เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จังหวัดซีลางังมินโดโร

ดัชนี จังหวัดซีลางังมินโดโร

ังหวัดซีลางังมินโดโร (Silangang Mindoro, Mindoro Oriental) เป็นจังหวัดบนเกาะมินโดโร เขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ห่างจากมะนิลาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบเกาะเวิร์ดและจังหวัดบาตังกัสทางทิศเหนือ ติดกับจังหวัดมารินดูเค, เกาะแมสเตรเดอคัมโป, ช่องแคบตาบลาส และจังหวัดโรมโบลนทางทิศตะวันออก ติดกับเกาะเซมีราราและเกาะคาลูยา จังหวัดอันตีเค ทางทิศใต้ และติดกับจังหวัดคันลูรังมินโดโรทางทิศตะวันตก เมืองศูนย์กลางประจำจังหวัดคือคาลาปัน ซีลางังมินโดโรเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งในปี..

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 21 ความสัมพันธ์: บารังไกย์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภาษาฟิลิปีโนภาษาอังกฤษมะนิลามินโดโรระบบนิเวศทางทะเลสามเหลี่ยมปะการังองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจังหวัดบาตังกัสจังหวัดมารินดูเคจังหวัดอันตีเคจังหวัดคันลูรังมินโดโรจังหวัดโรมโบลนทะเลซูลูคาลาปันซังกูเนียงปันลาลาวีกันประเทศฟิลิปปินส์ปลาน้ำเค็มเกาะลูซอนเขตมีมาโรปา

  2. จังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์
  3. จังหวัดโอเรียนตัลมินโดโร
  4. จังหวัดในเขตมีมาโรปา
  5. รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493
  6. เกาะมินโดโร

บารังไกย์

รังไกย์ เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นของรัฐบาลที่เล็กที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นคำที่ชาวฟิลิปปินส์พื้นเมืองสำหรับหมู่บ้านตำบลหรือวอร์ด ในการใช้งานเป็นภาษาพูดคำที่มักจะหมายถึงเขตเมืองชั้นในย่านชานเมืองหรือย่านชานเมือง คำว่าบารังไกย์คำมาจาก Balangay ชนิดของเรือที่ใช้โดยกลุ่มของประชาชนออสโตรนีเชียน เมื่อพวกเขาอพยพไปอยู่ในฟิลิปปินส์ ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองที่มีองค์ประกอบของเกส์และพวกเขาอาจจะถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า Purok (ไทย:เขต) และ Sitio ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในวงล้อมรังเกย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท ณ วันที่ 30 กันยายน 2012 จำนวนบารังไกย์มีจำนวน 42,028 บารังไกย์ทั่วฟิลิปปิน.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและบารังไกย์

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) หมายถึงการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และผู้ที่มาท่องเที่ยวนั้นจะต้องเป็นบุคคลเฉพาะกลุ่มโดยรู้และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชุมชน หรือสิ่งที่น่าจะทำให้การท่องเที่ยวนั้นเสียหาย ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นี้รวมไปถึงรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือการท่องเที่ยวในรูปแบบ MICE หมวดหมู่:การท่องเที่ยว หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:การอนุรักษ์.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ภาษาฟิลิปีโน

ษาฟิลิปปินส์ หรือ ภาษาฟิลิปีโน (Filipino) เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการภาษาหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์คู่กับภาษาอังกฤษ กำหนดเมื่อ พ.ศ.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและภาษาฟิลิปีโน

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและภาษาอังกฤษ

มะนิลา

มะนิลา (Manila; Maynila) เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยุ่บนชายฝั่งตะวันออกของอ่าวมะนิลา (Manila Bay) บนเกาะลูซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ทางเหนือสุดของฟิลิปปินส์ บางส่วนของเมืองมีความยากจน อย่างไรก็ดี มะนิลาเป็นเมืองที่มีชนชาติรวมกันอยู่มากมาย และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และอุตสหากรรมของประเทศ มะนิลาคือศูนย์กลางของเขตมหานครที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน เขต เมโทรมะนิลา (Metro Manila) เป็นมหานครที่ใหญ่กว่า ประกอบด้วยเมืองและเทศบาล 17 แห่ง เฉพาะเมืองมะนิลาเองเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เมืองเดียวที่มีประชากรมากกว่าคือเมืองเกซอนซิตี (Quezon City) ชานเมืองและอดีตเมืองหลวง มะนิลาตั้งอยูที่ 14°35' เหนือ 121°0' ตะวันออก.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและมะนิลา

มินโดโร

มินโดโร (Mindoro) เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลูซอน ทิศตะวันตกจดทะเลจีนใต้ ทิศใต้จดทะเลลูซู ทิศเหนือแยกจากเกาะลูซอนโดยช่องแคบเวอร์เด ทิศตะวันออกแยกจากเกาะตาบลัสและเกาะอื่น ๆ โดยช่องแคบตาบลัส และด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกจากหมู่เกาะกาลามีอันโดยช่องแคบมินโดโร ชาวจีนรู้จักเกาะนี้ก่อนที่สเปนจะเดินทางมาถึงใน..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและมินโดโร

ระบบนิเวศทางทะเล

แนวปะการังในระบบนิเวศทางทะเลถือว่าเป็นระบบที่มีความหลากหลายทางชีวภาพซับซ้อนมากที่สุด ที่นี่ เราจะพบความแตกต่างของสายพันธุ์มากที่สุดของ ดาวทะเล, แนวปะการัง และ ปลา ใน เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ระบบนิเวศทางทะเล (Marine ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ของระบบนิเวศในแหล่งน้ำทุกชนิด ซึ่งรู้จักกันดีในพื้นที่ มหาสมุทร, กลุ่มดินเค็ม และ เขตน้ำขึ้น-น้ำลง, ปากแม่น้ำ และ ทะเลสาบน้ำเค็ม, ป่าโกงกาง และ แนวปะการัง, ทะเลน้ำลึก และ สัตว์ทะเลหน้าดิน สามารถเทียบได้กับแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีปริมาณเกลือเข้มข้นกว่า ระบบนิเวศทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลก ซึ่งถือได้ว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชได้สนับสนุนกันและกันกับสัตว์ ในทางกลับกันเราอาจจะมองเห็นห่วงโซ่อาหารได้หลากหลายอย่าง ระบบนิเวศทางทะเล มีความสำคัญมากต่อสมดุลโดยรวมของนิเวศบนบก และในน้ำ, ตามที่ศูนย์วิจัยทรัยากรณ์โลก ได้ระะบุว่า เพียงบริเวณชายฝั่งทะเลเพียงอย่างเดียว มีปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพสูงถึง 1 ใน 3 ส่วนของโลก (เช่น บึงเกลือ หญ้าทะเล ป่าชายเลน) จัดอยู่ในประเภทผู้ผลิตที่มีปริมาณมากที่สุดในภูมิภาค, ในระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ เช่น แนวปะการัง ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอีกมากม.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและระบบนิเวศทางทะเล

สามเหลี่ยมปะการัง

มเหลี่ยมปะการัง (Coral triangle) เป็นพื้นที่หนึ่งในทะเลและมหาสมุทรแปซิฟิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแนวปะการังที่เชื่อมต่อติดกันเป็นรูปสามเหลี่ยมระหว่างน่านน้ำของหลายประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ของทะเลประเทศฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็นพื้นที่ 5.7 ล้านตารางกิโลเมตร ปะการังในสามเหลี่ยมปะการัง คิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนปะการังที่มีทั้งหมดในโลก และมีความหลากหลายทางชีววิทยาและชนิดพันธุ์ของปลามากถึงร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั่วทั้งโลก จากความหลากหลายเช่นนี้ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ป่าแอมะซอนแห่งทะเล" ในปี..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและสามเหลี่ยมปะการัง

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

จังหวัดบาตังกัส

ังหวัดบาตังกัส (Lalawigan ng Batangas) เป็นจังหวัดในเขตคาลาบาร์โซน ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักชื่อเดียวกันกับชื่อจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดคาบีเต และลากูนา ทางทิศเหนือ และติดกับจังหวัดเคโซนทางทิศตะวันออก จังหวัดบาตังกัสติดกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก และมีเกาะมินโดโรอยู่ทางทิศใต้ บาตังกัสตั้งอยู่ใกล้กับเมโทรมะนิลา และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ ภูเขาไฟตาอัล และเมืองมรดกตาอัล นอกจากนี้ยังชายหาดและจุดดำน้ำหลายแห่ง ได้แก่ อะนิเลา, เกาะซอมเบรโร, เกาะลิกโป, หาดซัมปากีตา, มาตาบุงไกย์, ปุนตาฟือโก, กาลาตากัน และไลย์ยา บาตังกัสซิตี มีท่าเรือทะเลที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของประเทศ และมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดดในตัวเมือง.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและจังหวัดบาตังกัส

จังหวัดมารินดูเค

ังหวัดมารินดูเค (Marinduque) เป็นจังหวัดที่เป็นเกาะในเขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ มีศูนย์กลางอยู่ที่เทศบาลโบอัค ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวตายาบัสทางทิศเหนือ กับทะเลซีบูยันทางทิศใต้ และตั้งอยู่ใกล้กับคาบสมุทรบอนด็อกของจังหวัดเคโซนทางทิศตะวันออก เกาะมินโดโรทางทิศตะวันตก และเกาะจังหวัดโรมโบลนทางทิศใต้ พื้นที่บางส่วนของช่องแคบเกาะเวิร์ด ศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของโลก ก็อยู่ในน่านน้ำของจังหวัดนี้ ในปี..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและจังหวัดมารินดูเค

จังหวัดอันตีเค

ังหวัดอันตีเค (กินาไรอา: Probinsiya kang Antique; ฮีลีไกโนน: Kapuoran sang Antique; Lalawigan ng Antique) เป็นจังหวัดในเขตคันลูรังคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือซันโฮเซเดอบูเวนาบิสตา ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของเกาะปาไนย์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอักลัน จังหวัดคาปิซ‎ และจังหวัดอีโลอีโล ทางทิศตะวันออก และติดกับทะเลซูลูทางทิศตะวันตก จังหวัดแห่งนี้เป็นถิ่นฐานของชนพื้นเมืองอีไรนัน-บูกิดโนน ซึ่งเป็นผู้ใช้ภาษากินาไรอา และยังสร้างนาขั้นบันไดซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียวบนเกาะวิซายัสอีกด้ว.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและจังหวัดอันตีเค

จังหวัดคันลูรังมินโดโร

ังหวัดคันลูรังมินโดโร (Kanlurang Mindoro, Mindoro Occidental) เป็นจังหวัดในเขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะมินโดโร เมืองศูนย์กลางคือมัมบูเรา แต่เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือซันโฮเซ ในปี..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและจังหวัดคันลูรังมินโดโร

จังหวัดโรมโบลน

ังหวัดโรมโบลน เป็นจังหวัดเกาะในเขตมีมาโรปา ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะหลักอย่างเกาะตาบลาส ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมเทศบาลทั้งเก้าแห่ง และเกาะซีบูยัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทศบาลโรมโบลน ศูนย์กลางของจังหวัด จังหวัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดมารินดูเคและเคโซน อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดซีลางังมินโดโร ทิศเหนือของจังหวัดอักลันและคาปิซ และทิศตะวันตกของจังหวัดมัสบาเต ในปี..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและจังหวัดโรมโบลน

ทะเลซูลู

ทะเลซูลู ทะเลซูลู (Sulu Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ทิศตะวันออกติดกับหมู่เกาะวีซายันและเกาะมินดาเนา ทิศตะวันตกติดกับรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ทิศเหนือติดกับเกาะปาลาวัน หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศฟิลิปปินส์ หมวดหมู่:ทะเลในประเทศมาเลเซีย หมวดหมู่:แหล่งน้ำในประเทศมาเลเซีย.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและทะเลซูลู

คาลาปัน

นครคาลาปัน (Lungsod ng Calapan) เป็นนครระดับที่สาม และเป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดซีลางังมินโดโร ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและคาลาปัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน (Sangguniang Panlalawigan; Provincial Council) หรือ โปรวินเชียลบอร์ด เป็นคำภาษาฟิลิปีโนที่ใช้เรียกแทนสภานิติบัญญัติประจำจังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัตินี้ ถูกกำหนดโดย ประมวลรัฐบาลท้องถิ่น ตั้งแต..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและซังกูเนียงปันลาลาวีกัน

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและประเทศฟิลิปปินส์

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและปลาน้ำเค็ม

เกาะลูซอน

ลูซอน (Luzon) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทั้งสามกลุ่มของประเทศ (อีกสองกลุ่มได้แก่ วีซายันและมินดาเนา) โดยกลุ่มเกาะลูซอน ได้แก่ ตัวเกาะลูซอนเอง รวมทั้งหมู่เกาะบาตันและหมู่เกาะบาบูยันทางทิศเหนือ และเกาะต่าง ๆ ทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะกาตันดัวเนส เกาะมารินดูเก เกาะมัสบาเต เกาะรอมบลอน และเกาะมินโดโร เกาะลูซอนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในชื่อว่า "จักรวรรดิซ้องน้อย" (Lesser Song Empire) หรือ Lusong Kok จากนั้นนักสำรวจชาวโปรตุเกสได้บันทึกเกาะนี้ไว้ในแผนที่ของพวกเขาในชื่อ "ลูโซเนีย" (Luçonia) หรือ "ลูซอน" (Luçon) ชาวสเปนเข้ามาถึงเกาะนี้และอ้างกรรมสิทธิ์เพื่อครอบครองในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ภายใต้การปกครองของสเปน ลูซอนยังมีชื่อเรียกว่า นวยบากัสตียา (Nueva Castilla) หรือ นิวคาสตีล (New Castile) อีกด้วย ต่อมาในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ เอมีลีโอ อากีนัลโดได้ประกาศเอกราชจากสเปนและจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ที่เกาะแห่งนี้ แต่หลังจากนั้นทั้งหมู่เกาะก็ตกไปอยู่ในการปกครองของสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกาะลูซอนและเกาะอื่น ๆ ได้เอกราชอย่างสมบูรณ์อีกครั้งในปี ค.ศ.

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและเกาะลูซอน

เขตมีมาโรปา

ตเซาเวสเทิร์นตากาล็อก หรือ เขตมีมาโรปา เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ เคยเป็นเขตที่ 4-B จนถึง..

ดู จังหวัดซีลางังมินโดโรและเขตมีมาโรปา

ดูเพิ่มเติม

จังหวัดของประเทศฟิลิปปินส์

จังหวัดโอเรียนตัลมินโดโร

จังหวัดในเขตมีมาโรปา

รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493

เกาะมินโดโร

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Oriental Mindoro