โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การมัดอิสอัค

ดัชนี การมัดอิสอัค

ียน “เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค” โดยแรมบรังด์ ค.ศ. 1635 เอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค (ภาษาอังกฤษ: Sacrifice of Isaac หรือ Binding of Isaac) ในพระธรรมปฐมกาล เป็นเรื่องจากคัมภีร์ฮิบรูเมื่อพระเจ้าสั่งให้เอบราฮัมสังเวยไอแซ็คลูกชายบนภูเขาโมไรยาห์ (Mount Moriah) ในศาสนาอิสลามมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าสั่งให้เอบราฮัมสังเวยอิชมาเอลลูกชายคนโตแทนที่ไอแซ็คที่สนับสนุนในข้อเขียนของมุฮัมมัด แต่ลูกคนใดมิได้บ่งในคัมภีร์อัลกุรอาน เหตุการณ์นี้ตรงกับวันแรกของเดือนแรก (Tishrei) ของปฏิทินยิว และระหว่างวันที่ 10 ถึง 13 ของเดือนสิบสอง (Dhu al-Hijjah) ในปฏิทินมุสลิมในวันฉลองการสังเวย -- “Eid al-Adha” คำบรรยายเรียกว่า “Akedah” (עקדה) หรือ “Akedat Yitzchak” (עקידת יצחק) ในภาษาฮิบรูและ “Dhabih” (ذبح) ในภาษาอาหรับ การสังเวยเรียกว่า “Olah” ในภาษาฮิบรู—เพราะความสำคัญของการสังเวยโดยเฉพาะในสมัยก่อนคริสตกาล ตามคำบรรยายเมื่อพระเจ้าสั่งเช่นนั้น เอบราฮัมก็ตั้งใจที่จะเชื่อฟังพระเจ้าโดยไม่มีคำถาม หลังจากไอแซ็คถูกมัดที่แท่นบูชาพร้อมที่จะถูกสังเวย เทวดาก็ยั้งเอบราฮัมในนาทีสุดท้าย ในขณะเดียวเอบราฮัมพบแกะที่ติดอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ๆ เอบราฮัมจึงสังเวยแกะแทนที่ เรามักจะนึกภาพว่าไอแซ็คยังเป็นเด็กเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแต่ความคิดนี้เป็นความคิดสมัยใหม่ เพราะหลักฐานในอดีตต่างกล่าวว่าไอแซ็คเป็นผู้ใหญ่แล้ว ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ยิวโจซีฟัส ไอแซ็คอายุยี่สิบห้าปีเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น คัมภีร์ทัลมุด (Talmud) กล่าวว่าไอแซ็คอายุ 37 ปี ซึ่งอาจจะคำนวณจากตำนานไบเบิลอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงการเสียชีวิตของซาราห์เมื่ออายุ 127 ปี และซาราห์อายุ 90 เมื่อไอแซ็คเกิด ไม่ว่าจะอย่างไรไอแซ็คก็เป็นผู้ใหญ่แล้วเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น โตพอที่จะหยุดยั้งเหตุการณ์ได้ถ้าต้องการที่จะทำเช่นนั้น พระธรรมปฐมกาล 22:14 กล่าวว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ “ภูเขาของพระเจ้า”: ใน 2 พงศาวดาร 3:1; เพลงสดุดี; อิสไซยาห์ และ และแซ็คคาริอาห์ แต่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าเกิดขึ้นที่เท็มเพิลเมานท์ (Temple Mount) ในกรุงเยรุซาเล็ม.

12 ความสัมพันธ์: ภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาฮีบรูมุสลิมมุฮัมมัดศาสนาอิสลามหนังสือปฐมกาลอับราฮัมอิชมาเอลอิสอัคคัมภีร์ฮีบรูโยเซพุส

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือปฐมกาล

หนังสือปฐมกาล (Book of Genesis; בראשית; ܣܦܪܐ ܕܒܪܝܬܐ; Γένεση) มาจากภาษากรีกว่า “การเกิด” หรือ “ที่มา” เป็นหนังสือที่กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโลก มนุษย์ และอิสราเอล ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชาติที่พระเจ้าได้เลือกไว้ (ซึ่งมีความนัยทางเทววิทยา) ชื่อ "ปฐมกาล" แปลมาจากคำแรกของคัมภีร์ฮีบรูคำว่า בראשית (B'reshit or Bərêšîth) แปลว่า "ในปฐมกาล..." (in the begining...).

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและหนังสือปฐมกาล · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม

ทูตสวรรค์ยับยั้งอับราฮัม ขณะกำลังจะถวายอิสอัคแด่พระยาห์เวห์ อับราฮัม(ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิบรอฮีม (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Abraham; אברהם; إبراهيم) เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ถึง บทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจาก เชม บุตรของโนอาห.

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

อิชมาเอล

อิชมาเอล (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิสมาอีล (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Ishmael; إسماعيل /อิสมาอีล/; יִשְׁמָעֵאל /ยิชมาเอล/) เป็นบุคคลสำคัญในศาสนาอับราฮัม และเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม อิชมาเอลเป็นบุตรของอับราฮัม (อิบรอฮีม) และนางฮาการ์ (ฮาญัร).

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและอิชมาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อิสอัค

อิสอัค (Isaac) เป็นบุตรคนที่สองของอับราฮัม ที่เกิดจากนางซาราห์ ภรรยาคนแรกของอับราฮัม เรื่องราวของอิสอัค ถูกบันทึกไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ในส่วนของพระธรรมปฐมกาล บทที่ 22-27.

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและอิสอัค · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและคัมภีร์ฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

โยเซพุส

ซฟ เบน มาติตยาฮู (יוסף בן מתתיהו; ค.ศ. 37 – ราว ค.ศ. 100) เปลี่ยนชื่อเป็น ติตุส ฟลาวิอุส โยเซพุส (Titvs Flavivs Iosephvs) หลังจากที่ได้เป็นพลเมืองโรมัน เป็นนักประวัติศาสตร์และนักเขียนพิทักษ์ปรัชญา (apologist) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 โยเซพุสมาจากครอบครัวที่เป็นนักบวชและราชวงศ์ ผู้รอดมาได้จากการทำลายเมืองเยรูซาเลมโดยโรมันในปี..

ใหม่!!: การมัดอิสอัคและโยเซพุส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Binding of IsaacSacrifice of Isaacการสังเวยไอแซ็คเอบราฮัมสังเวยไอแซ็ค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »