โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซอฟต์แวร์เสรี

ดัชนี ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

23 ความสัมพันธ์: ฟรีแวร์พิดจินกิมป์ภาษาพีเอชพีมอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ดมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์มายเอสคิวเอลมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมีเดียวิกิริชาร์ด สตอลล์แมนลินุกซ์วิมวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ออแดซิตีทอร์ความลับทางการค้าตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกไฟล์ซิลลาเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)เสรี

ฟรีแวร์

ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า ฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาต.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและฟรีแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิดจิน

น (Pidgin เดิมชื่อ Gaim) เป็นโปรแกรมรับส่งข้อความด่วน (เมสเซนเจอร์) ที่ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ และสนับสนุนโพรโทคอลในการพูดคุยหลายชนิด พิดจินเป็นซอฟต์แวร์เสรี และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและพิดจิน · ดูเพิ่มเติม »

กิมป์

กนูอิมิจมานิพิวเลชันโปรแกรม (- โปรแกรมจัดการภาพกนู) หรือกิมป์ (GIMP) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพแบบแรสเตอร์ คล้ายกับซอฟต์แวร์อย่าง อะโดบี โฟโตชอป กิมป์สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และ ลินุกซ์ กิมป์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่อนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังอนุญาตให้นำไปแก้ไขและแจกจ่ายได้ด้ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและกิมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพีเอชพี

ีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและภาษาพีเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด

มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด สามารถทำงานได้หลายระบบ ซึ่งรองรับในระบบประฏิบัติการดังนี้.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

มายเอสคิวเอล

MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System) โดยใช้ภาษา SQL แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เมื่อปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมายเอสคิวเอล · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี

300px มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation, ชื่อย่อ: FSF) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) เพื่อสนับสนุนแนวทางซอฟต์แวร์เสรี มีจุดประสงค์ต้องการให้สามารถเผยแพร่และแก้ไขซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ได้โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ มูลนิธินี้จดทะเบียนในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ทุนส่วนใหญ่ของมูลนิธินำไปใช้จากนักพัฒนามาเขียนซอฟต์แวร์เสรีสำหรับโครงการกนู แต่นับจากกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา พนักงานและอาสาสมัครของมูลนิธิส่วนใหญ่ทำงานด้านกฎหมาย และปัญหาทางโครงสร้างของแนวทางซอฟต์แวร์เสรีและชุมชนของซอฟต์แวร์เสรี เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย คอมพิวเตอร์ของมูลนิธิทุกเครื่องใช้แต่ซอฟต์แวร์เสรีเท่านั้น.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

มีเดียวิกิ

มีเดียวิกิ (MediaWiki) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในการทำเว็บไซต์ เป็นที่รู้จักดีในฐานะซอฟต์แวร์หลักสำหรับโครงการวิกิพีเดีย และโครงการในวิกิมีเดีย การทำงานของมีเดียวิกิโดยทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก โดยทำงานกับภาษาพีเอชพี และ MySQL โครงการวิกิพีเดียและโครงการอื่นในมูลนิธิวิกิมีเดีย ที่ปัจจุบันใช้งานมีเดียวิกิ ระยะ 3 ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GFDL โดยซอฟต์แวร์ ถูกใช้ภายใต้ GPL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมีเดียวิกิ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด สตอลล์แมน

ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและริชาร์ด สตอลล์แมน · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิม

Vim หรือ วิม ย่อมาจาก Vi IMproved เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขไฟล์ มีรากฐานการพัฒนามาจากโปรแกรม vi ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว Vim ถูกพัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 นับตั้งแต่นั้นมามีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขซอร์สโค้ดโปรแกรม Vim ถูกออกแบบสำหรับทั้ง command line interface และ graphical user interface โดยดังเดิม Vim ทำงานบนระบบปฏิบัติการ อะมีกา เท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนา สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว ในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและวิม · ดูเพิ่มเติม »

วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์

วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ (VLC media player) คือโปรแกรมเล่นไฟล์สื่อเช่นเพลงและภาพเคลื่อนไหวได้หลายสกุล รวมทั้งไฟล์ที่เล่นบนมือถือ พัฒนาโดยโครงการ วิดีโอแลน (VideoLAN) โดยเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL สำหรับเล่นไฟล์มีเดียต่างๆ โดยโครงการวิดีโอแลน วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์เป็นซอฟต์แวร์เล่นไฟล์สื่อคุณภาพสูง รับชมภาพและเสียง บันทึกภาพและเสียง และการถ่ายทอดแบบสตรีม ซึ่งสนับสนุนไฟล์ในหลายๆประเภท ที่รู้จักกันดีเช่น วีซีดี ดีวีดี และการสตรีม โพรโทคอล และยังสามารถสตรีมระหว่างเน็ตเวิร์ก และยังสามารถแปลงไฟล์ได้อีกด้วย วีแอลซี ย่อมาจาก วิดีโอแลน ไคลเอนต์ (VideoLan Client) และยังรองรับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ Mac OS X BeOS BSD Solaris มีผู้ดาวน์โหลดวีแอลซี ตั้งแต่เวอร์ชันแรกถึงเวอร์ชัน 2.2.6 มากกว่า 2,400 ล้านคน นับเป็นคู่แข่งจากค่ายโอเพนซอร์ซที่สำคัญกับวินโดว์มีเดียเพลเยอร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ออแดซิตี

250px Audacity (ออแดซิตี) เป็นซอฟต์แวร์เสรี ใช้สำหรับตัดต่อเสียง สนับสนุนแพลตฟอร์ม แม็ค วินโดวส์ และลินุกซ์ สามารถอัดเสียง อิมพอร์ต/เอกซ์พอร์ต แปลงไฟล์ไป-มา ได้หลายฟอร์แม็ต แก้ไข ตัตแต่ง วิเคราะห์ สนับสนุนไฟล์ในหลายรูปแบบรวมถึง WAV MP3 Ogg Vorbis และไฟล์รูปแบบอื่นๆ เริ่มพัฒนาเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและออแดซิตี · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์

ทอร์ ในเทพปกรณัมนอร์ส ธอร์ (Thor, จากภาษานอร์สโบราณ Þórr) เป็นเทพถือค้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับสายฟ้า ฟ้าร้อง พายุ ต้นโอ๊ก พละกำลัง การคุ้มครองมนุษยชาติ และตลอดจนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ การรักษาและความอุดมสมบูรณ์ เทพที่มาจากกำเนิดเดียวกันในเทพปกรณัมเยอรมันและเพเกินที่กว้างกว่า เป็นที่รูจักกันในภาษาอังกฤษเก่าว่า Þunor และภาษาเยอรมันโบราณเขตเหนือว่า Donar (อักษรรูน þonar ᚦᛟᚾᚨᚱ) ซึ่งกำเนิดจากภาษาโปรโตเยอรมัน *Þunraz (หมายถึง "สายฟ้า") ธอร์เป็นเทพที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญตลอดประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกของชาวเยอรมัน จากการยึดครองดินแดนเยอรมาเนียของโรมัน ไปจนถึงการขยายชนเผ่าในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปจนถึงการได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคไวกิ้ง เมื่อ ในการเผชิญกับกระบวนการเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปในสแกนดิเนเวีย สัญลักษณ์ค้อนมจอลนีร์ (Mjölnir) ของพระองค์ ถูกสวมใส่เป็นการท้าทายและชื่อตัวของนอร์สเพเกินซึ่งมีชื่อของเทพเจ้าเป็นพยานต่อความนิยมของเขา เมื่อย่างเข้าสู่สมัยใหม่ ธอร์ยังได้การยอมรับต่อไปในตำนานพื้นบ้านชนบททั่วภูมิภาคเยอรมนี ธอร์มักอ้างถึงบ่อยครั้งในชื่อสถานที่ ในวันประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดี (Thursday ("วันของธอร์") ปรากฏนามของพระองค์ และชื่อซึ่งมาจากยุคเพเกินที่มีนามพระองค์นั้นยังมีใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน ตลอดจนยังเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าร้อง" หรือ "ฟ้าผ่า" ในภาษาอังกฤษ (Thunder) อีกด้วย นอกจากนี้แล้วนักวิชาการชาวอังกฤษผู้หนึ่งยังเชื่อว่า ค้อนมจอลนีร์ที่มีลักษณะขว้างไปแล้วสามารถวนกลับมาสู่มือของทอร์ได้เหมือนบูมเมอแรง เป็นที่มาของสัญลักษณ์สวัสดิกะ ที่แพร่หลายต่อมาในอารยธรรมของชาวอารยันอีกด้วย ธอร์เป็นหนึ่งในสิบสองสำคัญของเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เป็นเทพแห่งสายฟ้า ทอร์เป็นบุตรของเทพเจ้าโอดิน และจอร์ดน่ง (Fjörgyn) ยักษ์แห่งแผ่นดินหน้า 3, เทพสายฟ้า ผู้พิชิต. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21303: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความลับทางการค้า

วามลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วบุคคลที่เข้าถึงได้จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ ความลับทางการค้าอาจอยู่ในรูปแบบของ สูตร วิธีการ กรรมวิธี การออกแบบ เครื่องมือ แบบแผน หรือการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อเพิ่มความได้เปรียบเหนือคู่แข่งหรือกลุ่มลูกค้.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและความลับทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก

อเพนออฟฟิศดอตอ็อก (OpenOffice.org ย่อว่า OO.o หรือ OOo) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ทำงานบนหลายระบบปฏิบัติการ เผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี เขียนขึ้นโดยใช้ชุดเครื่องมือส่วนต่อประสานกราฟิกของตัวเอง รองรับรูปแบบโอเพนด็อกคิวเมนต์ (ODF) ซึ่งเป็นมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซีเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้เป็นรูปแบบแฟ้มพื้นฐาน อีกทั้งยังรองรับรูปแบบเอกสารจากไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และอื่น ๆ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อก · ดูเพิ่มเติม »

ไฟล์ซิลลา

ฟล์ซิลลา ไฟล์ซิลลา (FileZilla) เป็นฟรีซอต์แวร์ในลักษณะโอเพนซอร์สทำงานกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รับรองการทำงานของ FTP SFTP และFTPS ใช้สำหรับการอัปโหลด และ ดาวน์โหลดไฟล์ ไฟล์ซิลลารุ่นปัจจุบันคือรุ่น 3.4.0 ไฟล์ซิลลาพัฒนาโดย ทิม คอสส์ (Tim Kosse) โดยเริ่มจากการบ้านภายในวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 พร้อมกับเพื่อนร่วมห้องอีกสองคน โดยพัฒนารุ่นอัลฟาปลายเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและไฟล์ซิลลา · ดูเพิ่มเติม »

เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)

ลนเดอร์ เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติ สามารถใช้สร้าง โมเดลสามมิติ, คลี่ UV, ทำพื้นผิว (Texture), จัดการการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก, จำลองการไหลของน้ำ, จำลองผิวหนัง, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน, เร็นเดอร์, พาทิเคิล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่นๆ, การตัดต่อและตบแต่งวีดิทัศน์และภาพผ่านระบบ คอมโพสิต, และยังใช้สร้างแอปพลิเคชันแบบสามมิติได้อีกด้วย เบลนเดอร์ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ, เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, GNU/Linux, IRIX, Solaris, NetBSD, FreeBSD, OpenBSD และมีการพอร์ตอย่างไม่เป็นทางการไปยังระบบ BeOS, SkyOS, AmigaOS, MorphOS และ Pocket PC เบลนเดอร์มีคุณลักษณะทัดเทียมกับโปรแกรมสามมิติระดับสูงอื่นๆเช่น XSI, Cinema 4D, 3 ดีเอสแมกซ์, Lightwave และ Maya โดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่นการจำลองกองวัตถุล้มกระทบ, การกระทบกันระหว่าง ของไหล, ผ้าถูกลมพัดพริ้ว และโครงสร้างยืดหยุ่นต่างๆ, มีระบบ modifier แบบเป็นชั้นสำหรับปรับโมเดล, ระบบจัดการภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูง, ระบบจัดการวัสดุและการคอมโพสิตแบบ node และรองรับ ภาษาไพทอน สำหรับเขียนสคริป Blender ต้องการ OpenGL ในการทำงาน ในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์) · ดูเพิ่มเติม »

เสรี

รี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเสรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Free software

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »