โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดอีซาเบลา

ดัชนี จังหวัดอีซาเบลา

ังหวัดอีซาเบลา (อีโลกาโน: Probinsia ti Isabela; Lalawigan ng Isabela) เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะลูซอน เมืองหลักคืออีลากัน ตั้งอยู่ในเขตลัมบักนางคากายัน อยู่ติดกับจังหวัดคากายันทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดกาลิงกาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, ติดกับจังหวัดเมาน์เทนทางทิศตะวันตก, ติดกับจังหวัดอีฟูเกาและนูเวบาบิซคายาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้, ติดกับจังหวัดคีรีโนและเอาโรรา‎ทางทิศใต้ และติดกับทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก ผลผลิตทางเกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่ ข้าว และข้าวโพด ในปี..

18 ความสัมพันธ์: บารังไกย์ภาษาฟิลิปีโนภาษาอังกฤษภาษาอีบานักภาษาอีโลกาโนอีลากันจังหวัดอีฟูเกาจังหวัดคากายันจังหวัดคีรีโนจังหวัดนูเวบาบิซคายาจังหวัดเอาโรราทะเลฟิลิปปินข้าวข้าวโพดซังกูเนียงปันลาลาวีกันประเทศฟิลิปปินส์เกาะลูซอนเขตลัมบักนางคากายัน

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและบารังไกย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษานี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาตากาล็อก เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 สถาบันภาษาแห่งชาติเลือกภาษาตากาล็อกซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่มีการใช้เป็นภาษาเขียนมากที่สุดมาเป็นพื้นฐานของภาษาประจำชาติภาษาใหม่ใน พ.ศ. 2504 ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ปิลิปีโน และเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2515.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและภาษาฟิลิปีโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีบานัก

ภาษาอีบานัก มีผู้พูด 500,000 คน ในฟิลิปปินส์ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอีซาเบลา จากายัน โซลานา จาบากัน และอีลากัน รวมทั้งผู้อพยพไปอยู่ ตะวันออกกลางและสหรัฐ ผู้พูดภาษานี้ ส่วนใหญ่จะพูดภาษาอีโลกาโน ที่เป็นภาษากลางของลูซอนภาคเหนือได้ด้วย คำว่า “อีบานัก” มาจาก “บันนัก” แปลว่าแม่น้ำ ใกล้เคียงกับภาษากัดดัง ภาษาอีตาวิส ภาษาอักตา ภาษาโยกัด และภาษามาลาเวก อีบานัก.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและภาษาอีบานัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอีโลกาโน

ษาอีโลกาโนเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นลำดับสามในฟิลิปปินส์ เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซีย ภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชาร์โมโร ภาษาเตตุมและภาษาไปวัน.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและภาษาอีโลกาโน · ดูเพิ่มเติม »

อีลากัน

อีลากัน (อีบานัก: Siudad nat Ilagan; อีโลกาโน: Siudad ti Ilagan; Lungsod ng Ilagan) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ นครอีลากัน, เป็นนครศูนย์กลางของจังหวัดอีซาเบลา ประเทศฟิลิปปินส์ ประชากรในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและอีลากัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอีฟูเกา

ังหวัดอีฟูเกา (อีฟูเกา: Probinsia ti Ifugao; Lalawigan ng Ifugao) เป็นจังหวัดไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตบริหารคอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือลากาเว มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเบงเก็ตทางทิศตะวันตก จังหวัดบูลูบุนดูคินทางทิศเหนือ จังหวัดอีซาเบลาทางทิศตะวันออก และจังหวัดนูเวบาบิซคายาทางทิศใต้ จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของนาขั้นบันไดฟิลิปปินคอร์ดิลเยราและนาขั้นบันไดบานาเว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด เชื่อกันว่านาขั้นบันไดเหล่านี้มีอายุประมาณ 2,000 ปี อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยโดยใช้การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี นาขั้นบันไดมีอายุน้อยกว่านั้น ในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและจังหวัดอีฟูเกา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคากายัน

ังหวัดคากายัน (อีโลกาโน: Probinsia ti Cagayan, ฟิลิปีโน: Lalawigan ng Cagayan) เป็นจังหวัดในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน และยังรวมพื้นที่ของหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ จังหวัดคากายันอยู่ติดกับจังหวัดฮีลากังอีโลโคสและอาปาเยาทางทิศตะวันตก และติดกับจังหวัดกาลิงกาและอีซาเบลาทางทิศใต้ เมืองหลักคือตูเกกาเรา จังหวัดมีพื้นที่ 9,295.75 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของเขตลัมบักนางคากายัน สำหรับในปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและจังหวัดคากายัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคีรีโน

ังหวัดคีรีโน (อีโลกาโน: Probinsia ti Quirino) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งชื่อตามเอลปิดิโอ กีริโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 6 เมืองหลักคือคาบาร์โรกิส จังหวัดคีรีโน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเอาโรรา‎ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, จังหวัดนูเวบาบิซคายาทางทิศตะวันตก และจังหวัดอีซาเบลาทางทิศเหนือ จังหวัดคีรีโนเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนูเวบาบิซคายา จนถึงปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและจังหวัดคีรีโน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนูเวบาบิซคายา

ังหวัดนูเวบาบิซคายา (อีโลกาโน: Probinsia ti Nueva Vizcaya) เป็นจังหวัดในเขตลัมบักนางคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือบาโยมโบง อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเบงเกตทางทิศตะวันตก, ติดกับจังหวัดอิฟูเกาทางทิศเหนือ, ติดกับจังหวัดอีซาเบลาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, ติดกับจังหวัดคีรีโนทางทิศตะวันออก, ติดกับจังหวัดเอาโรรา‎ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ติดกับจังหวัดนูเวบาเอซีฮาทางทิศใต้ และติดกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตเทือกเขาคอร์ดิลเลรัส จังหวัดนูเวบาบิซคายามีพื้นที่ 3,975.67 ตารางกิโลเมตร และเป็นจังหวัดใต้สุดของเขตลัมบักนางคากายัน อยู่ห่างจากเมโทรมะนิลาไปทางทิศเหนือประมาณ สามารถเดินทางได้โดยถนนลัมบักนางคากายัน (ทางหลวงมาฮาร์ลิกา).

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและจังหวัดนูเวบาบิซคายา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเอาโรรา

ังหวัดเอาโรรา (Lalawigan ng Aurora; อีโลกาโน: Probinsia ti Aurora) เป็นจังหวัดในเขตกิตนางลูโซนของประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ติดกับทะเลฟิลิปปิน เมืองหลักคือบาเลร์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเคโซน, บูลาคัน, นูเวบาเอซีฮา, นูเวบาบิซคายา, คีรีโน และอีซาเบลา ก่อนปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและจังหวัดเอาโรรา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ข้าว

้าว ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโพด

ลักษณะของข้าวโพด ''Zea mays "fraise"'' ''Zea mays "Oaxacan Green"'' ''Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”'' ข้าวโพด (Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1946 ลูซอน.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและเกาะลูซอน · ดูเพิ่มเติม »

เขตลัมบักนางคากายัน

ลัมบักนางคากายัน (Lambak ng Cagayan; Cagayan Valley; อีโลคาโน: Tanap ti Cagayan; อีบานัก: Tana' na Cagayan; อีตาวิส: Tanap yo Cagayan) หรือ เขตที่ 2 เป็นเขตการปกครองระดับบนสุดเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน ประกอบด้วยจังหวัด 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบาตาเนส, จังหวัดคากายัน, จังหวัดอีซาเบลา, จังหวัดนูเวบาบิซคายา และจังหวัดคีรีโน และมีนคร 4 แห่ง ได้แก่ คาวายัน, อีลากัน, ซันเตียโก และตูเกกาเรา พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในหุบเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ อยู่ระหว่างทิวเขาคอร์ดิลเยรา‎กับซีเยร์รามาเดร แม่น้ำสายสำคัญคือแม่น้ำคากายัน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่สองของประเทศ ไหลจากทิวเขาคาราบัลโยทางทิศใต้ ไปสู่ช่องแคบลูซอนทางทิศเหนือ เขตนี้ยังครอบคลุมถึงหมู่เกาะบาบูยันและกลุ่มเกาะบาตาเนสทางทิศเหนืออีกด้วย ลัมบักนางคากายันเป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศ รองจากเขตมีมาโรป.

ใหม่!!: จังหวัดอีซาเบลาและเขตลัมบักนางคากายัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »