โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลินุกซ์

ดัชนี ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

58 ความสัมพันธ์: ชุดแปลโปรแกรมของกนูฟลอปปีดิสก์พ.ศ. 2526พ.ศ. 2533พ.ศ. 2534กอปปีเลฟต์กนูภาษาจาวาภาษาซีภาษาซีพลัสพลัสมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิมูลนิธิลินุกซ์มีเดียวิกิยูนิกซ์ระบบฝังตัวระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ริชาร์ด สตอลล์แมนลินุกซ์ เคอร์เนลลินุส โตร์วัลดส์วิมวินโดวส์โมบายสัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูอูบุนตูฮิวเลตต์-แพคการ์ดคลัง (โปรแกรม)คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคอมไพเลอร์ตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์เสรีซิมเบียนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประเทศฟินแลนด์ปาล์มโอเอสแบชแบร์นแรมแผ่นซีดีโทรศัพท์เคลื่อนที่โซนี่โปรแกรมแก้ไขข้อความไฟร์วอลล์ไอบีเอ็มไอดีอีเชลล์ยูนิกซ์เพลย์สเตชัน 2เพลย์สเตชัน 3เพาเวอร์พีซีเพนกวิน...เราเตอร์เว็บเซิร์ฟเวอร์เอกซ์86เอ็กซ์วินโดวซิสเต็มเดเบียนเคอร์เนลเซิร์ฟเวอร์Emacs ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

ชุดแปลโปรแกรมของกนู

GCC เริ่มพัฒนาใน..

ใหม่!!: ลินุกซ์และชุดแปลโปรแกรมของกนู · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอปปีดิสก์

ฟลอปปีดิสก์ขนาด 8 นิ้ว, 5¼ นิ้ว, และ 3½ นิ้ว เครื่องขับดิสก์ทั้งสามขนาดตามลำดับ แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก (ศัพท์บัญญัติ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดรฟ์ (floppy disk drive).

ใหม่!!: ลินุกซ์และฟลอปปีดิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลินุกซ์และพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลินุกซ์และพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ลินุกซ์และพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

กอปปีเลฟต์

ตัวอักษร c หันหลังกลับ สัญลักษณ์ของ copyleft เครื่องหมายลิขสิทธิ์ กอปปีเลฟต์ (Copyleft) หมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาตของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง งานศิลปะ โดยอ้างอิงกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นแนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงานและเผยแพร่งาน โดยสัญญาอนุญาตกลุ่ม copyleft มอบเสรีภาพให้ทุกคนสามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมาจากงานดังกล่าว อาจจะมองได้ว่าลักษณะพิเศษของ copyleft คือการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่าง (ที่ได้รับการคุ้มครอง) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์แต่ไม่ทั้งหมด แทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายในพื้นที่สาธารณะโดยสมบูรณ์ (นั่นคือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ) copyleft จะให้เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการ สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ โดยถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้แล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้ copyleft นี้ ได้แก่ การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ copyleft นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวร ด้วยเหตุนี้ สัญญาอนุญาต copyleft จึงถูกเรียกว่าเป็น สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses) สัญลักษณ์ของ copyleft เป็นตัวอักษร c หันหลังกลับ (ɔ) โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษนอกจากการตรงกันข้ามกับ copyright โดยล้อกับอีกความหมายหนึ่งของคำว่า right ที่แปลว่า ขวา ในภาษาไทย ยังไม่มีคำที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับ copyleft สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใช้ว่า "ลิขซ้าย" คงการล้อ ขวา-ซ้าย ไว้หน้าแรก มีข้อความ "ลิขซ้าย 2548, 2549, 2550: สมเกียรติ ตั้งนโม" ส่วน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้คำว่า "นิรสิทธิ์" หมายถึง ระบบที่ไม่มีหรือไม่ให้สิทธิคุ้มครอง, ประชาไท, 5 เม..

ใหม่!!: ลินุกซ์และกอปปีเลฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

ใหม่!!: ลินุกซ์และกนู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: ลินุกซ์และภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: ลินุกซ์และภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีพลัสพลัส

ษาซีพลัสพลัส (C++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2014 (รู้จักกันในชื่อ C++14).

ใหม่!!: ลินุกซ์และภาษาซีพลัสพลัส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (Helsingin yliopisto, Helsingfors universitet, Universitas Helsingiensis) ตั้งอยู่ในเมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ลินุกซ์และมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิลินุกซ์

มูลนิธิลินุกซ์ (Linux Foundation - LF) เป็นกลุ่มหุ้นส่วนไม่แสวงผลกำไรที่อุทิศเพื่อการส่งเสริมการเติบโตของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ มูลนิธิก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ลินุกซ์และมูลนิธิลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

มีเดียวิกิ

มีเดียวิกิ (MediaWiki) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในการทำเว็บไซต์ เป็นที่รู้จักดีในฐานะซอฟต์แวร์หลักสำหรับโครงการวิกิพีเดีย และโครงการในวิกิมีเดีย การทำงานของมีเดียวิกิโดยทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก โดยทำงานกับภาษาพีเอชพี และ MySQL โครงการวิกิพีเดียและโครงการอื่นในมูลนิธิวิกิมีเดีย ที่ปัจจุบันใช้งานมีเดียวิกิ ระยะ 3 ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GFDL โดยซอฟต์แวร์ ถูกใช้ภายใต้ GPL.

ใหม่!!: ลินุกซ์และมีเดียวิกิ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ลินุกซ์และยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบฝังตัว

ระบบฝังตัว หรือ สมองกลฝังตัว (embedded system) คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะโดย beenvai เป็นผู้คิดค้น เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระบบฝังตัวถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีเครือข่ายเน็ตเวิร์ก เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีเครื่องกลและของเล่นต่าง ๆ คำว่าระบบฝังตัวเกิดจาก การที่ระบบนี้เป็นระบบประมวลผลเช่นเดียวกับระบบคอมพิวเตอร์ แต่ว่าระบบนี้จะฝังตัวลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันระบบสมองกลฝังตัวได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยในระบบสมองกลฝังตัวอาจจะประกอบไปด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสมองกลฝังตัวที่เห็นได้ชัดเช่นโทรศัพท์มือถือ และในระบบสมองกลฝังตัวยังมีการใส่ระบบปฏิบัติการต่างๆแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น ระบบสมองกลฝังตัวอาจจะทำงานได้ตั้งแต่ควบคุมหลอดไฟจนไปถึงใช้ในยานอวก.

ใหม่!!: ลินุกซ์และระบบฝังตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

ใหม่!!: ลินุกซ์และระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด สตอลล์แมน

ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และริชาร์ด สตอลล์แมน · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์ เคอร์เนล

ทักซ์ สัญลักษณ์ของลินุกซ์ ลินุกซ์ เป็นชื่อของเคอร์เนลตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรี ลินุกซ์พัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ด้วยความช่วยเหลือจากโปรแกรมเมอร์อิสระจากทั่วโลก เดิมออกแบบสำหรับระบบที่ใช้หน่วยประมวลผล อินเทล 80386 แต่ต่อมาได้ถ่ายโอนไปยังสถาปัตยกรรมต่างๆ อีกมากมาย โดยทั่วไป นิยมใช้เคอร์เนลตัวนี้คู่กับระบบกนู ได้เป็นระบบปฏิบัติการที่สมบูรณ์คือ กนู/ลินุกซ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และลินุกซ์ เคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

ลินุส โตร์วัลดส์

ลินุส เบเนดิกต์ โตร์วัลดส์ (สวีเดน: Linus Benedict Torvalds) เกิดเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เป็นผู้สร้าง ลินุกซ์ (Linux kernel) แก่นกลางของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์เสรี.

ใหม่!!: ลินุกซ์และลินุส โตร์วัลดส์ · ดูเพิ่มเติม »

วิม

Vim หรือ วิม ย่อมาจาก Vi IMproved เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขไฟล์ มีรากฐานการพัฒนามาจากโปรแกรม vi ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว Vim ถูกพัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 นับตั้งแต่นั้นมามีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขซอร์สโค้ดโปรแกรม Vim ถูกออกแบบสำหรับทั้ง command line interface และ graphical user interface โดยดังเดิม Vim ทำงานบนระบบปฏิบัติการ อะมีกา เท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนา สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว ในปี..

ใหม่!!: ลินุกซ์และวิม · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์โมบาย

วินโดวส์โมบาย (Windows mobile (ออกเสียงว่า วินโดวส์โมเบิล)) คือระบบปฏิบัติการที่เล็กกะทัดรัดประกอบด้วยชุดแอปฟลิเคชั่นพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ บน Microsoft Win32 API อุปกรณ์ที่ใช้ระบบวินโดวส์โมบายมี พ็อกเก็ตพีซี,สมาทโฟน,พอร์เทเบิลมีเดียเซ็นเตอร์ ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ เพื่อจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ทำงานอัตโนมัติอย่างแท้จริง มันถูกออกแบบให้มีระบบปฏิบัติการคล้ายวินโดวส์บนเครื่องพีซีทั่วไป เช่น จุดเด่น แบบอย่าง และความเกี่ยวข้องกัน ส่วนที่พัฒนาซอฟต์แวร์คือ ความพิเศษสำหรับวินโดวส์โมบาย ต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบายคือ ระบบปฏิบัติการ Pocket PC 2000 วินดดวส์โมเบิลได้มีการอับเดทในเวลาต่อมา ซึ่งแนวโน้วตอนนี้คาดว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบาย6 เป็นเวอร์ชันใหม่สำหรับปี2008.

ใหม่!!: ลินุกซ์และวินโดวส์โมบาย · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาต

สัญญาอนุญาต (AmE: license; BrE: licence; ศัพท์บัญญัติว่า ใบอนุญาต) ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ได้แก่ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า, สิทธิบัตร) หมายถึง การที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทำการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของตนสำหรับสินค้าที่กฎหมายได้คุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ สำหรับกรณีของเครื่องหมายการค้า สัญญาอนุญาตต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ในสัญญาอนุญาตต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้ ในกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องรับสินค้าจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจำหน่ายเท่านั้น กรณีนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นสัญญาตัวแทนจำหน่าย ไม่ถือว่าเป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จะต้องมาจดทะเบียนสัญญาอนุญาต และไม่ใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า หมวดหมู่:เอกสารทางกฎหมาย.

ใหม่!!: ลินุกซ์และสัญญาอนุญาต · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: ลินุกซ์และสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

อูบุนตู

อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 18.04 LTS ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้.

ใหม่!!: ลินุกซ์และอูบุนตู · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวเลตต์-แพคการ์ด

ริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (Hewlett-Packard Company) หรือตัวย่อ เอชพี (HP) เป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ การจัดการภาพดิจิทัล.

ใหม่!!: ลินุกซ์และฮิวเลตต์-แพคการ์ด · ดูเพิ่มเติม »

คลัง (โปรแกรม)

ตัวอย่างแผนภาพแสดงการเรียกใช้งานไลบรารีของโปรแกรมเล่นสื่อผสมประเภท Ogg Vorbis คลังโปรแกรม หรือ ไลบรารี (library) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง.

ใหม่!!: ลินุกซ์และคลัง (โปรแกรม) · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

