โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมตตา

ดัชนี เมตตา

ในศาสนาพุทธ เมตตา เป็นหลักธรรมหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยเป็นปัจจัยให้เกิดพรหมวิหารอื่นได้.

7 ความสัมพันธ์: พรหมวิหาร 4กรุณามุทิตาวิสุทธิมรรคศาสนาพุทธอัฏฐสาลินีอุเบกขา

พรหมวิหาร 4

รหมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ผู้ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก.

ใหม่!!: เมตตาและพรหมวิหาร 4 · ดูเพิ่มเติม »

กรุณา

กรุณา (สันสกฤต; บาลี: Karuṇā) (อังกฤษ: Compassion) คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ หรือการเห็นผู้อื่นหรือสรรพสัตว์เป็นทุกข์หรือตกอยู่ในทุกข์แล้วทนอยู่ไม่ได้ ต้องหาทางช่วยเหลือเต็มที่ โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นหนึ่งในพรหมวิหารสี่ ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความปรารถนาให้สรรพสิ่งเป็นอิสระจากความทุก.

ใหม่!!: เมตตาและกรุณา · ดูเพิ่มเติม »

มุทิตา

มุทิตา แปลว่า ความยินดี, ความเป็นผู้มีความยินดี มุทิตา หมายถึงความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือเมื่อผู้อื่นได้รับความสำเร็จ มีความสุขความเจริญก้าวหน้า ก็พลอยชื่นชมยินดีในสิ่งที่เขาได้รับ ไม่มีความอิจฉาริษยาในความสำเร็จของเขา ด้วยการพูดแสดงความยินดีบ้าง ส่งบัตรอวยพรไปแสดงความยินดีบ้าง มอบของขวัญมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีบ้างเป็นต้น ลักษณะของผู้มีมุทิตา คือเป็นคนไม่ริษยา ยอมรับในความดีและความสำเร็จของคนอื่น แสดงความชื่นชมยินดีกับความสำเร็จของคนอื่นได้ด้วยความเต็มใจ มุทิตา เป็นคุณธรรมของผู้ใหญ่และเป็นหลักที่ผู้ใหญ่พึงประพฤติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะกำจัดความไม่ยินดี ความขึ้งเคียด ความอิจฉาริษยาลงได้.

ใหม่!!: เมตตาและมุทิตา · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

ใหม่!!: เมตตาและวิสุทธิมรรค · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: เมตตาและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

อัฏฐสาลินี

อัฏฐสาลินี หรืออรรถสาลินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก ผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรีย์ ซึ่งนอกจากจะอธิบายคำและศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยา เจตสิก รูป นิพพาน ทางพระพุทธศาสนาในธัมมสังคณีแล้ว ยังให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์อีกด้วย ทั้งนี้ คัมภีร์อัฏฐสาลินีเป็นที่นิยมศึกษากันมากในหมู่นักศึกษาพระอภิธรรม และเป็นหนึ่งในผลงานของพระพุทธโฆสะที่เป็นที่รู้จักกันมากที.

ใหม่!!: เมตตาและอัฏฐสาลินี · ดูเพิ่มเติม »

อุเบกขา

อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ เป็นกลาง อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้.

ใหม่!!: เมตตาและอุเบกขา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ความเมตตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »