สารบัญ
28 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาจีนภาษาลันนังภาษาหมิ่นตะวันออกภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานภาษาจีนกลางภาษาจีนกวางตุ้งภาษาจีนหมิ่นภาษาไต้หวันมณฑลกวางตุ้งมณฑลฝูเจี้ยนมณฑลไหหลำรัฐปีนังราชวงศ์หมิงสัทอักษรสากลอักษรละตินอักษรจีนจังหวัดภูเก็ตประเทศฟิลิปปินส์ประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศอินโดนีเซียประเทศจีนประเทศไทยประเทศไต้หวันแต้จิ๋วไถหนันไทเปเซี่ยเหมิน
- ภาษาในประเทศจีน
- ภาษาในประเทศฟิลิปปินส์
- ภาษาในประเทศมาเลเซีย
- ภาษาในประเทศสิงคโปร์
กลุ่มภาษาจีน
ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และกลุ่มภาษาจีน
ภาษาลันนัง
ษาลันนัง(咱人話, หรือ 咱儂話), หรือ 'Lan-nang-oé', เป็นสำเนียงของภาษาจีนฮกเกี้ยนในฟิลิปปินส์ ชื่อ lan-nang-oé หมายถึง ' ภาษา (oé)ของประชาชน (lâng) ของเรา (lán) ' เป็นสำเนียงแม่ของสำเนียงเซียแมนหรืออมอย ใช้พูดในชุมชนชาวจีนในฟิลิปปินส์ ได้รับอิทธิพลจากภาษาตากาล็อก ภาษาสเปน และภาษาจีนกวางตุ้ง มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 592,200 คนหรือ 98.5% ของชาวจีนในฟิลิปปินส์ทั้งหม.
ภาษาหมิ่นตะวันออก
ภาษาหมิ่นตะวันออก หรือ ภาษาหมิ่นตง เป็นภาษาที่ใช้พูดในทางตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยน โดยเฉพาะในฝูโจว สำเนียงฝูโจวเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาหมิ่นตะวันออก หมิ่นตะวันออก.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และภาษาหมิ่นตะวันออก
ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
ษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้:福建話, ภาษาจีน:泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจงาจิว, เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณทฑฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน, สิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนี้ ประเทศไต้หวันเรียกว่า ไต้อี๊ (อักษรจีน:臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนเอ (ป๋ายเอ๋ยี๋:Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฟุกจิว (อักษรจีน:福州話).
ดู ภาษาหมิ่นใต้และภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
ภาษาจีนกลาง
ษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก.
ภาษาจีนกวางตุ้ง
ษาจีนกวางตุ้ง (ชาวจีนเรียกว่า 粵 เยฺว่ Yuè หรือ ยฺหวืด Jyut6) เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณมณฑลแถบตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และยังใช้มากในหมู่ของชาวจีนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเหล่าชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกที่อพยพไปจากมณฑลกวางตุ้งอีกด้วย โดยที่สำเนียงกวางเจาจัดเป็นสำเนียงกลางของภาษาจีนกวางตุ้ง มีผู้พูดทั่วโลกราวๆ 71 ล้านคน ซึ่งภาษากวางตุ้งจัดได้ว่าเป็นภาษาถิ่นอันดับหนึ่งของจีนที่คนพูดมากที่สุด และเป็นภาษาที่ใช้ทางการเป็นอันดับสอง รองลงมาจากภาษาจีนกลางที่เป็นภาษาราชการหลักของประเท.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และภาษาจีนกวางตุ้ง
ภาษาจีนหมิ่น
แผนที่แสดงสำเนียงหลักของภาษาจีนหมิ่น ภาษาหมิ่น เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน และผู้ที่อพยพไปมณฑลกวางตุ้ง หูหนาน และไต้หวัน แบ่งย่อยได้เป็น ภาษาหมิ่นเหนือ (Min Bei) ภาษาหมิ่นใต้หรือภาษาจีนฮกเกี้ยน(Min nan) และสำเนียงอื่นๆ เป็นภาษาหลักของชาวจีน ในฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซี.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และภาษาจีนหมิ่น
ภาษาไต้หวัน
ษาไต้หวัน มักหมายถึง ภาษาฮกเกี้ยน (Taiwanese Hokkien) - ภาษาซึ่งใช้โดยราว ๆ ร้อยละเจ็ดสิบของประชากรในสาธารณรัฐจีน และอาจหมายถึง.
มณฑลกวางตุ้ง
มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และมณฑลกวางตุ้ง
มณฑลฝูเจี้ยน
มณฑลฝูเจี้ยน หรือ มณฑลฮกเกี้ยน (จีน: 福建省 Fujian) เป็นมณฑลชายฝั่งทะเลที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน อาณาเขตทางภาคเหนือติดกับมณฑลเจ้อเจียง ภาคใต้ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ภาคตะวันออกติดกับช่องแคบไต้หวัน ชื่อฝูเจี้ยนมาจากอักษรนำหน้าชื่อเมืองสองเมืองรวมกันคือฝูโจวและเจี้ยนโอว ชื่อนี้ได้รับการตั้งในสมัยราชวงศ์ถัง.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และมณฑลฝูเจี้ยน
มณฑลไหหลำ
มณฑลไหหลำ หรือ ไห่หนาน (ภาษาจีน: 海南, พินอิน: Hǎinán) คือมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ "ไห่หนาน" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า "ไห่หนานเฉิ่ง" เมืองหลวงคือ เมืองไหโข่ว.
รัฐปีนัง
ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.
ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ.
สัทอักษรสากล
ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และสัทอักษรสากล
อักษรละติน
อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).
อักษรจีน
รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..
จังหวัดภูเก็ต
ูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และจังหวัดภูเก็ต
ประเทศฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..
ดู ภาษาหมิ่นใต้และประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..
ดู ภาษาหมิ่นใต้และประเทศมาเลเซีย
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..
ดู ภาษาหมิ่นใต้และประเทศสิงคโปร์
ประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).
ดู ภาษาหมิ่นใต้และประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศจีน
ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ประเทศไต้หวัน
ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.
ดู ภาษาหมิ่นใต้และประเทศไต้หวัน
แต้จิ๋ว
แต้จิ๋ว หรือ เฉาโจว (潮州) ในภาษาอังกฤษสะกดหลายแบบ Chaozhou, Teochew, Teochiu, Diojiu, Tiuchiu, Chiuchow อาจหมายถึง.
ไถหนัน
หนัน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (Táinán Shì; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (Fènghuáng Chéng; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (Rèlánzhē Chéng; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (Zhèng Chénggōng) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (Dōngníng; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (Táiběi; Taipei) เมื่อปี 1887 คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (Dàyuán; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน.
ไทเป
right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ.
เซี่ยเหมิน
ซี่ยเหมิน (厦门市; Xiamen) เป็นเมืองในมณฑลฝูเจี้ยน มีชื่อตามภาษาฮกเกี้ยนว่า เอ้หมึง (Ē-mn̂g) หรือภาษาอังกฤษว่า อามอย (Amoy) หมายความว่า ประตูคฤหาสน์ เป็นเมืองที่อยู่บนเกาะ ห่างจากเกาะไต้หวันประมาณ 1 กิโลเมตร มีสัญลักษณ์เป็นนกกระยางขาว.
ดูเพิ่มเติม
ภาษาในประเทศจีน
- กลุ่มภาษาจีน
- กลุ่มภาษาทิเบต
- กลุ่มภาษามองโกล
- ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
- ภาษาคาซัค
- ภาษาคีตัน
- ภาษาคีร์กีซ
- ภาษาจีนกลาง
- ภาษาจีนมาตรฐาน
- ภาษาจูร์เชน
- ภาษาจ้วง
- ภาษาซิเบ
- ภาษาตงเซียง
- ภาษาตาตาร์
- ภาษาทาจิก
- ภาษาทิเบต
- ภาษาบูร์ยัต
- ภาษาม้ง
- ภาษาหมิ่นกลาง
- ภาษาหมิ่นตะวันออก
- ภาษาหมิ่นผูเซียน
- ภาษาหมิ่นใต้
- ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
- ภาษาอุซเบก
- ภาษาอุยกูร์
- ภาษาอู๋
- ภาษาเซียง
- ภาษาเซี่ยงไฮ้
- ภาษาเวียดนาม
- ภาษาเอเวนค์
- ภาษาแคะ
- ภาษาแมนจู
- ภาษาโคกูรยอ
- อักษรฟราเซอร์
ภาษาในประเทศฟิลิปปินส์
ภาษาในประเทศมาเลเซีย
- กลุ่มภาษามาเลย์อิก
- ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
- ภาษาจาม
- ภาษาจีนกลาง
- ภาษาชวา
- ภาษาซาไก
- ภาษาดัวโน
- ภาษาทมิฬ
- ภาษาบาเตก
- ภาษาบาเฮา
- ภาษามลายู
- ภาษามลายูบรูไน
- ภาษามลายูปัตตานี
- ภาษามลายูลูกผสมมะละกา
- ภาษามลายูเกอดะฮ์
- ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน
- ภาษามาดูรา
- ภาษามาราเนา
- ภาษามีนังกาเบา
- ภาษายากุน
- ภาษาลุนบาวัง
- ภาษาสัญลักษณ์มาเลเซีย
- ภาษาหมิ่นตะวันออก
- ภาษาหมิ่นผูเซียน
- ภาษาหมิ่นใต้
- ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
- ภาษาอีบัน
- ภาษาเชก-วอง
- ภาษาเตมวน
- ภาษาเตลูกู
- ภาษาเตอเมียร์
- ภาษาเตาซุก
- ภาษาเบอไลต์
- ภาษาแคะ
- ภาษาโอรังเซอเลตาร์
- ภาษาไทยถิ่นใต้
- แต็นแอ็น
ภาษาในประเทศสิงคโปร์
- กลุ่มภาษาจีน
- ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
- ภาษาจีนกลาง
- ภาษาทมิฬ
- ภาษามาดูรา
- ภาษาหมิ่นผูเซียน
- ภาษาหมิ่นใต้
- ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
- ภาษาแคะ
- ภาษาแต้จิ๋ว
- ภาษาโอรังเซอเลตาร์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาษาหมิ่นหนานสำเนียงหมิ่นหนันหมิ่นหนาน