมัยจักรวรรดิแฟรงก์หรือต้นสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” ("Frankish Kingdoms" หรือ "Frankish Realm") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และจักรวรรดิการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และจิตรกรรมฝาผนัง · ดูเพิ่มเติม »

จุดตัดกลางโบสถ์

แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดง “จุดตัด” เป็นสีเทา จุดตัด (crossing) ในคริสต์ศาสนสถานคือจุดที่ช่องทางเดินกลางตัดกับแขนกางเขนของวัดที่มีผังเป็นรูปกางเขน ถ้าเป็นวัดตั้งตามหลักตะวันตก-ตะวันออกโดยเฉพาะวัดแบบโรมาเนสก์ และกอธิค) แล้ว “จุดตัด” ก็จะเป็นจุดที่เป็นทางไปสู่ช่องทางเดินกลางทางตะวันตก (ด้านหน้าวัด) มุขข้างโบสถ์เหนือและใต้ และบริเวณร้องเพลงสวดทางตะวันออก เหนือกางเขนบางครั้งก็จะมีหอหรือโดม หอจุดตัดเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ เมื่อมาถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสิ่งตกแต่งเหนือจุดตัดก็มักจะนิยมสร้างเป็นโดม หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็น “หอโคม” (lantern tower) ที่ยกสูงขึ้นไปและเปิดข้างเพื่อให้แสงส่องลงมายังบริเวณจุดตัด การที่จุดตัดเปิดออกไปทั้่งสี่ด้านทำให้น้ำหนักของหอหรือโดมเหนือจุดตัดหนักลงมาตรงมุมรอบหอหรือโดม ฉะนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของหอได้โดยไม่พังทลายลงมาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก เรื่องหอพังทลายลงมาเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากความทะเยอทะยานในการสร้างหอที่สูงใหญ่แต่หนักเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ หรือจากการทรุดของพื้นดินที่อยู่ภายใต้ตัวอาคาร หรือจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และจุดตัดกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยัน

รีบยันในงานก่อสร้าง มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง ครีบยัน (buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และครีบยัน · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์ทูเซียน

ณะคาร์ทูเซียน (Carthusian Order) หรือ คณะนักบุญบรูโน (Order of St. Bruno) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ตั้งชื่อตามนักบุญบรูโนแห่งโคโลญ ผู้ตั้งคณะนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคณะคาร์ทูเซียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะซิสเตอร์เชียน

ตราอาร์มของคณะซิสเตอร์เชียน คณะซิสเตอร์เชียน (Ordo Cisterciensis, Cistercian Order,.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคณะซิสเตอร์เชียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะเบเนดิกติน

ณะนักบุญเบเนดิกต์ (Ordo Sancti Benedicti; Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และคณะเบเนดิกติน · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา

ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา (Santiago de Compostela) หรือ ซานเตียโก เป็นเมืองหลักของแคว้นปกครองตนเองกาลิเซีย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปนในจังหวัดอาโกรุญญา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2007) มีประชากร 92,919 คน เมืองนี้เคยได้รับการประกาศให้เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปประจำปี ค.ศ. 2000 อาสนวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลาซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ของเมืองนี้ยังเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางจาริกแสวงบุญสำคัญที่มีมาตั้งแต่สมัยกลางอีกด้วย นั่นคือ เส้นทางนักบุญเจมส์ (Way of St. James; ภาษากาลิเซีย: Camiño de Santiago) สันนิษฐานว่าอนารยชนเยอรมันพวกซูเอบีเป็นผู้ตั้งเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนที่มาของชื่อเมืองนั้นยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่า "Compostela" นี้มาจากคำในภาษาละตินว่า campus stellae (แปลว่า "ท้องทุ่งแห่งดวงดาว") ดังนั้น "Santiago de Compostela" จึงมีความหมายว่า "นักบุญเจมส์ในท้องทุ่งแห่งดวงดาว" มาจากความเชื่อที่ว่ากระดูกของนักบุญเจมส์นั้นถูกส่งมาจากตะวันออกกลางสู่สเปน ต่อมากระดูกเหล่านี้ก็ถูกฝังในที่ซึ่งกลายเป็นมหาวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลาทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าชื่อเมืองนี้มาจากคำอื่น ๆ อีก เช่น Composita Tella แปลว่า "พื้นที่ฝังศพ" เป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และซานเตียโกเดกอมโปสเตลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซอร์เบีย

ซอร์เบีย (Serbia; Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (Republic of Serbia; Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และประเทศเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และป้อมสนาม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์

ทะเลเดดซี แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land; הקודש; Terra Sancta; الأرض المقدسة; ภาษาอารามิคโบราณ: ארעא קדישא Ar'a Qaddisha) หมายถึงดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในบริเวณประเทศอิสราเอลซึ่งมีความสำคัญต่อศาสนาสำคัญศาสนาอับราฮัมสามศาสนา ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม สาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากความสำคัญของกรุงเยรูซาเลมทางศาสนาและความสำคัญของการเป็นดินแดนแห่งอิสราเอล สงครามครูเสดใช้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เป็นสาเหตุในการยึดคืนเพราะเป็นดินแดนที่มีความหมายต่อพันธสัญญาใหม่ ในปัจจุบันดินแดนบริเวณนี้เป็นดินแดนของความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน

รมัน อาจหมายถึง;ประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

โดม

มหัวหอมของโบสถ์เซนต์เบซิล โดม (dome) คือส่วนโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือใกล้เคียง โดมจะมีลักษณะผิวโค้งและมีฐานเป็นรูปวงกลม โดมสามารถสร้างได้โดยใช้คอนกรีตหรืออิฐ แรงภายในที่กระทำกับโครงสร้างของจะมีลักษณะเป็นแรงอัดในส่วนบนและ แรงดึงในส่วนล่างของโดม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโดม · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างทรงโค้ง

กอทิกของโบสถ์แซ็ง-เซเวอแร็งแห่งปารีส โครงสร้างทรงโค้ง (Vault; voûte; Gewölbe; volta) ในทางสถาปัตยกรรมหมายถึงโค้ง (arch) ที่เป็นช่องใต้เพดานหรือหลังคา | url.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโครงสร้างทรงโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ. ​50 เมืองโคโลญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไรน์ มีอาสนวิหารโคโลญซึ่งเป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยโคโลญเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตัวเมืองมีพื้นที่ 405.15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรนับเฉพาะที่อาศัยในเขตเมือง 998,105 คน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

โค้งพระจันทร์ครึ่งซีก

หน้าบันโค้งพระจันทร์ครึ่งซีกของแอบบีเวเซอเลUNESCO: Vézelay, Church and Hillhttp://whc.unesco.org/en/list/84ในประเทศฝรั่งเศส โค้งพระจันทร์ครึ่งซีก (Lunette, Lunette) “Lunette” ที่มาจากภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า “พระจันทร์น้อย” หรือ “แก้ว” คือสิ่งตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่เป็นทรงครึ่งวงกลมเหนือประตู, เหนือหน้าต่าง หรือช่องระหว่างซุ้มโค้ง หรือช่องอื่นๆ ที่มีรูปทรงดังว่า ถ้าในกรณีที่โค้งพระจันทร์ครึ่งซีกตั้งลึกลงไปบนพื้นผิวของประตูขนาดใหญ่ก็อาจจะเรียกว่า “หน้าบัน” (Tympanum) คำว่า “โค้งพระจันทร์ครึ่งซีก” มักจะใช้ในการบรรยายส่วนหนึ่งของผนังภายในระหว่างส่วนโค้งของเพดานที่เส้นตีโค้งขึ้นไป เครือเส้นไขว้กันไปมาของเพดานโค้งจะสร้างโค้งพระจันทร์ครึ่งซีกเหนือบัว โค้งพระจันทร์ครึ่งซีกที่เกิดจากโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นบนชาเปลซิสตินสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ไมเคิล แอนเจโลในการพยายามหาวิธีที่จะวางองค์ประกอบของการเขียนจิตรกรรมฝาผนังบนเพดานให้ได้อย่างเหมาะเจาะสวยงาม ในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกโดยโรเบิร์ต อาดัมและสถาปนิกฝรั่งเศสร่วมสมัยเช่น Ange-Jacques Gabriel จะนิยมรายหน้าต่างภายในซุ้มโค้งบอด (blind arch) ที่ลึกลงไปจากผนังเล็กน้อย โค้งพระจันทร์ครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเหนือหน้าต่างในบริเวณที่ลึกลงไปเหมาะกับการตกแต่งเป็นแบบรัศมีที่กระจายออกไปจากฐาน หรือ แจกันเตี้ยที่มีช่อดอกไม้บานออกไปเป็นทรงพัด และอื่นๆ “โค้งพระจันทร์ครึ่งซีก” อาจจะเรียกว่า “หน้าต่างพระจันทร์ครึ่งซีก” ถ้าเป็นโค้งที่ใช้ทำเป็นหน้าต่าง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโค้งพระจันทร์ครึ่งซีก · ดูเพิ่มเติม »

ไมนทซ์

มนทซ์ (Mainz) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ โดยผ่านกั้นระหว่างเมืองวีสบาเดิน ไมนทซ์เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตไวน์ของเยอรมัน ถึงขนาดที่ฝ่ายบริหารของรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์มีตำแหน่งรัฐมนตรีไวน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และไมนทซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เวโรนา

วโรนา (Verona) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเวโรนา แคว้นเวเนโตในประเทศอิตาลี เวโรนาเป็นหนึ่งในเจ็ดเมืองหลวงของทางตอนเหนือของอิตาลี เวโรนาเป็นสถานที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยเหตุที่มีความสำคัญทางศิลปะและวัฒนธรรมที่เห็นได้งานนิทรรศการประจำปีหลายงาน โรงละคร และอุปรากรในโรงละครกลางแจ้งที่สร้างโดยโรมัน เวโรนาเป็นเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ตรงโค้งของแม่น้ำอดิเจ (Adige River) ไม่ไกลจากทะเลสาบการ์ดา ที่ตั้งนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นหลายครั้งจนกระทั่ง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเวโรนา · ดูเพิ่มเติม »

เสาแบบคอรินเทียน

หัวเสาแบบคอรินเทียน เสาแบบคอรินเทียน (ลักษณะหัวเสามีการตกแต่งโดยแกะเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ โดยดัดแปลงมาจากใบอาคันธัส (Acanthus) รูปร่างคล้ายผักกาด ทำเป็นใบซ้อนกันสองชั้น แล้วแต่งด้วยดอกไม้ ส่วนล่างของเสามีฐานรองรับแบบเดียวกับเสาแบบไอโอนิค เป็นเสาโรมันที่มีความงดงามมาก สเสาบแบบคอรินเทียน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเสาแบบคอรินเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางเซนต์เจมส์

้นทางเซนต์เจมส์ (Way of St.; Camino de Santiago; Camiño de Santiago; Done Jakue bidea; Chemin de St-Jacques; Jakobsweg) คือเส้นทางที่คริสต์ศาสนิกชนผู้แสวงบุญจากประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปใช้ในการเดินทางไปยังอาสนวิหารเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลา ประเทศสเปน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่บรรจุเรลิกของนักบุญยากอบ บุตรเศเบดี เส้นทางเซนต์เจมส์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 1993.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเส้นทางเซนต์เจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาพิเรนีส

ทือกเขาพิเรนีสตอนกลาง ยอดเขาบูกาเตในเขตสงวนธรรมชาติเนอูวีเยย์ เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees; Pirineus; Pyrénées; Pirineos; Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมแกร็วส์) ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารันที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ ซาร์ดัญญา และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยิบิอ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเทือกเขาพิเรนีส · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Romanesque architectureสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »