โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

ดัชนี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

18 ความสัมพันธ์: บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์พระวรสารกรีกลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารศาสนาอิสลามศิลปะกอทิกศิลปะไบแซนไทน์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางหนังสือกำหนดเทศกาลอารามอุปมานิทัศน์จุลจิตรกรรมจุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรประเทศอิตาลีประเทศไอร์แลนด์แม่พระและพระกุมารโรมัน

บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์

ลจิตรกรรมสัญลักษณ์แฝงคติจาก “ตำนานแห่งความรัก” ของพระเจ้าเรเน (King Rene’s Livre du cueur d'amour esprit) บาเธเลมี ฟาน เอค (ภาษาอังกฤษ: Barthelemy van Eyck หรือ Barthélemy d’Eyck หรือ van Eyck หรือ d' Eyck) (ค.ศ. 1420 - ก่อน ค.ศ. 1470) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นคนสำค้ญของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้ทำงานอาจจะเป็นในบริเวณเบอร์กันดีในประเทศฝรั่งเศส บาเธเลมี แวน เอคมีความสำคัญในการเขียนภาพเขียน, จุลจิตรกรรม (Miniature) และภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร ฟาน เอคสร้างผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1440 ถึงปี ค.ศ. 1469 และอาจจะเป็นญาติกับ ยาน ฟาน เอค แม้ว่างานที่เหลืออยู่จะไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าเป็นงานของบาเธเลมี ฟาน เอค แต่นักประพันธ์ร่วมสมัยกล่าวว่าฟาน เอคเป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงของสมัยนั้น และมักจะยอมรับว่างานชิ้นสำคัญๆ เป็นงานของฟาน เอค โดยเฉพาะเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคนคนเดียวกับผู้ที่รู้จักกันในนามว่า “ครูบาแห่งการประกาศของเทพแห่งเอ็กซ์” (Master of the Aix Annunciation) ในฐานะเป็นผู้วาดบานพับภาพ และ “ครูบาแห่งเรเนแห่งอองชู” (Master of René of Anjou) ผู้วาดภาพสำหรับหนังสือวิจิตร นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าฟาน เอคคือ “ครูบาแห่งแสงเงา” ซึ่งเป็นผู้วาดภาพบางภาพใน “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี” (Très Riches Heures du Duc de Berry).

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและบาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

กรีก

กรีก (Greek) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและกรีก · ดูเพิ่มเติม »

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร (Luke the Evangelist; לוקא; Loukas) เกิดที่แอนติออก ประเทศตุรกีปัจจุบัน เสียชีวิตประมาณปี..

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและศิลปะกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์

มเสก ศิลปะไบแซนไทน์ ที่สุเหร่าโซเฟีย ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและศิลปะไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือกำหนดเทศกาล

อห์น ดยุคแห่งแบร์รีในโอกาส “วันแลกเปลี่ยนของขวัญ” ซึ่งเป็นภาพสำหรับเดือนมกราคม หนังสือกำหนดเทศกาลจากปลายคริสต์ทศวรรษ 1470 บทสวด “Obsecro te” มี ปีเอต้า ขนาดเล็กเป็นภาพประกอบ จากหนังสือกำหนดเทศกาลแห่งอองเชส์จากคริสต์ทศวรรษ 1470 หนังสือกำหนดเทศกาล (book of hours) เป็นหนังสือวิจิตรจากยุคกลางที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน หนังสือกำหนดเทศกาลแต่ละเล่มก็มีลักษณะแตกต่างจากกันแต่ที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือจะเป็นหนังสือที่ประกอบด้วยข้อเขียน, บทสวดมนต์ และ เพลงสดุดี และเป็นหนังสือที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นหนังสือสวดมนต์สำหรับคริสต์ชนผู้เคร่งครัด คำว่า “ชั่วโมง” ในคำภาษาอังกฤษสำหรับหนังสือกำหนดเทศกาลนั้น มาจากภาษาละติน ว่า “horae” แต่ถ้าเป็นหนังสือสวดมนต์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็มักจะเรียกว่า “primer” หนังสือกำหนดเทศกาลมักจะเขียนเป็นภาษาละติน แต่ก็มีบ้างที่เขียนเป็นภาษาพื้นเมืองของยุโรป หนังสือจำนวนมากที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันอยู่ในมือของห้องสมุดหรือของผู้สะสมส่วนบุคคล.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและหนังสือกำหนดเทศกาล · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลจิตรกรรม

ลจิตรกรรม อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและจุลจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

อเนอิด''” (Aeneid) โดยเวอร์จิลของคริสต์ศตวรรษที่ 5 จุลจิตรกรรมสำหรับหนังสือวิจิตร (Miniature (illuminated manuscript)) คำว่า “Miniature” มาจากภาษาละตินว่า “Minium” ที่หมายถึงสารสี “เลดเทโทรไซด์” หรือ “ตะกั่วแดง” (Lead tetroxide) คือหนังสือวิจิตรโบราณหรือจากยุคกลาง หรือ ลายตกแต่งอย่างง่ายๆ ของกฎบัตรที่ตกแต่งด้วยสารสีตะกั่วแดงดังกล่าว การที่ภาพโดยทั่วไปจากยุคกลางมักจะมีขนาดเล็กทำให้สับสนกับจิตรกรรมขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพเหมือนขนาดเล็ก (portrait miniature) ที่พัฒนามาจากลักษณะการวาดที่มีประวัติคล้ายคลึงกัน นอกไปจากธรรมเนียมการวาดจุลจิตรกรรมทางตะวันตกและไบแซนไทน์แล้ว ทางตะวันออกก็มีการเขียนจุลจิตรกรรมที่มักจะเป็นภาพที่มีเนื้อหามากกว่าทางตะวันตก และจากที่เป็นงานที่เขียนสำหรับหนังสือก็พัฒนาไปเป็นงานเขียนเป็นแผ่นๆ ที่ใช้เก็บในอัลบัมได้ ที่เรียกว่าจุลจิตรกรรมเช่นเดียวกับทางตะวันตก แต่มีลักษณะเดียวกับภาพเขียนสีน้ำ จุลจิตรกรรมทางตะวันออกก็รวมทั้งจุลจิตรกรรมเปอร์เซีย และ จุลจิตรกรรมโมกุล, จุลจิตรกรรมออตโตมัน และ จุลจิตรกรรมอินเดี.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและจุลจิตรกรรมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระและพระกุมาร

แม่พระและพระกุมาร (Madonna and Child; Madonna col Bambino) เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในศาสนาคริสต์ เป็นรูปของพระนางมารีย์พรหมจารี (ซึ่งชาวคาทอลิกเรียกว่าแม่พระ) และพระกุมารเยซู (พระเยซูเมื่อทรงพระเยาว์) “แม่พระและพระกุมาร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi).

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและแม่พระและพระกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน

รมัน อาจหมายถึง;ประวัติศาสตร.

ใหม่!!: เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรและโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Illuminated manuscriptIlluminated manuscriptsManuscript illuminationหนังสือวิจิตร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »