โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศมาเลเซีย

ดัชนี ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

84 ความสัมพันธ์: ชวาบอร์เนียวเหนือชาวทมิฬช่องแคบมะละกากัวลาลัมเปอร์การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกการไม่มีศาสนาภาษามลายูภาษามาเลเซียภูมิบุตรมลายูมาฮาดีร์ บิน โมฮามัดมาเลเซียตะวันออกมาเลเซียตะวันตกมาเลเซียเชื้อสายไทยมุสลิมยุคสัมฤทธิ์ยุคเหล็กระบบเวสต์มินสเตอร์รัฐมะละการัฐยะโฮร์รัฐซาบะฮ์รัฐซาราวักรัฐปีนังรัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซียรัฐในอารักขาราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อนายกรัฐมนตรีมาเลเซียรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียริงกิตลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าลาบวนศาสนาพุทธศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซียศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์ศาสนาประจำชาติสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตันสหพันธรัฐสหพันธรัฐมาลายาสหภาพมาลายาสหราชอาณาจักรองค์การความร่วมมืออิสลามฮาลาลผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นจักรวรรดิบริติช...ทวีปยูเรเชียทะเลอันดามันทะเลจีนใต้ทะเลซูลูทะเลเซเลบีสขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดคริสต์คริสต์ศาสนิกชนความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกคอมมอนลอว์คาบสมุทรมลายูคุชราตซาไกประเทศบรูไนประเทศฟิลิปปินส์ประเทศกัมพูชาประเทศสิงคโปร์ประเทศอินโดนีเซียประเทศอุตสาหกรรมใหม่ประเทศไทยประเทศเวียดนามปัญจาบปูตราจายานการากูนิคมช่องแคบโบโรบูดูร์โรมันคาทอลิกเมืองพระนครเอกราชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขตร้อนเครือจักรภพแห่งประชาชาติเปอรานากัน.my ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชวา

วา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและชวา · ดูเพิ่มเติม »

บอร์เนียวเหนือ

อร์เนียวเหนือ เป็นรัฐในอารักขาในการดูแลของบริษัทบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ (British North Borneo Company) ระหว่างปีค.ศ. 1882 - 1946 หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนสถานะเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรโดยใช้ชื่อว่าบอร์เนียวเหนือของอังกฤษจนถึงปี..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและบอร์เนียวเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวทมิฬ

วทมิฬ (தமிழர்) เป็นประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และบริเวณภาคตะวันตกของประเทศศรีลังกา และชาวทมิฬอยู่ในกลุ่มของชาวดราวิเดียน พูดภาษาทมิฬเป็นภาษาแม่ในรัฐทมิฬนาฑู เขตการปกครองดินแดนสหภาพสาธารณรัฐอินเดียปูดูเชร์รี และจังหวัดเหนือ จังหวัดตะวันออก และปัตตาลัมของประเทศศรีลังกา ชาวทมิฬมีประชากรอยู่ประมาณ 76 ล้านคนที่เกิดทั่วโลก เป็นประชากรที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ชาวทมิฬอาศัยอยู่ในศรีลังกา 24.87%, มอริเชียส 10.83%, อินเดีย 5.91%, สิงคโปร์ 5% และ มาเลเซีย 7%.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและชาวทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบมะละกา

องแคบมะละกา อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย 250px ช่องแคบมะละกา (Strait of Malacca) เป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงคโปร์ ระบุพิกัดที่ประมาณ 1.43 องศาเหนือ และ 102.89 องศาตะวันออก ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวันหรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากกว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และมากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า มะละกา มะละกา หมวดหมู่:ประเทศสิงคโปร์ มะละกา หมวดหมู่:ชายแดนมาเลเซีย - อินโดนีเซีย.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

กัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปูตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและกัวลาลัมเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit ย่อว่า EAS) เป็นการประชุมสุดยอดของผู้นำประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จำนวน 16 ประเทศ โดยมีกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นศูนย์กลาง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

