โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาไทยถิ่นใต้

ดัชนี ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

51 ความสัมพันธ์: กระบี่กลุ่มภาษาไทกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ภาษามลายูปัตตานีภาษาแต้จิ๋วภาษาไทยภาคใต้ (ประเทศไทย)รัฐกลันตันรัฐตรังกานูรัฐปะลิสรัฐเกอดะฮ์รัฐเปรักสำเนียงพิเทนสำเนียงสงขลาสำเนียงตากใบอักษรขอมไทยอักษรไทยอาณาจักรตามพรลิงค์อำเภอกะพ้ออำเภอยะหริ่งอำเภอร่อนพิบูลย์อำเภอสายบุรีอำเภอสิชลอำเภอทุ่งยางแดงอำเภอทุ่งสงอำเภอขนอมอำเภอคลองท่อมอำเภอปะนาเระจังหวัดชุมพรจังหวัดพัทลุงจังหวัดพังงาจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดยะลาจังหวัดระนองจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดปัตตานีจังหวัดนราธิวาสจังหวัดนครศรีธรรมราชทะเลอันดามันทิวเขานครศรีธรรมราชตระกูลภาษาไท-กะไดประเพณีสารทเดือนสิบประเทศพม่าประเทศมาเลเซียประเทศไทย...เขตตะนาวศรี ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

กระบี่

กระบี่ อาจหมายถึง; เขตการปกครอง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และกลุ่มภาษาไท · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Tai languages) เป็นกลุ่มภาษาไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มภาษานี้มี ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายูปัตตานี

ษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอ 'นายู 'ตานิง; Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมเป็นภาษาเดียวกันว่า "ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี".

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และภาษามลายูปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแต้จิ๋ว

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และภาษาแต้จิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกลันตัน

กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐตรังกานู

ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน) เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานู (Kuala Terengganu) ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานูเป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรั.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และรัฐตรังกานู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปะลิส

ปะลิส หรือเดิมสะกดว่า ปลิศ หรือ เปอร์ลิศ (Perlis, ยาวี: فرليس) มีชื่อเต็มคือ เปอร์ลิซอินเดอรากายางัน (Perlis Indera Kayangan; ยาวี: ڤرليس ايندرا كايڠن) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในมาเลเซีย อยู่ทางตอนเหนือสุดของมาเลเซียตะวันตก และติดชายแดนประเทศไทย ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมลายูประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือ กังการ์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา นอกจากนี้เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายไทย-มาเลเซียคือปาดังเบซาร์ ส่วนเมืองท่าของรัฐซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐคือกัวลาปะล.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และรัฐปะลิส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเกอดะฮ์

กอดะฮ์ (Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และรัฐเกอดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเปรัก

ปรัก หรือ เประก์ (Perak, อักษรยาวี: ڨيرق) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา "เปรัก" (Perak) ในภาษามลายูหมายถึงเงิน ซึ่งน่าจะมาจากสีเงินของแร่ดีบุก แต่บางคนก็ว่าชื่อของรัฐมาจาก "แสงวิบวับของปลาในน้ำ" ซึ่งส่องเป็นประกายเหมือนเงิน ส่วนชื่อเฉลิมเมืองในภาษาอาหรับคือ ดารุลริฎวาน ("ดินแดนแห่งความสง่างาม") เกาะปังกอร์เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การดำน้ำ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และรัฐเปรัก · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงพิเทน

ำเนียงพิเทน เป็นภาษาไทยถิ่นย่อยถิ่นหนึ่ง ที่ใช้จำเพาะอยู่ในชาวไทยมุสลิมในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี มีลักษณะพิเศษคือเป็นภาษาไทยภาคกลางปนถิ่นใต้ มีการใช้คำราชาศัพท์ร่วมด้วย และยืมคำมลายูเสียมาก ปัจจุบันสำเนียงพิเทนกำลังสูญไปและแทนที่ด้วยภาษามลายูปัตตานี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และสำเนียงพิเทน · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงสงขลา

ษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่งที่พูดกันมากในจังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ โดยมีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ ยังมีคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และสำเนียงสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียงตากใบ

ษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่ง ที่พูดกันมากตั้งแต่อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรีของจังหวัดปัตตานี ลงไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมถึงในเขตอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนราธิวาสด้วย นอกจากนี้ ภาษาเจ๊ะเห ยังใช้พูดกันในกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันของมาเลเซียด้วย ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ มีการคำที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปค่อนข้างมากคำพูดและสำเนียงภาษาได้สร้างความพิศวงแก่ชาวใต้ด้วยกันเองรวมไปถึงชาวไทยกลุ่มอื่นด้วย คือสำเนียงพูดเสียงชาวใต้ผสมกับภาษากับภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่นถ้าชาวตากใบถามว่ามาทำไม เขาจะพูดว่า ”มาเญิใด๋” ปลายประโยคทอดเสียงยาวว่า “มาเญียด้าย” อนึ่งสำเนียงตากใบมีลักษณะสำเนียงคล้ายกับกลุ่มภาษาไทยถิ่นตะวันออก (ภาษาไทยถิ่นจันทบุรี, ภาษาไทยถิ่นระยอง, เป็นต้น).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และสำเนียงตากใบ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรขอมไทย

อักษรขอมไทย เป็นอักษรขอมที่นำมาใช้เขียนภาษาไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากการใช้อักษรขอมเขียนภาษาบาลีและภาษาเขมร อักษรดังกล่าวนี้สามารถพบได้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ตำรายา ตำราคาถาอาคม รูปยันต์ต่าง ๆ โดยมากปรากฏในแถบภาคกลาง และอาจพบได้บ้างในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอักษรขอมไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์ (สันสกฤต: ตามฺพฺรลิงฺค; ताम्ब्रलिङ्ग) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น อาณาจักรนครศรีธรรมราช นั้น เป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน (อาจจะเป็นบริเวณบ้านท่าเรือ หรือบ้านพระเวียง) อยู่ทางด้านเหนือของอาณาจักรลังกาสุกะ (บริเวณปัตตานี) มีอาณาเขตทางตะวันออก และตะวันตกจรดทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลนอก ซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน คำว่า "ตามพ" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง ส่วน "ลิงค์" เป็นเครื่องหมายบอกเพศ เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Tambalinga หรือ Tanmaling หรือ Tamballinggam จีนเรียก ตันเหมยหลิง หรือโพ-ลิง หรือโฮลิง (แปลว่าหัวแดง) บางทีเรียกว่า เชียะโท้ว (แปลว่าดินแดง) อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช และ พระเจ้าจันทรภาณุ อาณาจักรตามพรลิงค์นี้เป็นเส้นทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนทั่วแหลมมลายู เนื่องจากอาณาจักรตามพรลิงค์กับศรีลังกามีความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องมาแต่สมัยโบราณ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอาณาจักรตามพรลิงค์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกะพ้อ

กะพ้อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอกะพ้อ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอยะหริ่ง

อำเภอยะรัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอยะหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอร่อนพิบูลย์

อำเภอร่อนพิบูลย์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอร่อนพิบูลย์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสายบุรี

อำเภอสายบุรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ชาวไทยเชื้อสายมลายูจะเรียกว่า ตะลุแบ (تلوبن Taluban; Telubae) หรือในภาษามลายู-สันสกฤตเรียกว่า สลินดงบายู หรือ ซือลินดงบายู (سليندوڠ بايو. Selindung Bayu) แปลว่า ที่กำบังลมพายุ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง มีความหลากหลายทางด้านภาษ.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอสายบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสิชล

ล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอสิชล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งยางแดง

ทุ่งยางแดง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอทุ่งยางแดง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งสง

ทุ่งสง เป็นอำเภอที่มีความเจริญเป็นอันดับสองของจังหวัดนครศรีธรรมราช รองจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาคใต้และเป็นจุดศูนย์กลางคมนาคมทางบกทั้งรถยนต์และรถไฟ อำเภอทุ่งสงมีประวัติความเป็นมายาวนาน ปรากฏตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าเคยเป็นแขวงขึ้นอยู่ในปกครองของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากมณฑล เป็นจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้จัดตั้งเป็นอำเภอทุ่งสงขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอทุ่งสง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอขนอม

นอม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอขนอม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคลองท่อม

ลองท่อม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอคลองท่อม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปะนาเระ

อำเภอปะนาเระ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ประชากรแต่งกายตามแบบของประชากรมลายู มีประเพณี วัฒนธรรมตามแบบอิสลาม พูดภาษามลายูและภาษาถิ่นใต้เจ๊ะเห (ตากใบ).

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และอำเภอปะนาเระ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพัทลุง

ัทลุง เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย เคยเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง และยังมีสภาพภูมิประเทศทั้งที่ราบ เนินเขา และชายฝั่ง โดยทางทิศตะวันตกของจังหวัด จะเป็นพื้นที่ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา อันเนื่องมาจากมีพื้นที่ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช ถัดลงมาทางตอนกลางและทางทิศตะวันออกของจังหวัด จรดทะเลสาบสงขลาจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาข้าว ชาวภาคใต้จะเรียกจังหวัดนี้ว่า เมืองลุง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดพัทลุง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพังงา

ังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไท.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดพังงา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกระบี่

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดภูเก็ต

ูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยะลา

ลา เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซี.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดยะลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดระนอง

ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองชุมพร คำว่าระนองเพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดมีแร่อยู่มากม.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดระนอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวั.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสงขลา

งขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรูปร่างยาวในแนวเหนือ-ใต้ และแคบในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยมีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอยู่ที่เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลเมืองหัวหิน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปัตตานี

ปัตตานี เป็นจังหวัดในภาคใต้ ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขล.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดปัตตานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดนราธิวาส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาห.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และจังหวัดนครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขานครศรีธรรมราช

หลวง นครศรีธรรมราช เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขานครศรีธรรมราช มีลักษณะตั้งเป็นแกนกลางของคาบสมุทรไทย (ภาคใต้ตอนกลาง) ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเริ่มจากเกาะต่าง ๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ เกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะพงัน เกาะสมุย เกาะกะเต็น และมีบางส่วน ที่จมลงไปในทะเล เรียกส่วนนี้ว่า ช่องแคบสมุย โดยมาโผล่ขึ้นที่อำเภอดอนสัก เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอำเภอขนอม เขตจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง โดยทิวเขาที่ผ่านเขตจังหวัดพัทลุงและตรัง ถือเป็นที่กั้นเขตแดนระหว่าง 2 จังหวัดนี้ มักเรียกอีกชื่อว่า "ทิวเขาบรรทัด" จากนั้น แนวทิวเขาทอดยาวลงไปยังเขตแดนระหว่างจังหวัดสตูลกับประเทศมาเลเซีย โดยบรรจบกับทิวเขาสันกาลาคีรีที่ภูเขาซีนา จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับมาเลเซีย แนวทิวเขานครศรีธรรมราชเป็นทิวเขาที่ใหญ่ที่สุดและยาวที่สุดในภาคใต้ โดยมียอดเขาหลวงซึ่งมีความสูงประมาณ 1,835 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของแนวทิวเขาและสูงที่สุดในเขตภาคใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เปรียบเสมือนเป็นหลังคาสีเขียวของภาคใต้ เพราะมีสภาพเป็นป่าดงดิบชื้นและป่าดิบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยและของโลก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และทิวเขานครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ประเพณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ ซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยก่อไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากภูมินรกในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้องที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังภูมินรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13 ถึง 15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ โดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และประเพณีสารทเดือนสิบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เขตตะนาวศรี

ตะนาวศรี (တနင်္သာရီတိုင်းဒေသကြီး, ตะนี้นตายี; ဏၚ်ကသဳ หรือ တနၚ်သြဳ) เป็นเขตที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศพม.

ใหม่!!: ภาษาไทยถิ่นใต้และเขตตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาถิ่นใต้ภาษาปักษ์ใต้ภาษาใต้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »