เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สามเหลี่ยมปะการัง

ดัชนี สามเหลี่ยมปะการัง

มเหลี่ยมปะการัง (Coral triangle) เป็นพื้นที่หนึ่งในทะเลและมหาสมุทรแปซิฟิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแนวปะการังที่เชื่อมต่อติดกันเป็นรูปสามเหลี่ยมระหว่างน่านน้ำของหลายประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ของทะเลประเทศฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็นพื้นที่ 5.7 ล้านตารางกิโลเมตร ปะการังในสามเหลี่ยมปะการัง คิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนปะการังที่มีทั้งหมดในโลก และมีความหลากหลายทางชีววิทยาและชนิดพันธุ์ของปลามากถึงร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั่วทั้งโลก จากความหลากหลายเช่นนี้ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ป่าแอมะซอนแห่งทะเล" ในปี..

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: พืดหินปะการังองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลป่าดิบชื้นแอมะซอน

  2. ภูมิศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. สิ่งแวดล้อมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  4. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร
  5. แนวปะการัง

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ดู สามเหลี่ยมปะการังและพืดหินปะการัง

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

ัญลักษณ์กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่างๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ ใน..

ดู สามเหลี่ยมปะการังและองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

ป่าดิบชื้นแอมะซอน

ป่าดิบชื้นแอมะซอนในประเทศบราซิล ป่าดิบชื้นแอมะซอน เป็นป่าใบกว้างชื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอ่งแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แอ่งนี้กินพื้นที่ 7 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งป่าดิบชื้นแอมะซอนกินพื้นที่ไป 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ภูมิภาคนี้รวมดินแดนที่เป็นของ 9 ประเทศ พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ราวร้อยละ 60 อยู่ในประเทศบราซิล รองลงมา คือ เปรู ร้อยละ 13 และโคลอมเบีย ร้อยละ 10 และมีปริมาณเล็กน้อยในเวเนซุเอลา เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา ซูรินาม และเฟรนช์เกียนา ป่าแอมะซอนเป็นเนื้อที่กว่าครึ่งของป่าดิบชื้นที่ยังเหลืออยู่บนโลก และเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก มีต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้นและมีพันธุ์ไม้ประมาณ 16,000 ชน.

ดู สามเหลี่ยมปะการังและป่าดิบชื้นแอมะซอน

ดูเพิ่มเติม

ภูมิศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สิ่งแวดล้อมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร

แนวปะการัง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Coral triangle