โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาเอฟชาร์ป

ดัชนี ภาษาเอฟชาร์ป

ษาเอฟชาร์ป (F#) เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบ strongly typed บนดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและ Mono ที่สนับสนุนโมเดลการเขียนโปรแกรมหลายแบบรวมทั้ง การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง F# เป็นภาษาดอตเน็ต สามารถเรียกใช้เอพีไอของดอตเน็ต และถูกเรียกจากภาษาดอตเน็ตอื่นๆ นอกจากนั้น F# ยังสามารถถูกใช้กับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ เขียนโปรแกรมสำหรับหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ หรือ GPU และใช้เขียนโปรแกรมสำหรับแมคโอเอสเท็น ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ โดยใช้ Programming tool สร้างโดยบริษัท Xamarin.

15 ความสัมพันธ์: กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งภาษาดอตเน็ตภาษาซีชาร์ปหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กตัวแบบโอเพนซอร์ซแมคโอเอสแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)โครงสร้างข้อมูลโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไมโครซอฟท์ไอโอเอสเอพีไอ

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม (Programming paradigm) เป็นวิธีการพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมมี 4 กระบวนทัศน์หลัก ได้แก่ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง (imperative programming) การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming) และการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (logic programming) นอกจากกระบวนทัศน์หลักทั้ง 4 แล้ว ยังมีอีกกระบวนทัศน์หนึ่งซึ่งขยายความสามารถของโมดูลโปรแกรม โดยใช้วิธีการตัดแทรกโค้ด กระบวนทัศน์นี้คือ การโปรแกรมเชิงหน่วยย่อย (aspect-oriented programming).

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบดังเดิมมักนิยมใช้ ในการสร้างเว็บไซต์ต่าง.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง

ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง คือกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมที่เขียนบรรยายการคำนวณในรูปแบบของคำสั่งที่เปลี่ยนแปลงสถานะของโปรแกรม หากเปรียบกับภาษาธรรมชาติที่ใช้กันในชีวิตประจำวันที่คำสั่งคือการสั่งให้ปฏิบัติ การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่งก็คือการเขียนกำหนดลำดับของคำสั่งในการทำงานสำหรับคอมพิวเตอร์ คำนี้ ถูกใช้เป็นคำตรงข้ามกับการเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ว่าโปรแกรมควรจะบรรลุเป้าหมายอะไรโดยไม่ระบุรายละเอียดลำดับขั้นตอนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง หมวดหมู่:กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดอตเน็ต

ษาดอตเน็ต เป็นประเภทภาษาโปรแกรม โดยโปรแกรมที่พัฒนาจะทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก ซึ่งไม่ว่าภาษาดอตเน็ตไหนที่ใช้ ตัวแปลโปรแกรมจะทำการแปลมาเป็นภาษากลาง (MSIL) และเมื่อโปรแกรมถูกเรียกใช้ CLR ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอตเน็ตเฟรมเวิร์กจะทำการแปลเป็นโค้ดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ในการแปลครั้งแรกเช่นกันหากต้องการ ปัจจุบันนี้มีภาษาดอตเน็ตมีมากกว่า 40 ภาษา โดยไมโครซอฟท์ได้พัฒนาและรองรับภาษาดอตเน็ตหลักๆคือ C# VB.NET และ C++/CLI ซึ่งที่เหลือนั้นพัฒนาโดยผู้อื่น.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและภาษาดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีชาร์ป

ษาซีชาร์ป (C♯ Programming Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม (strong typing) และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (แบบคลาส) และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยมีแอนเดอร์ เฮลส์เบิร์ก (Anders Hejlsberg) เป็นหัวหน้าโครงการ และมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอื่นๆ (โดยเฉพาะภาษาเดลไฟและจาวา) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสมัยใหม่ที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานได้ทั่วไป (general-purpose) และเป็นเชิงวัตถุเป็นหลัก ปัจจุบันภาษาซีซาร์ปมีการรับรองให้เป็นมาตรฐานโดยเอ็กมาอินเตอร์เนชันแนล (Ecma International) และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยารมาตรฐาน (ISO) และมีรุ่นล่าสุดคือ C♯ 5.0 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม..

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและภาษาซีชาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกราฟิกส์

GeForce 6600GT (NV43) GPU หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GPU: graphics processing unit) หรือ หน่วยประมวลผลทางภาพ (VPU: visual processing unit) คือหน่วยประมวลผลพิเศษที่รับภาระการให้แสงและเงาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแทนหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยประมวลผลกราฟิกส์มีได้ทั้งที่เป็นการ์ดหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรหลักก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ในรูปของการ์ดแสดงผล.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก

ปัตยกรรมของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (.NET Framework) คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยรองรับภาษาดอตเน็ตมากกว่า 40 ภาษา ซึ่งมีไลบรารีเป็นจำนวนมากสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึงบริหารการดำเนินการของโปรแกรมบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยไลบรารีนั้นได้รวมถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเชื่อมต่อฐานข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับ ขั้นตอนวิธี การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน โปรแกรมที่เขียนบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก จะทำงานบนสภาพแวดล้อมที่บริหารโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดย CLR นั้นเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือน ทำให้ผู้พัฒนาไม่ต้องคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่างระหว่างหน่วยประมวลผลต่างๆ และ CLR ยังให้บริการด้านกลไกระบบความปลอดภัย การบริหารหน่วยความจำ และException handling ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นออกแบบมาเพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นยังได้เป็นส่วนประกอบในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์วิสตา ซึ่งรุ่นแรกได้ออกในปีพ.ศ. 2545 รุ่นที่สองได้ออกในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสองนั้นได้รองรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกือบทุกรุ่น และรุ่นที่สาม ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันได้ออกวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยได้รองรับวินโดวส์เอกซ์พี SP2 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP1 และวินโดวส์วิสต.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี..

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างข้อมูล

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกแบบชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบีจะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล ในกระบวนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้ขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผล กับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรม หลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและโครงสร้างข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเอส

อโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 10 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 13 มิถุนายน..

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและไอโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เอพีไอ

อพีไอ หรือ ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (application programming interface: API) หมายถึงวิธีการที่ระบบปฏิบัติการ ไลบรารี หรือบริการอื่นๆ เปิดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อเรียกใช้งานได้ เอพีไอ แบ่งเป็น.

ใหม่!!: ภาษาเอฟชาร์ปและเอพีไอ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »