โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาพีเอชพี

ดัชนี ภาษาพีเอชพี

ีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว.

52 ความสัมพันธ์: พีเอชพีบีบีพ็อปการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบเปิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุฐานข้อมูลภาษาจาวาภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาซีภาษาเพิร์ลมายเอสคิวเอลมีเดียวิกิยูนิกซ์รัสมัส เลอร์ดอร์ฟรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลินุกซ์วีไอสคริปต์ด้านไคลเอนต์สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ออราเคิลคอร์ปอเรชันอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์อะโดบี แฟลชจาวาสคริปต์จุมลาดรูปัลด็อมครอนคลัง (โปรแกรม)คำย่อแบบกล่าวซ้ำตัวแบบโอเพนซอร์ซแมมโบ (ซอฟต์แวร์)แผ่นจดบันทึก (วินโดวส์)แซกซ์โพรโทคอลโพสต์เกรสคิวเอลไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไอแมปไอไอเอสเวิร์ดเพรสส์เว็บไซต์เว็บเพจเอชทีทีพีเอชทีทีพีคุกกี้เอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอ็มแอลเอสเอ็นเอ็มพีเอ็นเอ็นทีพีเอเอสพีเอเอสพีดอตเน็ต...เจเอสพีCGI ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

พีเอชพีบีบี

ีเอชพีบีบี (phpBB ย่อจาก php Bulletin Board) เป็นโปรแกรมระบบกระดานสนทนาบนอินเทอร์เน็ตแบบโอเพนซอร์ส ทำงานด้วยภาษาพีเอชพี ควบคู่กับระบบฐานข้อมูล โดยรับรองการทำงานของฐานข้อมูลหลากหลายชนิด ได้แก่ MySQL, SQL Server, PostgreSQL หรือ Access (ร่วมกับ ODBC) ด้วยความแพร่หลายของภาษาพีเอชพีและระบบฐานข้อมูล MySQL รวมถึงการติดตั้งที่ง่าย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหา ทำให้ phpBB ได้รับความนิยมแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ความสามารถเด่นของพีเอชพีบีบี ได้แก่ ระบบหมวดหมู่ กระดานส่วนตัว ระบบค้นหา การส่งข้อความด้วยรูปแบบพิเศษและอีโมติคอน การสร้างโพล ระบบสมาชิกและการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้ รวมถึงระบบจัดการสำหรับดูแลรักษากระดานสนทนา ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่งหน้าตากระดานได้โดยง่าย โดยดัดแปลงโค้ดภาษาพีเอชพี หรือ Cascading Style Sheets (CSS) โดยโค้ดจากโปรแกรมเป็นไปตามมาตรฐาน XHTML 1.0 หรือ HTML 4.01 ของ W3C นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถใหม.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและพีเอชพีบีบี · ดูเพิ่มเติม »

พ็อป

กณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์ หรือ พ็อป (Post Office Protocol: POP) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโพรโทคอล TCP/IP POP3 เป็นการพัฒนาจากโพรโทคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3 POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโพรโทคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและพ็อป · ดูเพิ่มเติม »

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หรือ พาณิชยกรรมออนไลน์ หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิก..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบเปิด

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและการเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบเปิด · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming, OOP) คือหนึ่งในรูปแบบการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับ วัตถุ ซึ่งสามารถนำมาประกอบกันและนำมาทำงานรวมกันได้ โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารเพื่อนำมาประมวลผลและส่งข่าวสารที่ได้ไปให้ วัตถุ อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทำงานต่อไป แนวคิดการเขียนโปรแกรมแบบดังเดิมมักนิยมใช้ ในการสร้างเว็บไซต์ต่าง.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

ฐานข้อมูล

นข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่น.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและฐานข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคอมพิวเตอร์

ษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใด ๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่น ๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เอชทีเอ็มแอล เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง ภาษาคอมพิวเตอร์อาจแบ่งกลุ่มได้เป็นอีกสองประเภทคือ ภาษาที่มนุษย์อ่านออก (human-readable) และภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออก (non human-readable) ภาษาที่มนุษย์อ่านออกถูกออกแบบมาเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจและสื่อสารได้โดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ) ส่วนภาษาที่มนุษย์อ่านไม่ออกจะมีโค้ดบางส่วนที่ไม่อาจอ่านเข้าใจได้.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและภาษาคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

มายเอสคิวเอล

MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System) โดยใช้ภาษา SQL แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและมายเอสคิวเอล · ดูเพิ่มเติม »

มีเดียวิกิ

มีเดียวิกิ (MediaWiki) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในการทำเว็บไซต์ เป็นที่รู้จักดีในฐานะซอฟต์แวร์หลักสำหรับโครงการวิกิพีเดีย และโครงการในวิกิมีเดีย การทำงานของมีเดียวิกิโดยทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก โดยทำงานกับภาษาพีเอชพี และ MySQL โครงการวิกิพีเดียและโครงการอื่นในมูลนิธิวิกิมีเดีย ที่ปัจจุบันใช้งานมีเดียวิกิ ระยะ 3 ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GFDL โดยซอฟต์แวร์ ถูกใช้ภายใต้ GPL.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและมีเดียวิกิ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัสมัส เลอร์ดอร์ฟ

รัสมัส เลอร์ดอร์ฟ (Rasmus Lerdorf) (เกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ใน ประเทศกรีนแลนด์) เป็นโปรแกรมเมอร์ชาวเดนมาร์ก และเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นภาษาโปรแกรมพีเอชพี เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนคิงซิตี ในปี พ.ศ. 2531 และมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู พ.ศ. 2536 ในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่บริษัทยาฮู!.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและรัสมัส เลอร์ดอร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วีไอ

วีไอ (Vi) เป็นซอฟต์แวร์แก้ไขข้อความ พัฒนาโดยบิล จอย เมื่อ ค.ศ. 1976 เพื่อใช้ในระบบปฏิบัติการ BSD ยุคแรกๆ ชื่อ vi นำมาจากจำนวนอักษรที่สั้นที่สุดของคำสั่ง visual ที่ไม่ซ้ำกับคำสั่งอื่น ของโปรแกรม ex ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนโหมดของ ex จาก line editor เป็น visual อ่านออกเสียงว่า "วี-ไอ" ไม่ใช่ "ไว" และไม่ได้หมายถึงเลข 6 ตามอักษรโรมัน vi กลายเป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความที่นิยมที่สุด และเป็นมาตรฐานของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์แทบทุกตัว ปัจจุบันมีโปรแกรมเลียนแบบ vi หลายตัว ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Vim (Vi IMproved) หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์บนยูนิกซ์ หมวดหมู่:โปรแกรมแก้ไขข้อความ.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและวีไอ · ดูเพิ่มเติม »

สคริปต์ด้านไคลเอนต์

ริปต์ด้านไคลเอนต์ (Client-side scripting) เป็นเทคโนโลยีที่สคริปต์ทำงานบนบนฝั่งไคลเอนต์ เช่น จาวาสคริปต์ โดยมากมักจะฝังอยู่ใน HTML และถูกประมวลผลโดยเว็บเบราว์เซอร์เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้อย่างทันที เช่น การแสดงข้อความเตือน การตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน การปรับเปลี่ยนเนื้อหา รวมถึงการแสดงแอนิเมชัน ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในเทคนิค AJAX เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานให้กับเว็บไซต.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและสคริปต์ด้านไคลเอนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์

ริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server-side scripting) เป็นเทคโนโลยีที่สคริปต์ทำงานบนบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งแตกต่างกับสคริปต์ด้านไคลเอนต์ อย่างJavascriptที่ทำงานบนฝั่งไคลเอนต์ และยังใช้สำหรับสร้างเว็บเพจแบบมีการตอบสนอง (dynamic) ซึ่งอยู่ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งมีใช้อยู่แพร่หลายในปัจจุบัน เช่น Web-base อีเมล การทำรายการบัญชีออนไลน์ (online banking) รายงานข่าว หรือ Search Engine.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและสคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออราเคิลคอร์ปอเรชัน

ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (Oracle Corporation) เป็น บริษัทคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูล, เครื่องมือสำหรับพัฒนาฐานข้อมูล, ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร, ระบบลูกค้าสัมพันธ์, ระบบบริหารห่วงโซ่อุปทาน ออราเคิลก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและออราเคิลคอร์ปอเรชัน · ดูเพิ่มเติม »

อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์

อะพาเช่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache HTTP Server) คือซอฟต์แวร์สำหรับเปิดให้บริการเซิร์ฟเวอร์บนโพรโทคอล HTTP โดยสามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ ที่มาของชื่อ Apache มาจากกลุ่มคนที่ช่วยสร้างแพตช์ไฟล์สำหรับโครงการ NCSA httpd 1.3 ซึ่งกลายมาเป็นที่มาของชื่อ A PAtCHy server และในอีกความหมายหนึ่งยังกล่าวถึงเผ่าอะแพชีหรืออาปาเช่ ซึ่งเป็นเผ่าอินเดียนแดงที่มีความสามารถในการรบสูง.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและอะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อะโดบี แฟลช

อะโดบี แฟลช (Adobe Flash) (ในชื่อเดิม ช็อกเวฟแฟลช - Shockwave Flash และ แมโครมีเดียแฟลช - Macromedia Flash) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash ซึ่งตัว Flash Player พัฒนาและเผยแพร่โดย อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็น แมโครมีเดีย ซึ่งภายหลังถูกควบรวมกิจการเข้ากับ อะโดบี) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำให้ เว็บเบราว์เซอร์ สามารถแสดงตัวมันได้ ซึ่งมันมีความสามารถในการรองรับ ภาพแบบเวกเตอร์ และ ภาพแบบแรสเตอร์ และมีภาษาสคริปต์ที่เอาไว้ใช้เขียนโดยเฉพาะเรียกว่า แอ็กชันสคริปต์ (ActionScript) และยังสามารถเล่นเสียงและวิดีโอ แบบสเตริโอได้ แต่ในความหมายจริงๆ แล้ว แฟลช คือโปรแกรมแบบ integrated development environment (IDE) และ Flash Player คือ virtual machine ที่ใช้ในการทำงานงานของไฟล์ แฟลชซึ่งในภาษาพูดเราจะเรียกทั้งสองคำนี้ในความหมายเดียวกัน: "แฟลช" ยังสามารถความความถึงโปรแกรมเครื่องมือต่างๆตัวแสดงไฟล์หรือ ไฟล์โปรแกรม แฟลชเริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี ค.ศ. 1996 หลังจากนั้น เทคโนโลยีแฟลชได้กลายมาเป็นที่นิยมในการเสนอ แอนิเมชัน และ อินเตอร์แอกทีฟ ในเว็บเพจ และในโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมระบบ และ เครื่องมือต่างๆ ที่มีความสามารถในการแสดง แฟลชได้ และ แฟลชยังเป็นที่นิยมในการใช้สร้าง แคอมพิวเตอร์แอนิเมชันโฆษณาออกแบบส่วนต่างๆ ของเว็บเพจใส่วิดีโอบนเว็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ไฟล์ Flashในบางครั้งอาจเรียกว่า "flash movies"โดยทั่วไปกับไฟล์ที่มีนามสกุล.swf แล.flv แฟลชเป็นโปรแกรมที่มีชื่อเสียงมากของทางบริษัทแมโครมีเดีย ซึ่งต่อมาได้ถูกซื้อโดยอะโดบี.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและอะโดบี แฟลช · ดูเพิ่มเติม »

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและจาวาสคริปต์ · ดูเพิ่มเติม »

จุมลา

มลา (Joomla!) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บแบบโอเพนซอร์ส ที่เขียนด้วยภาษาพีเอชพีและใช้ฐานข้อมูล MySQL.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและจุมลา · ดูเพิ่มเติม »

ดรูปัล

รูปัล (Drupal; สัท. /ˈdruː-pʌl/) เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับมอจูลในการสร้างเว็บไซต์และระบบจัดการเนื้อหาเว็บในลักษณะโอเพนซอร์ซ เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพี โดยเริ่มพัฒนาใน พ.ศ. 2543 และกลายมาเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและดรูปัล · ดูเพิ่มเติม »

ด็อม

Document Object Model ด็อม (DOM: Document Object Model แบบจำลองอ็อบเจกต์เอกสาร) เป็นวิธีการอธิบายว่าข้อมูลต่างๆ ในเอกสาร HTML หรือ XML จัดเรียงตัวแบบเชิงวัตถุ (object oriented) อย่างไร ด็อมเป็นวิธีในการสร้าง API ให้สามารถควบคุมเนื้อหา โครงสร้าง และรูปแบบของเอกสารได้ เดิมทีนั้นเว็บเบราว์เซอร์แต่ละค่ายมีการพัฒนาด็อมโดยใช้จาวาสคริปต์ที่แตกต่างกันออกไป ทาง W3C จึงได้ร่างมาตรฐานกลางที่เรียกว่า W3C Document Object Model (W3C DOM) โดยไม่ขึ้นกับภาษาโปรแกรมมิ่งภาษาใดภาษาหนึ่ง การจัดข้อมูลในรูปแบบด็อมนั้นใช้แผนภูมิต้นไม้ในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุแต่ละชิ้น อย่างไรก็ตาม ด็อมมีจุดอ่อนในเรื่องประสิทธิภาพเมื่อต้องประมวลผลเอกสารขนาดใหญ่ ซึ่งด็อมจำเป็นต้องอ่านเอกสารให้ครบทั้งหมดก่อน จึงจะเริ่มประมวลผล ข้อเสียนี้จึงเกิดการออกแบบ SAX ที่ใช้วิธีอ่านเอกสารทีละส่วนแทน ตามมาตรฐานของ W3C นั้น ได้แบ่งด็อมเป็นระดับชั้น (level) ที่มีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไป ปัจจุบันมี Level 0-3.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและด็อม · ดูเพิ่มเติม »

ครอน

รอน (cron ย่อจาก chronograph) เป็นชื่อโปรแกรมในระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์สำหรับทำงานตามคำสั่งที่ถูกกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้า ครอนเริ่มต้นเป็นที่รู้จักในปี 2542 โดยถูกใช้งานกับเครื่องยูนิกซ์ ในการประมวลผลคำสั่งหรือสคริปต์อัตโนมัติที่ถูกกำหนดเวลาและวันที่ไว้ล่วงนี้ ครอนมักถูกใช้ส่วนใหญ่ในงานของผู้ดูแลระบบ เช่น คำสั่งให้ทำการแบ็กอัปอัตโนมัติ หรือการให้ทำการตรวจสอบระบบประจำวัน.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและครอน · ดูเพิ่มเติม »

คลัง (โปรแกรม)

ตัวอย่างแผนภาพแสดงการเรียกใช้งานไลบรารีของโปรแกรมเล่นสื่อผสมประเภท Ogg Vorbis คลังโปรแกรม หรือ ไลบรารี (library) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและคลัง (โปรแกรม) · ดูเพิ่มเติม »

คำย่อแบบกล่าวซ้ำ

ำย่อแบบกล่าวซ้ำ เป็นตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษที่กล่าวซ้ำชื่อตัวเองอีกครั้งหนึ่ง คำย่อเหล่านี้ส่วนมาก จะแสดงถึงความหมายอื่นที่เน้นออกมา นอกจากความหมายเดิมของคำย่อเดิม มักนิยมใช้ในชื่อของคำที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ในทาง คอมพิวเตอร์ เพื่อล้อเลียนชื่อ หรือข้อความของกลุ่มอื่น ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและคำย่อแบบกล่าวซ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

แมมโบ (ซอฟต์แวร์)

แมมโบ (Mambo) หรือชื่อเดิม แมมโบโอเพนซอร์ซ (Mambo Open Source - MOS) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บแบบโอเพนซอร์สที่มีผู้ใช้จำนวนมาก Mambo เคยชนะการประกวดซอฟต์แวร์ของนิตยสาร Linux Format ในปี..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและแมมโบ (ซอฟต์แวร์) · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นจดบันทึก (วินโดวส์)

แผ่นจดบันทึก เป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความ ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์ตั้งแต่รุ่น 1.0 ในปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังเป็นที่นิยมใช้สำหรับเปิดดูหรือแก้ไขข้อมูลประเภทข้อความธรรมดา เนื่องจากความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและแผ่นจดบันทึก (วินโดวส์) · ดูเพิ่มเติม »

แซกซ์

แซกซ์ (SAX: Simple API for XML เอพีไออย่างง่ายสำหรับเอกซ์เอ็มแอล) เป็นวิธีการอ่านข้อมูลจากเอกสารเอกซ์เอ็มแอล โดยเป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือไปจากด็อม ตัวอ่านข้อมูลที่ใช้วิธีแซกซ์ จะอ่านข้อมูลเอกซ์เอ็มแอลในรูปของสตรีมทิศทางเดียว ทำให้ดึงข้อมูลที่อ่านไปแล้วได้ โดยไม่ต้องอ่านใหม่ทั้งหมด ซึ่งวิธีการนี้จะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าด็อม ที่อ่านข้อมูลทั้งหมดก่อนแล้วจึงประมวลผล ในเฉพาะกรณีที่เอกสารมีขนาดใหญ.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและแซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอล

รโทคอล (สืบค้นออนไลน์) (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

โพสต์เกรสคิวเอล

ต์เกรสคิวเอล (PostgreSQL) หรือนิยมเรียกว่า โพสต์เกรส (Postgres) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตบีเอสดี ชื่อเดิมของซอฟต์แวร์คือ โพสต์เกรส ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนเป็นโพสต์เกรสคิวเอล โดยประกาศออกมาจากทีมหลักในปี 2550 ชื่อของโพสต์เกรสมาจากชื่อ post-Ingres ซึ่งหมายถึงตัวซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อจากซอฟต์แวร์ชื่ออินเกรส โพสต์เกรสถูกใช้งานในเว็บไซต์ชื่อดังหลายแห่งเช่น ยาฮู! โซนี่ออนไลน์เกม สไกป์ และไฮไฟฟ.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและโพสต์เกรสคิวเอล · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอแมป

กณฑ์วิธีเข้าถึงข้อความบนอินเทอร์เน็ต หรือ ไอแมป (Internet Message Access Protocol: IMAP) เป็นโพรโทคอลในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการรับอีเมลการทำงานของ IMAP จะแตกต่างกับ POP3 เนื่องจาก IMAP เป็นโพรโทคอลแบบ on-line ขณะที่ POP3 เป็นโพรโทคอลแบบ off-line โดย IMAP และ POP3 เป็นสองโพรโทคอลรับอีเมลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน IMAP ออกแบบโดย Mark Crispin ใน ค.ศ. 1981 เพื่อใช้แทนโพรโทคอล POP ซึ่งมีความสามารถน้อยกว่า ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ IMAP4.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและไอแมป · ดูเพิ่มเติม »

ไอไอเอส

อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซอร์วิซซิส หรือ ไอไอเอส (Internet Information Services: IIS) ชื่อเดิมว่า อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซิร์ฟเวอร์ (Internet Information Server) เป็นโปรแกรมให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้สามารถ Run โปรแกรมผ่านเครื่องของเราได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะหาได้จากแผ่น Windows อยู่แล้ว โดยขั้นตอนการติดตั้งให้ไปที่ หาก Windows เป็น Windows NT 4.0 อาจจะไม่สามารถรันได้ให้ Download ASP.exe ในการลง ซึ่งแถมมากับ Windows 98.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและไอไอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เวิร์ดเพรสส์

วิร์ดเพรสส์ (WordPress) เป็นโปรแกรมช่วยสร้างบล็อก ซึ่งเขียนด้วยภาษาพีเอชพีและใช้ฐานข้อมูล MySQL มีสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GPL เริ่มพัฒนาโดย แมตต์ มูลเลนเวก หลังจากซอฟต์แวร์สร้างบล็อก Movable Type ของบริษัท Six Apart ได้เปลี่ยนแปลงการคิดค่าใช้งานใน พ.ศ. 2547 ผู้ใช้เดิมของ Movable Type จำนวนมากจึงหันมาใช้ เวิร์ดเพรสส์แทน เนื่องจากว่ามีรูปแบบการใช้งานคล้ายคลึงกัน ซึ่งปัจจุบัน เวิร์ดเพรสส์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากบล็อกเกอร์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน อีกทั้งยังมีผู้ที่สร้างปลั๊กอิน (โปรแกรมเสริม), ธีม (รูปแบบการแสดงผล), รวมทั้งระบบอื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกับ เวิร์ดเพรสส์ได้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ เวิร์ดเพรสส์ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ เวิร์ดเพรสส์ยังได้แตกหน่อออกมาเป็น เวิร์ดเพรสส์ มิว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้สร้างเว็บบล็อก เพื่อให้ผู้อื่นใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งระบบของ เวิร์ดเพรสส์MU นั้น ได้มีการปรับปรุงให้รองรับกับผู้ใช้งานจำนวนมากขึ้นกว่า เวิร์ดเพรสส์ในรุ่นปกติ ปัจุจบันได้มีการ แก้ไขโค้ดของ เวิร์ดเพรสส์เพื่อใช้ในการให้บริการพื้นที่สร้างบล็อกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเวิร์ดเพรสส์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยวิศวกรของเซิร์น.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเว็บไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจ

หน้าจอของเว็บเพจหนึ่งบนวิกิพีเดีย เว็บเพจ (web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น เว็บเพจสถิต (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งมาเป็นเนื้อหาเว็บเหมือนกับข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบแฟ้มของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ เว็บเพจพลวัต (dynamic web page) จะถูกสร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ด้านเซิร์ฟเวอร์หรือสคริปต์ด้านไคลเอนต์ เว็บเพจพลวัตช่วยให้เบราว์เซอร์ (ด้านไคลเอนต์) เพิ่มสมรรถนะของเว็บเพจผ่านทางอินพุตของผู้ใช้ไปยังเซิร์ฟเวอร.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเว็บเพจ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพีคุกกี้

อชทีทีพีคุกกี้ (HTTP cookie) นิยมเรียกว่า เว็บคุกกี้ หรือ คุกกี้ หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังเว็บเบราว์เซอร์ และถูกส่งกลับมายังเว็บเซิร์ฟเวอร์ทุกๆครั้งที่เว็บเบราว์เซอร์ร้องขอข้อมูล โดยปกติแล้วคุกกี้จะถูกใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กๆไว้ที่เว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถจดจำสถานะการใช้งานของเว็บเบราว์เซอร์ที่มีต่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างการใช้งานคุกกี้เช่น ใช้เพื่อจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้ เวลาที่ผู้ใช้เข้าเว็บครั้งล่าสุด ข้อมูลสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้ ข้อมูลในคุกกี้เหล่านี้ ทำให้เว็บไซต์สามารถที่จะจดจำผู้ใช้ได้ แต่ไม่สามารถส่งคำสั่งมาประมวลผล หรือส่งไวรัสคอมพิวเตอร์ผ่านคุกกี้ได้ และมีเพียงเซิร์ฟเวอร์ที่สร้างคุกกี้นั้นๆ เท่านั้นจึงจะสามารถอ่านค่าของคุกกี้ดังกล่าวได้ คุกกี้เป็นมาตรฐาน ออกเมื่อ กุมภาพัน..

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอชทีทีพีคุกกี้ · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอชทีเอ็มแอล

อกซ์เอชทีเอ็มแอล (XHTML: Extensible Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปที่มีลักษณะการใช้งานเหมือน HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา โดยมีวากยสัมพันธ์สอดคล้องกับ XML เนื่องจาก HTML นั้นใช้โครงสร้างของ SGML ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ในขณะที่ XHTML นั้นพัฒนาจาก XML ซึ่งเป็นภาษาที่คล้ายกับ SGML แต่เข้มงวดมากกว่า เราสามารถมองว่า XHTML เป็นการแปลง HTML เดิมให้มาอยู่ในโครงสร้างของ XML ก็ได้ XHTML 1.0 ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ World Wide Web Consortium (W3C) ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543 และกลายมาเป็น W3C recommendation เมื่อ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 อย่างไรก็ตาม XHTML 2.0 จะหยุดภายในสิ้นปี 2552 โดยหวังจะพัฒนา HTML 5 แทนที.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอกซ์เอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มแอล

อกซ์เอ็มแอล (XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอ็นเอ็มพี

SNMP ย่อมาจาก Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโพรโทคอล TCP/IP เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิดและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ SNMP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหารเครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System หมวดหมู่:อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอสเอ็นเอ็มพี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเอ็นทีพี

เกณฑ์วิธีขนส่งข่าวบนเครือข่าย หรือ เอ็นเอ็นทีพี (Network News Transfer Protocol: NNTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ่านและเขียนกลุ่มข่าว (Usenet) และใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแต่ละเซิร์ฟเวอร์กลุ่มข่าว โพรโทคอล NNTP พัฒนาต่อมาจากโพรโทคอล SMTP โดยใช้พอร์ต 119 ของโพรโทคอล TCP แต่ถ้าใช้การเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสด้วย SSL จะใช้พอร์ต 563 แทนและเรียกว่า NNTPS หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ยูสเน็ต.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอ็นเอ็นทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสพี

อเอสพี (ASP ย่อมาจาก Active Server Page) เป็นเทคโนโลยีประเภท Server-Side Script (โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่อง Server) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย สร้างโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ สำหรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ซึ่งใช้ร่วมกับโปรแกรม Internet Infomation Service หรือ IIS.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอเอสพี · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสพีดอตเน็ต

ลโก้ ASP.NET เอเอสพีดอตเน็ต (ASP.NET) คือเทคโนโลยีสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ เว็บแอปพลิเคชัน และเว็บเซอร์วิซ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ASP.NET เป็นรุ่นถัดจาก Active Server Pages (ASP) แม้ว่า ASP.NET นั้นจะใช้ชื่อเดิมจาก ASP แต่ทั้งสองเทคโนโลยีนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยไมโครซอฟท์นั้นได้สร้าง ASP.NET ขึ้นมาใหม่หมดบนฐานจากCommon Language Runtime (CLR) ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกใช้ภาษาใดก็ได้ที่รองรับโดยดอตเน็ตเฟรมเวิร์กเช่น C# และ VB.NET เป็นต้น ปัจจุบันรุ่นล่าสุดคือ ASP.NET 2.0 ซึ่งรวมอยู่ใน.NET Framework 2.0.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเอเอสพีดอตเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

เจเอสพี

อสพี (JavaServer Pages: JSP) เป็นเทคโนโลยีจาวาที่เปิดช่องทางให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้าง HTML, XML หรือไฟล์เอกสารในประเภทนี้ตามความต้องการของเครื่องลูกข่ายร้องขอ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เปิดให้ใช้ภาษาจาวาในการสร้างและกรทำการใด ๆ เพื่อให้หน้าเว็บเพจธรรมดากลายเป็นหน้าเว็บเพจที่สามารถตอบสนองได้ โดยเจเอสพีจะถูกโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนเจเอสพี เช่น อะแพชี ทอมแคต, GlassFish แปลให้เป็นจาวา คลาส ที่เรียกว่าเซิร์ฟเลต ซึ่งพร้อมที่จะประมวลผลด้วยจาวาและแสดงผลออกเป็น HTML.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและเจเอสพี · ดูเพิ่มเติม »

CGI

CGI อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาพีเอชพีและCGI · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PHPพีเอชพี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »