เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จังหวัดปัมปังกา

ดัชนี จังหวัดปัมปังกา

ังหวัดปัมปังกา (กาปัมปางัน: Lalawigan ning Pampanga; Lalawigan ng Pampanga) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางลูโซน ประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของอ่าวมะนิลา ปัมปังกามีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดตาร์ลักทางทิศเหนือ, จังหวัดตาร์ลักทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดบูลาคันทางทิศตะวันออก, อ่าวมะนิลาทางทิศใต้, จังหวัดบาตาอันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจังหวัดซัมบาเลสทางทิศตะวันตก มีเมืองหลักคือ ซันเฟร์นันโด และมีนครอิสระคือ แอนเจลิส จังหวัดปัมปังกา มีท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก ซึ่งอยู่ในเขตเมืองท่าปลอดภาษีคลาร์ก ห่างจากเมืองหลักของจังหวัดไปทางทิศเหนือ จังหวัดนี้ยังเป็นที่ตั้งของฐานทัพกองทัพอากาศฟิลิปปิน 2 แห่ง ได้แก่ ฐานทัพอากาศบาซา และฐานทัพอากาศคลาร์ก ในปี..

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: บารังไกย์ภาษากาปัมปางันภาษาอังกฤษภาษาตากาล็อกจังหวัดบาตาอันจังหวัดบูลาคันจังหวัดตาร์ลักจังหวัดซัมบาเลสจังหวัดนูเวบาเอซีฮาซังกูเนียงปันลาลาวีกันซันเฟร์นันโด (จังหวัดปัมปังกา)ประเทศฟิลิปปินส์ปลานิลเขตกิตนางลูโซน

  2. จังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์
  3. จังหวัดในเขตกิตนางลูโซน

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ดู จังหวัดปัมปังกาและบารังไกย์

ภาษากาปัมปางัน

ษากาปัมปางัน เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้พูดในประเทศฟิลิปปิน.

ดู จังหวัดปัมปังกาและภาษากาปัมปางัน

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู จังหวัดปัมปังกาและภาษาอังกฤษ

ภาษาตากาล็อก

ษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว.

ดู จังหวัดปัมปังกาและภาษาตากาล็อก

จังหวัดบาตาอัน

ังหวัดบาตาอัน (Lalawigan ng Bataan; กาปัมปางัน: Lalawigan ning Bataan) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางลูโซนของประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักคือบาลังกา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรบาตาอันของเกาะลูซอน จังหวัดบาตาอันมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดซัมบาเลสและปัมปังกาทางทิศเหนือ, ติดกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก, ติดกับอ่าวซูบิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และติดกับอ่าวมะนิลาทางทิศตะวันออก เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นที่จังหวัดแห่งนี้ คือ สงครามบาตาอัน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการบุกยึดของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู จังหวัดปัมปังกาและจังหวัดบาตาอัน

จังหวัดบูลาคัน

ังหวัดบูลาคัน (ตากาล็อก: Lalawigan ng Bulacan; กาปัมปางัน: Lalawigan ning Bulacan) (PSGC:; '''ISO''': PH-BUL) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางลูโซนบนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ห่างจากมะนิลาไปทางทิศเหนือประมาณ และเป็นส่วนหนึ่งของเขตพิเศษวงแหวนตัวเมืองเมโทรลูซอน จังหวัดบูลาคันก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม..

ดู จังหวัดปัมปังกาและจังหวัดบูลาคัน

จังหวัดตาร์ลัก

ังหวัดตาร์ลัก (กาปัมปางัน: Lalawigan ning Tarlac; อีโลกาโน: Probinsia ti Tarlac; ปังกาซีนัน: Luyag na Tarlac; Lalawigan ng Tarlac) เป็นจังหวัดไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตกิตนางลูโซน ประเทศฟิลิปปินส์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศเหนือ, จังหวัดนูเวบาเอซีฮาทางทิศตะวันออก, จังหวัดซัมบาเลสทางทิศตะวันตก และจังหวัดปัมปังกาทางทิศใต้ ภายในจังหวัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น เขตรัฐสภา 3 เขต, เทศบาล 17 แห่ง และเมืองตาร์ลัก ซึ่งเป็นเมืองหลัก ตัวจังหวัดตั้งอยู่ใจกลางเกาะลูซอน มีพื้นที.

ดู จังหวัดปัมปังกาและจังหวัดตาร์ลัก

จังหวัดซัมบาเลส

ังหวัดซัมบาเลส (ตากาล็อก: Lalawigan ng Zambales; ซัมบัล: Probinsya nin Zambales; กาปัมปางัน: Lalawigan ning Zambales; ปังกาซีนัน: Luyag na Zambales) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางลูโซน เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคืออีบา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดตาร์ลักทางทิศตะวันออก, จังหวัดปัมปังกาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, จังหวัดบาตาอันทางทิศใต้ และทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก จังหวัดมีพื้นที่ (รวมนครอิสระโอลองกาโป) ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเขตกิตนางลูโซน รองจากจังหวัดนูเวบาเอซีฮา จังหวัดซัมบาเลสมีชื่อเสียงในด้านมะม่วง ซึ่งเพาะปลูกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จังหวัดซัมบาเลสไม่มีสนามบินพาณิชย์ แต่สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์กในจังหวัดปัมปังกา ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติซูบิกเบย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดซูบิ เขตเมืองท่าปลอดภาษีซูบิกเบย์ ไม่มีการใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว.

ดู จังหวัดปัมปังกาและจังหวัดซัมบาเลส

จังหวัดนูเวบาเอซีฮา

ังหวัดนูเวบาเอซีฮา (ตากาล็อก: Lalawigan ng Nueva Ecija; อีโลกาโน: Probinsia ti Nueva Ecija; กาปัมปางัน: Lalawigan ning Nueva Ecija; ปังกาซีนัน: Luyag na Nueva Ecija) (034900000; '''ISO''': PH-NUE) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในเขตกิตนางลูโซน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือปาลายัน อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดบูลาคัน, ปัมปังกา, ตาร์ลัก, ปังกาซีนัน, นูเวบาบิซคายา และเอาโรรา โดยจังหวัดนูเวบาเอซีฮามีแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงได้รับสมญาว่า ชามข้าวแห่งฟิลิปปิน.

ดู จังหวัดปัมปังกาและจังหวัดนูเวบาเอซีฮา

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ดู จังหวัดปัมปังกาและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซันเฟร์นันโด (จังหวัดปัมปังกา)

นครซันเฟร์นันโด (กาปัมปางัน: Lakanbalen ning San Fernando; Lungsod ng San Fernando) เป็นนครและเมืองหลักของจังหวัดปัมปังกา ประเทศฟิลิปปินส์ ใน..

ดู จังหวัดปัมปังกาและซันเฟร์นันโด (จังหวัดปัมปังกา)

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ดู จังหวัดปัมปังกาและประเทศฟิลิปปินส์

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ดู จังหวัดปัมปังกาและปลานิล

เขตกิตนางลูโซน

กิตนางลูโซน (Gitnang Luzon; Central Luzon; กาปัมปางัน: Kalibudtarang Luzon; ปังกาซีนัน: Pegley na Luzon; อีโลคาโน: Tengnga a Luzon) หรือ เขตที่ 3 เป็นเขตการปกครองของประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดทางตอนกลางของเกาะลูซอน สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างขวางและเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ โดยเป็นเขตที่ผลิตข้าวได้มากที่สุดของประเทศ จึงได้รับฉายา "ยุ้งข้าวแห่งฟิลิปปินส์" จังหวัดในเขตนี้ได้แก่ จังหวัดเอาโรรา‎, จังหวัดบาตาอัน, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดนูเวบาเอซีฮา, จังหวัดปัมปังกา, จังหวัดตาร์ลัก และจังหวัดซัมบาเล.

ดู จังหวัดปัมปังกาและเขตกิตนางลูโซน

ดูเพิ่มเติม

จังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์

จังหวัดในเขตกิตนางลูโซน