การไม่มีศาสนา

การแบ่งประเทศตามร้อยละของการให้ความสำคัญแก่ศาสนา ตามผลสำรวจของสำนักวิจัยพิว ใน พ.ศ. 2545 การไม่มีศาสนา (Irreligion หรือ No religion) หมายความว่า ภาวะที่ไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา หรือเป็นปรปักษ์ต่อศาสนา ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ว่ากันตามแต่ละนิยามหรือความเข้าใจของบุคคล การไม่มีศาสนาอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึง อเทวนิยม (atheism), อไญยนิยม (agnosticism), ศาสนวิมตินิยม (religious skepticism) หรือ มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism) เป็นต้น สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่นการเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาเท่า ๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งในวัตรปฏิบัติของตนเองพอ ๆ กับความลึกซึ้งของความเชื่อที่ศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาจะมิได้รับนับถือศาสนาใด ๆ แต่ผู้ที่ไม่มีศาสนาบางกลุ่มยังคงเชื่อถือในเทวะหรือผีสางนางไม้เป็นต้น เช่น คนที่นับถือผีหรือเชื่อโชคลาง แต่ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ หรือไม่ได้เป็นศาสนิก เป็นต้น พึงทราบว่า ในบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย บังคับให้พลเมืองต้องเป็นศาสนิกชน หรือประเทศไทย ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจถูกระบุโดยบุคคลอื่นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือในบางสังคมที่ไม่ยอมรับการไม่มีศาสนาอาจมีผู้ที่ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาในการสำรวจข้อมูลหรือการทำสำมะโนประชากร ดังนั้น จำนวนของผู้ที่ไม่มีศาสนาในโลกนี้จึงยังไม่อาจระบุให้เป็นที่แน่นอนได้ แต่คาดว่าอาจมีมากกว่า 900 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและการไม่มีศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาเลเซีย

ษามาเลเซีย (มาเลเซีย: Bahasa Malaysia; Malaysian language) หรือ ภาษามลายูมาตรฐาน (มาเลเซีย: Bahasa Melayu Baku; Standard Malay language) เป็นภาษาราชการของประเทศมาเลเซียและเป็นทำเนียบภาษาที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานจากภาษามลายูถิ่นมะละกา มีความใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 95 มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่เป็นจำนวนกว่า 10 ล้านคน และมีผู้พูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 18 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากชาวมลายู ภาษามาเลเซียยังเป็นหนึ่งในวิชาบังคับในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของมาเลเซียอีกด้ว.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและภาษามาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิบุตร

ูมิบุตร หรือ ภูมิปุตรา (Bumiputera, بوميڤوترا, บูมีปูเตอรา; แยกความหมายตรงตัวออกมาคือ ภูมิ แปลว่า แผ่นดิน บุตรแปลว่า ลูก)แปลว่า "ลูกของแผ่นดิน") หมายถึงชาวมลายูดั้งเดิม อันรวมถึงชาวโอรังอัสลี (Orang Asli)​ ซึ่งเป็นชาวเผ่าดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูและชนพื้นเมืองของรัฐซาบะฮ์และซาราวะก์ ทั้งนี้ในปัจจุบัน "ภูมิบุตร" ยังรวมถึงชาวมาเลเซียซึ่งอพยพมาจากอินโดนีเซีย (เรียกว่า ปรีบูมี), ชาวมาเลเซียเชื้อสายสยาม, ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียมุสลิม, ชาวจีนช่องแคบ (กลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีน) และชาวคริสตัง (กลุ่มคริสตังลูกครึ่งมลายู-โปรตุเกส) แต่ไม่รวมถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนหรืออินเดียที่มีจำนวนมากในประเทศ ชาวมาเลเซียภูมิบุตรจะได้รับความช่วยเหลือพิเศษทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติตาม "นโยบายเศรษฐกิจใหม่" ซึ่งได้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 แต่ชาวจีนและชาวฮินดูจะถูกกีดกันจากสิทธิพิเศษต่างๆ รวมถึงการห้ามเข้าโรงเรียนที่สงวนไว้เฉพาะคนมาเลย์ ทฤษฏีภูมิบุตรจึงถือว่าเป็นทฤษฎีเหยียดผิว และเลือกปฏิบัติทางชาติพันธ์ โดยนโยบายกดขี่ชาติพันธ์อื่นเป็นนโยบายทางการเมืองของมาเลย์เซียมาตั้งแต่หลังได้รับเอกราช และเป็นเงื่อนไขโดยตรงหนึ่งที่ให้เกิดความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม ปี 1963 ที่คนจีนจำนวนมากถูกชาวมาเลย์รุมสังหาร และทำให้ความขัดแย้งทางชาติพันธ์ในมาเลย์เซียเป็นเรื่องแก้ไม่ตกมาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและภูมิบุตร · ดูเพิ่มเติม »

มลายู

มลายู (Melayu) หรือ มาเลย์ (Malay) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและมลายู · ดูเพิ่มเติม »

มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด

ตุน ดกโตร์ มาฮาดีร์ บิน โมฮามัด (Tun Dr.) เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงการคลัง, มหาดไทย, กลาโหม, การค้าและอุตสาหกรรม และศึกษาธิการ เขาชนะการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2561.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันออก

แผนที่แสดงที่ตั้งของมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันออก (Malaysia Timur) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีชายแดนติดต่อกับอินโดนีเซียและบรูไน และมีทะเลจีนใต้กั้นอยู่ระหว่างมาเลเซียตะวันออกและมาเลเซียตะวันตก มาเลเซียตะวันออกเป็นที่ตั้งของรัฐและดินแดนสหพันธ์ 3 แห่ง ได้แก่ รัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวะก์ และดินแดนสหพันธ์ลาบวน หมวดหมู่:ประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและมาเลเซียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและมาเลเซียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียเชื้อสายไทย

วมาเลเซียเชื้อสายไทย หรือ ชาวสยาม (นิยมเรียกในมาเลเซีย) เป็นชาวไทยถิ่นใต้ที่อาศัยอยู่พื้นที่แถบนี้มาช้านาน โดยการเข้ามาเรื่อย ๆ พอนานเข้าก็กลายเป็นชนกลุ่มหนึ่งในรัฐไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ทางตอนเหนือของรัฐเประก์ และมีจำนวนหนึ่งอาศัยในปีนัง โดยบางส่วนได้ผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมืองแถบนี้ด้วย ภายหลังการยกดินแดนส่วนนี้แก่อังกฤษ ชาวไทยกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งตกค้างในประเทศมาเลเซียจนถึงปัจจุบัน แต่ชาวไทยในประเทศมาเลเซียนี้ก็ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยในอดีตไว้ได้อย่างดี รวมถึงภาษา และศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกับชาวมลายูทั่วไป.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและมาเลเซียเชื้อสายไทย · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสัมฤทธิ์

ำริดคือยุคที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ ชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นกว่ายุคหิน รู้จักการทำสำริดเป็นเครื่องประดับ ยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิฮิตไทต์ และอาณาจักรไมซีเนียล่มสลาย ยุคต่อมาหลังยุคสัมฤทธิ์ คือ ยุคเหล็ก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและยุคสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเหล็ก

หล็ก เกิดหลังจากยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เหล็กในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ยุคต่อมาหลังยุคเหล็ก คือ สมัยโบราณ.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและยุคเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระบบเวสมินสเตอร์ เป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา ซึ่งยึดตามการเมืองสหราชอาณาจักร คำนี้มาจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อันเป็นที่ประชุมรัฐสภาสหราชอาณาจักร ระบบเวสมินสเตอร์ คือ ชุดวิธีดำเนินการสำหรับการดำเนินสภานิติบัญญัต.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและระบบเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมะละกา

มะละกา (Melaka; ยาวี: ملاك; Malacca) เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุขแต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะโฮร์

ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐยะโฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซาบะฮ์

ซาบะฮ์ (Sabah) เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศมาเลเซีย และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เนอเกอรีดีบาวะฮ์บายู (Negeri di bawah bayu) ซึ่งหมายถึง ดินแดนที่อยู่ใต้ลม ก่อนที่จะเข้าร่วมอยู่กับสหพันธรัฐมาเลเซียนั้น ซาบะฮ์เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีชื่อว่านอร์ทบอร์เนียว (บอร์เนียวเหนือ) ซาบะฮ์เป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ มีขนาดเล็กกว่ารัฐซาราวะก์ ส่วนทางภาคกลางและภาคใต้ของเกาะเรียกว่ากาลิมันตันเป็นของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงของรัฐคือโกตากีนาบาลู เดิมมีชื่อว่า เจสเซลตัน (Jesselton).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐซาบะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐซาราวัก

ซาราวัก หรือ ซาราวะก์ (Sarawak, อักษรยาวี: سراواك) เป็นหนึ่งในสองรัฐของประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว เป็นที่รู้จักกันในชื่อ บูมีเกอญาลัง (Bumi kenyalang, "ดินแดนแห่งนกเงือก") ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ และเป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วนอันดับสอง คือ รัฐซาบะฮ์ นั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองศูนย์กลางการบริหารของรัฐนี้ คือ กูชิง (ประชากร 600,300 คน ใน ปี พ.ศ. 2548) มีความหมายตรงตัวว่า "แมว" (Kuching) เมืองหลักของรัฐเมืองอื่น ๆ ได้แก่ ซีบู (228,000 คน) มีรี (282,000 คน) และบินตูลู (152,761 คน) การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 รัฐนี้มีประชากร 2,376,800 คน ซาราวักเป็นรัฐที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมมากที่สุดในมาเลเซียและไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐซาราวัก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปีนัง

ปูเลาปีนัง (Pulau Pinang) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย เดิมชาวมลายูรุ่นแรกเรียกว่า ปูเลาวาซาตู หรือเกาะเดี่ยว ต่อมาพบในแผนที่เดินเรือ เรียกว่า ปูเลาปีนัง หรือเกาะหมาก ต่อมาอังกฤษเรียกว่า เกาะพรินซ์ออฟเวล.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐปีนัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย

รัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย เป็นการแบ่งเขตการปกครองของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศสหพันธ์รัฐ ประกอบไปด้วยรัฐ (Negeri) 13 แห่ง และดินแดนสหพันธ์ (Wilayah Persekutuan) 3 แห่ง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐและดินแดนสหพันธ์ของประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐในอารักขา

ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐในอารักขา (protectorate; protected state) หมายถึงรัฐกึ่งเอกราชซึ่งมีอิสรภาพในการปกครองตนเอง มีผู้ปกครองเป็นคนในท้องที่ แต่ยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอื่นซึ่งเข้มแข็งกว่า (มีอำนาจปกครอง แต่ไม่มีอำนาจสั่งทหาร) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากประเทศที่สาม รัฐในอารักขามักจะมอบสิทธิพิเศษทางการค้าและอนุญาตให้ผู้คุ้มครองเข้าใช้ดินแดนบางส่วนในรัฐของตนเพื่อเป็นการตอบแทนความคุ้มครอง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร

แผนที่ประเทศเรียงตามจำนวนประชากร ประมาณการเมื่อปี 2010 นี่คือรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร ประกอบด้วยรัฐเอกราชและเขตปกครองพิเศษตามมาตรฐาน ISO 3166-1 ดินแดนซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐเอกราชโดยแบ่งแยกมิได้จะถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเอกราชด้วยเช่นกัน แต่ไม่รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น สหภาพยุโรป ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นรัฐเอกราชและเขตปกครองพิเศษซึ่งไม่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างถาวร อย่างเช่น การอ้างสิทธิ์ของหลายประเทศเหนือแอนตาร์กติกา ประมาณการประชากรทั่วโลกคิดเป็น คน ตัวเลขซึ่งใช้ในรายชื่อดังกล่าวตั้งอยู่บนประมาณการล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้น ๆ ที่สามารถยึดถือเอาได้ แต่ถ้าหากไม่มีสถิติที่สามารถถือเอาได้ ตัวเลขจะนำมาจากประมาณการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

รายนาม นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย (Perdana Menteri Malaysia).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรายชื่อนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย

ังดีเปอร์ตวนอากง (Yang di-Pertuan Agong, يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ; ยังดีเปร์ตูวันอากง) ในภาษามลายู หมายถึง ผู้ปกครองสูงสุด เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐของมาเลเซีย เปรียบเทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมาจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐในมาเลเซียตะวันตก จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ พระอัครมเหสีในยังดีเปอร์ตวนอากง มีตำแหน่งเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง (Raja Permaisuri Agong, راج ڤرماءيسوري اڬوڠ; ราจาเปร์ไมซูรีอากง).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและรายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ริงกิต

ริงกิตมาเลเซีย (Ringgit Malaysia) หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและริงกิต · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ลาบวน

ลาบวน (Labuan, ยาวี: لابوان) เป็นหนึ่งดินแดนสหพันธ์ที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว ใกล้กับประเทศบรูไน.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและลาบวน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซีย

อดีตประเทศมาเลเซียเคยได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดู-พุทธมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย แต่ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้เข้ามาแพร่หลายอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรเป็นต้นมาทำให้พุทธศาสนาหมดความสำคัญไป ในระยะเวลาหนึ่ง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทำเนียบเลขาธิการอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน ในปี..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน

มเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 (พระนามเดิม เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตรา; พระราชสมภพ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ที่ 15 และพระองค์ปัจจุบันของมาเลเซีย และสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน พระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นสุลต่านแห่งกลันตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐ

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐเดี่ยว สหพันธรัฐ (federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์ สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเท.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและสหพันธรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐมาลายา

หพันธรัฐมาลายา (Federation of Malaya; Persekutuan Tanah Melayu) เป็นสหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นจากรัฐมลายูและดินแดนต่าง ๆ รวม 11 รัฐ ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1948 - ค.ศ. 1963 ประกอบด้วยรัฐมลายู 9 รัฐ และดินแดนในอาณานิคมช่องแคบที่ปีนังและมะละกา รวม 2 แห่ง สหพันธรัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร แต่ต่อมา ก็ได้มีการประกาศเอกราช เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 อันเป็นการสิ้นสุดการตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร และสิ้นสภาพลงจากการจัดตั้งประเทศมาเลเซียในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและสหพันธรัฐมาลายา · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพมาลายา

หภาพมาลายา เป็นสหพันธ์ของกลุ่มรัฐมลายูและอาณานิคมช่องแคบรวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งสืบทอดมาจากกลุ่มอาณานิคมบริติชมาลายา สหภาพแห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรวมศูนย์การปกครองของรัฐต่าง ๆ ที่อยู่บนคาบสมุทรมลายูให้อยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ สหภาพมาลายาเป็นรูปแบบการปกครองที่อังกฤษเสนอขึ้นเพื่อใช้ปกครองดินแดนมลายูที่เป็นอาณานิคมภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในแผนการสหภาพมาลายานั้นมีส่วนสำคัญคือ.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและสหภาพมาลายา · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

องค์การความร่วมมืออิสลาม

องค์การความร่วมมืออิสลาม เป็นองค์การระหว่างประเทศของชาติมุสลิม มีสมาชิกราว 57 ประเทศ ประชากรรวมกว่า 1.2 พันล้านคน ทั้งในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ อเมริกาใต้ โดยใช้ภาษากลางคือภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมสรรพกำลัง ปกป้องผลประโยชน์ของชาติสมาชิก รวมถึงการพูดเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องสำคัญ ๆ ในเวทีสากล เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2512 โดยมีการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่กรุงราบัต ประเทศโมร็อกโก หลังมัสยิดศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องลือ Al-Aqsa ที่กรุงเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีของเซเนกัล ดำรงตำแหน่งในฐานะประธานหมุนเวียนที่ประชุมโอไอซี ดำรงตำแหน่ง 3 ปี โอไอซีมีบทบาทในประเทศไทยในกรณีพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยส่งตัวแทนมาสังเกตการณ์เก็บข้อมูลในพื้นที.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและองค์การความร่วมมืออิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ฮาลาล

ลาล (حلال) (บ้างสะกดว่า ฮะลาล หรือ หะลาล) เป็นศัพท์นิติศาสตร์อิสลามจากภาษาอาหรับ หมายความว่า กฎบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟ (มุสลิมที่อยู่ในศาสนนิติภาวะ) กระทำได้ อันได้แก่ การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง การค้าขายโดยสุจริตวิธี การสมรสกับสตรีตามกฎเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ เป็นต้น ในเมืองไทย คำว่า "ฮาลาล" เป็นที่รู้จักในความหมาย อาหารหรือสิ่งเจือปนที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม อาหารสำเร็จรูปประเภทนี้จะมีตราฮาลาล.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและฮาลาล · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและทวีปยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลจีนใต้

แผนที่ทะเลจีนใต้ ทะเลจีนใต้ (South China Sea) เป็นทะเลปิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 3,500,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเพราะมีเส้นทางขนส่งทางเรือผ่านคิดเป็นหนึ่งในสามของโลก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ใต้พื้นทะเลมีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ด้วย อาณาเขตของทะเลจีนใต้ อยู่ทางใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน, ตะวันตกของฟิลิปปินส์, ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐซาบะฮ์และรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียและบรูไน, เหนือของอินโดนีเซีย, ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ และตะวันออกของเวียดนาม หมู่เกาะทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ มีจำนวนหลายร้อยเกาะ ทะเลและเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยส่วนใหญ่นี้เป็นหัวข้อพิพาทอธิปไตยโดยหลายประเทศ ข้อพิพาทเหล่านี้ยังได้สะท้อนในชื่ออันหลากหลายที่ตั้งให้เกาะและทะเล.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและทะเลจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลซูลู

ทะเลซูลู ทะเลซูลู (Sulu Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ทิศตะวันออกติดกับหมู่เกาะวีซายันและเกาะมินดาเนา ทิศตะวันตกติดกับรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ทิศเหนือติดกับเกาะปาลาวัน หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศฟิลิปปินส์ หมวดหมู่:ทะเลในประเทศมาเลเซีย หมวดหมู่:แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและทะเลซูลู · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเซเลบีส

ทะเลเซเลบีส (Celebes Sea) หรือ ทะเลซูลาเวซี (Laut Sulawesi) เป็นทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือจดกลุ่มเกาะซูลูและเกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ทิศตะวันตกจรดกับหมู่เกาะซังกีเอของประเทศอินโดนีเซีย ทิศใต้ติดต่อกับเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส) และทิศตะวันตกจรดกับเกาะบอร์เนียว เชื่อมต่อกับทะเลชวาโดยช่องแคบมากัสซาร์ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลมีเนื้อที่ 110,000 ตร.ไมล์ (280,000 กม2) มีความลึกสูงสุด 20,300 ฟุต (6,200 ม.) หมวดหมู่:ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศฟิลิปปินส์ หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและทะเลเซเลบีส · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

วนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement; NAM) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีนโยบายว่าจะไม่เป็นพันธมิตรหรือต่อต้านกับขั้วอำนาจฝ่ายใด เป็นผลสืบเนื่องจากแนวคิดของชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย, ญะมาล อับดุนนาศิร อดีตประธานาธิบดีของอียิปต์ และยอซีป บรอซ ตีโต ประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย ขบวนการนี้ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก

วามร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เอเปคก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยมีจุดประสงค์ มุ่งเน้นความเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค และผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่าย รอบอุรุกวัย ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกัน เอเปคก็ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป อีกด้วย สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กัน จะมีผลต่อผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกเอเปคด้ว.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

คอมมอนลอว์

ระบบกฎหมายทั่วโลก ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร "ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีในอดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติอันเป็นอุดมคติดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลจะถูกผูกมัดในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เฉพาะเท่านั้น และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนด ศาลบางส่วนก็มีอำนาจยิ่งกว่าศาลทั่วไป อาทิเช่น ในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การตัดสินคดีโดยศาลอุทธรณ์จะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าในการตัดสินดคีความที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และการตัดสินคดีในอนาคตจะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลอุทธรณ์นี้ แต่มีเพียงการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าเป็นอำนาจซึ่งไม่ถูกผูกมัดโน้มน้าว ระบบกฎหมาย หมวดหมู่:กฎหมายทรัพย์สิน.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและคอมมอนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

คุชราต

ราต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ซาไก

ซาไก เป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,500–10,000 ปีมาแล้ว รูปร่างผอมมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60 คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า “มันนิ” (Mani) ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli) หรือ กอ.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและซาไก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบรูไน

รูไน (Brunei) หรือ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม (Negara Brunei Darussalam) เป็นรัฐเอกราชบนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่บนเกาะบอร์เนียว ส่วนพื้นที่ ๆ เหลือของเกาะถูกแบ่งเป็นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196 คนใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ประเทศที่ได้รับการจำแนกให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ใน พ.ศ. 2557 (สีฟ้า) ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (newly industrialized country, NIC) เป็นประเภทการจำแนกประเทศโดยนักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ ประเทศอุตสาหกรรมใหม่เป็นประเทศที่สถานะทางเศรษฐกิจยังไม่เทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ถือว่ามีสถานะดีกว่าประเทศใกล้เคียงในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระยะแรกเริ่มและมีการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ในบางประเทศมีการอพยพของประชากรจากชนบทหรือภาคเกษตรกรรมเข้าสู่เมืองใหญ่ ปกติแล้วประเทศอุตสาหกรรมใหม่จะมีลักษณะร่วมกันดังนี้.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจาบ

ปัญจาบ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ปูตราจายา

200px มัสยิดปูตรา ในปูตราจายา ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ปูตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายกรัฐมนตรี ดร.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและปูตราจายา · ดูเพิ่มเติม »

นการากู

ปีแยร์-ฌอง เดอ เบรังเยร์. เนอการากู (โรมัน: Negaraku, ยาวี: نڬاراكو, แปลว่า "แผ่นดินของข้า") เป็นเพลงชาติของสหพันธรัฐมาเลเซีย เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียเมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงสรรเสริญประจำรัฐเประก์ ซึ่งเพลงนี้ได้หยิบยืมทำนองมาจากเพลงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า "ลา โรซาลี" (La Rosalie) อีกชั้นหนึ่ง ผู้ประพันธ์ทำนองเพลงนี้คือ ปีแยร์-ฌอง เดอ เบรังเยร์ (Pierre-Jean de Béranger) ชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและนการากู · ดูเพิ่มเติม »

นิคมช่องแคบ

นิคมช่องแคบ (Straits Settlements; 海峡殖民地 Hǎixiá zhímíndì) คืออาณานิคมของจักรวรรดิบริติชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง (ส่วนหนึ่งของรัฐเปรัก) รัฐมะละกา สิงคโปร์ และลาบวนในปัจจุบัน อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2369 โดยในตอนแรกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดินแดนที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2410 ได้กลายเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว และได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและนิคมช่องแคบ · ดูเพิ่มเติม »

โบโรบูดูร์

มหาสถูปโบโรบูดูร์ (Borobudur) หรือ บาราบูดูร์ (Barabudur) คนไทยรู้จักในชื่อ บุโรพุทโธ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่เมืองมาเกอลังบุโรพุทโธ คู่มือท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย, รภัสสา เขมจิรันตากร,.อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและโบโรบูดูร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เมืองพระนคร

มืองพระนคร (ក្រុងអង្គរ) ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา อยู่เหนือทะเลสาบเขมรไม่ไกลนัก เมืองพระนครได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตั้งแต่ปีที่ลงทะเบียนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547 เมืองพระนครได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตร.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและเมืองพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

รือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่างๆของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน..

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เปอรานากัน

ปอรานากัน (Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีนกับมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยาม "บาบ๋า" และ "ย่าหยา" ว่า "เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดใน มลายูและอินโดนีเซี." อย่างไรก็ตามชาวเปอรานากันในประเทศไทย บริเวณจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันโดยเฉพาะภูเก็ตและตรังทั้งเพศชายและหญิง จะถูกเรียกรวม ๆ ว่า บ้าบ๋า หรือบาบา ส่วน ย่าหยา เป็นเพียงชื่อของชุดสตรีเท่านั้น ส่วนในภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีกระจายตัวอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะปัตตานี สงขลา นราธิวาส อย่างไรก็ดี ชาวจีนที่อพยพมาทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยสมัยโบราณตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนซึ่งจะกระจายอยู่แถบพื้นที่โดยเฉพาะปัตตานี สงขลา นราธิวาส ถ้าเป็นลูกครึ่งจีนหรือลูกจีนที่เกิดในพื้นที่ ก็จะเรียกว่า บาบ๋า หรือ เปอรานากัน ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและเปอรานากัน · ดูเพิ่มเติม »

.my

.my เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศมาเลเซีย เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2530.

ใหม่!!: ประเทศมาเลเซียและ.my · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Malaysiaมาเลเชียมาเลเซียสหพันธรัฐมาเลเซียสหพันธ์มลายา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »