สารบัญ
37 ความสัมพันธ์: พระพลรามพระกฤษณะพระรามพระวราหะพระวิษณุพระทัตตาเตรยะพระโคตมพุทธเจ้ากลียุคกัลกิกูรมะมัตสยะยุคดีโวเนียนยุคไทรแอสซิกยุคไซลูเรียนรามายณะฤๅษีวยาสฤๅษีนารทมุนีวามนะศาสนาฮินดูสัตยยุคหิรัณยกศิปุหิรันต์อวตารอสูรอโยธยาทวารกาทวาปรยุคครุฑตำนานน้ำท่วมโลกปรศุรามนรสิงห์นางโมหิณีน้ำอมฤตเกษียรสมุทรเทวญาณเทวดาเตรตายุค
- ลัทธิไวษณพ
- หลักธรรมของศาสนาฮินดู
พระพลราม
ระพลราม พระพลราม (เทวนาครี: बलराम) เป็นบุตรของพระวาสุเทพ นางเทวกี และโยคะนิทรา ได้ย้ายไปอยู่ในครรภ์ของนางโหหิณี ภรรยาอีกคนของพระวาสุเทพ ซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านโคกุล พระพลรามเป็นพี่ชายของพระกฤษณะ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร พระพลรามได้วางตัวเป็นกลางไม่ยอมไปยุ่งเกี่ยวกับปาณฑพและเการพ ก็เพราะว่าภีมะ ในฝ่ายของปาณฑพ และทุรโยธน์ในฝ่ายของเการพ ต่างเป็นศิษย์ของพระพลรามด้วยกันทั้งคู่ สาเหตุที่พระพลรามเป็นอาจารย์ของภีมะและทุรโยธน์ ก็เพราะว่าโทรณาจารย์ได้ขอร้องให้ พระพลรามสอนวิชาตีตะบองให้กับภีมะและทุรโยธน์ อยู่มาวันหนึ่ง รุกมินได้ไปร่วมงานกับในงานพิธีหนึ่ง รุกมินได้พูดจาดูถูกเหยียดหยามพระกฤษณะและพระพลรามและก็ได้ถูกพระพลรามสังหาร ภรรยาของพระพลราม คือ นางเรวดี.
พระกฤษณะ
ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.
พระราม
ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.
พระวราหะ
ประติมากรรมลอยองค์ขนาดใหญ่ของพระวราหะในลักษณะหมูป่าทั้งองค์ ที่ขชุราโห ประเทศอินเดีย พระวราหะ (lord Varaha) หรือ วราหะอวตาร(Varaha avatar) คือเทวดาองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู เป็นอวตารของพระวิษณุ โดยปรากฏตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ในศาสนาฮินดู มีกายเป็นมนุษย์ แต่ศีรษะเป็นหมูป่า หรือปรากฏองค์เป็นหมูป่าทั้งอง.
พระวิษณุ
ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย.
พระทัตตาเตรยะ
พระทัตตะเตรยะ (เทวนาครี: दत्तात्रेय) เป็นบุตรของพระฤาษีอัตริและนางอนุสุยา เป็นอวตารแห่งพระตรีมูรติทั้ง 3 อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ในนารายณ์สิบปาง และเป็นอาจารย์ของท้าวการตวีรยะ อรชุน คู่ปรับของปรศุราม หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู.
พระโคตมพุทธเจ้า
ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.
กลียุค
กลียุค (อักษรเทวนาครี: कली युग) คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค และทวาปรยุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค กลียุคมีอายุ 432,000 ปี การตีความคัมภีร์ฮินดูว่าปัจจุบันนี้โลกอยู่ในกลียุคมีคนเชื่อมากที่สุด การตีความคัมภีร์ฮินดูแบบอื่นๆ เชื่อว่าโลกอยู่ในช่วงเริ่มทวาปรยุค โดยทั่วไปแล้วกลียุคก็คือยุคมืดเพราะผู้คนห่างเหินจากพระเจ้าอย่างถึงที่สุด ตามคติของศาสนาพราหมณ์ เมื่อโลกมาถึงกลียุค เชื่อกันว่าพระศิวะ หรือพระอิศวร จะทรงเปิดพระเนตรดวงที่อยู่กลางหน้าผากขึ้น และโลกจะถูกทำลาย เพื่อคืนสมดุลของโลกให้เกิดการสร้างโลกขึ้นใหม.
กัลกิ
กัลกี (กัลกะ, กลฺกิ; कल्कि) ในศาสนาฮินดูโบราณ คือมหาอวตารที่ 10 และเป็นมหาอวตารสุดท้ายของพระวิษณุเทพผู้คุ้มครองโลก กัลกีมาสู่โลกระหว่างการสิ้นสุดของกลียุค ชื่อ "กัลกิ" เป็นการอุปมาความเป็นนิรันดรและเวลา ต้นกำเนิดของชื่อนี้อาจจะมาจากคำว่า "กันคา" ซึ่งหมายถึง สิ่งสกปรก หรือ สิ่งโสโครก หรือ ความคดโกง ดังนั้น "กัลกิ" จึงหมายถึง ผู้ทำลายความคดโกง, ผู้ทำลายความเขลา, ผู้ทำลายความสับสนวุ่นวาย หรือ ผู้ทำลายความมืดมน ในศาสนาฮินดู "กัลกยาวตาร" หมายถึง "อวตารแห่งอนาคต" (อนาคตาวตาร) อย่างไรก็ตามมีการแปลความหมายที่แตกต่างออกไปอีก(ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนต้นกำเนิดทางนิรุกติศาสตร์จากภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งแตกต่างกันไป โดยรวมถึงการแปลความหมายว่า ม้าขาว ซึ่งเป็นความหมายอย่างง่ายด้วย).
กูรมะ
กูรมา (lit. เต่า) เป็นอวตารที่สองของพระวิษณุ กูรมาได้ปกป้องโลกจากหายนะ สัญลักษณ์ของกูรมาคือเต่าและรูปครึ่งมนุษย์ครึ่งเต่า ภาพของกูรมาถูกพบได้หลายวิหาร กูรมา (เต่าบก), ห่วงงู, ภูเขาพร้อมท่ารำของพระวิษณุที่สนามบินในกรุงเทพ ประเทศไท.
มัตสยะ
มัตสยะปรากฏตัวเพื่อปราบอสูร มัตสยะ (मत्स्य มตฺสฺย แปลว่า ปลา) คือ ปลาที่เป็นอวตารของพระวิษณุในการอวตารสิบปาง ซึ่งได้รับการพรรณนาว่า เป็นผู้ช่วยเหลือพระมนูและสัตว์โลกจากอุทกภัยใหญ่ เอกสารแรกสุดเกี่ยวกับมัตสยะในฐานะปลาผู้ช่วยเหลือสัตว์โลกนั้นยกให้มัตสยะมีสถานะเท่าเทียมกับพระประชาบดีเทพสมัยพระเวท แต่ในยุคหลังพระเวท เรื่องราวของปลามัตสยะเกลื่อนกลืนไปกับพระพรหม และภายหลังก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของพระวิษณุRao pp.
ยุคดีโวเนียน
ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.
ยุคไทรแอสซิก
อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).
ยุคไซลูเรียน
ออร์โดวิเชียน←ยุคไซลูเรียน→ยุคดีโวเนียน ยุคไซลูเรียน (Silurian) เป็นยุคที่สามของมหายุคพาลีโอโซอิกในธรณีกาล ยุคนี้เริ่มขึ้นหลังจากจุดสิ้นสุดของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 443.8 ± 1.5 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดในช่วงก่อนเริ่มยุคดีโวเนียน ประมาณ 419.2 ± 0.2 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยาได้ใช้การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน-ไซลูเรียน เป็นตัวแบ่งยุคไซลูเรียนกับออร์โดวิเชียน ซึ่งจากการสูญพันธุ์นั้น ทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลกว่า 60 % หายไป ในยุคนี้พืชน้ำและสาหร่าย ได้ปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ โดยวิวัฒนาการมาเป็นพืชบก แต่พืชบกนี้พบได้แค่ตามชายทะเลเท่านั้น ในปลายยุคไซลูเรียนมีสัตว์บกเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก แต่มันก็ยังมีจำนวนไม่มากและยังไม่ได้ขึ้นมาอาศัยบนบกทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคดีโวเนียน.
รามายณะ
พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.
ฤๅษีวยาส
ฤๅษีวยาส (เทวนาครี:व्यास) เป็นโอรสของนางสัตยวดี กับฤๅษีปราศร และคลอดตรงบริเวณ เกาะกลางแม่น้ำยมุนามีชื่อเต็มว่า กฤษณไทวปายน แปลว่าผู้มีผิวคล้ำเกิดบนเกาะ ต่อมาเปลี่ยนเป็น วยาสแล้วออกบวชตามบิดาอยู่ในป่าหิมาลัย ต่อมานางสัตยวดีผู้เป็นมารดาได้ให้ไปทำนิโยคกับมเหสีม่าย ของวิจิตรวีรยะ น้องชายต่างบิดา จึงต้องหลับนอนกับมเหสีม่ายทั้งสองและนางกำนัลอีก1คน จนมีโอรสคือ ท้าวธฤตราษฎร์ ท้าวปาณฑุ และท้าววิทูร ต่อมาโอรสของท้าวธฤตราษฎร์และท้าวปาณฑุ แย่งบัลลังก์กันและล้มตายจำนวนนับล้าน ท่านฤๅษีเกิดความรันทด จึงต้องการบอกเล่าเรื่องราวของลูกหลานที่ฆ่าฟันกันเอง จึงเชิญ พระคเณศร์ มาเขียน เป็นที่มาของมหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:ศาสดา.
ฤๅษีนารทมุนี
ฤๅษีนารทมุนี (नारद หรือ नारद मुनी) เป็นบุตรของพระพรหม เป็นสาวกคนแรกของพระนารายณ์ และเป็นผู้ที่นำเรื่องราวบนโลกมนุษย์มารายงานแด่พระศิวะ ฤๅษีนารทมุนีเป็นทูตเอกของสวรรค์ และมีบทบาทในมหาภารตะและรามเกียรติ์เป็นอย่างมาก ในเรื่องรามเกียรติ์ ฤษีเป็นผู้แนะนำให้หนุมานใช้น้ำในบ่อน้อยของตนเอง ก็คือ น้ำลายในปากของหนุมานดับไฟ เมื่อตอนที่หนุมานไปเผากรุงลงกา ในมหาภารตะ ฤๅษีนารทมุนีมีหน้าที่คอยส่งสำคัญให้แก่พระกฤษณะ พระพลราม ยุธิษฐิระ และอรชุน คือ ในมหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ฤๅษีนารทมุนีได้ส่งข่าวบอกแก่พระพลรามว่า "ภีมะกำลังดวลตะบองกับทุรโยธน์" และเมื่อตอนที่พระอนิรุทธิ์หายตัวไป ฤๅษีนารทมุนีก็แจ้งแก่พระกฤษณะว่า "พระอนิรุทธิ์ถูกท้าวกรุงภาณจับตัวไปขังในคุก" และเมื่อตอนที่ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตในป่า ฤๅษีนารทมุนีก็เป็นผู้แจ้งข่าวให้กับยุธิษฐิระว่า "ท้าวธฤตราษฎร์ พระนางคานธารี พระนางกุนตี ท้าววิทูร เสียชีวิตแล้ว และฤๅษีนารทมุนีเป็นผู้บอกถึงจุดอ่อนของทุรโยธน์ให่แก่อรชุน" นอกจากนี้ฤๅษีนารทมุนีก็ยังเป็นผู้เล่าเรื่องของพระรามให้แก่ฤๅษีวาลมีกิจนเกิดเป็นคัมภีร์รามายณะ ในภาพยนตร์ของบอลลีวู้ด โดยเฉพาะหนังเกี่ยวกับเทพเจ้า บทพูดของฤๅษีนารทมุนีที่ทุกคนจำได้ คือ คำว่า "นาร้ายณ์ นารายณ์" หมวดหมู่:ฤๅษี หมวดหมู่:เทพเจ้าฮินดู หมวดหมู่:มหาภารตะ หมวดหมู่:ศาสดา.
วามนะ
รูปปั้นวามนา วามนา (สันสกฤต: वामन, IAST: Vāmana, lit. คนแคระ) เป็นอวตารที่ห้าของพระวิษณุ เขาต้องปรับปรุงกาลเวลาให้เหมือนเดิมโดยต้องจัดการกับอสูรมหาพลี ผู้ที่ไม่สมควรมีอำนาจทั้งจักรวาล โดยหลังจากนั้นมหาพลีถวายหัวให้วามนาเหยียบและส่งไปที่ปาตาละ (โลกใต้บาดาล).
ศาสนาฮินดู
ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.
สัตยยุค
ัตยยุค (เทวนาครี: सत्य युग) เป็นยุคแห่งสัจธรรมอันมั่นคง มีพระพรหมองค์เดียวเป็นใหญ่ ไม่มีเทพเทวาอื่นๆ ไม่มีมาร ใครปรารถนาสิ่งใดก็สำเร็จตามปรารถนา ไม่มีการค้าขาย แลกเปลี่ยน ไม่มีโลภ โกรธ หลง ทุจริต คดโกง และไม่มีความเศร้าเสียใจใดๆ บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น "สัตตบุรุษ" ทั้งหมด ไม่มีบุคคลที่เป็น "อันธพาล" เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีแต่บัณฑิต ไม่ทำบาป ไม่เบียดเบียนกัน มีคุณธรรมสูง ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก สัตยยุค มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น สัตยุค หรือ กฤตยุค นับว่าเป็นยุคทองของมนุษยชาติ สัตยยุค มีอายุ 1,728,000 ปี บ้างก็ว่า 100,000 ปี โคธรรมะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงศีลธรรมนั้น ยืน 4 ขาในยุคนี้ ต่อมาในเตรตยุคจะยืน 3 ขา ในทวาปรยุค ยืน 2 ขา และปัจจุบัน (กลียุค) ยืนขาเดียว.
หิรัณยกศิปุ
นรสิงห์กำลังสังหารหิรัณยกศิปุ หิรัณยกศิปุ (हिरण्यकशिपु) เป็นอสูรจากคัมภีร์ปุราณะของศาสนาฮินดู ซึ่งถูกนรสิงห์ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์สังหาร โดยสาเหตุที่พระนารายณ์ต้องอวตารลงมาเป็นนรสิงห์เป็นเพราะว่า หิรัณยกศิปุได้รับพรจากพระอิศวรว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งนรสิงห์ก็ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ หิรัณยกศิปุมีน้องชายชื่อ หิรัณยกศะ ซึ่งถูกพระวราหะ ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์สังหารเช่นกัน.
หิรันต์
หิรันต์ เป็นยักษ์ ซึ่งเป็นอสูรเทพบุตรบำเพ็ญตบะเพื่อขอพรพระผู้เป็นเจ้า จนพระอิศวรประทานพรให้มีฤทธิ์ปราบใด้ทั้งสามโลกและไม่มีผู้ใดฆ่าตาย เมื่อมีฤทธิ์และจึงบุกไปทั้งสามโลก และม้วนแผ่นดินมาเก็บไว้เมืองบาดาลสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จน พระนารายณ์ ทรงอวตารลงมาเป็นหมูเผือกเขี้ยวเพชร ไล่ขวิด ไล่กัด จนหิรันต์ตาย และนำแผ่นดินมาคลี่ออกตามเดิม.
อวตาร
กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.
อสูร
ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ อสูร (-saअसुर) คือเทวดาจำพวกหนึ่ง มีนิสัยดุร้าย เป็นปฏิปักษ์กับเทวดาพวกอื่นซึ่งอาศัยบนสวรรค์ อสูรเพศหญิงเรียกว่าอสุรี.
อโยธยา
อโยธยา (เทวนาครี: अयोध्या, อูรดู: ایودھیا) เป็นเมืองเก่าแก่ในประเทศอินเดีย อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ชาวฮินดูเชื่อว่าพระรามเคยครองราชย์ที่เมืองนี้ อโยธยาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสรยุ ทุกปีในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนประสูติของพระรามและเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่พระรามอภิเษกกับนางสีดาจะมีชาวฮินดูมาแสวงบุญที่อโยธยา ตามความเชื่อของชาวฮินดู อโยธยาเป็นสถานที่ประสูติของพระราม ในปีพ.ศ.
ทวารกา
แผนที่ เมืองทวากรกา ทวารกา (เทวนาครี: द्वारका) ตั้งอยู่ทางตะวันตกของชมพูทวีป ประมาณ 500 ปัก่อนคริสตกาล ก่อตั้งโดยพระกฤษณะ ซึ่งอพยพมาจากมถุรา เมือง ทวารกาตั้งอยู่ริมฝั่งชายทะเลอาหรับ แถบแคว้นคุชราต ต่อมาหลัง สงครามทุ่งกุรุเกษตร คานธารี มารดาของทุรโยธน์ เชื่อว่า พระกฤษณะ เป็นต้นเหตุทำให้ทุรโยธน์กับลูกของนางอีก 99 คนต้องตายและไม่มีใครสืบสกุลเการพ นางจึงสาปพระกฤษณะว่า "นับตั้งแต่ต้นไปอีก 36 ปี ข้าขอสาปให้พระกฤษณะและสกุลยาทพต้องมาพบจุบจบเหมือนบุตรชายข้า และญาติ ของท่านต้องมาฆ่ากันตายเองและเมืองทวารกาของท่านต้องจมสมุทรไปเป็นเวลาหลายพันปี" และ 36 ปีต่อมา เมืองทวารกาได้จมสมุทร ไปและ เมื่อ 50 ปีก่อน นักสำรวจชาวอินเดียคนหนึ่งได้สำรวจ ทะเลอาหรับดูก็พบว่าเมืองทวารกามีอยู่จริง แต่ปัจจุบันนี้ เมืองทวารกา ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 แห่งราชวงศ์คุปตะ หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินเดีย หมวดหมู่:ประเทศอินเดีย หมวดหมู่:พระกฤษณะ หมวดหมู่:มหาภารตะ หมวดหมู่:รัฐคุชราต.
ทวาปรยุค
ทวาปรยุค (เทวนาครี: द्वापर युग) มีอายุ 864,000 ปี บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น"สัตตบุรุษ" คือผู้ที่มาจากสวรรค์ และบุคคลที่เป็น "อันธพาล" คือผู้ที่มาจากอบายภูมิ ในสัดส่วนที่เท่ากันคือร้อยละ 50 ต่อ 50 นับเป็นยุคที่ 3 จากยุคทั้ง 4 มีพรรณนาเอาไว้ในคัมภีร์ของฮินดู ว่าทวาปรยุค อยู่ถัดจากเตรตยุค และมีกลียุคตามมา ในปุราณะพรรณนาไว้ว่า ทวาปรยุคสิ้นสุดลงเมื่อพระกฤษณะกลับคืนสู่วิมานที่ประทับในไวกูณฐ์ ในยุคนี้โคธรรม ยืนสองขา (หากใช้สัญลักษณ์เป็นเสาหลัก ก็ว่าเหลือสองต้น) ตามความเชื่อฮินดู พระวิษณุมีผิวเหลือง พระเวทจะถูกแบ่งเป็น 4 เล่ม คือ ฤคเวท, สามเวท, ยชุรเวท และอาถรรพเวท ในยุคนี้พราหมณ์มีความรู้สอง หรือสามเวท แต่ไม่ใคร่ได้ศึกษาครบเวททั้งสี.
ครุฑ
รุฑยุดนาคปูนปั้นปิดทอง ประดับรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑ (गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ.
ตำนานน้ำท่วมโลก
''The Deluge'' (น้ำท่วมใหญ่) โดย กุสตาฟว์ ดอเร ตำนาน น้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ที่ทำให้เกิดโดยพระเจ้าหรือเทพเจ้า เพื่อทำลายล้างอารยธรรม โดยเป็นการลงโทษความบาปของมนุษย์ เพื่อเริ่มต้นอารยธรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลมายังปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่แพร่หลายในตำนานของวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น.
ปรศุราม
ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ ๖ ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์)เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี ๑,๐๐๐ มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน(กรรตวีรยะ)นั่นเอง หลังจากการสังหารกษัตริยอรชุน หรือ กรรตวีรยะ แล้วนั้น.โอรสของกษัตริย์อรชุนเมื่อรู้เข้า ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เดินทาไปแก้แค้นให้พระบิดาด้วยการสังหารฤๅษีชมทัคนี ผู้เป็นบิดาของปรศุราม จนถึงแก่ความตาย เมื่อปรศุรามมาเห็นร่างของบิดาที่ไร้ลมหายใจเพราะถูกสังหาร พร้อมกับสภาพของบ้านของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความรู้สึกโกรธแค้น และได้สัญญาเอาไว้ว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา พร้อมกับนำขวานคู่ใจเดินทางไปสังหารโอรสของกษัตริย์อรชุนพร้อมทั้งเหล่าเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายที่เป็นผู้ชาย จะยกเว้นราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงไว้ ซึ่งปรศุรามได้ทำอย่างนี้ถึง 21 ครั้ง ก่อนที่จะวางขวานและบำเพ็ญเพียรเพื่อไถ่บาป ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 7 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผุ้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี ใน มหาภารตะ ปรศุรามเป็นอาจารย์ของ ภีษมะ,โทรณาจารย์ และ กรรณะ หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.
นรสิงห์
ประติมากรรมนูนต่ำนรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุอสูร นรสิงห์แบบพม่า ที่เจดีย์ชเวดากอง นรสิงห์ หรือ นรสีห์ (नरसिंह, Narasimha) เป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระนารายณ์ตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ของศาสนาฮินดู โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต นรสิงห์เป็นผู้สังหารหิรัณยกศิปุ อสูรตนซึ่งได้รับพรจากพระพรหมว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ นรสิงห์เป็นที่รู้จักและบูชาโดยทั่วไป หิรัณยกศิปุบำเพ็ญตบะเป็นเวลานาน จนได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นผู้ที่ฆ่าไม่ตายจากมนุษย์, สัตว์, เทวดา ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้ฆ่าไม่ตายทั้งจากอาวุธและมือ ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเรือนและนอกเรือน หิรัณยกศิปุ ได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามภพ พระอินทร์จึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารเกิดมาเป็น นรสิงห์ คือ มนุษย์ครึ่งสิงห์ นรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุด้วยกรงเล็บด้วยการฉีกอก ที่กึ่งกลางบานประตู ในเวลาโพล้เพล้ ก่อนตาย นรสิงห์ได้ถามหิรัณยกศิปุว่า สิ่งที่ฆ่าเจ้าเป็นมนุษย์หรือสัตว์หรือเทวดาหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ สิ่งที่สังหารเป็นมือหรืออาวุธหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ในเรือนหรือนอกเรือนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ และเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ นรสิงห์จึงประกาศว่า บัดนี้ พรที่ประทานจากพระพรหมได้สลายไปสิ้นแล้ว เทวดาทั้งสามภพจึงยินดี รูปประติมากรรมหรือรูปวาดของนรสิงห์ตอนสังหารหิรัณยกศิปุ จึงมักสลักมีรูปเทวดาองค์เล็ก ๆ 2 องค์อยู่ข้างล่างแสดงกิริยายินดีด้ว.
นางโมหิณี
นางโมหิณี (मोहिनी) เป็นอวตารที่เป็นสตรีปางเดียวของพระวิษณุ นางโมหิณีได้รับการกล่าวถึงในระบบความเชื่อของฮินดูในมหากาพย์มหาภารตะซึ่งไปแย่งเอาน้ำอัมฤทธิ์กลับคืนจากพวกอสุราเพื่อคืนแก่เทพเทวา นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานอื่นอีก อาทิเช่น การแต่งงานกับพระศิวะและมีบุตรเป็นศัตรา (IAST Śāstā) รวมถึงการทำลายนนทกและกำเนิดหนุมานในเรื่องรามเกียรต.
น้ำอมฤต
น้ำอมฤต /อะมะริด, หรือ อะมะรึด/ หรือ น้ำทิพย์ (elixir of life, elixir of immorality หรือ Dancing Water, อาหรับ: الإكسير, อัลอีกซีร์; เปอร์เซีย: آب حیات, อาบเอฮะยาต) เป็นยาน้ำหรือเครื่องดื่มซึ่งเชื่อกันว่าจะยังให้ผู้ดื่มเป็นอมตะหรือคงความเยาว์วัยแห่งรูปร่างไว้ชั่วกัลป์ บ้างก็ว่าสามารถชุบชีวิตหรือสร้างชีวิตใหม่ได้ เรียกว่าเป็นยาแก้สรรพโรคประเภทหนึ่ง และเคยเป็นที่ต้องการและควานไขว่หาอย่างบ้าคลั่งของลัทธิรสายนเวทอยู่พักใหญ่ น้ำอมฤตปรากฏในวรรณกรรมหลายเรื่องของทุกชนชาต.
เกษียรสมุทร
รูปปั้นตำนานกวนเกษียรสมุทร ที่ชั้นขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ เกษียรสมุทร เป็นทะเลของน้ำนมตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นวรรณกรรมมหาภารตยุทธและในภควัตปุราณะ ซึ่งเล่าเรื่องถึงครั้งที่พระอินทร์เสด็จลงมาบนโลกและได้พบกับฤาษีทุรวาสที่รับดอกไม้สาการะจากนางอัปสรนางหนึ่งแต่ฤาษีเห็นว่าหากตนคล้องดอกไม้จากนางอัปสรคงจะไม่เหมาะสม จึงได้ถวายดอกไม้นั้นแก่พระอินทร์เมื่อพระอินทร์รับแล้วก็ทรงมอบแก่พระชายาอีกต่อหนึ่งแต่ด้วยกลิ่นของดอกไม้ทำให้พระชายามึนเมาจึงทิ้งไป ฤาษีเห็นดังนั้นก็โกรธจึงสาปแช่งพระอินทร์และบริวารให้อ่อนกำลังลงและพ่ายแพ้ในสงคราม เมื่อสาปแช่งดังนี้แล้วฤษีก็เดินจากไปพลันกำลังของเทวดาก็ลดลงกึ่งหนึ่งและเมื่ออสูรทราบข่าวพระอินทร์โดนสาปแช่งจึงได้ยกทัพไปตีสวรรค์ ทำให้พระอินทร์พ่ายแพ้ และเพื่อฟึ้นคืนกำลังจึงต้องทำการกวนเกษียรสมุทรให้เกิดน้ำอมฤตที่เมื่อดื่มกินจะเป็นอมตะและกำลังยังมากขึ้นกว่าที่เคยมี.
เทวญาณ
ทวปรัชญา (Theosophy; θεοσοφία theosophia) มีที่มาจากคำว่า θεός theos ที่แปลว่า เทว + σοφία sophia ที่แปลว่าปรัชญาหรือปรีชาญาณ เทวปรัชญาจึงหมายถึง "ความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้า" ใช้หมายถึงระบบปรัชญาแบบคุยหลัทธิ (Esotericism) ที่มุ่งเข้าถึงพระเป็นเจ้าโดยตรง โดยไม่ผ่านการอาศัยคัมภีร์หรือผู้รู้อื่น ๆ เทวปรัชญาจึงเป็นส่วนหนึ่งของคุยหลัทธิซึ่งให้ความสำคัญกับความรู้หรือปัญญาที่นำไปสู่การหลุดพ้นเฉพาะบุคคล นักเทวปรัชญาพยายามเข้าใจรหัสยภาวะของเอกภพ และสิ่งที่เชื่อมเอกภพ มนุษยชาติ และพระเป็นเจ้าเข้าด้วยกัน เทวปรัชญามีจุดมุ่งหมายที่จะสืบหาต้นกำเนิดของพระเป็นเจ้าและมนุษยชาติ วันสิ้นโลก ชีวิต และมนุษยชาติ ด้วยการศึกษาประเด็นเหล่านี้ นักเทวปรัชญาเชื่อว่าจะสามารถอธิบายจุดมุ่งหมายและกำเนิดของเอกภพได้.
เทวดา
ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.
เตรตายุค
ตรตายุค (อักษรเทวนาครี: त्रेता युग)หรือไตรดายุค คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค ทวาปรยุค และ กลียุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค มีระยะเวลา ๓,๖๐๐ ปีเทวดา หรือ1,296,000 ปีโลกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นยุคเงิน.
ดูเพิ่มเติม
ลัทธิไวษณพ
- ทศาวตาร
- พระกฤษณะ
- พระวิษณุ
- ลัทธิไวษณพ
- อวตาร
หลักธรรมของศาสนาฮินดู
- กรรม
- กรุณา
- กัป
- กัลกิ
- กาม
- ความพอประมาณ
- จักระ
- ญาณ
- ตบะ
- ตรีเทวี
- ตาที่สาม
- ทศาวตาร
- ทาน
- ทุกข์
- ธรรม
- ธาตุ (ศาสนาพุทธ)
- นิพพาน
- ปรพรหมัน
- พรหมัน
- พระหริหระ
- ภควา
- ภาวนา
- มณฑล
- มนตร์
- มีมางสา
- มุทรา
- ยุค
- รูป (ศาสนาพุทธ)
- ศิวลึงค์
- สมาธิ
- สังสารวัฏ
- สันโดษ
- สางขยะ
- สุญตา
- อนิจจัง
- อวตาร
- อหิงสา
- อาชญา
- อายุรเวท
- อาศรม 4
- อุปาทาน
- เมตตา
- โทสะ
- โยคะ
- โอม