โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

ดัชนี พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์

จุลจิตรกรรม "พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" จากพระวรสารรับบิวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ (Ascension of Jesus) เป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูลอยขึ้นสวรรค์ต่อหน้าอัครทูตของพระองค์หลังจากที่ทรงกลับคืนพระชนม์ได้ 40 วัน และมีทูตสวรรค์องค์หนึ่งกล่าวขึ้นในขณะนั้นว่าเมื่อพระเยซูกลับมา ก็จะมีลักษณะเดียวกัน เมื่อพระเยซูขึ้นสวรรค์แล้วก็ไปประทับอยู่ทางขวาของพระบิดา พระวรสารในสารบบที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้คือพระวรสารนักบุญลูกาบทที่ 24 และพระวรสารนักบุญมาระโกบทที่ 16 และยังปรากฏในหนังสือกิจการของอัครทูตบทที่ 1 ด้วย เหตุการณ์นี้ยังได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่อไนซีน คริสต์ศาสนิกชนจัดการเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์นี้ในวันที่ 40 หลังวันอีสเตอร์ในแต่ละปี (จึงตรงกับวันพฤหัสบดีเสมอ) พิธีนี้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู (อีก 4 เหตุกาณ์ที่เหลือ คือ รับบัพติศมา จำแลงพระกาย ถูกตรึงกางเขน และคืนพระชนม์)Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 จดหมายของนักบุญเปาโล (ราว ค.ศ. 56-ค.ศ. 57) ได้กล่าวถึงพระเยซูบนสวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตายซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูเป็นครั้งแรก แต่การอ้างอิงที่มีอิทธิพลที่สุดตามการกล่าวอ้างของโรเบิร์ต ดับเบิลยู ฟังค์ (Robert W. Funk) มาจาก คือพระเยซูขึ้นสวรรค์หลังจากที่มีพระบัญชาเอก (Great Commission) คือสี่สิบวันหลังจากที่คืนพระชนม์โดยมีอัครทูตเป็นพยาน ในพระวรสารนักบุญลูกา "การเสด็จขึ้นสวรรค์" เกิดขึ้นในค่ำวันอีสเตอร์Robert W. Funk and the Jesus Seminar.

22 ความสัมพันธ์: ชีวิตของพระเยซูพระวรสารพระวรสารนักบุญมาระโกพระวรสารนักบุญยอห์นพระวรสารนักบุญลูกาพระทรมานของพระเยซูพระเยซูพระเยซูทรงรับบัพติศมาพระเยซูทรงจำแลงพระกายพระเจ้าพระบิดาพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันการมาครั้งที่สองการคืนพระชนม์ของพระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนการเสด็จสู่แดนผู้ตายสวรรค์หลักข้อเชื่อของอัครทูตหลักข้อเชื่อไนซีนอัครทูตอีสเตอร์จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัสจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1

ชีวิตของพระเยซู

ีวิตของพระคริสต์ (Life of Christ) เป็นฉากชุดจากชีวิตบนโลกของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้ในการเขียนภาพชุดในศิลปะศาสนาคริสต์ มักจะเป็นชุดเอกลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระนางพรหมจารี จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการสร้างงานก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่นๆ บางฉากก็เป็นภาพเขียนเดี่ยว ๆ เช่น “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” ที่นิยมเขียนกันมาก ชุดที่นิยมเขียนกันก็ได้แก่ชุดที่เกี่ยวกับการประสูติและพระทรมานของพระเยซู ที่นำไปสู่การตรึงพระเยซูที่กางเขนและการคืนพระชนม์ แต่ภาพเขียนที่เกี่ยวกับการเทศนาก่อนที่จะถึงเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายของพระองค์แทบจะไม่เขียนกันในยุคกลางด้วยเหตุผลหลายอย่าง.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระวรสารนักบุญมาระโก · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญยอห์น

ระวรสารนักบุญยอห์น (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณยอห์น (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of John; ภาษากรีก: Κατά Ιωαννην, “Kata Iōannēn”) เป็นพระวรสารฉบับที่สี่ของ “พระวรสารในสารบบ ” (Canonical gospels) ซึ่งเป็นเอกสารหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ แต่มิได้ถูกนับเป็นพระวรสารสหทรรศน์สามฉบับซึ่งประกอบด้วยพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญยอห์น เป็นพระวรสารที่เขียนโดยยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นท่านเดียวกับยอห์นอัครทูตซึ่งเป็น "สาวกที่พระองค์ทรงรัก" (john 13:23 One of his disciples, whom Jesus loved, was reclining at table close to Jesus) ผู้ซึ่งรู้วิถีชีวิตของชาวยิวเป็นอย่างดี และได้อ้างถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวอยู่หลายบทในพระวรสารเล่มนี้ ยอห์นเป็นอัครทูตแห่งความรัก ไม่มีใครบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้าได้อย่างยอห์น เช่น "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" กับอีกหลายเหตุการณ์ที่ยอห์นบรรยายถึงพระเยซูได้อย่างจับใจ แสดงว่าเรื่องราวต่างๆถูกบันทึกจากความทรงจำที่ได้เห็นมากับตา พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นประมาณปี..85 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับพระวรสารอีกสามฉบับที่เล่าเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ แต่บางเหตุการณ์มีการตีความอย่างละเอียด พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นพระวรสารของ “ความเชื่อ” ที่เขียนขึ้นเพื่อจะยืนยันกับผู้อ่านว่าพระเยซูเป็น "พระเมสสิยาห์" และเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” ดังที่ปรากฏอยู่ในพระวรสารว่า "แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *คือการเข้าอาศัยอยู่ในพระเยซูคริสต์ รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ดั่งพระองค์ เชื่อและปฏิบัติตามคำสั่ง และคำสอนของพระองค์ ในแง่ของเทววิทยาศาสนาคริสต์แล้ว พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นฉบับที่มีน้ำหนักที่สุดในทางคริสตวิทยา (Christology) ซึ่งบรรยายพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระวจนะ” (Logos) (ภาษากรีกหมายความว่า “คำ” “เหตุผล” “ความเป็นเหตุเป็นผล” “ภาษา” หรือ “โอวาท”) ผู้เป็น “Arche” (ภาษากรีกหมายความว่า “ผู้เป็นตัวตนมาตั้งแต่ต้น” หรือ “เป็นสิ่งที่สุดของทุกอย่าง”), กล่าวถึงความเป็นผู้ที่มาช่วยมวลมนุษย์ และประกาศพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า พระวรสารของยอห์นได้รับการทรงนำจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นอย่างมาก บทเริ่มต้นของพระวรสารนำผู้อ่านกลับไปสู่ช่วงก่อนกาลเวลา ซึ่งมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นอยู่ คล้ายกับบทเริ่มต้นในพระธรรมปฐมกาลที่พระเจ้าทรงสร้างโลก รวมทั้งการกล่าวถึงเทศกาลของชาวยิวอยู่บ่อยๆ "ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า ใน​ปฐม​กาล​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า​ ​พระ​เจ้า​ทรง​สร้าง​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ขึ้น​มา​โดย​พระ​วาทะ ใน​บรรดา​สิ่ง​ที่​เป็นมา​นั้น ไม่​มี​สัก​สิ่ง​เดียว​ที่​ได้​เป็นมา​นอกเหนือ​พระ​วาทะ​ ​พระ​องค์​ทรง​เป็น​แหล่ง​ชีวิต และ​ชีวิต​นั้น​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​ ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​หา​ได้​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่" (john 1:1-5) พระวรสารฉบับนี้กล่าวถึงพระเยซูอย่างมีเนื้อหา มีคำสอนเป็นอันมากที่พระองค์ทรงสอนกับสาวก อีกทั้งยังได้บันทึกเหตุการณ์บางอย่างที่พระวรสารเล่มอื่นไม่ได้กล่าวถึงไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า "ห้องชั้นบน" เป็นช่วงเวลาของการร่วมรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูคริสต์ตรัสเป็นส่วนตัวกับเหล่าสาวกของพระองค์ถึงเรื่องความรอด ประตูซึ่งนำไปสู่ความรอด พระบัญญัติแห่งพระเยซู ความรักที่พระองค์มีให้ต่อเหล่าสาวก การเปิดเผยถึงการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท​ การสำแดงพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ถึงความเป็นหนึ่งเดียว การเปิดเผยและทำนายการตายของพระองค์เอง และฟื้นขึ้นในวันที่สาม และความชื่นชมยินดี ยอห์นได้รับการทรงนำในการเขียนพระวรสารเล่มนี้ และพระวรสารเล่มนี้ได้บอกให้ทราบว่า พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เพราะว่าตั้งแต่ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่กับพระเจ้า และยอห์นได้เน้นคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระเยซู เช่น พระองค์มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ มีการกันแสงด้วยความเศร้าเสียใจ ฯลฯ ยอห์นยังได้บันทึกพระวรสารเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู แล้ว "ก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *พระองค์โปรดประทานพระนามพระองค์ให้เหล่าผู้เชื่อ เพื่อเป็นสิทธิอำนาจในการอธิษฐาน และเกิดขึ้นจริงตามนั้นโดยพระนามของพระองค์ และยอห์นบอกเล่าถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น "เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ" ซึ่งนำมาสู่การสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ เพื่อไถ่บาปแก่คนที่เชื่อในพระองค์ทั้งสิ้น ให้ได้รับความรอดจากการถูกพิพากษา เป็นต้น พระวรสารนักบุญยอห์น ใช้ “ยอห์น” หรือ “ยน” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระวรสารนักบุญยอห์น · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระวรสารนักบุญลูกา · ดูเพิ่มเติม »

พระทรมานของพระเยซู

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระทรมานของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงรับบัพติศมา

''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงจำแลงพระกาย

“พระเยซูทรงจำแลงพระกาย” วาดโดยลูโดวีโก การ์รัจจี ในปี ค.ศ. 1594 พระเยซูทรงจำแลงพระกาย(โปรเตสแตนต์) หรือพระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งเรือง (คาทอลิก) (Transfiguration of Jesus) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซูที่บันทึกในพระวรสารสหทรรศน์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเยซูสำแดงพระองค์บนภูเขาลูกหนึ่ง (มัทธิว, มาระโก, ลูกา) พระกายของพระเยซูมีรัศมีเรืองรอง และตรัสกับโมเสสและเอลียาห์ ขณะนั้นพระยาห์เวห์เรียกพระเยซูว่าเป็น “บุตรสุดที่รักของเรา” เหมือนตอนพระเยซูทรงรับบัพติศมา การจำแลงพระกายจึงทำให้พระองค์ดูเหนือกว่าโมเสสและเอลียาห์ซึ่งเป็นผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์ และเป็นการสนับสนุนในตัวพระองค์ว่าเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” แต่พระเยซูทรงสั่งให้ซีโมนเปโตร ยากอบ บุตรเศเบดี และยอห์นอัครทูต ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ต้องเก็บเรื่องนี้เป็นความลับจนกว่าพระองค์จะคืนพระชนม์หลังจากถูกตรึงที่กางเขน การจำแลงพระกายถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การรับบัพติศมา การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดวันฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย" ส่วนคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ กำหนดฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 19 สิงหาคมของทุกปี ตามปฏิทินจูเลียน โดยเรียกว่า "วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงจำแลงพระวรกาย".

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระเยซูทรงจำแลงพระกาย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบิดา

วาดพระเจ้าพระบิดาโดย Julius Schnorr ค.ศ. 1860 พระเจ้าพระบิดา (God the Father) เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าในศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาเพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้บัญญัติธรรม และผู้ปกป้อง ส่วนทางศาสนาคริสต์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาตามเหตุผลเดียวกับศาสนายูดาห์ แต่ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระองค์ด้วย คำว่า พระบิดา บ่งบอกว่าพระองค์เป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นผู้ปกป้องดูแล เป็นสัพพัญญู และทรงอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกินกว่าการที่มนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น นักบุญทอมัส อไควนัส นักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญเขียนสรุปไว้ว่าท่านเองก็ยังไม่เข้าใจพระบิดาเล.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพระเจ้าพระบิดา · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน

ัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน (Metropolitan Museum of Art หรือ the Met) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่ทางตะวันออกของเซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1870 พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าของงานศิลปะถาวรกว่าสองล้านชิ้นที่แบ่งเป็นสิบเก้าแผนก อาคารหลักมักจะเรียกสั้นๆ ว่า “the Met” เป็นหอศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหอศิลป์หนึ่งแลมีสาขาที่สองที่เล็กกว่าที่“เดอะคล็อยสเตอร์ส” ในอัพเพอร์แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะยุคกลาง ศิลปะถาวรที่เป็นเจ้าของเป็นงานศิลปะตั้งแต่ศิลปะยุคคลาสสิกและศิลปะอียิปต์โบราณ, จิตรกรรมและประติมากรรมของจิตรกรชั้นครูจากเกือบทุกประเทศในยุโรปตะวันตก และงานสะสมศิลปะอเมริกันและศิลปะสมัยใหม่ นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังเป็นเจ้าของงานศิลปะจากแอฟริกา, เอเชีย, ศิลปะจากหมู่เกาะปาซิฟิค, ศิลปะไบเซนไทน์ และศิลปะอิสลาม นอกไปจากศิลปะแล้วพิพิธภัณฑ์ก็ยังสะสมเครื่องดนตรี, เสื้อผ้าและเครื่องตกแต่ง, อาวุธโบราณ, เสื้อเกราะและอาวุธจากทั่วโลก ภายในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงการตกแต่งภายในเป็นการถาวรตั้งแต่จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 ของสมัยโรมันไปจนถึงสมัยใหม่ของสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตันก่อตั้งในปี ค.ศ. 1870 โดยกลุ่มชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งรวมทั้งนักธุรกิจและนักการเงินและผู้นำศิลปินและนักคิดในสมัยนั้นผู้ที่ประสงค์จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่นำศิลปะและการศึกษาศิลปะมาสู่ประชาชนอเมริกัน พิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872 ในปี..

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน · ดูเพิ่มเติม »

การมาครั้งที่สอง

การมาครั้งที่สอง ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนและชาวมุสลิม การมาครั้งที่สอง (Second Coming) หมายถึงการที่พระเยซูจะเสด็จมาบนโลกอีกครั้งในอนาคต ความเชื่อนี้มีที่มาจากข้อความในพระวรสารในสารบบและถูกพัฒนาต่อมาตามอวสานวิทยาของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม แนวคิดเรื่องการมาครั้งที่สองถือเป็นหลักความเชื่อสำคัญ จึงปรากฏรายละเอียดในหลักข้อเชื่อไนซีนว.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และการมาครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย

การเสด็จสู่แดนผู้ตาย (Descensus Christi ad Inferos, Harrowing of Hell) เป็นหลักความเชื่อหนึ่งในเทววิทยาคริสเตียนตามหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียนที่กล่าวว่า “พระเยซูเสด็จสู่แดนผู้ตาย” ซึ่งเป็นนรกภูมิแบบหนึ่งตามความเชื่อของชาวยิว แต่เพราะความที่ขาดการอ้างอิงที่ชัดแจ้งในบทบันทึกทางศาสนาทำให้ความเชื่อนี้ยังยังคงเป็นที่ถกเถียงและตีความแตกต่างกันอยู.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และการเสด็จสู่แดนผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อของอัครทูต

หลักข้อเชื่อของอัครทูต, คริสตจักรแองลิกันในประเทศไทย (Symbolum Apostolorum/Symbolum Apostolicum;Apostle’s creed) หรือ “หลักข้อเชื่อของอัครธรรมทูต” บางครั้งเรียกว่า “สัญลักษณ์ของอัครทูต” ชาวคาทอลิกเรียกว่า "บทข้าพเจ้าเชื่อ" เป็นคำแถลงเกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาคริสต์ยุคแรก ซึ่งคำแถลงลักษณะนี้เรียกว่า creed (หลักข้อเชื่อ) หรือ symbol (สัญลักษณ์) หลักข้อเชื่อนี้มีปรากฏใช้ในหลายนิกายทั้งในพิธีกรรมและตำราคำสอน และมักพบมากที่สุดในคริสตจักรตะวันตกที่เน้นพิธีกรรม คือคริสตจักรละติน ลูเทอแรน แองกลิคัน และออทอร์ดอกซ์ตะวันตก ตลอดจนเพรสไบทีเรียน เมทอดิสต์ และคริสตจักรคองกริเกชันแนล หลักข้อเชื่อของอัครทูตเป็นข้อความเชื่อที่อิงกับแนวคิดทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ จดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และบางส่วนจากพันธสัญญาเดิม หลักข้อเชื่อนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากหลักข้อเชื่อโรมัน เพราะในเนื้อหาไม่ได้กล่าวถึงหรือแก้ปัญหาประเด็นปัญหาทางคริสตวิทยาดังที่ปรากฏในหลักข้อเชื่อไนซีนและหลักข้อเชื่ออื่น ๆ ของคริสตชนที่เกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น ปัญหาความเป็นพระเจ้าของพระเยซูหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชาวคริสต์ยุคแรก ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตอย่างลัทธิเอเรียสและลัทธิเอกภาพนิยมจึงยอมรับหลักข้อเชื่อนี้ด้วย ชื่อ “หลักข้อเชื่อของอัครทูต” อาจจะเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตามความเชื่อของคริสตชนที่ว่าอัครทูตทั้งสิบสองคนเป็นผู้แต่งข้อต่าง ๆ ขึ้นมาด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์หลังจากเทศกาลเพนเทคอสต์ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดยืนยันได้ว่าความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงMcGrath, Alister E., Christian Theology: An Introduction", Singapore: Blackwell Publisher, 2007, p. 14.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และหลักข้อเชื่อของอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

หลักข้อเชื่อไนซีน

ักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเหล่ามุขนายกสมาชิกสภาสังคายนาถือคำประกาศหลักข้อเชื่อไนซีน หลักข้อเชื่อไนซีนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 177 (Nicene Creed; Symbolum Nicaenum) คือการประกาศศรัทธาและหลักข้อเชื่อที่ถูกใช้มากที่สุดในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ และเป็นบรรทัดฐานความเชื่อในคริสต์ศาสนากระแสหลักในปัจจุบัน แม้หลักข้อเชื่อฉบับนี้จะถูกเรียบเรียงขึ้นโดยสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งเมื่อปี..

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และหลักข้อเชื่อไนซีน · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อีสเตอร์

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (Easter; Ēostre หรือ date; Pascha ปัสคา; Πάσχα, Paskha; פַּסחא Pasḥa; มาจาก פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์ นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก.

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และอีสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส

หมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (Epistle to the Ephesians) เรียกโดยย่อว่าพระธรรมเอเฟซัส เป็นเอกสารฉบับที่ 10 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ จากหลักฐานโดยทั่วไปถือว่าผู้เขียนพระธรรมเล่มนี้คือ นักบุญเปาโล เอเฟซัส เป็นจดหมายที่นักบุญเปาโลไม่ได้เขียนถึงคริสตจักรในเมืองเอเฟซัสเพียงเมืองเดียวเท่านั้น แต่ยังถูกส่งไปถึงคริสตจักรในเมืองอื่นๆแถบเอเซียด้วย นักบุญเปาโลน่าจะเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นในราวปี..

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1

หมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 (First Epistle of Paul to Timothy) เรียกโดยย่อว่าพระธรรมทิโมธี ฉบับที่หนึ่ง เป็นเอกสารฉบับที่ 15 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งใน "จดหมายฝากศิษยาภิบาล" อันได้แก่ 1 ทิโมธี, 2 ทิโมธี และ ทิตัส แต่เดิมพระธรรมเล่มนี้เป็นจดหมายฉบับแรก ซึ่งนักบุญเปาโลเขียนถึงทิโมธี ทั้งข้อความภายในตัวจดหมายและคริสตจักรในยุคแรกต่างยืนยันตรงกันว่านักบุญเปาโลเป็นผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ ซึ่งน่าจะถูกเขียนขึ้นราวปี..

ใหม่!!: พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์และจดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ascension of ChristAscension of JesusAscension of Jesus Christการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซูอัสสัมชัญของพระเยซู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »