เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ญาณ

ดัชนี ญาณ

ญาณ (ñāṇa; jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ 3 (3 หมวด) และ ญาณ 16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระไตรปิฎกภาษาบาลีญาณทัศนะมรรคมีองค์แปดราชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวิชาวิสุทธิวิสุทธิมรรควิปัสสนาวิปัสสนูปกิเลสอริยสัจ 4ปัญญาโพชฌงค์ 7

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ดู ญาณและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร.

ดู ญาณและพระไตรปิฎกภาษาบาลี

ญาณทัศนะ

ญาณทัศนะ (ยา-นะ-) แปลว่า การรู้และการเห็น การเห็นคือการรู้จริง, การเห็นด้วยการรู้จริง, การเห็นอย่างประเสริฐ คือการรู้อย่างแจ่มแจ้ง ญาณทัศนะ เป็นที่ใช้แพร่หลายในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และมีความหมายหลายระดับตามเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ เช่นหมายถึงการเห็นพระธรรมที่พระอริยเจ้าเห็น การแทงตลอดธรรมอย่างที่พระอริยเจ้าแทงตลอด การบรรลุธรรมที่ทำให้เป็นพระอริยะ การบรรลุความเป็นพระอริยะ ซึ่งก็คือปัญญานั่นเอง ญาณทัศนะ ยังหมายรวมไปถึงวิปัสสนาญาณ ทิพจักขุญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ปัจเวกขณญาณ สูงสุดถึงสัพพัญญุตญาณ ในที่บางแห่งอธิบายว่าแม้ความเห็นที่บริสุทธิ์หรือทิฏฐิวิสุทธิ์ก็เรียกว่าญาณทัศนะได้.

ดู ญาณและญาณทัศนะ

มรรคมีองค์แปด

มรรค (มรฺค; มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้.

ดู ญาณและมรรคมีองค์แปด

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ดู ญาณและราชบัณฑิต

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ.

ดู ญาณและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วิชา

วิชา มาจากภาษาบาลี วิชฺช หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนหรือฝึกฝน บางครั้งอาจหมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราจะพบเห็นวิชาได้บ่อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา โดยใช้วิชาเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างเรื่องที่สอน เช่น วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น อนึ่ง คำว่า วิทยา, พิทยา มาจากภาษาสันสกฤต วิทฺย, พิทฺย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก วิชฺช เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ใช้ในความหมายว่า ความรู้ความสามารถที่ถูกต้องตรงตามแบบแผน ดังที่เคยมีบุคคลหนึ่งได้ทดลองและพิสูจน์มาแล้ว เหมือนแนวคิดของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในทางพระพุทธศาสนา วิชชา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ เหตุและหนทางแห่งความดับทุกข์ ตรงข้ามกับคำว่า อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้แจ้ง วิชชา มี 3 ประการ คือ.

ดู ญาณและวิชา

วิสุทธิ

วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด ในศาสนาพุทธกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการชำระให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ.

ดู ญาณและวิสุทธิ

วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

ดู ญาณและวิสุทธิมรรค

วิปัสสนา

วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน สมถะและวิปัสสนาถือเป็นธรรมที่ควรเจริญ (ตามทสุตตรสูตร) และเป็นธรรมฝ่ายวิชชา (ตามพาลวรรค).

ดู ญาณและวิปัสสนา

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หมายถึง อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ อย่าง คือ.

ดู ญาณและวิปัสสนูปกิเลส

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

ดู ญาณและอริยสัจ 4

ปัญญา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ.

ดู ญาณและปัญญา

โพชฌงค์ 7

งค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ.

ดู ญาณและโพชฌงค์ 7

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ญาณ16อาสวักขยญานทิพพจักขุญานปุพเพนิวาสานุสสติญาน