สารบัญ
42 ความสัมพันธ์: ฟรีบีเอสดีพลศาสตร์ของไหลพ็อคเกตพีซีการสร้างแบบจำลองสามมิติการใช้กระดูกควบคุมแบบจำลองสามมิติการเร็นเดอร์ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ภาพยนตร์ภาษาซีภาษาซีพลัสพลัสภาษาไพทอนยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ระบบปฏิบัติการลักซ์เร็นเดอร์ลินุกซ์สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูข้ามแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติคอมพิวเตอร์แอนิเมชันคอลลาดาซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติซอฟต์แวร์เสรีประติมากรรมดิจิทัลประเทศเนเธอร์แลนด์โกลบอลอินลูมิเนชันโอเพนบีเอสดีโอเพนจีแอลไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไทป์เฟซเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชันเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเส้นโค้งเบซิเยร์เครื่องปั่นเน็ตบีเอสดีBig Buck BunnyMBNormal mappingSubdivision surfaceUV mapping3 ดีเอสแมกซ์
- ซอฟต์แวร์เสรีข้ามแพลตฟอร์ม
- ซอฟต์แวร์ในปี พ.ศ. 2538
ฟรีบีเอสดี
ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และฟรีบีเอสดี
พลศาสตร์ของไหล
ลศาสตร์ของไหล(Fluid dynamics) เป็นสาขาวิชาการย่อยของกลศาสตร์ของไหล ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของไหล ซึ่งหมายรวมถึงของเหลวและแก๊ส โดยพลศาสตร์ของไหลยังแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายสาขาวิชา เช่น อากาศพลศาสตร์ ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศ และพลศาสตร์ของเหลวที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของเหลว เราใช้พลศาสตร์ของไหลในหลายวิธี เช่นในการคำนวณแรงและโมเมนต์บนอากาศยาน ในการหาอัตราการไหลของมวลของปิโตรเลียมผ่านท่อ คาดคะเนแบบรูปของสภาพอากาศ ทำความเข้าใจเนบิวลาและสสารระหว่างดาว ตลอดจนงานคอมพิวเตอร์กราฟิก.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และพลศาสตร์ของไหล
พ็อคเกตพีซี
็อคเกตพีซี (Pocket PC) คือคอมพิวเตอร์ขนาดมือถือที่ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบาย มันมีความสามารถของพีซีเดสก์ท็อปสมัยใหม่หลายอย่าง ในปัจจุบันฟรีแวร์หลายตัวและรวมทั้งก็ลักษณะเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ็อคเกตพีซีสามารถใช้เป็นจีพีเอส (GPS) ตัวอ่านบาร์โค้ด และกล้องถ่ายรูปก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นเครื่องมือใด ๆ ที่จำเป็นต้องถูกแยกประเภทในฐานะพีซีกระเป๋าก็ยังต้องทำดำเนินการด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ CE/Mobiles 2002,2003, 5.0 (ฉบับพ็อคเกตพีซี) ซีพียูที่ร่วมกันได้คือ "อินเทล XScale".
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และพ็อคเกตพีซี
การสร้างแบบจำลองสามมิติ
กการให้แสงและเงา Utah teapot โมเดลซึ่งทำขึ้นโดย Martin Newell ใน พ.ศ. 2518 เป็นโมเดลที่นิยมกันมากในการเรียนการสอนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ ในคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ การสร้างโมเดลสามมิติ หรือ 3D modeling หมายถึงกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการสร้างแบบจำลองโดยอาศัยโครงสร้าง wireframe เพื่อแสดงวัตถุในสามมิติทั้งแบบที่เคลื่อนไหวได้และไม่เคลื่อนไหว โดยใช้ซอฟต์แวร์สามมิติสร้างขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น โมเดลสามมิติ ซึ่งสามารถนำมาแสดงผลด้วยกระบวนการ 3D rendering หรือ 3D projection หรือ 3D printing ที่ใช้สร้างวัตถุที่จับต้องได้จริงๆได้ โมเดลสามมิตินี้อาจถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยใช้คนทำขึ้น ทั้งนี้ การสร้างแบบจำลองสามมิติไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้าง แต่ใช้วิธีวาดขึ้นเช่นในการเขียนแบบทัศนียภาพก็ได้ แบบจำลองสามมิติแบบ mesh ประกอบขึ้นจาก '''vertex''', '''edge''' และ '''face''' โมเดลเรือที่ใช้ NURBS.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และการสร้างแบบจำลองสามมิติ
การใช้กระดูกควบคุมแบบจำลองสามมิติ
การใช้กระดูกควบคุมแบบจำลองสามมิติ ในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ และเกมคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ นิยมใช้กระดูกเพื่อบังคับการเคลื่อนไหวของโมเดลสามมิติ โดยแทนที่จะเก็บ Key frame ของแต่ละการเคลื่อนไหวแยกกันไป ก็อาจเก็บการเคลื่อนไหวของกระดูกแทน เมื่อมีการขยับกระดูก กระดูกก็จะไปบังคับให้กลุ่มของจุดหรือ Vertex (geometry) เคลื่อนที่ไปตามกระดูกนั้น.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และการใช้กระดูกควบคุมแบบจำลองสามมิติ
การเร็นเดอร์
ตัวอย่างการเร็นเดอร์อาคาร 3 มิติในคอมพิวเตอร์ คำนวณผลออกมาดังรูป การเร็นเดอร์ราชบัณฑิตยสถาน.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และการเร็นเดอร์
ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์
มื่อขยายหน้ายิ้มมุมซ้ายบนของภาพซึ่งเป็นภาพภาพบิตแมป RGB เป็นภาพใหญ่ทางขวา จะเห็นว่าแต่ละสี่เหลี่ยมคือจุดภาพ หรือ pixel เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกเข้าไปอีก สีต่างๆของ pixel เกิดจากการผสมแสงสีแดง เขียวและน้ำเงินเข้าในสัดส่วนต่างๆกัน ภาพกราฟิกส์แรสเตอร์ (raster graphics) หรือ ภาพบิตแมป (bitmap) หรือ คือภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว มีข้อดีคือ เหมาะกับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี กำหนดสีที่ต้องการความละเอียดได้ง่าย ข้อเสีย คือเมื่อมีจุดสีที่คงที่นั่น ทำให้เวลาขยายภาพนั้นจะมีความละเอียดน้อยลงมาก และถ้าเพิ่มขนาดความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดที่ใหญ่ และเปลืองพื้นที่ความจำ ไฟล์ภาพพวกนี้มีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น BMP, TIF, JPG, PCT ฯลฯ โปรแกรมที่ใช้ เช่น โฟโต้ชอป, กิมป์ ฯลฯ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และภาพกราฟิกส์แรสเตอร์
ภาพยนตร์
กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และภาพยนตร์
ภาษาซี
ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และภาษาซี
ภาษาซีพลัสพลัส
ษาซีพลัสพลัส (C++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และภาษาซีพลัสพลัส
ภาษาไพทอน
ษาไพทอน (Python programming language) เป็นภาษาระดับสูง.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และภาษาไพทอน
ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์
ูเอสบีแฟลชไดรฟ์ (USB flash drive) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GB ถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP/Vista/7 แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์ แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง "ทัมบ์ไดรฟ์" "คีย์ไดรฟ์" "จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ปัจจุบันชื่อสากล จะเรียกว่าแฟลชไดรฟ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และระบบปฏิบัติการ
ลักซ์เร็นเดอร์
ลักซ์เร็นเดอร์ (LuxRender) เป็นซอฟต์แวร์เสรีสำหรับให้แสงและเงาแบบจำลองสามมิติแบบ unbiased โปรแกรมทำงานได้บน Microsoft Windows, Mac OS X และ Linux โดยมีซอฟต์แวร์เสริมสำหรับช่วยส่งออกงานจาก Blender, XSI และ Maya.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และลักซ์เร็นเดอร์
ลินุกซ์
ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และลินุกซ์
สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู
รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู
ข้ามแพลตฟอร์ม
้ามแพลตฟอร์ม หรือ หลายแพลตฟอร์ม (Cross-platform) หมายถึงการที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานได้ในหลายแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ สำหรับสถาปัตยกรรม x86 และ Mac OS X บน PowerPC สวัสดี.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และข้ามแพลตฟอร์ม
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ
ตัวอย่างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ ของโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองไทย คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติหรือ เรขภาพคอมพิวเตอร์สามมิติ คืองานกราฟิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์เพื่องานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ หรือหมายรวมถึงวิทยาการที่เกี่ยวข้อง เช่นคณิตศาสตร์และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแตกต่างจากสองมิติตรงที่ภาพจากคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติจะมีค่าความลึกที่สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงใช้ซ้ำ เช่นการเปลี่ยนมุมมอง การหาระยะใกล้ไกลจากในภาพ เป็นต้น ในแง่คณิตศาสตร์การคำนวณภาพแบบสามมิติจะคล้ายคลึงกับภาพสองมิติแบบเวกเตอร์ โดยจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ชนิดเดียวกันเพียงแต่เพิ่มตัวแปรเพื่อนิยามความลึกหรือแกน Z ลงไปนอกเหนือจากแกน X และ Y ตามปรกติ ทั้งนี้ งานสามมิติมักผสมผสานงานแบบสองมิติทั้งแบบเวกเตอร์และภาพแรสเตอร์เข้าด้วยกัน เช่นการขึ้นโครงสร้างในแบบสามมิติ แล้วใช้การกำหนดลวดลายหรือปรับรายละเอียดพื้นผิวด้วยภาพสองมิติ เพื่อให้เกิดความสมจริง ในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ จึงมีการพัฒนาระบบจำลองต่าง ๆ เช่นระบบคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุตามหลักฟิสิกส์ เช่นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วง แรงลม แรงเสียดทาน ฯลฯ ที่ผู้ใช้ยังสามารถปรับแต่งให้แตกต่างจากความเป็นจริงหรือเหนือธรรมชาติได้อย่างอิสระ ตลอดจนระบบอื่น ๆ เช่นระบบสีที่ใช้การคำนวณการสะท้อนแสง ซึ่งก็สามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้เช่นเดียวกัน ในการแสดงผลภาพสามมิติ OpenGL และ Direct3D เป็นเอพีไอที่ได้รับความนิยมควบคู่ไปกับการใช้ซอฟต์แวร์ในการคำนวณการเคลื่อนที่เช่น Bullet (ซอฟต์แวร์) ปัจจุบัน การใช้งานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติได้รับความนิยมแพร่หลาย ทั้งในสื่อภาพเคลื่อนไหว สิ่งพิมพ์ เกมคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรม การแพทย์ ตลอดจนการจำลองอื่น ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ
คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน
แอนิเมชันลักษณะโมชันแคปเจอร์ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (computer animation) คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์โดยอาศัยเครื่องมือ ที่สร้างจากแนวคิดทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยในการสร้าง ดัดแปลง และให้แสงและเงาเฟรมตลอดจนการประมวลผลการเคลื่อนที่ต่าง ๆ โดยเครื่องมือที่ว่าประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ที่สร้างขึ้นจาก ระเบียบวิธี ขั้นตอนวิธี หลักการ กฎ หรือ การคำนวณต่าง ๆ เช่น.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน
คอลลาดา
อลลาดา (collaborative design activity: COLLADA) เป็นมาตรฐานไฟล์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติและซอฟต์แวร์ที่มีการประมวลผลสามมิติเช่น Game engine พัฒนาขึ้นโดยบริษัทโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อใช้เป็นรูปแบบไฟล์อย่างเป็นทางการสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเพลย์สเตชัน 3 และ เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ปัจจุบันอยู่ใต้ความดูแลของ Khronos Group คอลลาดาเป็นมาตรฐานแบบเปิด นิยามด้วย XML schema แบบ W3C เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้แก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์แอนิเมชันต่างๆเช่นการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก โมเดลสามมิติ Key frame โดยไฟล์คอลลาดาจะเป็นไฟล์แบบ XML ซึ่งมักใช้นามสกุล.dae (digital asset exchange).
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และคอลลาดา
ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์
ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์
ซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติ
ซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติ หมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้งานเกี่ยวกับการสร้างภาพสามมิติ ทั้งนี้ขั้นตอนของงานดังกล่าวอาจแบ่งหรือแตกแขนงออกได้หลายลำดับขั้น (pipeline) และอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่นการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีขั้นตอนแตกต่างจากการสร้างภาพยนตร์หรือภาพเคลื่อนไหว ซอฟต์แวร์ที่ถูกนำมาใช้ในแต่ละขั้นตอนอาจเป็นคนละตัวหรือตัวเดียวกัน อาจเป็นโปรแกรมจากภายนอก หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นการภายในสตูดิโอนั้นๆก็ได้.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติ
ซอฟต์แวร์เสรี
ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และซอฟต์แวร์เสรี
ประติมากรรมดิจิทัล
ภาพชายแก่สร้างด้วยเครื่องมือทำ digital sculpting และระบบ Multi-Resolution (Multires) ประติมากรรมดิจิทัล เป็นเทคนิคในการสร้างแบบจำลองสามมิติ โดยใช้เครื่องมือเพื่อใช้กด ดึง ทำให้เรียบ บีบหรือบิดด้วยแรงกดดึงชนิดต่างๆเพื่อสร้างแบบจำลองสามมิติในลักษณะเดียวกับการปั้นดินน้ำมัน นิยมใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่สามารถกำหนดค่าแรงกดได้เช่น tablet ชนิดต่างๆที่รองรับแรงกดหลายระดับ ซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้บางตัวสามารถทำงานได้หลายระดับความละเอียด (multi-resolution) ทำให้สามารถแยกรายละเอียดในระดับชั้นต่างๆแยกจากกัน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเกลี่ยพื้นผิวในระดับความละเอียดต่ำให้เรียบหรือปรับแต่งรูปร่างโดยไม่มีผลกับลวดลายที่ทำไว้ก่อนหน้าในระดับความละเอียดที่สูงกว่า พวกที่รองรับ multi-resolution ได้แก่ 3D-Coat, Blender, Hexagon, Modo, Mudbox, Silo 2 และ ZBrush เป็นต้น ประติมากรรมดิจิทัลสามารถทำได้กับโพลีกอนแบบร่างแห หรืออาจปั้นแต่งเพื่อเปลี่ยนค่าความหนาแน่นซึ่งเรียงตัวกันเป็นข้อมูลแบบ voxel เช่นในซอฟต์แวร์ 3D-Coat วิธีหลังนี้ช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลกับทอพอโลยีของแบบจำลองสามมิติ ซึ่งอาจมีปัญหากระจายตัวไม่สม่ำเสมอบนพื้นผิวแบบจำลอง ทำให้บางจุดมีโพลีกอนน้อยหรือแน่นเกินไปโดยไม่จำเป็น หมวดหมู่:คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และประติมากรรมดิจิทัล
ประเทศเนเธอร์แลนด์
นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และประเทศเนเธอร์แลนด์
โกลบอลอินลูมิเนชัน
กลบอลอินลูมิเนชัน (Global illumination) เป็นชื่อเรียกรวมทั่วๆไปของขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการเร็นเดอร์ในคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติเพื่อเพิ่มความสมจริงของแสงเงาให้กับแบบ ขั้นตอนวิธีเหล่านี้จะไม่มองแค่ว่าแสงจะต้องเดินทางมาจากต้นกำเนิดแสงโดยตรง แต่จะมองว่าแสงซึ่งมาจากต้นกำเนิดนั้นๆอาจสะท้อนมาจากพื้นผิวของวัตถุอื่นๆที่อยู่ในฉากด้วย ในทางทฤษฎี การสะท้อน การหักเห เงา ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างของ Global illumination เพราะในการจำลอง วัตถุหนึ่งๆจะมีผลต่อการเร็นเดอร์ของวัตถุอื่นๆ ไม่ใช่เฉพาะผลจากการกระทบของแสงที่มาจากต้นกำเนิดแสงโดยตรงเท่านั้น อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจะนับเพียงการจำลองการสะท้อนแสงแบบฟุ้งกระจายและการสะท้อนหรือหักเหของแสงจากพื้นผิวโค้งเท่านั้น เรามักพบว่าภาพที่ถูกให้แสงและเงาด้วยกระบวนการแบบ global illumination มีความสมจริงมากกว่าภาพที่ให้แสงและเงาแบบคำนวณจากต้นกำเนิดแสงโดยตรงเท่านั้น อย่างไรก็ตามกระบวนการคำนวณแสงในลักษณะนี้จะใช้กำลังในการประมวลผลสูงมากและใช้เวลานานกว่าวิธีอื่น วิธีการหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในการคำนวณ global illumination คือการคำนวณแล้วจัดเก็บผลที่ได้ลงในตัววัตถุ(เช่นในรูปของพอยต์คลาวด์) วิธีนี้เรียกว่า radiosity ซึ่งผลลัพธ์นี้สามารถนำไปใช้สร้างภาพจากมุมมองต่างๆ โดยจะถูกใช้เป็นแนวทางที่จะคำนวณแสงในฉากคร่าวๆเป็นการลดความซ้ำซ้อนในการคำนวณแสงจริงๆซึ่งใช้เวลามาก Radiosity, ray tracing, beam tracing, cone tracing, path tracing, metropolis light transport, ambient occlusion, photon mapping, และ image based lighting เป็นตัวอย่างของขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการเร็นเดอร์แบบ global illumination ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มักถูกนำผสมผสานมาใช้ร่วมกันเพื่อให้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องยิ่งขึ้นและใช้เวลาน้อยลง.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และโกลบอลอินลูมิเนชัน
โอเพนบีเอสดี
อเพนบีเอสดี (OpenBSD) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) ที่สืบทอดมาจาก BSD แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลี.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และโอเพนบีเอสดี
โอเพนจีแอล
อเพนจีแอล (OpenGL: Open Graphics Library ไลบรารีกราฟิกส์แบบเปิด) คือส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (API) ด้านการเร็นเดอร์ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์สองมิติและสามมิติ ที่ทำงานได้หลายแพลตฟอร์มและหลายภาษา ส่วนต่อประสานนี้มักใช้ทำงานระหว่างหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GPU) เพื่อให้บรรลุผลการเร็นเดอร์แบบเร่งฮาร์ดแวร์ โอเพนจีแอลพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซิลิคอนกราฟิกส์ (Silicon Graphics Inc.: SGI) ตั้งแต..
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และโอเพนจีแอล
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และไมโครซอฟท์ วินโดวส์
ไทป์เฟซ
ตัวอย่างการทดสอบการพิมพ์ไทป์เฟซด้วยขนาดและภาษาต่างๆ ไทป์เฟซ หรือ ฟอนต์ หรือในชื่อไทยว่า ชุดแบบอักษร (typeface หรือ font) คือชุดของรูปอักขระ (glyph) ที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างเป็นเอกภาพด้วยรูปแบบเฉพาะตัว ไทป์เฟซอาจประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และอาจรวมไปถึงอักษรภาพ (ideogram) เช่นอักษรจีนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือทางเทคน.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และไทป์เฟซ
เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)
ลนเดอร์ เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติ สามารถใช้สร้าง โมเดลสามมิติ, คลี่ UV, ทำพื้นผิว (Texture), จัดการการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก, จำลองการไหลของน้ำ, จำลองผิวหนัง, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน, เร็นเดอร์, พาทิเคิล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่นๆ, การตัดต่อและตบแต่งวีดิทัศน์และภาพผ่านระบบ คอมโพสิต, และยังใช้สร้างแอปพลิเคชันแบบสามมิติได้อีกด้วย เบลนเดอร์ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ, เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, GNU/Linux, IRIX, Solaris, NetBSD, FreeBSD, OpenBSD และมีการพอร์ตอย่างไม่เป็นทางการไปยังระบบ BeOS, SkyOS, AmigaOS, MorphOS และ Pocket PC เบลนเดอร์มีคุณลักษณะทัดเทียมกับโปรแกรมสามมิติระดับสูงอื่นๆเช่น XSI, Cinema 4D, 3 ดีเอสแมกซ์, Lightwave และ Maya โดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่นการจำลองกองวัตถุล้มกระทบ, การกระทบกันระหว่าง ของไหล, ผ้าถูกลมพัดพริ้ว และโครงสร้างยืดหยุ่นต่างๆ, มีระบบ modifier แบบเป็นชั้นสำหรับปรับโมเดล, ระบบจัดการภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูง, ระบบจัดการวัสดุและการคอมโพสิตแบบ node และรองรับ ภาษาไพทอน สำหรับเขียนสคริป Blender ต้องการ OpenGL ในการทำงาน ในปี..
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)
เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน
ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน
เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer game) หรือ เกมคอมพิวเตอร์ หรือ เกมพีซี หมายถึงเกมที่เล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่าเครื่องเกมคอนโซล หรือเครื่องเกมอาร์เขต เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีการพัฒนาจากรูปแบบการเล่นและกราฟิกที่เรียบง่าย ก่อนที่จะมีรูปแบบสลับซับซ้อนดังเช่นในปัจจุบัน เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลถูกผลิตขึ้นมาโดยผู้พัฒนาเกมหนึ่งคนหรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นการร่วมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน (อย่างเช่น ผู้ออกแบบเกม) และออกจำหน่ายด้วยตนเอง หรือผ่านบุคคลที่สาม จากนั้น ผู้ผลิตเกมก็อาจจะมีการเผยแพร่เกมผ่านทางสื่อ อย่างเช่น ดีวีดี ซีดี เปิดโอกาสให้ดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมักจะต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีลักษณะเฉพาะในการเล่น อย่างเช่น ระบบประมวลผลทางกราฟิก หรือการต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น ถึงแม้ว่าระบบดังกล่าวอาจไม่จำเป็นสำหรับการเล่นในบางเกมก็เป็นได้ หมวดหมู่:สื่อดิจิทัล หมวดหมู่:วิดีโอเกม หมวดหมู่:อภิธานศัพท์วิดีโอเกม หมวดหมู่:คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เส้นโค้งเบซิเยร์
้นโค้งเบซิเยร์ (Bézier curve) ในคณิตศาสตร์ถือว่าเป็นเส้นโค้งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของ คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เพราะวิธีการที่เสถียรที่สุด ในการสร้างจุดต่างๆบนเส้นโค้งเบซิเยร์สามารถทำได้โดยใช้ ขั้นตอนวิธีของเดอคาสเซิลโจ (de Casteljau's algorithm) รูปแบบหนึ่งของเส้นโค้งเบซิเยร์เมื่อเพิ่มมิติให้สูงขึ้น เราเรียกว่า พื้นผิวเบซิเยร์ โดยมี พื้นผิวสามเหลี่ยมเบซิเยร์ เป็นรูปแบบพิเศษอีกแบบหนึ่ง เส้นโค้งเบซิเยร์ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อปี..
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และเส้นโค้งเบซิเยร์
เครื่องปั่น
รื่องปั่น เครื่องปั่นอาหาร หรือเบลนเดอร์ ประกอบด้วยส่วนหลักสองส่วนคือส่วนที่ใช้ใส่อาหารซึ่งจะประกอบด้วยใบมีดสำหรับปั่นอาหาร (มักทำด้วยแก้วหรือพลาสติก) และส่วนที่ใช้ไฟฟ้าให้พลังงานแก่ใบมีด สามารถใช้ปั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กละเอียด ใช้ป่นพริก และใช้ทำน้ำผลไม้ปั่น (ปั่นรวมกับน้ำแข็ง) เป็นต้น.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และเครื่องปั่น
เน็ตบีเอสดี
น็ตบีเอสดี (NetBSD) คือระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) โดยสืบทอดมาจาก BSD โดย NetBSD เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการตัวที่สองในตระกูล BSD ที่เปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ (หลังจาก 386BSD) และพัฒนายังคงต่อเนื่องเรื่อยมา จุดเด่นที่สำคัญของ NetBSD คือ สามารถรันได้บนแพลทฟอร์มจำนวนมาก และการออกแบบระบบที่ดี NetBSD จึงถูกนำไปใช้กับระบบฝังตัว (embedded systems) นอกจากนี้มันยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพอร์ตระบบปฏิบัติการอื่นไปสู่สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่อีกด้ว.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และเน็ตบีเอสดี
Big Buck Bunny
Big Buck Bunny (ในชื่อเล่นว่า Peach) เป็นภาพยนตร์สั้นสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ Blender Institute ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Blender Foundation และเช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ Blender Foundation เรื่อง Elephants Dream ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ใช้ซอฟต์แวร์เสรีในการสร้างทั้งหมด ได้แก่ กนู/ลินุกซ์อูบุนตู เบลนเดอร์ กิมป์ โปรแกรมแปลคำสั่งภาษาไพทอน จาก มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน และ SVN โดยได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม..
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และBig Buck Bunny
MB
MB, Mb, mb ฯลฯ อาจหมายถึง.
Normal mapping
ร็นเดอร์โดยใช้นอร์มอลแมพจากภาพ ''(a)'' normal mapping เป็นการใช้ texture ให้ค่า normal บนแต่ละจุดบนโพลีกอนชิ้นหนึ่งๆ โดยจะทำให้การสะท้อนแสงตรงจุดนั้นเปลี่ยนไป ซึ่งจากหลักการนี้ทำให้เราสามารถสร้างภาพลวงตา เพื่อช่วยให้โมเดลสามมิติที่มีความละเอียดต่ำดูเหมือนมีรายละเอียดมากขึ้นทั้งที่มีจำนวนโพลีกอนเท่าเดิม.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และNormal mapping
Subdivision surface
'''(a)''' mesh ตั้งต้น '''(b)''' subdivide ด้วยขั้นตอนวิธี Catmull-Clark ที่ level 1 '''(c)''' ที่ level 2 และ '''(d)''' ที่ level 3 Subdivision surface ในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ หรือที่บางครั้งเรียกย่อๆว่า sub-d (ซับดี) หมายถึงการแบ่งพื้นผิวของโพลีกอนออกเป็นพื้นผิวย่อยๆ โดยอาจใช้ขั้นตอนวิธีต่างๆคำนวณเพื่อเพิ่มจำนวน face (โพลีกอน) โดยในแต่ละขั้นตอนวิธีก็อาจให้ผลที่แตกต่างกันออกไป ในลักษณะงานทั่วไปจะใช้ subdivision surface เพิ่มพื้นผิวเพื่อให้โพลีกอนดูเรียบเนียนขึ้น หรืออาจใช้เพียงเพื่อแบ่งจำนวนหน้าเพิ่มเติมโดยรักษารูปทรงตั้งต้นไว้ก็ได้ ทั้งนี้ อาจทำ subdivision ซ้อนกันหลายชั้น (level) ในลักษณะของ recursion.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และSubdivision surface
UV mapping
ลนเดอร์ UV mapping อยู่ในกระบวนการสร้างแบบจำลองสามมิติโดยใช้แกน 2 มิติ (แกน U และ V) แสดงข้อมูล 3 มิติ (แกน X Y และ Z) ตามระบบพิกัดคาร์ทีเซียน UV อาจถูกสร้างจากการใช้อัลกอริธึมคำนวณโดยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรืออาจทำขึ้นโดยคนก็ได้ แบบจำลอง 3 มิติหนึ่งๆอาจมี UV ได้หลายรูปแบบขึ้นกับความต้องการ โดยทั่วไปมักใช้ในการจัดวางภาพ 2 มิติลงบนพื้นผิว 3 มิติ เช่นการทำ Texture หรือในบางกรณีบาง UV ก็มีหน้าที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลจากแบบจำลองสามมิติไปยังรูป 2 มิติก็ได้ เช่นการใช้วิธีระบายสีโดยตรงลงบนแบบจำลอง 3 มิต.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และUV mapping
3 ดีเอสแมกซ์
ตัวอย่างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ ของโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองไทย สร้างโดย 3 ดีเอสแมกซ์ ออโตเดสก์ 3 ดีเอสแมกซ์ (Autodesk 3ds Max) (ในชื่อเดิม3D สตูดิโอแมกซ์ (3D Studio MAX) เป็นซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติจากบริษัทออโตเดสก์ด้านกราฟิกสำหรับงานทางด้าน โมเดล 3 มิติ และ แอนิเมชัน ในปัจจุบันนี้โปรแกรม 3ds Max ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยตัว Version ล่าสุดของโปรแกรมนี้ก็คือ 3D Studio MAX 2017 ซึ่ง Support กับระบบปฏิบัติการ Windows 7,8 และ 10 เฉพาะ 64 bitเท่านั้น และในตัว 3ds Max 2017 นี้ก็ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Plug-in หรือการสร้าง Animation ต่าง ๆ เนื่องจากว่าโปรแกรม 3ds Max นี้จะเป็นการทำงานในลักษณะของ 3D เป็นหลักดังนั้นจะมีแกน x, y และ Z ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจกันนิดหน่อ.
ดู เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)และ3 ดีเอสแมกซ์
ดูเพิ่มเติม
ซอฟต์แวร์เสรีข้ามแพลตฟอร์ม
- Enigmail
- กิมป์
- กีวิกซ์
- ครีตา
- ชุดแปลโปรแกรมของกนู
- ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)
- นิวพลอต
- บั๊กซิลลา
- พิดจิน
- พีเอชพีมายแอดมิน
- ภาษากรูวี
- ภาษาสมอลล์ทอล์ก
- ภาษาอาร์
- ภาษาเอฟชาร์ป
- ภาษาเออร์แลง
- ภาษาไพทอน
- มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด
- มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์
- มีเดียวิกิ
- วิม
- วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์
- สควิด (ซอฟต์แวร์)
- อะแพชี ทอมแคต
- อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์
- อิงก์สเคป
- เซเลสเทีย
- เน็ตบีนส์
- เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)
- แบช
- แม็กซิมา (ซอฟท์แวร์)
- โครงการเมทาสปลอยต์
- โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก
- ไวร์ชาร์ก
- ไอทูพี
ซอฟต์แวร์ในปี พ.ศ. 2538
- กิมป์
- คิวต์
- ซอลิดเวิกส์
- ซิกวิน
- ภาษาพีเอชพี
- มายเอสคิวเอล
- วินโดวส์ 95
- ออมนิเว็บ
- อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์
- อะโดบี ชอกเวฟ
- อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์
- เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)
- โอเปร่า (เว็บเบราว์เซอร์)
- ไดเรกต์เอกซ์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Blender (Software)Blender FoundationBlender Game EngineBlender3d