สารบัญ
13 ความสัมพันธ์: ภาษาม้งขาวภาษาม้งเขียวม้งสหรัฐอักษรพอลลาร์ดอักษรม้งอักษรละตินอักษรไทยประเทศลาวประเทศจีนประเทศไทยประเทศเวียดนามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ภาษาในประเทศจีน
- ภาษาในประเทศลาว
- ภาษาในประเทศไทย
ภาษาม้งขาว
ษาม้งขาว หรือ ภาษาม้งเด๊อว (Hmong Daw) มีผู้พูดทั้งหมด 514,895 คน พบในจีน 232,700 คน (พ.ศ. 2547) ทางตะวันตกของกุ้ยโจว ทางใต้ของเสฉวน และยูนนาน พบในลาว 169,800 คน (พ.ศ.
ภาษาม้งเขียว
ษาม้งเขียว หรือ ภาษาม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งตะวันตก มีผู้พูดทั้งหมด 1,290,600 คน พบในจีน 1,000,000 คน (พ.ศ. 2525) ซึ่งรวมชาวบูนูที่เป็นชนกลุ่มเย้าแต่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 29,000 คนเข้าไปด้วย ในบริเวณกุ้ยโจว เสฉวน และยูนนาน พบในลาว 145,600 คน (พ.ศ.
ม้ง
ม้ง หรือ เมียว (Miao; 苗; พินอิน: Miáo) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเขาภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ไทย เวียดนาม ลาว และสหรัฐอเมริกา โดยชุมชนชาวม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับในประเทศไทยคำว่า "แม้ว" เป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพในการเรียกกลุ่มคนม้ง ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ชาวม้งในลาวได้ต่อสู้ขบวนการปะเทดลาว ชาวม้งหลายคนอพยพมาประเทศไทย และ ชาติตะวันตก.
สหรัฐ
หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).
อักษรพอลลาร์ด
อักษรพอลลาร์ด หรือ พอลลาร์ดเมียว ประดิษฐ์โดยแซม พอลลาร์ด มิชชันนารีชาวอังกฤษโดยมีผู้ช่วยคือ ยาง ยาก และ ลิ ซิติฟาน ก่อนหน้านี้ภาษาม้งหรือแม้วเขียนด้วยอักษรจีน จนกระทั่งพอลลาร์ดประดิษฐ์อักษรใหม่เมื่อ..
อักษรม้ง
อักษรม้ง หรือ ปาเฮาห์ม้ง (Pahawh Hmong) ประดิษฐ์เมื่อ พ.ศ. 2502 โดย ชอง ลือ ยัง นักวรรณคดีม้งที่อยู่ทางภาคเหนือของลาวใกล้กับเวียดนาม ชางเชื่อว่าอักษรถูกส่งผ่านมายังเขาจากพระเจ้า เขาพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมม้ง แต่ถูกฝ่ายรัฐบาลลอบฆ่าเพราะหวั่นเกรงอิทธิพลของเขาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาออกแบบอักษรสำหรับภาษาขมุด้วยแต่สาบสูญไป อักษรนี้เขียนสระก่อนพยัญชนะแต่ออกเสียงพยัญชนะก่อน มีเสียงวรรณยุกต์ 8 เสียง ชาวม้งที่ใช้อักษรนี้มีน้อย โดยมากเป็นกลุ่มชาตินิยมเพราะอักษรนี้ประดิษฐ์โดยชาวม้งเอง อักษรอื่นที่ใช้เขียนภาษาม้งได้แก่อักษรพอลลาร์ด แม้วในจีน ในประเทศไทยใช้อักษรไทย ในช่วง..
อักษรละติน
อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).
อักษรไทย
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.
ประเทศลาว
ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.
ประเทศจีน
ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ประเทศเวียดนาม
วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.
ดู ภาษาม้งและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดูเพิ่มเติม
ภาษาในประเทศจีน
- กลุ่มภาษาจีน
- กลุ่มภาษาทิเบต
- กลุ่มภาษามองโกล
- ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
- ภาษาคาซัค
- ภาษาคีตัน
- ภาษาคีร์กีซ
- ภาษาจีนกลาง
- ภาษาจีนมาตรฐาน
- ภาษาจูร์เชน
- ภาษาจ้วง
- ภาษาซิเบ
- ภาษาตงเซียง
- ภาษาตาตาร์
- ภาษาทาจิก
- ภาษาทิเบต
- ภาษาบูร์ยัต
- ภาษาม้ง
- ภาษาหมิ่นกลาง
- ภาษาหมิ่นตะวันออก
- ภาษาหมิ่นผูเซียน
- ภาษาหมิ่นใต้
- ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
- ภาษาอุซเบก
- ภาษาอุยกูร์
- ภาษาอู๋
- ภาษาเซียง
- ภาษาเซี่ยงไฮ้
- ภาษาเวียดนาม
- ภาษาเอเวนค์
- ภาษาแคะ
- ภาษาแมนจู
- ภาษาโคกูรยอ
- อักษรฟราเซอร์
ภาษาในประเทศลาว
- กลุ่มภาษากะตู
- ภาษากวน
- ภาษากะตูตะวันตก
- ภาษากิมมุน
- ภาษากิออร์
- ภาษากูย
- ภาษาขมุ
- ภาษาญ้อ
- ภาษาตะโอย
- ภาษาบรู
- ภาษาบิต
- ภาษาบีซู
- ภาษาปวก
- ภาษาผู้น้อย
- ภาษาผู้ไท
- ภาษาฝรั่งเศส
- ภาษาพนา
- ภาษาพวน
- ภาษามลาบรี
- ภาษามัล
- ภาษาม้ง
- ภาษายรุ
- ภาษาละวี
- ภาษาละเม็ต
- ภาษาลาว
- ภาษาสิลา
- ภาษาหยูก
- ภาษาอาเร็ม
- ภาษาฮะลัง
- ภาษาฮานี
- ภาษาเขิน
- ภาษาเซดัง
- ภาษาเมี่ยน
- ภาษาแสก
- ภาษาโซ่ (ทะวืง)
- ภาษาโย้ย
- ภาษาโอย
- ภาษาไทดำ
- ภาษาไทยถิ่นเหนือ
- ภาษาไทลื้อ
- ภาษาไพ
ภาษาในประเทศไทย
- กลุ่มภาษากะตู
- ภาษากิมมุน
- ภาษากูย
- ภาษาจาม
- ภาษาชอง
- ภาษาซาไก
- ภาษาญัฮกุร
- ภาษาญ้อ
- ภาษาบรู
- ภาษาบีซู
- ภาษาผู้ไท
- ภาษาพวน
- ภาษามลาบรี
- ภาษามลายู
- ภาษามลายูบางกอก
- ภาษามลายูปัตตานี
- ภาษามลายูเกอดะฮ์
- ภาษามอญ
- ภาษามอแกน
- ภาษามอแกลน
- ภาษามัล
- ภาษาม้ง
- ภาษาลาว
- ภาษาลีสู่
- ภาษาล่าหู่
- ภาษาอีสาน
- ภาษาเขมร
- ภาษาเขมรตะวันตก
- ภาษาเขมรถิ่นไทย
- ภาษาเขิน
- ภาษาเมี่ยน
- ภาษาแคะ
- ภาษาแต้จิ๋ว
- ภาษาโซ่ (ทะวืง)
- ภาษาโย้ย
- ภาษาในประเทศไทย
- ภาษาไทดำ
- ภาษาไทย
- ภาษาไทยถิ่นเหนือ
- ภาษาไทยถิ่นใต้
- ภาษาไทลื้อ
- ภาษาไทโซ่ง
- ภาษาไทใต้คง
- ภาษาไทใหญ่
- ภาษาไพ
- อักษรฟราเซอร์
- แต็นแอ็น