โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาตากาล็อก

ดัชนี ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

47 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาบีโคลกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลางกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียกลุ่มภาษาจีนกล้วยภาษาฟิลิปีโนภาษาฟีจีภาษากาปัมปางันภาษาญี่ปุ่นภาษามลายูภาษามาลากาซีภาษาละตินภาษาวาไรภาษาสันสกฤตภาษาสเปนภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาอินโดนีเซียภาษาอีโลกาโนภาษาฮาวายภาษาฮีลีไกโนนภาษาทมิฬภาษาไปวันภาษาเตตุมภาษาเซบัวโนภาษาเปอร์เซียมะนิลามานูเอล เอเล. เกซอนมินดาเนามินโดโรหญ้าอักษรกวิอักษรละตินอักษรลนตาราอักษรไบบายินอเมริกันอินเดียนตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนตระกูลอักษรพราหมีประเทศฟิลิปปินส์ประเทศสเปนประเทศไต้หวันประเทศเม็กซิโกนครรัฐวาติกันไวยากรณ์ภาษาตากาล็อกเกาะลูซอนเกาะซูลาเวซี

กลุ่มภาษาบีโคล

กลุ่มภาษาบีโคล (ฟิลิปีโนและBikol) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะคาบสมุทรบีโคลบนเกาะลูซอน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและกลุ่มภาษาบีโคล · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง

กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดในฟิลิปปินส์ กระจายทั่วไปในเกาะลูซอนตอนใต้ หมู่เกาะวิซายัส เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะซูลู ตัวอย่างภาษาในกลุ่มนี้ได้แก่ ภาษาตากาล็อก ภาษาเซบัวโน ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาบิโกล ภาษาวาไร-วาไร ภาษากินาไรอา ภาษาเตาซุก และอื่ นๆ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่ายๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

กล้วย

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้ว.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟีจี

ษาฟีจี อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมลาโย-โพลินีเซียน พูดในประเทศฟีจี ประมาณ 320,000 คน และมีผู้ใช้ภาษาฟีจีในประเทศนิวซีแลนด์อีกเกือบพันคน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาฟีจี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาปัมปางัน

ษากาปัมปางัน เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดในประเทศฟิลิปปิน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษากาปัมปางัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลากาซี

ษามาลากาซี (Malagasy หรือ Malgache ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นภาษาราชการของประเทศมาดากัสการ.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษามาลากาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาวาไร

ษาวาไร (Waray), ซามาร์-เลเต หรือ ซามาร์ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดซามาร์, นอร์เทิร์นซามาร์, อีสเทิร์นซามาร์, เลเต และบีลีรันในฟิลิปปินส์ จัดอยู่ในภาษาตระกูลวิซายัน มีความเกี่ยวข้องกับภาษาเซบูและใกล้เคียงกับภาษาฮีลีไกโนน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาวาไร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

ษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้:福建話, ภาษาจีน:泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจงาจิว, เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณทฑฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในประเทศไต้หวัน, สิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนี้ ประเทศไต้หวันเรียกว่า ไต้อี๊ (อักษรจีน:臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนเอ (ป๋ายเอ๋ยี๋:Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฟุกจิว (อักษรจีน:福州話).

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอินโดนีเซีย

ษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia; Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอก.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮาวาย

ษาฮาวาย (Hawaiian: Ōlelo Hawaii) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโพลินีเซียซึ่งได้ชื่อภาษามาจากเกาะฮาวาย เกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตอนเหนือ ภาษาฮาวายและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของมลรัฐฮาวาย พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3ได้สถาปนารัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฮาวายครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีลีไกโนน

ษาฮีลีไกโนน (ฟิลิปีโนและHiligaynon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียใช้พูดในวิซายาตะวันตก ประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอีโลอีโลและเนโกรส และจังหวัดอื่น ๆ ในเกาะปาไน เช่น คาปิซ, อันตีเก, อักลัน และกีมารัส มีผู้พูด 7 ล้านคน ใช้เป็นภาษาแม่ และใช้เป็นภาษาที่สองอีก 4 ล้านคน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาฮีลีไกโนน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไปวัน

ภาษาไปวัน เป็นภาษาพื้นเมืองของไต้หวัน พูดโดยชาวไปวัน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน สาขาเกาะฟอร์โมซา มีผู้พูดราว 66,000 คน ปไวัน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาไปวัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตตุม

ษาเตตุม (หรือเตตุน) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศติมอร์-เลสเต เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่มีคำจำนวนมากมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาเตตุม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเซบัวโน

ษาเซบู (Cebuano; Sebwano; เซบู: Sinugboanon) เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในฟิลิปปินส์ 18 ล้านคน ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากชื่อเกาะเซบู รวมกับปัจจัยจากภาษาสเปน -ano หมายถึง ที่เกี่ยวกับเชื้อชาต.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาเซบัวโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

มะนิลา

มะนิลา (Manila; Maynila) เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ บางส่วนของเมืองมีความยากจน อย่างไรก็ดี มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสหากรรมของประเทศ มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เขต เมโทรมะนิลา (Metro Manila) เป็นมหานครที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยเมืองและเทศบาล 17 แห่ง เฉพาะเมืองมะนิลาเองเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เมืองเดียวที่มีประชากรมากกว่าคือเมืองเกซอนซิตี (Quezon City) ชานเมืองและอดีตเมืองหลวง มะนิลาตั้งอยูที่ 14°35' เหนือ 121°0' ตะวันออก.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและมะนิลา · ดูเพิ่มเติม »

มานูเอล เอเล. เกซอน

มานูเอล ลุยส์ เกซอน อี โมลีนา (Manuel Luis Quezón y Molina) หรือ มานูเวล ลูวิส โมลีนา เคโซน (Manuel Luis Molina Quezon; 19 สิงหาคม พ.ศ. 2421 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นรัฐบุรุษ ทหาร และนักการเมืองฟิลิปปินส์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและมานูเอล เอเล. เกซอน · ดูเพิ่มเติม »

มินดาเนา

มินดาเนา (Mindanao) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 และตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศฟิลิปปินส์ มีลักษณะภูมิประเทศที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ชายฝั่งเว้าแหว่ง มีอ่าวขนาดใหญ่และเล็กจำนวนมาก มีเทือกเขาซึ่งมียอดเขาหลายแห่งที่มีความสูงมากกว่า 1,500 เมตร ยอดสูงสุดชื่อ อาโป สูง 2,954 เมตร มีระบบแม่น้ำหลัก 2 ระบบ คือ ระบบแม่น้ำอากูซันทางตะวันออก และระบบแม่น้ำมินดาเนาทางใต้และกลาง ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวเจ้า มะพร้าว ไม้ซุง กาแฟ ป่านอะบากา ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้าไปในเกาะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ซึ่งเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนได้เดินทางมาถึงเกาะนี้ ใน..

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและมินดาเนา · ดูเพิ่มเติม »

มินโดโร

มินโดโร (Mindoro) เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลูซอน ทิศตะวันตกจดทะเลจีนใต้ ทิศใต้จดทะเลลูซู ทิศเหนือแยกจากเกาะลูซอนโดยช่องแคบเวอร์เด ทิศตะวันออกแยกจากเกาะตาบลัสและเกาะอื่น ๆ โดยช่องแคบตาบลัส และด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกจากหมู่เกาะกาลามีอันโดยช่องแคบมินโดโร ชาวจีนรู้จักเกาะนี้ก่อนที่สเปนจะเดินทางมาถึงใน..

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและมินโดโร · ดูเพิ่มเติม »

หญ้า

หญ้า เป็นพืชล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล ในชั้น Liliopsida วงศ์ Poaceae หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่าวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.) หญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ธูปฤาษี มีพืชชนิดนี้ประมาณ 600 สกุล และมีประมาณ 10,000 ชนิด มีการประเมินกันว่าหญ้าเป็นพืชที่ปกคลุมผิวโลกกว่า 20% ของพืชทั้งหมดบนโลก พืชในวงศ์นี้เป็นพืชที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจมนุษย์ รวมไปถึง ใช้เป็นสนามหญ้า, อาหารหลักที่ปลูกทั่วโลก, และไม้ไผ่ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างในเอเชีย แต่บางชนิดจัดเป็นวัชพืช ปัจจุบัน หญ้าเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่นหญ้ามิสแคนทัส และ หญ้ามิสแคนทัสช้าง พืชในวงศ์หญ้าที่เรารู้จักดี เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ้ต ข้าวไรย์ ลูกเดือย หญ้าไรย์ อ้อย ไผ่ ตะไคร้ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกวิ

ตราประทับ "บูตวน คำว่าบูตวนเขียนด้วยอักษรกวิ (ด้านซ้ายเป็นตรา; ด้านขวาเป็นรอยประทับ) อักษรกวิ (กะ-วิ) เป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรในอินเดียใต้ ใช้ในบริเวณหมู่เกาะ เช่น ชวา สุมาตรา ทางภาคใต้ของไทยมีหลักฐานว่าเคยใช้อักษรนี้แต่ไม่แพร่หลายมากนัก ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้อักษรไทยและอักษรขอม อักษรกวิไม่มีบ่าอักษรเช่นเดียวกับอักษรมอญโบราณ.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและอักษรกวิ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลนตารา

อักษรลนตารา หรือ อักษรมากาซาร์ (Lontara or Makasar alphabet) พัฒนามาจากอักษรพราหมี คำว่าลนตาราเป็นภาษามลายูหมายถึงชื่อของใบปาล์มลนตราที่ใช้เขียนหนังสือในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย ตรงกับใบลานในภาษาไทยใช้เขียน ภาษาบูกิส ภาษามากาซาร์ และภาษามันดาร์ ภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในเกาะซูลาเวซี ปัจจุบันใช้เขียนเฉพาะภาษามากาซาร.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและอักษรลนตารา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไบบายิน

อักษรไบบายิน (Baybayin alphabet) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาตากาล็อกและภาษาอีโลกาโน ได้ต้นแบบมาจากอักษรกวิ คาดว่าเริ่มใช้เมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและอักษรไบบายิน · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกันอินเดียน

อเมริกันอินเดียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและอเมริกันอินเดียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลอักษรพราหมี

ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและตระกูลอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อกเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีการผันคำกริยาที่ซับซ้อน เรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและไวยากรณ์ภาษาตากาล็อก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซูลาเวซี

ซูลาเวซี (Sulawesi) หรือเดิมเรียกว่า เซเลบีส (Celebes) ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส เป็นหนึ่งในเกาะซุนดาใหญ่ 4 เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมายังเกาะแห่งนี้ คือ กะลาสีเรือชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2055 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2212 เป็นต้นมา บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ที่มากัสซาร์ (Makassar) และเมื่อ พ.ศ. 2448 พื้นที่ทั้งเกาะกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิคมชาวดัตช์อินเดียตะวันออก กระทั่งอินโดนีเซียประกาศเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2498.

ใหม่!!: ภาษาตากาล็อกและเกาะซูลาเวซี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tagalog language

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »