โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตบะ

ดัชนี ตบะ

ตบะ แปลว่า ความเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส ตบะ ในที่ทั่วไปหมายถึงการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้กิเลสเบาบางหดเหี้ยนหมดไป ด้วยการทำพิธีกรรม หรือด้วยการทรมานกายแบบต่างๆ เช่นบูชาไฟ ยืนขาเดียว ทาตัวด้วยฝุ่น เป็นต้น เรียกว่าบำเพ็ญตบะ เรียกผู้บำเพ็ญตบะว่า ดาบส ซึ่งแปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะคือเผาผลาญกิเลส ตบะ ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึงธรรมต่างๆ ที่มุ่งกำจัดเผาผลาญอกุศลวิตก (ความตรึกที่เป็นบาปอกุศล)เป็นหลัก เช่น ปธาน (ความเพียร) ขันติ (ความอดทน) ศีล (การรักษากายวาจา) อุโบสถกรรม (การรักษาอุโบสถศีล) การเล่าเรียนปริยัติ การถือธุดงค์ การบำเพ็ญสมณธรรม และเรียกการประพฤติปฏิบัติธรรมเหล่านี้ว่า บำเพ็ญตบะ เช่นกัน.

14 ความสัมพันธ์: บาปพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)กิเลสกุศลและอกุศลราชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารศาสนาพุทธศีลศีลแปดอุโบสถกรรมธรรมธุดงค์ขันติดาบส

บาป

ป หมายถึง การกระทำผิดหลักคำสอนหรือข้อห้ามในศาสนา ความชั่วร้าย ความมัวหมอง.

ใหม่!!: ตบะและบาป · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: ตบะและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: ตบะและกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

กุศลและอกุศล

กุศล หมายถึง บุญ ความดี ความฉลาด ในทสุตตรสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่ารากเหง้าของกุศลมี 3 อย่าง คือ ความไม่โลภ ความไม่คิดประทุษร้าย และความไม่หลง อกุศล หมายถึง บาป, ความชั่วร้าย, ไม่เป็นมงคล, ไม่ฉลาด, กรรมชั่ว ตรงกันข้ามกับ กุศล ซึ่งแปลว่า ความดี ในสัมมาทิฏฐิสูตร พระสารีบุตรอธิบายว่า อกุศล คือ.

ใหม่!!: ตบะและกุศลและอกุศล · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: ตบะและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: ตบะและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ตบะและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศีล

ีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้ ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้ว.

ใหม่!!: ตบะและศีล · ดูเพิ่มเติม »

ศีลแปด

ีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระอนาคามี โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ".

ใหม่!!: ตบะและศีลแปด · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถกรรม

อุโบสถกรรม (อ่านว่า อุโบสดถะกำ) แปลว่าการทำอุโบสถ อุโบสถกรรม หมายถึงการสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดิอนของพระสงฆ์ คือพระวินัยกำหนดไว้ว่าพระสงฆ์จะต้องทำสังฆกรรมสวดพระปาติโมกข์ที่โบสถ์ทุกวันขึ้นและแรม 15 ค่ำ หรือแรม 14 ค่ำในเดือนขาด เรียกการไปทำสังฆกรรมนั้นว่า ลงอุโบสถ อุโบสถกรรม ถ้ามีภิกษุครบองค์สงฆ์คือ 4 รูปขึ้นไปทำร่วมกันโดยสวดพระปาติโมกข์ เรียกว่า สังฆอุโบสถ ถ้ามีไม่ครบ 4 คือมี 2 หรือ 3 รูปทำโดยไม่ต้องสวดพระปาติโมกข์ เป็นแต่บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน เรียกว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีเพียงรูปเดียวทำโดยการกำหนดใจว่าเป็นวันอุโบสถ เรียกว่า อธิษฐานอุโบสถ หรือ ปุคคลอ.

ใหม่!!: ตบะและอุโบสถกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธรรม

รรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที.

ใหม่!!: ตบะและธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธุดงค์

'''ธุดงค์''' หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด การจาริกของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน ธุดงค์ (ธุตงฺค, Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ตบะและธุดงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ขันติ

ันติ (kṣānti',กษันติ) หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม.

ใหม่!!: ตบะและขันติ · ดูเพิ่มเติม »

ดาบส

แปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะคือเผากิเลส, ผู้บำเพ็ญพรตเพื่อเผากิเลส ได้แก่ ฤษี ถ้าเป็นสตรี ใช้ว่า ดาบสินี ดาบส ทั่วไปใช้หมายถึงนักบวชหรือนักพรตนอกพระพุทธศาสนาที่ออกบวชแล้วบำเพ็ญตบะในรูปแบบต่างๆ ตามลัทธินิยมในสมัยนั้น เช่นทรมาน ลงโทษตนเอง เพื่อฝึกฝนควบคุมตนเองจนบรรลุถึงความสำเร็จคือสามารถมีอำนาจเหนือจิตใจตนเองได้ บางพวกบำเพ็ญตบะจนได้ฌานและมีฤทธิ์มากสามารถแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ จนเข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้บรรลุคุณธรรมสูงสุดแล้วจึงไม่พยายามทำความเพียรเพื่อบรรลุธรรมให้สูงขึ้นไปอีก แม้พระพุทธเจ้าก่อนที่จได้ตรัสรู้ก็เคยอยู่กับดาบสสองท่าน คือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส จนได้บรรลุฌาน 8 ซึ่งเป็นฌานขั้นสูงสุดและหมดภูมิของอาจารย์ทั้งสอง.

ใหม่!!: ตบะและดาบส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »