สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียกลุ่มภาษามาเลย์อิกภาษามลายูรัฐยะโฮร์รัฐปะหังประเทศมาเลเซียเปอกัน
- ภาษาในประเทศมาเลเซีย
กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย
กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่ายๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง.
ดู ภาษายากุนและกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย
กลุ่มภาษามาเลย์อิก
กลุ่มภาษามาเลย์อิก เป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาซุนดา-ซูลาเวซี มีสมาชิก 25 ภาษา แพร่กระจายในเขตสุมาตราตอนกลางรวมทั้งภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย, ภาษามีนังกาเบาในสุมาตรากลาง, ภาษาอาเจะฮ์ในอาเจะฮ์, ภาษาจามในเวียดนามและกัมพูชา, ภาษามอเก็นในประเทศไทย และภาษาอีบันในบอร์เนียวเหนือ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน.
ดู ภาษายากุนและกลุ่มภาษามาเลย์อิก
ภาษามลายู
ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ.
รัฐยะโฮร์
ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.
รัฐปะหัง
ปะหัง (Pahang, อักษรยาวี: ڨهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดบนมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประก์ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน (Kuantan) ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่ปกัน (Pekan) เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิส เตเมร์โละห์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงจาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์ ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ") องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน.
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..
เปอกัน
ปกัน (Pekan) เป็นเมืองที่สุลต่านแห่งรัฐปะหังประทับอยู่ เป็นเมืองที่มีแม่น้ำปะหังไหลผ่าน พื้นที่ของรัฐปกันมีพื้นที่ 3,805ตารางกิโลเมตร ปกันมีประชากรทั้งหมด 60,000 คน อยู่ห่าจากกัวลาลัมเปอร์ 280 กิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ของกวนตัน หมวดหมู่:เมืองในประเทศมาเลเซีย.
ดูเพิ่มเติม
ภาษาในประเทศมาเลเซีย
- กลุ่มภาษามาเลย์อิก
- ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
- ภาษาจาม
- ภาษาจีนกลาง
- ภาษาชวา
- ภาษาซาไก
- ภาษาดัวโน
- ภาษาทมิฬ
- ภาษาบาเตก
- ภาษาบาเฮา
- ภาษามลายู
- ภาษามลายูบรูไน
- ภาษามลายูปัตตานี
- ภาษามลายูลูกผสมมะละกา
- ภาษามลายูเกอดะฮ์
- ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน
- ภาษามาดูรา
- ภาษามาราเนา
- ภาษามีนังกาเบา
- ภาษายากุน
- ภาษาลุนบาวัง
- ภาษาสัญลักษณ์มาเลเซีย
- ภาษาหมิ่นตะวันออก
- ภาษาหมิ่นผูเซียน
- ภาษาหมิ่นใต้
- ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
- ภาษาอีบัน
- ภาษาเชก-วอง
- ภาษาเตมวน
- ภาษาเตลูกู
- ภาษาเตอเมียร์
- ภาษาเตาซุก
- ภาษาเบอไลต์
- ภาษาแคะ
- ภาษาโอรังเซอเลตาร์
- ภาษาไทยถิ่นใต้
- แต็นแอ็น