ใหม่!!: ลินุกซ์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

คอมไพเลอร์

คอมไพเลอร์ (compiler) หรือ โปรแกรมแปลโปรแกรม, ตัวแปลโปรแกรม เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าแปลงชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์หนึ่ง ไปเป็นชุดคำสั่งที่มีความหมายเดียวกัน ในภาษาคอมพิวเตอร์อื่น คอมไพเลอร์ส่วนใหญ่ จะทำการแปล รหัสต้นฉบับ (source code) ที่เขียนในภาษาระดับสูง เป็น ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาเครื่อง ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำงานได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม การแปลจากภาษาระดับต่ำเป็นภาษาระดับสูง ก็เป็นไปได้ โดยใช้ตัวแปลโปรแกรมย้อนกลับ (decompiler) รูปแสดงขั้นตอนการทำงานของตัวแปลโปรแกรม ผลลัพธ์ของการแปลโปรแกรม (คอมไพล์) โดยทั่วไป ที่เรียกว่า ออบเจกต์โค้ด จะประกอบด้วยภาษาเครื่อง (Machine code) ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ของแต่ละจุด และการเรียกใช้วัตถุภายนอก (Link object) (สำหรับฟังก์ชันที่ไม่ได้อยู่ใน อ็อบเจกต์) สำหรับเครื่องมือที่เราใช้รวม อ็อบเจกต์เข้าด้วยกัน จะเรียกว่าโปรแกรมเชื่อมโยงเพื่อที่ผลลัพธ์ที่ออกมาในขั้นสุดท้าย เป็นไฟล์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้สะดวก คอมไพเลอร์ที่สมบูรณ์ตัวแรก คือ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ของ ไอบีเอ็ม ในปี ค.ศ. 1957 และ ภาษาโคบอล (COBOL) ก็เป็นคอมไพเลอร์ตัวแรก ๆ ที่สามารถทำงานได้บนหลาย ๆ สถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาตัวแปลภาษารุดหน้าอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อมา ในช่วงทศวรรษ 1960.

ใหม่!!: ลินุกซ์และคอมไพเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ลินุกซ์และตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

ซิมเบียน

ซิมเบียน (Symbian) คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Symbian Ltd. โดยออกแบบสำหรับทำงานเฉพาะหน่วยประมวลผล ARM ปัจจุบันมีบริษัทที่ถือหุ้นส่วนอยู่ได้แก่ อีริกสัน (15.6%) โนเกีย (47.9%) พานาโซนิก (10.5%) ซัมซุง (4.5%) ซิเมนส์ (8.4%) และ โซนี อีริกสัน (13.1%) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซิมเบียนเริ่มใช้งานเมื่อในเดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. 2541 ปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลินุกซ์และซิมเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - '''ซูเปอร์คอมพิวเตอร์''' ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็ม และสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที (1 Trillion calculations per second) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยจิกะฟลอบ (Gigaflop) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคนคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานการวิจัยนิวเคลียร์ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลด้านความซับซ้อนสูงในการจำลองการประมวลผลต่างๆ รวมทั่วใช้วิจัยพันธุกรรมในมนุษย์หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีมากกว่า 80,000 ถึง 100,000 ยีนในร่างกายของมนุษย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ และเนื่องจากราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สูงมาก จึงมักมีการใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยงานที่มีกำลังความสามารถในการนำไปใช้เพื่องานวิจัย ก็คือหน่วยงานขององค์การรัฐบาล ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากและมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ลินุกซ์และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: ลินุกซ์และประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์มโอเอส

ปรแกรมบนปาล์มโอเอส แสดงเป็นรายการ สมุดบันทึกที่อยู่ ปฏิทิน โปรแกรมโอนถ่ายข้อมูล (HotSync) โปรแกรมจดบันทึก รายการสิ่งที่ต้องทำ โน้ตแพด ปาล์มโฟโต้ การตั้งค่าการทำงาน ปาล์มโอเอส หรือ พาล์มโอเอส (PalmOS) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท ปาล์มซอร์สอิงค์ สำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือที่เรียกว่าพีดีเอ ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตที่เป็นที่รู้จักหลายบริษัทเช่นปาล์มอิงค์, ซัมซุง, ลีโนโว, การ์มิน และ โซนี่ ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย มาพร้อมกับแอปพลิเคชันพื้นฐาน เช่น สมุดบันทึกที่อยู่, นาฬิกา, ระบบการโอนย้ายข้อมูล(Sync) และระบบความปลอดภัย โดยเปิดตัวครั้งแรกใน..

ใหม่!!: ลินุกซ์และปาล์มโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แบช

แบช (bash: Bourne-again shell) เป็นเชลล์ยูนิกซ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับโครงการกนู ชื่อเต็มของโปรแกรมล้อเลียนเชลล์อีกตัวคือ บอร์นเชลล์ (Bourne shell) แบชเขียนมาใช้แทนบอร์นเชลล์ซึ่งเขียนขึ้นสำหรับยูนิกซ์เวอร์ชัน 7 โดย สตีเฟน บอร์น (Stephen Bourne) เมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ลินุกซ์และแบช · ดูเพิ่มเติม »

แบร์น

แบร์น (Bern; Berne) หรือ แบร์นา (อิตาลีและBerna) เป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประชากรประมาณ 130,000 คน มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ภาษาราชการที่ใช้ในกรุงแบร์นคือ ภาษาเยอรมัน แต่คนในเมืองส่วนใหญ่นิยมพูดภาษาเยอรมันแบร์นเป็นภาษาถิ่น ในปี..

ใหม่!!: ลินุกซ์และแบร์น · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: ลินุกซ์และแรม · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นซีดี

แผ่นซีดี แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลินุกซ์และแผ่นซีดี · ดูเพิ่มเติม »

โทรศัพท์เคลื่อนที่

ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน..

ใหม่!!: ลินุกซ์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ · ดูเพิ่มเติม »

โซนี่

ซนี่คอร์ปอเรชัน (Sony Corporation) หรือ บริษัท โซนี่ มหาชน จำกัด เป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในแขวงมินะโตะ กรุงโตเกียว ผลิตสินค้าและบริการหลายประเภท อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องเล่นเกม และ บริการทางการเงิน ทั้งนี้ในปี 2015 โซนี่ได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทที่มีรายได้มากเป็นอันดับที่ 116 ของโลก ในรายการจัดอันดับ Fortune Global 500 และยังเป็นผู้ผลิตโทรทัศน์รายใหญ่เป็นอับดับสี่ของโลกรองจาก ซัมซุง, แอลจี และ ทีซีแอล โซนี่คอร์ปอเรชันในฐานะบริษัทหนึ่งในเครือโซนี่ รับผิดชอบสายงานธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งภายในเครือโซนี่ได้แบ่งสายงานออกเป็นสี่สายธุรกิจด้วยกัน คือ สายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า (รวมถึงวีดีโอเกม, บริการเน็ตเวิร์ก และ การแพทย์), สายธุรกิจภาพยนตร์, สายธุรกิจเพลง และ สายธุรกิจการเงิน.

ใหม่!!: ลินุกซ์และโซนี่ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมแก้ไขข้อความ

ปรแกรมแก้ไขข้อความอย่างลีฟแพด มักถูกรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นโปรแกรมประยุกต์ช่วยเหลือโดยปริยายสำหรับการเปิดไฟล์ข้อความ โปรแกรมแก้ไขข้อความ เป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งใช้สำหรับแก้ไขแฟ้มข้อความอย่างง่าย โปรแกรมดังกล่าว บางครั้งรู้จักในชื่อซอฟต์แวร์ "แผ่นจดบันทึก" ตามโปรแกรมแผ่นจดบันทึก โปรแกรมแก้ไขข้อความมักจะมากับระบบปฏิบัติการและโปรแกรมสำเร็จ และสามารถใช้ในการเปลี่ยนแปลงแฟ้มโครงแบบ แฟ้มเอกสาร และรหัสต้นฉบับภาษาโปรแกรม.

ใหม่!!: ลินุกซ์และโปรแกรมแก้ไขข้อความ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟร์วอลล์

ฟร์วอลล์ (อังกฤษ: firewall; ศัพท์บัญญัติ ด่านกันบุกรุก) คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้.

ใหม่!!: ลินุกซ์และไฟร์วอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอบีเอ็ม

อบีเอ็ม (International Business Machines, IBM) หรือชื่อเล่น บิ๊กบลู (ยักษ์สีฟ้า) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 330,000 คนทั่วโลก ไอบีเอ็มก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขามากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ไอบีเอ็มเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ลินุกซ์และไอบีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

ไอดีอี

อดีอี (IDE) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลินุกซ์และไอดีอี · ดูเพิ่มเติม »

เชลล์ยูนิกซ์

ลล์ยูนิกซ์ (Unix shell) เป็นโปรแกรมเชลล์สำหรับรับคำสั่งคอมมานด์ไลน์บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ หรือระบบปฏิบัติการอื่นที่เหมือนยูนิกซ์ เช่น ลินุกซ์ เทียบได้กับโปรแกรม command.com หรือ cmd.exe บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ บนยูนิกซ์ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเลือกเชลล์ที่ต้องการใช้ได้ ซึ่งเชลล์แต่ละตัวจะมีรูปแบบคำสั่ง และ ขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป เชลล์จะถูกเรียกใช้ได้หลายทางด้วยกันคือ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเชลล์ยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 2

ลย์สเตชัน 2 (อังกฤษ: PlayStation 2; ญี่ปุ่น: プレイステーション2) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พีเอสทู (PS2) เป็น เครื่องเล่นวิดีโอเกม ที่ผลิตโดย โซนี่คอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนท์ พัฒนาต่อมาจากเพลย์สเตชัน การพัฒนาเริ่มต้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 และได้วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 และในสหรัฐอเมริกา วันที่ 26 ตุลาคม ปีเดียวกัน เพลย์สเตชัน 2 เป็นเครื่องเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรุ่นหนึ่ง โดยปัจจุบันมียอดจำหน่ายมากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก หลังจากที่มีการขาดตลาดในช่วงแรกที่วางจำหน่าย เพลย์สเตชัน 2 มีรูปทรง 2 แบบด้วยกันคือ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเพลย์สเตชัน 2 · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 3

ลย์สเตชัน 3 (อังกฤษ PlayStation 3, ญี่ปุ่น プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเพลย์สเตชัน 3 · ดูเพิ่มเติม »

เพาเวอร์พีซี

วอร์พีซี (PowerPC) เป็นสถาปัตยกรรมไมโครโพรเซสเซอร์แบบ RISC ซึ่งร่วมกันสร้างโดยพันธมิตร AIM (Apple-IBM-Motorola) เมื่อ ค.ศ. 1991 ในช่วงแรกนั้นเพาเวอร์พีซีออกแบบมาสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ภายหลังเพาเวอร์พีซีก็ได้รับความนิยมในวงการคอมพิวเตอร์ฝังตัว และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเช่นกัน เพาเวอร์พีซีถูกในไปใช้ในเครื่องแมคอินทอชของแอปเปิล รุ่นที่ออกระหว่าง ค.ศ. 1994-ค.ศ. 2005 และเครื่องเล่นวิดีโอเกมหลายรุ่น เช่น นินเทนโด เกมคิวบ์, เอ็กซ์บ็อกซ์ 360, เพลย์สเตชัน 3 และนินเทนโด วี สถาปัตยกรรมเพาเวอร์พีซีนั้นพัฒนาต่อมาจากสถาปัตยกรรม POWER ของไอบีเอ็มเอง.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเพาเวอร์พีซี · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวิน

นกวิน (Penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเพนกวิน · ดูเพิ่มเติม »

เราเตอร์

ราเตอร์ 27 Terabit ต่อวินาที ตัวอย่างเราเตอร์ซิสโก 1800 เราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่หาเส้นทางและส่ง(forward)แพ็กเกตข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ เราเตอร์ทำงานบนเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตรฐานของ OSI Model เราเตอร์มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ สวิตช์ (Switch) ที่มีความสามารถแจกไอพี ได้ เราเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับสองเส้นทางหรือมากกว่าจากเครือข่ายที่แตกต่างกัน เมื่อแพ็คเก็ตข้อมูลเข้ามาจากเส้นทางหนึ่ง เราเตอร์จะอ่านข้อมูล address ที่อยู่ในแพ็คเก็ตเพื่อค้นหาปลายทางสุดท้าย จากนั้น, ด้วยข้อมูลในตารางเส้นทางหรือนโยบายการส่ง, จะส่งแพ็กเก็ตไปยังเครือข่ายข้างหน้าตามเส้นทางนั้น เราเตอร์จะดำเนินการ "กำกับการจราจร" บนเส้นทางนั้นด้วย แพ็คเก็ตข้อมูลโดยทั่วไปจะถูกส่งจากเราเตอร์หนึ่งไปยังอีกเราเตอร์หนึ่งผ่านเครือข่ายที่เป็น Internetwork จนกว่าจะถึงโหนดปลายทาง.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเราเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเซิร์ฟเวอร์

ว็บเซิร์ฟเวอร์ สามารถมีได้ 2 ความหมาย คือ.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์86

ปเพนเทียม 4 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม x86 ในยุคหลัง เอกซ์86 (x86) เป็นชื่อทั่วไปของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์สำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัทอินเทล ปัจจุบันสถาปัตยกรรมแบบ x86 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊คและเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก นับตั้งแต่เริ่มใช้ในไอบีเอ็มพีซี ช่วงทศวรรษที่ 80 ชื่อสถาปัตยกรรมถูกเรียกว่า "x86" เนื่องจากชื่อเรียกของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆ จะลงท้ายด้วยตัวเลข 86 ได้แก่ 8086, 80186, 80286, 386 และ 486 ในภายหลังอินเทลได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "เพนเทียม" (Pentium) (ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า "80586") แทนเนื่องจากไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าในชื่อตัวเลขได้ ใน..

ใหม่!!: ลินุกซ์และเอกซ์86 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม

X Window System (อาจรู้จักในชื่อ X11 หรือ X) เป็นระบบการแสดงผลหน้าต่างแบบบิตแมปในคอมพิวเตอร์ X Window เป็นระบบ GUI มาตรฐานของระบบปฏิบัติการในตระกูลยูนิกซ์ และ OpenVMS ระบบ X นั้นเตรียมส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ GUI เช่น การวาดและเคลื่อนย้ายหน้าต่างบนหน้าจอคอมพิวเตอร์, การทำงานร่วมกับคีย์บอร์ดและเมาส์ แต่ไม่ได้ยุ่งกับส่วนติดต่อผู้ใช้โดยตรง ปล่อยให้โปรแกรมแต่ละตัวที่ทำงานบน X ทำหน้าที่นี้อย่างอิสร.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

เดเบียน

ียน (Debian) เป็นชุดของซอฟต์แวร์เสรีที่พัฒนาโดยอาสาสมัครภายใต้โครงการเดเบียน ภายใต้โครงการนี้มีเดเบียนลินุกซ์ (Debian GNU/Linux) ที่ใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการ GNU ประกอบกันเป็นระบบปฏิบัติการ เดเบียนมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้วยชุมชนล้วน ๆ โดยไม่มีเอกชนอยู่เบื้องหลัง มีการสร้างสัญญาประชาคม บทนิยามซอฟต์แวร์เสรี และแนวนโยบายที่ชัดเจนทั้งทางเทคนิคและการบริหารงาน กลายเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อมา รวมถึงปริมาณแพกเกจในโครงการมากกว่า 37,000 แพกเกจ และรองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์มากกว่า 11 ชนิด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่คอมพิวเตอร์ฝังตัว ไปจนถึงเมนเฟรม มีลินุกซ์ดิสทริบิวชันจำนวนมากที่นำเดเบียนไปพัฒนาต่อ อย่างเช่น อูบุนตู หรือ Knoppix เป็นต้น.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เคอร์เนล

อร์เนลเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เคอร์เนล (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล เนื่องจากตัว e ไม่ออกเสียง) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

เซิร์ฟเวอร์

รื่องเซิร์ฟเวอร์ของ วิกิมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีก.

ใหม่!!: ลินุกซ์และเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

Emacs

Emacs เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้แก้ไขข้อความ มีความสามารถหลากหลายเป็นที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เดิม Emacs ย่อมาจาก Editor MACroS เป็นการรวบรวมมาโครที่พัฒนาโดย ริชาร์ด สตอลแมน สำหรับโปรแกรมแก้ไขข้อความที่ชื่อ TECO เมื่อปี..

ใหม่!!: ลินุกซ์และEmacs · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GNU/LinuxLinuxกนู/ลินุกซ์ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ลีนุกซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »