โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อวตาร

ดัชนี อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

41 ความสัมพันธ์: พระพิฆเนศพระพุทธเจ้าพระกฤษณะพระรามพระวราหะพระวิษณุพระศิวะพระอภิธรรมปิฎกพระอมิตาภพุทธะพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระธยานิพุทธะพระโพธิสัตว์พระโคตมพุทธเจ้าพราหมณ์กลียุคกัลกิภควัทคีตายิดัมรามายณะลัทธิศักติลัทธิไวษณพวัชรยานวามนะศาสนาฮินดูสัตยยุคหมูป่าหิรัณยกศิปุหนุมานอาทิพุทธะอโยธยาทวาปรยุคทศาวตารทะไลลามะปรศุรามปลานรสิงห์เกษียรสมุทรเทวดาเขตปกครองตนเองทิเบตเตรตายุคเต่า

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: อวตารและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: อวตารและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ใหม่!!: อวตารและพระกฤษณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: อวตารและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระวราหะ

ประติมากรรมลอยองค์ขนาดใหญ่ของพระวราหะในลักษณะหมูป่าทั้งองค์ ที่ขชุราโห ประเทศอินเดีย พระวราหะ (lord Varaha) หรือ วราหะอวตาร(Varaha avatar) คือเทวดาองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู เป็นอวตารของพระวิษณุ โดยปรากฏตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ในศาสนาฮินดู มีกายเป็นมนุษย์ แต่ศีรษะเป็นหมูป่า หรือปรากฏองค์เป็นหมูป่าทั้งอง.

ใหม่!!: อวตารและพระวราหะ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: อวตารและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: อวตารและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: อวตารและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระอมิตาภพุทธะ

ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.

ใหม่!!: อวตารและพระอมิตาภพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: อวตารและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ใหม่!!: อวตารและพระธยานิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: อวตารและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: อวตารและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: อวตารและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลียุค

กลียุค (อักษรเทวนาครี: कली युग) คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค และทวาปรยุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค กลียุคมีอายุ 432,000 ปี การตีความคัมภีร์ฮินดูว่าปัจจุบันนี้โลกอยู่ในกลียุคมีคนเชื่อมากที่สุด การตีความคัมภีร์ฮินดูแบบอื่นๆ เชื่อว่าโลกอยู่ในช่วงเริ่มทวาปรยุค โดยทั่วไปแล้วกลียุคก็คือยุคมืดเพราะผู้คนห่างเหินจากพระเจ้าอย่างถึงที่สุด ตามคติของศาสนาพราหมณ์ เมื่อโลกมาถึงกลียุค เชื่อกันว่าพระศิวะ หรือพระอิศวร จะทรงเปิดพระเนตรดวงที่อยู่กลางหน้าผากขึ้น และโลกจะถูกทำลาย เพื่อคืนสมดุลของโลกให้เกิดการสร้างโลกขึ้นใหม.

ใหม่!!: อวตารและกลียุค · ดูเพิ่มเติม »

กัลกิ

กัลกี (กัลกะ, กลฺกิ; कल्कि) ในศาสนาฮินดูโบราณ คือมหาอวตารที่ 10 และเป็นมหาอวตารสุดท้ายของพระวิษณุเทพผู้คุ้มครองโลก กัลกีมาสู่โลกระหว่างการสิ้นสุดของกลียุค ชื่อ "กัลกิ" เป็นการอุปมาความเป็นนิรันดรและเวลา ต้นกำเนิดของชื่อนี้อาจจะมาจากคำว่า "กันคา" ซึ่งหมายถึง สิ่งสกปรก หรือ สิ่งโสโครก หรือ ความคดโกง ดังนั้น "กัลกิ" จึงหมายถึง ผู้ทำลายความคดโกง, ผู้ทำลายความเขลา, ผู้ทำลายความสับสนวุ่นวาย หรือ ผู้ทำลายความมืดมน ในศาสนาฮินดู "กัลกยาวตาร" หมายถึง "อวตารแห่งอนาคต" (อนาคตาวตาร) อย่างไรก็ตามมีการแปลความหมายที่แตกต่างออกไปอีก(ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนต้นกำเนิดทางนิรุกติศาสตร์จากภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งแตกต่างกันไป โดยรวมถึงการแปลความหมายว่า ม้าขาว ซึ่งเป็นความหมายอย่างง่ายด้วย).

ใหม่!!: อวตารและกัลกิ · ดูเพิ่มเติม »

ภควัทคีตา

หนังสือภควัทคีตาฉบับภาษาสันสกฤต คัดลอกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระกฤษณะสำแดงร่างเป็นพระนารายณ์ ขณะสอนอนุศาสน์ภควัทคีตาแก่อรชุน ภควัทคีตา (สันสกฤต: भगवद्गीता, อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา") เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท.

ใหม่!!: อวตารและภควัทคีตา · ดูเพิ่มเติม »

ยิดัม

ัม คือเทพผู้พิทักษ์ที่เห็นพระพุทธรูปอุ้มสตรีในทิเบต หรือในภูฏาน ยิดัมนี้อาจจะเป็นธยานิโพธิสัตว์อวตารมาเพื่อปราบปีศาจร้ายก็ได้ หรือเป็นปีศาจร้ายที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนาแล้วเลื่อนมาเป็นยิดัม ลามะชั้นสูงบางรูปอาจจะมียิดัมคอยอารักษ์ ลามะอาจเชิญมาพิทักษ์เอง หรือยิดัมปรากฏให้เห็นขณะทำภาวนาอยู่ก็ได้ ส่วนฆราวาสที่อยากมียิดัมคอยพิทักษ์ ต้องให้ลามะเชิญเท่านั้น อีกนัยหนึ่ง ยิดัม คือพระโพธิสัตว์อุ้มตำรา หรือแม้แต่พระพุทธรูปอุ้มศักติ ในคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบต ยิดัมทั้งสี่ จะปรากฏกายในวันที่หกของบาร์โด คือทิศตะวันออก มีเทพวิชัย ทิศใต้คือยมานตกะ ศัตรูของพระยม ทิศตะวันตกคือ หยครีวะ หรือ หยครีพ ทิศเหนือ คือ อมฤตากุณฑสินี.

ใหม่!!: อวตารและยิดัม · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: อวตารและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิศักติ

ลัทธิ​ศักติ​ ​คือ​ลัทธิ​ที่​บูชา​เทพี​เป็นหลักสำคัญ ​ปรัชญา​ของ​ลัทธิ​ศักติ​มี​ว่า​ ​ใน​​มหาเทพ​ ​มี​พลัง​อำนาจ​สองชนิด​ ​คือ​ ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​บุรุษ​เพศ​และ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​สตรี​เพศ​ ​เหมือน​มนุษย์​ผู้​ชาย​ทั่ว​ไป​ย่อม​มี​ลักษณะ​นิสัย​ 2 ​ลักษณะ​ ​คือ​ลักษณะ​ที่​เป็น​ชาย​ ​มี​ความ​แข็ง​แรง​ ​กล้า​หาญ​ ​อด​ทน​ ​และ​มี​อารมณ์​ทาง​เพศ​แบบ​ชาย​ ​และ​ลักษณะ​ที่​เป็น​หญิง​ ​มี​ความ​อ่อน​หวาน​ ​นุ่ม​นวล​ ​รัก​สวย​รัก​งาม​ ​ขี้​อาย​ ​และ​มี​อารมณ์​ทาง​เพศ​แบบ​หญิง​ ​ลัทธิ​ศักติ​นำ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​สตรี​เพศ​มา​พัฒนา​เพื่อ​ให้​เกิด​ความ​อุดม​สมบูรณ์​แก่​โลก​ ​โดย​พรรณนา​ว่า​เป็น​​ศักติ​หรือ​​ชายา​ของ​มหาเทพ​ 3 ​องค์​ ​คือ​.

ใหม่!!: อวตารและลัทธิศักติ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิไวษณพ

ลัทธิไวษณพ เป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทพใด ๆ รวมทั้งในกลุ่มตรีมูรติ พระองค์ยังมีพระนามอื่น ๆ อีก เช่น พระราม พระกฤษณะ พระนารายณ์ พระวาสุเทพ พระหริ เป็นต้น นิกายนี้มีต้นกำเนิดมาจากลัทธิภควัต (หรือลัทธิบูชาพระกฤษณะ) ในสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมารามานันทะได้พัฒนาลัทธิบูชาพระรามขึ้นจนปัจจุบันกลายเป็นคณะนักพรตที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ลัทธิไวษณพแบ่งเป็นหลายสำนัก เช่น ไทฺวตะ เวทานตะของมัธวาจารย์ วิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะของรามานุชะ สมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติของภักติเวทานตสวามี คีตาอาศรมของสวามี หริหระ มหาราช เป็นต้น.

ใหม่!!: อวตารและลัทธิไวษณพ · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: อวตารและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วามนะ

รูปปั้นวามนา วามนา (สันสกฤต: वामन, IAST: Vāmana, lit. คนแคระ) เป็นอวตารที่ห้าของพระวิษณุ เขาต้องปรับปรุงกาลเวลาให้เหมือนเดิมโดยต้องจัดการกับอสูรมหาพลี ผู้ที่ไม่สมควรมีอำนาจทั้งจักรวาล โดยหลังจากนั้นมหาพลีถวายหัวให้วามนาเหยียบและส่งไปที่ปาตาละ (โลกใต้บาดาล).

ใหม่!!: อวตารและวามนะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: อวตารและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สัตยยุค

ัตยยุค (เทวนาครี: सत्य युग) เป็นยุคแห่งสัจธรรมอันมั่นคง มีพระพรหมองค์เดียวเป็นใหญ่ ไม่มีเทพเทวาอื่นๆ ไม่มีมาร ใครปรารถนาสิ่งใดก็สำเร็จตามปรารถนา ไม่มีการค้าขาย แลกเปลี่ยน ไม่มีโลภ โกรธ หลง ทุจริต คดโกง และไม่มีความเศร้าเสียใจใดๆ บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น "สัตตบุรุษ" ทั้งหมด ไม่มีบุคคลที่เป็น "อันธพาล" เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีแต่บัณฑิต ไม่ทำบาป ไม่เบียดเบียนกัน มีคุณธรรมสูง ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก สัตยยุค มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น สัตยุค หรือ กฤตยุค นับว่าเป็นยุคทองของมนุษยชาติ สัตยยุค มีอายุ 1,728,000 ปี บ้างก็ว่า 100,000 ปี โคธรรมะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงศีลธรรมนั้น ยืน 4 ขาในยุคนี้ ต่อมาในเตรตยุคจะยืน 3 ขา ในทวาปรยุค ยืน 2 ขา และปัจจุบัน (กลียุค) ยืนขาเดียว.

ใหม่!!: อวตารและสัตยยุค · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อวตารและหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

หิรัณยกศิปุ

นรสิงห์กำลังสังหารหิรัณยกศิปุ หิรัณยกศิปุ (हिरण्‍यकशिपु) เป็นอสูรจากคัมภีร์ปุราณะของศาสนาฮินดู ซึ่งถูกนรสิงห์ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์สังหาร โดยสาเหตุที่พระนารายณ์ต้องอวตารลงมาเป็นนรสิงห์เป็นเพราะว่า หิรัณยกศิปุได้รับพรจากพระอิศวรว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งนรสิงห์ก็ไม่ใช่ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ หิรัณยกศิปุมีน้องชายชื่อ หิรัณยกศะ ซึ่งถูกพระวราหะ ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์สังหารเช่นกัน.

ใหม่!!: อวตารและหิรัณยกศิปุ · ดูเพิ่มเติม »

หนุมาน

1.

ใหม่!!: อวตารและหนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ใหม่!!: อวตารและอาทิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

อโยธยา

อโยธยา (เทวนาครี: अयोध्या, อูรดู: ایودھیا) เป็นเมืองเก่าแก่ในประเทศอินเดีย อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ชาวฮินดูเชื่อว่าพระรามเคยครองราชย์ที่เมืองนี้ อโยธยาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสรยุ ทุกปีในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนประสูติของพระรามและเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่พระรามอภิเษกกับนางสีดาจะมีชาวฮินดูมาแสวงบุญที่อโยธยา ตามความเชื่อของชาวฮินดู อโยธยาเป็นสถานที่ประสูติของพระราม ในปีพ.ศ. 2535 เกิดเหตุจลาจลขึ้น โดยชาวฮินดูได้บุกเข้าทำลายมัสยิดในเมืองอโยธยา ซึ่งตั้งอยู่บนสถานที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม.

ใหม่!!: อวตารและอโยธยา · ดูเพิ่มเติม »

ทวาปรยุค

ทวาปรยุค (เทวนาครี: द्वापर युग) มีอายุ 864,000 ปี บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น"สัตตบุรุษ" คือผู้ที่มาจากสวรรค์ และบุคคลที่เป็น "อันธพาล" คือผู้ที่มาจากอบายภูมิ ในสัดส่วนที่เท่ากันคือร้อยละ 50 ต่อ 50 นับเป็นยุคที่ 3 จากยุคทั้ง 4 มีพรรณนาเอาไว้ในคัมภีร์ของฮินดู ว่าทวาปรยุค อยู่ถัดจากเตรตยุค และมีกลียุคตามมา ในปุราณะพรรณนาไว้ว่า ทวาปรยุคสิ้นสุดลงเมื่อพระกฤษณะกลับคืนสู่วิมานที่ประทับในไวกูณฐ์ ในยุคนี้โคธรรม ยืนสองขา (หากใช้สัญลักษณ์เป็นเสาหลัก ก็ว่าเหลือสองต้น) ตามความเชื่อฮินดู พระวิษณุมีผิวเหลือง พระเวทจะถูกแบ่งเป็น 4 เล่ม คือ ฤคเวท, สามเวท, ยชุรเวท และอาถรรพเวท ในยุคนี้พราหมณ์มีความรู้สอง หรือสามเวท แต่ไม่ใคร่ได้ศึกษาครบเวททั้งสี.

ใหม่!!: อวตารและทวาปรยุค · ดูเพิ่มเติม »

ทศาวตาร

อวตารของพระวิษณุ โดยราชา รวิ วรรมา วาดในช่วงศตวรรษที่ 19. ทศาวตาร () หมายถึง อวตารหลักทั้งสิบปางของพระวิษณุ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู คำว่าทศาวตาร เป็นคำสมาสของคำว่า ทศ หมายถึง สิบ และ อวตาร หมายถึง การแบ่งภาคมาเก.

ใหม่!!: อวตารและทศาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: อวตารและทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ปรศุราม

ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ ๖ ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์)เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี ๑,๐๐๐ มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน(กรรตวีรยะ)นั่นเอง หลังจากการสังหารกษัตริยอรชุน หรือ กรรตวีรยะ แล้วนั้น.โอรสของกษัตริย์อรชุนเมื่อรู้เข้า ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เดินทาไปแก้แค้นให้พระบิดาด้วยการสังหารฤๅษีชมทัคนี ผู้เป็นบิดาของปรศุราม จนถึงแก่ความตาย เมื่อปรศุรามมาเห็นร่างของบิดาที่ไร้ลมหายใจเพราะถูกสังหาร พร้อมกับสภาพของบ้านของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความรู้สึกโกรธแค้น และได้สัญญาเอาไว้ว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา พร้อมกับนำขวานคู่ใจเดินทางไปสังหารโอรสของกษัตริย์อรชุนพร้อมทั้งเหล่าเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายที่เป็นผู้ชาย จะยกเว้นราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงไว้ ซึ่งปรศุรามได้ทำอย่างนี้ถึง 21 ครั้ง ก่อนที่จะวางขวานและบำเพ็ญเพียรเพื่อไถ่บาป ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 7 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผุ้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี ใน มหาภารตะ ปรศุรามเป็นอาจารย์ของ ภีษมะ,โทรณาจารย์ และ กรรณะ หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: อวตารและปรศุราม · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: อวตารและปลา · ดูเพิ่มเติม »

นรสิงห์

ประติมากรรมนูนต่ำนรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุอสูร นรสิงห์แบบพม่า ที่เจดีย์ชเวดากอง นรสิงห์ หรือ นรสีห์ (नरसिंह, Narasimha) เป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระนารายณ์ตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ของศาสนาฮินดู โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต นรสิงห์เป็นผู้สังหารหิรัณยกศิปุ อสูรตนซึ่งได้รับพรจากพระพรหมว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ นรสิงห์เป็นที่รู้จักและบูชาโดยทั่วไป หิรัณยกศิปุบำเพ็ญตบะเป็นเวลานาน จนได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นผู้ที่ฆ่าไม่ตายจากมนุษย์, สัตว์, เทวดา ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้ฆ่าไม่ตายทั้งจากอาวุธและมือ ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเรือนและนอกเรือน หิรัณยกศิปุ ได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามภพ พระอินทร์จึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารเกิดมาเป็น นรสิงห์ คือ มนุษย์ครึ่งสิงห์ นรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุด้วยกรงเล็บด้วยการฉีกอก ที่กึ่งกลางบานประตู ในเวลาโพล้เพล้ ก่อนตาย นรสิงห์ได้ถามหิรัณยกศิปุว่า สิ่งที่ฆ่าเจ้าเป็นมนุษย์หรือสัตว์หรือเทวดาหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ สิ่งที่สังหารเป็นมือหรืออาวุธหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ในเรือนหรือนอกเรือนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ และเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ นรสิงห์จึงประกาศว่า บัดนี้ พรที่ประทานจากพระพรหมได้สลายไปสิ้นแล้ว เทวดาทั้งสามภพจึงยินดี รูปประติมากรรมหรือรูปวาดของนรสิงห์ตอนสังหารหิรัณยกศิปุ จึงมักสลักมีรูปเทวดาองค์เล็ก ๆ 2 องค์อยู่ข้างล่างแสดงกิริยายินดีด้ว.

ใหม่!!: อวตารและนรสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

เกษียรสมุทร

รูปปั้นตำนานกวนเกษียรสมุทร ที่ชั้นขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ เกษียรสมุทร เป็นทะเลของน้ำนมตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นวรรณกรรมมหาภารตยุทธและในภควัตปุราณะ ซึ่งเล่าเรื่องถึงครั้งที่พระอินทร์เสด็จลงมาบนโลกและได้พบกับฤาษีทุรวาสที่รับดอกไม้สาการะจากนางอัปสรนางหนึ่งแต่ฤาษีเห็นว่าหากตนคล้องดอกไม้จากนางอัปสรคงจะไม่เหมาะสม จึงได้ถวายดอกไม้นั้นแก่พระอินทร์เมื่อพระอินทร์รับแล้วก็ทรงมอบแก่พระชายาอีกต่อหนึ่งแต่ด้วยกลิ่นของดอกไม้ทำให้พระชายามึนเมาจึงทิ้งไป ฤาษีเห็นดังนั้นก็โกรธจึงสาปแช่งพระอินทร์และบริวารให้อ่อนกำลังลงและพ่ายแพ้ในสงคราม เมื่อสาปแช่งดังนี้แล้วฤษีก็เดินจากไปพลันกำลังของเทวดาก็ลดลงกึ่งหนึ่งและเมื่ออสูรทราบข่าวพระอินทร์โดนสาปแช่งจึงได้ยกทัพไปตีสวรรค์ ทำให้พระอินทร์พ่ายแพ้ และเพื่อฟึ้นคืนกำลังจึงต้องทำการกวนเกษียรสมุทรให้เกิดน้ำอมฤตที่เมื่อดื่มกินจะเป็นอมตะและกำลังยังมากขึ้นกว่าที่เคยมี.

ใหม่!!: อวตารและเกษียรสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: อวตารและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: อวตารและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เตรตายุค

ตรตายุค (อักษรเทวนาครี: त्रेता युग)หรือไตรดายุค คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค ทวาปรยุค และ กลียุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค มีระยะเวลา ๓,๖๐๐ ปีเทวดา หรือ1,296,000 ปีโลกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นยุคเงิน.

ใหม่!!: อวตารและเตรตายุค · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: อวตารและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »